http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนธันวาคม 2564]

รง.ร้องรัฐจัดการพวกแหกกฎ ส่งอ้อยไม่ได้คุณภาพทำผลผลิตน้ำตาลแย่

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ (TSMC) เปิดเผยว่า หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ได้เปิดหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2564/65 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564ที่ผ่านมา พบว่า มีชาวไร่อ้อยบางรายได้ทำผิดระเบียบการจัดส่งอ้อยสดที่ไม่มีคุณภาพเพื่อส่งมอบแก่โรงงาน โดยไม่ตัดยอด ไม่ริดใบ และมีสิ่งปนเปื้อน ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สามารถนำมาสกัดเป็นปริมาณน้ำตาลได้ โดยหวังผลประโยชน์รายได้จากการน้ำหนักอ้อยที่เพิ่มขึ้นหรือหวังเงินช่วยเหลือจากภาครัฐแต่อย่างเดียวแต่กลับส่งผลเสียต่ออ้อยเข้าหีบมีคุณภาพลดลงกระทบต่อปริมาณผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งส่งผลเสียต่อชาวไร่มีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยลดลง อีกทั้งยังสร้างความเสียหายต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอย่างรุนแรง ซึ่งในประเด็นดังกล่าว โรงงานได้แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ให้รับทราบปัญหา และดำเนินการลงโทษชาวไร่ให้เลิกพฤติกรรมดังกล่าว เพราะไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใดเลย

ส่วนปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบหลังผ่านการหีบอ้อยมาแล้ว 21 วัน พบว่า มีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม 14.44 ล้านตัน แบ่งเป็นอ้อยสด 11.61 ล้านตันหรือคิดเป็น 80.41% และอ้อยไฟไหม้จำนวน 2.83 ล้านตัน หรือคิดเป็น 19.59% ซึ่งอ้อยไฟไหม้มีทิศทางที่ลดลง หากเทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยที่เท่ากันกับฤดูหีบที่ผ่านมา โดยสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ 12.79ล้านกระสอบ หรือคิดเป็นผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยอยู่ที่ 88.54 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

“เราพบว่ามีชาวไร่บางรายส่งมอบอ้อยสดที่ไม่ได้คุณภาพ ตามระเบียบการจัดส่งอ้อยเข้าโรงงานหรือไม่เป็นไปตามคุณลักษณะของอ้อยสดที่ต้องตัดยอดริดใบออก และไม่มีอิฐ หิน ดิน ทรายที่เป็นสิ่งปนเปื้อนส่งมอบให้โรงงาน แต่กลับเจออ้อยที่ไม่ริดใบและตัดยอดออกแต่อย่างใด เพราะหวังเพียงผลประโยชน์ส่วนตนที่ต้องการเงินช่วยเหลืออ้อยสดจากภาครัฐและต้องการน้ำหนักอ้อยที่เพิ่มขึ้น การกระทำดังกล่าวทำให้ยอดและใบอ้อยที่ไม่มีน้ำตาล เมื่อเข้าสู่กระบวนการหีบอ้อยแล้วจะดูดซับหรือดึงน้ำตาลจากกระบวนการผลิตทำให้มีของเสียเพิ่มขึ้นและได้ผลผลิตน้ำตาลลดลง ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต้องสูญเสียรายได้ที่จะนำมาแบ่งปันให้ทั้งฝ่ายชาวไร่และโรงงาน” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผวจ.อุทัยธานีร่วมกิจกรรมสาธิตการเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงานตามแนวทางป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5

วันที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. ณ แปลงสาธิตของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พร้อมอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี พร้อมหน่วยข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปยังแปลงสาธิตการตัดอ้อยสด การเก็บใบอ้อย บ้านศิลาทอง หมู่ 12 ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี หลังจากนั้นได้บรรยายขั้นตอนการเก็บใบอ้อย พร้อมกับเดินทางไปยังอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ เพื่อรับฟังบรรยายกระบวนการผลิตน้ำตาลและชมวีดีโอกระบวนการการเก็บและขนส่งใบอ้อยเข้าไปใช้งาน

ในจังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานฤดูการผลิต 2564/2565 ประมาณ 200,000 ไร่  เกษตรกร 7,000 ครัวเรือน ให้ผลผลิตรวม 1.8 ล้านตัน โดยปลูกกันมากในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก  อำเภอห้วยคต และอำเภอสว่างอารมณ์ มีโรงงานน้ำตาลในพื้นที่รับซื้อผลผลิตในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตบ้านไร่ และอำเภอสว่างอารมณ์ ในช่วงฤดูการผลิต 2563/2564 มีปริมาณ  ผลผลิตเข้าสู่โรงงานทั้ง 2 แห่ง เป็นผลผลิตอ้อยสดร้อยละ 70 ผลผลิตอ้อยไฟไหม้ร้อยละ 30  ซึ่งเกิดจากโครงการรัฐบาลช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 โดยใช้มาตรการสนับสนุน เครื่องจักรให้กับโรงงาน อุปกรณ์การเก็บเกี่ยว รวมทั้งแหล่งเงินทุนและราคา มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ได้กำหนดแผนการตามมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบฤดูการผลิตปีนี้ 2564/2565 ไม่เกินร้อยละ 10 ปี 2565/2566 ไม่เกินร้อยละ 5 และ ปี2566/2567 เหลือร้อยละ 0 เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนมาตรการตัดอ้อยสด

ทางโรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรือง อำเภอบ้านไร่จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส านักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดอุทัยธานี  ธนาคาร SME ธนาคาร ธ.ก.ส. กลุ่มผู้ประกอบการเก็บใบอ้อย และสื่อมวลชนในพื้นที่จึงได้ร่วมมือกันจัด กิจกรรมสาธิตการตัดอ้อยสดครบวงจรเพื่อลดการเผา

โดยทางโรงงานได้ตั้งเป้าหมายในปีนี้ตัดอ้อยสดไม่น้อย กว่าร้อยละ 90 สร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรเริ่มตั้งแต่กระบวน การสางใบอ้อยโดยรถแทนแรงงานคน การตัดอ้อยสดโดยรถตัด การเก็บใบอ้อยโดยเครื่องเก็บม้วนใบอ้อย และ  การขนย้ายใบอ้อยโดยรถ เพื่อนำเข้าโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล  นอกจากนี้ทางสถาบันการเงินธนาคาร SME และ ธ.ก.ส. ยังได้มีมาตรการสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับ ผู้ประกอบการรับซื้อใบอ้อยจากแปลงเกษตรกรที่มีอยู่ไม่น้อยกว่า 50 ราย ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีส่งผลให้ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายใบอ้อยในราคา 1,000 บาท/ตัน หรือประมาณ 1,200 บาท/ไร่

ซึ่งในฤดูการผลิตปีที่แล้ว ปี 2563/2564 มียอดรับซื้อใบอ้อยประมาณ 60,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า  72,000,000 บาท สำหรับการรับซื้อใบอ้อยในฤดูกาลผลิตปีนี้ 2564/65 ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 1 แสนตัน  คิดเป็นมูลค่า 120 ล้านบาท มีระยะเวลาในการรับซื้อตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564 – 30 เมษายน 2565

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

รง.น้ำตาลร้องรัฐช่วยจัดการชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไม่ได้คุณภาพ

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลร้องรัฐ พบชาวไร่อ้อยส่งอ้อยสดเข้าหีบไม่ตัดยอดและริดใบ และมีสิ่งปนเปื้อน หวังเอาเปรียบเรื่องน้ำหนักอ้อยและเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ต้องการให้ชาวไร่ลด เลิกอ้อยไฟไหม้ หวั่นฉุดยิลด์น้ำตาลต่อตันอ้อยร่วงแม้ปริมาณอ้อยสดที่เข้าหีบเพิ่ม หากไม่แก้ไขจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้งระบบ หลังเปิดหีบอ้อยเข้าหีบประจำฤดูกาลผลิตปี 2564/65 ผ่าน 21 วัน มีอ้อยเข้าหีบรวม 14.44 ตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้แล้ว 12.79 ล้านกระสอบ

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรงได้เปิดหีบอ้อยประจำฤดูกาลผลิตปี 2564/65 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า มีชาวไร่อ้อยบางรายได้ทำผิดระเบียบการจัดส่งอ้อยสดที่มีคุณภาพเพื่อส่งมอบแก่โรงงาน โดยไม่ตัดยอด ไม่ริดใบ และมีสิ่งปนเปื้อน ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สามารถนำมาสกัดเป็นปริมาณน้ำตาลได้ โดยหวังผลประโยชน์รายได้จากการน้ำหนักอ้อยที่เพิ่มขึ้น หรือหวังเงินช่วยเหลือจากภาครัฐแต่อย่างเดียว แต่กลับส่งผลเสียต่ออ้อยเข้าหีบมีคุณภาพลดลง กระทบต่อปริมาณผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งส่งผลเสียต่อชาวไร่มีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยลดลง อีกทั้งยังสร้างความเสียหายต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอย่างรุนแรง ซึ่งในประเด็นดังกล่าว โรงงานได้แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ให้รับทราบปัญหา และดำเนินการลงโทษชาวไร่ให้เลิกพฤติกรรมดังกล่าว เพราะไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใดเลย

ส่วนปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบหลังผ่านการหีบอ้อยมาแล้ว 21 วัน พบว่า มีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม 14.44 ล้านตัน แบ่งเป็นอ้อยสด 11.61 ล้านตัน หรือคิดเป็น 80.41% และอ้อยไฟไหม้ จำนวน 2.83 ล้านตัน หรือคิดเป็น 19.59% ซึ่งอ้อยไฟไหม้มีทิศทางที่ลดลง หากเทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยที่เท่ากันกับฤดูหีบที่ผ่านมา โดยสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ 12.79 ล้านกระสอบ หรือคิดเป็นผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยอยู่ที่ 88.54 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

“หลังจากโรงงานได้เปิดหีบอ้อยรับผลผลิต เราพบว่ามีชาวไร่บางรายส่งมอบอ้อยสดที่ไม่ได้คุณภาพ ตามระเบียบการจัดส่งอ้อยเข้าโรงงาน หรือไม่เป็นไปตามคุณลักษณะของอ้อยสดที่ต้องตัดยอด ริดใบออก และไม่มีอิฐ หิน ดิน ทรายที่เป็นสิ่งปนเปื้อนส่งมอบให้โรงงาน แต่กลับเจออ้อยที่ไม่ริดใบและตัดยอดออกแต่อย่างใด เพราะหวังเพียงผลประโยชน์ส่วนตนที่ต้องการเงินช่วยเหลืออ้อยสดจากภาครัฐ และต้องการน้ำหนักอ้อยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ยอดและใบอ้อยที่ไม่มีน้ำตาล เมื่อเข้าสู่กระบวนการหีบอ้อยแล้วจะดูดซับหรือดึงน้ำตาลจากกระบวนการผลิต ทำให้มีของเสียเพิ่มขึ้นและได้ผลผลิตน้ำตาลลดลง ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต้องสูญเสียรายได้ที่จะนำมาแบ่งปันให้ทั้งฝ่ายชาวไร่และโรงงาน” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ปุ๋ยแพง! พาณิชย์ แจงไทม์ไลน์แก้ปัญหา ตามคำสั่งนายกฯแล้ว

 ปุ๋ยแพง! พาณิชย์ แจงไทม์ไลน์แก้ปัญหา  ช่วยเหลือเกษตรกร ชี้สำนักงบประมาณเห็นควรให้ “เกษตร” เป็นคนทำ จึงแจ้งเรื่องต่อให้เกษตร ก่อนประชุมร่วมหลายครั้ง  ขณะที่พาณิชย์ช่วยลดราคาปุ๋ย 84 สูตร ปริมาณ 4.5 ล้านกระสอบ มูลค่าส่วนลดกว่า 67 ล้าน แบบฟรี ๆ ไปแล้ว

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพง ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในทันที โดยวันที่ 21 พ.ค.2564 ได้ทำหนังสือถึงสำนักงบประมาณขอรับงบกลางจำนวน 960 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนส่วนลดให้เกษตรกร จากนั้นวันที่ 28 มิ.ย.2564

สำนักงบประมาณมีหนังสือแจ้งกระทรวงพาณิชย์ว่าโครงการดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรด้านต้นทุนปัจจัยการผลิตและเพิ่มผลผลิต เป็นภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฯ จึงบัญชาให้กระทรวงพาณิชย์ประสานให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการ กระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงเกษตรฯ วันที่ 12 ก.ค.2564 แจ้งความเห็นสำนักงบประมาณและข้อสั่งการนายกฯ และจากนั้นได้ประชุมหารือระหว่างกระทรวงหลายรอบ รวมทั้งได้เรียนผู้บริหารระดับสูงทราบความคืบหน้าโดยตลอด

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2564 กระทรวงพาณิชย์ยังได้แจ้งความเห็นของสำนักงบประมาณและข้อสั่งการนายกฯ ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร สังกัดกระทรวงเกษตรฯ เสนอโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร และเพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นของสำนักงบประมาณ ต่อมาวันที่ 17 พ.ย.2564 กรมการค้าภายในจัดประชุมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เพื่อหารือแนวทางการดำเนินและเร่งรัดติดตามเรื่องการของบประมาณ

โดยที่ประชุมเห็นควรดำเนินโครงการตามแนวทางดังนี้ คือ 1.การนำเข้าแม่ปุ๋ย ควรมอบหมาย อ.ต.ก. ดำเนินการนำเข้าแม่ปุ๋ยเพื่อจำหน่ายให้แก่สถาบันเกษตรกร โดยชดเชยค่าใช้จ่ายในการนำเข้าในอัตรากระสอบละ 35 บาท ปริมาณเป้าหมาย 10 ล้านกระสอบ วงเงิน 350 ล้านบาท

2.สนับสนุนให้ภาคเอกชนนำเข้าปุ๋ยมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรโดยไม่ขาดตลาด และการชดเชยราคาปุ๋ยให้แก่เกษตรกร โดยชดเชยราคาปุ๋ยผ่านสถาบันเกษตรกร ในอัตรากระสอบละ 50 บาท ปริมาณเป้าหมาย 10 ล้านกระสอบ วงเงิน 500 ล้านบาท ชดเชยค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการให้แก่สถาบันเกษตรกร ในอัตรากระสอบละ 5 บาท ปริมาณเป้าหมาย 10 ล้านกระสอบ วงเงิน 50 ล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกรผ่านโครงการล้านละร้อย เพื่อเสริมสภาพคล่องในการจัดซื้อปุ๋ยมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก วงเงินงบประมาณ รวมค่าบริหารจัดการ เป็นจำนวน 1,070 ล้านบาท

จากนั้นวันที่ 19 พ.ย.2564  กระทรวงพาณิชย์มีหนังสือแจ้งแนวทางดำเนินโครงการไปยังกระทรวงเกษตรฯและวันที่ 3 ธ.ค.2564 กรมการค้าภายในมีหนังสือถึงสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิต เสนอให้พิจารณามอบ อ.ต.ก. ดำเนินการนำเข้าปุ๋ย และวันที่ 15 ธ.ค.2564 กรมส่งเสริมการเกษตรมีหนังสือแจ้งกระทรวงพาณิชย์ สรุปว่าอยู่ระหว่างเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณวงเงิน 570 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยปุ๋ย 50 บาทต่อกระสอบ จำนวน 10 ล้านกระสอบ วงเงิน 500 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการให้แก่สถาบันเกษตรกร 5 บาทต่อกระสอบ จำนวน 10 ล้านกระสอบ วงเงิน 50 ล้านบาท และบริหารจัดการโครงการ วงเงิน 20 ล้านบาท และวันที่ 28 ธ.ค.2564 กระทรวงพาณิชย์มีหนังสือถึงกรมส่งเสริมการเกษตร ขอทราบผลการพิจารณาของในส่วนการนำเข้าปุ๋ยอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในกำลังอยู่ระหว่างเตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีและสถาบันเกษตรกร ให้สามารถจัดหาปุ๋ยเคมีมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรได้ด้วย

นอกจากนี้ ในระหว่างที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาปุ๋ยแพง กระทรวงพาณิชย์ได้มีมาตรการเร่งด่วนในการช่วยเหลือเกษตรกร โดยได้จัดทำโครงการพาณิชย์ลดราคา! ปุ๋ยช่วยเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.2564 โดยความร่วมมือกับผู้ประกอบการ 19 ราย ลดราคาปุ๋ย 20-50 บาทต่อกระสอบ จำนวน 84 สูตร ปริมาณรวม 4.5 ล้านกระสอบ ขณะนี้มีปริมาณการสั่งซื้อ 3.14 ล้านกระสอบ หักระบายสินค้าหมดอายุ 1.12 ล้านกระสอบ คงเหลือ 0.24 ล้านกระสอบ มูลค่าส่วนลดรวม 67.31 ล้านบาท ดำเนินโครงการโดยไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่ใช้ความร่วมมือกับผู้ประกอบการปุ๋ย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

บูสต์เศรษฐกิจไทยด้วยภาคเกษตร เปิดโผ “พืชเศรษฐกิจ” แห่งอนาคต

หลังเกิดการระบาดโควิด-19 ไทยในฐานะครัวของโลกต้องเผชิญกับความท้าทายหลายมิติ ทั้งการเเข่งขันรุนแรง ปัญหาโรคระบาด การกีดกันทางการค้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งท้าทายประเทศที่มีประชากรกว่าครึ่งอยู่ในภาคเกษตร

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มองแนวโน้มพืชเศรษฐกิจในอนาคตปีหน้า 2565 พร้อมประกาศยกระดับปฏิรูปภาคเกษตรร่วมกับภาคเอกชน booster เกษตรไทย สู่เกษตรมูลค่าสูงเพราะการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในอนาคต

จีดีพีเกษตรปี’65 โต 2-3%

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการ สศก. กล่าวว่า ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2564 ขยายตัว 1.5% จากปี 2563 ที่ติดลบ 3.3% จากที่ไทยยังเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ต่อเนื่องจากปี 2563 ส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ทิศทางราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดปรับดีขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ประกอบกับสินค้าเกษตรไทยมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ

ทาง สศก.คาดการณ์ว่า ภาพรวมจีดีพีภาคเกษตรจะขยายตัว 2.0-3.0% (กราฟิก) โดยสาขาพืชขยายตัวมากสุด 2.7-3.7% รองลงมาคือสาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 0.7-1.7% สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 3.0-4.0% และสาขาป่าไม้ ขยายตัว 1.5-2.5% และสาขาประมง ขยายตัว 0.2-1.2%

 “จีดีพีภาคเกษตรปีหน้าเติบโตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงความแปรปรวนของสภาพอากาศ และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะความรุนแรงของพายุและสถานการณ์นํ้าท่วมหลาก ซึ่งอาจทําให้พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย ที่สำคัญคือสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โอไมครอน เป็นความเสี่ยงของการกลับมาระบาดในรอบใหม่ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าของโลกฟื้นตัวได้ช้า”

“อีกทั้งประเทศมหาอำนาจจีน-สหรัฐเริ่มกลับมาแข่งขันเข้มข้นขึ้น ไทยมีคู่แข่งมากขึ้น และยังมีความท้าทายการระบาดของโรคพืชและสัตว์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศส่งผลต่อการผลิต ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน หากค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นกว่าประเทศคู่แข่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันส่งออกสินค้าเกษตรไทย รวมไปถึงราคานํ้ามันดิบที่มีทิศทางสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนที่ปัจจัยการผลิต ปุ๋ย สารเคมีกําจัดโรคและแมลง อาหารสัตว์ และส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ ยางพารา และพืชพลังงานทดแทนต่าง ๆ”

สินค้าดาวรุ่ง-ดาวร่วง

ปีหน้า 2565 สินค้าเกษตรที่คาดว่า “ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้น” มี 7 กลุ่ม ได้แก่ ยางพารา มันสําปะหลัง อ้อยโรงงาน ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และโคเนื้อ โดยยางคาดว่าความต้องการใช้ภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น ส่วนมันสําปะหลังไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

อ้อยโรงงาน จากราคาในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่โคเนื้อ ไก่เนื้อ สุกร ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และไข่ไก่ ผลจากมาตรการรักษาเสถียรภาพราคา

ส่วนสินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาจะอยู่ใน “เกณฑ์ดี” ได้แก่ ข้าว ปาล์มนํ้ามัน ทุเรียน และมังคุด โดยข้าวมีความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ปาล์มนํ้ามันเนื่องจากราคาเป็นไปตามทิศทางราคานํ้ามันปาล์มดิบในตลาดโลกที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง เเละต้องการใช้นํ้ามันปาล์มเพื่อบริโภคและพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น

ส่วนทุเรียนและมังคุดยังทรง ๆ แต่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และได้รับการส่งเสริมจากการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการในการกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดและผู้บริโภค

ขณะที่สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาจะอยู่ในระดับ “ใกล้เคียง” กับปีที่ผ่านมา ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลําไย เงาะ นํ้านมดิบ กุ้งขาวแวนนาไม โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังมีประกันรายได้ และที่สำคัญคือจากแนวโน้มความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนสับปะรดโรงงานคาดว่าจะมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ลําไยและเงาะตลาดโลกยังต้องการ ส่วนนํ้านมดิบเนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการรับซื้อนํ้านมดิบ ส่วนภาคประมง เนื่องจากราคากุ้งของไทยยังถูกกําหนดโดยราคากุ้งในตลาดโลกเป็นหลัก จึงไม่สามารถปรับราคาให้สูงขึ้นได้ แม้จะยังมีความต้องการของตลาดต่างประเทศซึ่งยังเป็นฐานลูกค้าเดิม

ข้าว-น้ำตาล-ยาง-ทุเรียน ยังแรง

ส่วนแนวโน้มการส่งออกที่มาแรงสุด ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ยางพารา น้ำมันปาล์ม สับปะรด ทุเรียน ลำไย และมังคุด เพราะตลาดยังมีความต้องการอีกมาก ที่สำคัญไทยยังส่งออกดีต่อเนื่อง ทั้งยังรักษามาตรฐาน ส่วนปานกลางส่งออกใกล้เคียงเป็นกลุ่มสินค้าประมงที่มีฐานลูกค้าเดิม แต่ต้องจับตาปัญหาการขาดแคนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าเงิน

ขณะที่สินค้าส่งออกที่จะมีแนวโน้มลดลงชัดเจนที่สุด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะความต้องการในประเทศเพิ่มสูง ทำให้ตลาดอาเซียนที่เป็นประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มลดลง

“ที่ผ่านมาจุดอ่อน และความท้าทายที่ชัดที่สุด คือ เกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นต้นที่ราคาไม่สูง และเกษตรกรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้การเข้าถึงองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ไม่มาก ส่วนที่เป็นคนรุ่นใหม่ยังปรับตัวกับยุคดิจิทัลการผลิตที่สอดรับกับรูปแบบการบริโภคสมัยใหม่”

“ดังนั้น การที่จะสู้กับการแข่งขันทุกปัจจัยได้ เราต้อง booster เพิ่มมูลค่าสูง สศก.ต้องทำการบ้านอย่างหนัก ต้องพัฒนากำลังคนอย่างต่อเนื่อง สื่อสารให้ชัดเจน จัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้ข้อมูล ตลาด กฎระเบียบ ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจ BCG โลจิสติกส์ การจัดทำระบบประกันภัยพืชผล ลดการพึ่งแค่การประกันรายได้ให้เกษตร” นายฉันทานนท์กล่าว

จี้รัฐ Booster เกษตรมูลค่าสูง

นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เพนพอยต์ที่ทุกประเทศต้องกลับมามองทางรอดของประเทศ ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ในฐานะที่ไทยเป็นครัวของโลก ภาคการเกษตรควรเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ แต่กลับมีสิ่งที่น่าตกใจว่าปัจจุบันไทยมีพื้นที่เกษตร 138 ล้านไร่ และสามารถสร้าง GDP ได้เพียง 6.22% มีมูลค่า 3.428 แสนล้านบาท

อนาคตภาคเกษตรควรมองหาสิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต (future food) เป็นทางเลือก สร้างโอกาสของเกษตรกรไทย โดยการสร้างมาตรฐาน พัฒนาพืชผลิตโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ช่วยลดภาวะเรือนกระจก โดยอาศัยจุดแข็งที่ไทยมีความพร้อมเรื่องวัตถุดิบอย่างมาก หากจะ boost up ภาคเกษตร ต่อยอดผลิตโปรตีนทางเลือกจากพืช แมลง หรือการเพาะเชื้อราเป็นเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นโอกาสในอนาคต

“หากวันนี้ไทยจะเป็นครัวของโลก ต้องเริ่มจากการสร้างวัตถุดิบที่มีแล้วเพิ่มมูลค่า ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมฯผลักดันให้รัฐบาลยกระดับการเกษตรเป็นวาระแห่งชาติ โดย ส.อ.ท.อาสาขับเคลื่อนจนเกิดการร่วมมือร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ ผ่านโครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ ในพืช 5 ชนิด ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม ยาง มะเขือเทศ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นโมเดลที่ควรพัฒนาต่อ”

ด้านนายคมกริช นาคะลักษณ์ รองประธานคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มองว่า ปัญหาหลักในขณะนี้คือพื้นที่เกษตรของไทยส่วนใหญ่ถูกใช้ปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ เช่น ปี 2555-2559 ไทยปลูกข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ใช้พื้นที่ปลูก 109 ล้านไร่ สร้างรายได้ 7 แสนล้านบาท ถัดมาปี 2560-2564 พื้นที่เพาะปลูกลดลงเหลือ 106 ล้านไร่ สร้างรายได้ 6.3 แสนล้านบาท

ขณะที่การปลูกผลไม้ ใช้พื้นที่ปลูก 2.58 ล้านไร่ สร้างรายได้ 63,000 ล้านบาท และเมื่อปี 2560-2564 เพิ่มพื้นที่ 3.5 ล้านไร่ สามารถสร้างรายได้ 1.3 แสนล้านบาท

ฉะนั้น หากปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนไปปลูกพืชที่ประเทศไทยมีศักยภาพ “ใช้พื้นที่น้อยแต่สามารถทำรายได้ให้ประเทศมากกว่า” เช่น ปรับเปลี่ยนพื้นที่ 10% ปลูกพืชที่มีการสร้างมูลค่าสูง เช่น ผลไม้ ทุเรียน มังคุด ลำไย 10 ล้านไร่ จะสามารถสร้างรายได้ต่อประเทศ 773,000 ล้านบาท เทียบเท่าร้อยล้านไร่

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

รัฐชูธง‘อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค’ ดึงลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงจากทั่วโลก

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เยี่ยมชมอีอีซีออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์พร้อมร่วมหารือ และติดตามความคืบหน้าการถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรภาคอุตสาหกรรมยกระดับภาคการผลิตของประเทศไทยโดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คณะผู้บริหารเจ้าหน้าที่จาก สกพอ. และ ออโตเมชั่น พาร์ค เข้าร่วม ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่าอีอีซี ออโตเมชั่น พาร์คเป็นการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่าง อีอีซี และบริษัทมิตซูบิชิ อิเลคทริก เป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และดิจิทัล ที่จะเป็นฐานสำคัญขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตอบโจทย์การพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างทักษะแรงงาน อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน สร้างนวัตกรรมขั้นสูงแบบครบวงจร อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค จะสามารถฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญให้แก่บุคลากรที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะทักษะด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ได้มากกว่า 25 หลักสูตร โดยตั้งเป้าหมายจะพัฒนาให้ได้ประมาณ 2,000 คน/ปี และภายใน 5 ปีจะเกิดบุคลากรที่ชำนาญ ได้สูงถึง 15,000 คน ยกระดับให้ไทยก้าวสู่ยุคใช้นวัตกรรมขั้นสูง และเกิดโรงงานอัจฉริยะ 4.0 อย่างต่อเนื่อง

การขับเคลื่อนอีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค จะสร้างความเชื่อมโยง Ecosystem เอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะใช้นวัตกรรมนำการผลิต ดึงดูดเงินลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงจากนักลงทุนทั่วโลก คาดว่าการลงทุนด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เป็นเครื่องมือสำคัญให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตซึ่งคาดว่าใน 3 ปีข้างหน้า จะเกิดลงทุนสูงถึง 500,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี โดยปี 2565ตั้งเป้าหมายให้โรงงานในอีอีซี เริ่มประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมสำรวจการออกแบบระบบและเชื่อมหาแหล่งทุนได้ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง ตั้งเป้าภายใน 5 ปีจะปรับสู่โรงงานอัจฉริยะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ยกระดับแรงงานไทยให้ชำนาญด้านนวัตกรรมขั้นสูง เกิดการจ้างงาน เงินเดือนและรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง

จาก https://www.naewna.com วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สศอ. เผยดัชนีผลผลิตอุตฯ พ.ย. 64 โต 4.8% แรงงานและกำลังการผลิตส่งสัญญานบวก

ดัชนีผลผลิตอุตฯ พ.ย. 64 โต 4.8% สถานการณ์แรงงานภาพรวมปรับตัวดีขึ้น ดัชนีแรงงานขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือน 1.1% ด้านกำลังการผลิตส่งสัญญาณดีขึ้น อยู่ที่ 65.81% เฉลี่ย 11 เดือนแรก อยู่ที่ 63.5%

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2564 ปรับตัวดีต่อเนื่อง เผยภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ระดับ 101.38 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 3.36% จากเดือนก่อนหน้า ดันดัชนี 11 เดือนแรกปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.84% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 65.81% ส่งสัญญาณดีขึ้น หลังสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย และเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว สำหรับ 11 เดือนแรก เฉลี่ยอยู่ที่ 63.5%

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI เดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก อีกทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย ประกอบกับการบริโภคสินค้าทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายประเทศ และภาคการผลิตทั่วโลกมีการขยายตัวช่วยสนับสนุนคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทย

นอกจากนี้ มาตรการภาครัฐจากการเปิดประเทศ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศเพิ่มเติม ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้อีกครั้งทั้งภาคบริการและภาคการผลิต ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เป็นผลดีต่อกำลังซื้อภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์โรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ระดับ 101.38 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และปรับขึ้นสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2562

โดย 11 เดือนแรก ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.84% เติบโตสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 65.81% ส่วน 11 เดือนแรกอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 63.50% ส่งสัญญาณดีขึ้น

นอกจากนี้สถานการณ์การติดเชื้อของโรคโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการเดือนพฤศจิกายน ทยอยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สะท้อนจากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.11% ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน

การที่ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบบค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับการเปิดประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้นตัว

สะท้อนจากอุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียมขยายตัว รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องช่วงเทศกาลปีใหม่หรือสินค้าที่สามารถใช้เป็นของฝากมีการขยายตัวดี อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ

รวมถึงการส่งออกยังคงขยายตัวตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2564 ขยายตัว 23.13%  มูลค่า 18,787.30 ล้านดอลลาร์ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) ขยายตัว 20.82% มูลค่า 18,147.70 ล้านดอลลาร์

โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ด้านการนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัว 11.03% ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

ส่วนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 39.30% ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

สศอ. เผยดัชนีผลผลิตอุตฯ พ.ย. 64 โต 4.8% แรงงานและกำลังการผลิตส่งสัญญานบวกสำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้แก่

น้ำมันปิโตรเลียม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.88% จากกลุ่มน้ำมันดีเซล และน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก เป็นผลจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์ และเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวหลังประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว ทำให้มีการเดินทางขนส่งและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นปกติได้มากกว่าปีก่อน

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.16% ตามความต้องการในตลาดโลกที่ขยายตัวต่อเนื่องหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 โดย WSTS (World Semiconductor Trade Statistics) คาดการณ์ยอดขายทั่วโลกปี 2564 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.60% และในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นอีก 8.80% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี

