|
|
ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนธันวาคม 2554) |
ไทยออยล์คาดความต้องการเอทานอลในปท.ปี 55 เฉลี่ยที่ 1.8 ล้านลิตร/วัน
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ปริมาณความต้องการเอทานอลภายในประเทศปี 2555จะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.8 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 0.5 ล้านลิตรต่อวัน จากปี 2554 ซึ่งเฉลี่ย 1.3 ล้านลิตรต่อวันสาเหตุจากการที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติอนุมัติยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 91 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกครั้งในวันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ส่งผลให้ส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์กับน้ำมันเบนซินธรรมดาเพิ่มมากขึ้น และจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นด้วย
ที่สำคัญในปี 2555 จะมีโรงงานเอทานอลใหม่เปิดดำเนินงานอีก 5 โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังคิดเป็นกำลังการผลิตรวม 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้กำลังการผลิตเอทานอลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านลิตรต่อวัน แต่ปริมาณการผลิตจริงขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการภายในประเทศและราคาเป็นสำคัญ โดยผลผลิตเอทานอลบางส่วนจะจัดเก็บเป็นสต็อกของผู้ผลิต ผู้ประกอบการน้ำมัน และเพื่อส่งออก ดังนั้นราคาเอทานอลคาดว่า จะปรับตัวลดลงเนื่องจากราคาวัตถุดิบในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยที่จะปรับเพิ่มขึ้น
จาก http://www.thanonline.com วันที่ 31 ธันวาคม 2554
น้ำตาลขอนแก่นกำไรโต 1,000 % มั่นใจปีหน้ารายได้เพิ่มต่อเนื่อง
น้ำตาลขอนแก่นกำไรงวดปี 54 ร่วม 1.9 พันล้านบาทโตทะละ 1,000 % จากงวดเดียวกันปีก่อน หลังยอดขาย-ราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้น ด้านผู้บริหารบริษัทปีหน้าปริมาณหีบอ้อยเพิ่มขึ้น 10-15 % ไม่หวั่นราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มอ่อนตัว เผยตุนคำสั่งซื้อล่วงหน้าไว้แล้ว 80 %
นายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
น้ำตาลขอนแก่น (KSL) กล่าวว่า
บริษัทตั้งเปาหมายเพิ่มปริมาณอ้อยเข้าหีบในปีหน้าไม่ต่ำกว่า 10-15 %
จากปีนี้ซึ่งอยู่ที่ 6.17 ล้านตันหลังโรงงานน้ำตาลบ่อพลอย เฟส 2
เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งงวดปี 2554
มีกำลังการผลิต 1.1 ล้านตันอ้อย แต่งวดปี 2555
คาดว่าจะมีกำลังการผลิตน้ำตาลจากบ่อพลอยเฟส 2 เพิ่มขึ้นอีก
แนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกปีหน้าอาจลดลง
แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลสำหรับบริษัทเนื่องจากได้เตรียมความพร้อมด้วยการขายล่วงหน้าไปแล้ว
80 % ดังนั้นผลประการก็น่าจะดีต่อเนื่อง
และรายได้หลักในปีหน้ายังคงมาจากน้ำตาลเป็นหลัก ตามด้วยธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า
ธุรกิจผลิตเอทานอล และปุ๋ย และธุรกิจน้ำตาลในต่างประเทศ
ทั้งนี้บริษัทน้ำตาลขอนแก่นและบริษัทย่อย รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 25554
งวดเดือนพ.ย.2553 ถึง ต.ค.2554 ว่า บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 1,890
ล้านบาทมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,731 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1,089%
เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยสาเหตุหลักมาจากธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทย
ยอดขายน้ำตาลและราคาขายน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ลดลง
ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นปรับตัวสูงขึ้น
บริษัทมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพิ่มขึ้น 42% จาก 4.3 ล้านตันในปี 2553 เป็น 6.17
ล้านตัน ในปี 2554 ส่งผลให้บริษัทมียอดขายน้ำตาลเพิ่มขึ้น 32% จาก 4.6 แสนตัน ในปี
2553 เป็น 6.1 แสนตัน ในปี 2554
และราคาน้ำตาลตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2554
ส่งผลให้ราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยของบริษัท เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ขณะที่ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยปรับลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น
ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยปรับตัวลดลง นอกจากนี้ในปี 2553
บริษัทได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทมีปริมาณน้ำตาลที่สามารถส่งออกได้จริงต่ำกว่าปริมาณที่ทำสัญญาและปริมาณที่ป้องกันความเสี่ยงไว้
ซึ่งปี 2554 บริษัทไม่มีผลกระทบดังกล่าว
ในภาพรวามส่งผลให้ธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทยของบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 158
ล้านบาทในปี 2553 เป็น 1.6 พันล้านบาทในปี 2554
ส่วนธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า ในปี 2554 บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า
จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพิ่มขึ้น 26% จาก 1.3 แสนเมกะวัตต์ ในปี 2553 เป็น
1.7 แสนเมกะวัตต์ในปี 2554 ส่วนหนึ่งเกิดจากโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าที่บ่อพลอยเฟส 1
ได้เปิดดำเนินการราคาขายไฟฟ้าเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% ในภาพรวม
ส่งผลให้ในธุรกิจไฟฟ้า บริษัทมีผลประกอบการเพิ่มขึ้น 33% จาก 192 ล้านบาทในปี 2553
เป็น 256 ล้านบาทในปี 2554
ธุรกิจผลิตเอทานอลและปุ๋ย เนื่องจากราคาวัตถุดิบกากน้ำตาลทีปรับตัวสูงขึ้น
ประกอบกับราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
ส่งผลให้กำไรต่อหน่วยลดลง ผลประกอบการในธุรกิจเอทานอลในภาพรวม ปรับตัวลดลงจาก 79
ล้านบาทในปี 2553 เป็น 49 ล้านบาทในปี 2554 ทำให้ในปี 2554
บริษัทมีปริมาณชายเอทานอลทั้งหมด 29 ล้านลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับธุรกิจน้ำตาลในต่างประเทศ ผลประกอบการของบริษัทที่ผลขาดทุนลดลงในปี 2553
บริษัทมีผลขาดทุนที่กระทลต่องบรวมทั้งสิ้น 285 ล้านบาท ในปี 2554 บริษัท
ขาดทุนลดลงเหลือ 68 ล้านบาท ด้วยเหตุที่บริษัทมีปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้น
และราคาขายน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยการเคลื่อนไหวราคาหุ้นน้ำตาลขอนแก่นวานนี้
(25 ธ.ค.) ปิดตลาด 13.10 บาท บวก0.10 บาท หรือ 0.77%
จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 28 ธันวาคม 2554
เปิดผลศึกษาปรับโครงสร้างอุตฯอ้อย เลิกระบบ70:30-ลอยตัวราคาน้ำตาล
ทีดีอาร์ไอเปิดผลศึกษาปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ชี้หมดเวลาใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ต้องกำหนดสูตรคำนวณราคาอ้อยใหม่ พร้อมเลิกโควตา ก. ปล่อยให้ราคาลอยตัว หวังใช้ระบบใหม่ฤดูการผลิตปี 56/57 รับเข้าสู่ AEC
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27ธ.ค.)
นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ในฐานะหัวหน้าคณะทีมงานการวิจัยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
ที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายทำการว่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ได้นำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้นต่อชาวไร่
นายวิโรจน์ ชี้แจงผลการศึกษาว่า
จากการศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย
พบว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่และโรงงาน 70:30 ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2527
ได้เดินมาถึงทางตัน
เนื่องจากพบว่าปัจจุบันไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาน้ำตาลขาดตลาดเมื่อราคาส่งออกแพง
ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งโมลาส ชานอ้อย ก็ยากที่จะเจรจาแบ่งปัน
เพราะระบบดังกล่าวทางปฏิบัติไม่ได้เป็นหุ้นส่วน
เพราะชาวไร่ไม่มีส่วนเข้าไปบริหารแต่อย่างใด ดังนั้น
จึงเสนอให้ยกเลิกแล้วกำหนดกติกาใหม่ที่จะสะท้อนกลไกการค้าเสรีมากขึ้น
ผลการศึกษาดังกล่าวจะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากชาวไร่อ้อย และโรงงานแล้ว จึงมีการสรุปอีกครั้งภายในม.ค.2555 ก่อนที่จะเสนอรัฐบาลภายในก.พ.2555 เพื่อเห็นชอบ และหากเป็นไปได้ต้องการเห็นการปรับโครงสร้างอย่างช้าในฤดูการผลิตปี 2556/57 ก่อนที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558นายวิโรจน์กล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอต่อการปรับโครงสร้างสำคัญ เช่น การลอยตัวราคาน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศให้เป็นการซื้อขายแบบเสรีเลิกควบคุม โดยให้ยกเลิกระบบโควตา ก. (จำหน่ายในประเทศ) ซึ่งกรณีเกรงว่าน้ำตาลจะขาดแคลนสามารถให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ทำหน้าที่สต็อกน้ำตาลทรายช่วงปิดหีบให้พอใช้ประมาณ 2 เดือน และไตรมาส 4 ก่อนเปิดหีบใหม่ 2 เดือน
นายวิโรจน์กล่าวว่า กองทุนอ้อยฯ
ต่อไปจะต้องเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองและระบบราชการให้มากขึ้น
และสามารถทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพราคา
เมื่อมีความผันผวนจนกระทบต่อเกษตรกรและราคาในประเทศมาก
ซึ่งกรณีที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช มีการปรับราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 5
บาทต่อกิโลกรัม นำมาใช้หนี้หากชำระหนี้หมดควรจะยังเก็บต่อไป
เพื่อนำมาสร้างความเข้มแข็งให้กองทุนฯ ก่อนลอยตัวน้ำตาล
5 บาทจะไม่เป็นประเด็นอีกต่อไป เพราะเมื่อลอยตัว ส่วนนี้ก็จะเก็บไม่ได้
ซึ่งกรณีที่มีผู้ขอให้ลดเงินกองทุนฯ เวลานี้ขอบอกว่าคิดได้ยังไง
เพราะน้ำตาลยิ่งจะหายไปราคาต่างประเทศยังสูงอยู่นายวิโรจน์กล่าว
นอกจากนี้ ยังจะต้องกำหนดกติกา คำนวณราคาอ้อยที่เป็นราคาเดียวทั่วประเทศที่จะต้องกำหนดรายละเอียดต่างๆ ซึ่งทีดีอาร์ไอเสนอให้นำโมลาสและพรีเมี่ยมมาคิดด้วย เพราะระบบเดิมทำอยู่ พร้อมกับกำหนดประสิทธิภาพสกัดน้ำตาลที่ 90% ทรายดิบอิงราคานิวยอร์ และทรายขาวอิงราคาตลาดลอนดอน และการรับซื้ออ้อยจะเป็นการซื้อขาดที่เหลือโรงงานจะไปผลิตอะไรก็ได้
โดยทั้งหมดเมื่อคำนวณแล้วจะทำให้ชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยที่สูงขึ้นและสะท้อนกับราคาตลาดโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวไร่อ้อยค่อนข้างพอใจกับประเด็นหลักๆ
ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ราคาในประเทศ
แต่บางรายก็ยังต้องการให้มีขั้นตอนการลอยตัวโดยมีการกำหนดเพดานราคาขั้นต่ำเอาไว้
เพราะราคาตลาดโลกใช่จะดีต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ยังต้องขอผลศึกษาไปดูรายละเอียดเพื่อนำเสนออีกครั้ง
จาก http://www.manager.co.th วันที่ 27 ธันวาคม 2554
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบกำหนดเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่ไม่ต่ำกว่า 154 บาทต่อตัน คำนวณเป็นการช่วยเหลือจากต้นทุน 20% ใกล้เคียงกับการที่รัฐบาลช่วยเหลือพืชเกษตรชนิดอื่น และราคาดังกล่าวจะเพิ่มจากราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/2555 ซึ่งกอน.กำหนดไว้ที่ระดับ 1,000 บาทต่อตันอ้อย ค่าความหวาน 10 ซีซีเอส หรือรวมเป็น 1,154 บาทต่อตันอ้อย
"หลังจากนี้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) จะกำหนดแผนการ กู้เงินและแผนการชำระเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ไม่ต่ำกว่า 1.54 หมื่นล้านบาท คำนวณจากอ้อยประมาณ 100 ล้านตัน เพื่อจ่ายส่วนเพิ่มให้ชาวไร่ โดยกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินกู้ใหม่จะส่งผลให้ต้องเก็บเงินเข้ากองทุน 5 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อใช้หนี้กองทุนต่อไป" นายวิฑูรย์กล่าว
นายวิฑูรย์กล่าวว่า สำหรับข้อสรุปการคำนวณค่าอ้อยขั้นปลายฤดูการผลิต 2553/2554 จะยืนมติที่ 1,047.51 บาทต่อตัน โดยเป็นราคาที่คำนวณจากผลผลิตน้ำตาล กากน้ำตาล (โมลาส) คำนวณราคาขายในประเทศและต่างประเทศ และให้โรงงานน้ำตาลทดรองจ่ายส่วนเพิ่มไปก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การคำนวณเป็นไปอย่างรอบคอบได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารน้ำตาลทราย (กบ.) พิจารณาอีกครั้ง หากน้อยกว่าราคาที่กอน.จะนำเงินในระบบจ่ายคืนให้กับโรงงาน
นายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า แม้ชาวไร่จะเสนอให้เพิ่มค่าอ้อยอีก 200 บาทต่อตัน แต่กอน.กำหนดที่ 154 บาทต่อตันก็รับได้ ไม่อยากเรียกร้องอะไรมาก
จาก http://www.khaosod.co.th วันที่ 24 ธันวาคม 2554
บอร์ด"กอน."ยอม เพิ่มราคาอ้อยขั้นต้น ไม่ต่ำกว่า154บาท
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เพิ่มราค้าอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต 2554/2555 ไม่ต่ำกว่า 154 บาทต่อตัน หลังจากที่ผ่านมาชาวไร่อ้อยส่งหนังสือมายังกระทรวงฯ เพื่อขอเพิ่มราคาอีก 200 บาทต่อตัน เนื่องจากต้นทุนการปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,078 บาทต่อตัน สูงกว่าที่กอน.ประกาศที่ 1,010 บาทต่อตันเท่านั้น
ทั้งนี้การเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้น คาดว่าจะต้องให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.)พิจารณาขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) วงเงินประมาณ 15,400 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบัน กท.ยังมีภาระหนี้สินอยู่ 10,012 ล้านบาท โดยหนี้เกิดการจากการเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 2553/2554 จำนวน 105 บาทต่อตัน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบให้โรงงานทดลองจ่ายเพิ่มค่าอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูกาลผลิต 2553/2554 ที่ราคา 1,047.51 บาทต่อตันไปก่อน ซึ่งจะทำให้ชาวไร่มีรายรับเพิ่มขึ้น 945 บาทต่อตัน พร้อมทั้งมอบหมายให้คณะกรรมการบริการ(กบ.) ของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายสำหรับฤดูกาลผลิตต่อไป เพราะขณะนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างโรงงานและชาวไร่เกี่ยวกับการนำผลพลอยได้คือกากน้ำตาล(โมลาส)อ้างอิงราคาขายในประเทศมาคำนวณด้วย จากเดิมจะอิงราคาส่งออก โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
จาก http://www.naewna.com วันที่ 24 ธันวาคม 2554
ชนะ อัษฎาธร ผู้บริหารกลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง (สัมภาษณ์พิเศษ)
"ลิน"น้ำตาลที่มีมากว่าความหวาน
ประเทศไทยคือผู้ส่งออกนำตาลทรายอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศบราซิล
แต่ก็น่าแปลกใจที่หลายๆครั้งมีประเด็นข่าวที่เราไม่น่าเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นได้
เช่นน้ำตาลทรายขาดแคลนประเด็นปัญหาการขึ้นราคาน้ำตาลทราย
หรือการใช้เงินเพื่อเข้าไปชดเชยให้ชาวไร่อ้อย ฯลฯ และ
คงไม่มีใครให้คำตอบดีเท่ากับคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายมานานกว่าครึ่งศตวรรต
คุณชนะ อัษฎาธร ผู้บริหารกลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าวกับ"แนวหน้าโลกธุรกิจ ว่าอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของไทย จะมองว่าแข็งแกร่งก็ได้ จะมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องมีการแก้ไขก็ไม่ผิด ที่บอกแบบนั้นว่าก็เพราะว่าอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านเรา มันมีลักษณะพิเศษ บางคนเรียกว่าเป็นสินค้าการเมือง ไทยส่งออกน้ำตาลมากเป็นอัน 2 ของโลก แต่บางครั้งเรามีประเด็นเรื่องการขาดแคลนน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลทรายบ้านเราถูกที่สุดในโลก ในขณะที่ราคาตลาดโลกวิ่งขึ้นทุกปี แต่เบ้านเรากับถูกกดราคาเอาไว้ ซึ่งก็แปลกดี...
เขาบอกว่าเราอยู่ในอุตสากรรมนี้มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2489 ถึงวันนี้ 65 แล้ว จึงคิดว่าควรก้าวไปข้างหน้าได้มากว่าขายน้ำตาลเป็นกระสอบเหมือนเมื่อก่อน จึงเริ่มหันมาบุกตลาดค้าปลีกมากขึ้น ด้วยการสร้างแบรนด์น้ำตาลทราย"ลิน"ขึ้นมา
ซึ่งถ้าพูดให้ลึกลงไปอีกขายน้ำตาลถ้าคิดว่าแค่เอามาบรรจุถุงเล็กๆ หรือแพ็คเก็ตสวยๆมันก็แค่นั้นไม่ต่างอะไร เพราะน้ำตาลยังไงก็น้ำตาลมันหวานเหมือนกันหมด ไม่ว่ายี่ห้อไหน ดังนั้น"ลิน"จึงต้องคิดให้ต่างๆไป...
