http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนมิถุนายน 2564]

เชียร์ตั้งกองทุน FTA  เยียวยาผลกระทบเปิดเสรี

กรมเจรจาฯ เผยผลศึกษาเสนอแนะให้มีการจัดตั้งกองทุน FTA เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ และควรมีการออก พ.ร.บ.ดูแลเป็นการเฉพาะ ต้องได้รับงบประมาณจากรัฐ เอกชนควรมีส่วนร่วมเติมเงิน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้นำผลการศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนากลไกช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.dtn.go.th แล้ว โดยผลการศึกษาประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ เช่น ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า กลไกการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก FTA ของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และเวียดนาม มาตรการและกลไกช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก FTA ของไทยในปัจจุบัน ผลการระดมความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แนวทางการพัฒนากลไกช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก FTA ของไทย และข้อเสนอแนะการจัดตั้งกองทุน FTA เป็นต้น

ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุน FTA เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และพัฒนาศักยภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถปรับตัวรับการแข่งขันเสรี ทั้งผู้ได้รับผลกระทบในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตที่ได้รับความเดือดร้อน ในรูปแบบการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม สัมมนา และด้านการเงิน ซึ่งอาจดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ

 ขณะเดียวกัน ผลการศึกษา ยังระบุว่า การจัดตั้งกองทุน FTA ต้องจัดทำพ.ร.บ.เฉพาะ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 โดยกองทุนควรได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลเติมให้ทุกครั้งที่มีการจัดทำ FTA ฉบับใหม่ๆ และภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมในการส่งรายได้เข้ากองทุนด้วย อีกทั้งทีมบริหารกองทุนควรทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานข้อกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน กลุ่มเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาอย่างตรงจุด และควรจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว โดยต้องติดตาม ประเมินผลความช่วยเหลือ

 การจัดทำ FTA ของไทยที่ผ่านมา ช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวดีขึ้น จากการที่ประเทศคู่ FTA ลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกจากไทย และไทยก็ต้องลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าของประเทศคู่ FTA เช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าหรือผู้ประกอบการไทยบางส่วนที่ยังไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ แม้ว่าปัจจุบันภาครัฐจะมีกลไกช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบบ้างแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอและเข้าถึงยาก อีกทั้งไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบได้ จึงต้องมีการผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุน FTA ขึ้นมา

 สำหรับแนวคิดในการจัดตั้งกองทุน FTA มาจากเสียงเรียกร้องของหลายภาคส่วน ที่กรมฯ ได้รับฟังความเห็นจากการลงพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ซึ่งปัจจุบันนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นฝ่ายเลขานุการ

จาก   https://www.thansettakij.com วันที่ 30 มิถุนายน 2564

พิษโควิด-19 ฉุดคนไทยบริโภคน้ำตาลวูบ โรงงานลุ้นอ้อยฤดูหีบใหม่แตะ 90 ล้านตัน

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายเผยผลกระทบโควิด-19 ทำให้ไทยบริโภคน้ำตาลทรายลดต่ำกว่าที่คาดไว้ในรอบผลิตปี 63-64 (ต.ค. 63-ก.ย. 64) เหลือ 2.2 ล้านตันจากที่คาดไว้ 2.4 ล้านตัน โดย 8 เดือนบริโภคแล้วเพียง 1.5 ล้านตัน ประเมินผลผลิตอ้อยฤดูหีบปี 2564/2565 ที่ระดับ 90 ล้านตัน หลังการันตีราคารับซื้ออ้อยขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อตัน

นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า การบริโภคน้ำตาลภายในประเทศในรอบการผลิตปี 2563-2564 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) คาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ 2.2 ล้านตัน จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีการบริโภคอยู่ที่ 2.4 ล้านตันเนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของไทยทั้งรอบที่ 2 และรอบใหม่ล่าสุดที่ทำให้การบริโภคน้ำตาลทรายภาพรวมลดลงต่อเนื่อง โดยพบว่าในช่วง 8 เดือน (ตุลาคม 2563-พฤษภาคม 2564) มีปริมาณขายน้ำตาลภายในประเทศแล้วเพียง 1.5 ล้านตันเท่านั้น ดังนั้น โรงงานจะนำน้ำตาลส่วนที่เหลือจากการกันไว้บริโภคภายในประเทศระดับที่สูงเพื่อป้องกันขาดแคลนไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศแทน

“โรงงานน้ำตาลจัดสรรปริมาณน้ำตาลไว้สูงเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค มิให้เกิดภาวะขาดแคลนภายในประเทศ แต่การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้การบริโภคลดลงมากและต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และจากปริมาณการบริโภคในประเทศที่ลดต่ำกว่าที่คาดไว้ โรงงานจะนำน้ำตาลส่วนที่เหลือจากการขายในประเทศส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศแทน เพื่อบริหารซัปพลายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย” นายปราโมทย์กล่าว

สำหรับผลผลิตอ้อยในฤดูหีบใหม่ (ปี 2464/65) ที่จะมีการเปิดหีบในปลายปีนี้นั้น จากการสำรวจปริมาณผลผลิตอ้อยเบื้องต้นของโรงงานน้ำตาลทรายทั่วประเทศ 57 แห่งคาดการณ์ว่าจะมีอ้อยเข้าหีบเพิ่มประมาณ 90 ล้านตัน สูงกว่าฤดูหีบปี 2563/64 ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งสิ้น 66.67 ล้านตัน โดยปัจจัยสำคัญมาจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นด้วยการประกันราคารับซื้ออ้อยให้แก่ชาวไร่ในราคาขั้นต่ำที่ 1,000 บาทต่อตัน ณ ค่าความหวาน 10 ซีซีเอส เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูก นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมของภาครัฐที่ให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดอ้อยสด ทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพื่อส่งมอบให้แก่โรงงาน รองรับความต้องการบริโภคน้ำตาลที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

ส่วนแนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น แม้ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลกได้คาดการณ์ปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นก็ตาม เนื่องจากบราซิล ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกต้องเผชิญกับปัญหาจากสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตอ้อย ประกอบกับการคาดการณ์ว่าบราซิลจะนำผลผลิตอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น จะส่งผลสะท้อนต่อสภาวะราคาน้ำตาลตลาดโลกในทิศทางที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

จาก https://mgronline.com  วันที่ 30 มิถุนายน 2564

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ประเมินอ้อยขั้นต้นรอบการผลิตปีนี้ อยู่ที่ 90 ล้านตันอ้อย

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย คาดผลผลิตอ้อยขั้นต้นฤดูหีบหน้าเพิ่มเป็น 90 ล้านตัน หลังประกาศการันตีราคารับซื้ออ้อยขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อตันอ้อย ขณะที่โควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ฉุดการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศหดตัว

นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 57 โรงงานได้ทำสำรวจปริมาณผลผลิตอ้อยขั้นต้นในช่วงฤดูการเพาะปลูกปี 2564/2565 คาดมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90 ล้านตันอ้อย สูงกว่ารอบการผลิตปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 66.67 ล้านตันอ้อย โดยมีปัจจัยหลักมาจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นด้วยการประกันราคารับซื้ออ้อยให้แก่ชาวไร่ในราคาขั้นต่ำที่ 1,000 บาทต่อตัน ณ ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูก นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมของภาครัฐที่ให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดอ้อยสด ทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพื่อส่งมอบให้แก่โรงงาน รองรับความต้องการบริโภคน้ำตาลที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น หลังสถานการณ์โควิด19 คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

ส่วนแนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น แม้ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก ได้คาดการณ์ปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นก็ตาม เนื่องจากบราซิล ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ต้องเผชิญกับปัญหาจากสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตอ้อย ประกอบกับการคาดการณ์ว่า บราซิลจะนำผลผลิตอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น จะส่งผลสะท้อนต่อสภาวะราคาน้ำตาล ตลาดโลกในทิศทางที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

สำหรับการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศในรอบการผลิตปี 2563-2564 (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ 2.2 ล้านตัน จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีการบริโภคอยู่ที่ 2.4 ล้านตัน หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 2 และ 3 เป็นผลให้การบริโภคภายในประเทศหดตัวลง โดยพบว่า ในช่วงเดือน 8 เดือน (ตุลาคม 2563 – พฤษภาคม 2564) มีการปริมาณขายน้ำตาลภายในประเทศได้ 1.5 ล้านตันเท่านั้น

“โรงงานน้ำตาลจัดสรรปริมาณน้ำตาลไว้สูงเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค มิให้เกิดภาวะขาดแคลน ภายในประเทศ แต่การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้การบริโภคลดลงมากและต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และจากปริมาณการบริโภคในประเทศที่ลดต่ำกว่าที่คาดไว้ โรงงานจะนำน้ำตาลส่วนที่เหลือจากการขายใน

ประเทศส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศแทน เพื่อบริหารซัพพลายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย” นายปราโมทย์ กล่าว

จาก https://tna.mcot.net วันที่ 30 มิถุนายน 2564

สศก.-สอท.เดินหน้าโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการผลิต ซึ่งมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สมดุล ทั้งด้านปริมาณ ความต้องการสินค้า และมีความมั่นคงทางการตลาด โดยในปี 2564 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ดำเนินโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ (ระยะที่ 1) ผ่านกลไกคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางดาเรศร์ กิตติโยภาส) เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมทั้งหน่วยงานที่ร่วมเป็นคณะทำงานและเลขานุการ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานในการส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรใช้ปัจจัยการผลิตและปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการของเกษตรแปลงใหญ่ด้วยการเกษตรสมัยใหม่และแม่นยำ ตั้งแต่การผลิตสินค้าเกษตร โดยมีตลาดที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน เน้นกระบวนการจัดการที่ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นให้กับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดจนส่งเสริมและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาในทุกด้าน ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรเป็นสำคัญ

“การดำเนินโครงการครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร ที่สำคัญคือมีตลาดรองรับที่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งรายได้ของชุมชน จังหวัด และประเทศที่มากขึ้นไปด้วย บนฐานความยั่งยืนด้านรายได้และความเข้มแข็งของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร” เลขาธิการ สศก. กล่าว

สำหรับโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำ สู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ เตรียมจะดำเนินการปี 2564 – 2566 โดยระยะแรก ดำเนินการร่วมกับ 7 บริษัท เกษตรกร 25,286 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 32 จังหวัด รวมพื้นที่ 298,111.36 ไร่ สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา โดยบริษัท ไทยอิสเทิร์น รับเบอร์