เม็ดพลาสติก ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.00% จากกลุ่ม Polyethylene resin, Polypropylene resin, Ethylene, Propylene และ Benzene เป็นหลัก เนื่องจากการหยุดซ่อมบำรุงต่อเนื่อง รวมถึงการทำ Turn Around ของผู้ผลิตบางรายในปีก่อน

น้ำมันปาล์ม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 55.92% จากผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีมากกว่าปีก่อน เนื่องจากต้นปาล์มมีความสมบูรณ์เต็มที่ โดยปีก่อนแหล่งเพาะปลูกภาคใต้ประสบปัญหาภัยแล้ง นอกจากนี้ ยังได้รับอานิสงส์ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียและมาเลเซียขาดแคลนแรงงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ปริมาณน้ำมันปาล์มในตลาดโลกลดลงและมีราคาสูงขึ้น

เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.88% ตามความต้องการใช้ในโรงพยาบาลจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมยายังคงเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงต้องปฏิบัติตามนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของตลาด และต้องรายงานต่อ อย. ทุก 15 วัน

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 29 ธันวาคม 2564

‘เงินบาท’ วันนี้เปิด ’แข็งค่า’ ที่ 33.53 บาทต่อดอลลาร์

“กรุงไทย” ชี้เงินบาทยังมีความเสี่ยงผันผวนถูกกดดันอ่อนค่า หากยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนสูงต่อเนื่อง แต่ภาพรวมตลาดการเงินยังเปิดรับความเสี่ยงทำให้เงินบาทไม่อ่อนค่าไปมาก จับตาแรงขายโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ มองกรอบค่าเงินบาทวันนี้ที่ 33.45 - 33.60 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันนี้ ที่ระดับ  33.53 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.57 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ อยู่ที่ระดับ 33.45-33.60 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับ แนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวน โดยเงินบาทอาจถูกกดดันให้อ่อนค่าลงได้บ้าง หากยอดผู้ติดเชื้อในประเทศยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมากและสุดท้ายเงินบาทจะกลับมาแกว่งตัว Sideways ในโซน 33.50 บาทต่อดอลลาร์

เนื่องจากภาพรวมตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยง กดดันให้เงินดอลลาร์แกว่งตัว Sideways หรือย่อตัวลงบ้าง ขณะเดียวกัน เงินบาทอาจได้แรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำบางส่วน หลังจากที่ราคาทองคำทรงตัวใกล้ระดับ 1,810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มาสักระยะ (อนึ่งเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะขายทำกำไรทองคำมากขึ้น หากราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1,820-1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ )

ทั้งนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคัลจาก RSI และ MACD ยังคงหนุนแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าขึ้นหรือแกว่งตัว Sideways ในระยะสั้น โดยเงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 33.70-33.80 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้ส่งออกต่างรอปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.40 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ธุรกรรมในช่วงปลายปีอาจเริ่มเบาบางลง ทำให้ตลาดค่าเงินอาจมีความผันผวนสูงได้ หากมีโฟลว์ธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นฝั่งซื้อหรือขายเงินดอลลาร์

สำหรับวันนี้ ตลาดจะจับตาแนวโน้มการระบาดของโอมิครอนในประเทศ หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มมีการประเมินว่าอาจเกิดการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของเราที่ประเมินว่า การระบาดระลอกใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความรุนแรงและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่มากนัก หากรัฐบาลสามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนกระตุ้น หรือแจกจ่ายวัคซีนในกลุ่มเด็ก/เยาวชน ซึ่งข้อมูลล่าสุดในอังกฤษระบุว่า กลุ่มเด็ก/เยาวชน มีอัตราการนอนโรงพยาบาลที่สูงขึ้นเทียบกับการระบาดในระลอกก่อนหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี หากมีธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด ในช่วงที่ธุรกรรมในตลาดโดยรวมเบาบางลงกว่าช่วงปกติ

ตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง หลังผู้เล่นในตลาดการเงินคงมุมมองว่า การระบาดของโอมิครอนนั้นอาจมีความรุนแรงน้อยกว่าการระบาดในระลอกก่อนหน้า สอดคล้องกับผลวิจัยเบื้องต้นจากอังกฤษเดนมาร์ก และแอฟริกาใต้ที่พบว่า ยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงการป่วยหนักหรือเสียชีวิตมากนัก อีกทั้งการระดมแจกจ่ายวัคซีนเข็มกระตุ้นยังสามารถลดความรุนแรงของการระบาดได้ ซึ่งภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดได้หนุนให้หุ้นกลุ่มพลังงานและหุ้นกลุ่มเทคฯ ในตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งและทำให้ ดัชนี S&P500 ของสหรัฐ ปรับตัวขึ้น +1.38% ทำจุดสูงสุดใหม่ All time high ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดตลาด +1.39% ใกล้ทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป เดินหน้าปรับตัวขึ้นราว +0.77% นำโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นกลุ่ม Cyclical/Reopening theme อาทิ Adyen +3.1%, Infineon Tech. +2.3%, Kering +1.8%, ASML +1.5% สะท้อนว่าผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของโอมิครอนและต่างคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องหลังการระบาดสงบลง โดยภาพการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นยุโรปก็สอดคล้องกับเทรนด์ของดัชนี Citi Economic Surprise ของยุโรปที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่าข้อมูลเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปก็เริ่มออกมาดีกว่าคาด

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า ภาพรวมตลาดการเงินจะเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและทำให้ในระหว่างวัน บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1.49% ทว่า ผู้เล่นบางส่วนก็เข้ามาเพิ่มสถานะถือครองบอนด์เพื่อคงสมดุลระหว่างสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและบอนด์ (Rebalance Portfolio) หลังจากที่หุ้นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ปิดตลาดย่อตัวลงเล็กน้อยสู่ระดับ 1.47%

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์โดยรวมทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) แกว่งตัว sideways ใกล้ระดับ 96.09 จุด ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าเงินดอลลาร์ไม่สามารถแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ชัดเจนหลังจากที่ตลาดกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงอีกครั้ง ซึ่งเราคาดว่า เงินดอลลาร์จะยังแกว่งตัว sideways ไปก่อน จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาปรับแนวโน้มการเคลื่อนไหว อาทิ หากสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนไม่น่ากังวล เงินดอลลาร์ก็อาจอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักได้ แต่เงินดอลลาร์จะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะยังได้แรงหนุนจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟดช่วยพยุงไว้อยู่ นอกจากนี้ ทิศทางเงินดอลลาร์ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนบอนด์ยีลด์ 10 ปี ก็ย่อตัวลงเล็กน้อย ได้ช่วยพยุงให้ ราคาทองคำ ทรงตัวใกล้ระดับ 1,810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ว่าจะถูกกดดันจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดก็ตาม อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด รวมถึง ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะกดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อแรงได้ยาก และUpsides ของราคาทองคำเริ่มจำกัด ซึ่งมีโอกาสที่จะเห็นโฟลว์ขายทำกำไรราคาทองคำมากขึ้น หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้แนวต้านสำคัญแถว 1,820 ดอลลาร์ต่อออนซ์

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 29 ธันวาคม 2564

ก.อุตฯส่งหนังสือด่วนที่สุดเข้มมาตรการโควิดปีใหม่

กระทรวงอุตสาหกรรม ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงหน่วยงานในสังกัดและโรงงานกว่า 60,000 โรง กำชับพนักงานเข้มตามมาตรการป้องกันโควิด -19 ช่วงเทศกาลปีใหม่

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมทุกแห่ง แจ้งขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมในกำกับดูแล ให้ปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนา เดินทางท่องเที่ยว หรือไปยังพื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มของคนเป็นจำนวนมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยย้ำให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 อย่างเคร่งครัด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอมิครอน มีแนวโน้มแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว

ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด กระทรวงฯ ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงหน่วยงานในสังกัดและสถานประกอบการโรงงานในกำกับกว่า 60,000 โรง เพื่อขอความร่วมมือให้แจ้งประชาสัมพันธ์ไปยังเจ้าหน้าที่ฯ และพนักงาน ก่อนที่จะหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ให้ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรค COVID-19 ด้วยมาตรการ D-M-H-T-T ( D – Distancing : อยู่ห่างไว้ M – Mask wearing : ใส่แมสก์กัน H – Hand wash : หมั่นล้างมือ T – Testing : ตรวจวัดอุณหภูมิ และ T – Thai Cha na : ใช้แอปฯ ไทยชนะ) อย่างเคร่งครัด และเมื่อพนักงานกลับมาปฏิบัติงานให้ทำการคัดกรองพนักงานทุกคนผ่านแอปพลิเคชัน Thai Save Thai รวมทั้งสุ่มตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และพิจารณาดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and seal) เพื่อให้สามารถประกอบกิจการได้อย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงฯ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำ และการตรวจประเมินตามแผนป้องกันโควิด-19 ของผู้ประกอบการ ส่วนความก้าวหน้าของสถานประกอบการที่ดำเนินมาตรการ Bubble and seal ในขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีโรงงานเข้าร่วมจัดทำ Bubble and seal จำนวนทั้งสิ้น 1,633 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,500 แห่งภายในปี 2564

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการมาตรการ Bubble and seal ทาง http://i-safefactory.industry.go.th และให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดติดตามและรายงานผลการดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่

เครียดจัดจนผมร่วง ใช้ผักใกล้ตัวช่วยได้ เห็นผลไวจนคนรอบข้างทัก

1. การเข้าไปใช้งานในระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. การอบรมและการให้คำแนะนำ (Training & Coaching)

3. การจัดทำ Bubble and seal ของผู้ประกอบการ

โดยระยะที่ 2 (มกราคม – มีนาคม 2565) เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 5 ประเภท คือ อุตสาหกรรมอาหาร ยาง อิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ และที่ใช้แรงงานต่างด้าวเข้มข้น ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการและโรงงานอุตสาหกรรม จะจัดประชุมในช่วงต้นเดือนมกราคม 2565

สำหรับสถานการณ์ล่าสุดของสถานประกอบการโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ในการกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 64,535 แห่ง พบการติดเชื้อจำนวนรวม 1,359 แห่ง แรงงานติดเชื้อ 82,435 คน หายป่วยสะสม 78,874 คน คิดเป็นร้อยละ 96 โดยอยู่ระหว่างการรักษาตัว จำนวน 3,561 คน

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 29 ธันวาคม 2564

นายกฯ ปลื้มส่งออกเกษตร/อุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง เร่งพัฒนาทุกรูปแบบรับการบริโภคฟื้นตัว

โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง กรอ.พาณิชย์ เร่งพัฒนาส่งเสริมการส่งออกทุกรูปแบบ รองรับการบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่องทั่วโลก

วันนี้ (28 ธ.ค.) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ขยายตัวได้ดีมาก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 783,425 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.7% และดุลการค้าเดือนพฤศจิกายน เกินดุล 23,745 ล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนของตัวเลขการส่งออก 11 เดือน มูลค่ารวม 246,243.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 7,731,391 ล้านบาท หรือประมาณ 7.73 ล้านล้านบาท เป็นบวก 11 เดือน 16.4% โดยหมวดส่งออกสำคัญ 3 หมวด ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตร หมวดสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และหมวดอุตสาหกรรม ดังนี้

1) หมวดสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้น 14.2% เป็นบวก 13 เดือนต่อเนื่องติดต่อกัน มูลค่าเดือนพฤศจิกายน 68,462 ล้านบาททุเรียนสด เพิ่มขึ้น 138.9% ขยายตัวดีมากในตลาดจีนและเกาหลีใต้ มะม่วงสด เพิ่มขึ้น 48.6% ขยายตัวดีมากในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ญี่ปุ่นและลาว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง บวก 13 เดือนต่อเนื่อง เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 48.6% ขยายตัวดีมาก ในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย ลำไยสด เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 24.7% เป็นบวก 6 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ยางพารา เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 23.5% เป็นบวก 14 เดือนต่อเนื่อง

2) หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ภาพรวมเพิ่มขึ้น 21.2% เดือนพฤศจิกายนขยายตัวเดือนที่ 9 ต่อเนื่อง สินค้าสำคัญเช่น น้ำตาลทราย เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 74% ผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เพิ่มขึ้น 34.5% บวกเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และอาหารสัตว์เลี้ยง บวกเป็นเดือนที่ 27 โดยเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 25.9%

3) หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 23.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกัน ตัวอย่างเช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น เพิ่มขึ้น 72.9% เป็นบวก 10 เดือนต่อเนื่อง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 51.9% อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มขึ้น 24.9% เป็นบวกเดือนที่ 9 ติดต่อกัน แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 26.7% บวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ บวก 12 เดือนต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 19.9% รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้น 13 เดือนต่อเนื่อง เป็น เพิ่มขึ้น 12%

นายธนกร กล่าวว่า ทั้งนี้ ในส่วนของการตลาดขยายตัวสูง 10 อันดับแรก ได้แก่ เอเชียใต้ เพิ่มขึ้น 66% อาเซียน เพิ่มขึ้น 55.1% ตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้น 40.7% เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 30.6% สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 30.2% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CSI เพิ่มขึ้น 27.3% จีน เพิ่มขึ้น 24.3% ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 24.2% สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 20.5% และทวีปแอฟริกา เพิ่มขึ้น 18.4% ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกเดือนพฤศจิกายนดีขึ้นถึง 24.7% มาจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกโดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชน ดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ มุ่งเดินผลักดันส่งเสริมการส่งออกทุกรูปแบบ ให้รองรับบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยเฉพาะสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ยังทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นอาชีพเกษตรกรมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล

จาก https://mgronline.com วันที่ 28 ธันวาคม 2564

ส่งออกปีหน้าทำเงิน9ล้านล้านบาท

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ครั้งที่ 3/2564 พร้อมด้วยนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตรปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนภาคเอกชน

นายจุรินทร์แถลงว่าประเด็นสำคัญที่ได้มีการประชุมร่วมกันคือ การสรุปตัวเลขการส่งออกสำหรับปี 2564 โดยคาดว่าจะบวกประมาณ 16% สามารถส่งออกนำเงินเข้าประเทศได้ 8,585,600 ล้านบาท สำหรับปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3-4% คิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 9 ล้านล้านบาท หรือ 280,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขส่งออกในปี 2565 นั้นคาดว่าจะมากกว่าปี 2564 ประมาณ 4 แสนล้านบาท

สำหรับการคาดการณ์ตัวเลขส่งออกดังกล่าวเป็นการพิจารณาจาก 8 ประเด็น ได้แก่ 1.เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญย้อนหลังไป 5 ปี

เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา 2.อัตราแลกเปลี่ยน 3.ราคาน้ำมันดิบดูไบ 4.ราคาสินค้าเกษตร 5.ราคาวัตถุดิบโลก เฉลี่ย 6.สถานการณ์โควิด 7.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านการขนส่งโลจิสติกส์ ซึ่งคาดว่าปี 2565 นั้นการผลิตตู้ป้อนตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้การส่งออกได้คล่องตัวขึ้น 8.การประเมินโดยทูตพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์ทั่วโลกที่ส่งเข้ามา

ด้านปัจจัยที่สนับสนุนการส่งออกในปีหน้าให้ขยายตัว ได้แก่ 1.การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งมี องค์การเพื่อความร่วมมือ

และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวบวก 4.5% 2.การนำเข้าของประเทศคู่ค้า ในปีหน้าคาดว่ายังขยายตัวดี ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น หรือสหภาพยุโรป ซึ่งก็จะช่วยเสริมในการส่งออกนำเข้ามากโอกาสเราส่งออกไปก็จะมากขึ้นด้วย3.ปัจจัยค่าเงินบาท ซึ่งคาดว่าปีหน้าก็ยังจะเอื้อต่อการส่งออก อยู่ที่ประมาณ 32 ถึง33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

4.การผลิตตู้คอนเทนเนอร์ป้อนตลาดโลกที่มากขึ้น 5. การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล (e-Digital) จะช่วยเรื่องการส่งออกสินค้าด้าน IT ของไทย 6.แผนจัดการแก้ปัญหาโควิดที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในภาพรวมของโลก 7. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) 15 ประเทศที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

ในส่วนของการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนของไทยสำหรับปี 2564 นั้น จะเป็นบวก 32% โดยสามารถสร้างรายได้จากการส่งออก ประมาณ 1 ล้านล้านบาท สำหรับปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 5 - 7% หรือ 1.07-1.08 ล้านล้านบาท โดยมีมูลค่าการค้า ทั้งนำเข้า-ส่งออกทางชายแดนข้ามแดนประมาณ 1.78-1.82 ล้านล้านบาท

จาก https://www.naewna.com วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ไทย-EU เชื่อมข้อมูลจดเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ

กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสหภาพยุโรปเชื่อมฐานข้อมูลรายการสินค้าและบริการ เดินหน้าเชิงรุกอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการไทยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ โดยตรวจสอบรายการสินค้าและบริการจากฐานข้อมูลของสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับการยอมรับจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาใน 89 ประเทศทั่วโลก

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสหภาพยุโรป (EUIPO) เปิดให้บริการตรวจสอบข้อมูลรายการสินค้าและบริการของต่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ สามารถตรวจสอบได้ว่าแต่ละประเทศกำหนดรายการสินค้าและบริการอะไรบ้าง และระบุในคำขอจดทะเบีย เครื่องหมายการค้าของตนได้อย่างถูกต้อง ช่วยให้เครื่องหมายการค้าของคนไทยได้รับการคุ้มครองในต่างประเทศรวดเร็วขึ้น

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 27 ธันวาคม 2564

“น้ำตาล” ไม่ได้มีแค่ความหวาน แต่เป็นวัตถุดิบสำคัญใน “Bio Economy”

เมื่อการบริโภคน้ำตาลกลายเป็นตัวร้ายทำลายสุขภาพ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเผชิญกับผลกระทบทางลบ การใช้ประโยชน์ของอ้อยและน้ำตาลทรายในอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงจะทำให้อุตสาหกรรมเติบโตยั่งยืนในอนาคต

เป็นที่ทราบกันดีว่า "น้ำตาล" เป็นสารให้ความหวานที่อยู่ในอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ซึ่งมีประโยชน์ในการสร้างสีสัน รสชาติ และรสสัมผัสให้อาหารน่ารับประทาน รวมทั้งยังใช้ถนอมและยืดอายุอาหาร แต่ยิ่งกว่านั้นการวิจัยและนวัตกรรมทำให้น้ำตาลและผลพลอยได้จากอ้อย (byproducts) เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ ยา เครื่องสำอาง ไบโอพลาสติก และผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

การผลิตน้ำตาลจากอ้อย สร้างผลพลอยได้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าแบ่งตามขั้นตอนที่ได้ผลิตผลพลอยได้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรกได้จากขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ยอดและใบอ้อย โดยอ้อย 1 ตัน จะได้ยอดและใบอ้อยรวมประมาณ 170 กิโลกรัม เมื่อเผาไหม้จะให้ค่าความร้อนสูงจึงเป็นที่ต้องการของโรงงานไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) ซึ่งหากใช้วิธีเก็บเกี่ยวแบบการเผาอ้อยก่อนตัดหรือที่เรียกว่า "อ้อยไฟไหม้" จะทำให้ผลพลอยได้เหล่านี้จะสูญเสียไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเอกชนหลายแห่งที่เริ่มประกาศรับซื้อใบอ้อยเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อการลดใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน รวมถึงช่วยลดปัญหาการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

ผลพลอยได้อีกส่วนที่ได้หลังกระบวนการผลิต ได้แก่ กากอ้อยหรือชานอ้อย มีส่วนประกอบของกากใยและน้ำตาล สามารถนำไปใช้ในการผลิตกระดาษ บรรจุภัณฑ์อาหารและไบโอพลาสติกที่ย่อยสลายได้ วัสดุก่อสร้าง เช่น ไฟเบอร์บอร์ด ฝ้าเพดาน ฝาผนัง และเครื่องเรือนที่ใช้แทนไม้และไม้อัด อาหารเลี้ยงสัตว์ ผลิตก๊าซมีเทนเป็นเชื้อเพลิง ผลิตสารเฟอร์ฟูรอลที่ใช้ในอุตสาหกรรมยา และปุ๋ย

กากน้ำตาล เป็นส่วนที่เหลือจากการตกผลึกและแยกเอาน้ำตาลทรายออกไป ซึ่งในกากน้ำตาลมีส่วนประกอบหลายชนิด ได้แก่ น้ำตาลที่ไม่ตกผลึก ไนโตรเจน ซิลิก้า โพแทสเซียม และอื่นๆ จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ เลี้ยงสัตว์ วัตถุดิบสำหรับการทำน้ำส้มสายชู เอทิลแอลกอฮอล์เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง สุรา ทินเนอร์ ผงชูรส กรดอะซิติด กรดซิตริค กรดแลคติค อาซีโตน บิวทานอล และกลีเซอรีน เป็นต้น

สุดท้ายกากตะกอน เป็นส่วนที่ได้จากการตกตะกอนน้ำอ้อยด้วยสารเคมี ซึ่งมีสารประกอบที่มีแร่ธาตุสำคัญในการทำปุ๋ยและใช้เลี้ยงสัตว์ ทั้งยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตไขอ้อย ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และยา 

ทั้งนี้ ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับที่ 2 ของโลก รองจากประเทศบราซิล ได้มีการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบสำคัญนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3 แสนล้านบาท และทำให้น้ำตาลอ้อยกลายเป็นหนึ่งตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ น่าจับตามองว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะทำให้เราได้เห็นโปรดักส์ที่น่าสนใจอะไรบ้างที่ผลิตจากน้ำตาลและผลผลอยได้

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 26 ธันวาคม 2564

กรมโรงงานฯ เข้ม ตรวจโรงงานต้องไม่สร้างปัญหา PM2.5

สุริยะ สั่งการ กรมโรงงาน ตรวจกำกับดูแลโรงงานอย่างเข้มงวด ช่วงหนาว ลดผลกระทบ PM2.5 ด้านกรมโรงงาน ดำเนินการเชิงรุก เร่งตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วไป โดยรอบพื้นที่เขตประกอบการและพื้นที่โรงงานหนาแน่น จำนวน 12 พื้นที่ รวม 130 จุด

วันที่ 24 ธันวาคม 2564 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงาน ปูพรมตรวจกำกับโรงงานอย่างเข้มงวด ตลอดฤดูหนาวนี้ เน้นตรวจโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัสติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2,570 โรงงาน โดยแบ่งเป็นโรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 268 โรงงาน โรงงานในเขตปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร)

จำนวน 2,245 โรงงาน โรงงานที่ตั้งในเขตประกอบการ จำนวน 6 เขต รวม 35 โรงงาน และโรงงานรีไซเคิล กากอุตสาหกรรมและเตาเผากากของเสีย จำนวน 32 โรงงาน ตั้งเป้าตรวจเสร็จก่อนสิ้นปี 2564 พร้อมกำชับผู้ประกอบการวางแผนการผลิต และควบคุมดูแลการประกอบกิจการ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ย้ำต้องดูแลรักษาระบบบำบัดมลพิษอากาศให้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา หากพบการกระทำผิด จะให้สั่งหยุดประกอบกิจการทันที

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูหนาว การหมุนเวียนของอากาศไม่ดี ทำให้มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) สะสมจำนวนมาก กรอ. จึงดำเนินการเชิงรุก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า การประกอบกิจการโรงงานจะไม่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ด้วยการนำรถตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่ เร่งตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วไป โดยรอบพื้นที่เขตประกอบการและพื้นที่โรงงานหนาแน่น จำนวน 12 พื้นที่ รวม 130 จุด ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องทั้งปี รวมทั้งสิ้น 516 จุด รวมถึงจะทำการตรวจวัดฝุ่นละอองจากปล่องระบายของโรงงานเพิ่มอีก 104 โรงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้โรงงานสร้างความเดือดร้อน หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้งเป็นการป้องปรามให้โรงงานประกอบกิจการด้วยความระมัดระวังอีกด้วย

“นอกจากนี้ กรอ. ได้เร่งปรับปรุงระบบตรวจสอบมลพิษระยะไกล และปรับปรุงกฎหมาย ให้โรงงานที่มีความเสี่ยงด้านมลพิษอากาศ ต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ หรือ CEMS ที่รายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์มายัง กรอ. คาดว่าจะมีโรงงานทั่วประเทศเข้าข่ายต้องติดตั้งเครื่องมือเพิ่มทั้งหมด 600 โรงงาน รวม 1,300 ปล่อง จากเดิมที่มีการติดตั้งอยู่แล้วจำนวน 855 ปล่อง เพื่อให้การกำกับดูแลการระบายมลพิษจากโรงงาน มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมปัญหาด้านฝุ่นละอองอย่างทั่วถึง”

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 24 ธันวาคม 2564

‘เฉลิมชัย’เร่งขับเคลื่อนงาน หนุนเกษตรวิถีใหม่-ปฏิบัติได้จริง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดการสัมมนา “DOAE Next Step” ขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรวิถีใหม่ ที่โรงแรมรามาการ์เด้นกทม. ว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดสัมมนาดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีความรู้ความเข้าใจในนโยบาย และแนวทางการขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2565 และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา มีสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานส่งเสริมการเกษตร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะมุ่งสู่การเป็น Digital DOAE เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนงาน

และรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและยังให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงเกษตรฯ ในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

นายเฉลิมชัย เปิดเผยด้วยว่า เราต้องเดินตามเทคโนโลยีให้ทัน ตามยุคตามสมัย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีข้าราชการอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย มีความสนิทสนมในระดับครัวเรือนกับเกษตรกร ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนพูดมาตลอดว่าอยากให้ข้าราชการของกระทรวงเกษตรฯ เข้าถึงพี่น้องเกษตรกร เหมือนเป็นคนในครอบครัว อย่างไรก็ดี ในระดับผู้บริหารต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการในพื้นที่ เพราะเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของกระทรวงเกษตรฯ

“ตามที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะเดินไปข้างหน้าอย่างชัดเจน ต้องให้มีความทันสมัยและพร้อมไปกับโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งยุทธศาสตร์ 5 ด้าน 15 นโยบายสำคัญที่กำหนดนั้น จะเป็นสิ่งที่จะต้องให้พี่น้องเกษตรกร ได้เข้าถึง เรียนรู้ และสามารถปฏิบัติได้จริง เพราะฉะนั้นหากจะประสบความสำเร็จได้ทุกคนจะต้องนำไปใช้ไปปฏิบัติ แล้วส่งถึงพี่น้องเกษตรกรได้ด้วย ซึ่งเราต้องพัฒนาพี่น้องเกษตรกรให้เข้มแข็งด้วยตัวเอง พร้อมทั้งต้องบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร เพื่อร่วมกันเดินไปข้างหน้าและมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้” นายเฉลิมชัย กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สศก.คาด GDP เกษตร ปี 65 โต 2.0 – 3.0 % ห่วงโควิดรุนแรง-บาทแข็งฉุด

สศก. แถลง จีดีพีเกษตรปี 65 โต 2.0 – 3.0 % ห่วงโควิด “ไอมิครอน” รุนแรง ระบาดใหม่ บาทแข็งฉุด แนะทางรอดเกษตรกรไทย ใช้หลักการตลาดนำการผลิต ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร

วันที่ 23 ธันวาคม 2564 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จัดงานสัมมนา ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ซึ่งภายในงานมีการจัดเสวนาในหัวข้อ “Booster เกษตรไทย สู่ เกษตรมูลค่าสูง” และการรายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรตลอดปี 2564 และแนวโน้มในปี 2565 ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารนวัตกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  รวมทั้งถ่ายทอดผ่านระบบ ZOOM และ FB Live เศรษฐกิจการเกษตรเพื่อประชาชน

ในการนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวเปิดงานสัมมนาผ่านวีดิทัศน์ ว่า ภาคเกษตรถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นรากฐานด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศและของโลก รวมทั้งช่วยรองรับและโอบอุ้มเศรษฐกิจไทยในวิกฤตต่าง ๆ จนถึงการระบาดของโควิด-19 ซึ่งการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรให้เติบโต และยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีเป้าหมายสำคัญให้ GDP ภาคเกษตร และผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ครอบคลุมตั้งแต่ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด

สำหรับ ด้านการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรการผลิตให้เกิดความยั่งยืน ลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากระบวนการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐาน ส่งเสริมสินค้ามูลค่าสูงเช่น สมุนไพร และสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ ด้านการแปรรูป ผลักดันให้มีการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร โดยมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ และ ด้านการตลาด พัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สร้างเรื่องราว (Story Telling) และจุดเด่นให้กับตราสินค้า (Branding) และยกระดับระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพการบริการแก่ผู้บริโภค

ด้าน นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานถึง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร  ปี 2564 ซึ่งพบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 ซึ่งเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช และประมง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่ปรับตัวดีขึ้นจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตและบำรุงรักษาที่ดี

รวมไปถึงการดำเนินนโยบายและมาตรการของภาครัฐ อาทิ การขยายช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การส่งเสริมอาชีพเกษตร การพักชำระหนี้ และการประกันรายได้ ทำให้เกษตรกรสามารถทำการผลิตและบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้ออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการระบาดของ โควิด-19 ทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ขยายตัวมากขึ้นเช่นกัน

หากพิจารณาในแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืช ในปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยพืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปี 2564 มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก รวมถึงการปลูกทดแทนพืชชนิดอื่น อาทิ อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และในบางพื้นที่สามารถเพาะปลูกข้าวนาปรังได้ 2 รอบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการดูแลรักษาที่ดี ควบคุมและกำจัดหนอนกระทู้ได้ดีขึ้น

GDP เกษตร ปี 64 แนวโน้ม ปี 65

ประกอบกับมีปริมาณน้ำเพียงพอ ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคามันสำปะหลังปรับตัวเพิ่ม  มีโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังโรงงาน ทำให้เกษตรกรขยายเนื้อที่และทำการเพาะปลูกได้ต่อเนื่อง อ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มีมากขึ้น ทำให้ต้นอ้อยเจริญเติบโตได้ดี ประกอบกับแหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน

ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยมากนัก สับปะรดโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ถึงปี 2563 เกษตรกรจึงขยายพื้นที่ปลูกสับปะรดในพื้นที่ปล่อยว่าง รวมทั้งปลูกแซมในสวนยางพาราและสวนมะพร้าวที่ปลูกใหม่ ยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นยางสมบูรณ์ดี

ประกอบกับต้นยางพาราที่กรีดได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง อีกทั้งภาครัฐยังมีโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง จึงจูงใจให้เกษตรกรบำรุงดูแลมากขึ้นและเพิ่มจำนวนวันกรีด ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนมากขึ้นในช่วงปลายปี 2563 ประกอบกับในปี 2564 มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตในช่วงกลางปีถึงปลายปี 2564 มีทะลายสมบูรณ์ดี

ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2561 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและมีปริมาณน้ำเพียงพอ ทำให้ต้นลำไยออกดอกติดผลได้มากกว่าปีที่ผ่านมา ทุเรียน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 2559 ทดแทนยางพารา กาแฟ เงาะ มังคุด และลองกอง โดยสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล และ เงาะ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ ทำให้ต้นสมบูรณ์ ออกดอกและติดผลได้มากกว่าปีที่ผ่านมา

สาขาปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ 2.4  โดยผลผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่สำคัญลดลง ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ ผลผลิตไก่เนื้อลดลง เนื่องจากความต้องการบริโภคที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลผลิตสุกรลดลง เนื่องจากเกษตรกรปรับลดปริมาณการเลี้ยงสุกรจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคในประเทศเพื่อนบ้าน และผลผลิตไข่ไก่ลดลงจากการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่