ทำให้"ลิน"ได้เริ่มเพิ่มไลน์สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากน้ำตาลทราย โดยเริ่มจากน้ำเทำตลาดน้ำเชื่อม ภายใต้แบรนด์"ลิน ไซรัป" ในปี2553 โดยเราพัฒนาให้น้ำเชื่อไม่ใช่แค่น้ำเชื่อมธรรมดา แต่เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นของ คาราเมล และกลิ่น เฮเซลนัท ซึ่งก็ได้รัการตอบรับจากผู้บริโภค เป็นอย่างดี โดย ลิน ไซรัป กลิ่นคาราเมล และกลิ่น เฮเซลนัท ได้ถูกนำไปเป็นส่วนผสม ของเครื่องดื่มชนิดต่างๆ รวมทั้งเป็นส่วนผสมของเบเกอรี มากกมายหลายชนิด
และหลังจากที่" ลิน ไซรัป"เป็นที่ยอมรับของตลาดแล้ว ก็มีเสียงเรียกร้องมากจากกลุ่มลูกค้าของเรา ให้ พัฒนาไซรัปใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติด้านกลิ่นและรสชาติทัดเทียมผลิตภัณฑ์นำเข้าที่หาซื้อได้ยากและมีราคาสูงมาก ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 'ลิน' จึงได้คิดค้นสูตรน้ำเชื่อมเข้มข้นกลิ่นผลไม้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับเดียวกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ในราคาที่คุ้มค่าและหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำทั่วไป
จึงเป็นที่มาของ"ฟรุ้ต ไซรัป กลิ่นแอปเปิ้ลเบอร์รี่ และกลิ่นฟอเรสท์เบอร์รี่ " ที่เริ่มออกทำตลาดอยู่ในขณะนี้
คุณชนะ อัษฎาธร กล่าวอีกว่าแต่เดิม ผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมกลิ่นผลไม้เท่าที่มีอยู่ในตลาดยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทั้งหมด ด้วยความที่คุณสมบัติทั้งกลิ่นและรสชาติยังด้อยกว่าผลิตภัณฑ์นำเข้าเกรดพรีเมียม ดังนั้นจึงเป็นปัญหาสำหรับผู้บริโภคซึ่งต้องการความหวานหอมของน้ำเชื่อมในการสร้างสรรค์เมนูเครื่องดื่มหรือของหวานสูตรพิเศษ "ลิน"จึงคิดค้นและพัฒนาน้ำเชื่อมเข้มข้นกลิ่นผลไม้ที่มีคุณสมบัติในระดับเดียวกับผลิตภัณฑ์นำเข้า เพื่อเสนอทางเลือกใหม่ให้กับผู้นิยมเครื่องดื่มหรือขนมหวานที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมกลิ่นผลไม้ และถือเป็นการเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ไทยที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับของนำเข้าซึ่งให้ความสะดวกและคุ้มค่ายิ่งกว่าทั้งด้านราคาและการเข้าถึงสินค้า โดย ลิน ฟรุ้ตไซรัป มีให้เลือก 2 กลิ่น คือกลิ่นแอปเปิ้ลเบอร์รี่และกลิ่นฟอเรสท์เบอร์รี่ ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นส่วนประกอบในเมนูของหวานและเครื่องดื่มมากมาย เช่น Italian Soda, Punch, Smoothie, Cocktail, หรือเป็นส่วนผสมของเค้ก เนื้อครีม เป็นท้อปปิ้งขนมและไอศกรีม ฯลฯ
สำหรับแผนการทำตลาดของ ลิน ฟรุ้ต ไซรัป จะทำใน 2 รูปแบบพร้อมกันไปคือ การโฆษณาผ่านสื่อเพื่อทำให้แบนด์เป็นรู้จัก พร้อมกับการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคว่า ลิน ฟรุ้ต ไซรัป สามารถพัฒนาคิดค้นสูตรอาหารหรือเครื่องดื่มอะไรใหม่ๆได้บ้าง โดยขณะนี้ได้ ให้ พล ตัณฑะเสถียร ในฐานะ Brand Ambassador ซึ่งเป็นผู้ทีทมีความรู้เรื่องอาหารโดยตรง มาทำหน้าที่คิดสูตรขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการผสมเครื่องดื่มและขนมหวานด้วย ลิน ฟรุ๊ต ไซรัป และถ่ายทอดให้ผู้บริโภคที่สนใจผ่านรายการแนะนำอาหารของคุณพลเอง
นอกจากนี้มีแผนสร้างพันธมิตรกับหน่วยงานหรือสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านอาหารและเครื่องดื่ม เช่นสถาบันการอาหารนานาชาติสวนดุสิต และนิตยสาร Gourmet & Cuisine ร่วมด้วย การออกบูทประชาสัมพันธ์ หรือ Tie in สินค้าในรายการอาหารทางโทรทัศน์, ใช้สื่ออินเตอร์เน็ต เช่น Face book จัดกิจกรรมชงและชิมเพื่อเข้าถึงและสร้างการยอมรับในหมู่ผู้บริโภค ณ จุดขายและตาม High Traffic ต่าง ๆ ตลอดจนสอดแทรกข้อมูลและสูตรอาหารเครื่องดื่มที่น่าสนใจในสื่อนิตยสาร โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่คนรุ่นใหม่อายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
คุณชนะบอกว่าอีกว่าจริงแล้วการทำตลาดค้าปลีกก็ไม่ได้สร้างมาร์จินอะไรมากมายนัก รายได้ก็ไม่ได้มากเมื่อเทียบกับยอดขายหลักที่มาจากน้ำตาลทรายกระสอบ แต่ที่พยามพัฒนาไลน์สินค้าใหม่ขึ้นมา ก็เพื่อสร้างแบรนด์แบรนด์หนึ่งของคนไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น และเพื่อทำให้ประชาชนได้มีทางเลือก และได้สร้างสรรค์เมนูอาหารและเครื่องดื่มใหม่ๆขึ้นมา ที่สำคัญก็เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าในชนิดเดียวกันนี้ ที่มีราคาสูงกว่าของไทยถึง 50 %
จาก http://www.naewna.com วันที่ 24 ธันวาคม 2554
รง.น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์เปิดสถานีสูบน้ำช่วยชาวไร่อ้อยหน้าแล้ง
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าฯกาฬสินธุ์
นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.น้ำตาลมิตรผล
พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ร่วมกันเปิดสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านสมสะอาด
ต.สมสะอาด อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยและช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับเกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง
กาฬสินธุ์ - โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์
นำร่องเปิดสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า หวังเพิ่มผลผลิตอ้อย
และช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับเกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง
ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกรและชุมชนให้ดีขึ้นในอนาคต
วันนี้ (23 ธ.ค.) นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
นายบรรจง กุลอาจศรี นายก อบต.สมสะอาด นายไพฑูรย์ ประภาถโร ผู้อำนวยการด้านอ้อย
โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์
สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดกาฬสินธุ์
สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำในตำบลสมสะอาดร่วมกันเปิดสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
ตั้งอยู่บ้านสมสะอาด ตำบลสมสะอาด อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ และ อบต.สมสะอาด ได้ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะและสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขึ้น เพื่อนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะใช้ในการปลูกอ้อย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับเกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง
โดยจะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกรและชุมชนให้ดีขึ้นในอนาคต
นายไพฑูรย์ ประภาถโร ผู้อำนวยการด้านอ้อย โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากน้ำซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการเกษตร แต่ปริมาณฝนตามธรรมชาติที่ตกลงมาในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการเพราะปลูกพืชต่างๆ
ดังนั้น โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จึงได้ริเริ่มพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ สู่ระบบชลประทาน และบริหารจัดการใช้น้ำเพื่อการเกษตรขึ้น โดยการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 18,500,000 บาท ก่อสร้างระบบสูบน้ำผ่านท่อรับแรงดันจากสถานีสูบน้ำอ่างเก็บน้ำบึงหนองคล้า เพื่อกระจายน้ำไปยังสระเก็บน้ำแต่ละแปลงของชาวไร่อ้อยในตำบลสมสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ 3,300 ไร่ สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตรในช่วงหน้าแล้งให้กับชาวไร่อ้อยได้กว่า 500 ครอบครัว
ทั้งนี้ คาดว่า ผลผลิตอ้อยของเกษตรจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากเดิมเฉลี่ย 10 ตันต่อไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 20 ตันต่อไร่ และหากราคาอ้อยอยู่ที่ 1,158 บาทต่อตันจะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมากถึง 38,214,000 บาท ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกรและชุมชนให้ดีขึ้นในอนาคต
จาก http://www.manager.co.th วันที่ 23 ธันวาคม 2554
ชาวไร่ขีดเส้นรัฐเคาะราคาอ้อย23 ธ.ค.ถ้าไม่ได้เจอดีแน่
ชาวไร่อ้อยขีดเส้นตาย 23 ธ.ค.นี้ หากกอน.ยังเคาะราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต54/55 ไม่ได้เจอดีแน่ วันนี้ ( 21 ธ.ค.) นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) ว่า ชาวไร่อ้อยยืนยันเหมือนเดิมที่จะให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กน.)นำเงินที่เรียกเก็บจากน้ำตาลทราย 5 บาทต่อ ก.ก. มาช่วยจ่ายเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี54/55 อีก 200 บาทต่อตัน เพราะต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยปีนี้คำนวณได้ที่ระดับ 1,070 บาทต่อตัน ขณะที่ที่ประชุม กอน.คำนวณต้นทุนราคาอ้อยไว้แค่ 1,010 บาทต่อตันเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก
ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี54/55 จะต้องจบภายในสัปดาห์นี้ ถ้าไม่จบชาวไร่อ้อยจะไม่ยอมแล้ว เพราะวันศุกร์นี้เป็นวันสุดท้ายแล้วที่จะต้องประกาศราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 54/55 เพื่อนำเข้าที่ประชุม ครม.ให้ทันนัดสุดท้ายของปีนี้
นายกำธร กล่าวต่อว่า ผลผลิตอ้อยปีนี้คาดว่าจะได้ไม่ถึงตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ระดับ 99.5 ล้านตัน และยังคาดว่าน่าจะต่ำกว่าผลผลิตอ้อยของปีก่อนที่ปริมาณ 95.5 ล้านตัน เนื่องจากเจอปัญหาทั้งน้ำท่วมในพื้นที่ปลูกอ้อยภาคเหนือและภัยแล้งในพื้นที่ปลูกอ้อยทางภาคกลาง เฉพาะแค่พื้นที่ปลูกอ้อยในเขต7 จังหวัดกาญจนบุรีก็พบว่าเริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง จนทำให้ปริมาณผลผลิตอ้อยในเขต7 ลดลงไปแล้วเกือบ 10%
แหล่งข่าวจากกอน.กล่าวว่า ที่ประชุมได้สรุปที่จะให้โรงงานจ่ายราคาอ้อยขั้นสุดท้ายไปก่อนแล้วตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูข้อเท็จจริงแล้วจึงนำไปหักลบในราคาขั้นสุดท้ายปี 54/55 โดยปัญหาราคาขั้นสุดท้ายดังกล่าวอยู่ที่การคำนวณราคาโมลาส(กากน้ำตาล)ที่โรงงานต้องการยึดกติกาเดิมที่คิดเฉพาะราคาส่งออก แต่ชาวไร่ต้องการคิดราคาตามข้อเท็จจริงที่ ขณะที่ขั้นต้นปี 54/55 กบ.ได้เห็นชอบส่วนเพิ่มให้ชาวไร่เพียง 158 บาทต่อตันคงจะต้องดูว่าที่สุดจะยืนมติเดิมหรือไม่.
จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 21 ธันวาคม 2554
พาณิชย์ออกหนังสือรับรองชำระภาษีนำเข้าน้ำตาล
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ออกระเบียบ เรื่องการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับการนำเข้าน้ำตาล ปี 2555 ซึ่งสินค้าน้ำตาลที่จะออกหนังสือตามระเบียบนี้ ต้องมีถิ่นกำเนิดและส่งมาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และสปป.ลาว โดยมีปริมาณรวม 13,760 เมตริกตัน ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ได้จากอ้อย หรือหัวบีต และซูโครสที่บริสุทธิ์ พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าประเภทย่อย 1701.11.00, 1701.12.00, 1701.91.00, 1701.91.11, 1701.99.19 และ 1701.99.90
สำหรับผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องเป็นนิติบุคคล ที่มีประวัติการนำเข้าน้ำตาลก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 โดยสามารถยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบให้เป็นผู้พิจารณาออกหนังสือรับรองฯให้แก่ผู้ยื่นขอตามหลักการยื่นขอก่อนได้รับสิทธิก่อน (first-come, first-served) โดยให้ยื่นคำขอหนังสือรับรองได้นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า หนังสือจะรับรองมีอายุหนึ่งเดือนนับแต่ออก แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และจะต้องรายงานการนำเข้าต่อกรมการค้าต่างประเทศพร้อมสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสลักรายการถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่ละครั้ง ทั้งนี้หากไม่รายงานการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ และให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายระงับการออกหนังสือรับรองฯ ในครั้งต่อไป
จาก http://www.thanonline.com วันที่ 17 ธันวาคม 2554
กองทุนอ้อยฯจ่อกู้อีก1.5หมื่นล. ดันราคาขั้นต้นอุ้มกลุ่มชาวไร่
แหล่งข่าวจาก กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการบริหาร (กบ.)สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ที่มีนายณัฐพล ณัฐฏสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ได้พิจารณาเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 ห้แก่ชาวไร่อีก 158 บาทต่อตัน ส่งผลให้ราคาอ้อยขั้นต้นจะอยู่ที่ 1,158 บาทต่อตัน (ค่าความหวานเฉลี่ย 10 ซี.ซี.เอส.) ซึ่งทำให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่าที่ประกาศไว้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อตัน
ก่อนหน้านี้ชาวไร่เรียกร้องให้เพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นอีก 200 บาทต่อตัน เป็น 1,200 บาทต่อตัน โดยอ้างว่าต้นทุนการปลูกอ้อยของชาวไร่อยู่ที่ 1,078 บาทต่อตัน
" กบ.จะนำมติดังกล่าวเสนอต่อ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน พิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในขั้นสุดท้าย เพื่อให้ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.)วงเงินราว 1.56 หมื่นล้านบาท เพื่อมาจ่ายเพิ่มให้กับชาวไร่" แหล่งข่าว กล่าว
ด้านนายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า ชาว ไร่ไม่ขัดข้องและรับได้หากกนอ.จะมีการพิจารณาจ่ายค่าอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต 2554/2555 ให้แก่ชาวไร่อีก 158 บาทตามที่ กบ.จะเสนอ ซึ่งเป็นการคำนวณจากต้นทุน และค่าครองชีพโดยรวมที่สูงขึ้น
จาก http://www.naewna.com วันที่ 15 ธันวาคม 2554
"มิตรผล" คิดเครื่องปลูกอ้อย แบบ 2 แถว ช่วยเพิ่มผลผลิต
อ้อย นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอ้อยส่งออกน้ำตาล ซึ่งเป็นผลิตผลโดยตรงจากอ้อยในอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น ในทุกวันนี้จึงมีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเครื่องจักรกลใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถที่จะประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เครื่องปลูกอ้อย รุ่นมหารวย เป็นอีกหนึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกคิดค้นพัฒนาออกมาเพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อย โดยบริษัท ไร่อีสาน จำกัด (บริษัทในเครือมิตรผล) และโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญอันเป็นที่มาของการคิดค้นจนได้เครื่องปลูกอ้อย Super Rich รุ่นมหารวย เกิดขึ้นเพราะเสียงสะท้อนจากปัญหาในการปลูกอ้อยของเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมของบริษัท
ดังเช่น คุณอุทิศ บุตรเวียงพันธุ์ เกษตรกรชาวไร่อ้อยและช่างท้องถิ่น ตำบลสงเปือย อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่พบในการปลูกอ้อยว่า
การเลือกเวลาปลูกอ้อยที่เหมาะสมนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเวลาปลูกมีอิทธิพลต่อการเตรียมดิน การบำรุงรักษา การเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต ตลอดจนเวลาตัดหรือเก็บเกี่ยวที่สำคัญคือ การปลูกอ้อยในประเทศไทยส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำฝน จึงมีการปลูกอ้อยกัน 2 ช่วง คือปลูกต้นฝนกับปลูกปลายฝนอย่างทางภาคกลาง เมื่อก่อนก็ปลูกต้นฝน แต่ตอนนี้หันมานิยมปลูกปลายฝนกันมากขึ้น คือช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งมีระยะเวลาปลูกเพียง 45 วัน เท่านั้น ที่ดินมีความชื้นเหมาะสมทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกของอ้อยสูงสุด
ข้อดีของการปลูกอ้อยปลายฝนคือ ไม่ต้องสูบน้ำให้อ้อย ลดปัญหาวัชพืช อ้อยได้ใช้น้ำฝนเต็มที่และมีเวลาในการเจริญเติบโตนานกว่า จึงให้ผลผลิตสูงกว่า นอกจากนั้น ยังสามารถตัดอ้อยได้ตั้งแต่ต้นฤดูหีบอีกด้วย แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องปลูกให้เสร็จทันเวลา ก่อนที่ความชื้นในดินจะหมด อย่างเกษตรกรบางรายมีพื้นที่ปลูกหลายร้อยไร่ก็ปลูกไม่ทัน พอปลูกช้าไปสัก 2-3 เดือน เปอร์เซ็นต์การงอกของอ้อยต่ำ อ้อยยังโตไม่เต็มที่ ก็ถึงคราวต้องตัดส่งขายโรงงานน้ำตาล ทำให้ผลผลิตอ้อยต่ำและเปอร์เซ็นต์ความหวานของอ้อยไม่สูง จึงขายไม่ได้ราคาเต็มตามที่ควรจะเป็น
เรื่องนี้จึงถือเป็นปัญหาที่ยังแก้กันไม่ตก ชาวไร่ไม่อยากจ้างผู้รับเหมาเพิ่ม เพราะมีทั้งค่าแรง ค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น บางทีผลผลิตที่ได้ก็ไม่พอกับต้นทุน คุณอุทิศ กล่าว
จากที่ได้รับทราบถึงปัญหาการปลูกอ้อยไม่ทันของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ทางบริษัท ไร่อีสาน จำกัด (บริษัทในเครือมิตรผล) และโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จึงได้คิดค้นเครื่องปลูกอ้อยรุ่นใหม่ขึ้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรปลูกอ้อยได้ทันเวลา เพิ่มผลผลิตอ้อยต่อไร่ มีอ้อยเข้าหีบทั้งปริมาณและคุณภาพสูง โดยใช้เวลาเท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิมเสียอีก
คุณสุเทพ มีบุญ รักษาการผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายไร่ 3 บริษัท ไร่อีสาน จำกัด อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ หนึ่งในทีมผู้พัฒนาเครื่องปลูกอ้อย รุ่นมหารวย กล่าวว่า
เครื่องปลูกอ้อยรุ่นนี้เราคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการปลูกอ้อยไม่ทันช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นระยะเวลาปลูกที่อ้อยจะให้ผลผลิตดีที่สุด เราได้ประดิษฐ์เครื่องปลูกอ้อยรุ่นใหม่ ชื่อ รุ่นมหารวย โดยนำรถแทรกเตอร์และเครื่องปลูกอ้อยเดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงเพิ่ม ใช้เงินลงทุนเพียง 65,000 บาท เท่านั้น ก็สามารถดัดแปลงเป็นเครื่องปลูกอ้อยที่เคยปลูกได้ครั้งละแถวเดียว เป็นปลูกได้ครั้งละ 2 แถว ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้ปริมาณมากขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว อีกทั้งประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุนในการปลูกและการดูแลรักษาอ้อย ถ้ามีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก ใช้เครื่องปลูกอ้อยรุ่นนี้ ยิ่งมีกำไรมาก
ขณะที่ คุณกฤษฎา มณเฑียรวิเชียรฉาย กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผลส่งเสริมให้โรงงานกับเกษตรกร ทำงานร่วมกัน ตามแนวคิด ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ พอทางโรงงานทราบถึงความต้องการของเกษตรกร ก็พยายามหาทางช่วยแก้ไขปัญหา โดยทุกปี บริษัทจะเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับ ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ มิตรผลสร้างสรรค์นวัตกรรมดีเด่น ประจำปี 2554