จำกัด ปาล์มน้ำมัน โดยบริษัท ทักษิณปาล์ม จำกัด อ้อยโรงงาน โดยโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย โรงงานน้ำตาลรวมผล และโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ข้าวโพดหวาน โดยบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และ มะเขือเทศ โดยบริษัท ศรีเชียงใหม่อุตสาหกรรม จำกัด ทั้งนี้ มีเป้าหมายจะดำเนินการในพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีการขึ้นทะเบียนแปลงใหญ่กับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือเป็นเกษตรกรรายย่อยเครือข่ายของบริษัทผู้รับซื้อผลผลิตที่จะขึ้นทะเบียนรวมเป็นแปลงใหญ่ภายใต้โครงการ โดยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตร จากแหล่งรับซื้อ เพื่อลดต้นทุนการจัดการด้านโลจิสติกส์ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ และการดำเนินการในระยะที่ 2 จะเป็นการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถ (Scale up) ของแปลงใหญ่ขึ้นไปสู่การรวมเป็นกลุ่มจังหวัด/ภูมิภาค (Area base) โดยจะมีการให้คัดเลือกกลุ่มสินค้าเกษตร (Product base) ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อป้อนเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เสนอความต้องการสินค้าเกษตรมาพร้อมแล้ว อาทิ มันสำปะหลังผักอินทรีย์ ผลไม้ ยูคาลิปตัส และ โกโก้

จาก https://www.naewna.com วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เช็กด่วน  34 จังหวัด เสี่ยงแล้ง มีที่ไหนบ้าง

เช็กด่วน ​​​​​​กนช. เปิดพื้นที่ 34 จังหวัด 1,603 ตำบล 272 อำเภอ เสี่ยงแล้ง ผงะ อีสานนำโด่ง 16 จังหวัด 204 อำเภอ  1,344  ตำบล  "สมเกียรติ" อัพเดท​ "บัญชีแหล่งน้ำทั่วประเทศ" ตามกฎหมายน้ำ ทั้งตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น น้ำใต้ดิน ครบวงจร

 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2564  ผ่าน VDO Conference ไปยังผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ เป็นต้น ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ในที่ประชุมในวันนี้ ได้รับทราบสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฝนปี 2564 โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการตาม 10 มาตรการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการสื่อสารไปยังประชาชนต้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้รับทราบในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาชนจะได้เตรียมตัวรับมือต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และให้ทุกหน่วยงานเตรียมแผนป้องกันในระหว่างที่อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยคาดการณ์ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเนื่องจากฝนน้อยกว่าค่าปกติ พบว่าในเดือนสิงหาคม จะมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด จำนวน 1,603 ตำบล 272 อำเภอ 34 จังหวัด โดยแบ่งเป็น "ภาคเหนือ" จำนวน 12 จังหวัด 49 อำเภอ 209 ตำบล ประกอบด้วย จังหวัด  เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน สุโขทัย  และอุทัยธานี   "ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" 16 จังหวัด 204 อำเภอ  1,344  ตำบล ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เลย ขอนแก่น บุรีรัมย์ มหาสาคาม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย อำนาจเจริญ และอุดรธานี "ภาคกลาง" มี 5 จังหวัด 19 อำเภอ 50 ตำบล ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง พลเอก ประวิตร  กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานจัดหาแหล่งน้ำสำรองและเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด รวมทั้งเร่งเตรียมความพร้อมแผนงาน/โครงการในการแก้ไขปัญหา หากจะต้องพิจารณาเสนอของบประมาณเพิ่มเติม เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ภัยด้านน้ำต่างๆ

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการน้ำ ปี 2566-2570 แบ่งเป็น 3 ช่วงโดยเริ่มที่หน่วยงานและจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการและยืนยันแผนในระบบภายในเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564 จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการในพื้นที่คืออนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และ คณะกรรมการลุ่มน้ำในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 และเข้าสู่การพิจารณาของ กนช.  โดย สทนช. ในฐานะเลขานุการ กนช. จะวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการน้ำของประเทศ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 และเสนอ กนช. พิจารณาภายในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ปี 2566 ที่คาดว่าสำนักงบประมาณจะให้หน่วยงานเสนอแผนผ่านระบบ budgeting ช่วงเดือนมกราคม 2565 ในส่วนความก้าวหน้าการจัดทำทะเบียนแหล่งน้ำ สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลบัญชีแหล่งน้ำ โดยแบ่งขนาดของแหล่งน้ำตามความจุ ดังนี้ แหล่งน้ำขนาดเล็ก คือ แหล่งน้ำที่มีขนาดน้อยกว่า 2 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 142,234 แห่ง แหล่งน้ำขนาดกลาง คือ แหล่งน้ำที่มีขนาด 2 ถึง 100 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 659 แห่ง และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือ แหล่งน้ำที่มีขนาดมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 38 แห่ง รวมทั้งแบ่งตามประเภทของแหล่งน้ำและทางน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น และแหล่งน้ำใต้ดิน โดยที่ประชุมเห็นชอบและได้เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานดำเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ำ ผ่านระบบ Thai Water Resources ( คลิกที่นี่) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเสนอขอตั้งงบประมาณ พิจารณาแผนงาน/โครงการ สามารถตรวจสอบหน่วยงานที่รับผิดชอบ ลดความซ้ำซ้อนของแผนงาน/โครงการในแหล่งน้ำเดียวกัน โดยให้เชื่อมโยงกับระบบ Thai Water Plan ซึ่งจะทำให้การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศมีความสมบูรณ์ ครอบคลุมในทุกมิติ สะดวกและรวดเร็ว มีความโปร่งใส สามารถใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 28 มิถุนายน 2564

'สหรัฐ’หนุน'ไทย'ประเทศแนวหน้าพลังงานอัจฉริยะอาเซียน

“โครงการพลังงานอัจฉริยะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ต่อยอดจากโครงการพลังงานสะอาดเอเชียที่องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) ให้การสนับสุนน และเป็นโครงการใหม่เพิ่งประกาศเปิดตัว มุ่งส่งเสริมการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ยกระดับเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ลํ้ำสมัย รวมถึงการซื้อขายพลังงานในภูมิภาค ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

‘ไมเคิล ฮีธ’ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย กล่าวถึงการใช้พลังงานทดแทนและความท้าทายปัจจุบันว่า โครงการนี้สนับสนุนให้ไทยเป็นประเทศชั้นแนวหน้าของแหล่งพลังงานอัจฉริยะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการใช้พลังงานสะอาดในระดับภูมิภาค ตามที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดเป็นแกนหลักของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ

โครงการพลังงานสะอาดเอเชียของยูเสด ได้ลงทุนมหาศาลให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดแบบรอบด้าน และคาดวาจะช่วยให้อาเซียนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 30 ล้านตันภายใน 15 ปี ข้างหน้า

“ขณะที่เราเฉลิมฉลองความสําเร็จของยูเสด ด้านพลังงานสะอาดในประเทศไทยและอาเซียน เรายังมองเห็นถึงอนาคตและความ

ร่วมมือที่จะสานต่อการลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาคนี้ต่อไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต แบบเต็มรูปแบบ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระดับภูมิภาค” อุปทูตฮีธกล่าว

โครงการพลังงานสะอาดเอเชีย เริ่มต้นเมื่อปี 2559 ซึ่งทํางานร่วมกับรัฐบาลประเทศต่างๆ และภาคเอกชนในอาเซียน เพื่อส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า และเพื่อต่อยอดความพยายามและความสําเร็จ

สหรัฐหวังช่วยให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ และเกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนเกือบ 10,000 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอสําหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 8 ล้านหลังคาเรือน

'เดน่า เคนนีย์' หัวหน้าโครงการพลังงานสะอาดเอเชียของยูเสด กล่าวว่า แม้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก แต่โครงการของเราได้บรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ด้านคือ การปรับปรุงวางแผนการผลิตไฟฟ้า การสนับสนุนการกำหนดโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมการทํางานร่วมกนในระดับภูมิภาค โดยระหว่างปี 2559 - 2564 โครงการนี้มีความสำเร็จ คิดเป็นมูลค่า 16.3 ล้านดอลลาร์

"ยูเสดได้ร่วมมือกับสํานักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประเทศไทย ในการพัฒนาระเบียบและมาตรฐานทางเทคนิคเพื่อรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ จะเป็นก้าวสําคัญนําไปสู่การการใช้งานแบตเตอรี่ใช้ในรถยนต์อีวี ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ช่วยลดมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผานของประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความเป็นกลาง ทางคาร์บอน (Carbon-neutral country)" เคนนีย์ ระบุ

เคนนีย์ กล่าวในตอนท้ายว่า ยูเสดยังได้จัดทําและเผยแพร่แบบจําลองทางการเงินสําหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา โครงการพลังงานลม และโครงการพลังงานชีวมวล ซึ่งมีการดาวน์โหลดมากกว่า  3,000 ครั้ง

เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถระบุปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการทํากำไร และการเป็นที่ยอมรับของแหล่งเงินทุนในการดําเนินโครงการพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 28 มิถุนายน 2564

‘เงินบาท’ วันนี้เปิด ‘อ่อนค่า’ที่31.82บาทต่อดอลลาร์

แนวโน้มของค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนและมีโอกาสเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง มาจากทั้ง เงินดอลลาร์แข็งค่า และฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ คาดวันนี้เงินบาทที่ระดับ 31.75-31.90บาทบาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.82 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า  ที่ระดับ 31.78 บาทต่อดอลลาร์

มองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.75-31.90 บาทต่อดอลลาร์และกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 31.60-32.10 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนและมีโอกาสเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง

โดยในส่วนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่านั้นอาจมาจากทั้ง เงินดอลลาร์ โฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์ของฝั่งผู้นำเข้าในช่วงปลายเดือน และ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ

เรามองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ยังมีอยู่ และพร้อมแข็งค่าขึ้น หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าคาดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างออกมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น นอกจากนี้ ต้องจับตาการระบาดของ โควิด-19 เพราะการระบาดที่เลวร้ายลงในยุโรปหรือเอเชีย จะเป็นปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์