โดยมีการปรับลดปริมาณแม่ไก่ยืนกรง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ภายในประเทศลดลงไปด้วย ขณะที่ผลผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของรัฐบาลที่มีอย่างต่อเนื่อง และ ผลผลิตน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ภาครัฐมีนโยบายพัฒนาคุณภาพน้ำนมโค ส่งผลให้น้ำนมดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น

สาขาประมง หดตัวร้อยละ 3.0 เป็นผลจากผลผลิตประมงทะเลในส่วนของปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือลดลง เนื่องจากสภาพอากาศมีความแปรปรวน ชาวประมงนำเรือออกไปจับสัตว์น้ำได้ลดลง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนปริมาณกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีผลผลิตลดลง เนื่องจากราคาไม่จูงใจ ส่งผลให้เกษตรกรปรับลดจำนวนลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง ประกอบกับบางพื้นที่มีการระบาดของโรคขี้ขาว ไวรัสตัวแดงดวงขาว หัวเหลือง

ในด้านประมงน้ำจืด ปลานิลมีผลผลิตลดลงเล็กน้อย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ส่งผลให้ปลานิลบางส่วนน็อคน้ำตาย ส่วนปลาดุกมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเลี้ยงจากปริมาณน้ำฝนที่มีมากกว่าปีที่ผ่านมา และไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม อีกทั้งเกษตรกรมีการอนุบาลลูกปลาให้ได้ขนาดและแข็งแรงก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง เพื่อเพิ่มอัตราการรอด

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7 เนื่องจากมีการจ้างบริการเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ทางการเกษตรในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การบำรุงดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่เพาะปลูกพืชที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง และสับปะรดโรงงาน และพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพืชที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสับปะรดโรงงาน

สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.5 เนื่องจากผลผลิตของไม้ยูคาลิปตัส รังนก และถ่านไม้เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (Wood Pellet) โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น ด้านรังนกของไทยยังมีคุณภาพและมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากตลาดสิงคโปร์และจีน และถ่านไม้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0 โดยสาขาพืช สาขาปศุสัตว์  สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกสาขา จากปัจจัยสนับสนุน ทั้งสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง

ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพิ่มช่องทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการวางแผนการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยใช้หลัก "การตลาดนำการผลิต" ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร รวมทั้งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรของไทย

แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ไม่ว่าจะเป็น ภัยธรรมชาติ และความแปรปรวนของสภาพอากาศ สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่อาจเกิดการระบาดในระลอกใหม่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศคู่แข่ง จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าสินค้าเกษตรไทย และราคาน้ำมันดิบที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นไปด้วย

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 23 ธันวาคม 2564

เปิด 3 แผนกระทรวงพลังงานปี 65 เปลี่ยนบทบาทมุ่งสังคมคาร์บอนต่ำ

เปิด 3 แผนกระทรวงพลังงานปี 65 เปลี่ยนบทบาทมุ่งสังคมคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อรองรับยุค Energy Transition

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในปี 65 จะมุ่งกำหนดทิศทางแผนการดำเนินงานภายใต้มิติ "Collaboration for Change: C4C ก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด จับมือพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” โดยจะเน้นการปรับบทบาทองค์กรเพื่อก้าวสู่ยุค Energy Transition ปลดล็อค กฎระเบียบ และจับมือทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญ 3 ด้าน คือ

1.ด้านพลังงานสร้างความมั่นคงสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ อาทิ การจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติที่คำนึงถึงพลังงานสะอาดและการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเช่น การขับเคลื่อน

Grid Modernization สมาร์ทกริด ปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้าสะอาด และบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ

2.ด้านพลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ อาทิ ขับเคลื่อนการลงทุนโครงการประกอบกิจการปิโตรเลียม ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศมูลค่ากว่า 44,300 ล้านบาท กำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันและสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในระดับที่เหมาะสม

ส่งเสริมการลงทุนปิโตรเคมี ระยะ 4 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (EEC) กำหนดทิศทางการขยายการลงทุนปิโตรเคมีกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในปี 2565-2569 กว่า 2-3 แสนล้านบาท ส่งเสริมลงทุนต่อเนื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานมูลค่ากว่า 143,000 ล้านบาท

ส่งเสริมการลงทุน EV Charging Station และยานยนต์ไฟฟ้า และเร่งพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

ขยายผลการลงทุนพลังงานสะอาดทุกรูปแบบ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนผ่านกองทุนอนุรักษ์ฯปี 2565 วงเงินกว่า 1,800 ล้านบาท

และ 3.ด้านพลังงานลดความเหลื่อมล้ำและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เดินหน้ากระจายเม็ดเงินลงทุนสู่ชุมชน 76 จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนพร้อมขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อระยะที่ 1 พร้อมเตรียมการขยายผลโรงไฟฟ้าชุมชนระยะที่ 2

"ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกตระหนักถึงสภาวะโลกร้อนส่งผลให้ภัยธรรมชาติเริ่มทวีความรุนแรงและส่งกระทบมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความสำคัญต่อเป้าหมายการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ตามแผนที่ประกาศในเวทีการประชุม COP26 นั้น ทำให้ภาคพลังงานถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในเวทีโลก"

สำหรับผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในรอบปี 64 นั้น ได้สร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คู่ขนานกับการช่วยเหลือสังคมบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 (Covid-19) ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัด รัฐวิสาหกิจและบริษัทในเครือ

โดยในด้านบทบาทภารกิจหลัก อาทิ จัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ มุ่งสู่เป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ภายในปี 2564 –2568 ให้สะท้อนต้นทุนในการให้บริการของกิจการไฟฟ้าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม

ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้ผลักดันให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 205,000 ล้านบาท อาทิ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลและบริษัทในเครือมูลค่ากว่า 169,000 ล้านบาท

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานตามนโยบายรัฐบาลจำนวน 25,777 อัตรา รวมถึงสร้างรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม รวมมูลค่า 34,200 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานช่วงสถานการณ์โควิด-19 ครอบคลุมทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ รวมมูลค่า 97,113 ล้านบาท ภายใต้มาตรการที่สำคัญๆ อาทิ การลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนและกิจการขนาดเล็กกว่า 62 ล้านราย การตรึงค่า Ft ตลอดปี 2564

การตรึงราคาขายปลีก LPG สำหรับผู้มีรายได้น้อย กลุ่มร้านค้าหาบเร่แผงลอยอาหาร รวมถึงได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือด้วยการรักษาระดับราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการซึ่งอาจจะส่งผลต่อราคาสินค้าในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกผันผวนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 จนถึงเดือนมีนาคม 2565 รวมทั้งตรึงราคาขายปลีกก๊าซ NGV เพื่อช่วยเหลือผลกระทบต่อรถสาธารณะที่ใช้ก๊าซ NGV อีกด้วย

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 23 ธันวาคม 2564

ก.เกษตรฯ เร่งติดตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ฯ ก่อนปิดโครงการ ธ.ค. 64

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการเบิกจ่ายของกลุ่มแปลงใหญ่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ ชี้ ทุกกิจกรรมต้องเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.64 นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด ครั้งที่ 6/2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom meeting) ซึ่งการประชุมติดตามการดำเนินงานฯ ในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการติดตามงานครั้งสุดท้ายก่อนการเสร็จสิ้นโครงการ

โดยแผน - ผล การเบิกจ่ายเงินของกลุ่มแปลงใหญ่ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาดโครงการส่วนใหญ่ถือได้ว่าเป็นไปตามแผน เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 3,356 แปลง จากเป้าหมาย 3,379 แปลง ซึ่งการเบิกจ่ายดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ จำนวน 23 แปลง โดยมี 1 แปลง ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้หน่วยงานเจ้าของสินค้าที่ ให้ติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายของกลุ่มแปลงใหญ่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2564 นี้ โดยต้องส่งรายงานเอกสารบัญชีกลุ่มแปลงใหญ่ที่ดำเนินการแล้วเสร็จให้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์เข้าไปตรวจสอบให้ทันตามแผน ซึ่งทุกกิจกรรมต้องเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่าน ซึ่งกลุ่มแปลงใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการฯ สามารถดำเนินการได้ตามแผนเพิ่มศักยภาพการผลิตของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรับทราบการจัดทำวีดีทัศน์สรุปผลการดำเนินงานโครงการการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี

รวมทั้งผลการประเมินโครงการซึ่งมีการสุ่มประเมินจากแปลงใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 280 แปลง ซึ่งประสิทธิผลการบริหารโครงการอยู่ในระดับดีมาก 92.17 คะแนน เป็นโครงการระดับ เกรด A ที่เป็นโครงการที่โดดเด่น

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้นำข้อเสนอแนะ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงานโครงการในรอบนี้ ไปปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินการโครงการยกระดับแปลงใหญ่ที่กำลังขอเสนองบประมาณเพิ่มเติมจากงบเงินกู้ตามพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 23 ธันวาคม 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ "แข็งค่า" ที่ระดับ 33.68 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแนวโน้มผันผวนและแกว่งตัว Sideways ในระยะสั้น แนะจับตาแรงขายสินทรัพย์ไทยจากฝั่งนักลงทุนต่างชาติ

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.68 บาทต่อดอลลาร์"แข็งค่า"ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.765 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มผันผวนและแกว่งตัว Sideways ในระยะสั้นนี้ อย่างไรก็ดียังคงต้องจับตาแรงขายสินทรัพย์ไทยจากฝั่งนักลงทุนต่างชาติ เพราะหากนักลงทุนต่างชาติไม่ได้เทขายสินทรัพย์ไทยต่อเนื่อง

โดยเฉพาะบอนด์ระยะสั้น เรามองว่า การอ่อนค่าของเงินบาทก็เริ่มจำกัดลง และมีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์และการรีบาวด์ของราคาทองคำ (ลุ้นโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท)

อนึ่ง เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้ส่งออกต่างรอปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.50 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ธุรกรรมในช่วงปลายปีอาจเริ่มเบาบางลง ทำให้ตลาดค่าเงินอาจมีความผันผวนสูงได้ หากมีโฟลว์ธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นฝั่งซื้อหรือขายเงินดอลลาร์

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.60-33.75 บาท/ดอลลาร์

ความหวังของผู้เล่นในตลาดการเงินที่มองว่า แม้โอมิครอนจะระบาดได้ดีกว่า COVID-19 สายพันธุ์อื่นๆ แต่อาจมีความรุนแรงไม่มาก อีกทั้งการเร่งแจกจ่ายวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนบูสเตอร์อาจช่วยลดความเสี่ยงการป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ ดังจะเห็นได้จากยอดผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตในหลายประเทศที่ทรงตัว สวนทางกับยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาพดังกล่าวทำให้ตลาดการเงินเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น

ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนี Nasdaq ปิดตลาด +1.18% ส่วนดัชนี S&P500 ก็ปรับตัวขึ้น +1.02% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้แรงหนุนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาด อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board (Consumer Confidence) เดือนธันวาคมที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 115.8 จุด 

เช่นเดียวกันกับฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ก็รีบาวด์ขึ้นราว +1.01% นำโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical/Reopening theme รวมถึงหุ้นกลุ่มเทคฯ ที่เดินหน้าปรับตัวขึ้นต่อ อาทิ Airbus +4.0%, Adyen +3.2%, Louis Vuitton +2.0%, ASML +2.0%

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่าตลาดจะเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง แต่โฟลว์การทำธุรกรรมของผู้เล่นในตลาดเริ่มเบาบางลงเนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุดคริสต์มาส ทำให้บอนด์ยีลด์10 ปี สหรัฐฯ ยังแกว่งตัวใกล้ระดับ 1.46% ซึ่งเราคงมองว่า หากตลาดการเงินกลับมาคึกคัก

อีกครั้งหลังช่วงเทศกาลคริสต์มาสและวันหยุดสิ้นปี บอนด์ยีลด์ยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ ตามแนวโน้มการใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกและภาพของตลาดที่จะกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของโอมิครอน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักตามการทยอยเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างเงินดอลลาร์ลง ซึ่งล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ย่อตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 96.08 จุด

ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ รีบาวด์ขึ้นใกล้ระดับ 1,805 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง แต่เราคงมองว่า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด รวมถึง ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะกดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อแรงได้ยาก และ Upsides ของราคาทองคำเริ่มจำกัด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสดใสต่อ หนุนโดยการบริโภคภาคเอกชนที่สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ซึ่งจะสะท้อนผ่าน ยอดใช้จ่ายส่วนบุคคล (Personal Spending) เดือนพฤศจิกายนที่จะขยายตัวราว +0.6% จากเดือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ การใช้จ่ายของคนอเมริกันยังจะได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) ในเดือนธันวาคม ที่ล่าสุดออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจกดดันการบริโภคในระยะสั้นได้ ซึ่งตลาดก็มองว่า อัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนพฤศจิกายน ก็มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 5.4%

ทั้งนี้ การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาและแนวโน้มเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด จากปัญหาด้าน Supply Chain ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เฟดปรับท่าทีพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น

ส่วนในฝั่งไทย ตลาดประเมินว่ายอดการส่งออก (Exports) ในเดือนพฤศจิกายน มีแนวโน้มที่จะโตกว่า +17.5%y/y หนุนโดยความต้องการสินค้าตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) อาจโตขึ้นกว่า +23.0%y/y กดดันให้ดุลการค้าอาจขาดดุลเล็กน้อย ทั้งนี้ การขาดดุลการค้าเล็กน้อยอาจไม่ได้กดดันเงินบาทมากนัก

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 23 ธันวาคม 2564

“สุพัฒนพงษ์” เร่ง “อีอีซีไอ” หนุนนวัตกรรมโชว์เวทีเอเปก

กบอ.ลุยเปิดเขตนวัตกรรม ECCi ต้อนรับเอเปก พ.ย.ปีหน้า หวังดึงลงทุนอุตสาหกรรมขั้นสูงต่อเนื่อง โฟกัสศูนย์จีโนมิกส์ดันรักษาโรคแม่นยำ

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ในปี 2565 โดยรัฐบาลจะชูแนวคิด BCG Economy เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2564 ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ได้รับทราบและพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดังนี้

1. เตรียมเปิดเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) อย่างเป็นทางการต้อนรับการประชุมผู้นำเอเปก โดย กบอ.รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนา EECi การดำเนินงานเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ได้ประสบผลสำเร็จต่อเนื่องทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม สนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 พัฒนาเกษตรสมัยใหม่ กลุ่มเอสเอ็มอีและความพร้อมพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัยเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ส่วนความคืบหน้าในการเตรียมการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของอีอีซีไอที่ได้เริ่มทยอยพัฒนาไปแล้วนั้น ได้แก่

- เมืองนวัตกรรมชีวภาพ (Biopolis) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนาโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งเสริมการแปรรูปชีวมวล รวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีมูลค่าต่ำไปสู่สารสกัดที่มีมูลค่าสูงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมชีวภัณฑ์ อุตสาหกรรมยา อาหารเสริมและเครื่องสำอางได้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในต้นปี พ.ศ. 2567

- เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Aripolis) ซึ่งในปีนี้ได้เริ่มพัฒนาศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อสาธิตสายการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 4.0 ให้เป็นสถานที่พัฒนา/ทดลองทดสอบความเข้ากันได้ของอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นแหล่งพัฒนากำลังคน ให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรม และบริการจับคู่ความต้องการเทคโนโลยีและผู้ให้บริการอีกด้วย โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการกลางปี พ.ศ. 2565

- เมืองนวัตกรรมการบินและอวกาศ (Space Innopolis) ได้ร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาพื้นที่ทดลองและทดสอบอากาศยานไร้นักบิน (UAV Sandbox) ขึ้นในวังจันทร์วัลเลย์ และอยู่ในระหว่างพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อดึงดูดให้นำงานวิจัยมาทดสอบที่พื้นที่ทดลอง (Sandbox) นี้

- เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน (Synchrotron Light Source) เครื่องที่สองของประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่เปรียบเสมือนกล้องจุลทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการวิจัยในระดับโมเลกุล ตอนนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบและคาดว่าจะเริ่มสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนได้ในปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

“โดยภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ รวมทั้งการก่อสร้างกลุ่มอาคารโรงงานต้นแบบนวัตกรรมขั้นสูงต่างๆ ซึ่งเป็นฐานสำคัญของ EECi ใกล้เสร็จสมบูรณ์"

ทั้งนี้ คาดว่าเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.2565 เพื่อสนับสนุนการจัดประชุมผู้นำเอเปกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นการประกาศความพร้อมสนับสนุนการดึงดูดการลงทุนฐานนวัตกรรมขั้นสูง และจูงใจนักลงทุนทั่วโลกเข้าสู่พื้นที่อีอีซี ตั้งเป้าดึงดูดการลงทุน 2.2 ล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้า

โครงการ EECi เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม เพื่อรองรับการขยายผลงานวิจัย การทดสอบการสาธิตเทคโนโลยี การประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและเชิงเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศมาสู่การใช้ประโยชน์จริงใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. นวัตกรรมการเกษตร 2. ไบโอรีไฟเนอรี 3. แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงและการขนส่งสมัยใหม่ 4. ระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5. เทคโนโลยีการบินและอากาศยานไร้นักบิน และ 6. เครื่องมือแพทย์ บนพื้นที่กว่า 3,454 ไร่ ในวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง

2. ศูนย์จีโนมิกส์เสริมแกร่งยกระดับสาธารณสุข ที่ประชุม กบอ. รับทราบ ความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่อีอีซี สู่การจัดการให้ชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขแบบถ้วนหน้า และแผนการขับเคลื่อนการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ โดยเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ศูนย์บริการจีโนมิกส์ในอีอีซี และบริการที่เกี่ยวข้อง

โดยปัจจุบัน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ สกพอ.ได้ลงนามในสัญญาจ้างและสัญญาเช่าที่บริการถอดรหัสพันธุกรรมกับกิจการร่วมค้าไทยโอมิกส์ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมประชาชน 50,000 ราย ในระยะเวลา 5 ปี และจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและเลือกการรักษาโรคที่ถูกต้อง เป็นต้นแบบในอีอีซีเพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ รักษาได้ตรงอาการไม่ป่วยหนัก และมีสุขภาพดีทั่วหน้าต่อไปในอนาคต

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 23 ธันวาคม 2564

“ศุภชัย”จี้รัฐลุย4เรื่องใหญ่ดันเศรษฐกิจไทยยั่งยืนผงาดเวทีโลก

“ศุภชัย”จี้รัฐลุย4เรื่องใหญ่ดันเศรษฐกิจไทยยั่งยืนผงาดเวทีโลก  ย้ำรัฐบาลต้องชัดเจนในพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ด้วยโอกาสและต้องรับบทรุกมากกว่าบทรับบนเวทีการค้าโลก

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อดีตเลขาธิการ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) อดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) ปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา Sustainability Goal คำตอบธุรกิจสู่ “ความยั่งยืนภายใต้หัวข้อ  เดินหน้าเศรษฐกิจไทย สู่เป้าหมายความยั่งยืน ว่า  สิ่งที่จะแนะนำมีอยู่4เรื่อง   ประกอบด้วย1.บทบาทของรัฐต้องชัดเจนเพื่อเข้าไปสู่เป้าหมายSCG อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เรายังไม่ได้พูดถึงการแก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดไปพร้อมๆกัน มีแค่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถกำหนดแนวทางที่ชัดเจนได้

อุตสาหกรรมอะไรในอนาคตหรือเกษตรกรรมอย่างไรที่จะทำให้เรายั่งยืนได้ แข่งขันได้ช่วยตัวเองได้และไปรอดได้และให้ลูกหลานสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ ต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้นและอย่าบอกว่ารัฐทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดีหรือรู้ไม่ดี มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับผม รัฐทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดีมีผิดหลายครั้งแล้วซึ่งก็จริง แต่รัฐจะมีผิดมีถูกบ้างต้องมีได้ แต่เมื่อมีผิดมีถูกรัฐต้องแก้ไข ถ้ามีทางไหนผิดรัฐต้องรีบถอยออกมาแล้วเปลี่ยนทาง ขณะนี้ดูง่ายๆผมชอบแผนพัฒนาฉบับที่13 มีส่วนประสานแผน

ยุทธศาสตร์20ปีด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องของความยั่งยืน แต่เรื่องหนึ่งที่ชัดเจนมากคือยากจะเห็นว่ามีเป้าหมายทางด้านอุตสาหกรรมอะไรที่รัฐบาลจะเข้าไปผลักดันจริงๆ 3-4แผนที่ผ่านมารัฐบาลเน้นอุตสาหกรรมรถยนต์ ผมเคยเอาแผนไปคุยกับเยอรมันว่าไทยมีแผนจะผลักดันไทยมีอุตสาหกรรมหลักอาจะมีฮับ ช่วยมาลงทุนได้มั้ย เยอรมันบอกว่าเราทำไม่ได้ เพราะไทยจะก้าวข้ามเทคโนโลยีอย่างไร ก้าวข้ามตลาดได้อย่างไร ไทยต้องผลิตรถได้ปีละเป็นล้านคันไม่ใช้หลักหมื่นคัน  แต่เวลานี้เราเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในแผนพัฒนาฉบับที่13 จะเปลี่ยนให้ไทยผลิตรถไฟฟ้ามากขึ้น แต่ต้องมีศูนย์ชาร์ทไฟให้มากขึ้น  เรื่องแบตเตอรี่ เราต้องพัฒนา เราจะพึ่งพาจีนอย่างเดียวไม่ได้  ถือว่าเป็นความท้าทายของไทย ต่อไปเราต้องส่งเสริม อุดหนุนเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีแบตเตอรี่มาให้ได้จะเป็นการร่วมทุนกับจีน ก็มีความพยามจากหลายๆฝ่าย แต่ขอย้ำว่านี้คือบทบาทของภาครัฐ 

2. เรื่องของการที่มีความยั่งยืนได้ ไม่ใช่เศรษฐสีเขียวเพียงอย่างเดียว  ปัญหาของไทย ขณะนี้ กระทรวงทรวงที่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน ที่จะพัฒนามนุษย์ เป็นเรื่องที่พยายามเน้น ทั้งนี้การจดทะเบียนคนจนให้มีบัตรคนจน ถือว่าเป็นระบบที่ดีแต่สิ่งที่ต้องทำต่อต้องทำอย่างไร เพราะยังมีกลุ่มคนที่ยากจนด้อยโอกาสแต่ไม่ได้รับการจดทะเบียน  ซึ่งตรงนี้ต้องขอให้ทุกชุมชนเข้ามามีบทบาท ในเรื่องของเศรษฐกิจยั่งยืนนั้น บทบาทของชุมชนถือว่าสำคัญที่สุด  อยากขอให้รัฐบาลช่วยเรื่องแรงงานนอกระบบให้มากส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เต็มรูปแบบ

3. ขอให้จำกัดคำวิถีชีวิตแบบยั่งยืนให้รวมิย่างที่พูดมาจริงๆ คือให้รวมเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือในแง่ของบริษัท ธุรกิจก็ESCจริงๆไม่ใช่เป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์ หรือโปรโมตสินค้าโปรโมตบริษัทของตัวเองแต่เป็นเรื่องที่ลงไปทำจริงๆ  สังคมที่มีคาร์บอนต่ำต้องสอนให้คนเข้าใจจริงๆ

4.ทั้งหมดนนี้ความยั่งยื่น อยู่ในอาเจด้า20/30ของUN  พาร์เนอร์ชิปของโลกสำคัญมาก   บทบาทของไทยในบริบทโลก เราเห็นของจริงว่าทุกวันนี้สิ่งในโลกมากระทบเราจากทั่วโลก ฉะนั้นเราต้องไปเรียนรู้อะไรมากระทบเราใครจะไปทำกฎระเบียบอะรบ้างมากระทบเรา  เราต้องไปมีบทบาทด้วยไม่ใช่รอให้เขาเขียนเสร็จแล้วมาชี้นำ เราต้องมีบทบาทไปชี้นำเข้าไปมีส่วนร่วมเข้าไปประชุมเจรจา ขณะนี้ที่เราทำได้  อาเซียน ที่ต้องมีบทบาทในฐานะที่การเป็นศูนย์กลางต้องรักษาให้ได้  ให้อาเซียนมีบทบาทนำ เราถึงจะไปบาลานซ์กับ จีน อินเดีย และสหรัฐที่เข้ามายุ่งวุ่นวายในเอเชีย ให้เกิดความสงบสุข บทบาทไทยในเวทีโลก คือต้องหนักแน่น ต้องมีบทรุกด้วย ไม่ใช่บทรับอย่างเดียว เพื่อนำไปพัฒนาบทเวลทีโลก ได้

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 22 ธันวาคม 2564

“พลังงานสะอาด”   จุดขายใหม่ของประเทศไทย

โลกใหม่หลังโควิด ย่อมนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายเพราะความเสียหายจากโควิดเตือนว่าเราจะอยู่แบบเดิมไม่ได้ "พลังงานสะอาด" ก็เป็นของใหม่ที่จะเป็นจุดขายของประเทศไทยที่บทความนี้จะนำเสนอ

ในปัจจุบัน โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติ 2 เรื่องใหญ่ คือ โลกร้อน และ โรคระบาด ซึ่งเป็นวิกฤติที่ส่งผลสะเทือนไปทั่วทุกมุมของโลก ทุกประเทศ ทุกคน ล้วนต้องรับผลร่วมกัน เจ็บร่วมกัน และจำเป็นที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ทุกคนรอดพ้นจากวิกฤติไปด้วยกัน

ปัญหาโลกร้อน เป็นปัญหาที่สั่งสมมายาวนานจนมาถึงจุดวิกฤติ เกิดจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ ที่มาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ การปล่อยก๊าซจากหลุมฝังกลบขยะ การทำนาข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ การใช้สาร CFC ในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ รวมไปถึงการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคการขนส่ง

ทั่วโลกตระหนักว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องใกล้ตัว จึงได้ร่วมมือกันตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านความตกลงต่างๆ ตั้งแต่การวางกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(UNFCCC) การลงนามในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เมื่อปี 2540 จนมาถึงความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อปี 2558 แต่ดูเหมือนว่า ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนยังไปได้ช้า

จนกระทั่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โลกถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤติโรคระบาด COVID-19 ส่งผลให้ผู้คนเกิดความตระหนักถึงภัยใกล้ตัวมากขึ้น และอยากเห็นโลกใบนี้กลับมาสะอาด ปลอดภัย น่าอยู่ มีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

ประเทศต่างๆ ได้ทยอยประกาศแนวทางการพัฒนาและแผนการลงทุนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายนี้ เช่น ยุโรปได้ประกาศนโยบาย Green Deal ด้วยงบประมาณรวมกว่า 22 ล้านล้านบาท ในช่วงเวลา 7 ปี เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อย 55% ภายในปี ค.ศ. 2030 ขณะที่ญี่ปุ่นประกาศใช้ Green Growth Strategy (GGS) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 ส่วนเกาหลีใต้ใช้นโยบาย Green New Deal พร้อมทุ่มงบประมาณกว่า 2 ล้านล้านบาท สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสีเขียว

สำหรับประเทศไทยเอง ในการประชุม COP26 รัฐบาลได้ตอกย้ำว่าจะบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050 และ Net Zero Greenhouse Gas Emission ภายในปี ค.ศ. 2065 พร้อมทั้งได้เตรียมแสดงศักยภาพด้าน BCG (Bio-Circular-Green Economy) และจุดแข็งด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ชาวโลกได้เห็นในช่วงเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในปีหน้าด้วย

ความตื่นตัวในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดแค่ในระดับประเทศเท่านั้น แต่ในภาคธุรกิจ บริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างก็ยึดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) เป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจ รวมถึงการออกไปลงทุนในต่างประเทศ จึงเป็นเหตุว่า ที่ผ่านมา บริษัทใหญ่จำนวนมากเลือกแหล่งลงทุนโดยพิจารณาจากประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนป้อนให้ธุรกิจของตัวเองได้ หลายบริษัทตั้งเป้าหมายถึงขนาดที่ว่าในสถานประกอบการ จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 100% หรือ RE 100

ประเทศที่มีความพร้อมด้านพลังงานสะอาดมีอยู่ไม่มาก และประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น ขณะที่หลายประเทศยังใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลัก แต่ไทยมีขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพื่อป้อนภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ หรือขยะชุมชน เพราะเรามีวัตถุดิบ มีเทคโนโลยี มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และมีการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยตั้งแต่ปี 2560 จนถึงเดือนกันยายน 2564 มีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ 1,169 โครงการ เงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท

จากนี้ไป “พลังงานสะอาด” จะกลายเป็นจุดขายสำคัญที่จะช่วยดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ประเทศไทย อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยอีกจำนวนมากด้วย

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 22 ธันวาคม 2564

โครงการ EECi เพื่อEEC “ต้องครบ” และ “ต้องเร็ว”

ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 จัดตั้งโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EECi)

เพื่อเป็นศูนย์พัฒนานวัตกรรมในทุกมิติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ในพื้นที่ EEC นั้น

 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้เป็นเจ้าภาพงานนี้ได้ร่วมมือกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เลือกพื้นที่ “วังจันทร์วัลเล่ย์” เนื้อที่ 3,500 ไร่ จังหวัดระยอง โดยกำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 โซน คือ โซนศึกษา โซนวิจัย และโซนชุมชน ซึ่งจนถึงวันนี้ 5 ปีเข้ามาแล้ว ดูงานแล้ว จะว่าเร็วก็เร็ว จะว่าช้าก็ช้า

ที่ว่าช้าก็เพราะว่าพื้นที่ไม่ใช่เป็นพื้นที่ ที่ไม่มีอะไรมาก่อน แต่เป็นที่ตั้งสถาบันการศึกษาระดับโลกที่มีนักเรียนระดับหัวกะทิของประเทศทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2 แห่ง คือโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)เป็นมหาวิทยาลัยระดับปริญญาโท-เอก รวมทั้งศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ที่เปิดดำเนินการไปแล้ว ทำให้โซนสถานที่ศึกษาดูเหมือนจะเป็นไปตามแผนแล้ว เพราะมีอยู่แล้ว แต่ก็เติมเต็มให้ทันสมัยและครบมากขึ้น แต่งานทั้งหมดในโซนนี้มาจากทุนของกลุ่ม ปตท. และพันธมิตร หากมาจากงบประมาณ ยังนึกภาพไม่ออก

ปัจจุบันพอเห็นโครงการต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาตามแผนงานที่ค่อนข้างรวดเร็วมากในโครงการที่เป็นของเอกชน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นของกลุ่ม ปตท. และพันธมิตร ส่วนที่ใช้งบประมาณของรัฐนั้น ก็เดินไปตามระบบงบประมาณ ที่ก็พอรู้ว่ายากทั้งขอและยากทั้งการใช้ อาทิ อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะซึ่งเป็นอาคารกลางของโซนนวัตกรรม ที่การก่อสร้างน่าจะเสร็จเร็วๆ นี้

แต่จะสามารถเปิดดำเนินการได้กลางปีหน้าถ้างบประมาณได้ครบ ถึงอย่างนั้นก็ยังถือว่าช้ากว่าแผนเดิมกว่า 2 ปี หรือโรงงานต้นแบบ Biorefinery แห่งแรกของอาเซียน ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท Bio Base Europe กับ สวทช. ที่คาดว่าจะเปิดในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่วนโครงการสนามทดสอบการบินของโครน UAV ขนาด 9,000 ตารางเมตร รวมทั้งสนามทดสอบยานพาหนะไร้คนขับที่เพิ่งได้งบประมาณในการศึกษา ออกแบบ รวมทั้ง ศูนย์วิจัยแสงซินโครตรอน ที่คาดว่าจะเปิดในปี 2570 ถ้ามีงบประมาณต่อเนื่อง ซึ่งก็คงอีกนานพอสมควรกว่าจะเห็นเป็นรูปร่าง