สำหรับเครื่องปลูกอ้อย รุ่นมหารวย เป็นผลงานชนะเลิศของปีนี้ ในประเภท นวัตกรรมด้านกระบวนการผลิต (Product & Process Excellence) ซึ่งทางกลุ่มมิตรผลรู้สึกภูมิใจในพนักงานและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โรงงานสามารถช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้มีความยั่งยืนในอาชีพการทำไร่อ้อย เกษตรกรมีรายได้เพิ่มและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
คุณดวงมร บุญคุ้ม เกษตรกรบ้านสารจอด ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ผู้ที่ได้ใช้เครื่องปลูกอ้อยรุ่นมหารวยมาแล้ว บอกว่า ปกติจะปลูกด้วยเครื่องปลูกอ้อยแบบแถวเดียว อย่างมากก็ปลูกได้วันละ 8-10 ไร่ พอทางมิตรผลนำเครื่องปลูกอ้อยรุ่นมหารวยมาให้ทดลองใช้งาน ปรากฏว่าปลูกได้วันละ 18-20 ไร่ และปลูกได้ทันตามฤดูกาล ที่ดีกว่านั้น คือยังได้อ้อยเพิ่ม 3-4 ตัน ต่อไร่ ด้วย ลดค่าจ้างแรงงาน ลดค่าน้ำมัน ไปได้มากเลยทีเดียว เครื่องปลูกอ้อยรุ่น มหารวย ใช้งานสะดวก ง่ายมาก ลงทุนก็ไม่แพงจนเกินไป
เครื่องปลูกอ้อย Super Rich รุ่นมหารวย นับเป็นอีกผลงานความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อวงการเกษตร ทั้งยังสร้างรายได้เพิ่มให้ชาวไร่อ้อย สมชื่อเครื่องปลูกอ้อยอีกด้วย
จาก http://www.matichon.co.th วันที่ 14 ธันวาคม 2554
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลประกาศนโยบายยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 วันที่ 1 ต.ค. 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้เอทานอลในการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อย่างไรก็ตามต้องการให้รัฐบาลพิจารณานโยบายการขอความร่วมมือจากบริษัทน้ำมันในประเทศแบ่งสัดส่วนการรับซื้อเอทานอลจากกากน้ำตาล (โมลาส) และมันสำปะหลังอย่างละ 50% เพื่อส่งเสริมธุรกิจเอทานอลและเกษตรกรให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
"ผมถือว่ารัฐบาลนี้กล้าหาญมากที่ประกาศชัดเจนที่จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ในวันที่ 1 ต.ค. 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้เอทานอลที่ผลิตจากพืชเกษตรในประเทศซึ่งจะทำให้การใช้เอทานอลสูงกว่า 2 ล้านลิตรต่อวัน แต่จะให้ยั่งยืนควรจะให้ผู้ค้าน้ำมันรับซื้อจากเอทานอลที่ผลิตจากโมลาส 50% และมันสำปะหลัง 50% หรือเฉลี่ยอย่างละ 1 ล้านลิตรต่อวัน เมื่อเลิกขายเบนซิน 91 เพื่อแก้ปัญหาเมื่อวัตถุดิบใดราคาแพงก็จะทำให้ผู้ค้าหันไปซื้อเอทานอลจากวัตถุดิบที่ราคาต่ำกว่า" นายอนุสรณ์กล่าว
จาก http://www.khaosod.co.th วันที่ 12 ธันวาคม 2554
ต้นทุนพุ่ง!ผู้ผลิตเอทานอลแห่เจ๊ง
เอกชนเผยโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง
ทยอยปิดหลังต้นทุนสูงกว่าใช้โมลาส แนะแก้โดยอิงราคาตามประกาศ สนพ.
เมินข้อเสนอบางจากให้ผู้ค้าน้ำมันซื้ออย่างละครึ่ง
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ค้าและผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า
ขณะนี้ผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังต้องหยุดผลิตชั่วคราวประมาณ 3
รายเนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงไม่คุ้มทุน เพราะราคาหัวมันเฉลี่ยสูงถึง 2.80-3
บาทต่อกิโลกรัม มันเส้นสูง 7-8 บาทต่อกิโลกรัม
แต่ไม่เห็นด้วยหากจะแก้ไขปัญหาด้วยการให้ผู้ค้าน้ำมันแบ่งซื้อจากมันสำปะหลังและโมลาสอย่างละ
50% เพราะโรงงานผลิตจากมันสำปะหลังมีน้อยกว่าโมลาส
ทางที่ดีผู้ค้าน้ำมันควรจะรับซื้อเอทานอลในราคาอ้างอิง
ตามประกาศของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(สนพ.)
โรงงานผลิตจากมันฯ อย่างเดียวมี 3 แห่ง แต่อีก 4 แห่ง แม้จะผลิตจากมันฯ
แต่สามารถปรับไปผลิตจากโมลาสได้ หรือประเภทไฮบริดจ์ แต่ที่ผลิตจากโมลาสมีมากกว่า 10
แห่ง ถ้าซื้ออย่างละ 50% ก็ไม่ใช่ทางแก้เพราะตอนที่โมลาสราคาแพงเขาก็รับภาระเช่นกัน
แต่ทำไมผู้ค้าไม่ซื้อในราคาอ้างอิง เพราะเฉลี่ยที่ผ่านมาซื้อต่ำกว่าตลอด
นายสิริวุธ กล่าว
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ค้าน้ำมันหันไปซื้อเอทานอลกับผู้ผลิตจากโมลาส แทนการซื้อจากผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง เนื่องจากการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังมีต้นทุนสูงกว่า ทำให้ราคาเอทานอลแพงกว่าโมลาส ประมาณ 2 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ขณะนี้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง หลายรายต้องปิดกิจการไป ดังนั้น หากผู้ค้าน้ำมันซื้ออย่างละ 50% เมื่อนำไปผสมกันเพื่อจำหน่ายก็ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องราคามากนัก
ปัจจุบันการใช้เอทานอลอยู่ระดับ 1 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมทำให้การใช้น้ำมันปรับลดลง จึงส่งผลต่อการใช้เอทานอลลดลงเฉลี่ย 2-3 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งขณะนี้การใช้เริ่มไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าว่าเมื่อถึงเดือน ต.ค. 2555 การใช้น่าจะขยับไปอยู่ที่ 2 ล้านลิตรต่อวัน เพราะรัฐบาลเลิกขายเบนซิน 91
จาก http://www.thaipost.net วันที่ 12 ธันวาคม 2554
ลุ้นตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลอุตรดิตถ์-นำร่องแห่งแรก
อุตรดิตถ์ - ที่ปรึกษากระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ อบจ.ร่วมจิต เมืองลับแล เดินเครื่องสำรวจศักยภาพตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล ใช้เปลือกมะม่วงหินมพานต์-ซังข้าวโพด-ชานอ้อย เป็นเชื้อเพลิง หวังใช้เป็นต้นแบบทำทั่วประเทศ
นายคนอง เมืองพุ่ม
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร่วมจิต อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า
ก่อนหน้านี้ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เข้ามาทำเวทีประชาคมในพื้นที่
ต.ร่วมจิต ทั้ง 11 หมู่บ้าน เพื่อสำรวจศักยภาพของท้องถิ่น ว่า
มีความพร้อมที่จะตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลด้านไหน จากนั้นได้มีการออกแบบ
และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาวิสาหกิจไฟฟ้าพลังงานในชุมชนด้านพลังงานเชื้อเพลิง
เน้นวัสดุที่เป็นชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
โดยเฉพาะที่ ต.ร่วมจิต มีเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซังข้าวโพด ชานอ้อยจำนวนมากนั้น
นายคนอง กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน แจ้งว่า
จะใช้พื้นที่ ต.ร่วมจิต เป็นโมเดลต้นแบบดำเนินการทั่วประเทศ
ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นเครื่องขนาดเล็ก
เมื่อผ่านกระบวนการผลิตไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ฝุ่นผงซึ่งเกิดจากขั้นตอนการเผาไหม้จะไม่ลอยออกไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อยู่อาศัยละแวกนั้น
โดยต้องให้เกิดการยอมรับและเข้าใจ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพราะจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อชาวบ้านเอง
เนื่องจากจะเป็นพลังงานทางเลือกพลังงานทดแทนตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน
ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลจะเป็นพลังงานที่สะอาด และปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
นายคนอง บอกว่า
ปกติชาวบ้านมักจะเผาเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซังข้าวโพด ชานอ้อยอยู่แล้ว
ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มมลภาวะให้กับอากาศโดยที่ชาวบ้านคิดไม่ถึง
แต่เมื่อมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้น
เราก็จะนำเศษซากวัสดุเหล่านี้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้า
ซึ่งจะเป็นการเผาไหม้ในระบบปิดที่ไม่มีการปลดปล่อยสารพิษใดๆ ออกมาเลย
และก็จะเป็นการกำจัดขยะไปในตัวโดยที่ไม่มีการสร้างมลภาวะ
สำหรับที่ ต.ร่วมจิต จากการสำรวจพบว่า
มีจำนวนประชากรประมาณ 250 ครอบครัว คิดว่า ควรสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์
ก็น่าจะพอใช้งาน
หรือว่าจะสร้างใหญ่กว่านั้นก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะวัตถุดิบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงจำนวนมหาศาล
นายก อบต.ร่วมจิต กล่าวอีกว่า ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในพื้นที่ ต.ร่วมจิต และพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะประโยชน์จะเกิดกับประชาชนอย่างแท้จริงสามารถช่วยประหยัดการใช้พลังงานจากไฟฟ้าทั่วไปได้ ขณะเดียวกัน หากมีการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขึ้นจริง จะมีงบประมาณจากกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า สามารถนำมาพัฒนาพื้นที่ได้เป็นการสนับสนุนงบประมาณของ อบต.ที่ได้รับประจำปีอยู่แล้ว
จาก http://www.manager.co.th วันที่ 9 ธันวาคม 2554
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย แนะเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด
ตามที่มีการคาดการณ์ว่าราคาอ้อยปีนี้จะสูงกว่าปีที่ผ่านมา
เกษตรกรจึงหันมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น จากการสำรวจพบจำนวนเกษตรกรเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000
ราย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยไม่มากนัก
นายไพรเพชร จิตตุรงค์อาภรณ์ หัวหน้าเขตประสานงานอ้อยและน้ำตาลทราย 2
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า
จากที่มีจำนวนเกษตรกรที่หันมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น
ประกอบกับมีอ้อยตกค้างจากปีที่ผ่านมา
คาดว่าปีนี้จะมีปริมาณอ้อยที่ป้อนเข้าสู่โรงงานมากขึ้น
ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยบางส่วนนิยมเผาอ้อยเพื่อให้ง่ายต่อการตัด
อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการอ้อยท้องถิ่นมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรคำนึงถึงการตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงาน
ซึ่งระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายระบุว่า
หากชาวไร่อ้อยรายใดตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานจะได้รับราคาอ้อยเพิ่มจากปกติทันทีตันละ
70 บาท และหลังจากปิดหีบลงแล้ว
หากมีเงินเหลือในบัญชีของคณะกรรมการควบคุมการผลิตประจำโรงงาน
ก็จะสามารถเฉลี่ยคืนให้กับชาวไร่อ้อยอีกช่วงหนึ่ง
ต่างกับชาวไร่อ้อยที่เผาอ้อยส่งเข้าโรงงาน จะถูกตัดราคาทันที ตันละ 20 บาท
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จึงแนะเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ตัดอ้อยสด
จะได้ประโยชน์มากกว่าตัดอ้อยไฟไหม้
จาก http://thainews.prd.go.th วันที่ 7 ธันวาคม 2554
ลุ้นราคาอ้อยปีเพิ่ม200บาทต่อตัน
กบ.โยนกอน.เคาะกู้เงินเพิ่มค่าอ้อย 200 บาทต่อตันให้ชาวไร่ คาดใช้แนวทางเดียวกับปีก่อนอ้างอิง
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 ที่ชาวไร่อ้อยต้องการให้มีการเพิ่มราคาอ้อยอีก 200 บาทต่อตัน จากเดิมที่พิจารณาราคาอ้อยจะอยู่ที่ระดับ 1,000 บาทต่อตัน โดยต้นทุนที่ชาวไร่อ้อยขอ 200 บาทนั้น เป็นต้นทุนเฉลี่ยที่แท้จริง 1,078 บาทต่อตัน ดังนั้นราคาอ้อยที่กำหนดไว้ที่ 1,000 บาทต่อตัน จึงเป็นราคาที่ไม่คุ้มทุน ซึ่งกบ.จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้พิจารณาในวันที่ 13 ธ.ค. 2554 ว่าจะให้เพิ่มค่าอ้อยเต็มจำนวน 200 บาทต่อตัน หรือไม่ และหากจะกู้เต็มจำนวน 200 บาท จะต้องกู้ในวงเงินประมาณ 1.98 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ การพิจารณาอาจจะใช้เกณฑ์จากฤดูกาลผลิตปี 2553/2554 มาเป็นแนวทางการพิจารณา โดยในฤดูกาล 2553/2554 ต้นทุนเฉลี่ยที่แท้จริงอยู่ที่ 978 บาทต่อตัน ราคาอ้อยขั้นต้นพิจารณาที่ 945 บาทต่อตัน เพิ่มค่าอ้อยให้ชาวไร่โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้เงิน 105 บาทต่อตัน ส่งผลให้ราคาอ้อยอยู่ที่ 1,050 บาทต่อตัน โดยคิดเป็นเงินเพิ่มจากต้นทุนที่แท้จริง 72 บาทต่อตัน
ชาวไร่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ เพื่อให้ชาวไร่ประกอบอาชีพต่อไปได้ ซึ่งกอน.อาจจะพิจารณาให้เต็มจำนวน 200 บาทหรือไม่ก็ได้ และจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยหนี้ก้อนเดิมที่กู้มาเพิ่มค่าอ้อย 105 บาทต่อตันคาดว่าจะชำระหมดภายในเดือนก.พ.2555 นายณัฐพล กล่าว
นายณัฐพล กล่าวว่า การประชุมกอน.ในครั้งที่ผ่านมาได้มีการพิจารณาบัญชีจัดสรรน้ำตาลทรายฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 โดยพิจารณาจากปริมาณอ้อย 99.5 ล้านตันอ้อย ปริมาณน้ำตาลที่คาดว่าจะผลิตได้ 102.8 ล้านกระสอบ จัดสรรโควตา ก. (น้ำตาลเพื่อการบริโภคในประเทศ) ไว้ที่ 24 ล้านกระสอบ โควตา ข. (น้ำตาลเพื่อการส่งออกโดยบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย หรืออนท.) 8 ล้านกระสอบ ที่เหลือเป็นน้ำตาลทรายโควตา ค. (น้ำตาลเพื่อการส่งออก)
คำนวณค่าความหวานเฉลี่ย 11.87 ซี.ซี.เอส. ราคาส่งออก 24.7 เซนต์ต่อปอนด์ และอัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยเหตุผลที่กำหนดน้ำตาลโควตา ก. ไว้ที่ 24 ล้านกระสอบต่ำกว่าปีก่อนที่กำหนดไว้ที่ 25 ล้านกระสอบ เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำตาลค้างกระดานอยู่เป็นจำนวนมาก และน้ำตาล 24 ล้านกระสอบจะเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประ เทศอย่างแน่นอน
สำหรับปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลและน้ำตาลคงเหลือ ณ วันที่ 6 ธ.ค. 2554 น้ำตาลทรายโควตา ก. ที่ 25 ล้านกระสอบ ขึ้นงวดรอการจำหน่ายแล้ว 24.9 ล้านกระสอบ จำหน่ายแล้ว 22.1 ล้านกระสอบ มียอดน้ำตาลค้างกระดาน 2.8 ล้านกระสอบ
จาก http://www.posttoday.com วันที่ 6 ธันวาคม 2554
เล็งเพิ่มค่าอ้อยให้ชาวไร่ นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานมีมติกำหนดบัญชีจัดสรรน้ำตาลฤดูกาลผลิต 2554/2555 จากประมาณการผลผลิตทั้งปี 99.5 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลทราย 102.8 ล้านกระสอบ จึงกำหนดให้น้ำตาลทรายเพื่อบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) จำนวน 24 ล้านกระสอบ ลดลงจากปีที่ผ่านมากำหนดไว้ที่ 25 ล้านกระสอบ เนื่องจากน้ำตาลทรายที่เหลือค้างกระดานเฉพาะฤดูการผลิต 2553/2554 มากถึง 2.8 ล้านกระสอบ ส่วนน้ำตาลทรายดิบเพื่อส่งออก (โควตา ข.) 8 แสนกระสอบ และเหลือน้ำตาลทรายขาวเพื่อการส่งออก (โควตา ค.) 78 ล้านกระสอบ
ปริมาณการส่งออกรวมจะอยู่ที่ 78.8 ล้านกระสอบ เมื่อคำนวณราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก 24.7 เซนต์ต่อปอนด์ และอัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมีรายได้เฉพาะการส่งออกไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท นายณัฐพลกล่าว
นายณัฐพลกล่าวว่า อย่างไรก็ตามที่ประชุม กอน.ตรั้งต่อไป คือวันที่ 13 ธันวาคม เตรียมพิจารณาการเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่ด้วยการให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เหมือนฤดูการผลิต 2553/2554 หลังจากกำหนดราคาขั้นต้นฤดูการผลิต 2554/2555 ไว้ที่ 1,000 บาทต่อตัน แต่ต้นทุนจริงชาวไร่นำเสนอคือ 1,078 บาทต่อตัน ดังนั้นชาวไร่จึงต้องการให้เพิ่มค่าอ้อยอีก 200 บาทต่อตัน รวมเป็นราคาที่ชาวไร่ต้องการคือ 1,200 บาทต่อตัน ทำให้กท.ต้องเงินจากธ.กส.รวมประมาณ 19,800 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กอน.จะพิจารณาการเพิ่มอ้อยที่เหมาะสมอีกครั้ง แต่คาดว่าจะไม่น้อยกว่าราคาที่เพิ่มในฤดูการผลิต 2553/25554 แน่นอน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปริมาณน้ำตาลทรายฤดูการผลิต 2553/2554 กำหนดโควตา ก. ไว้ที่ 25 ล้านกระสอบ และเมื่อขึ้นงวดหรือเตรียมขายตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายนจนถึงปัจจุบันพบว่าเหลือค้างกระดานมากถึง 2,800,757 กระสอบและยังเตรียมขึ้นงวดอีก 45,432 กระสอบ จำนวนขึ้นงวดไปก่อนหน้าส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้ปริมาณการขายยังคงเหลือค้างกระดาน ประกอบกับประชาชนบริโภคลดลงและไม่สามารถเคลื่อนย้ายน้ำตาลออกมาจำหน่ายตามปกติได้
จาก http://www.matichon.co.th วันที่ 6 ธันวาคม 2554
ชงกู้เพิ่ม 1.9 หมื่นล้านชดเชยชาวไร่อ้อย
โปะราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 1.2
พันบาทต่อตันอ้างชาวไร่ร้องขอ
กบ.เสนอ กอน.เคาะราคาอ้อยขั้นต้น 1,200 บาทต่อตัน ชี้ชาวไร่เสนอเพิ่มตันละ 200 บาท
อ้างคุ้มต้นทุการปลูกอ้อย เผยต้องกู้เงินเพิ่ม 1.9 หมื่นล้านบาทชดเชยให้ชาวไร่
คาดผลผลิตอ้อย 99 ล้านตัน จัดสรรน้ำตาลบริโภคในประเทศน้อยลงระบุค้างกระดานมาก
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะปรานคณะกรรมการบริหาร (กบ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กบ.ว่า กบ.มีมติเห็นชอบเสนอราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต 2554/2555 ให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในวันที่ 13 ธันวาคม 2554 โดยจะเสนอราคาตามที่ชาวไร่อ้อยต้องการที่ตันละ 1,200 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงจากคาดการณ์เดิมที่กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นไว้ตันละ 1,000 บาท โดยชาวไร่ให้เหตุผลว่าต้นทุกการปลูกอ้อยอยู่ที่ตันละ 1,078 บาท จึงต้องการได้ราคาอ้อยขั้นต้นที่คุ้มกับต้นทุน
อย่างไรก็ตาม กอน. จะเห็นชอบตามราคาที่ชาวไร่ต้องการหรือไม่ขึ้นกับการพิจารณาในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ ซึ่งถ้าเห็นชอบตามที่เสนอ อาจต้องให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กู้เงินมาชดเชยค่าอ้อยให้กับชาวไร่ 19,800 ล้านบาท โดยฤดูกาลนี้คาดว่าจะมีผลผลิตอ้อย 99 ล้านต้น ซึ่งการกู้เงินมาชดเชยค่าอ้อยดังกล่าวจะเหมือนฤดูกาลผลิตปี 2553/2554 ที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ตันละ 978 บาท แต่กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นที่ตันละ 945 บาท และกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้เงินมาชดเชยค่าอ้อยให้ชาวไร่ตันละ 105 บาท เพื่อให้ราคาอ้อยอยู่ที่ตันละ 1,050 บาท