ขณะเดียวกัน ในส่วนของฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ปัญหาการระบาดในไทย ก็จะยิ่งกระตุ้นแรงขายสุทธิสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ กดดันให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงได้ จนกว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะเร่งตัวขึ้นได้ดีขึ้น(อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 5 แสนโดสขึ้นไป หากต้องการให้ถึงเป้าหมายสร้างภูมิคุ้มกัน 50% ของประชากรภายในปีนี้) นอกเหนือจากฟันด์โฟลว์ขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ควรระวังแรงเทขายบอนด์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ทาง J.P. Morgan ได้ปรับสัดส่วนบอนด์ ในดัชนี Government Bond Index – Emerging Markets (GBI-EM) ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนตามดัชนี GBI-EM อาจเทขายบอนด์ไทยราว 1 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับดัชนีได้ (สัปดาห์ก่อน นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายบอนด์ไทยสุทธิราว 4.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจมองได้ว่า นักลงทุนต่างชาติอาจขายบอนด์ได้อีก 5.7 พันล้านบาท )

อย่างไรก็ดี แนวต้านสำคัญของเงินบาทยังอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ อีกทั้ง เราคาดว่า หากเงินบาทอ่อนค่าลงไปมากในระยะสั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีโอกาสทยอยขายเงินดอลลาร์ เพื่อลดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (FX Reserves) ออกมาบ้าง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสถูกสหรัฐฯ มองว่า ประเทศไทยมีการแทรกแซงค่าเงินบาทในทิศทางเดียวทำให้เงินบาทยังคงแกว่งตัวในช่วง 31.85+/-0.15 บาทต่อดอลลาร์ และไม่เกิน 32.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปมาก

สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจหลายประเทศจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ได้ทำให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายตามสำหรับสัปดาห์นี้ ควรติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) รวมถึงถ้อยแถลงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน และ สถานการณ์การระบาด โควิด-19 รอบโลก

โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้

ฝั่งสหรัฐฯ – เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมโดย ISM (Manufacturing PMI) ที่ระดับ 61 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึงการขยายตัว) ขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวดีขึ้น โดยยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) จะลดลง สู่ระดับ 3.8 แสนราย ส่วนยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนมิถุนายน ก็จะเพิ่มขึ้นกว่า 7 แสนตำแหน่ง และทำให้อัตราว่างงานในสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 5.7% หนุนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาคึกคักมากขึ้น หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

และการทยอยยุติเงินช่วยเหลือผู้ตกงานเพิ่มเติมในหลายรัฐ ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นยังได้หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board (Consumer Confidence) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 119 จุด ชี้ว่าการบริโภคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น

นอกจากนี้ ตลาดจะติดตาม มุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดถึง 4 ท่าน อาทิWilliams, Barkin (วันจันทร์) Quarles (วันอังคาร) และ Bostic (วันพุธ)

ทางด้านฝั่งยุโรป – แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปยังสดใส หลังการแจกจ่ายวัคซีนคืบหน้ามากขึ้น(ครอบคลุมประชากรเกือบ 40% และ อาจใช้เวลา 3 เดือน เพื่อครอบคลุมประชากร 75%) หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -1.0 จุด สะท้อนว่าการบริโภคของครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกของเยอรมนี (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ก็จะขยายตัวกว่า 4.6% จากเดือนก่อนหน้า หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาคึกคักมากขึ้นจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

ส่วนในฝั่งเอเชีย – เศรษฐกิจในฝั่งเอเชียโดยรวมยังเดินหน้าฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในฝั่งญี่ปุ่น ที่เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี (ยอดการส่งออกเดือนพฤษภาคมโตเกือบ 50%y/y) ซึ่งการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีนั้นจะช่วยหนุนการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการผลิตอุตสาหกรรม

สะท้อนผ่าน ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม(Industrial Production) เดือนพฤษภาคม ที่จะโตขึ้นกว่า 18%y/y และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ Tankan โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ของฝั่งผู้ผลิตขนาดใหญ่ก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 16 จุด จาก 5 จุด (ดัชนี > 0 หมายถึงแนวโน้มดีขึ้น) ทั้งนี้ ตลาดจะจับตายอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมว่าจะขยายตัวได้กว่า 8%y/y หรือไม่ หลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการ Lockdown บางส่วน

ส่วนในฝั่งเวียดนาม ปัญหาการระบาดของ โควิด-19 ระลอกใหม่จะกดดันให้ เศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวลงได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะภาคการผลิตและการส่งออก ซึ่งตลาดมองว่าจะได้รับผลกระทบจากคลัสเตอร์การระบาดตามนิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงาน โดยยอดการส่งออกอาจโต 26%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่โต 36%y/y ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรมก็อาจโตเพียง 9%y/y

ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามยังสามารถขยายตัวกว่า 7%y/y ในไตรมาส 2 ส่วนในฝั่งจีน เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ (Mfg. & Services PMIs) ยังอยู่ที่ระดับ 50.8 จุด และ 55.3 จุด ตามลำดับ (ดัชนี > 0 หมายถึงภาวะขยายตัว)

และในฝั่งไทย – ปัญหาการระบาดของโควิด-19 และแผนการแจกจ่ายวัคซีนยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดนอกจากนี้ ควรติดตามการปรับพอร์ตลงทุนบอนด์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ทาง J.P. Morgan ได้ปรับสัดส่วนบอนด์ ในดัชนี Government Bond Index – Emerging Markets (GBI-EM) โดยเพิ่มบอนด์ Serbia เข้าพอร์ตทำให้สัดส่วนบอนด์ไทยลดลงราว 0.13% ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนตามดัชนี GBI-EM อาจเทขายบอนด์ไทยราว1 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับดัชนีได้ (สัปดาห์ก่อน นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายบอนด์ไทยสุทธิราว 4.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจมองได้ว่า นักลงทุนต่างชาติอาจขายบอนด์ได้อีก 5.7 พันล้านบาท )

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 28 มิถุนายน 2564

ฝนทิ้งช่วง-น้ำต้นทุนมีน้อย กรมชลวอน 22 จังหวัด ช่วยกันประหยัดน้ำ

กรมชลฯ วอนทุกภาคส่วน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาร่วมใจกันประหยัดน้ำ หลัง 4 เขื่อนหลักน่าห่วง น้ำต้นทุนมีน้อย และฝนทิ้งช่วง

กรมชลประทาน ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาใช้น้ำอย่างประหยัด หลังเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงและน้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนหลักอยู่ในเกณฑ์น้อย ในขณะที่ต้องระบายน้ำไปไล่ความเค็ม ช่วยเหลือการผลิตน้ำประปาในหลายพื้นที่ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ย้ำจะบริหารจัดการน้ำให้ดีที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีน้ำใช้การได้ประมาณ 2,265 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) โดยมีการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมตามแผนที่วางไว้มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้(27 มิ.ย. 64) คงเหลือน้ำใช้การได้เพียง 1,137 ล้าน ลบ.ม. และนับตั้งแต่เข้าสู่ฤดูฝนเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา การกระจายของฝนอยู่ในเกณฑ์น้อยจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนต่าง ๆ น้อยตามไปด้วย โดยตั้งแต่ 1 พ.ค. – 26 มิ.ย. 64 มีน้ำไหลเข้า 4 เขื่อนหลักรวมกันเพียง 785 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้อย ในขณะที่มีการระบายน้ำไปใช้แล้วรวมกันกว่า 1,715 ล้าน ลบ.ม. และกรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนว่าในช่วงกลางเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนจะลดลงและเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ประกอบกับมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีไปแล้วกว่า 4.70 ล้านไร่ และมีพื้นที่หลายแห่งเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในการผลิตประปา รวมไปถึงสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ส่งผลกระทบต่อน้ำดิบผลิตประปาของการประปานครหลวง(กปน.) ทำให้ต้องระบายน้ำเพิ่มจากแผนที่วางไว้ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้

ทั้งนี้กรมชลประทาน ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกรในหลายพื้นที่ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภายใต้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด พร้อมทั้งได้ประสานขอความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ชี้แจงประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้ทุกภาคส่วนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

กรมชลประทาน ขอยืนยันว่าจะบริหารจัดการน้ำภายใต้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุกพื้นที่มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อฝ่าวิกฤติภัยแล้งนี้ไปด้วยกัน หากหน่วยงานใดหรือประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถร้องขอไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ใกล้บ้าน หรือโทร 1460 สายด่วนกรมชลประทาน ได้ตลอดเวลา

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 27 มิถุนายน 2564

สรท.ชี้ส่งออกปี64โอกาสโตได้10%

ปธ. สรท. เผย โอกาส ส่งออก ไทยปีนี้โตได้ 10% แต่ยังต้องจับตาแก้ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาด เชื่อเริ่มดีขึ้นแล้ว

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า จากตัวเลขการ ส่งออก ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41.59 และมีมูลค่าการส่งออกกว่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อใช้ในการส่งออกที่มีมากขึ้น เพราะการส่งออกในระดับปัจจุบัน สะท้อนว่า มีจำนวนตู้เปล่าเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และเชื่อว่าการส่งออกในเดือนถัดไปจะยังทำได้อยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯอย่างแน่นอน

ซึ่งการอนุญาตให้เรือขนาดใหญ่ 400 เมตร เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมฉบังนั้น เป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยที่จะลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าได้มากขึ้น โดยในปีนี้มีโอกาสที่การ ส่งออกไทย จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 10 ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการนำเข้าตู้เปล่า และการเจรจาปรับลดค่าระวางเรือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากจนเกินไปตามความต้องการของการขนส่งที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ทาง สรท. จะยังคงไม่ปรับประมาณการการส่งออกในปีนี้ โดยจะยังคงตัวเลขไว้ที่ร้อยละ 7 เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงกดดันการส่งออก ถึงแม้ว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม ทั้งในส่วนของสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 27 มิถุนายน 2564

เกษตรฯจับมือสภาอุตฯนำร่องพัฒนาเกษตร ดันธุรกิจเกษตรอุตฯ2 ล้านไร่เริ่ม ก. ค. นี้

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการผลิต ซึ่งมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สมดุล             ทั้งด้านปริมาณ ความต้องการสินค้า และมีความมั่นคงทางการตลาด โดยในปี 2564 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ดำเนินโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม                  2 ล้านไร่ (ระยะที่1) ผ่านกลไกคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยมีนางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมทั้งหน่วยงานที่ร่วมเป็นคณะทำงานและเลขานุการ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร ซึ่งมีหน้าที่ ในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานในการส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรใช้ปัจจัยการผลิตและปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการของเกษตรแปลงใหญ่                     ด้วยการเกษตรสมัยใหม่และแม่นยำ ตั้งแต่การผลิตสินค้าเกษตร โดยมีตลาดที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน เน้นกระบวนการจัดการที่ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นให้กับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดจนส่งเสริมและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาในทุกด้าน ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรเป็นสำคัญ

“การดำเนินโครงการครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร ที่สำคัญคือมีตลาดรองรับที่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งรายได้ของชุมชน จังหวัด และประเทศที่มากขึ้นไปด้วย บนฐานความยั่งยืนด้านรายได้และความเข้มแข็งของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร” เลขาธิการ สศก. กล่าว

สำหรับโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำ  สู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ เตรียมจะดำเนินการปี 2564 – 2566 โดยระยะแรก ดำเนินการร่วมกับ 7 บริษัท เกษตรกร 25,286 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 32 จังหวัด รวมพื้นที่ 298,111.36 ไร่ สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา  โดยบริษัท ไทยอิสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ปาล์มน้ำมัน โดยบริษัท ทักษิณปาล์ม จำกัด อ้อยโรงงาน โดยโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย โรงงานน้ำตาลรวมผล และโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ข้าวโพดหวาน โดยบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และ มะเขือเทศ โดยบริษัท ศรีเชียงใหม่อุตสาหกรรม จำกัด 

ทั้งนี้ มีเป้าหมายจะดำเนินการในพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีการขึ้นทะเบียนแปลงใหญ่กับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือเป็นเกษตรกรรายย่อยเครือข่ายของบริษัทผู้รับซื้อผลผลิตที่จะขึ้นทะเบียนรวมเป็นแปลงใหญ่ภายใต้โครงการ  โดยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตรจากแหล่งรับซื้อ เพื่อลดต้นทุนการจัดการด้านโลจิสติกส์ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ และการดำเนินการในระยะที่ 2 จะเป็นการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถ (Scale up) ของแปลงใหญ่ขึ้นไปสู่การรวมเป็นกลุ่มจังหวัด/ภูมิภาค (Area base) โดยจะมีการให้คัดเลือกกลุ่มสินค้าเกษตร (Product base) ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อป้อนเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เสนอความต้องการสินค้าเกษตรมาพร้อมแล้ว อาทิ มันสำปะหลัง ผักอินทรีย์ ผลไม้ ยูคาลิปตัส และ โกโก้

จาก https://mgronline.com  วันที่ 26 มิถุนายน 2564

สถานีเกษตร-สิ่งแวดล้อม : ฟันธง!! EEC มั่นคงเรื่องน้ำ

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัดภาคตะวันออก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รัฐบาลได้มุ่งหวังที่จะพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้หรือเมืองอัจฉริยะ ที่มีการเติบโตทั้งภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ภาคท่องเที่ยวและภาคเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่องแต่การที่จะขับเคลื่อนให้ไปถึงเป้าหมายได้นั้น จำเป็นจะต้องมีสาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับ โดยเฉพาะใน เองของ “น้ำ” อย่างพอเพียง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ และความพร้อมรับมือฤดูฝน 2564 ในพื้นที่ภาคตะวันออกและ EEC

ได้ฟังรายงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว น่าจะสบายใจได้ว่าพื้นที่ EEC จะมีความมั่นคงในเรื่องน้ำ อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้รายงานถึงการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝนในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาพรวม การจัดการน้ำสนับสนุนอีอีซี ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของ EEC และความต้องการใช้น้ำในอนาคต กรมชลประทานได้รายงานถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอีอีซีในอนาคต เป็นต้น

จากการศึกษาของ สทนช.พบว่า ในปี 2570 จะมีความต้องการใช้ 2,888 ล้าน ลบ.ม. และปี 2580 มีความต้องการใช้น้ำ 3,089 ล้าน ลบ.ม. จากปัจจุบันที่มีความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วนรวมกันประมาณ 2,419 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่มีปริมาณน้ำต้นทุนทั้งสิ้น 2,539 ล้าน ลบ.ม.

“ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2561 – 2563 รัฐบาลได้เร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกในทุกรูปแบบ เพื่อให้มีพื้นที่เก็บกักน้ำฝนให้มากที่สุด สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ทั้งภาคประชาชน เศรษฐกิจ เกษตร อุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในพื้นที่กลุ่มจังหวัด EEC มีโครงการแหล่งน้ำเกิดขึ้นแล้วถึง 2,872 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 372,950 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 136,751 ครัวเรือน ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้นประมาณ 138 ล้านลบ.ม.” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

โครงการสำคัญๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการ เช่น การเพิ่มศักยภาพการเก็บกักอ่างเก็บน้ำคลองสียัด เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลธร ก่อสร้างปรับปรุงขยายกปภ.สาขาบ้านฉาง การเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง เป็นต้น

ส่วนแผนงานในอนาคตเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นนั้นมีทั้งสิ้น 38 โครงการ ใน 9 กลุ่มโครงการหลัก ได้แก่ การก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่ ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม ก่อสร้างโครงข่ายน้ำใหม่ ปรับปรุงโครงข่ายน้ำเดิม ก่อสร้างระบบสูบกลับ ขุดลอก/แก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำ บ่อบาดาลอุตสาหกรรม สระเอกชน และการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เพื่อให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น872 ล้าน ลบ.ม. โดยโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 2580

อย่างไรก็ตาม ในระยะเร่งด่วน สทนช. ได้บูรณาการ เร่งรัดการขับเคลื่อนตามแผนงานโครงการไปแล้ว 17 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 6 โครงการ ได้น้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 111 ล้าน ลบ.ม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 11 โครงการ คาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 2567 จะได้น้ำเพิ่มขึ้นอีก 151 ล้าน ลบ.ม.

นอกจากนี้ได้เสนอให้มีการเร่งรัดโครงการที่สำคัญอีก 12 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาความเหมาะสม การมีส่วนร่วมกับประชาชน และโครงการที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้หน่วยงานปรับแผนดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 จะได้น้ำเพิ่มขึ้น 183 ล้าน ลบ.ม. ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จ.ระยอง อ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง จ.ฉะเชิงเทรา ระบบสูบกลับอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น อีก 9 โครงการ สทนช.จะกำกับให้ดำเนินการตามแผนงานของหน่วยงาน โดยแล้วเสร็จภายในปี 2573 จะได้น้ำเพิ่มขึ้น 426 ล้าน ลบ.ม.

ดังนั้น พื้นที่ EEC จะมีน้ำเพียงพอกับความต้องการอย่างแน่นอน.... “บิ๊กป้อม”ฟันธง!!

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ดึง 7 บิ๊กอุตสาหกรรมเกษตร หนุนนโยบายตลาดนำการผลิต นำร่อง 2 ล้านไร่ ก.ค.นี้

เกษตรฯ ผนึก สภาอุตสาหกรรมฯ เร่งโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ เตรียมคิกออฟกรกฎาคมนี้ เผยเฟสแรกดึง 7 บริษัทสินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา โดยบริษัท ไทยอิสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ปาล์มน้ำมัน โดยบริษัท ทักษิณปาล์ม จำกัด อ้อยโรงงาน โดยโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย โรงงานน้ำตาลรวมผล และโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ข้าวโพดหวาน โดยบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และมะเขือเทศ โดยบริษัท ศรีเชียงใหม่อุตสาหกรรม จำกัด รูปแบบแปลงใหญ่

วันที่ 24 มิถุนายน 2564 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการผลิต ซึ่งมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สมดุล ทั้งด้านปริมาณ ความต้องการสินค้า และมีความมั่นคงทางการตลาด โดยในปี 2564 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ดำเนินโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ (ระยะที่ 1) ผ่านกลไกคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่

โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางดาเรศร์ กิตติโยภาส) เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมทั้งหน่วยงานที่ร่วมเป็นคณะทำงานและเลขานุการ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานในการส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรใช้ปัจจัยการผลิตและปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการของเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยการเกษตรสมัยใหม่และแม่นยำ ตั้งแต่การผลิตสินค้าเกษตร โดยมีตลาดที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน เน้นกระบวนการจัดการที่ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นให้กับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดจนส่งเสริมและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาในทุกด้าน ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรเป็นสำคัญ

“การดำเนินโครงการครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร ที่สำคัญคือมีตลาดรองรับที่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งรายได้ของชุมชน จังหวัด และประเทศที่มากขึ้นไปด้วย บนฐานความยั่งยืนด้านรายได้และความเข้มแข็งของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร”

สำหรับโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำ สู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ เตรียมจะดำเนินการปี 2564-2566 โดยระยะแรก ดำเนินการร่วมกับ 7 บริษัท เกษตรกร 25,286 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 32 จังหวัด รวมพื้นที่ 298,111.36 ไร่ สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา โดยบริษัท ไทยอิสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ปาล์มน้ำมัน โดยบริษัท ทักษิณปาล์ม จำกัด อ้อยโรงงาน โดยโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย โรงงานน้ำตาลรวมผล และโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ข้าวโพดหวาน โดยบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และ มะเขือเทศ โดยบริษัท ศรีเชียงใหม่อุตสาหกรรม จำกัด

ทั้งนี้ มีเป้าหมายจะดำเนินการในพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีการขึ้นทะเบียนแปลงใหญ่กับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือเป็นเกษตรกรรายย่อยเครือข่ายของบริษัทผู้รับซื้อผลผลิตที่จะขึ้นทะเบียนรวมเป็นแปลงใหญ่ภายใต้โครงการ

โดยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตรจากแหล่งรับซื้อ เพื่อลดต้นทุนการจัดการด้านโลจิสติกส์ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ และการดำเนินการในระยะที่ 2 จะเป็นการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถ (Scale up) ของแปลงใหญ่ขึ้นไปสู่การรวมเป็นกลุ่มจังหวัด/ภูมิภาค (Area base) โดยจะมีการให้คัดเลือกกลุ่มสินค้าเกษตร (Product base) ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อป้อนเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เสนอความต้องการสินค้าเกษตรมาพร้อมแล้ว อาทิ มันสำปะหลัง ผักอินทรีย์ ผลไม้ ยูคาลิปตัส และโกโก้