ซึ่งโครงการเหล่านี้ทั้งหมดเป็นหัวใจของความสำเร็จของ EECi ดังนั้นต้องภาวนาให้คนจัดสรรงบประมาณของรัฐเข้าใจในเรื่องนี้ และต้องเร่งให้เร็ว ประเภท ปีนี้ให้งบประมาณสร้างอาคาร อีกปีให้งบตกแต่ง อีกปีให้งบซื้อเครื่องมือ ถ้าเป็นแบบนี้ แทนที่ปีเดียวจะเสร็จกลายเป็นสามปี ซึ่งในโลกที่นวัตกรรมไปเร็วเช่นทุกวันนี้ รับประกันว่าไม่มีทางทันเห็นท้ายทอยคู่แข่งแน่ๆ

ดังนั้น การจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวง อว. และสำนักงบประมาณที่จะคุยกันให้เข้าใจตรงกันว่า นี่คือโครงการพิเศษ ไม่งั้นหากใช้ระบบงบประมาณแบบเดิมๆ ที่กำหนดกรอบงบประมาณให้ อว. และให้ อว. จัดลำดับความสำคัญของงานตนเองแล้ว ผมก็ยังเชื่อว่า งานเดิม งานประจำ ที่เป็นภารกิจหลักอยู่แล้วก็ได้รับงบไปก่อน และถ้าจะเกี่ยวข้องกับโครงการ EECi ก็เป็นการพัฒนานั้น พัฒนานี้ที่เป็นงานปกติที่ลงไปช่วยชุมชนบ้าง แต่ก็ไม่ใช่การสร้าง EECi เพื่อเป้าหมายหลัก ส่วนงานใหม่ในโครงการคงเกิดขึ้นยาก หากรัฐไม่เห็นว่า EECi คือ ตัวจุดประกายในการลงทุนในอนาคตของ EEC

เพราะวันนี้ นักลงทุนไม่ได้มองแค่ที่ตั้งสำนักงาน สิทธิประโยชน์พิเศษจากการลงทุนเท่านั้น แต่รวมถึงคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่มีคุณภาพของพวกเขาและครอบครัวด้วย และสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของโครงการ EECi อย่างยิ่ง แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า ในเรื่องนี้มองได้แบบนักลงทุนว่า ไก่กับไข่ อะไรควรมาก่อนกัน

แม้ว่าโครงการนี้จะวางเวลาไว้ 20 ปี แต่วันนี้ ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม ธุรกิจ และคู่แข่งไม่รอนานถึงขนาดนั้น ดังนั้นสิ่งที่ EECi ต้องเร่งทำสิ่งที่ค้าง และเลื่อนมาตลอดนั้นให้เสร็จตามเป้าหมาย (ใหม่) ให้ได้ และเติมเต็มที่ต้องมีให้ครบ และที่สำคัญต้องทำให้เสร็จ เร็ว ด้วย การจัดทำงบประมาณที่ให้ความสำคัญสำหรับโครงการนี้จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะที่นี่คือ เมืองนวัตกรรม ที่ถูกวางไว้เพื่อเป็นหัวใจของ EEC ทั้งหมด

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 22 ธันวาคม 2564

กบอ.ไฟเขียวร่างแผนโครงสร้างพื้นฐานอีอีซี ปี 66-70 เปิดประตูการค้าเชื่อมภูมิภาค

“กบอ.” พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานอีอีซี ปี 66-70 เปิดประตูการค้า และการลงทุน เชื่อมต่อระบบขนส่งทั้งระบบราง ทางน้ำ อากาศ สู่เมืองใหม่ แหล่งท่องเที่ยวและภูมิภาค เสริมศักยภาพการแข่งขันของไทย หลังสร้างประวัติศาสตร์ปักหมุด 4 โครงสร้างพื้นฐานหลักอีอีซี เตรียมเปิด EECi พ.ย. 65 รับประชุมเอเปก ประกาศความพร้อมดึงลงทุนอุตสาหกรรมขั้นสูง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) เมื่อ 22 ธันวาคม 2564 ที่มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายให้ไทยก้าวสู่ประตูการค้า การลงทุน ศูนย์กลางคมนาคมโลจิสติกส์ของภูมิภาค เน้นสร้างความร่วมมือกลุ่มประเทศ CLMVT และจีนตอนใต้ รวมทั้งรองรับการเติบโตของอีอีซีในอนาคต เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางราง ทางน้ำ เชื่อมต่อขนส่งสาธารณะระบบรางจากสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภาฯ เชื่อมกับเมืองใหม่ และแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มความสะดวกสบายให้ประชาชนในการเดินทาง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรม

โดยมีกรอบการพัฒนา ได้แก่ 1) พัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าระบบรางและทางน้ำเป็นระบบหลัก 2) ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 3) เชื่อมต่อโครงข่ายถนน ปรับปรุงช่วงถนนคอขวดแก้ปัญหาจราจรหลักในอีอีซี 4) พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ นิคมอุตสาหกรรม เมืองที่จะพัฒนาในอนาคต และ 5) ใช้เทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะจัดการจราจรและการขนส่ง ซึ่งจะดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถระบบรางและทางน้ำ เชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ยกระดับโครงข่ายคมนาคมรองรับการเดินทางของประชาชนอย่างไร้รอยต่อ เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบสาธารณะ ส่งเสริมท่องเที่ยวทางรางและทางน้ำเข้าถึงพื้นที่หลักในอีอีซี และยกระดับโครงข่ายคมนาคมด้วยมาตรการเชิงรุกและเทคโนโลยีสมัยใหม่

โดยระหว่างปี 2566-2570 ช่วงการก่อสร้างจะเกิดการจ้างงานประมาณ 20,000 ตำแหน่ง/ปี และปี 2571-2580 ประมาณ 12,000 ตำแหน่ง/ปี เดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น ลดความสูญเสียจากความล่าช้าการเดินทางประมาณ 10.75 ล้านบาท/วัน หรือ 3,900 ล้าน/ปี ลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ 5% (ความสูญเสียลดลง 100 ล้านบาท/ปี) ยกระดับชีวิตด้วยระบบขนส่งที่ทันสมัย เชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อ เดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงระยองภายใน 1 ชั่วโมง ลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพถนนในพื้นที่ จากความเร็ว 65 กม./ชม. เป็น 70 กม./ชม. มีเส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้น 275 กม. ปรับปรุงการก่อสร้างถนนและขยายช่องทางมากถึง 25 เส้นทางภายในปี 2570

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความสำเร็จ 4 โครงสร้างพื้นฐานหลัก ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน (PPP) ที่อีอีซีได้ผลักดันให้มีการเซ็นสัญญาครบทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง มูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 654,921 ล้านบาท เป็นการลงทุนภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท (64%) ลงทุนภาครัฐ 238,841 ล้านบาท ( 36%) โดยภาคเอกชนจะให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสุทธิ 210,352 ล้านบาท ถือเป็นประวัติศาสตร์ความสำเร็จครั้งสำคัญของประเทศและอีอีซีที่ได้ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

ขณะเดียวกันได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ใกล้เสร็จสมบูรณ์ และคาดว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2565 เพื่อสนับสนุนการจัดประชุมผู้นำเอเปกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นการประกาศความพร้อมสนับสนุนการดึงดูดการลงทุนฐานนวัตกรรมขั้นสูง และจูงใจนักลงทุนทั่วโลกเข้าสู่พื้นที่อีอีซี

รวมถึงศูนย์จีโนมิกส์ ที่ประชุม กบอ.รับทราบความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบการแพทย์จีโนมิกส์ในพื้นที่อีอีซี ยกระดับให้ชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข และแผนการขับเคลื่อนการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ โดยเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนศูนย์บริการจีโนมิกส์ในอีอีซี และบริการที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ สกพอ.ได้ลงนามในสัญญาจ้าง และสัญญาเช่าที่บริการถอดรหัสพันธุกรรม กับกิจการร่วมค้าไทยโอมิกส์ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมประชาชน 50,000 ราย ในระยะเวลา 5 ปี และจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและเลือกการรักษาโรคที่ถูกต้องเป็นต้นแบบ

จาก https://mgronline.com  วันที่ 22 ธันวาคม 2564

มาแล้วฤดูกาลเปิดหีบรับซื้ออ้อยพบรถบรรทุกอื้อ

มาแล้วฤดูกาลเปิดหีบรับซื้ออ้อย เกษตรกรแห่ตัดอ้อยขายคึกคัก พบมีรถบรรทุกอ้อยวิ่งเต็มถนนเตือนปชช.ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง

ผู้สื่อข่าวรายงาน ในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาลเปิดหีบรับซื้ออ้อยเข้าโรงงาน โดยพบว่าเส้นทางสายพิมาย-ห้วยแถลง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีรถบรรทุกอ้อยบนถนนวิ่งจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าของโรงงานน้ำตาล มีรถบรรทุกอ้อยวิ่งเข้า-ออก โรงงานตลอดเวลา ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พิมาย จึงฝากเตือนประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนควรขับขี่รถด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กำหนดวันเปิดหีบอ้อยประจำปี 2564/65 ในวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น จากการลงพื้นที่โรงงานน้ำตาลพิมาย หรือ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด ตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่อำเภอพิมายและพื้นที่ใกล้เคียง ต่างเร่งตัดอ้อย ส่งขายให้กับโรงงานคึกคัก โดยโรงงานจะทดรองจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่อ้อยไปก่อน ที่ราคา 1,070 บาทต่อตันอ้อย ที่ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. โดยมีค่าความหวานอ้อยเพิ่มเติมอีก 64.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. เพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้มีรายได้ จึงทำให้ในช่วงนี้พบว่าถนนเส้นทางหลักสายต่างๆ ในพื้นที่เต็มไปด้วยรถบรรทุกอ้อย เริ่มมีฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 พุ่งแล้วขณะนี้ ซึ่งภาพรวมของค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เช้านี้เฉลี่ยอยู่ที่ 55 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 22 ธันวาคม 2564

ไทย-บราซิล พร้อมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรภายในสิ้นปีนี้

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ไทย-บราซิล พร้อมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรภายในสิ้นปีนี้ มุ่งแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ข้อมูล และการฝึกอบรม

วันนี้ (22 ธ.ค.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และอุปทานอาหารแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร ที่จะมีการลงนามภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ในรูปแบบการลงนามเสมือนจริง (Virtual Signing) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูล การฝึกอบรม และความร่วมมือทางเทคนิคในสาขาการเกษตร โดยดำเนินการภายใต้ขอบเขตความร่วมมือด้านต่างๆ ในระยะเวลา 5 ปี ได้แก่ 1) การเกษตร รวมถึงสัตว์ สัตว์น้ำ พืช ดิน การจัดการน้ำ และสหกรณ์ 2) การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรและสถาบันเกษตรกร 3) การอนุรักษ์และบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร 4) การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 5) พลังงานทางเลือก รวมถึงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ และ 6) สาขาอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน โดยผ่านรูปแบบความร่วมมือ ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนข้อมูล นักวิชาการ และนักวิจัย 2) การฝึกอบรม การสัมมนา การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในโครงการต่างๆ การศึกษาดูงาน 3) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาการเกษตรและธุรกิจการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 4) รูปแบบความร่วมมืออื่นๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านการเกษตรของทั้งสองประเทศ

สำหรับกลไกลในการขับเคลื่อน จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านเกษตร (Joint Agricultural Working Group : JAWG) เป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการดำเนินโครงการ จัดทำข้อเสนอเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจ โดยจะมีการจัดประชุมทุก 2 ปี นอกจากนี้ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นผลมาจากกิจกรรมตามบันทึกความเข้าใจ จะได้รับความคุ้มครองที่สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบภายในประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ส่วนค่าใช้จ่ายนั้น แต่ละประเทศจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

จาก https://mgronline.com  วันที่ 22 ธันวาคม 2564

จับตา3กลุ่มสินค้าส่งออกหลักของไทยโตสวนโควิด

จับตา3กลุ่มสินค้าส่งออกหลักของไทยโตสวนโควิด    สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมเกษตร-อุตสาหกรรม  “พาณิชย์”มั่นใจทั้งปีส่งออก15-16%  เตรียมหารือกรอ.พาณิชย์ ประเมินส่งออกปีหน้า

กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัวเลขส่งออก11 เดือนไปแล้ว พบว่า ตั้งแต่ มกราคม-พฤศจิกายน ส่งออกไทยขยายตัว16.4% เฉพาะเดือนพ.ย.บวก24.7% ทำให้กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าทั้งปี64 ส่งออกไทยน่าจะขยายตัว15-16%   ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกเดือนพ.ย.2564 ดีขึ้นถึง 24.7% การผลักดันการส่งออกในทุกรูปแบบร่วมกับภาคเอกชนในรูป กรอ.พาณิชย์ (คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์) ประกอบกับการบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่องในหลายประเทศ การขยายตัวของภาคการผลิตทั่วโลก ดัชนี PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11

ส่งผลให้ขายดีขึ้น ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าอยู่ ช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งสินค้าเกษตร น้ำมันดิบ โลหะ เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออก ทำให้ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น

ทำให้กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า การส่งออกทั้งปี 2564 คงไม่ต่ำกว่า 15-16% ส่วนเป้าหมายปี 2565 จะประชุม กรอ.พาณิชย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกันก่อน ซึ่งขณะนี้ ได้ประเมินตัวเลขไว้แล้ว แต่ต้องรอประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนก่อน อาจจะเป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีนี้ หรือไม่ก็สัปดาห์แรกต้นปี 2565

อย่างไรก็ตาม การที่ส่งออกไทยมีการขยานยตัวต่อเนื่องมาจากการส่งออกใน3 หมวดสินค้า  ซึ่งประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตร หมวดสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และหมวดอุตสาหกรรม

โดยจะเห็นได้ว่า   หมวดสินค้าเกษตร มีการขยายตัวเป็นบวกที่14.2% ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง13 เดือนซึ่ง มูลค่าเดือนพฤศจิกายน 68,462 ล้านบาท   ซึ่งสินค้าที่ส่งออกได้ดี เช่น ทุเรียนสด +138.9% ขยายตัวดีมากในตลาดจีนและเกาหลีใต้  มะม่วงสด +48.6% ขยายตัวดีมากในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ญี่ปุ่นและลาว   ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง บวก 13 เดือนต่อเนื่อง เดือนพฤศจิกายน +48.6% ขยายตัวดีมาก ในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย   ลำไยสด เดือนพฤศจิกายน +24.7% เป็นบวก6 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์   ยางพารา เดือน +23.5% เป็นบวก 14 เดือนต่อเนื่อง

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มีการขยายตัวเป็นบวก21.2% ต่อเนื่องเป็นเดือานที่9 ซึ่ง สินค้าสำคัญเช่นน้ำตาลทราย เดือนพฤศจิกายน +74%

ผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป +34.5% บวกเดือนที่ 2 ติดต่อกัน  และอาหารสัตว์เลี้ยง บวกเป็นเดือนที่ 27 โดยเดือนพฤศจิกายน +25.9%

และหมวดสุดท้ายคือ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม โดยมีการขยายตัวบวก23.1% เป็นขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกันซึ่งสินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น +72.9% เป็นบวก 10 เดือนต่อเนื่องเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นบวก  12 เดือนต่อเนื่อง เดือนพฤศจิกายน +51.9%อัญมณีและเครื่องประดับ +24.9% เป็นบวกเดือนที่ 9 ติดต่อกัน  แผงวงจรไฟฟ้า +26.7% บวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ บวก 12 เดือนต่อเนื่อง  +19.9%รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ + 13 เดือนต่อเนื่อง เป็น +12%

ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะหมวดสินค้าเท่านั้นที่ขยายตัวได้ดี ตลาดส่งออกสำคัญๆของไทยมีการขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเช่น โดยตลาดที่ขยายตัวได้ดี 10 อันดับแรก ประกอบด้วยเอเชียใต้  +66% อาเซียน +55.1% ตะวันออกกลาง +40.7% เกาหลีใต้ +30.6% สภาพยุโรป +30.2% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CSI +27.3% จีน +24.3% ไต้หวัน +24.2% สหรัฐฯ +20.5%และทวีปแอฟริกา +18.4%

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 21 ธันวาคม 2564

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย-อิตาลี ดันการค้าระหว่างประเทศโต 8%

ผู้จัดการรายวัน 360 -นักธุรกิจชั้นนำของประเทศอิตาลีและประเทศไทย ร่วมเจรจาทางการค้าในการประชุมอิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่ม (Italian-Thai Business Forum) ครั้งที่ 7 ในรูปแบบไฮบริด ณ ทำเนียบเอกอัคราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสถานทูตอิตาลีประจำประเทศไทย โดยปีนี้มีนักธุรกิจชั้นนำจากประเทศอิตาลีและประเทศไทยเข้าร่วมรวม 27 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทจากอิตาลี 13 บริษัท และบริษัทจากไทย 14 บริษัท และยังได้รับเกียรติจากอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมอีกด้วย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างบริษัทสมาชิกอิตาลีและไทย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

การประชุมอิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่ม มีวัตถุประสงค์หลักในการสานสัมพันธ์ พร้อมต่อยอดความร่วมมือระหว่างสมาชิกกลุ่มธุรกิจ ในการร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทยและอิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหภาพยุโรป โดยในปีนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ แมนลิโอ ดิ สเตฟาโน (H.E. Mr. Manlio Di Stefano) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของอิตาลี ในการกล่าวเปิดการประชุม และอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่มาให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป ที่คาดว่าจะสามารถดันการค้าระหว่างประเทศโต 8% และช่วยให้ GDP ของไทยขยายตัวในระยะยาว 1.28% คิดเป็นมูลค่า 2.05 แสนล้านบาทต่อปี พร้อมทั้งทำให้การส่งออกของไทยไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 2.83% คิดเป็นมูลค่า 2.16 แสนล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ของสหภาพยุโรปที่ซึ่งมีมาตรฐานสูง จะสร้างความท้าทายให้แก่ไทย เช่น การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงานตามแนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นต้น พร้อมทั้งนายนครินทร์ อมเรศ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้ข้อมูลแนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย พร้อมการวาง Growth Strategy ใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การต่อยอดด้านที่มีศักยภาพอยู่แล้ว และใช้เอกลักษณ์ไทยเป็นจุดแข็ง พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม ด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโมเดลเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือร่วมผลักดันสนับสนุนการเปิดการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป เพื่อลดอุปสรรคทางภาษีและอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนอีกด้วย

นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานร่วมอิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่ม กล่าวว่า “อิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่ม จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558 โดยปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 7 ในการร่วมกันหาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ซึ่งปีนี้จัดในรูปแบบไฮบริด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

การประชุมในปีนี้ นักธุรกิจตัวแทนทั้งจากประเทศไทยและอิตาลี เริ่มจาก Mr. Stefano Gardi, Chief Sustainability Officer จากกลุ่มบริษัท อิตาโมบิลิอาเร (Itamobiliare) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green) โดยสหภาพยุโรปจะเริ่มเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่ง SME หรือผู้ประกอบการไทยจะต้องเตรียมปรับตัวต่อข้อกำหนดนี้ โดยความเห็นนี้ตรงกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับแนวทางการเจริญเติบโตเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่ต้องเน้นโมเดล BCG เป็นสำคัญในยุคหลังโควิด-19

นอกจากนั้น ในที่ประชุมสมาชิกยังได้นำเสนอประเด็นอื่นๆ ดังนี้

1. ด้านธุรกิจอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ (Food & Biotechnology)

- กลุ่มมิตรผล มีความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวอ้อย (Sugarcane Harvester) จากซีเอ็นเอช กรุ๊ป เพื่อลดมลพิษการเผาอ้อยและ PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

- สิงห์คอร์เปอเรชั่น ขยายธุรกิจผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยบริษัทยูเนี่ยนเทรด ซึ่งขยายการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มไปในร้านอาหารไทยและร้านอาหารจีนในอิตาลี โดยในปีนี้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 21% และในปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 8% จากปีพ.ศ 2564

2. ด้านธุรกิจไลฟ์สไตล์และการบริการ (Lifestyle and Services)

- กลุ่มเซ็นทรัล จัดงาน Dolce Italia เพื่อโปรโมทสินค้าแบรนด์แฟชั่นสัญชาติอิตาลี ในเดือนมีนาคม 2564 ณ เซ็นทรัล ชิดลม และงาน Italian Fair 2021ที่ได้คัดสรรอาหารและวัตถุดิบส่งตรงจากอิตาลี มาไว้ ณ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ ออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน

-ห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเต มิลาน ให้ความร่วมมือในการนำสินค้าของกลุ่มสมาชิกฯ แบรนด์เครื่องสำอางเก่าแก่ที่สุดในโลกอย่าง Santa Maria Novella หนึ่งในธุรกิจล่าสุดของกลุ่ม

อิตาโมบิลิอาเร ซึ่งได้นำมาเปิดในรูปแบบ Shop-in-Shop

- เครือดุสิตธานี ร่วมมือกับโรงเรียนสอนทำอาหาร ALMA จากประเทศอิตาลีในการเปิดโรงเรียนสอนทำอาหารอิตาลี (Italian Cooking School) ซึ่งมีแผนจะเปิดในเดือนเมษายน 2565

- Mr. Fabrizio Ceccarelli (South East Asia and Oceania Manager, SACE) ขอให้พิจารณาการอำนวยความสะดวกการก่อตั้งธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3. ด้านธุรกิจก่อสร้าง วัสดุ และพลังงาน (Construction, Material and Energy)

- ปตท. มีเป้าหมาย Net Zero โดยมุ่งเน้นใน 2 นวัตกรรมคือ LNG Distribution และ Energy Storage ซึ่งได้มีการเชิญชวนทางอิตาลีมาร่วมเป็นพันธมิตรทางการค้า

- ไทย ซัมมิท กรุ๊ป ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ไปยังอิตาลี โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มรถมอเตอร์ไซต์ขนาดใหญ่และสกู๊ตเตอร์ และยังมองหาโอกาสสำหรับส่วนอื่นของรถมอเตอร์ไซต์ในอิตาลีเพิ่มเติมอีกด้วย รวมถึงการใช้เครื่องจักรจากอิตาลีสำหรับการผลิต

- วงศ์บัณฑิต ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานในไทย 5 โรงงาน มีความพร้อมในแนวทางความร่วมมือกับพีเรลรี (Pirelli) เพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกัน ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน และยังช่วยชาติสมาชิกฯ โปรโมทงานอาหารและไวน์อิตาเลียนในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

ทั้งนี้ในที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป เป็นหนึ่งช่องทางที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ผ่านการสร้างข้อได้เปรียบทางการค้า โดยจะนำมาซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการค้า การท่องเที่ยว การขนส่ง และการลงทุน เป็นต้น และยังเป็นการเพิ่มโอกาสการนำเข้าและส่งออกในตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและสหภาพยุโรป ซึ่งคาดการณ์ว่าจะทำให้การค้าระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นได้ถึง 8% ถือเป็นโอกาสที่ดีทั้งของไทยและสหภาพยุโรปในการเติบโตทางธุรกิจ และทำให้ประเทศไทยกลายเป็น Shopping Destination ของชาวยุโรปและทั่วโลก โดยเชื่อมั่นว่าหากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการผลักดันเรื่องดังกล่าว จะทำให้ไทยมีโอกาสทางธุรกิจในอนาคต ของยุคหลังโควิด-19

“อิตาลีถือเป็นคู่ค้าอันดับ 24 ของประเทศไทย โดยในปีพ.ศ. 2563 ไทยและอิตาลีมีมูลค่าการค้ารวม 3,593.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออก 1,427.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้า 2,166.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม ปีพ.ศ. 2564 อยู่ที่ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องทางการค้าของอิตาลีและไทย รวมถึงโอกาสเพิ่มเติมในการเติบโตอย่างยั่งยืน” นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานร่วมอิตาเลียน-ไทยบิสซิเนส ฟอรั่ม กล่าว

สำหรับการประชุมอิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่มในครั้งนี้ คณะกรรมการฝ่ายอิตาลีที่ได้เข้าร่วม ได้แก่ อิตาโมบิลิอาเร (Italmobiliare), ซีเอ็นเอช (CNH), ดาเนียลี (Danieli), ดูคาติ (Ducati), เอนี (Eni), เฟอเรโร่ (Ferrero),

อินเตซา ซานเปาโล (Intesa Sanpaolo), เลโอนาโด (Leonardo), พีเรลรี (Pirelli), ไซเปม (SAIPEM), สถาบันประกันสินเชื่อเพื่อการค้าและการส่งออกของอิตาลี (SACE), ยูนิเครดิต (Unicredit) และวิตตอเรีย (Vittoria) ส่วนผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล, มิตรผล กรุ๊ป, ธนาคารกรุงเทพ, โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่, อีโนเว รับเบอร์, เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์, พิณสยาม, สิงห์คอร์เปอเรชั่น, ไทยซัมมิท, วงศ์บัณฑิต, ไทยฮั้วยางพารา และ เบทาโกร โดยการประชุมอิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่ม ถือเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศอิตาลี ในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้การประชุมครั้งถัดไป จะจัดขึ้นที่ประเทศไทย ในช่วงไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2565

จาก https://mgronline.com  วันที่ 21 ธันวาคม 2564

KTIS มั่นใจปี 65 โตเด่นทุกธุรกิจ ดีมานด์สินค้าพุ่งหลังโควิดคลาย

กลุ่ม "เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น" มั่นใจผลผลิตอ้อยฤดูกาลผลิตปี 64/65 ทำได้ตามที่คาด เพิ่ม 20% ส่งผลดีกับทั้งสายธุรกิจน้ำตาล และสายธุรกิจชีวภาพ มั่นใจความต้องการน้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า และเยื่อกระดาษชานอ้อย จะดีกว่าปีก่อนหลังโควิดคลี่คลาย 

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร เปิดเผยว่า จากการประเมินผลผลิตอ้อยของกลุ่ม KTIS สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2564/2565 ซึ่งจะเข้าหีบในปลายปีนี้ พบว่า ได้รับผลดีจากการที่มีปริมาณฝนมากกว่าปีก่อน โดยคาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 20% ตามที่คาดไว้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกสายธุรกิจทั้งการผลิตและจำหน่ายน้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า และเยื่อกระดาษจากชานอ้อย ซึ่งจะมีวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น ทำให้ผลผลิตของทุกโรงงานเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ที่มากขึ้นกว่าปีก่อน

“ถ้าเราได้วัตถุดิบหลักคืออ้อยในปริมาณมากขึ้น รายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะดีขึ้นทั้งหมด ประกอบกับดีมานด์ที่สูงขึ้นหลังการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว จะยิ่งส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่ม KTIS ในปี 2565 ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสูงกว่าปี 2564 อย่างแน่นอน” นายประพันธ์กล่าว

นอกจากนี้ ในปี 2565 กลุ่ม KTIS จะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเยื่อชานอ้อย ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 ตันต่อวัน หรือ 3 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีเครื่องจักร 50 เครื่อง ที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จาน ชาม กล่อง ถาดหลุม เป็นต้น รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายหลอดชานอ้อยแบรนด์ cherr BY KTIS ที่ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม KTIS กล่าวด้วยว่า รายได้ที่จะเข้ามาเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งจะมาจากโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC) เฟส 1 ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท จีจีซี เคทิสไบโออินดัสเทรียล จำกัด หรือ GKBI บริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม KTIS และ GGC ซึ่งมีโรงงานผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อย กำลังการผลิต 6 แสนลิตรต่อวัน และโรงไฟฟ้า 3 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 85 เมกะวัตต์

นายสมชาย สุวจิตตานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม KTIS กล่าวว่า นอกจากปริมาณผลผลิตของทุกโรงงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว ราคาขายสินค้าในทุกกลุ่มคาดว่าจะยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังคงทรงตัวในระดับสูง และจะได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนอีกด้วย เพราะสัดส่วนของน้ำตาลส่งออกสูงถึง 70-75% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนราคาเอทานอลน่าจะไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

“ในส่วนของเยื่อกระดาษชานอ้อยนั้นมีความต้องการสูง เพราะคุณสมบัติของเยื่อชานอ้อยที่นุ่ม ซึมซับได้ดี ทำให้ราคาเยื่อกระดาษชานอ้อยสูงกว่าเยื่อกระดาษจากเยื่อยูคาลิปตัส จึงเชื่อว่าราคาขายจะยังคงดีอย่างต่อเนื่อง และอีกสายธุรกิจที่มีอัตรากำไรค่อนข้างสูงคือการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล คาดว่าจะมีรายได้ที่ดีเช่นกัน เพราะจะมีวัตถุดิบมากขึ้นจากเยื่อชานอ้อยที่มากกว่าปีก่อน” นายสมชาย กล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 20 ธันวาคม 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ "อ่อนค่า" ที่ระดับ  33.61 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากความกังวลการระบาดของโอมิครอนในประเทศ ซึ่งต้องจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่อาจกลับทิศในระยะสั้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.61 บาทต่อดอลลาร์"อ่อนค่า"ลงเล็กน้อย

จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.59 บาทต่อดอลลาร์

 นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากความกังวลการระบาดของโอมิครอนในประเทศ ซึ่งต้องจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เพราะช่วงที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติม แต่โฟลว์นักลงทุนต่างชาตอาจกลับทิศทางได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะโฟลส์บอนด์ระยะสั้น ที่จะสามารถสะท้อนภาพการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้

 ทั้งนี้ เรามองว่า หากเงินบาทอ่อนค่าลง ก็อาจเผชิญแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์ก่อน และหากอ่อนค่าต่อ ก็จะสามารถทดสอบแนวต้านสำคัญใกล้ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ ทั้งนี้ สัญญาณในเชิงเทคนิคัลยังคงสนับสนุนแนวโน้มการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะสั้น ทำให้เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่ารุนแรง หากนักลงทุนต่างชาติไม่ได้เทขายสินทรัพย์ไทยอย่างหนัก ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.40-33.50 บาทต่อดอลลาร์

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50-33.75 บาท/ดอลลาร์

บรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในโหมดปิดรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลว่า การกลับมาใช้มาตรการ lockdown เพื่อควบคุมการระบาดของโอมิครอน อาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก นอกจากนี้ในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังเผชิญแรงกดดันจากความวุ่นวายทางการเมืองที่อาจทำให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องปรับลดวงเงินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจาก 2 ล้านล้านดอลลาร์ลง ส่งผลให้ ดัชนี Nasdaq ปิดตลาด -1.24% และดัชนี S&P500 ก็ย่อตัวลง -1.14%

เช่นเดียวกันกับฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ก็ปรับตัวลงต่อ -1.30% หลังผู้เล่นในตลาดมองว่า การระบาดของโอมิครอนอาจกดดันให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจชะลอลง

 ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะกดดันให้บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงใกล้ระดับ 1.35% แต่สุดท้าย มุมมองของผู้เล่นที่เชื่อว่า เฟดจะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็ทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เลือกที่จะขายทำกำไร sell on rally ทำให้บอนด์ยีลด์10 ปี สหรัฐฯ รีบาวด์ขึ้นมา สู่ระดับ 1.42% อีกครั้ง