ทั้งนี้เมื่อ กอน. พิจารณาเสร็จแล้วจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้กู้เงินซึ่งปัจจุบันกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายยังมีหนี้คงค้างกับ ธ.ก.ส. อยู่และคาดว่าจะชำระหมดภายในเดือน ก.พ. 2555 โดยถ้ากู้เงินเพิ่มอาจทำให้ระยะเวลาการชำระหนี้ยืดออกไป
รายงานข่าว ระบุว่ากระทรวงอุตสาหกรรม
ข้อตกลงกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เดิมในช่วงของการปรับราคาน้ำตาลทรายครั้งล่าสุด
หากมีการใช้หนี้กองทุนหมด จะต้องมีการปรับราคาน้ำตาลทรายลงมา
แต่หากเป็นไปตามข้อเสนอของ กบ. ก็ไม่สามารถลดราคาได้ เพราะต้องยืดหนี้ออกไป
นายณัฐพล กล่าวต่อว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา กอน. ได้พิจารณาบัญชีจัดสรรน้ำตาลทรายฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 โดยพิจารณาจากปริมาณอ้อย 99.5 ล้านตันอ้อย คาดว่าผลิตน้ำตาลได้ 102.8 ล้านกระสอบ แบ่งเป็นน้ำตาลโควตา ก. สำหรับบริโภคในประเทศ 24 ล้านกระสอบ โควตา ข. สำหรับส่งออกโดยบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย เพื่อใช้อ้างอิงราคาในการคำนวณระบบแบ่งปันประโยชน์ และโควตา ค. สำหรับการส่งออก 8 ล้านกระสอบ
นายณัฐพล กล่าวว่า กบ. ประเมินค่าความหวานของอ้อยอยู่ที่ 11.87 ซี.ซี.เอส. มีราคาส่งออก 24.7 เซนต์ต่อปอนด์ และอัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งปีหน้ากำหนดน้ำตาลโควตา ก. ไว้ที่ 24 ล้านกระสอบต่ำกว่าปีก่อนที่กำหนดไว้ที่ 25 ล้านกระสอบ เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำตาลค้างกระดานอยู่เป็นจำนวนมาก และน้ำตาล 24 ล้านกระสอบ จะเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน โดยการจำหน่ายน้ำตาลและน้ำตาลคงเหลือ ณ วันที่ 6 ธ.ค. 2554 น้ำตาลทรายโควตา ก. ที่ 25 ล้านกระสอบ ขึ้นงวดรอการจำหน่ายแล้ว 24.9 ล้านกระสอบ จำหน่ายแล้ว 22.1 ล้านกระสอบ มียอดน้ำตาลค้างกระดาน 2.8 ล้านกระสอบ
จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 6 ธันวาคม 2554
นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มผลประกอบการในปี 2555 ว่าจะมีอัตราการขยายตัวดีต่อเนื่อง คาดว่ารายได้รวมจะมีการเติบโตประมาณ 10-15% อันเป็นผลมาจากสต๊อกน้ำตาลของบราซิลและสต๊อกน้ำตาลทั่วโลกยังอยู่ในระดับที่ต่ำ อีกทั้งจากรายงานผลการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกในบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดในโลก พบว่าไม่มีการลงทุนใหม่ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำตาลรวมถึงการขยายพื้นที่เพาะปลูกด้วย บวกกับสภาพอากาศที่แปรปรวนไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ทำให้คาดว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มจะยืนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ราว 22-35 เซ็นต์ต่อปอนด์ ต่อไปอีกอย่างน้อยจนถึงปี 2557 สำหรับผลประกอบการในรอบปี 2554 (งวดเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554) มีกำไรสุทธิ 800.95 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับผลประกอบการของปี 2553 ที่มีผลกำไรสุทธิ 168.02 ล้านบาท บริษัทมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 632.93 ล้านบาท คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 376.70% บริษัทได้มีมติให้จ่ายเงินปันผลประจำปี 2554 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.62 บาท รวมเป็นเงิน 310 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 หุ้นละ 0.20 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท คงเหลือเงินปันผลจ่ายงวดสุดท้ายหุ้นละ 0.42 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 210 ล้านบาท
ในปี 2555 ผลประกอบการจะมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง จากที่ผ่านมาได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถผลิตน้ำตาลได้มากขึ้น นอกจากนี้คาดว่าปริมาณหีบอ้อยในงวดปี 2555 จะใกล้เคียงกับปี 2554 ที่ 2.8 ล้านตันอ้อย และบริษัทได้มีสัญญาขายล่วงหน้าแล้วถึง 85%
จาก http://www.banmuang.co.th วันที่ 5 ธันวาคม 2554
'มิตรผล' เดินหน้าธุรกิจลดโลกร้อน
กฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉายมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น สาเหตุหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างถึงคือเรื่องของภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้สภาพอากาศแปรปรวนและสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาล
ตอกย้ำว่าถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมใจกันลดภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ กลุ่มมิตรผล ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย
เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง
และเดินหน้าต่อยอดธุรกิจพลังงานตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
+ชูเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
สำหรับแนวคิดในการทำธุรกิจภาวะที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ นายกฤษฎา
มนเทียรวิเชียรฉาย กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล
ได้สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มมิตรผลมีเป้าหมายการทำธุรกิจเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตน้ำตาลที่ให้ความสำคัญในการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก
เช่น การลดขั้นตอนการไถปรับหน้าดิน การปลูก และการใส่ปุ๋ยรดน้ำ
จากเดิมที่ต้องใช้รถไถถึง 3 รอบ
ก็มีการพัฒนานวัตกรรมให้ขั้นตอนทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในรอบเดียว
ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันและลดการสร้างมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง
นอกจากนี้ยังรณรงค์ให้ชาวไร่ลดการเผาอ้อยก่อนตัดที่ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยปัจจุบันโรงงานที่ภูเวียงจ.ขอนแก่น เป็นอ้อยสดกว่า 90% แล้ว ทั้งหมดนี้เป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมในการทำธุรกิจน้ำตาลของมิตรผลทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนการช่วยลดโลกร้อนทางตรงนั้น
กลุ่มมิตรผลได้ลงทุนในกลุ่มธุรกิจพลังงาน ได้แก่ โรงไฟฟ้าชีวมวล จากชานอ้อย
และการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล ซึ่งทั้ง 2 ส่วน
มีแผนที่จะขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
และตั้งเป้าหมายให้ธุรกิจพลังงานมีกำไรเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 14% เป็น 20%
ของกำไรกลุ่มมิตรผลทั้งหมดในเร็วๆนี้ รวมถึงจะผลักดันให้มิตรผลเป็นศูนย์กลางหรือฮับ
(Hub) ในธุรกิจผลิตเอทานอลของเอเชียด้วย
โดยไม่ได้มองเฉพาะแค่ตลาดในประเทศไทยเท่านั้น
+ขยายลงทุนไฟฟ้าชีวมวล
ในส่วนของธุรกิจไฟฟ้า นายสุวัฒน์ กมลพนัส กรรมการผู้จัดการธุรกิจไฟฟ้า
ในกลุ่มมิตรผล ไบโอ พาวเวอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจไฟฟ้าทำรายได้ให้กับมิตรผลราว
2,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2556 รายได้จะขยับขึ้นไปอยู่กว่า 3,000 ล้านบาท
เนื่องจากมิตรผลมีแผนขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มเติมทั้งในไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วง
1-2 ปีนี้ รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 5,500 ล้านบาท
สำหรับแผนลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทยมี 2 โครงการใหม่ที่จะเริ่มในปี 2555 คือ โรงไฟฟ้าชีวมวลส่วนขยายที่ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กำลังการผลิตไฟฟ้า 44 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,200 ล้านบาท มีแผนขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้า 26 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ภายในปี 2556 อีกโครงการหนึ่งคือโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งใหม่ที่ภูหลวง จังหวัดเลย กำลังการผลิตไฟฟ้า 67 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท มีแผนขายไฟฟ้าเข้าระบบ 38 เมกะวัตต์ สามารถเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ภายในปี 2555
ดังนั้นภายในปี 2556 กลุ่มมิตรผลจะมีโรงไฟฟ้าเพิ่มจาก 5 โรงเป็น 6 โรง และกำลังการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีก 118 เมกะวัตต์ จากเดิมที่ผลิตอยู่ 307 เมกะวัตต์