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 24 มิถุนายน 2564

“เงินช่วยชาวไร่อ้อย” เช็กด่วน ได้สิทธิ์ แต่ไม่ได้เงิน ต้องทำอย่างไร

อัพเดท “เงินช่วยชาวไร่อ้อย”  ธ.ก.ส. ไม่สามารถโอนเงินได้ แต่เงินไม่เข้าบัญชี ต้องทำอย่างไร เช็กด่วน

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ในอัตรา 120 บาทต่อตันอ้อย โดยจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ของชาวไร่อ้อยแต่ละรายโดยตรง จำนวน 121,010 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงาน 48,919,059 ตัน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รายงานสถานะการโอนเงินช่วยเหลือในโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564 ️ทั้งนี้ มีชาวไร่อ้อยที่ข้อมูลไม่ถูกต้อง จำนวน 353 ราย และบัญชีไม่ถูกต้อง จำนวน 343 รายอย่างรก็ดี สำหรับชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเกินปริมาณ 10,000 ตัน จำนวน 48 ราย (72 คู่สัญญา) จะยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือฯ ในรอบแรก “ชาวไร่อ้อย” ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินไปยังบัญชีของท่านผ่านไลน์ตรวจสิทธิ์อ้อย หากบัญชีไม่มีปัญหาระบบจะแจ้งว่าบัญชีพร้อมโอน และหากได้รับการโอนแล้วระบบจะแจ้งว่าโอนเงินสำเร็จแล้วกรณีระบบแจ้งว่าบัญชีไม่สามารถรับโอนได้ระบบจะแจ้งให้ทราบว่าไม่สามารถโอนได้เนื่องจากกรณีใด ให้ผู้ตรวจสิทธิ์ฯ รีบแจ้งดำเนินการแก้ไขผ่านโรงงานคู่สัญญา และให้โรงงานทำหนังสือรับรองมายังสำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อรับรองและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พิจารณาตรวจสอบร่วมกับ ธ.ก.ส. เพื่อเร่งดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 24 มิถุนายน 2564

ไทยจับมือกลุ่มเคร์นส์ ดันเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้ WTO

ไทยร่วมหารือประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของโลก หรือ ‘กลุ่มเคร์นส์’ ผลักดันการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรที่เสรีและเป็นธรรม หวังให้การเจรจามีความคืบหน้าก่อนหาข้อสรุปในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 ปลายปีนี้

วันที่ 24 มิถุนายน 2564 นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ผ่านการประชุมทางไกล เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม โดยไทยได้กล่าวถ้อยแถลงผลักดันประเด็นสำคัญในการเจรจาจัดทำกฎระเบียบระหว่างประเทศเรื่องการค้าสินค้าเกษตร อาทิ การสนับสนุนให้การค้าสินค้าเกษตรเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม มีความโปร่งใส รวมถึงการลดการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้า การหาข้อสรุปในการสำรองสินค้าเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนการลดอุปสรรคทางการค้า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

การประชุมครั้งนี้ ไทยได้ร่วมรับรองแถลงการณ์รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกที่จะร่วมกันหาข้อสรุปการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เพื่อให้สมาชิก WTO ปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะการลดความยากจนและยุติความหิวโหย การเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต ต่อเกษตรกรและผู้บริโภคสินค้าเกษตรอย่างแท้จริง

สมาชิกกลุ่มเคร์นส์ยังมุ่งมั่นให้การหารือ 3 ประเด็นหลักของ WTO มีความคืบหน้า ได้แก่ 1) การลดการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรที่บิดเบือนการค้า 2) การยกเลิกการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตร และ 3) การเข้าสู่ตลาด ซึ่งหากการหารือประเด็นดังกล่าวมีความคืบหน้า จะเป็นประโยชน์ต่อการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทย ในฐานะประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ภาคเกษตรของไทยมีตลาดที่กว้างและแน่นอน รวมทั้งแข่งขันกันด้วยความเป็นธรรมมากขึ้น

เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายประเทศใช้นโยบายอุดหนุนการเกษตรที่บิดเบือนการค้า ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกผันผวน และกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งการลดการอุดหนุนและแข่งขันในตลาดโลกอย่างเป็นธรรมจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย

ทั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ (Cairns Group) เป็นการรวมกลุ่มของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายสำคัญของโลก มีเป้าหมายเพื่อผลักดันการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ WTO ประกอบด้วยสมาชิก 19 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม โดยมียูเครนเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์

ในปี 2562 กลุ่มเคร์นส์ส่งออกสินค้าเกษตรรวมมูลค่า 398,660 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 27.37% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั่วโลก ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสูงสุดในกลุ่มเคร์นส์ ได้แก่ บราซิล มูลค่า 83,238 ล้านเหรียญสหรัฐ แคนาดา มูลค่า 51,386 ล้านเหรียญสหรัฐ อินโดนีเซีย มูลค่า 33,036 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยมูลค่า 32,942 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.26% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั่วโลก

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 24 มิถุนายน 2564

ข่าวดี!เงินช่วยชาวไร่อ้อย 1.2แสนรายเริ่มจ่าย24มิ.ย.นี้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรมเปิดเผยว่า จากมติครม. เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ในอัตรา 120 บาทต่อตันอ้อย

โดยจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ ในวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ของชาวไร่อ้อยแต่ละรายโดยตรง จำนวน 121,010 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงาน 48,919,059 ตัน ซึ่งในจำนวนนี้มีชาวไร่อ้อยที่ข้อมูลและเอกสารยังไม่ถูกต้อง จำนวน 353 ราย และข้อมูลบัญชีไม่ถูกต้อง จำนวน 343 ราย โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ และคาดว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือครบทุกรายภายในเดือนก.ค.นี้

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า จากนโยบายในการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ และข้อร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่น PM2.5 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลทำให้ปริมาณอ้อยไฟไหม้มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

(สอน.) จึงได้วางแผนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างต่อเนื่อง โดยได้ตั้งเป้าในฤดูกาลผลิตปี 2564/2565 อ้อยไฟไหม้เหลือ 10%

จาก https://www.naewna.com วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 ‘เงินบาท’ วันนี้เปิด ‘แข็งค่า’ที่ 31.84 บาทต่อดอลลาร์

ตลาดการเงินเริ่มกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังเจ้าหน้าที่เฟดต่างสนับสนุนการทยอยใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นและการแพร่ระบาดโควิด-19ยังกดดันเงินบาทอ่อนค่า คาดวันนี้เงินบาทที่ระดับ 31.80-31.95บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.84 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 31.86 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.80-31.95 บาทต่อดอลลาร์

ในส่วนแนวโน้มค่าเงินบาท  เรามองว่าปัจจัยกดดันการอ่อนค่าของเงินบาท ยังคงเป็นประเด็นความกังวลสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 หลังยอดผู้ติดเชื้อรายวันปรับตัวสูงขึ้นและยังไม่มีทีท่าจะลดลง ขณะเดียวกัน การแจกจ่ายวัคซีนก็ดูจะล่าช้าและแผนการแจกจ่ายวัคซีนอาจไม่สามารถรับมือกับการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้ ซึ่งภาพดังกล่าวอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติยังสามารถทยอยขายสินทรัพย์เสี่ยงไทย

ทั้งนี้ เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าทะลุระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญ เพราะระดับดังกล่าวก็เป็นโซนที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์

นอกจากนี้ เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง เรามองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้จังหวะนี้ทยอยลดการถือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (FX Reserves) ลงบ้าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สหรัฐฯมองว่า ไทยมีการแทรกแซงค่าเงินในทิศทางเดียว หรือ เพื่อให้ FX reserves มีการลดลงบ้าง

ผู้เล่นในตลาดการเงินเริ่มกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น หลัง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดทั้งที่เป็นVoting member ของ FOMC อาทิ Raphael Bostic และ Non-Voting member อย่าง Robert Kaplan ต่างสนับสนุนการทยอยใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น (Tightening) ของเฟด โดยมองว่า การทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่องหรือลดการทำคิวอี สามารถทำได้ หลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

มุมมองสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นของเจ้าหน้าที่เฟดดังกล่าว ได้กดดันให้ ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงออกมาบ้าง กดดันให้ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.11% ขณะที่ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้นราว +0.13% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้น Tesla กว่า +5% หลังผู้เล่นในตลาดเข้ามาก็งกำไรราคาหุ้น Tesla ผ่านตลาด Options มากขึ้น

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นในฝั่งยุโรป รายข้อมูลเศรษฐกิจ อย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (Manufacturing & Services PMIs ) ที่ออกมาดีเกินคาดมาก กลับ กดดันให้ ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและกังวลโอกาสที่ธนาคารกลางยุโรปจะทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่อง ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเลือกขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยง กดดันให้ ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ก็ปรับตัวลง -1.14% โดยเป็นการปรับตัวลงของหุ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นราว 2bps สู่ระดับ 1.49% ตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ออกมาสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น โดยเฉพาะ การทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่อง อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ จะยังแกว่งตัวในกรอบต่อไป เนื่องจากผู้เล่นในตลาดจะรอสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านข้อมูลการจ้างงานและเงินเฟ้อ รวมถึงตลาดจะรอการส่งสัญญาณการปรับนโยบายการเงินของเฟดที่อาจเกิดขึ้นในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole

ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ เคลื่อนไหวผันผวน จากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ออกมาทั้งสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น ขณะที่ เจ้าหน้าที่บางส่วน โดยเฉพาะประธานเฟดก็ยังคง ย้ำว่าเฟดยังไม่รีบใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัว ส่งผลให้ เงินดอลลาร์ยังคงทรงตัวในระดับเดิม โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 91.80 จุด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะให้ความสำคัญกับแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยนักวิเคราะห์ต่างมองว่าตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จากความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้น และ การทยอยลดเงินสนับสนุนเพิ่มเติมกับผู้ว่างงาน เพื่อจูงใจให้คนกลับมาทำงานมากขึ้น ทำให้ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) มีแนวโน้มลดลงสู่ระดับ 3.8 แสนราย

ส่วนทางด้านฝั่งอังกฤษ ยังคงต้องติดตามการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่อาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ หากการระบาดทวีความรุนแรงมากขึ้นและควบคุมไม่ได้ ซึ่งปัญหาการระบาดดังกล่าวจะกดดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ที่ระดับ 0.10% และเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการซื้อสินทรัพย์ (QE) เพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ แม้การแจกจ่ายวัคซีนจะครอบคลุมประชากรถึง 55%

และในฝั่งไทย ตลาดมองว่า ภาคการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงบอบช้ำจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 โดยตลาดคาดว่ายอดการส่งออก (Exports) เดือนพฤษภาคม อาจโตขึ้นกว่า 35%y/y หนุนโดยจากความต้องการสินค้าทั่วโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะโตกว่า 53%y/y ตามการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกเป็นหลัก

ขณะที่ ในฝั่งเงินดอลลาร์ยังคงมีแรงหนุนในฝั่งแข็งค่าอยู่ ทำให้เงินดอลลาร์ สามารถกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง หากตลาดกังวลแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น หรือ ตลาดอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) มากขึ้น อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินดอลลาร์ก็มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ และจะกลับมาอ่อนค่าลงได้ เมื่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปหรือเอเชียจะกลับมาสดใสมากขึ้น ซึ่งต้องจับตาสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในยุโรปและเอเชียอย่างใกล้ชิด

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

24 มิ.ย.ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี 1.2 แสนรายรับเงินผ่านบัญชี ธ.ก.ส.

รัฐบาลเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดี 1.2 แสนราย ผ่านบัญชี ธ.ก.ส. 24 มิถุนายน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ในอัตรา 120 บาทต่อตันอ้อย โดยจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ของชาวไร่อ้อยแต่ละรายโดยตรง จำนวน 121,010 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงาน 48,919,059 ตัน  ซึ่งในจำนวนนี้มีชาวไร่อ้อยที่ข้อมูลและเอกสารยังไม่ถูกต้อง จำนวน 353 ราย และข้อมูลบัญชีไม่ถูกต้อง จำนวน 343 ราย โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ และคาดว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือครบทุกรายภายในเดือนกรกฎาคมนี้

    นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า จากนโยบายในการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อย ไฟไหม้ และข้อร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลทำให้ปริมาณอ้อยไฟไหม้มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จึงได้วางแผนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างต่อเนื่อง

    โดยได้ตั้งเป้าในฤดูการผลิตปี 2564/2565 อ้อยไฟไหม้เหลือ 10% ด้วยมาตรการส่งเสริมให้ราคาอ้อยสดสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ การกำหนดโทษปรับโรงงานที่รับอ้อยไฟไหม้เกินเกณฑ์ที่กำหนด การจัดหาเครื่องสางใบอ้อยให้ชาวไร่อ้อยยืมใช้ฟรี จำนวน 176 เครื่อง การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร รถตัดอ้อย และเครื่องจักรกลอื่น ๆ มาใช้ในไร่อ้อย การหักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไฟไหม้ในอัตราตันละ 30 บาท จ่ายคืนให้กับชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีทุกราย รวมถึงขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสดให้กับชาวไร่อ้อยในอัตราที่เหมาะสม

    นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินไปยังบัญชีของท่านผ่านไลน์ตรวจสิทธิ์อ้อย หากบัญชีไม่มีปัญหาระบบจะแจ้งว่าบัญชีพร้อมโอน และหากได้รับการโอนแล้วระบบจะแจ้งว่าโอนเงินสำเร็จแล้วกรณีระบบแจ้งว่าบัญชีไม่สามารถรับโอนได้ระบบจะแจ้งให้ทราบว่าไม่สามารถโอนได้เนื่องจากกรณีใด ให้ผู้ตรวจสิทธิ์ฯ รีบแจ้งดำเนินการแก้ไขผ่านโรงงานคู่สัญญา และให้โรงงานทำหนังสือรับรองมายังสำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อรับรองและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พิจารณาตรวจสอบร่วมกับ ธ.ก.ส. เพื่อเร่งดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป

    สำหรับการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ในปีที่ผ่านมาได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยทั้ง 47 จังหวัดทั่วประเทศ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โรงงานน้ำตาล สมาคมชาวไร่อ้อย และชาวไร่อ้อย ที่ได้ร่วมกันรณรงค์แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างจริงจัง สำหรับในฤดูการผลิตปี 2564/2565 นี้ สอน. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะจับมือกันก้าวไปสู่เกษตรปลอดการเผา ร่วมกันแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้หมดไปจากประเทศไทย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 23 มิถุนายน 2564

EEC กับภัยตัวใหม่ โครงสร้างภาษีโลก

ในที่สุดกลุ่มประเทศผู้นำ G-7 ซึ่งประกอบไปด้วยสหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และแคนาดา ได้มีการตกลงกันแล้วในข้อเสนอมาตรฐานการเก็บภาษีจากบริษัทข้ามชาติของตนเองที่ไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีอัตราภาษีต่ำ แล้วขนกำไรเข้ามา

ในที่สุดกลุ่มประเทศผู้นำ G-7 ซึ่งประกอบไปด้วยสหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และแคนาดา ได้มีการตกลงกันแล้วในข้อเสนอมาตรฐานการเก็บภาษีจากบริษัทข้ามชาติของตนเองที่ไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีอัตราภาษีต่ำ แล้วขนกำไรเข้ามา ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการคุยกันในระดับรัฐมนตรีคลังของกลุ่มนี้มานานกว่า 8 ปี ที่ผ่านมา

โดยกลุ่ม G-7 มองว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติทั้งหลายนั้นจ่ายภาษีไม่เป็นธรรมให้กับประเทศตนเอง ธุรกิจเหล่านี้มีการประกอบธุรกิจข้ามชาติมักจะจดทะเบียนธุรกิจ ตั้งสำนักงาน หรือสถานประกอบการผลิตในประเทศที่มีอัตราภาษีกำไรของบริษัทในอัตราที่ต่ำ ถือว่าไม่เป็นธรรมกับประเทศ สังคม และผู้ประกอบการหรือธุรกิจที่ลงทุนในประเทศตนเอง ถือว่าการกระทำเยี่ยงนี้เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี

ถ้ามองในบริบทภาพใหญ่แล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายก็ต้องการการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติเหล่า โดยเสนอมาตรการสร้างแรงจูงใจผ่านการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ

แม้ว่า ผู้นำกลุ่มประเทศ G-7 จะออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงของความเป็นธรรมทางด้านภาษีที่บริษัทเหล่านี้หลีกเลี่ยง ทำให้ไม่เป็นธรรมกับประชาชนหรือธุรกิจเดียวกันที่ลงทุนทำในประเทศตัวเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นเราก็พอมองออกได้ว่า

ในขณะนี้รัฐบาลประเทศเหล่านี้ต้องการเงินงบประมาณมหาศาล โดยเฉพาะหลังโควิดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เมื่อ 10 ปีที่แล้วนั้น ประเทศเหล่านี้ก่อหนี้สาธารณะสูงมาก และเพิ่มอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณขาดดุลทุกปีและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องหาวิธีสร้างรายได้เพิ่มเพื่อมาปิดหีบงบประมาณ

ช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น พบว่าโควิดอยู่กับโลกนานกว่าที่คิด ผู้นำทุกประเทศในช่วงนี้ก็อยากขึ้นภาษีกันทั้งนั้นแต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้ทุกรัฐบาลเลือกทางที่จะหารายได้มาปิดหีบงบประมาณจากการกู้แทน เพราะน่าจะถูกด่าน้อยกว่าทางออกอื่น ๆ

แต่สำหรับประเทศใหญ่ ๆ ก็พอที่จะหาทางออกได้โดยวิธีอื่น ซึ่งวันนี้ G-7 เล็งไปที่กลุ่มบริษัทข้ามชาติของตนเองที่ไปทำธุรกิจในประเทศที่มีอัตราภาษีกำไรบริษัทในอัตราที่ต่ำ ซึ่งก็พออ้างเหตุผลได้ดูเป็นพระเอกได้ว่าเพื่อความเป็นธรรมทางภาษีและลดการเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาติและคนรวย และหวังลึก ๆ ว่ามาตรการนี้ก็จะลดความเสียเปรียบของภาระภาษีของบริษัทข้ามชาติที่จะไปลงทุนในต่างประเทศกับในประเทศไม่มีความแตกต่างมากนักกับการลงทุนในประเทศตัวเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างงาน และภาษีเพิ่มตามมา มาตรการแบบนี้ อาจเรียกว่าเป็นการกีดกันการลงทุนในต่างประเทศกำลังพัฒนาทางอ้อม (Indirect Barrier to FDI) และผมเชื่อว่า G-7 จะไม่ทำเฉพาะ 7 ประเทศเท่านั้น แต่จะพยายามใช้อิทธิพลต่าง ๆ ในเวทีโลกทุกเวทีสร้างระบบโครงสร้างภาษีให้ออกมาแบบที่เขาต้องการ เพราะหากทำเฉพาะ G-7 รับรองว่าบริษัทข้ามชาติแห่ออกจากประเทศตนเองแน่ ๆ และเป็นก้าวแรกของการกีดกันจีนในเวทีเศรษฐกิจโลก โดยเปลี่ยนกติกาในประเทศอื่น ๆ ให้เดินตามประเทศตะวันตก

แน่นอนครับในกรณีของประเทศไทยนั้นที่ผ่านมากว่า 50 ปี เรายังใช้อัตราภาษีของนิติบุคคลนั้นเป็นตัวจูงใจที่สำคัญให้กับบริษัทที่มาลงทุนในประเทศไทย แม้ว่าระยะหลังหลังเราจะพยยามกำหนดให้การส่งเสริมการลงทุนเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศก็ตาม แต่ปัจจัยสำคัญก็ยังวนอยู่กับการลดอัตราภาษีรายได้ให้กับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งก็เป็นมาตรการที่กลุ่มประเทศคู่แข่งเราในอาเซียนใช้ทุกประเทศ ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นอัตราภาษีนิติบุคคลของ ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลดลงอย่างมากมากกว่า 40%

เรื่องนี้ EEC ต้องคิดหนัก ๆ รอบด้าน เพราะวางอนาคตส่วนหนึ่งไว้กับการลงทุนของบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ที่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่นี้ หากภาษีทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่ง EEC ต้องมีหรือสร้างปัจจัยใหม่ ๆ ที่สร้างความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบให้กับนักลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายแทน ต้องรอดูผลการศึกษาที่ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการให้คณะกรรมการฯ EEC ไปดูผลกระทบและกลยุทธ์ใหม่ในการที่จะทำให้ EEC ยังคงมีเสน่ห์พอที่จะเป็นบ้านใหม่ของบริษัทนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามที่เราหวังไว้