 แม้เรายังเชื่อว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อในอนาคต จากภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของบรรดาธนาคารกลาง แต่ในระยะสั้น บอนด์ยีลด์ระยะยาว ก็อาจถูกกดดันจากภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ทำให้ บอนด์ยีลด์ระยะยาวมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways จนกว่าปัจจัยเสี่ยงการระบาดโอมิครอนจะมีความน่ากังวลลดลง

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้น ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลปัญหาการระบาดของโอมิครอน ส่งผลให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 96.56 จุด ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ได้กดดันให้ ราคาทองคำ ย่อตัวลง แม้ว่าตลาดโดยรวมจะอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ซึ่งคาดว่า ราคาทองคำจะแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อในระยะสั้น แต่ เราคงมองว่า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด รวมถึง ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะกดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อแรงได้ยาก และ Upsides ของราคาทองคำเริ่มจำกัด

 สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอจับตาสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนทั่วโลก ซึ่งอาจกดดันตลาดการเงินได้ในระยะสั้นต่อ หากรัฐบาลทั่วโลกต่างใช้นโยบายควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งในฝั่งประเทศไทย ตลาดจะรอลุ้นรายงานยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอน ซึ่งหากพบว่า มีการระบาดในแบบคลัสเตอร์ก็อาจกดดันให้เกิดแรงเทขายสินทรัพย์ไทยได้และส่งผลให้ เงินบาทอาจอ่อนค่าลงกลับไปสู่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์ได้ในระยะสั้น หากสถานการณ์การระบาดดูน่ากังวล

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 20 ธันวาคม 2564

MOU หนุนพืชพลังงาน ผลิตไฟฟ้า-พลังงาน สร้างความมั่นคงให้เกษตรกรไทย

รวมพลัง 4 ภาคี “เกษตรฯ - พลังงาน - ทรัพยากรฯ – สภาอุตฯ” MOU หนุนพืชพลังงาน ผลิตไฟฟ้า-พลังงาน สร้างความมั่นคงให้เกษตรกรไทย

วันที่ 17 ธันวาคม 2564 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

พร้อมด้วย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานในความร่วมมือครั้งนี้ และ นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้อง 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Meeting

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน   กล่าวมอบนโยบายว่า จากแนวนโยบายการส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาล กระทรวงพลังงาน ได้ขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ปัจจุบันได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแล้ว 43 โครงการ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล 16 โครงการ และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 27 โครงการ ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 149.50 เมกะวัตต์

ซึ่งกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง และตอบสนองต่อนโยบายด้านพลังงาน ในการช่วยเหลือและสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้อย่างมั่นคง จากการร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า และการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังเล็งเห็นความสำคัญในการนำพลังงานทดแทนไปใช้ในภาคความร้อน

เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีราคาผันผวน อันตอบสนองการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการ รวมถึงกลุ่มเกษตรกร ให้มีการลงทุน ติดตั้ง ระบบผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น ไม้สับ ชีวมวลอัดเม็ด และการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวมวลดังกล่าวได้

“กระทรวงพลังงาน มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อรองรับความเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาพลังงานในระดับพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) ซึ่งให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิตพลังงานทั้งไฟฟ้าและความร้อนจากวัตถุดิบพลังงานทางเลือกที่มีอยู่ภายในประเทศ เช่น วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไม้โตเร็ว และพืชพลังงาน”

นับเป็นการขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน จะต้องมีการกำหนดปริมาณ เป้าหมาย และ Zoning ให้สอดคล้องกับศักยภาพ และการจัดสรรพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งกระทรวงพลังงาน จะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดำเนินการต่อไป” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

ด้าน ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การลงนามระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในวันนี้ ได้เน้นความสำคัญในการส่งเสริมการเพิ่มรายได้และสร้างทางเลือกให้เกษตรกร จากเดิมปลูกพืชที่ให้ผลผลิตและผลตอบแทนที่ต่ำ มาเป็นการปลูกพืชพลังงานทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสมของพื้นที่ในการเพาะปลูกมากขึ้น

ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิต รวมถึงส่งเสริม ให้มีการรวบรวมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยการนำแผนการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบาย “Energy For All” มาเป็นกลไกสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และเกษตรกร รวมทั้งใช้ประกอบในการคาดการณ์ปริมาณความต้องการไม้เศรษฐกิจโตเร็วและพืชพลังงานทดแทนเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าให้มีปริมาณที่เพียงพอและสม่ำเสมอ

“ความร่วมมือกันในครั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ และทุกหน่วยงาน ตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกร โรงไฟฟ้าชีวมวล-ชีวภาพ และชุมชน เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว”

ตามนโยบายในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้มีความสมดุล ทั้งการลดการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมมาปลูกพืชทางเลือกที่ในพื้นที่เหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งแน่นอนว่า พืชพลังงานทดแทน เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกร โดยมีโรงไฟฟ้าเป็นผู้รับซื้อผลผลิตที่แน่นอน ที่จะร่วมผลักดันประเทศไทยสามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ต่อไป” รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ลงนาม ประกอบด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายจงคล้าย วรพงศธร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายสมัย ลี้สกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนาม MOU ร่วมกัน โดยการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ได้ต้นแบบในการพัฒนา และสามารถนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร การขึ้นทะเบียนเกษตรกร จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรตาม Agri-Map ขณะที่ กระทรวงพลังงาน เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา และบริหารจัดการพลังงาน จัดทำแผนส่งเสริมและข้อมูลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความต้องการเชื้อเพลิงจากพืชพลังงานเพื่อผลิตพลังงานความร้อนเพิ่มเติม ข้อมูลความต้องการและวัตถุดิบจากพืชพลังงานในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือกจากผลผลิต และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะส่งเสริมการปลูกสร้างสวนป่าเชิงเศรษฐกิจ

สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับไม้เศรษฐกิจโตเร็วที่มีศักยภาพเพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่แหล่งผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อน รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีความต้องการเชื้อเพลิงจากพืชพลังงาน สนับสนุนกล้าไม้ การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากไม้เศรษฐกิจโตเร็ว

อย่างไรก็ดีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะร่วมประสานนโยบายและดำเนินการร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมและพัฒนา รวมถึงศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมเกษตรและโรงไฟฟ้าจากพืชพลังงาน สนับสนุนการวิจัย อบรม เผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตรและแหล่งผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน โดยเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน รวมถึง ให้คำปรึกษาและเสนอแนะแก่ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 17 ธันวาคม 2564

“ภาษีคาร์บอน” กับ 5 เรื่องที่อุตสาหกรรมไทยต้องเร่งปรับตัว

หลังการประชุม COP26 ยิ่งเป็นแรง กระตุ้นให้ประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases : GHG) มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการเก็บ “ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)”

หลายประเทศได้มีการเก็บภาษีคาร์บอนภาคการผลิตของประเทศตนเองมาหลายปีแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคการผลิตให้มีปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อลด GHG “เก็บภาษีคาร์บอนสูงเท่าไรจะทำให้ภาคการผลิตลงทุนเพื่อให้ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น”

สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีนโยบายการเก็บภาษีคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนมากสุดในขณะนี้ เช่น ประเทศสวีเดนเก็บภาษีคาร์บอนมาตั้งแต่ปี 1991 หลังจากนั้นปริมาณ CO2 ภาคการขนส่งในสวีเดนลดลงมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากภาษีคาร์บอนจะช่วยลดภาวะเรือนกระจกแล้วยังเป็น “การกีดกันการค้าระหว่างประเทศ” ไปพร้อม ๆ กัน (แต่ไม่ผิดกฎ WTO) สหภาพยุโรปเก็บภาษีคาร์บอนทั้งอุตสาหกรรมภายในประเทศและจะเก็บสินค้าที่เข้ามาขายในสหภาพยุโรป

นโยบายการเก็บภาษีคาร์บอนในยุโรป เริ่มมาจากเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 คณะกรรมาธิการยุโรป (Europe Commission) เสนอแผนปฏิรูปสีเขียว (Europe Green Deal) เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจยุโรปเป็นเศรษฐกิจแบบยั่งยืน โดยเน้นนโยบายการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ปกป้องและฟื้นฟูในภาคอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง อาหาร การเกษตร การก่อสร้าง กลยุทธ์จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร (Farm to Fork Strategy) เน้นความยั่งยืนในด้านการผลิตอาหาร การกระจายอาหาร การบริโภคอาหาร ป้องกันการสูญเสียอาหาร

ยุโรปมีเป้าหมายในปี 2030 ลดก๊าซเรือนกระจกลง 55% (เดิมร้อยละ 40%) และ GHG เป็นศูนย์ในปี 2050 เครื่องมือสำคัญคือการเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้านำเข้าจาก “มาตรการ CBAM (Cross Border Adjustment Mechanism)” และมาตรการ “Fit for 55 Package” ที่ประกอบด้วย

1.ลด CO2 ในรถยนต์ เรือ เครื่องบินเป็นศูนย์ในปี 2035 โดยเครื่องบินปล่อย CO2 มากสุดตามด้วยเรือและรถยนต์ 2.ในปี 2030 เก็บภาษีคาร์บอนจากบริษัทหรือโรงงานยุโรปหนีไปตั้งในประเทศอื่นแล้วส่งสินค้ากลับเข้ามาขายในยุโรปที่เรียกว่า “Carbon Leakage” 3. ปี 2030 ใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพิ่มจาก 30% เป็น 50% ในปี 2030 โดยมาตรการ CBAM ให้มีการเตรียมความพร้อมและรายงานข้อมูลในวันที่ 1 ม.ค. 2566 ในกลุ่มอุตสาหกรรม “นำร่อง” คือ ซีเมนต์ เหล็ก ไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม โดยคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ทางตรง” (ผลิตจากกระบวนการผลิตโดยตรง) และมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 ม.ค. 2569 ซึ่งในอนาคตจะรวมสินค้าอื่นเพิ่มเติมและคิดคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ทางอ้อม” (รวมทั้งผลิตสินค้า การซื้อวัตถุดิบมาผลิต การขนส่ง) ด้วย

นั่นหมายความการส่งสินค้าเข้าไปในยุโรปหลังวันที่ 1 ม.ค. 2569 ต้องมีการแจ้งปริมาณการปล่อย GHG และมี CBAM Certificate (มีการซื้อขายกันตามราคาภายใต้ EU ETS) หากไม่มี CBAM Certificate ต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 40-100 ยูโร/ตันคาร์บอนเทียบเท่า

ปัจจุบันประเทศสหภาพยุโรปที่ปล่อย GHG มากสุดคือ เยอรมนี ตามด้วยฝรั่งเศส อิตาลี โปแลนด์ สเปน เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม ฉะนั้นสินค้าอุตสาหกรรมที่ปล่อย GHG ต่อ GDP สูงก็มีโอกาสที่ถูกเก็บภาษีคาร์บอนได้แก่ ปูนซิเมนต์ พลาสติก เตาอบ ปิโตรเลียม เหล็ก ปุ๋ย แก้ว อลูมิเนียม นํ้าตาล (EC, Conversation/CC-BY-ND) กลุ่มเสี่ยงสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ส่งไปยุโรปคือ อลูมิเนียม เหล็กและ ซีเมนต์ แต่ต่อไปจำนวนผลิตภัณฑ์จะมีมากขึ้น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์และอลูมิเนียม มีแหล่งพลังงานที่ปล่อย GHG มาจากการใช้นํ้ามันเตา ดีเซล ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ภาษีคาร์บอนที่ประเทศต่างๆ เก็บวัดจาก “ราคาคาร์บอน 2021”

ขณะนี้พบว่าสวีเดนเก็บภาษีคาร์บอนสูงสุดของโลกอยู่ที่137 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 ตามด้วยสวิตเซอร์แลนด์ 101 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 ญี่ปุ่น 3 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัว CO2 (เก็บจากพลังงานฟอสซิลทั้งหมด) สิงคโปร์เก็บ 4 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 (เก็บจากอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล) แอฟริกาใต้ 9 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 (เก็บจากอุตสาหกรรม ขนส่ง อาคารที่ใช้พลังงานฟอสซิล) ฝรั่งเศส 52 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศในยุโรปเก็บภาษีสูงทำให้รถยนต์ในยุโรปกำหนดการปล่อย CO2 ตํ่าตามภาษีคาร์บอนที่เก็บสูง สวีเดน 93 กรัมต่อกิโลเมตร (137 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน Co2) ฟินแลนด์ 100 กรัมต่อกิโลเมตร (73 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน Co2) และเยอรมัน 113 กรัมต่อกิโลเมตร (29 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน Co2)

สำหรับ “ผลกระทบทางเศรษฐกิจ” พบว่าในยุโรปการเก็บภาษีคาร์บอน 1 ยูโร ทำให้ GHG ลดลงไป 0.73% ทำให้เงินเฟ้อเพิ่ม 0.8% กรณีแคนาดาเก็บภาษีคาร์บอน 170 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 ในปี 2030 (Estimate Impacts of a $170 carbon tax in Canada, 2021) จะทำให้ GDP ลดลง 1.8% คนจะว่างงาน 184,000 คน สอดคล้องกับผลกระทบในประเทศโปแลนด์เมื่อเก็บภาษีคาร์บอนจะทำให้ GDP การลงทุน การบริโภค รายได้ของแรงงานลดลง แต่ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น (Distributional Effects of Emission Pricing in a Carbon-Intensive Economy: The Case of Poland, 2020) และกรณีประเทศสหรัฐฯ มีการเก็บภาษีคาร์บอน 25 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน CO2 จะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 11% ขนส่งเพิ่ม 1.8% อุตสาหกรรม 1.1% เกษตร 0.7% สถาบันการเงิน 0.4% และค่าส่งค้าปลีกเพิ่ม 0.3%

อุตสาหกรรมไทยต้องเตรียมพร้อมคือ 1. ภาคการผลิตจะถูกผลักดันให้ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น (CFP) หรือฉลากโลกร้อนมากขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงการประเมินคาร์บอนและช่วยลดโลกร้อน ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มปูนซีเมนต์ เหล็ก และอลูมิเนียม 2.มีการเก็บภาษีคาร์บอนในอุตสาหกรรมซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น 3. กระทบการส่งออกในตลาดยุโรป และตลาดอื่นเมื่อมีการใช้ CBAM 4.กระทบเงินทุน FDI นักลงทุนต่างชาติ จะนำประเด็นการปล่อย CO2 มาพิจารณาการเข้ามาลงทุน 5. สถาบันการเงินคำนึงถึงปริมาณการปล่อย CO2 มาเป็นการเกณฑ์พิจารณาการให้สินเชื่อ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 17 ธันวาคม 2564

เตือนแล้วนะ! ผู้ว่าฯเลยสั่ง'ไร่อ้อย'งดเผาทุกกรณี ถ้าเจอจับจริง

15 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย มีคำสั่ง ให้นายอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ทั้ง 14 อำเภอ เฝ้าระวังการลักลอบเผาอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยพร้อมให้ตรวจตราและจับดำเนินคดีให้ถึงที่สุดหลังโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่ 2 โรงในพื้นที่ได้เริ่มเปิดหีบรับซื้ออ้อยในวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา หวั่นปัญหาหมอกควันและทุกปีประชาชนทั้งจังหวัดต้องได้รับความเดือดร้อนกับหิมะดำเขม่าขี้เถ้าพุ่งกระจายไปทั่วเมือง และพบปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5มีค่าสูงในทุกปี ในฤดูกาลเปิดหีบอ้อยของโรงงาน

นายชัยธวัช เนียมศิริ เผยว่า ขณะนี้ที่ทางโรงน้ำตาลซึ่งในจังหวัดเลยมีจำนวน 2 โรงงานได้เริ่มเปิดหีบอ้อยและรับซื้ออ้อยจากเกษตรกรในจังหวัดเลยมีผู้ปลูกอ้อยอยู่ 2 ลักษณะมีปลูกแบบรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้ระบบเก็บเกี่ยวใช้เครื่องจักรในการตัด จำนวกพวกนี้ไม่ค่อบพบปัญหาแต่อีกส่วนและเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ยังใช้แรงงานในส่วนนี้ทุกปีจะสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทั้งขาดแรงงานกลัวตัดส่งโรงงานไม่ทัน หรือมักง่ายไม่คิดถึงผลเสียกับสิ่งแวดล้อม

ในปีนี้จึงได้ฝากให้กับนายอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านใน14 อำเภอ ให้เฝ้าระวังการลับลอบเฝ้าอ้อยในฤดูเปิดหีบอ้อยซึ่งจะมีเกษตรกรบ้านส่วนจะใช้ในการเผาในการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นการกระทำผิดโดยกฎหมาย เป็นสร้างมลภาวะ PM 2.5เป็นการทำลายการสร้างมลพิษที่รุนแรงมากจังหวัดเลยโดยส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาสูงและมีเป็นพื้นที่ประชากรที่อาศัยค่อนข้างจำนวนมากทำให้เกิดภาวะได้รุนแรงกว่า

ฉะนั้นในปีนี้จึงขอวิงวอนว่า ของให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยขอให้งดการเผา และของฝากเตือนไว้ก่อนว่า ขอให้งดการเผาให้ได้100 % หากยังมีการเผาอยู่ ในปีนี้ทางจังหวัดจะได้ใช้มาตราการและการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบให้กับคนจำนวนมากและขอย้ำเตือนให้งดเผาทุกกรณี ถ้าหากพบมีการเผาอยู่หากจะทำการสืบสวนสอบสวนจับผู้กระการลักลอบเผามาดำเนินคดีอย่างจริงจังและจะเข็มงวดให้ถึงที่สุดกับผู้ลักลอบเผาในปีนี้. 012

จาก https://www.naewna.com วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เปิด 5 ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปี 65

มาสเตอร์การ์ดเผยผลสำรวจแนวโน้มเศรษฐกิจปี65 พบ 5 ปัจจัย "การออมและการใช้จ่าย ซัพพลายเชน มีระบบดิจิทัลเป็นตัวเร่ง การเดินทางท่องเที่ยว และความเสี่ยงเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง" ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปี65

สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ของมาสเตอร์การ์ดเปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2565 จะถูกกำหนดโดยการปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัล “Digital Resilience”และการสร้างประสบการณ์ที่ตรงใจผู้บริโภค “Experience Economy” ซึ่งจะแตกต่างจากการให้บริการ และการขายสินค้าโดยทั่วไป แต่เป็นการสร้างความประทับใจ และสร้างความคุ้มค่า เกินความคาดหมายในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

การเปลี่ยนแปลงในการออมของครัวเรือน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพื่อซื้อหา‘สิ่งของ’หรือ ‘ประสบการณ์’ใหม่ๆอยู่เสมอ และธุรกิจต่างๆ ยังคงเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล เผยให้เห็นปัจจัยพื้นฐาน 5 ปัจจัย จะเป็นตัวกำหนดเศรษฐกิจของโลกคือ การออมและการใช้จ่าย ซัพพลายเชน การมีระบบดิจิทัลเป็นตัวเร่ง การเดินทางท่องเที่ยว และความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้ง 5 ประการจะยังคงเป็นตัวกำหนดเศรษฐกิจของโลก คือ

1.การเดินทาง: การเดินทางท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นตัวหลังจากเปิดให้เดินทางข้ามประเทศได้ด้วยเที่ยวบินในเส้นทางระยะกลางและเส้นทางไกลซึ่งจะเพิ่มขึ้นในปี 2565 ในขณะที่ข้อจำกัดในการเดินทางได้ส่งผลให้การฟื้นตัวทั่วทั้งภูมิภาคเป็นไปอย่างช้าๆ ในปี 2564 โดยมีตลาดเพียงไม่กี่แห่งในเอเชียแปซิฟิกที่มีการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ซึ่งการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาถึงเกือบ 69 เปอร์เซ็นต์ของช่วงก่อนการแพร่ระบาด จึงเป็นที่คาดว่า การท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มที่สดใสทั่วภูมิภาคในปี 2565

2.การออมและการใช้จ่าย: การออมในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิกเป็นกำลังสำคัญของการบริโภคในปี 2565 และปีต่อๆไป การได้เห็นผู้คนกลับมาใช้จ่ายเงินที่ออมไว้เร็วขึ้นอาจหมายถึงการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในตลาดหลายแห่ง รวมถึง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นและเกาหลีในอัตราราวๆ 2% ในปี 2565  การใช้จ่ายเงินออมของผู้บริโภคทั่วโลกจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของจีดีพีของโลกในปี 2565 เมื่อข้อจำกัดเกี่ยวกับการแพร่ระบาดเริ่มผ่อนคลายลง

 3.ระบบดิจิทัล:  20%ของธุรกิจค้าปลีกจะยังคงเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลและเป็นตัวกำหนดวิธีการจับจ่ายและสิ่งที่ผู้บริโภคซื้อหา เราได้เห็นการสมัครสมาชิกกับอีคอมเมิร์ซต่างๆ เพิ่มขึ้นในปี 2564 ในเกือบ 88% ของประเทศใน 32 ตลาดเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว – โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนการสมัครสมาชิกกับการใช้จ่ายทั้งหมดเพิ่มขึ้น 1.25 เท่า จากปี 2563 ถึง 2564 ใน 6 ตลาดในเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์จากโมเด็ลนี้ได้แก่ บริษัทรถยนต์ บริการเพื่อนออกกำลังกายออนไลน์ การเช่าจักรยาน และบริการสัตว์เลี้ยง

4.ซัพพลายเชน: มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2565 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพื่อซื้อหาบริการต่างๆ ในเอเชียจะเพิ่มขึ้น  ในขณะที่ความต้องการสินค้ายังคงอยู่ต่อไป ในขณะที่ปัญหาซัพพลายเชนจะยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูงขึ้นต่อไปและราคาสินค้าทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น การส่งออกก็จะยังคงเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญในภูมิภาค

5.ความเสี่ยง: ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีศักยภาพที่จะสร้างปัญหาแก่เศรษฐกิจโลก โควิดสายพันธุ์ใหม่ เช่น   โอมิครอนเป็นความเสี่ยงสูงสุดในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นฟู ไม่ว่าจะเป็น การปรับราคาที่อยู่อาศัย ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และสถานการณ์การคลังหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหมดลงในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว

นายเดวิด แมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ มาสเตอร์การ์ด เอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางกล่าวว่า แม้ว่าปีที่ผ่านมา จะมีแต่ความไม่แน่นอน แต่เราก็ยังคงมองโลกในแง่ดีสำหรับปีข้างหน้า และมีความคาดหวังว่าปี 2565 จะเป็นปีแห่งการฟื้นต้วด้านการท่องเที่ยวในเอเชีย แม้ว่าการฟื้นตัวทั่วภูมิภาคจะไม่ได้เป็นไปอย่างเรียบง่าย แต่เราคาดว่า ความต้องการจับจ่ายและการนำเงินออมของมาใช้ของผู้บริโภคจะเพิ่มมากชึ้น

"เห็นได้จากการฟื้นตัวในกลุ่มสินค้าที่ฟื้นตัวได้ง่ายเช่น เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ความแข็งแกร่งที่ต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดเช่น การตกแต่งปรับปรุงบ้าน รวมไปถึงงานอดิเรกก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการเป็นสมาชิก ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นแนวโน้มเชิงบวก แม้จะยังคงมีความกังวลจากโควิดสายพันธุ์ใหม่ เงินเฟ้อ และปัญหาซัพพลายเชนก็ตาม"นายเดวิดกล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

PwC ชี้เอเชียแปซิฟิกต้องเร่งกำจัดพลังงานCO2 เพื่อบรรลุNet Zero

PwC ย้ำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งกำจัดการใช้พลังงานที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 °C และเดินหน้าสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

รายงาน Code Red – Asia Pacific’s Time To Go Green ของ PwC เอเชียแปซิฟิก ติดตามอัตราการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาคนี้ โดยระบุว่า เอเชียแปซิฟิกจำเป็นจะต้องเพิ่มความพยายามอย่างมากในการลดก๊าซมลพิษ นอกจากนี้ ยังระบุถึงบทบาทของธุรกิจในการมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยร่วมมือกับรัฐบาลในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคว้าโอกาสทองในการเติบโตทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในปี 2563 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 52% ของการปล่อยก๊าซมลพิษทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งการที่แต่ละประเทศมีระดับของการพัฒนาและมีสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ย่อมส่งให้ความต้องการพลังงานแตกต่างกันไปด้วย ฉะนั้น ตราบใดที่เชื้อเพลิงฟอสซิล ยังเป็นส่วนสำคัญของการกำหนดสัดส่วนพลังงาน (Energy Mix) ในภูมิภาคนี้ ก็อาจทำให้การดำเนินการเพื่อให้บรรลุการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์เกิดความล่าช้า

นาย เรย์มันด์ ชาว ประธาน PwC ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า “โลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยิ่งใหญ่และรวดเร็วกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจจะต้องมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ เพราะโอกาสที่เป้าหมายของการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรมกำลังจะหมดลง โดยเอเชียแปซิฟิกมีบทบาทสำคัญมากในเรื่องนี้เพราะภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมและการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค”

การแข่งขันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จะต้องเริ่มจากความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่ถูกถ่ายทอดลงมาสู่ระดับพนักงาน ผนวกกับการมีเป้าหมายระดับชาติที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นไฮไลท์สำคัญของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงาน อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลสามารถทำได้โดยลำพัง

ด้านนาย ศรี แนร์ รองประธาน PwC ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “วันนี้ทุกองค์กรมีโอกาสทองในการเติบโตธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้ที่เคลื่อนไหวก่อนและเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วจะมีความเป็นต่อในตลาด เพราะทัศนคติของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยี และการเกิดขึ้นของตลาดใหม่ ๆ

ด้วยความที่ธุรกิจและตลาดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป จึงอาจไม่มีโซลูชันที่เหมาะกับทุกความต้องการ ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องประเมินกลยุทธ์ของตนใหม่ เพราะเส้นทางสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ควรเริ่มต้นด้วยความคิดที่สดใหม่ในการกำหนดเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน และผู้คน”

ด้วยแรงกดดันจากประชาคมโลกที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก จึงทำให้โฟกัสของการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะต้องเปลี่ยนไปสู่การมีแนวทางในการเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนอย่างจริงจัง ในขณะที่ต้องจูงใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปฏิบัติตามในกว้าง ทั้งนี้ ปณิธานของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ต้องการให้ทุกธุรกิจองค์กรคิดใหม่ ทำใหม่ ซึ่งจากวิสัยทัศน์ดังกล่าว ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กรแบบครบวงจร (End-to-end Transformation) ทั้งในส่วนของกลยุทธ์ รูปแบบการปฏิบัติการ และเทคโนโลยี ซึ่ง PwC เชื่อว่า การกระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติสำหรับธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกควรประกอบไปด้วย

ความมุ่งมั่นในการดำเนินการ: เมื่อพูดถึงผลกระทบที่ธุรกิจมีต่อสภาพภูมิอากาศ ผู้นำองค์กรจะต้องแสดงความโปร่งใส และชัดเจนต่อความมุ่งมั่นขององค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เปลี่ยนสู่องค์กรสีเขียว: โดยลงมือปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง และเพื่อให้ธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก้าวสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในเชิงรุก และนำเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์มาประยุกต์ใช้

ใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุนเกิดใหม่: การลงทุนถือเป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้น การจัดหาเงินทุน(และการส่งมอบ) เพื่อเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ จะต้องอาศัยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการเป็นพันธมิตรที่ยั่งยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ผ่านการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนที่มีความเหมาะสมตามขนาดและความรวดเร็ว

สร้างความไว้วางใจผ่านการจัดทำรายงานความยั่งยืน: ข้อมูลและความโปร่งใสถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการจัดทำรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานกำกับ และรูปแบบการรายงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

 นาย ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นวาระเร่งด่วนของโลก หรือจะเรียกว่าเป็น “Code red for humanity” ก็คงไม่ผิดนัก โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกันในการเดินหน้าไปสู่การมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อสานต่อพันธกิจของการประชุม COP26 ที่ทั่วโลกได้มีการทำความตกลงเรื่องเป้าหมายและมาตรการต่าง ๆ ในความพยายามควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

ซึ่งจะทำให้ในระยะถัดไป ทุก ๆ องค์กรธุรกิจจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการจัดการในเรื่องนี้ โดยองค์กรที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ก่อน ก็ย่อมจะมีความได้เปรียบในภาวะที่กระแสของการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้บริโภค ลูกค้า และสังคมส่วนรวม”

ทั้งนี้ โอกาสของการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคนั้นมีอยู่มากมายมหาศาล ด้วยวิถีการเติบโตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เป็นที่รับรู้และถูกบันทึกไว้อย่างชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งการเปลี่ยนไปสู่การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ จะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมมั่นใจได้ว่า ธุรกิจในภูมิภาคไม่ได้มุ่งเน้นการเติบโตด้วยผลกำไรเท่านั้น แต่ยังต้องการทิ้งมรดกตกทอดที่มีค่าและยั่งยืนกว่าให้กับผู้คนและโลกใบนี้ และนี่ถือเป็นเวลาที่ทุกฝ่ายจะต้องลงมือปฏิบัติให้สัมฤทธิผล

 จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กรมการค้าฯทดสอบระบบออก Form RCEP 16 ธ.ค.นี้

กรมการค้าต่างประเทศ พร้อมทดสอบระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP 16 ธ.ค.นี้ ก่อนมีผลบังคับใช้ทางการ 1 ม.ค.ปีหน้า

นายชุตินันท์ สิริยานนท์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ โดยกรมการค้าต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form RCEP) และกำกับดูแลการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Self-Certification by approved exporter) ได้เตรียมระบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสินค้าไว้พร้อมแล้ว

โดยการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง RCEP กรมการค้าต่างประเทศได้จัดทำระบบที่เกี่ยวข้องไว้ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form RCEP) ที่อยู่ระหว่างการเปิดระบบเพื่อทดสอบและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่ได้ลองใช้งานเสมือนจริงแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ จะเปิดระบบเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอ Form RCEP ได้จริง ในวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยผู้ประกอบการสามารถขอรับ Form RCEP ได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ระบบการตรวจสอบคุณสมบัติด้านถิ่นกำเนิดของสินค้า หรือ ROVERs และ ระบบการขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Self-Certification) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอตรวจต้นทุนของสินค้าส่งออกและยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาตผ่านทั้ง 2 ระบบดังกล่าวได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับระบบออกหนังสือรับรอง Form RCEP กรมฯ ได้นำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เช่น การใช้ระบบการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) และการพิมพ์ลงบนกระดาษ A4 รูปแบบพิเศษที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงโดยมี QR Code เพื่อยืนยันความถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งช่วยลดขั้นตอน และระยะเวลาในการรับบริการ รวมทั้งช่วยลดการตรวจสอบย้อนกลับจากศุลกากรปลายทาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทยได้เป็นอย่างดี

สำหรับระบบการตรวจสอบคุณสมบัติด้านถิ่นกำเนิดของสินค้า หรือ ROVERs ผู้ประกอบการต้องดำเนินการยื่นคำขอตรวจต้นทุนผ่านระบบและแนบเอกสารหลักฐานตามการดำเนินการยื่นคำขอตรวจต้นทุนตามปกติ โดยหากเป็นการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม จีน และญี่ปุ่น ผู้ส่งออกจำเป็นต้องตรวจสอบรายการสินค้าจากประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ว่าเป็นรายการสินค้าตามภาคผนวก จ ที่จะต้องมีเงื่อนไขในการตรวจต้นทุนเพิ่มเติมหรือไม่ประกอบด้วย

สำหรับระบบการขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Self-Certification) ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนและการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขึ้นทะเบียนว่าต้องเคยใช้การรับรองตนเองของอาเซียน (AWSC Self-Certification) หรือมีประสบการณ์ในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าในการส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP ประเทศใดประเทศหนึ่งมาแล้ว และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว จะมีอายุทะเบียน 2 ปี โดยผู้ส่งออกสามารถยื่นคำขอผ่านเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือ http://self-cert.dft.go.th/self-cert/home/login2.aspx ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป โดยผู้ส่งออกที่ได้รับการอนุมัติเป็นผู้ส่งออกที่รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองภายใต้ความตกลง RCEP จะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

พพ.อัดงบ 430 ลบ.ชวนโรงงาน -เอสเอ็มอี-Startup ลดใช้พลังงาน

พพ.เดินหน้าแผนอนุรักษ์พลังงาน เปิด 2 โครงการทุ่มงบกว่า 430 ลบ. จูงใจปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพิ่มประสิทธิภาพใช้พลังงาน มั่นใจเกิดเงินลงทุนหมุนเวียน 2,300 ล้านบาท

ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ. อยู่ระหว่างการเร่งขับเคลื่อนมาตรการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และขนส่ง ผ่าน 2 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในผู้ประกอบการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีวงเงินสนับสนุนรวมกว่า 430 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ Startup และภาคขนส่ง ได้เกิดลงทุนปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักรวัสดุ อุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมผลักดันให้หน่วยงานที่ร่วมโครงการ เป็นต้นแบบมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อขยายผลต่อไป

ทั้งนี้วงเงินสนับสนุนดังกล่าว พพ. จะสนับสนุนเงินลงทุนแบ่งเป็น ให้แก่กลุ่มโรงงาน อาคารควบคุม 20% กลุ่มผู้ประกอบการเกษตรกร กลุ่มธุรกิจ Startup จะสนับสนุนเงินลงทุน 30% โดยจะสนับสนุนวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย และสนับสนุนเงินในภาคขนส่ง 30% วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งนอกจากผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่เป็นรูปธรรมแล้ว จะช่วยกระตุ้นตลาดการซื้อขายเครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุเพื่อการประหยัดพลังงาน สร้างเงินลงทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 2,300 ล้านบาท เกิดผลประหยัดพลังงานในภาพรวมสูงถึง 764 ล้านบาท/ปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   100,000 ตันคาร์บอนต่อปี และเป็นก้าวสำคัญผลักดันให้ประเทศไทยพร้อมก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตอย่างยั่งยืน

สำหรับตัวอย่างมาตรการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ที่ผ่านมา เช่น มาตรการปรับเปลี่ยนเครื่องทำความเย็น (Chiller) จะช่วยให้เกิดผลประหยัด 35% มาตรการปรับเปลี่ยนปั๊มลม เกิดผลประหยัด 45% มาตรการเปลี่ยนมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง เกิดผลประหยัด 25% และในส่วนของภาคขนส่ง มาตรการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ ประหยัด 60% มาตรการเปลี่ยนตู้บรรทุก ประหยัด 40% เป็นต้น โดยมีระยะคืนทุนเฉลี่ย 3ปี

สนพ.เปิดเวทีขายไอเดียอนุรักษ์พลังงานต่อยอดธุรกิจ

โรงไฟฟ้าชุมชน ร่วมวงโชว์ศักยภาพ ส่งประกวดรางวัลไทยแลนด์เอนเนอร์ยี่อวอร์ด ปี 2563

ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า ในส่วนมาตรการส่งเสริมด้านการเงินเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ที่ผ่านมา พพ. ได้มีความร่วมมือกับสถาบันเงินชั้นนำ ได้แก่ การลงนาม MOU ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ซึ่งจะร่วมกันให้ความรู้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดย พพ.จะสนับสนุนความรู้ด้านมาตรการอนุรักษ์พลังงาน-พลังงานทดแทน และ SCB จะให้ข้อมูลการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และความเสี่ยงจากการลงทุน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการลงนาม MOU ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เพื่อร่วมกันสนับสนุนให้ เกษตรกร บุคคลทั่วไป ธุรกิจชุมชน ให้เกิดการลงทุนโครงการใช้พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด และการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์

และการลงนาม MOU ร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SMED Bank เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน สร้างองค์ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทนต่อไป 

อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน หรือผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ ครั้งนี้ พพ. ได้เปิดรับสมัครทั้ง 2 โครงการฯ ดังกล่าว ไปจนถึงวันที่ 21 มกราคม 2565

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 14 ธันวาคม 2564

ปลัดเกษตรฯจี้ติด ลุยโครงการสำคัญ ขับเคลื่อนนโยบาย ให้มีประสิทธิภาพ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามงาน/โครงการสำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ ครั้งที่ 2/2564 โดยมีรองปลัดฯ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ โดยที่ประชุมได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในด้านต่างๆ คือ 1.คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด หลักการบริหารงานและขับเคลื่อนงานโดยสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ มีความเป็นเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.โครงการต้นแบบการขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ มีเป้าหมายในการดำเนินการในพื้นที่ 75 จังหวัด 822 อำเภอ 5,619 ตำบล 5,797 หมู่บ้าน มีการจ้างงานอาสาสมัครเกษตรใน 5,797 หมู่บ้าน

หมู่บ้านละ 3 คน รวม 17,391 คน ระยะเวลาจ้าง 12 เดือน มีโครงการย่อยภายใต้โครงการขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านฯ 3.โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน พื้นที่ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 77 จังหวัด เกษตรกรเป้าหมาย 17,000 ราย 4.ผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างประเทศ และ 5.ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของกลุ่มขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองโดยติดตามการปรับโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลัง

จาก https://www.naewna.com วันที่ 14 ธันวาคม 2564

สมาคมโรงงานน้ำตาล ฟ้องศาลปกครองให้ กอน. เลิกเก็บค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ยื่นฟ้องศาลปกครองให้ กอน. ยกเลิกกฎระเบียบวิธีปฏิบัติที่กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจัดเก็บเงินค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 โรงงาน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้ยกเลิกระเบียบปฏิบัติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ว่าด้วย การกำหนดอัตราค่าบำรุงและวิธีการชำระค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2559

ที่เป็นระเบียบปฏิบัติให้โรงงานน้ำตาลจัดเก็บค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย โดยการดำเนินการฟ้องร้องครั้งนี้ มาจากคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ได้มีคำวินิจฉัยว่า กอน. มีหน้าที่กำหนดอัตราค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อยเท่านั้น แต่มิได้บัญญัติให้มีอำนาจที่จะกำหนดวิธีการชำระค่าบำรุงไว้ด้วย ดังนั้น หากโรงงานยังคงปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกชาวไร่อ้อยคู่สัญญาฟ้องร้องได้

ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งแก่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายรับทราบแล้วว่า โรงงานน้ำตาลทุกโรง จะยกเลิกการจัดเก็บเงินค่าบำรุงดังกล่าวตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2564/65 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้จะเร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลถึงแนวทางดำเนินการไม่จัด เก็บค่าบำรุงให้แก่สถาบันชาวไร่อ้อย เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

“ผู้ประกอบโรงงานน้ำตาลทุกโรงได้มอบหมายให้ทนายฟ้องต่อศาลปกครองให้ กอน. ยกเลิกระเบียบวิธีปฏิบัติดังกล่าวพร้อมกำชับโรงงานน้ำตาลทุกโรงยกเลิกการหักเงินดังกล่าวในรอบการหีบอ้อยปีนี้ทันที”

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 13 ธันวาคม 2564

พาณิชย์ลดราคาปุ๋ย ช่วยเกษตรกร ลดต้นทุนแล้วกว่า 60 ล้านบาท

ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่รองนายกรัฐมนตรี และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในดำเนินโครงการพาณิชย์ลดราคา! ปุ๋ยช่วยเกษตรกร ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และผู้ผลิต ผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีรวม 19 ราย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา โดยนำปุ๋ยเคมีจำนวน 84 สูตร ปริมาณรวม 225,211 ตัน (4,504,320 กระสอบ) มาลดราคาจำหน่ายให้แก่กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยได้มีการสั่งซื้อแล้ว 143,233.40 ตัน (2,864,673 กระสอบ) มูลค่าส่วนลดรวมกว่า 60 ล้านบาท เกษตรกรที่ต้องการสั่งซื้อปุ๋ยเคมีในราคาถูกกว่าท้องตลาดยังคงสามารถสั่งซื้อได้ผ่านกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ เช่น สหกรณ์ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มแปลงใหญ่ ภายในปลายปีนี้ จากนั้นกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร จะรวบรวมยอดการสั่งซื้อแจ้งไปยังเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ หรือสหกรณ์จังหวัดในแต่ละพื้นที่ ขณะนี้ยังคงมีปุ๋ยสูตรที่ได้รับความนิยมจำหน่ายอยู่ คือ สูตร 16-20-0 (ใช้กับข้าว) ราคาทั่วไป 795 บาท ราคาโครงการ 660 บาท และสูตร 15-15-15 ราคาทั่วไป 875 บาท ราคาโครงการ 750 บาท ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบข้อมูลรายการและราคาปุ๋ยที่นำมาลดราคาทางเว็บไซต์กรมฯ (https://www.dit.go.th)

 รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวอีกว่า นอกจากการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ที่มั่นคงจากการจำหน่ายผลผลิตตามมาตรการต่างๆ รวมทั้งการประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรและการดำเนินมาตรการคู่ขนานแล้ว รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเกษตรกรด้านต้นทุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและยากำจัดวัชพืช แมลง หรือโรคพืช โดยได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน และพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศติดตามสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หากพบว่ามีการกักตุนหรือจำหน่ายสินค้าในราคาแพงเกินสมควร จะมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีที่ไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายจะมีโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 10,000 บาท สามารถแจ้งหรือร้องเรียนสายด่วน 1569 กรมการค้าภายใน หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 13 ธันวาคม 2564

เอกชนโรงงานน้ำตาลฟ้องศาลปกครอง ให้ กอน.ยกเลิกเก็บเงินค่าบำรุง

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายยื่นฟ้องศาลปกครองให้ กอน.ยกเลิกกฎระเบียบวิธีปฏิบัติที่กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจัดเก็บเงินค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย เหตุกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ หลังโรงงานหวั่นโดนชาวไร่อ้อยฟ้องร้อง

วันที่ 13 ธันวาคม 2564 นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 โรงงาน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้ยกเลิกระเบียบปฏิบัติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ว่าด้วย การกำหนดอัตราค่าบำรุงและวิธีการชำระค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559 ที่เป็นระเบียบปฏิบัติให้โรงงานน้ำตาลจัดเก็บค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย

โดยการดำเนินการฟ้องร้องครั้งนี้ มาจากคำพิพากษาของศาลปกครองกลางได้มีคำวินิจฉัยว่า กอน.มีหน้าที่กำหนดอัตราค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อยเท่านั้น แต่มิได้บัญญัติให้มีอำนาจที่จะกำหนดวิธีการชำระค่าบำรุงไว้ด้วย ดังนั้น หากโรงงานยังคงปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกชาวไร่อ้อยคู่สัญญาฟ้องร้องได้

ทั้งนี้ สมาคมได้ส่งหนังสือแจ้งแก่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายรับทราบแล้วว่า โรงงานน้ำตาลทุกโรงจะยกเลิกการจัดเก็บเงินค่าบำรุงดังกล่าวตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2564/65 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้จะเร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลถึงแนวทางดำเนินการไม่จัด เก็บค่าบำรุงให้แก่สถาบันชาวไร่อ้อย เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

“ผู้ประกอบโรงงานน้ำตาลทุกโรงได้มอบหมายให้ทนายฟ้องต่อศาลปกครองให้ กอน.ยกเลิกระเบียบวิธีปฏิบัติดังกล่าวพร้อมกำชับโรงงานน้ำตาลทุกโรงยกเลิกการหักเงินดังกล่าวในรอบการหีบอ้อยปีนี้ทันที” นายสิริวุทธิ์กล่าว

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 13 ธันวาคม 2564

กรมชลฯ วางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 64/65

กรมชลประทาน ประชุมวางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 64/65 เร่งสำรองน้ำไว้ใช้ตลอดแล้งนี้

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ว่า ปัจจุบัน (13 ธ.ค. 64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 58,828 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 34,896 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 14,644 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 7,948 ล้าน ลบ.ม. ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 30 เมษายน 2565) จากปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 37,857 ล้าน ลบ.ม. โดยมีแผนจัดสรรน้ำในฤดูแล้งทั้งประเทศจำนวน 22,280 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับความสำคัญดังนี้ เพื่อการเกษตรฤดูแล้ง 11,785 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,535 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 518 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 7,442 ล้าน ลบ.ม. และสำรองน้ำไว้ต้นฤดูฝนปี 65 อีก 15,577 ล้าน ลบ.ม. สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแผนจัดสรรน้ำในฤดูแล้ง 5,700 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นน้ำเพื่อการเกษตร 2,415 ล้าน ลบ.ม. (พืชฤดูแล้ง 445 ล้าน ลบ.ม. และพื้นที่คาดการณ์ปลูกข้าวนาปรัง 1,970 ล้าน ลบ.ม.) เพื่ออุปโภค-บริโภค 1,150 ล้าน ลบ.ม. เพื่ออุตสาหกรรม 135 ล้าน ลบ.ม. เพื่อรักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 2,000 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบัน(13 ธ.ค.64) ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี64/65 ทั้งประเทศเพาะปลูกข้าวไปแล้ว 1.84 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 28.72 ของแผนฯ เฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 1.20 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.62 ของแผนฯ โดยได้จัดสรรน้ำทั้งประเทศไปแล้ว 5,349 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ) จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,019 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของแผนฯ

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทาน โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา พิจารณาเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในการปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 65 ตามข้อสั่งการของรัฐบาล โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) และนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมติดตามสถานการณ์น้ำและควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งบริหารจัดการน้ำด้วยความประหยัด สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำและแผนบริหารจัดการน้ำ ให้ทุกภาคส่วนเกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กำหนด เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 13 ธันวาคม 2564

ค่าเงินบาทวันนี้ (13 ธ.ค.) อ่อนค่าที่ 33.50 บาท บทวิเคราะห์ล่าสุด

ค่าเงินบาทวันนี้ (13 ธ.ค.) เปิดตลาดอ่อนค่าที่ 33.50 บาท โดยกรอบแนวรับที่ 33.45 บาท แนวต้าน 33.60 บาท

วันที่ 13 ธันวาคม 2564 รายงานจากห้องค้าเงิน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้ (13 ธ.ค.) เปิดตลาดอ่อนค่าลงที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดสิ้นวันทำการก่อนหน้า โดยกรอบการเคลื่อนไหววันนี้คาดการณ์แนวรับที่ 33.45 บาท แนวต้านที่ 33.60 บาท

โดยมีปัจจัยจากตัวเลขดัชนีผู้บริโภคสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนที่ออกมาที่ 6.8% ต่อปี (YoY) เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 ในขณะที่ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 52 ปี ด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐ ระบุว่าเชื้อโควิดโอไมครอนทำให้เกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อยในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน

ด้านธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PBOC) ปรับเพิ่มอัตราส่วนความต้องการสำรอง forex ขึ้น 2.00% เป็น 9%

ส่วนปัจจัยภายในประเทศ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเต็มที่ภายในปี 2566

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ (13-17 ธ.ค.) ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อของแคนาดาที่จะมีออกมาวันนี้ ขณะที่พรุ่งนี้ต้องติดตามตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐ ส่วนวันพุธติดตามยอดค้าปลีกจีน จากนั้นติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหรัฐกับยูโรโซนในวันพฤหัส และ จากนั้นวันศุกร์ติดตามการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กับตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอีซีบี

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 13 ธันวาคม 2564

“พาณิชย์”เตือนผู้ส่งออก เตรียมรับมือมาตรการทางการค้าใหม่ของคู่ค้าปี 65

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตือนผู้ส่งออกเตรียมรับมือกับมาตรการทางการค้าใหม่ของคู่ค้า ที่จะนำมาใช้ในปี 65 เผยมีทั้งสินค้ารถยนต์ เครื่องปรับอากาศ และอาหาร

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ทำการรวบรวมมาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้า พบว่า หลายประเทศมีการออกระเบียบใหม่ที่จะใช้บังคับในปี 2565 โดยเฉพาะกับสินค้าอาหาร รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยควรศึกษารายละเอียดและเตรียมปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของมาตรการใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้การส่งออกสินค้าและการค้าของไทยไม่สะดุด

สำหรับสินค้าที่ผู้นำเข้าจะใช้มาตรการใหม่ ได้แก่ รถยนต์ เวียดนามได้ออกระเบียบว่าด้วยการปล่อยมลพิษทางอากาศ กำหนดให้รถยนต์ที่ประกอบ ผลิต และนำเข้า ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานไอเสีย Euro 5 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 เครื่องปรับอากาศ อินเดียได้กำหนดให้สินค้าที่ผลิตหรือนำเข้า ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานและตีตราสัญลักษณ์จากสถาบันมาตรฐานอินเดีย (BIS)

สินค้าอาหาร จีนได้ออกระเบียบ Decree 248 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารจากต่างประเทศใน 18 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม รังนกและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไส้บรรจุไส้กรอก ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ไข่และผลิตภัณฑ์ มันและไขมันเพื่อการบริโภค ผลิตภัณฑ์แป้งยัดไส้ เมล็ดธัญพืชสำหรับการบริโภค ผลิตภัณฑ์เมล็ดธัญพืชบดและมอลต์เพื่อการอุตสาหกรรม ผักสดและผักอบแห้ง เครื่องปรุงรส ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟและเมล็ดโกโก้ที่ยังไม่ผ่านการคั่ว อาหารสำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ และอาหารเพื่อสุขภาพ ต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนส่งไปจีน โดยหน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งนี้ ผู้ผลิตและส่งออกที่ไม่อยู่ใน 18 กลุ่มสินค้า สามารถขึ้นทะเบียนโดยตรงกับสำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน หรือ GACC ผ่านทางเว็บไซต์ www.singlewindow.cn

นอกจากนี้ อินเดีย ได้กำหนดให้โรงงานผู้ผลิตจากต่างประเทศ ต้องผ่านการตรวจสอบและตรวจประเมินโรงงานผู้ผลิต กับหน่วยงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและมาตรฐานด้านอาหารของอินเดีย (FSSAI) จะมีผลใช้บังคับ 1 มิ.ย.2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กำหนดให้สินค้าอาหารที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ต้องติดฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์แสดงข้อมูลไขมัน ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล เกลือ และแคลอรี ซึ่งสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง และอาหารเหลว มีผลใช้บังคับ 1 ม.ค.2565 และสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกกฎระเบียบควบคุมการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศและนำเข้า เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรอินทรีย์ต้องใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ 95% (คิดตามน้ำหนัก) ระบุแหล่งผลิตบนฉลาก และต้องใช้สารแต่งกลิ่นจากธรรมชาติเท่านั้น มีผลใช้บังคับ 1 ม.ค.2565

“มาตรการที่หลายประเทศประกาศใช้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดรับกับความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยผู้ประกอบการและผู้ส่งออกของไทยควรให้ความสำคัญกับขั้นตอน กระบวนการผลิตสินค้า และการตรวจรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของสินค้าไทย” นางอรมนกล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 12 ธันวาคม 2564

รง.น้ำตาลสหเรืองฟันธงฤดูเปิดหีบอ้อยปีนี้เงินสะพัดสู่มือเกษตรกรกว่า 1,000 ล้านบาท

มุกดาหาร - โรงงานน้ำตาลสหเรืองคาดฤดูหีบอ้อยปีนี้มีเงินสะพัดถึงมือเกษตรกรชาวไร่อ้อยมากกว่า 1,000 ล้านบาท ย้ำหากอยากขายอ้อยได้ราคาสูงต้องตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานเท่านั้น ห้ามเผาสร้างปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM 2.5

ขณะเดียวกันทางจังหวัดเข้มงวดมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนรถขนอ้อยทุกคันต้องติดธงแดงท้ายรถป้องกันอุบัติเหตุเกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี

ที่บริเวณโรงงานน้ำตาลสหเรือง บ้านป่าหวาย ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร นายประมวลศิลป์ โภคสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการโรงงานน้ำตาลบริษัท สหเรือง จำกัด นายธนิศร โภคสวัสดิ์ รองผู้จัดการโรงงานน้ำตาลฯ พร้อมผู้นำชุมชน และเกษตรกรชาวไร่อ้อย ร่วมกันจัดกิจกรรมประเพณีโยนอ้อยในวันเปิดหีบอ้อยของโรงงานสหเรือง โดยถือฤกษ์เอาชัยในวันที่ 10 ธันวาคม 2564 เวลา 9 โมง 39 นาที ทำพิธีเปิดหีบอ้อยฤดูกาลผลผลิตปี 2564/2565

นายธนิศร โภคสวัสดิ์ รองผู้จัดการโรงงานน้ำตาล บริษัท สหเรือง จำกัด กล่าวว่า ประเพณีโยนอ้อยนั้นได้จัดขึ้นประจำทุกปีเพื่อเป็นสิริมงคลทั้งโรงงานและเกษตรกรที่ตัดอ้อยส่งโรงงาน และถือเอาฤกษ์เอาชัยว่าการเปิดหีบอ้อยฤดูกาลผลผลิตปี 2564/2565 เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2564 ไปถึงเดือนเมษายน 2565 รวม 5 เดือน ซึ่งในปีการผลิตปี 2564/2565 นี้คาดว่าจะมีอ้อยเข้าโรงงานประมาณ 1,000,000 ตัน (หนึ่งล้านตัน) ซึ่งปีนี้มาตรการความปลอดภัยบนท้องถนน ทางจังหวัดมุกดาหารยังคงเคร่งครัดเช่นเดิม คือจำกัดความสูงรถบรรทุกอ้อยอยู่ที่ 3.8 เมตร

ทั้งยังมีการแจกธงแดงติดไปท้ายรถเพื่อที่จะให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถมองเห็นรถบรรทุกอ้อยได้ชัดเจนมากขึ้น และยังมีทีมงานเร่งด่วนฉุกเฉินประจำ 24 ชั่วโมงที่คอยประสานงาน กรณีที่มีอ้อยตกหล่น เผื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีป้ายบอกติดต่อฉุกเฉินตามแนวเส้นทางที่มีรถบรรทุกอ้อยผ่าน

นายธนิศรกล่าวเพิ่มอีกว่า ส่วนการรณรงค์ PM 2.5 ทางโรงงานมีมาตรการให้เกษตรกรตัดอ้อยสด ห้ามเผา โดยเปิดรับคิวอ้อยสดเพิ่มมากขึ้น และก็มีการรณรงค์สินเชื่อเครื่องจักร เพื่อให้ชาวไร่เข้าถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการตัดอ้อยได้จัดซื้อเครื่องตัดอ้อยเพิ่มอีก 27 คัน มีการจัดลานรับอ้อย มีรายชื่อชาวไร่โดยตรง และมีรถรับอ้อยส่งโรงงาน

ในกรณีรายเล็กๆ เป็นการช่วยรณรงค์ที่จะลงแขกตัดอ้อยสด ส่วนการตัดอ้อยสดทางโรงงานจะให้ค่าตัดอ้อยสดมากขึ้น และค่าแรงที่จะขอกู้ตัดอ้อยสด และทางโรงงานก็มีรถบริการให้ชาวไร่ด้วยเช่นกัน

ส่วนเรื่องอุบัติเหตุฝากถึงชาวไร่ที่เอารถเข้ามา ถ้ารถมีปัญหาจอดข้างทาง โดยเฉพาะเวลากลางคืนให้ติดไฟชัดเจน มีป้ายไฟไซเรน เพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ประมาณ 4-5 เดือนที่จะมีรถอ้อยวิ่งเยอะหน่อย ได้ประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่แล้วว่าเราจะไม่เอารถบรรทุกอ้อยเข้าไปในเขตชุมชน จะวิ่งออกเส้นทางบายพาสทั้งหมด ก็ฝากระมัดระวังเส้นทางบายพาสที่มีรถอ้อยวิ่งผ่านด้วย

จาก https://mgronline.com วันที่ 11 ธันวาคม 2564

ฤดูฝุ่น PM 2.5 มาแล้ว รับมือให้ครบทุกมิติ

ยังคงอยู่ในบรรยากาศเนื่องใน “วันสิ่งแวดล้อมไทย” (4 ธันวาคม 2564) ประเด็น...“เพิ่มป่าไม้เพื่อลดโลกร้อน” อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการ สิ่งแวดล้อมไทย สะท้อนภาพ “ประเทศไทย” เปรียบกับ “ประเทศญี่ปุ่น” ไว้น่าสนใจ

หนึ่ง...ประเทศไทยประกาศที่ COP26 กรุงกลาสโกว์จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ.2050 (พ.ศ.2573) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายใน ค.ศ.2065 (พ.ศ.2608)

ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่ผ่านมามี 105 ประเทศลงนามในคำประกาศให้คำมั่นที่จะยุติการตัดไม้ทำลายป่าและฟื้นฟูป่าไม้ภายในปี 2030 เพื่อต้องการให้ต้นไม้ช่วยดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อลดโลกร้อน

แต่...ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมให้คำสัญญาด้วย

สอง...ข้อมูลปี 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ที่ 163,765.57 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 31.64 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ “พื้นที่ป่า”...ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 0.04

สาม...ประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่าไม้ 253,203 ตร.กม. หรือร้อยละ 67 ของประเทศ โดยพื้นที่ทั่วไปร้อยละ 70 ของญี่ปุ่น เป็นโภูเขา ทำการเกษตรน้อยมากจึงมีแนวคิดในการทำป่าไม้เศรษฐกิจมานานกว่าร้อยปีแล้วโดยรัฐแบ่งให้เอกชนและประชาชนทำสวนป่าตัดขายแล้วปลูกทดแทน

ซึ่งจะเห็นว่ามี “ป่าสน” ที่สูงใหญ่เรียงเป็นระเบียบ...บางต้นอายุถึงร้อยปี รวมทั้งรัฐยังส่งเสริมให้เอกชนทำป่าไม้เพื่อเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชน เช่น ปลูก “สนซีด้า” เพื่อทำเป็นไม้แปรรูปขายให้ประชาชน มีช่วงเวลาการปลูกและตัดคล้ายๆกับการทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงในไทย

ระยะเวลาตัดขึ้นอยู่กับความต้องการขนาดตามวงรอบของเนื้อไม้ประมาณห้าปีขึ้นไปโดยมีพื้นที่แทรกอยู่ตามป่าธรรมชาติด้านล่างของสันเขา

นอกจากนี้ ชาวบ้านญี่ปุ่นยังสามารถมีกรรมสิทธิ์พื้นที่ป่าในเขตอุทยานได้หากอยู่มาก่อนการประกาศเขตอุทยานซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่ออกกฎหมาย กฎหมายไปทับพื้นที่ชุมชนและให้ออกไป...ญี่ปุ่นไม่เคยมีนโยบายสนับสนุนประชาชนไปหักร้างถางพงเพื่อจับจองเป็นที่ทำกินแบบไทย

สี่...ทำไมญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่าไทยถึง 9 หมื่นกว่า ตร.กม. ทั้งๆที่มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยถึง 1.36 เท่า และมีประชากรมากกว่าไทยเกือบ 2 เท่า (ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 126 ล้านคน)

“เกษตรกรในญี่ปุ่นมีน้อยมากต่างจากไทยที่มีเกษตรกรประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ไม่บุกรุกป่า...ญี่ปุ่นไม่ส่งเสริมให้ตัดไม้ของตัวเองแต่มักจะสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก เช่น จากจีน แคนาดา อเมริกา...” อาจารย์สนธิ ว่า “ญี่ปุ่นเป็นประเทศเกาะสามารถหาอาหารทางทะเลได้ง่ายและเร็วกว่าหาจากป่ามาก ไม่ต้องบุกรุกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำกิน วิถีชีวิตหลักๆของญี่ปุ่นพึ่งอาหารจากทะเลมากกว่าป่า...”

นอกจากนี้แล้ว...รัฐส่งเสริมให้เอกชนและประชาชนเช่าพื้นที่ป่าบางส่วนทำสวนป่าโดยเป้าหมายป่าต้องเพิ่มขึ้นเมื่อหมดสัมปทาน...รัฐส่งเสริมให้บริษัทเอกชนทำ CSR โดยการปลูกต้นไม้และป่าในพื้นที่ต่างๆ

“สร้างจิตสำนึกอบรมและสั่งสอนให้รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาล...ประเทศไทยเราเดินตามรอยญี่ปุ่น โดยพยายามจะปลูกป่าใหม่ทดแทนเหมือนกัน แต่ยังไม่สามารถหลุดพ้นวงจรที่ชาวบ้านต้องการขยายพื้นที่การเกษตรกรรมได้ ทำให้การปลูกไม่ทันกับความต้องการจะตัด”

ประเทศไทย...“เพิ่มป่าไม้เพื่อลดโลกร้อน” ยังเป็นประเด็นให้ชวนติดตามอย่ากะพริบตา ที่ใกล้ตัวมาแล้วในรอบปีนี้ก็คือปัญหา “ฝุ่น PM 2.5” กับมาตรการเสริมที่รัฐควรทำ?

จากการคาดการณ์พบว่า “ฝุ่น PM 2.5” จะสูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานในเขต กทม.และปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 6 หรือ 7 ธ.ค.64 เป็นต้นไป เนื่องจาก ความกดอากาศสูง (อากาศเย็น) จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมแต่กำลังลมอ่อนลง ทำให้อากาศเย็นอยู่ในระดับใกล้พื้นดินแต่อากาศเหนือพื้นดินขึ้นไปกลับร้อนกว่า

ทำให้... “มลพิษ” และ “อากาศ” ใกล้พื้นดินลอยขึ้นในแนวดิ่งได้ต่ำ (อากาศเคลื่อนจากร้อนไปเย็น) ขณะที่ลมพัดในแนวราบอ่อนกำลังลง ทำให้การฟุ้งกระจายของมลพิษทั้งในแนวดิ่งและแนวนอนน้อยลง เกิด “ภาวะ Fumigation”...หรือ “มลพิษปกคลุมพื้นที่”

ปีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กทม. กรมควบคุมมลพิษ กรมขนส่งทางบก ตำรวจจราจร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเตรียมการที่ดี มีตั้งด่านสกัดตรวจจับรถควันดำตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ทำให้มีรถควันดำวิ่งในเขตเมืองน้อยส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดน้อยลงด้วย...ส่วนภาคเหนือก็มีมาตรการชิงเก็บเศษวัสดุเพื่อลดเชื้อเพลิงในป่า

รวมทั้งมาตรการชิงเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรก่อนอากาศปิด เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่หน่วยงานของรัฐมีแผนงานที่ชัดเจนและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพของประชาชนมากกว่าเมื่อก่อน

อย่างไรก็ตาม ยังไง “ฝุ่น PM 2.5” ก็ต้องมาอย่างแน่นอน ทั้งใน กทม. ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ ช่วงที่ฝุ่นมาปกคลุมพื้นที่ รัฐควรมีมาตรการสาธารณะจูงใจให้ประชาชนร่วมมือลดฝุ่นลงด้วย ไม่ใช่ให้ประชาชนเสียสละอย่างเดียว แต่รัฐต้องสนับสนุนด้วยเช่นกัน เช่น ประกาศให้เดือนธันวาคม-มกราคม...