ส่วนในประเทศจีน มิตรผลมีโรงไฟฟ้าชีวมวลอยู่แล้ว 1 แห่ง ที่เมืองฝูหนาน กำลังการผลิต 32 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนไปราว 1,300 ล้านบาท ล่าสุดมีแผนที่จะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลอีกหนึ่งแห่งที่เมืองหนิงหมิง มณฑลกวางสี กำลังการผลิตประมาณ 32 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 280 ล้านหยวน หรือประมาณ 1,344 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 4.8 บาทต่อหยวน) และจะเริ่มสั่งซื้อเครื่องจักรเข้ามาติดตั้งในปลายปี 2555
+จ่อขายคาร์บอนเครดิต
นอกเหนือจากพลังงานไฟฟ้าที่ได้แล้ว
โรงไฟฟ้าชีวมวลของมิตรผลยังเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องโครงการขับเคลื่อนสู่พลังงานเพื่อกลไกสะอาดในประเทศไทย
หรือ CDM (Clean Development Mechanism) ตามนิยามพิธีสารเกียวโตตั้งแต่ปี 2550
และได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(UNFCCC) โดยโรงไฟฟ้าด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงไฟฟ้าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ของมิตรผลสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 200,000 ตันคาร์บอน
นายสุวัฒน์ กล่าวว่า จากความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าว กลุ่มมิตรผลจึงได้ยื่นขอคาร์บอนเครดิตประเภท CERS (Certified Emission Reduction) สำหรับโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง โรงงานละ 100,000 ตันคาร์บอน ย้อนหลังเป็นระยะเวลา 3 ปี รวม 600,000 ตันคาร์บอน และคาดว่าจะได้รับการรับรองภายในปี 2555
ล่าสุด กลุ่มมิตรผลได้ลงนามบันทึกความร่วมมือในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตล่วงหน้าจำนวน 100,000 ตันคาร์บอนให้กับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความต้องการ CERS 470,000 ตันคาร์บอน เนื่องจากสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกระเบียบบังคับให้ทุกสายการบินที่เข้าออกอียูต้องมีการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกในปี 2555
"ธุรกิจคาร์บอนเครดิต ถือเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วน ซึ่งนอกจากจะสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้กับผู้ประกอบการแล้วยังช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เทียบเท่าระดับสากล นอกจากนี้คาร์บอนเครดิตยังเป็นธุรกิจพลังงานสะอาดที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับโลก และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่นรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย"
+พุ่งเป้าเป็นฮับเอทานอล
ด้านธุรกิจผลิตเอทานอลที่กลุ่มมิตรผลวางเป้าหมายจะเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายในเอเชีย
นายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพโทรกรีน จำกัด ในกลุ่มมิตรผล
ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันเพโทรกรีนมีการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลในโรงงาน 3 แห่ง คือ
โรงงานเอทานอลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โรงงานเอทานอลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
และโรงงานเอทานอล จังหวัดกาฬสินธุ์ กำลังการผลิต 230,000 ลิตรต่อวันต่อโรง
รวมกำลังการผลิตทั้งหมดประมาณ 900,000 ลิตรต่อวัน ส่งออก 30% ขายในประเทศ 70%
ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2555 จะส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของกำลังการผลิต
โดยมีลูกค้าในเอเชียเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่จะดึงดูดผู้ผลิตเอทานอล
เพราะฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายให้มีการเติมเอทานอล 10% ในน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
ขณะที่ตลาดในประเทศไทยก็จะมีโอกาสเพิ่มขึ้น จากการที่รัฐบาลประกาศยกเลิกการใช้เบนซิน 91 ในเดือนตุลาคม 2555 ทั้งนี้ เพโทรกรีนพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มได้อีกเท่าตัวทันทีทั้ง 3 โรงงาน เงินลงทุนเฉลี่ย 730 ล้านบาทต่อโรงงาน ใช้เวลาก่อสร้าง 10-12 เดือน
จาก http://www.thannews.th.com วันที่ 5 ธันวาคม 2554
จี้รัฐช่วยผู้ส่งออกแก้บิดเบือนราคาน้ำตาล
สมาคมโรงงานน้ำตาลไทยร้องรัฐแก้ปัญหาส่งออกน้ำตาลไปตลาดโลก ในที่ประชุมองค์การค้าโลก 13 ธ.ค.นี้ หลังหลายประเทศบิดเบือนราคาและหนุนการส่งออก ทำให้สูญเสียโอกาสสร้างรายได้เข้าประเทศ...
นายประกิต ประทีประเสน ประธานกรรมการ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรน้ำตาลโลก (จีเอสเอ) และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก จึงอยากให้ประเทศสมาชิกขององค์การค้าโลก (WTO) เร่งขจัดอุปสรรคทางการค้าในสินค้ากลุ่มน้ำตาล เนื่องจากหลายประเทศได้ใช้มาตรการบิดเบือนราคาและอุดหนุนการส่งออก ส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำตาล สูญเสียโอกาสทางการค้า และรายได้ ทำให้กลไกการตลาดทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ที่ผ่านมา จีเอสเอ ซึ่งงเป็นการรวมตัวกันของประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก ได้เสนอให้องค์การค้าโลก ให้มีการเปิดเสรีทางการค้าของสินค้ากลุ่มน้ำตาลมาโดยตลอด แต่กลุ่มจีเอสเอได้พยายามเสนอให้ใช้วิธีการเจรจาแบบการเจรจาเฉพาะรายสินค้าที่ตกลงกันได้ก่อน ก่อนที่จะมีการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
โดยเลื่อนการพิจารณาสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหวสูง อาทิ น้ำตาล และเอทานอล ออกไปก่อน ซึ่งแนวทางการเจรจาดังกล่าวถือว่าขัดกับหลักการดั้งเดิมของการก่อตั้งองค์การค้าโลก ที่เน้นการเจรจาให้ได้ข้อสรุปแบบม้วนเดียวจบ คือให้ประเทศสมาชิกยอมรับผลการเจรจา ทุกเรื่องในครั้งเดียวกัน ไม่ใช่ยอมรับเฉพาะเรื่องที่ประเทศของตนได้รับผลประโยชน์
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศไทย ได้มีท่าทีที่ชัดเจนต่อการเจรจาการค้าเพื่อเปิดเสรีสินค้าน้ำตาลในหลัก 3 เรื่องคือการเปิดตลาด การลดการอุดหนุนภายในประเทศ และการลดการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล และสมาคมยังคงยืนยันท่าทีดังกล่าวจึงขอให้รัฐบาลไทย ช่วยผลักดันเรื่องนี้ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของทางการค้าในที่ประชุมองค์การค้าโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ด้วย
นอกจากนี้ ไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ หากสามารถขจัดอุปสรรคข้างต้นได้ ก็จะทำให้เกิดผลดีต่อราคาส่งออกน้ำตาลในตลาดโลก และไทยจะมีรายได้จากการส่งออกน้ำตาลเพิ่ทั่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยมีความแข็งแกร่ง ช่วยสร้างรายได้ให้กับชาวไร่อ้อยทั่วประเทศอีกด้วย.
จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 3 ธันวาคม 2554
ส่งออกน้ำตาลไทยไปอินโดฯปีนี้ฉลุย
พาณิชย์ ชี้ ปีนี้ไทยรับอานิสงส์ส่งออกน้ำตาลเพิ่ม จากผลผลิตน้ำตาลอินโดนีเซียลดฮวบจากภาวะโลกร้อน คาดปีนี้โกยตัวเลขส่งออก 1.4 ล้านตัน มูลค่า 760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ...
น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลผลิตน้ำตาลของอินโดนีเซีย ปี 54/55
อาจประสบปัญหาไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ คาดว่าผลผลิตจะอยู่ที่ 2.57 ล้านตัน
จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.7 ล้านตัน เป็นผลจากสภาวะอากาศที่ผิดปกติในปีที่ผ่านมา
และส่งผลต่อเนื่องมาถึงปีนี้
ในขณะที่ความต้องการบริโภคน้ำตาลในแต่ละปีมีมากกว่า 5 ล้านตัน
จึงทำให้ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกไม่ต่ำกว่า 5 แสนตัน
เพื่อชดเชยภาวะขาดแคลนในประเทศ
ดังนั้น จึงน่าจะเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกของน้ำตาลจากไทย เพราะปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นผู้ซื้อน้ำตาลอันดับ 1 ของไทย มีการนำเข้าปีละประมาณ 2.5 ล้านตัน ในจำนวนนี้นำเข้าจากไทยประมาณ 50% โดยปี 2553 นำเข้าจากไทย 1.27 ล้านตัน มูลค่า 595.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 19,363.9 ล้านบาท และในปี 2554 ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค นำเข้าจากไทยแล้ว 1.17 ล้านตัน มูลค่า 633.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 19,047.1 ล้านบาท ส่วนทั้งปีน่าจะส่งออกได้ถึง 1.4 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 760 ล้านเหรียญฯ หรือมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 25% จากปีก่อน
จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 2 ธันวาคม 2554