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 23 มิถุนายน 2564

วช. หนุน ม.มหาสารคาม ปูทางสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพครบวงจร

วช. หนุน ม.มหาสารคาม ปูทางสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพครบวงจร โดยนำพืชผลทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบหลักการผลิต เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.64 จากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ "พลาสติกชีวภาพ (Bio plastic)" ได้เริ่มเป็นที่กล่าวถึง และได้รับความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ โดยใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ประเทศไทยจึงอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบเพราะเป็นฐานการเกษตรใหญ่ที่สุดในอาเซียน แต่สถานภาพของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในประเทศไทยกลับอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเพียงเล็กน้อยโดยนำเข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เพื่อนำมาขึ้นรูปเป็นภาชนะ เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยเครื่องจักรผลิตพลาสติกธรรมดา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.) จึงได้สนับสนุนทุนการวิจัยแก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ (PLA : Polylactic acid) เพื่อเป็นวัตถุดิบต้นทางในการผลิตพลาสติกชีวภาพ

รศ.ดร.ยอดธง ใบมาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า โดยปกติขั้นตอนการผลิตพลาสติกชีวภาพแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นต้นน้ำ เป็นการผลิตกรดแลคติกจากแป้งและน้ำตาล โดยใช้ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรืออ้อย เป็นวัตถุดิบ ขั้นกลางน้ำ เป็นการนำกรดแลคติกมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกชีวภาพ และขั้นปลายน้ำ เป็นการนำเม็ดพลาสติกชีวภาพไปผสมสูตรเพื่อขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ ประเทศไทยจึงเป็นเพียงผู้ผลิตปลายน้ำที่ยังไม่มีเทคโนโลยีการผลิตเป็นของตัวเองแบบครบวงจร นอกจากการร่วมทุนกับต่างชาติตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยีของต่างประเทศ 

จากการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย ม.สุรนารี มีบทบาทในการผลิตกรดแลคติกเพื่อให้ ม.มหาสารคาม นำไปสังเคราะห์เป็นเม็ดพลาสติก PLA แล้วจึงนำเม็ดพลาสติกที่ได้ไปผสมเป็นสูตรต่างๆ เพื่อขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ผลจากการวิจัยสามารถพัฒนาสูตรผสมและขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ช้อนกาแฟ จาน ชาม เมื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้ปรากฏว่ามีความแข็งแรงมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติก PLA ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

"เพื่อให้สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ให้ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก PLA ในขั้นกลางน้ำ เพื่อให้ได้ปริมาณเม็ดพลาสติกมากขึ้น จากเดิมที่ใช้วิธีสังเคราะห์กรดแลคติกด้วยหลอดแก้วที่อยู่ในห้องทดลอง ซึ่งให้ผลผลิตเป็นเม็ดพลาสติก PLA ครั้งละประมาณ 500 กรัม ดังนั้นจึงพัฒนากระบวนการผลิตโดยในขั้นตอนแรกสามารถพัฒนาและประดิษฐ์เครื่องที่ทำจากสเตนเลส ซึ่งมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์กรดแลคติก 8 กก. ให้เป็นโมโนเมอร์ได้ถึง 4 กก. ในขั้นตอนที่สองเป็นการประดิษฐ์เครื่องเพื่อสังเคราะห์โมโนเมอร์ให้เป็นเม็ดพลาสติก PLA ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อขอทุนสนับสนุนทำวิจัยต่อเนื่องจาก วช. ซึ่งหากทำเป็นผลสำเร็จก็สามารถใช้เป็นเครื่องต้นแบบเพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้"

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า บทบาทสำคัญของ วช. คือ สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของไทยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพ และพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีการผลิตแบบครบวงจร ทั้งที่วัตถุดิบต้นทางทั้งหมดมีอยู่ในประเทศไทย การวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรจะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย ช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นวัตถุดิบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 23 มิถุนายน 2564

ติดป้ายรับซื้อสูงลิ่วตันละ 1,300 บาท หวั่นฝนทิ้งช่วง โรงงานเปิดศึกแย่งอ้อย

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายบางแห่ง ติดป้ายประกาศรับซื้ออ้อยในฤดูการหีบปี 2564/65 หรือในปลายเดือน พ.ย.นี้เป็นต้นไป โดยตั้งราคาล่วงหน้าในราคาตันละ 1,300 บาท เนื่องจากปริมาณฝนที่ทิ้งช่วง ทำให้หลายฝ่ายยังกังวลถึงผลผลิตอ้อยที่อาจลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับหากพิจารณาจำนวนโรงงานน้ำตาลทรายของฤดูหีบใหม่ ที่มีการเปิดโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ทำให้แนวโน้มผลผลิตอ้อยอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานน้ำตาลทราย

นายนราธิป กล่าวว่า หากมองสถานการณ์ผลผลิตอ้อยในขณะนี้ แม้ว่าภาพรวมมีแนวโน้มจะสูงกว่าฤดูหีบปี 2563/64 ประมาณ 10-13 ล้านตัน แต่โรงงานที่เปิดหีบรวม 57 แห่ง มีกำลังผลิตเพียงพอกับอ้อยเข้าหีบควรอยู่ระดับตั้งแต่ 100 ล้านตันขึ้นไป ขณะที่ล่าสุดปี 2564/65 คาดการณ์จะมีผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 80 ล้านตัน บวกลบ

นอกจากนั้น แม้ว่ามีการปิดกิจการโรงงานบริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด จังหวัดอุดรธานีไป 1 แห่ง แต่อัตรากำลังผลิตอ้อยส่วนนี้ไม่ได้หายไป เพราะมีการนำไปป้อนโรงงานในเครือที่มีกำลังผลิตที่ขยายเพิ่มแทน ประกอบกับฤดูหีบปีนี้จะมีโรงงานเปิดหีบเพิ่มอีก 1 แห่งที่จังหวัดนครราชสีมา ทำให้ความสามารถในการหีบอ้อยมีเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปริมาณอ้อยก็ยังถือว่าต่ำกว่าพอสมควร

ทั้งนี้ ในแง่ผลผลิตชาวไร่อ้อยก็ยังต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากพบว่าปริมาณฝนเริ่มลดต่ำลงและหากทิ้งช่วงนานจะกระทบต่อตออ้อย ส่งผลให้ผลผลิตอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้เช่นกัน โดย 80% ของผลผลิตอ้อยในประเทศไทยยังต้องอาศัยน้ำฝน ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกอ้อยปีการผลิต 2564/65 ยังคงทรงตัวในระดับ 9.5-10 ล้านไร่ ไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากขณะนี้การปลูกอ้อยมีต้นทุนที่สูงขึ้นและการตัดอ้อยสดทำให้บริหารจัดการยุ่งยากซับซ้อนขึ้น.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 23 มิถุนายน 2564

ครม.ผลักดันเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศสมาชิกภายใต้ WTO

ครม.เห็นชอบร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 42 ผลักดันเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศสมาชิกภายใต้ WTO

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ว่า ครม.เห็นชอบร่างแถลงการณ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 42 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอซึ่งประเทศออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ ผ่านระบบการประชุมทางไกลเพื่อหารือและร่วมกันผลักดันการเจรจาด้านเกษตรภายใต้ WTO 3 หัวข้อ ได้แก่

1.การเปิดตลาด อาทิ การลดภาษีระหว่างประเทศสมาชิก2.การลดการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้าให้แก่สินค้าเกษตร3.การยกเลิกการอุดหนุนส่งออกให้ได้ข้อสรุปก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 (12th Ministerial Conference: MC12) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564ทั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ (Cairns Group) เป็นการรวมกลุ่มของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อผลักดันการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) และลดการอุดหนุนภายในที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนการค้า ประกอบด้วยสมาชิก 19 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ เวียดนาม ไทย และอุรุกวัย

สำหรับสาระสำคัญร่างแถลงการณ์ คือ ประเทศสมาชิกจะให้ความสำคัญกับการผลักดันการเจรจาด้านเกษตรที่เป็นรูปธรรมและเท่าเทียมเพื่อให้การค้าสินค้าเกษตรสามารถคาดการณ์ได้และเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรได้มากขึ้น และรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ความไม่มั่นคงทางอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเห็นพ้องร่วมกันที่จะดำเนินการ อาทิ การลดอุปสรรคทางการค้าและการบิดเบือนทางการค้า, การปฏิรูปเกี่ยวกับการเปิดตลาด การอุดหนุนภายใน และการส่งออก ตามความตกลงว่าด้วยการเกษตรภายใต้ WTO เป็นต้นการรับรองแถลงการณ์ดังกล่าวนี้ จะเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของโลกในการแสดงเจตนารมณ์ต่อการปฏิรูปสินค้าเกษตรภายใต้ WTO รวมทั้งสนับสนุนความมุ่งมั่นของกลุ่มเคร์นส์ ในการผลักดันให้การเจรจาด้านการเกษตรในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 (MC12) มีผลลัพธ์ เพื่อเสริมสร้างการแข่งขันสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมสำหรับประเทศสมาชิก WTO ต่อไป นางสาวรัชดา รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ระบุ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 23 มิถุนายน 2564

'พาณิชย์' สุดปลื้มส่งออก พ.ค.64 โตสุดสตรองกว่า 40%

23 มิ.ย. 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมการส่งออกในเดือน พ.ค. 2564 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เป็นตัวเลข 2 หลัก ไม่ต่ำกว่า 40% ถือว่าฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด เมื่อช่วงเดือน พ.ค. 2563 ที่หดตัว 22.47% และ มิ.ย. 2563 หดตัวถึง 23.08% ก่อนจะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ โดยในครึ่งปีหลังกระทรวงพาณิชย์จะเร่งผลักดันการส่งออก ซึ่งยังคงเป้าหมายส่งออกทั้งปี 2564 ไม่ต่ำกว่า 4% ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่อง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังติดตามเรื่องการกระจายและฉีดวัคซีน ซึ่งผลสำรวจประชาชนในแต่ละภาคกว่า 55-63 % ระบุว่ายังไม่ฉีดและในพื้นที่ยังไม่ได้รับการฉีด จึงทำให้กว่า 40-70% คาดว่าความมั่นใจในการใช้จ่ายและท่องเที่ยวยังไม่คึกคัก

