โรคอ้อยที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร


 

1) โรคเหี่ยวเน่าแดง

Ø สาเหตุ เชื้อรา

2 ชนิด คือ

Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum

Ø ผลผลิตเสียหาย

30-100 %

CCS ลดลง

Ø ระบาดรุนแรงในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในเขตชลประทาน หรือพื้นที่นา

การป้องกันกำจัด

1. เมื่อเกิดการระบาด ก่อนการเก็บเกี่ยว

(1) เร่งระบายน้ำแปลงที่มีน้ำขัง

(2) งดการเร่งปุ๋ยและน้ำ

(3) รีบตัดอ้อยเข้าหีบ

2. การจัดการแก้ไขหลังเก็บเกี่ยว

(1) รื้อแปลงทิ้ง

(2) ทำลายซากตอเก่า โดยการคราดออกและเผาทิ้ง

(3) ไถดินตาก ประมาณ 3 ครั้ง

(4) ปลูกพืชสลับ เช่น ข้าวหรือกล้วยก่อนปลูกอ้อยฤดูใหม่

(5) เปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ที่ต้านทาน เช่น คิว 100, เค 76-4, เค 84-200, เค 88-92, เค 88-93

(6) คัดเลือกพันธุ์ที่สมบูรณ์ จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หรือเตรียมแปลงพันธุ์ด้วยตนเอง

(7) ถ้าไม่แน่ใจว่าพันธุ์ต้านทานหรือไม่ ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมี เพื่อป้องกันกำจัดโรค อัตราต่อไปนี้ต่อน้ำ 20 ลิตร : Ø เบนโนมิล (เบนเลท 25 % WP) อัตรา 25 กรัม, Ø ไธอะเบนดาโซล (พรอนโต 90 %), Ø ไธโอฟาเนท-เมททิล (ทอปซินเอ็ม 50 %) 20 มล., Ø โปรพิโคนาโซล (ทิลท์ 250 อีซี.) 16 มล.

2) โรคแส้ดำ

Ø สาเหตุ เชื้อรา

Ustilago scitaminea

Ø ผลผลิตลดลงเกินกว่า 10 % CCS ลดลง

Ø ไว้ตอได้น้อยลง

การป้องกันกำจัด

1. เลือกใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น อู่ทอง1, อู่ทอง 2, อู่ทอง 3

2.ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด

3. ในพื้นที่มีการระบาด ถ้าเลือกใช้พันธุ์ที่ไม่ทราบข้อมูลความต้านทาน ควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมี เช่น ไตรอะไดมีฟอน (ไบลีตัน 25 % WP), โปรปิโคนาโซล (ทิลท์, เดสเมล) อัตรา 48 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก

3) โรคใบขาว

Ø สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา

Ø ผลผลิตลดลงเกินกว่า 50 % และไว้ตอได้ไม่ดี

Ø ระบาดในเขตที่เป็นดินทราย

 

การป้องกันกำจัด

1. เมื่อพบการระบาด : -

(1) ทำลายต้นที่เป็นโรคโดยการขุดออกแล้วเผาทิ้ง หรือฉีดพ่นด้วยยาฆ่าหญ้า (ไกลโฟเสท 1 %)

(2) เตรียมคัดหาพันธุ์ที่ทนทานต่อโรค เช่น Phil 58-260, 85-118, 85-105, 87-2-113, 87-2-598, 87-2-1011 และ 85-242

(3) เตรียมแปลงพันธุ์ที่จะมาขยายปลูก โดยใช้พันธุ์ที่ทนทานและแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศา นาน 2 ชั่วโมง ก่อนปลูก เตรียมเป็นแปลงพันธุ์

(4) เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ควรรือแปลงทิ้ง เพื่อปลูกใหม่

2. เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว

(1) ทำการไถดินคราดตอเก่าออกทำลายให้หมด

(2) ถ้าเป็นไปได้ ปรับปรุงดินโดยใช้พืชบำรุงดิน

(3) ถ้าเป็นไปได้ จัดฤดูปลูกให้เหมาะสม (ตค.-ธค.) เพื่อลดการติด เชื้อโดยแมลงพาหะ

(4) เตรียมท่อนพันธุ์ โดย,

- คัดจากพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด เช่น พื้นที่ในเขตชลประทานที่เป็นดินเหนียว หรือพื้นที่ปลอดโรค

- ใช้ท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพปราศจากโรค จากแปลงพันธุ์ที่ได้เตรียม

4) โรคกอตะไคร้

Ø สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา

Øผลผลิตอ้อยลดลงทั้งขนาดลำและจำนวนลำต่อกอ CCS ลดลง

Ø ในอ้อยตออาจรุนแรงมาก จนต้องไถทิ้ง

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายกอที่เป็นโรค โดยการขุดเผาทิ้ง หรือฉีดพ่นด้วยยากำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันการระบาดสู่กออื่น ๆ

2. ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรง

(1) รือแปลงทิ้ง เพื่อปลูกใหม่คราดตอเก่าทำลายทิ้ง

(2) เตรียมหาพันธุ์ต้านทาน เช่น F134, F160, Phil 66-07, อู่ทอง 3, Q 130 หรือลูกผสม เช่น 88-2-46, 89-2-407, 88-2-366, 91-2-434, 92-2-106

(3) สำหรับอ้อยที่จะขยายพันธุ์ก่อนปลูก ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50OC นาน 2 ชม.