หากประชาชนไม่นำรถออกมาใช้รัฐมีมาตรการจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า, รถขนส่งสาธารณะและค่าแท็กซี่คนละครึ่ง, ค่าที่จอดรถยนต์ที่สถานีรถไฟฟ้าฟรี, ห้ามรถเครื่องยนต์ดีเซล 10 ล้อขึ้นไปเข้าเมือง, ห้ามจอดรถยนต์ริมถนน, จับกุมรถที่อุด EGR...ทะลวงแคต (catalytic converter)...รถปล่อยควันดำ

นำน้ำมันดีเซลยูโร 5 มาจำหน่ายราคาถูก, ลดการก่อสร้างบนถนนและคืนพื้นที่ผิวให้จราจรเพื่อลดการติดขัดของรถยนต์, ล้างพื้นล้างถนน, ขอความร่วมมือให้อาคารสูงสเปรย์ละอองน้ำไปในอากาศ

งดการจุดธูปเทียนของศาลเจ้าหรือวัดในที่โล่ง, งดการปิ้งย่างที่ปล่อยควันในที่โล่ง, ดูแลและซ่อมบำรุงเตาเผาศพของวัดให้เผาไหม้ได้สมบูรณ์, ลงโทษผู้ที่เผาขยะหรือเศษวัชพืชในที่โล่ง, ควบคุมมลพิษจากปล่องของโรงงานและกิจการที่ใช้ถ่านหิน น้ำมันเตา...น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง, แจกหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองให้ผู้ที่ทำงานริมถนน เช่น พ่อค้าแม่ค้า, วินมอเตอร์ไซค์, เสนอรูปแบบห้องปลอดฝุ่น PM 2.5 ราคาประหยัด ฯลฯ

ถึงตรงนี้...โรงงานน้ำตาล 57 แห่ง จะเริ่มเปิดรับอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2564/65 ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ คาดมีปริมาณผลผลิต 90 ล้านตัน... รัฐบาลกำหนดให้มีอ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 10% ประเทศไทยปลูกอ้อยประมาณ ปีละ 5.4 ล้านไร่...คาดว่าจะมีการเผาเพื่อเอาอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 5.4 แสนไร่

“การเผาจะเกิดขึ้นช่วงเดือนมกราคม...มีนาคม อย่างไรก็ตาม รัฐจะช่วยสนับสนุนเงิน 120 บาทต่อตัน หากตัดอ้อยสดและหักเงินผู้ตัดอ้อยไฟไหม้ตันละ 30 บาทด้วย”

สิ่งที่รัฐควรทำคือหากมีการเผาไร่อ้อยซึ่งมักทำในช่วงกลางคืนต้องให้ท้องถิ่นตรวจสอบ หากพบว่ามีฝุ่นเกินมาตรฐานหรือก่อให้เกิดการรบกวนต้องใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 ลงโทษ

ในช่วงเกิด “ฝุ่น 2.5” เกินมาตรฐาน ส่วนกลางต้องกระจายความรับผิดชอบและงบประมาณให้ท้องถิ่นในการกำกับดูแลกิจการและกิจกรรมที่จะส่งผล ให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ตนเอง รวมทั้งใช้กฎหมายดำเนินการอย่างเข้มงวดร่วมกับหน่วยงานอนุญาตและต้องช่วยดับไฟที่เกิดบริเวณริมทาง...ในป่าในเบื้องต้นด้วย

ฤดูฝุ่น PM 2.5 มาแน่ ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายพร้อมรับมือ เฝ้าระวังแก้ไขอย่างเต็มกำลัง.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 11 ธันวาคม 2564

RCEP เริ่ม 1 ม.ค. 65 รวมเรื่องที่ผู้ส่งออกต้องรู้ ก่อนบุกเขตการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก

RCEP รวมเรื่องผู้ส่งออกควรรู้

นับถอยหลังอีกไม่ถึง 1 เดือน ข้อตกลง RCEP จะบังคับใช้ใน 15 ประเทศ รวมทุกเรื่องที่ผู้ส่งออกควรรู้ ก่อนบุกเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรกว่า 2 พันล้านคน

วันที่ 10 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากประเทศไทยยื่นให้สัตยาบัน ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) 15 ประเทศ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยข้อตกลง RCEP จะบังคับใช้ในประเทศสมาชิก 15 ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมข้อมูลที่ผู้ประกอบการด้านส่งออกควรรู้ เพื่อเตรียมตัวสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในความตกลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ดังนี้

RCEP คืออะไร ?

RCEP เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก)

ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจาก RCEP

สำหรับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง RCEP อาทิ สมาชิก RCEP ยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

อีกด้านหนึ่ง ในปีแรกสินค้ากลุ่มอาหารนำเข้าหลายรายการจะมีภาษีเป็น 0% แบ่งเป็น

กลุ่มประมงแช่แข็ง เช่น แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน ปลาหมึก กุ้งล็อบสเตอร์

กลุ่มผักสด แช่เย็น แช่แข็ง เช่น มะเขือเทศ บร็อกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดหอม

กลุ่มผลไม้ เช่น สับปะรดแห้ง ฝรั่ง มะม่วงแห้ง สตรอว์เบอรี่ ราสป์เบอรี่ แบล็กเบอรี่ มัลเบอรี่ ลำไย ส้ม ส้มแห้ง กีวี ลิ้นจี่ เงาะ

สินค้ากลุ่มกาแฟ ชา เครื่องเทศ เช่น ซินนามอน

สินค้ากลุ่มธัญพืช เช่น สาหร่าย

สินค้ากลุ่มผักและผลไม้แปรรูป เช่น น้ำส้มโฟรเซ่น น้ำแอปเปิลมีค่าบริกซ์ไม่เกิน 20

ในส่วนของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะลดและยกเลิกภาษีศุลกากรกับสินค้าที่ส่งออกจากไทย เพิ่มเติมจาก FTA ที่มีอยู่ในสินค้า เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง น้ำผลไม้ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

นอกจากนี้ ความตกลง RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่สมาชิก อาทิ สินค้าที่เน่าเสียง่ายจะได้รับการตรวจปล่อยพิธีการศุลกากรภายใน 6 ชั่วโมง และสินค้าปกติภายใน 48 ชั่วโมง และการขยายโอกาสในธุรกิจบริการของไทยสู่ประเทศสมาชิก RCEP เช่น ก่อสร้าง ค้าปลีก สุขภาพ ภาพยนตร์และบันเทิง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ประกอบการการค้าออนไลน์มีตลาดกว้างขึ้น มีกฎเกณฑ์กติกาชัดขึ้น และผู้บริโภคของไทยจะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จากการนำเข้าสินค้าผ่านระบบออนไลน์ จากประเทศสมาชิก RCEP

ขณะเดียวกันไทยจะได้รับประโยชน์ในการที่มีผู้มาลงทุน สามารถส่งออกสินค้าบริการไปยังสมาชิกได้มากขึ้น อีกทั้งไทยจะมีทางเลือกในการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนจากประเทศสมาชิกที่มีความหลากหลายขึ้น

ผู้ประกอบการควรเตรียมตัวอย่างไร ?

เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ความตกลงฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยและสมาชิก RCEP จากวิกฤตโควิด-19

ซึ่งก่อนที่ความตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้ในปีหน้านี้ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ควรเร่งเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้าต่าง ๆ ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศสมาชิก RCEP เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด RCEP อย่างเต็มที่

ด้าน นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผู้ประกอบการต้องสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีให้สินค้า และบริการ และต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ไม่เพียงผู้ประกอบการต้องพัฒนาสินค้าและบริการตัวเองเท่านั้น ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยสนับสนุนการส่งออกไปยังตลาดต่าง ๆ ตลาดใหม่ให้มากขึ้น และหาช่องทางการจำหน่าย เช่น โมเดิร์นเทรด งานแสดงสินค้า และการค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 10 ธันวาคม 2564

กระทรวงอุตสาหกรรม แจกรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี 2564

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงจะจัดพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี 2564 โดยได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันที่ 13 ธ.ค.นี้ ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการ ที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เช่นด้านคุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำให้เกิดการพัฒนามาตรฐาน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า งาน ดังกล่าวมีการมอบรางวัลรวม 15 ประเภทรางวัล คือ

1.รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 1 รางวัล ที่คัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท

2.รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น แบ่งออกเป็น 9 ประเภท อาทิ ประเภทการเพิ่มผลผลิต, ประเภท การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, ประเภทการบริหารความปลอดภัย

3.รางวัลเอสเอ็มอีย่อมดีเด่น แบ่งเป็น 5 ประเภท อาทิ ประเภทการบริหารจัดการ, ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์, ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ทั้งนี้ มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก 332 ราย แบ่งเป็นรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 6 ราย รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นทั้ง 14 ประเภท รวม 326 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลรวม 63 ราย.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สกัดหิมะดำ-PM 2.5 คลุมเมือง! สมาคมไร่อ้อยย้ำเกษตรกรตัดสดงดเผา-ฉีดวัคซีน/ตรวจ ATK ก่อนขนเข้าโรงงาน

สมาคมไร่อ้อยกำหนดมาตรการเข้มก่อนฤดูกาลเปิดหีบ 16 ธันวาคมปีนี้ ย้ำชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดลดเผาป้องกันหิมะดำ-PM 2.5 คุมเข้มคนขับรถบรรทุกอ้อยต้องฉีดวัคซีนโควิด 2 เข็ม ตรวจ ATK ก่อนเข้าพื้นที่โรงงาน

นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดกำแพงเพชรได้กำหนดวันเปิดหีบแล้วในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ซึ่งปีนี้ราคาอ้อยอยู่ที่ตันละ 1,070 บาท

ขณะเดียวกัน สมาคมฯ ก็ยังคงรณรงค์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 โดยรัฐบาลยังได้สนับสนุนการตัดอ้อยสดไปอีก 2 ฤดูหีบ คือ 2564/65 และ 2565/66 ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยจะได้รับการช่วยเหลือเงินตันละ 120 บาท ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี และโรงงานยังประกันราคาอีกตันละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 ปี

อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ ได้เน้นย้ำเกษตรกรชาวไร่อ้อยด้วยว่า อ้อยไฟไหม้จะถูกหักตันละ 30 บาท, อ้อยตัดสดสกปรกจะถูกหักตันละ 20 บาท, อ้อยตัดสดกาบใบสะอาด เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มตันละ 120 บาท แต่ถ้าเกษตรกรรายใดที่ตัดอ้อยสดสกปรก นอกจากจะถูกตัดราคาแล้วยังจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือตันละ 120 บาทด้วย

ในส่วนของการขนส่งอ้อยให้เป็นไปตามระเบียบ 19 ข้อ โดยเฉพาะการบรรทุกอ้อยให้มีความสูงจากพื้นถนนไม่เกิน 3.80 เมตร มีความยาวที่ยื่นจากขอบตัวถังด้านหลังไม่เกิน 2.30 เมตร มีสายรัด 2 เส้น ติดสัญลักษณ์ที่มองเห็นชัดเจน สำหรับอ้อยที่ตัดเป็นท่อนให้มีผ้าใบคลุมด้านบนของรถและผูกมัดให้แน่น เพื่อการขนส่งที่ปลอดภัย

ด้านมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางสมาคมฯ ได้กำหนดให้คนขับรถบรรทุกอ้อยต้องผ่านการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม พร้อมตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือตรวจ ATK ก่อนเปิดหีบเป็นเวลา 7 วัน และต้องแสดงเอกสารผลตรวจ ATK ก่อนนำอ้อยเข้าโรงงาน หากไม่ปฏิบัติตามทางโรงงานจะไม่อนุญาตให้นำรถบรรทุกอ้อยเข้าภายในโรงงานโดยเด็ดขาด

จาก https://mgronline.com   วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กรมเจรจาฯ ย้ำผู้ประกอบการเตรียมใช้ประโยชน์ RCEP

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตือนผู้ประกอบการเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 ทั้งศึกษากฎเกณฑ์ทางการค้า อัตราภาษี กฎถิ่นกำเนิดสินค้าให้ชัดเจน พร้อมชี้เป้าศึกษาความตกลงฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบ E-book ชมสัมมนา และการอบรมเกี่ยวกับ RCEP ย้อนหลังเพื่อเพิ่มพูนความรู้

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ได้ให้สัตยาบันครบตามจำนวนที่ความตกลงกำหนดไว้ ได้แก่ อาเซียน 6 ประเทศ (บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) และออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ส่งผลให้ความตกลง RCEP จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 ม.ค. 2565 ทันที กรมฯ จึงเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเตรียมใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP โดยศึกษาทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้า ติดตามความต้องการของตลาด RCEP เพื่อวางแผนธุรกิจ และพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในตลาด RCEP รวมทั้งศึกษาอัตราภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง RCEP สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้า และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อเลือกใช้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถศึกษาความตกลง RCEP ฉบับสมบูรณ์ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ในรูปแบบ E-Book และติดตามข่าวการจัดสัมมนา ฝึกอบรม ได้ที่เว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.dtn.go.th รวมทั้งรับชมการสัมมนาย้อนหลังเกี่ยวกับความตกลง RCEP ผ่านช่องทาง YouTube “DTNChannel” หรือสแกน QR code เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความตกลง RCEP

นางอรมนกล่าวว่า ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง RCEP สมาชิกจะยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทยจำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ ซึ่งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะลดและยกเลิกภาษีศุลกากรกับสินค้าที่ส่งออกจากไทยเพิ่มเติมจาก FTA ที่มีอยู่ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง น้ำผลไม้ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ

นอกจากนี้ ความตกลง RCEP ยังจะช่วยขยายโอกาสในธุรกิจบริการของไทย เช่น ก่อสร้าง ค้าปลีก สุขภาพ ภาพยนตร์และบันเทิง เป็นต้น

สำหรับความตกลง RCEP เป็น FTA ฉบับที่ 14 ของไทย และเป็น FTA ฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน คิดเป็น 30.2% ของประชากรโลก มี GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 33.6% ของ GDP โลก และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก

โดยในช่วง 10 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ต.ค.) การค้าของไทยกับกลุ่มประเทศ RCEP มีมูลค่ารวม 2.56 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไป RCEP มูลค่า 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และไทยนำเข้าจาก RCEP มูลค่า 1.36 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

จาก https://mgronline.com   วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564

‘เงินบาท’ วันนี้เปิด‘แข็งค่า’ ที่32.50 บาทต่อดอลลาร์

“เงินบาท”เปิดตลาดวันนี้(8ธ.ค.) แข็งค่าที่ 33.61 บาทต่อดอลลาร์ “กรุงไทย” ชี้ตลาดเปิดรับความเสี่ยงหลังคลายกังวลโอมิครอน หนุนให้ นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาเป็นฝั่งซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทยมากขึ้นได้ ดันเงินบาทแข็งค่าขึ้น มองกรอบเงินบาทวันนี้ 33.50-33.70 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้(8ธ.ค.)ที่ระดับ 33.61 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.70 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50-33.70 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดอาจช่วยหนุนให้ นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาเป็นฝั่งซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทยมากขึ้นได้ และอาจพอช่วยหนุนให้ เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ทั้งนี้ เงินอาจจะยังไม่แข็งค่าไปมาก จนกว่าจะเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินของผู้เล่นต่างชาติ ที่จะสะท้อนผ่านยอดซื้อสุทธิบอนด์ระยะสั้น (นับตั้งแต่ตลาดปรับฐานจากความกังวล โอมิครอน นักลงทุนต่างชาติยังคงเป็นฝั่งผู้ขายสุทธิบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ) นอกจากนี้ แนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.50-33.60 บาทต่อดอลลาร์ จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้าบางส่วน

ดังนั้น ในระยะนี้ เราประเมินว่า ตลาดค่าเงินยังมีแนวโน้มผันผวนสูงอยู่ ผู้ประกอบการควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและควรใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น

สำหรับวันนี้ ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.00% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการระบาด โอมิครอน ขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อในอินเดียก็ไม่ได้รุนแรงมากนัก จนทำให้ RBI จำเป็นต้องเร่งรีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด

ผู้เล่นในตลาดการเงินเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น (Risk-On) หนุนโดยมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ต่างเชื่อว่าการระบาดของ โอมิครอน อาจจะไม่ได้มีความรุนแรงจนน่ากังวลและวัคซีนที่มีในปัจจุบันยังสามารถรับมือได้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการปรับสถานะป้องกันความเสี่ยงพอร์ต (Hedge positions) อาทิ การเข้าซื้อ Put Option หรือ การ Short หุ้น โดยเฉพาะ หุ้นเทคฯ รวมถึงหุ้นกลุ่ม Innovation ซึ่งนักลงทุนบางส่วนได้เพิ่มสถานะ hedges จำนวนมากในช่วงที่ตลาดปรับฐานหนัก ทำให้เมื่อตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดและราคาสินทรัพย์เริ่มรีบาวด์ขึ้น นักลงทุนกลุ่มดังกล่าวจะต้องปรับลดสถานะ Hedge ลง และกลับมาเป็นฝั่งซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเช่นกัน

การเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาดได้ส่งผลให้ ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq พุ่งขึ้นกว่า +3.03% ตามด้วยดัชนี S&P500 ปิดตลาด +2.07% โดยมีแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นเทคฯ เป็นสำคัญที่ช่วยหนุนให้ดัชนีทั้งสองปรับตัวขึ้น ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ก็พลิกกลับมาปรับตัวขึ้นกว่า +3.36% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงของหุ้นกลุ่มเทคฯ อาทิ ASML +8.3%, Adyen +6.3%, Infineon Tech. +6.0% นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Cyclical อาทิ ยานยนต์ และสินค้าแฟชั่นก็ปรับตัวขึ้นได้ดีเช่นกัน Volkswagen +8.0%, Kering +5.7%

ทั้งนี้ แม้ว่า sentiment ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวดีขึ้น แต่เรามองว่าอาจเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปว่า การปรับฐานของตลาดอาจจบแล้ว เนื่องจากการแพร่ระบาดของ โอมิครอน ยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ โอมิครอน ยังต้องรอการยืนยันจากบริษัทผลิตวัคซีนว่าวัคซีนปัจจุบันยังสามารถรับมือกับ โอมิครอน ได้ โดยคาดว่าข้อมูลดังกล่าวอาจจะมีการรายงานภายใน 1 สัปดาห์ และนอกเหนือจากประเด็นการระบาดของ โอมิครอน แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า ก็อาจส่งผลให้ตลาดมีการย่อตัวลงมาได้บ้าง ซึ่งต้องรอลุ้นผลการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า อนึ่ง เรามองว่า หากตลาดหุ้นมีการปรับฐานอีกครั้ง ก็จะเปิดโอกาสในการเข้าทยอยสะสมหุ้นที่น่าสนใจได้

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาดได้หนุนให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นราว 3bps แตะระดับ 1.47% อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า แม้ตลาดหุ้นจะรีบาวด์ขึ้นมาพอสมควร แต่บอนด์ยีลด์กลับไม่ได้ปรับตัวขึ้นไปมาก (บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 1.66% ก่อนตลาดปรับฐานหนักจากความกังวลการระบาดของ โอมิครอน) สะท้อนว่าผู้เล่นบางส่วนยังคงมีความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์การระบาด และเลือกที่จะถือสินทรัพย์ปลอดภัยไว้ก่อน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ผันผวน ก่อนที่จะย่อตัวลงเล็กน้อยตามสภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้แกว่งตัวในระดับ 96.36 จุด ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังไม่รีบปรับลดสถานะถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ส่งผลให้ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 113.4 เยนต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ดี การย่อตัวลงเล็กน้อยของเงินดอลลาร์ ได้หนุนให้ ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นสู่ระดับ 1,785 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ เรามองว่า upsides ของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัด หลังตลาดมีแนวโน้มเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มเติมและจะเหลือเพียงปัจจัยความกังวลเงินเฟ้อที่อาจพอช่วยหนุนให้ราคาทองคำไม่ปรับฐานหนักได้

อนึ่ง สินทรัพย์ในตลาดที่ปรับตัวขึ้นรุนแรงเช่นเดียวกับหุ้น คือ ราคาน้ำมันดิบ โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้นเกือบ 3% สู่ระดับ 75.4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หนุนโดยมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ประเมินว่า ความต้องการใช้พลังงานอาจไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โอมิครอนมากนัก อีกทั้ง กลุ่ม OPEC+ ก็สามารถปรับลดกำลังการผลิตหรือยกเลิกการเพิ่มกำลังการผลิตได้ ตามสถานการณ์ของตลาดน้ำมันหรือความต้องการใช้พลังงาน นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ยังได้ช่วยหนุนให้ สกุลเงิน Commodities-linked อย่าง แคนาดาดอลลาร์ (CAD) ก็แข็งค่าขึ้น แตะระดับ 1.265 CAD ต่อดอลลาร์เช่นกัน

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มาตรการภาษีคาร์บอนของ EU ต่อผู้ประกอบการไทย

ผู้ประกอบการไทย ต้องเร่งรับมือนโยบายการเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในอีก 1 ปีข้างหน้า

บทความโดย...ชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

สภาพสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก ทำให้เกิดความตระหนักถึงการป้องกันและรักษาสภาพแวดล้อม รวมถึงภาคธุรกิจและผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าเพื่อป้อนสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดที่ส่งออกไปยังกลุ่ม EU หรือสหภาพยุโรปที่ให้ความสำคัญต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเป็นภูมิภาคแรกๆ ของโลกที่คำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ EU มีนโยบายการเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในอีก 1 ปีข้างหน้า หรือปี พ.ศ. 2566 นี้ หรืออีก 1 ปีจากนี้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ถึงกลุ่มสินค้าไทยส่งออกที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมรับมือไว้ดังนี้

• กลุ่มสินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนสูง สินค้ากลุ่มนี้จะถูกต้องตระหนักอย่างสูงและจะถูกเพ็งเล็งก่อน โดยจะเริ่มใช้ในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยสินค้านำร่อง 5 รายการ เช่น ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็ก และอะลูมิเนียม

• กลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผู้ประกอบการไทยที่ต้องใช้พลาสติกเป็นองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์อาจต้องใช้วัสดุอื่นมาทดแทน โดย EU เริ่มมาตรการห้ามใช้มาตั้งแต่ 3 ก.ค. 2564 ซึ่งประกอบด้วยพลาสติก 10 ชนิด คือ ก้านสำลีเช็ดหู ช้อน/ส้อม/มีด/จาน/หลอด ลูกโป่งและไม้เสียบลูกโป่ง ภาชนะใส่อาหาร ถ้วยเครื่องดื่ม ภาชนะบรรจุเครื่องดื่ม ก้นบุหรี่ ถุงพลาสติก แพ็คเก็ตและที่ห่อ ทิชชู่เปียกและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย

• กลุ่มสินค้าอาหาร ไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารทั้งวัตถุดิบและอาหารแปรรูปรายสำคัญของ EU และของโลก จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมด้านห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตร ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในทุกช่องทาง และแม้ EU จะยังไม่ได้จัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าในหมวดสินค้าอาหาร แต่หลายประเทศในกลุ่มนี้ ก็มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับสินค้าเนื้อสัตว์ซึ่งมีการปล่อยคาร์บอนจากการทำฟาร์มในอัตราที่สูงกว่าผัก ผลไม้ อาหารสุขภาพและอาหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปแล้ว จึงมีโอกาสที่มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนจากการนำเข้าสินค้าอาหารจะถูกนำมาใช้ในช่วงถัด

นอกจากตลาด EU แล้วยังมีตลาดสหรัฐฯ ที่กำลังเร่งผลักดันให้โลกก้าวสู่การผลิตและการบริโภคที่ลดคาร์บอนในอนาคตอันใกล้ซึ่งผู้ประกอบการต้องได้รับผลกระทบในไม่ช้า แม้จะยังไม่ส่งกระทบการต่อส่งออกของไทยในปี 2565 ที่จะถึงนี้ แต่ผลกระทบทางอ้อมจะค่อยๆ เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมและหาแนวทางเพื่อรักษาตลาด ทั้งการปรับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอน ในอีก 1 ปีข้างหน้านี้ ส่วัสดีปีใหม่ 2565 ครับ

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ครม.รับทราบผลโครงการช่วยชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสดลดฝุ่น PM 2.5-ลดอ้อยไฟไหม้

ครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสดเพื่อ ลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ว่า ครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่นPM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2563-2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โครงการนี้เป็นการส่งเสริมการให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานแทนการตัดอ้อยไฟไหม้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่น PM 2.5

โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 120 บาทต่อตัน ซึ่งโครงการได้จ่ายเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 รวม 5,933 ล้านบาท (จากวงเงินโครงการทั้งสิ้น 6,065 ล้านบาท) มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ประโยชน์รวม 122,613 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงานรวม 49.4 ล้านตัน

เมื่อเปรียบข้อมูลในฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 พบว่า การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ส่งผลให้พื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยไฟไหม้ลดลงจาก 5.71 ล้านไร่ เหลือ 2.87 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 23.23 และปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงจาก 37.18 ล้านตัน เหลือ 17.61 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 23.23

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าว ยังจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดของชาวไร่อ้อยและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วย

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มิตรผล รับฤดูกาลเปิดหีบอ้อยใทม่ ทำตลาดผ่านชาวไร่-คู่ค้าธุรกิจ

มิตรผล เปิดตลาดผ่านกลยุทธ์ใหม่ในปี65 จัดแคมเปญใหญ่ผ่านชาวไร่คู่สัญญาและผู้รับเหมาขับรถบรรทุก ตัดอ้อยสด รับสิทธิ์ลุ้นโชคชิงรางวัล กว่า 20 ล้านบาท รับฤดูกาลเปิดหีบอ้อย

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหารกลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า กลุ่มมิตรผล ตั้งเป้ารับอ้อยสดเข้าหีบสูงถึง 95% ในฤดูหีบอ้อยปี 2564/2565 นี้ เพื่อเป้าหมายการสร้างอ้อยสด 100% ในปีต่อไป โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล

โดยในปีที่ผ่านมา กลุ่มมิตรผลมีอ้อยสดเข้าหีบจำนวนกว่า 10 ล้านตัน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 127,000 ตันคาร์บอนต่อปี และนอกจากให้ความรู้เกี่ยวกับการทำไร่อ้อยสมัยใหม่และรณรงค์ให้ชาวไร่ปรับเปลี่ยนมาตัดอ้อยสด ลดการเผา ที่กลุ่มมิตรผลทำมาอย่างต่อเนื่องนั้น  ซึ่งบริษัทยังสร้างแรงจูงใจใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้ชาวไร่ตัดอ้อยสดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ลุ่มมิตรผล ขึ้นอันดับ3 โลก ผู้นำด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

โรงงานน้ำตาล ดีเดย์ 7 ธ.ค. เปิดหีบอ้อยประจำปี 64/65 คาดผลผลิต 90 ล.ตัน

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุชีวมวลทางการเกษตร เช่น ใบอ้อยที่ได้จากการตัดอ้อยสด ด้วยการรับซื้อเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้

ล่าสุด บริษัทเตรียมกิจกรรมการตลาดผ่านแคมเปญ “อ้อยสดมิตรผลให้โชค จับแหลก แจกจริง ทุกวันพฤหัส” รองรับกลุ่มเป้าหมายหลัก พันธมิตรธุรกิจ ชาวไร่คู่สัญญาและผู้รับเหมาขับรถบรรทุกสามารถร่วมลุ้นโชคในแคมเปญนี้ได้ เพียงตัดอ้อยสดส่งโรงงาน รับสิทธิ์ไปลุ้นทันที เพื่อร่วมชิงโชคลุ้นรางวัลใหญ่ต่างๆ โดยจะจับรางวัลทุกวันพฤหัสบดีหลังเปิดหีบอ้อย โครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 09 ธันวาคม 2564 – 24 มีนาคม 2565 

โดยรายละเอียดการร่วมแคมเปญฯ สอบถามผ่านด้านอ้อย โรงงานน้ำตาลมิตรผลทั้ง 7 จังหวัด

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เปิดหีบอ้อยแล้ว! เกษตรกรเร่งตัดอ้อยส่งรง.คึกคัก ส่วนชุมชนโดยรอบยังรอเงินเยียวยาผลกระทบฝุ่น-ละออง ชี้ผ่านมาเป็นปี ไม่มีอะไรคืบ

เปิดหีบอ้อยแล้ว! เกษตรกรเร่งตัดอ้อยส่งรง.คึกคัก ส่วนชุมชนโดยรอบยังรอเงินเยียวยาผลกระทบฝุ่น-ละออง ชี้ผ่านมาเป็นปี ไม่มีอะไรคืบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กำหนดวันเปิดหีบอ้อยประจำปี 2564/65 ในวันที่ 7 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไปนั้น จากการลงพื้นที่โรงงานน้ำตาลพิมาย หรือ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด เลขที่ 111 หมู่ 18 ต.หนองระเวียง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่อำเภอพิมายและใกล้เคียง ต่างเร่งตัดอ้อยที่สภาพและอายุเหมาะสม ส่งขายให้กับโรงงานทันที โดยโรงงานจะทดรองจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่อ้อยไปก่อน ที่ราคา 1,070 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. โดยมีค่าความหวานอ้อยเพิ่มเติมอีก 64.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. เพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้มีรายได้ สำหรับนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีพ และประกอบอาชีพปลูกอ้อยต่อไป สำหรับฤดูการผลิตปี 2564/65 ฝ่ายโรงงานจะไม่ดำเนินการหักเงินค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย และอาจถูกชาวไร่ฟ้องร้องได้

ในขณะที่ชุมชนรอบโรงงานน้ำตาลพิมาย ที่เคยได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง จนกระทั่งมีการฟ้องร้องเป็นข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านและโรงงานน้ำตาลไปเมื่อปีที่แล้ว เบื้องต้น มีการแก้ปัญหาด้วยการนำตาข่ายมาขึงโดยรอบบริเวณโรงงาน โดยเฉพาะชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ และจากการสอบถามนางสุภาพ แก้วประเสริฐ เปิดเผยว่า ชาวบ้านก็ยังกังวล ไม่ทราบว่า ช่วงที่ลมเปลี่ยนทิศทาง ตาข่ายเหล่านี้จะสามารถดักกรองฝุ่นละอองได้ดีขนาดไหน ส่วนเรื่องการเยียวยาผลกระทบ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาในขั้นตอนของชั้นอัยการ หลังจากระยะเวลาผ่านมาเกือบ 1 ปี ซึ่งถ้าภายในต้นปีหน้า ชาวบ้านยังไม่ได้ข้อสรุปการช่วยเหลือเยียวยาจากทางโรงงานอย่างเป็นรูปธรรม คงต้องดำเนินการทางกฎหมาย โดยไม่ผ่านขั้นตอนการไกล่เกลี่ยเจรจาอีกต่อไป

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

พาณิชย์ลุยเจรจา10ชาติขับเคลื่อนการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ได้ให้ความเห็นชอบแผนการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรี กับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยประจำปี 2565 แล้ว และได้มอบให้กรมเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม JTC กับคู่ค้าสำคัญ กว่า10 ประเทศ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และรูปแบบปกติ เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนการค้า การแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

ตามกำหนดการ จะมีการประชุม JTC ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เริ่มจากการประชุม JTC ไทย-อินโดนีเซีย เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน JTC ไทย-ภูฏาน เพื่อหารือความร่วมมือในสาขาท่องเที่ยว เกษตร หัตถกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือบก และจากนั้นจะเป็นการ JTC กับมัลดีฟส์ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ กัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม รัสเซีย และยูเครน เพื่อหารือขยายการค้า การลงทุน ส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยี เกษตร อาหาร ประมง การลงทุน การค้าดิจิทัล และการท่องเที่ยว

ขณะเดียวกัน ไทยจะเข้าร่วมการประชุม JTC ที่ประเทศคู่ค้าเป็นเจ้าภาพ ทั้งการประชุมคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยการค้าและการลงทุนไทย-จีน เพื่อหารือเรื่องการเปิดด่านท่าเรือกวนเหล่ย การขยายการนำเข้า-ส่งออกสินค้าการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (การประชุม JC เศรษฐกิจ ระดับรองนายกรัฐมนตรี) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และการประชุม JTC ไทย-บังกลาเทศ เพื่อหารือความร่วมมือในสาขาเกษตร ประมง บริการสุขภาพ ปศุสัตว์ และความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA เป็นต้น

“การประชุม JTC ที่จะเกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้หารือกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้า รวมถึงได้หาแนวทางส่งเสริมการค้าและการลงทุนการอำนวยความสะดวกทางการค้าและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสขยายตลาดและสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าส่งออกของไทยในต่างประเทศได้มากขึ้น”นางอรมนกล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สรท.จี้แก้ 6 ปัญหาใหญ่ เคลื่อนส่งออกไทยปี 65 ฝ่าวิกฤติ“โอไมครอน”

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยกำลังขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยเร่งกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว การลงทุน การบริโภคของประชาชนให้กลับมาฟื้นตัวหลังเปิดประเทศ เสริมภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ล่าสุดสถานการณ์โควิด-19 ยังถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1

เฉพาะอย่างยิ่งโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ที่เวลานี้แพร่ระบาดแล้วในเกือบ 40 ประเทศทั่วโลก หากเอาไม่อยู่เศรษฐกิจโลกอาจกลับมาชะลอตัว จากหลายประเทศกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง

ท่ามกลางสถานการณ์สุ่มเสี่ยงนี้นายชัยชาญ  เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.)ที่มีสมาชิกเป็นผู้ส่งออกในสินค้าหลัก ๆ ของประเทศ ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึง ทิศทางแนวโน้มการส่งออกไทยในปี 2565 ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออก รวมถึงปัญหา/อุปสรรคของการทำธุรกิจที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข ดังรายละเอียด

นายชัยชาญ กล่าวว่า การส่งออกของไทยในปี 2564 คาดจะขยายตัวได้ที่ 12-14% ซึ่งถือมีความเป็นไปได้สูงมาก แต่หากจะขยายตัวได้ที่ 15-16% ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำลังลุ้นอยู่นั้น มองว่าก็มีความเป็นไปได้ หากใน 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้สามารถส่งออกได้ที่ 2.17-2.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน นอกจากนี้ต้องไม่มีอุปสรรคในเรื่อง 1.การบริหารด้านการขนส่งระหว่างประเทศ จากปัจจุบันการหาระวางเรือและตู้คอนเทนเนอร์ยังมีการขาดแคลนอยู่ ทำให้การส่งออกต้องเลื่อนและล่าช้า

2.การขาดแคลนแรงงานหลังจากมีการเปิดประเทศ แรงงานในภาคบริการและขนส่งมีความต้องการมากขึ้นทำให้แรงงานในระบบขาดแคลนอย่างมากในภาคการผลิต โดยคาดการณ์ยังขาดแคลนประมาณ 4-5 แสนคน ทำให้การผลิตไม่เป็นไปอย่างคาดหวัง โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและสิ่งทอที่ใช้แรงงานเข้มข้น

6 ปัจจัยเสี่ยงศก.-ส่งออกไทย

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยมากที่สุดช่วงจากนี้จนถึงปีหน้า คือ1.การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ระลอกใหม่ในหลายพื้นที่ อาทิ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และในหลายพื้นที่ของโลก หากสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้น และยืดเยื้อเอาไม่อยู่ และหลายประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทยกลับมาล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้ง อาจส่งผลต่อการบริโภค และการนำเข้าที่ลดลงได้

2.ปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทานที่ยืดเยื้อ จากการขาดแคลนตู้สินค้าซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ค่าระวางเรือทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2565 การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในหลายอุตสาหกรรมการผลิตส่งออก และต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกอย่าง กดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นตามมา ส่งผลกระทบต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภค

3.วิกฤติพลังงานของประเทศจีนที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก 4.สถานการณ์การเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถในการชำระหนี้ และความคล่องตัวของเงินทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ SME มีจำกัด ทำให้ภาคการบริโภคของเอกชนยังคงซบเซา

5.การขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตส่งออก อีกทั้งผู้ประกอบการจะต้องจ่ายค่านำเข้าแรงงานสูงมากขึ้นจากเดิมประมาณ 15,000 บาทต่อคน จะปรับเพิ่มเป็น 30,000 บาทต่อคน เนื่องจากต้องจ่ายค่าตรวจหาเชื้อโควิด และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในระหว่างที่แรงงานต่างด้าวกักตัว และ 6.เงินเฟ้อ จากการที่ต้นทุนสินค้าและราคาของต่าง ๆ ได้ปรับตัวสูงขึ้น 10-20% ทำให้ในปี 2565 ต้องติดตามอัตราเงินเฟ้อของไทย ขณะที่ค่าแรงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

“ในปี 2565 ในเบื้องต้นคาดจีดีพีไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 2% บนสมมติฐานโอไมครอนสามารถเอาอยู่และไม่ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงประเทศไทยต้องกลับมาล็อกดาวน์อีก ส่วนการส่งออกเบื้องต้นคาดจะขยายตัวได้ที่ 5% จากฐานตัวเลขส่งออกปี 2564 ที่สูง รวมถึงการส่งออกของโลกหลังโควิดกลับมาแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น”

6ปัญหาภาคธุรกิจให้เร่งแก้

นอกจากนี้ยังมีปัญหาและอุปสรรคของการทำธุรกิจที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไข หรือช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนได้แก่ 1.ค่าระวางเรือยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องในปี 2565 โดยเฉพาะเส้นทางสหภาพยุโรป และอเมริกา 2.การขาดแคลนแรงงานในภาคการอุตสาหกรรม ก่อสร้างและบริการ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทั่วประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย 2.4 ล้านคน จากการสำรวจความต้องการแรงงานต่างด้าวของนายจ้างทั้งประเทศ พบว่าต้องการแรงงานต่างด้าว 4-5 แสนคน เป็นที่มาของการจัดทำ MOU นำเข้าแรงงาน

3.รัฐต้องผลักดันแรงงานเข้ามาในระบบให้มากขึ้น รองรับการเติบโตของการส่งออก ให้ยอดส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย โดยขยายเวลาให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือกัมพูชา เมียนมา และ สปป.ลาว ในประเทศขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง จากที่ผ่านมาเข้าระบบเพียง 1.6-2 แสนคน นอกจากนี้ต้องการให้เพิ่มรูปแบบการจ้างงานลักษณะพาร์ตไทม์ ระยะเวลาจ้างไม่ต่ำ 4 ชั่วโมง เป็นต้น

4.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาสินค้ามีความผันผวนต่อเนื่องในปีหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5.ภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป สูงขึ้นเป็นเท่าตัวรอบ 5-10 ปี ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจสร้างปัญหาเชิงระบบทั้งต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก หากปัญหาชะงักงันอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตที่ต้องปรับราคาสินค้าขึ้น

5.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 และการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสโอไมครอน(Omicron)  หากไม่สามารถควบคุมได้อาจส่งผลกระทบรุนแรงเหมือนเช่นตอนที่พบการติดเชื้อโควิดช่วงแรก   และ 6.กระบวนการทำงานภาครัฐยังไม่สอดคล้องกับ New Normal อาทิ ความล่าช้าในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของผู้ประกอบการ เหล่านี้คือปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข

ข้อเสนอแนะอื้อช่วยส่งออก

ส่วนข้อเสนอแนะรัฐบาลในการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในปี 2565 ที่สำคัญ เช่น เร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีกับคู่ค้าสำคัญ อาทิ Thai-EU, เจรจากับประเทศจีนเพื่อให้สินค้าไทยสามารถ Transit ทางรางเพื่อส่งสินค้าจากไทยไปยุโรปผ่านระบบรถไฟของจีนตามเส้นทาง BRI (Belt Road Initiative), ส่งเสริมให้เกิดอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มของไทย, รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทที่ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันส่งออกสินค้าไทย, ติดตามและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ให้เร่งรัดการนำเข้าแรงงานต่างด้าวและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว, ส่งเสริมการลงทุน วิจัย พัฒนา ตามกรอบ BCG และ SDGs, ปรับปรุงกฎหมายแรงงานให้รองรับกับการทำงานที่บ้าน(WFH) และ Part Time และเร่งรัตให้หน่วยงานภายในประเทศมีความพร้อมในการออกใบรับรองที่สอดคล้องกับมาตรการทางการค้า เป็นต้น

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564

“จุรินทร์” เห็นชอบแผนประชุม JTC ปี’65 ลุยเจรจา 10 ประเทศ

“จุรินทร์” เห็นชอบแผนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ของไทยกับคู่เจรจา 10 ประเทศ ที่จะเริ่มตั้งแต่ปลายปี’64 จนถึงปี’65

วันที่ 6 ธันวาคม 2564 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ความเห็นชอบแผนการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรี กับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ประจำปี 2565 แล้ว และได้มอบให้กรม เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม JTC กับคู่ค้าสำคัญ กว่า 10 ประเทศ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และรูปแบบปกติ เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนการค้า การแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

ทั้งนี้ ตามกำหนดการ จะมีการประชุม JTC ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เริ่มจากการประชุม JTC ไทย-อินโดนีเซีย เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน JTC ไทย-ภูฏาน เพื่อหารือความร่วมมือในสาขาท่องเที่ยว เกษตร หัตถกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือบก

และจากนั้นจะเป็นการ JTC กับมัลดีฟส์ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ กัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม รัสเซีย และยูเครน เพื่อหารือขยายการค้า การลงทุน ส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยี เกษตร อาหาร ประมง การลงทุน การค้าดิจิทัล และการท่องเที่ยว

ขณะเดียวกัน ไทยจะเข้าร่วมการประชุม JTC ที่ประเทศคู่ค้าเป็นเจ้าภาพ ทั้งการประชุมคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยการค้าและการลงทุนไทย-จีน เพื่อหารือเรื่องการเปิดด่านท่าเรือกวนเหล่ย การขยายการนำเข้า-ส่งออกสินค้า การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (การประชุม JC เศรษฐกิจ ระดับรองนายกรัฐมนตรี)

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และการประชุม JTC ไทย-บังกลาเทศ เพื่อหารือความร่วมมือในสาขาเกษตร ประมง บริการสุขภาพ ปศุสัตว์ และความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA เป็นต้น

“การประชุม JTC ที่จะเกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้หารือกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้า รวมถึงได้หาแนวทางส่งเสริมการค้าและการลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้าและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสขยายตลาดและสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าส่งออกของไทยในต่างประเทศได้มากขึ้น”

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564

‘เงินบาท’ วันนี้เปิด‘ทรงตัว’ ที่ 33.88 บาทต่อดอลลาร์

“เงินบาท”เปิดตลาดวันนี้(3 ธ.ค.) ทรงตัวระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 33.88 บาทต่อดอลลาร์ “กรุงไทย”ชี้ ตลาดหวังโอไมครอนแพร่เชื้อเร็วแต่ไม่รุนแรงเท่าเดลต้า เริ่มกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น มองกรอบเงินบาทวันนี้33.75-33.95 บาทต่อดอลลาร์ บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้(3ธ.ค.)ที่ระดับ  33.88 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวในระดับอ่อนค่าสุดรอบ 2 เดือน จากระดับปิดวันก่อนหน้า มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.75-33.95 บาทต่อดอลลาร์

ผู้เล่นในตลาดการเงินเริ่มกลับมาทยอยเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หนุนโดยมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ต่าง คาดหวังว่า โอไมครอน  แม้จะแพร่ระบาดได้เร็วกว่า เดลต้า แต่ก็อาจจะไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าและวัคซีนที่มีในปัจจุบันยังสามารถรับมือได้

มุมมองดังกล่าวทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ราคาปรับฐานลงมาพอสมควรจากความกังวลการระบาดของโอไมครอน  ก่อนหน้า (Buy on Dip) ส่งผลให้ ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นขนาดเล็ก Russell 2000 พุ่งขึ้นกว่า +2.5% ตามด้วยดัชนี Dowjones +1.8% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มการบินและการเดินทาง อาทิ Boeing +7.6% ส่วน S&P500 ปิดตลาด +1.42%

ในขณะที่ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq รีบาวด์ขึ้นมาเพียง +0.83%  เนื่องจากหุ้นเทคฯ ยังคงถูกกดดันโดยมุมมองของประธานเฟดรวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ต่างออกมาสนับสนุนการเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด อาทิ การเร่งลดคิวอี ท่ามกลางความกังวลของเฟดว่าเงินเฟ้ออาจเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงได้นานกว่าที่เคยประเมินไว้

อย่างไรก็ดี ในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ปรับตัวลงต่อ -1.7% สะท้อนว่าตลาดยังคงไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวจากการระบาดของ Delta ณ ปัจจุบัน รวมถึงความเสี่ยงการระบาดของ Omicron ซึ่งล่าสุดส่งผลให้ รัฐบาลเยอรมนีต้องใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน อนึ่ง ตลาดหุ้นยุโรปยังเผชิญแรงกดดันจากการเทขายหุ้นกลุ่มเทคฯ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด ASML -5.8%, Adyen -4.0%, Infineon Tech. -3.9%

ทั้งนี้ แม้ว่า sentiment ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจฟื้นตัวดีขึ้นตามตลาดสหรัฐฯ แต่เรามองว่า ยังเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปว่า การปรับฐานของตลาดอาจจบแล้ว เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Omicron ยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ Omicron ยังมีอยู่ไม่มาก ซึ่งอาจต้องรอการยืนยันจากบริษัทผลิตวัคซีนว่าวัคซีนปัจจุบันยังสามารถรับมือกับ Omicron ได้ โดยคาดว่าข้อมูลดังกล่าวอาจจะมีการรายงานภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า อย่างไรก็ดี เรามองว่า หากตลาดหุ้นมีการปรับฐานหนักสู่แนวรับหลักอีกครั้ง ก็จะเปิดโอกาสในการเข้าทยอยสะสมหุ้นที่น่าสนใจได้

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ ภาพตลาดเริ่มทยอยเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มเฟดพร้อมเร่งลดคิวอี ได้หนุนให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1.43% อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า แม้ตลาดหุ้นจะรีบาวด์ขึ้นมาพอสมควร แต่บอนด์ยีลด์กลับไม่ได้ปรับตัวขึ้นไปมาก สะท้อนว่าผู้เล่นบางส่วนยังคงมีความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์การระบาด และเลือกที่จะเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยไว้ก่อน หรือมีผู้เล่นบางส่วนรอจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น เพื่อ buy on dip เพิ่มสถานะถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยชั่วคราว

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นมาเล็กน้อย โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้แกว่งตัวในระดับ 96.16 จุด หนุนโดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มการเปิดรับความเสี่ยงของตลาด รวมถึงแนวโน้มเฟดเร่งลดคืวอี นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยของผู้เล่นในตลาดบางส่วนที่ยังคงกังวลต่อความผันผวนในตลาด อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่มาพร้อมกับ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดและการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำกลับมาย่อตัวลงสู่ระดับ 1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หากตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของ โอไมครอน  ซึ่งอาจถูกสนับสนุนโดยข้อมูลวิทยาศาสตร์ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า เรามองว่า upsides ของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัดและจะเหลือเพียงปัจจัยความกังวลเงินเฟ้อที่อาจพอช่วยหนุนให้ราคาทองคำไม่ปรับฐานหนักได้

อนึ่ง สินทรัพย์ในตลาดที่ผันผวนหนักในช่วงคืนที่ผ่านมา คือ ราคาน้ำมันดิบ ที่ปรับฐานหนักเกือบ -4% หลังจากที่กลุ่ม OPEC+ มีมติเพิ่มกำลังการผลิต 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ในดือนมกราคม ตามที่เคยวางแผนไว้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันรีบาวด์ขึ้นแรงและปิดตลาดที่ระดับเดิมก่อนผลการประชุม OPEC+ (ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบ Brent อยู่ที่ 70.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) หลังผู้เล่นในตลาดประเมินว่า กลุ่ม OPEC+ อาจปรับลดกำลังการผลิตหรือยกเลิกการเพิ่มกำลังการผลิตได้ ตามสถานการณ์ของตลาดน้ำมันหรือความต้องการใช้พลังงาน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โอไมครอน

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นไฮไลท์สำคัญของข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงาน โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls:NFP) ซึ่งตลาดต่างประเมินว่า หากยอด NFP ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนตำแหน่ง อาจหนุนให้บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่สนับสนุนการเร่งลดคิวอีในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับมุมมองของประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ต่างออกมาสนับสนุนการเร่งลดคิวอีจากเดือนลด 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็น 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้การทำคิวอีของเฟดจะยุติลงภายในไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า

ส่วนในฝั่งไทย ตลาดมองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะช่วยหนุนให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.50% อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อจะไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) เนื่องจาก BOT คงมองเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากปัจจัยชั่วคราวและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีโอกาสเผชิญความผันผวนในฝั่งอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะ บอนด์ระยะสั้นตามการปรับสถานะเก็งกำไรเงินบาทของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งล่าสุดนักลงทุนต่างชาติได้ขายบอนด์ระยะสั้นมาตลอดทั้งสัปดาห์กว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยแรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่านั้นมาจากความกังวลปัญหาการระบาดของ โอไมครอน เป็นหลัก

นอกจากนี้ เงินบาท ยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลงของราคาทองคำ ซึ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดทองคำบางส่วนยังทยอยเข้ามา Buy on Dip แต่ยังไม่มีจังหวะการรีบาวด์ของราคาทองคำ ที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถขายทำกำไรได้ (โฟลว์ขายทำกำไรทองคำจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้)

นอกจากนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคัลในระยะสั้นยังคงชี้ว่าเงินบาทยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า ทำให้ผู้เล่นต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่า จังหวะกลับตัวมาแข็งค่าของเงินบาทอาจเกิดขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า

หากข้อมูลวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า การเร่งระดมแจกวัคซีนสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของโอไมครอน ได้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจไม่ซบเซาหนัก ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในโซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.50-33.60 บาทต่อดอลลาร์ จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้าบางส่วน

ดังนั้น ในระยะนี้ เราประเมินว่า ตลาดค่าเงินยังมีแนวโน้มผันผวนสูงอยู่ ผู้ประกอบการควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและควรใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 3 ธันวาคม 2564

กอน.เคาะราคาอ้อยขั้นต้นปี’64/65ที่1,070บ./ตันไฟเขียว57โรงงานน้ำตาลเริ่มเปิดหีบ7ธ.ค.นี้

“กอน.”ไฟเขียวเคาะราคาอ้อยขั้นต้นปี 2564/65 ที่ระดับ 1,070 บาท/ตัน พร้อมกำหนดวันโรงงานน้ำตาลทราย 57 แห่งทั่วประเทศทยอยเริ่มเปิดหีบตั้งแต่ 7 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป ชาวไร่พอใจแม้จะไม่ได้ตามที่ร้องขอในระดับ 1,100 บาท/ตันแต่ก็สูงกว่าราคาที่ทำประชาพิจารณ์แล้ว

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยว่า การประชุมกอน.ที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ได้มีมติให้การรับรองการประกาศราคาอ้อยขั้นต้นปีการผลิต 2564/65 ที่ระดับ 1,070 บาทต่อตัน (ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.) โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมที่กำหนดไว้ที่ระดับ 1,040 บาทต่อตัน(ความหวาน10ซี.ซี.เอส) ในการรับฟังความเห็น(ประชาพิจารณ์) เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา และยังให้การรับรองราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปีการผลิต 2563/64 เฉลี่ยทั่วประเทศที่ 1,002.20 บาทต่อตัน(10ซี.ซี.เอส.) โดยแหล่งอ้อยเขต 6 ได้สูงสุด 1,026.74 บาทต่อตัน และแหล่งอ้อยเขต 2 ได้ต่ำสุด 973.37 บาทต่อตัน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบกำหนดวันเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2564/65 สำหรับโรงงานน้ำตาลทราย 57 แห่งตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค.นี้เป็นต้นไปโดยแต่ละโรงงานจะทยอยทำหนังสือแจ้งมายังสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)เพื่อประกาศแจ้งวันเริ่มรับอ้อยและเปิดหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาลให้ชาวไร่อ้อยรับทราบต่อไป

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 กล่าวว่า แม้ว่าชาวไร่จะเรียกร้องให้ทางกอน.ได้พิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2564/65 ที่ระดับ 1,100 บาทต่อตันในช่วงทำประชาพิจารณ์แต่เมื่อมีมติออกมาที่ 1,070 บาทต่อตัน( 10 ซี.ซี.เอส) เท่ากันทุกเขตคำนวณราคาอ้อยก็ถือว่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ที่ 1,040 บาทต่อตัน อย่างไรก็ตามชาวไร่คาดหวังว่าจะได้รับการดูแลในเรื่องของการส่งเสริมการตัดอ้อยสดตามกรอบมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อ 11 พ.ค. 2564 เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) เช่นฤดูที่ผ่านมา

“ ราคาที่กอน.กำหนดชาวไร่ก็ยอมรับได้และยังมีในส่วนของเงินส่งเสริมการตัดอ้อยสดอีก โดยฤดูหีบปีที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือตัดอ้อยสดเพิ่มอีกตันละ 120 บาทก็หวังว่าจะได้ต่อเนื่องตามมติครม. ที่วางกรอบการตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปี 2564/2565 ไม่เกิน 10% ฤดูการผลิตปี 2565/2566 ไม่เกิน 5% และฤดูการผลิตปี 2566/2567 เป็นศูนย์ “นายนราธิปกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เกษตรผนึก 5 หน่วยงาน ยกระดับเกษตรกรขึ้นแท่นผู้ประกอบการ

เกษตรฯ จับมือ ธ.ก.ส.- บางจาก - ปัญญาภิวัฒน์ - สวทช. - สวก. ต่อยอดเกษตรกรปราดเปรื่องอัพเป็นผู้ประกอบการชั้นนำ เน้นรวมกลุ่มเครือข่าย สร้างแนวคิดธุรกิจเกษตร

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ภายหลังมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ให้เป็นผู้ประกอบการ  ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินโครงการพัฒนา Smart Farmer ผู้ประกอบการต้นแบบ เพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ (Agri BIZ Idol Development Project) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)

และยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการการผลิต และการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร การบริหารจัดการกิจการ และการตลาดสินค้าเกษตร อีกทั้งยังเป็นการสร้าง และพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรต้นแบบ เพื่อสนับสนุน และสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรรายอื่น ๆ พัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร รวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการเกษตรต้นแบบ เพื่อสร้างพื้นฐานในการพัฒนาการประกอบการเกษตรสมัยใหม่ที่มีการเชื่อมโยง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายขับเคลื่อนเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีความรอบรู้ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร สามารถบริหารจัดการการผลิต การตลาด โดยยึดรูปแบบตลาดนำการผลิต มีทักษะในการบริหารจัดการกิจการ พร้อมปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบเพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ เป็นอีกแนวทางในการสร้างแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการเกษตรเชิงธุรกิจ

โดยจะต้องเน้นการปรับวิธีการ ทำการเกษตรจากรูปแบบเดิมในปัจจุบันไปสู่การเกษตรสมัยใหม่

ที่เน้นการผลิตสินค้าเกษตรด้วยการบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนด้านแรงงาน และลดต้นทุนด้านการผลิต มีการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

ตลอดจนสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรรวมทั้งพัฒนาจนเข้าสู่มาตรฐานการรับรองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สู่การยกระดับเพื่อการส่งออก สร้างผู้นำด้านเกษตรที่เป็นเกษตรกรชั้นนำ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของภาคเกษตรในอนาคต รวมทั้งยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น มีรายได้ที่มั่นคง สามารถเป็นต้นแบบขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ และชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดการอบรมโครงการพัฒนา Smart Farmer ผู้ประกอบการต้นแบบ เพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ หรือ Agri BIZ Idol Development Project ซึ่งมีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 78 ราย และจากการติดตามผลความก้าวหน้าของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 66 ราย พบว่า

เกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปต่อยอดธุรกิจ หรือประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ร้อยละ 8 - 71 และเพื่อเป็นการวางกรอบแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมในปี 2565 กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) เป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ (Agri BIZ Idol Development Project) ” ขึ้น

เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมในปีที่ผ่านมา จำนวน 21 คน ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิด และวางกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) เป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ (Agri BIZ Idol) รวมทั้งการรวมกันเป็นกลุ่ม และเครือข่ายเพื่อสร้างแนวคิดที่ยั่งยืนในการทำการเกษตรแบบระบบธุรกิจเกษตร ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ในวันนี้(2 ธ.ค.)  ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคี ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มาร่วมกันพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำอย่างแท้จริง

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

“ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย” กอน. เคาะจ่ายเขต 6 ราคาสูงสุด 1,026.74 บาทต่อตัน

กอน. มีมติ เคาะราคา "อ้อยขั้นสุดท้าย" ปีการผลิต 2563/64 เขต 6 ได้ราคาสูงสุด 1,026.74 บาทต่อตัน และแหล่งอ้อยเขต 2 ได้ต่ำสุด 973.37 บาทต่อตัน ส่วน ปีการผลิต 2564/65 ให้การรับรอง 1,070 บาทต่อตัน เท่ากันทุกเขต กดปุ่ม วันเปิดฤดูหีบอ้อย 7 ธ.ค.นี้ เช็กเลย โรงงานจะจ่ายเงินวันไหน มีคำตอบ

เฟซบุ๊ก โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย โพสต์ แจ้งข่าว วันที่ 1 ธันวาคม 2564 กอน. (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย)  มีมติให้การรับรอง "ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย" ปีการผลิต 2563/64 เรียบร้อยแล้ว โดย "แหล่งอ้อยเขต 6"  ได้สูงสุด 1,026.74 บาทต่อตัน และ "แหล่งอ้อยเขต 2" ได้ต่ำสุด 973.37 บาทต่อตัน

สำหรับราคาอ้อยขั้นต้น ปีการผลิต 2564/65 (ปีการผลิตนี้) กอน. ได้มติให้การรับรอง 1,070 บาทต่อตัน ที่ค่าความหวาน 10 ซีซีเอส เท่ากันทุกเขตคำนวณราคาอ้อย โดยอัตราค่าความหวานเปลี่ยนแปลง 64.20 บาทต่อ 1 ซีซีเอส ต่อตัน

กำหนดวันเปิดฤดูหีบอ้อย ปีการผลิต 2564/65 โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 แห่ง เริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 โดยแต่ละโรงงานน้ำตาล จะทำหนังสือแจ้งต่อ สอน. และทำประกาศแจ้งวันเริ่มรับอ้อยและวันเปิดหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาล ให้พื่น้องชาวไร่ได้ทราบอีกครั้ง

ประมาณการราคาอ้อยขั้นสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม มีลูกเพจของ โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย ได้ถามว่าจะจ่ายเงินวันไหน ทางแอดมินของเพจ โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย ตอบว่า แต่ละโรงงานจะจ่ายเงินแตกต่างกัน บางแห่งจ่ายเร็ว บางแห่งจ่ายช้า ซึ่งปกติทาง สอน.จะขอให้โรงงานน้ำตาลเร่งจ่ายเงิน และมีหลายแห่งที่เห็นมติจาก กอน.แล้ว เตรียมโอนเงิน

ปัจจุบันพี่น้องชาวไร่อ้อยหลายพื้นที่ได้ทยอยเตรียมรถบรรทุกอ้อย เตรียมรับคนงานตัดอ้อย ปริมาณอ้อยรวมคาดการณ์ไว้ประมาณ 85 ถึง 90 ล้านตัน โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศทั้ง 57 แห่ง ได้ทดสอบเครื่องจักร ทยอยรับคนงานและฝึกอบรม เตรียมหีบอ้อยและเปิดการผลิตน้ำตาลเต็มรูปแบบ โดยพื้นที่แหล่งอ้อยทางภาคอีสานตอนบนจะเริ่มเปิดหีบอ้อยตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564

สำหรับการผลิต ปี 64/65 จึงมีงานที่ซับซ้อนต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพ การจัดการอ้อยและผลิตน้ำตาล มีชาวไรอ้อย เจ้าหน้าที่ สอน. สบน. คนงานโรงงานน้ำตาล คนงานตัดอ้อย รถบรรทุกอ้อยและน้ำตาล รวมกันทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล มากกว่า 1,000,000 คน เป็นเรื่องท้าทายความสามารถและเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกคนต้องร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคและทำให้สำเร็จ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กรมชลฯดัน3โครงการสำคัญแก้ปัญหาน้ำ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบในหลักการโครงการสำคัญและโครงการขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยกรมชลประทานจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำกิ จ.น่าน ความจุ 52.31 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี แล้วเสร็จในปี 2571 ซึ่งมีประชาชนได้รับประโยชน์ 6,305 ครัวเรือน2.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี ความจุ 99.50 ล้าน ลบ.ม.ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2571 ซึ่งจะสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 70 ล้าน ลบ.ม./ปี

ทั้งนี้ จากการศึกษาแผนการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนดของกรมชลประทาน พบว่าหากจะแก้ปัญหาลุ่มน้ำคลองวังโตนดทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน จะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำ4 แห่ง ได้แก่ อ่างฯคลองประแกด ความจุ60.26 ล้าน ลบ.ม. อ่างฯคลองพะวาใหญ่ ความจุ 68.10 ล้าน ลบ.ม. อ่างฯคลองหางแมว ความจุ 80.70 ล้าน ลบ.ม. และอ่างฯคลองวังโตนด ขณะนี้ ผ่าน EHIA แล้ว หากแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รับประโยชน์ 267,800 ไร่

3.โครงการผันน้ำประแสร์-หนองค้อ-บางพระ ตามแผนจะเริ่มดำเนินการปี 2566ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี แล้วเสร็จในปี 2569 ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี ปีละประมาณ 80 ล้าน ลบ.ม.โดยทั้ง 3 โครงการดังกล่าว รองนายกฯ เน้นย้ำให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบ รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และที่สำคัญให้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด

จาก https://www.naewna.com วันพุธ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ค่าเงินบาทวันนี้ (1 ธ.ค.) ทรงตัวที่ 33.68 บาท บทวิเคราะห์ล่าสุด

ค่าเงินบาทวันนี้ (1 ธ.ค.) เปิดตลาดทรงตัวที่ 33.68 บาท โดยกรอบแนวรับที่ 33.60 บาท แนวต้าน 33.80 บาท

วันที่ 1 ธันวาคม 2564 นางสาวกฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้ (1 ธ.ค.) เปิดตลาดทรงตัวที่ 33.68 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดสิ้นวันทำการก่อนหน้า โดยกรอบการเคลื่อนวันนี้คาดการณ์แนวรับที่ 33.60 บาท แนวต้านที่ 33.80 บาท

โดยปัจจัยมาจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณสนับสนุนการเร่งลดคิวอีในการประชุมครั้งหน้า และประเมินว่าเงินเฟ้อจะไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว

ขณะที่เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนพฤศจิกายนพุ่งสู่ระดับ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.9% ต่อปี (YoY)

ด้านปัจจัยในประเทศ รัฐบาลไทยประกาศพร้อมปิดเมืองหากพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ขณะที่ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเดือนตุลาคมขาดดุลลดลงเป็น 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตสหรัฐ และยุโรปที่จะออกมาวันนี้ จากนั้นวันพฤหัสบดีติดตามรายงานเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และวันศุกร์ติดตาม เงินเฟ้อไทย กับการจ้างงานนอกภาคการเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐ

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 1 ธันวาคม 2564