(4) งดใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรค หรือกอที่เป็นโรค

(5) เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ทำลายต้นที่งอกจากตอเก่าให้หมด

(6) กำจัดวัชพืช

5)โรคใบขีดแดงและยอดเน่า

Ø สาเหตุ แบคทีเรีย

Pseudomonas rubrilineans

Ø โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝน

Ø หลังฤดูฝนอ้อยจะฟื้นตัว

ได้สร้างหน่อใหม่

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายกอที่เป็นโรค

2. ป้องกันการทำลายของหนอนโดยใช้ยาดูดซึม

3. แปลงควรระบายน้ำดี

4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยในโตรเจนเดี่ยวระยะอ้อยอ่อน

5. กรณีที่ระบาดรุนแรงใช้สารเคมีคอบเปอร์ออกซีคลอไรด์ เช่น คาร์โบซิน อัตรา 40 กรัม ต่อ 20 ลิตร

6. เมื่อจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูกใหม่

(1) ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่อ่อนแอต่อโรค เช่น อู่ทอง 1, เค84-200, เค 88-92

(2) ไถดินตาก และพักดินก่อนปลูกพันธุ์ใหม่

6) โรคเน่าคออ้อย

(แบคทีรีโอซีส)

Ø สาเหตุ แบคทีเรียErwinia carotovora

Ø โรคระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน เชื้อไปกับลมฝน

การป้องกันกำจัด

1. เมื่อพบกอที่เป็นโรคตัดออกเผาทำลาย เพื่อทำลายแหล่งเชื้อ

2.พ่นสารเคมีแอกกริไมซินบนกอที่ตัดทิ้งและบริเวณรอบ ๆ กอ

3. เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ไม่ควรใช้พันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น อู่ทอง 1, อู่ทอง 3 , เค 84-200

7) โรครากโคนเน่าจากเห็ด

Ø สาเหตุ เชื้อเห็ดMarasmiellus sp. 

และ Marasmius stenophylus

 

การป้องกันกำจัด

1. แต่งริดใบล่างให้ แดดส่องถึงโคนกอหรือกำจัดวัชพืช

2. ปลูกอ้อยให้มีระยะห่าง

3. ระบายน้ำไม่ให้มีสภาพน้ำขัง

4. กำจัดหนอนเจาะลำต้น

5. ถ้าทำลายร่วมกับเชื้อรากเน่าอื่น ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นเดียวกับโรคเหี่ยวเน่าแดง (เบนโนมิล)

6. เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ควรเลือกใช้พันธุ์ต้านทาน ได้แก่ Q 130, Phil 58-260, Phil 63-17 และ F 156

8) โรคกลิ่นสับปะรด

Ø สาเหตุ เชื้อราThiellaviopsis paradoxa

Ø อ้อยไม่งอก

การป้องกันกำจัด

1. เตรียมแปลงอ้อยให้เหมาะสม อย่าให้แล้งจัด น้ำขังหรือร่มเกินไป

2. คัดท่อนพันธุ์สมบูรณ์ปราศจากโรค

3. แช่ท่อนพันธุ์ในสารฆ่าเชื้อรา เช่น ไตรอะไดมีฟอน, โปรปิโคนาโซล หรือเบโนมิล นาน 30 นาที ก่อนปลูก

9) โรคลำต้นเน่า

Ø สาเหตุ เชื้อรา

F.moniliforme

การป้องกันกำจัด

1) ระบายน้ำจากแปลง

2) ฉีดพ่นโคนกอด้วยสารเคมีเบนโนมิล (เบนเลท 25 % WP) อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

10) โรครากเน่า

สาเหตุ เชื้อรา Pythium

 

การป้องกันกำจัด

1. ปรับปรุงดินให้ระบายน้ำดี

2. ระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลที่ราก

3. ไม่ใส่ปุ๋ย ไนโตรเจน เดียว

4. งดการให้น้ำแบบร่อง เนื่องจากเชื้อระบาดไปทางน้ำ

5. ใช้สารเคมีฉีดพ่นโคนกอ เช่น แมนโคเซบ, ไธอะเบน-ดาโซล และเมตาเลกซิล+แมนโคเซพ

11) โรคใบจุดเหลือง

Ø สาเหตุ เชื้อราMycovellosiella koepkei

Ø ผลผลิตและ CCS ลดลง

Øโรคระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง (พค.-ตค.)

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายใบอ้อยเป็นโรค

2. ปลูกอ้อยพันธุ์ต้านทาน เช่น แรกนาร์, เอฟ 108, คิว 100, เค 88-92, เค 76-4, เอฟ 140, เอฟ 154, คิว 130, อู่ทอง 2 และไตรตัน

12) โรคราสนิม

Ø สาเหตุ เชื้อรา

Puccinia melanocephala

Ø พันธุ์อ่อนแอ

Ø เสียหาย10 – 50 %

 

การป้องกันกำจัด

1. ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น เอฟ 140, พินดาร์

2. ในแหล่งโรคระบาดไม่ควรปลูกอ้อยพันธุ์เดียวกัน เป็นแปลงใหญ่

3. ในระยะเริ่มเป็น เก็บใบอ้อยที่เป็นโรคมาเผาทำลาย

4. ใช้สารเคมี เช่น ไตรอะไดมีฟอน หรือ เมตาเลกซิล ฉีดพ่น ใช้อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

[HOME]