นอกจากนี้ เห็นว่ามาตรการรัฐที่ออกมาผ่านโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ยังไม่สร้างบรรยากาศใช้จ่ายให้คึกคักกว่าควรเป็น ส่วนใหญ่ระบุใช้จ่ายเหมือนเดิม ขณะที่ 20-30 % มองว่ายังซบเซา ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จึงได้เสนอให้รัฐทบทวนและเพิ่มเติมมาตาการ โดยเพิ่มเงินคนละครึ่งจาก 3 พันบาท เป็น 6 พันบาท โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่จำกัดการใช้จ่ายและต้องลงทะเบียนทำให้ประชาชนระดับที่มีรายได้มองว่าไม่สะดวกและขั้นตอนยุ่งยาก ให้ปรับปัดฝุ่นช้อปดีมีคืน เป็นการนำการใช้จ่ายในลดหย่อนภาษีน่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและได้รับความสนใจเข้าโครงการมากกว่า และควรเร่งทำในไตรมาส 3/2564 เพื่อประคองเศรษฐกิจ

ขณะที่ ส่วนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เริ่มจากภูเก็ตนั้น จากที่ได้สำรวจบริษัททัวร์นำเข้านักท่องเที่ยว พบว่า หลายประเทศที่เปิดประเทศจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อน และไทยก็ติดหนึ่งใน 10 ประเทศของโลก ที่นักท่องเที่ยวนิยมและต้องการเข้ามาแล้ว ซึ่งหากเปิดได้ตามกำหนด ปีนี้มีนักท่องเที่ยวมาถึง 3-4 แสนคน จะสร้างรายได้ 2-3 แสนบ้านบาท ช่วยกระตุ้นจีดีพี 0.7-1.0 %, มาตรการกระตุ้นใช้จ่ายภาครัฐได้รับความนิยมตามเป้าหมาย จะส่งผลต่อจีดีพีทั้งปีนี้ขยายตัวได้ 2-2.5% และบนพื้นฐานส่งออกโต 7% เงินเฟ้อ1.3%

“ในการประชุมทีมเศรษฐกิจกับภาคเอกชน 23 มิ.ย.นี้ คาดว่าเอกชนจะเสนอแนวทางกระตุ้นใช้จ่ายเร่งด่วนและการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ อีกทั้งลดต้นทุนเอสเอ็มอี และความพร้อมเปิดประเทศ เริ่มที่แซนด์บ็อกซ์ ภูเก็ต เบื้องต้นจากสำรวจประชาชนเริ่มกลับมากังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิดอีกระลอก ขณะที่ความเชื่อมั่นประชาชนและธุรกิจตอนนี้อยู่ที่การฉีควัคซีน” นายธนวรรธน์กล่าว

จาก https://www.thaipost.net  วันที่ 23 มิถุนายน 2564

"เงินช่วยชาวไร่อ้อย" เข้าวันไหน เช็กที่นี่

โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย  แจ้ง ข่าวดีสำหรับ "พี่น้องชาวไร่อ้อย" ที่ตัดอ้อยสดส่งเข้าหีบปี 2563/64 กับโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 แห่ง ได้รับสิทธิ์ตามโครงการ เงินช่วยเหลือ "ตัดอ้อยสด เพื่อลดฝุ่น pm2.5" อัตรา 120 บาทต่อตันอ้อย ในวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินพร้อมกัน เป็นการโอนเงินตรงเข้าบัญชีออมทรัพยของชาวไร่ ประมาณ 300,000 ราย วงเงินรวมประมาณ 6,056 ล้านบาท โดยอาจมีชาวไร่ประมาณ 353 ราย เกิดปัญหาต้องแก้ไขและตรวจสอบข้อมูลจาก สบน.ใหม่ “ชาวไร่ที่ตัดอ้อยไฟไหม้” จะไม่ได้สิทธิ์รับเงินช่วยเหลือนี้ กรณีที่ท่านตัดทั้งอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ จะได้รับเฉพาะส่วนที่เป็นอ้อยสดสะอาดเท่านั้น หากมีข้อสงสัยหรือเงินไม่ถูกโอนเข้าบัญชี ให้ติดต่อโรงงานน้ำตาลที่ส่งอ้อยได้โดยตรง หมายเหตุ : ชาวไร่ที่ส่งอ้อยสดกับโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี ซึ่งได้แจ้งปิดดำเนินกิจการ จะได้สิทธิเงินช่วยเหลือค่าตัดอ้อยสดและได้รับเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2563/64 เหมือนกับโรงงานน้ำตาลแห่งอื่นๆ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 22 มิถุนายน 2564

โรงงานน้ำตาลเริ่มเปิดศึกแย่งชิงอ้อยเสนอราคา1,300บ./ตันหวั่นอ้อยไม่พอ

จับตาโรงงานน้ำตาลบางแห่งเริ่มปิดป้ายรับซื้ออ้อยราคาตันละ 1,300บาทในฤดูหีบปี 64/65 เพื่อแย่งอ้อยเข้าหีบในปลายปีนี้หลังสัญญาณผลผลิตอ้อยเมื่อเทียบกับโรงงานน้ำตาลยังไม่สมดุล แม้โรงงานกุมภวาปีปิดแต่ก็มีโรงงานผุดเพิ่มอีก 1 แห่งทำให้โรงงานเปิดหีบยังคงอยู่ 57 แห่ง แถมต้องเกาะติดฝนทิ้งช่วงหวั่นฉุดผลผลิตลงอีก

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายบางแห่งเริ่มติดป้ายประกาศรับซื้ออ้อยในฤดูการหีบปี 2564/65 ล่วงหน้าในราคา 1,300 บาทต่อตันเนื่องจากหากมองสถานการณ์ผลผลิตอ้อยในขณะนี้แม้ว่าภาพรวมมีแนวโน้มจะสูงกว่าฤดูหีบปี 63/64 ประมาณ 10-13 ล้านตันหรือเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ล้านตันก็ตามแต่เนื่องจากปริมาณฝนที่ทิ้งช่วงก็กำลังทำให้หลายฝ่ายยังกังวลถึงผลผลิตที่อาจลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับหากพิจารณาจำนวนโรงงานน้ำตาลทรายของฤดูหีบใหม่ยังมีการเปิดโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งทำให้ผลผลิตอ้อยยังคงไม่เพียงพอกับโรงงาน

“ ฤดูหีบปี 63/64 ผลผลิตอ้อยอยู่ที่ 66.66 ล้านตันมีโรงงานที่เปิดหีบทั้งสิ้น 57 แห่งซึ่งกำลังผลิตโรงงานที่เหมาะสมกับอ้อยเข้าหีบควรจะอยู่ระดับตั้งแต่ 100 ล้านตันขึ้นไป แม้ล่าสุดปี64/65 คาดการณ์จะมีผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 80 ล้านตันบวกลบ และมีการปิดโรงงานบริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด จ.อุดรธานีแต่อัตรากำลังผลิตอ้อยส่วนนี้ไม่ได้หายไปเพราะมีการนำไปป้อนโรงงานในเครือที่มีกำลังผลิตที่ขยายเพิ่มแทน ประกอบกับฤดูหีบปีนี้จะมีโรงานเปิดหีบเพิ่มอีก 1 แห่งที่จ.นครราชสีมาทำให้ความสามารถในการหีบอ้อยมีเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอ้อยก็ยังถือว่าต่ำกว่าพอสมควร”นายนราธิปกล่าว

ทั้งนี้ในแง่ของผลผลิตอ้อยยังคงต้องเฝ้าติดตามเนื่องจากขณะนี้พบว่ามีปริมาณฝนเริ่มลดต่ำและหากมีการทิ้งช่วงนานจะกระทบต่อตออ้อยส่งผลให้ผลผลิตอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้เช่นกันเนื่องจาก 80% ของผลผลิตอ้อยในไทยยังต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก ส่วนในแง่ของจำนวนพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของไทยฤดูหีบปี64/65 ยังคงทรงตัวในระดับ 9.5-10 ล้านไร่ไม่ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากนักเนื่องจากขณะนี้การปลูกอ้อยมีต้นทุนที่สูงขึ้นและการบริหารจัดการที่ยุ่งยากซับซ้อนจากการที่ต้องตัดอ้อยสดที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานและจะต้องไปหาจ้างรถตัดทำให้รายเล็กๆและกลางหันไปปลูกพืชอื่นที่บริหารง่ายและกำไรมากกว่า เช่นมันสำปะหลัง

นายนราธิปกล่าวว่า โรงงานน้ำตาลที่สามารถเสนอราคารับซื้ออ้อยระดับสูง 1,300 บาทต่อตันได้เนื่องจากมีรายได้และกำไรจากธุรกิจต่อเนื่องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาศัยเพียงรายได้จากการขายน้ำตาลทรายทางเดียวซึ่งในอนาคตโรงงานน้ำตาลที่ไม่แตกไลน์ธุรกิจไปทำผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ต่อเนื่องจากน้ำตาลจะอยู่ยากขึ้น อย่างไรก็ตามพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย(ฉบับใหม่)ที่อยู่ระหว่างแก้ไขเพื่อประกาศใช้ที่จะมีการกำหนดให้ผลพลอยได้จากการหีบอ้อยเช่น กากอ้อย ให้สามารถนำมาเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่ฝ่ายโรงงานระบุว่าจะทำให้โรงงานอยู่ลำบากยิ่งขึ้นนั้นควรมองในมุมกลับว่าผลพลอยได้ดังกล่าวจะถูกคำนวณเป็นราคาอ้อยที่เป็นธรรมให้กับชาวไร่เพิ่มขึ้นก็จะจูงใจให้ชาวไร่ปลูกอ้อยต่อไปซึ่งประโยชน์จะตกทั้งสองฝ่ายมากกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

“ ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูหีบปี64/65 ความหวาน 10 ซี.ซี.เอส วันนี้โรงงานได้ประกันราคาจะได้ 1,000 บาทต่อตันอยู่แล้ว ถือว่าเป็นผลดีต่อชาวไร่ระดับหนึ่งแต่สุดท้ายการเพาะปลูกอ้อยก็ต้องดูที่กำไร ความยุ่งยากของการบริหารจัดการเป็นองค์ประกอบ”นายนราธิปกล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 22 มิถุนายน 2564

อาเซียนชี้กฎศุลกากรอินเดียตัวใหม่  ทำป่วน เสี่ยงข้อมูลธ.รั่วไหล

อาเซียนขออินเดียเร่งให้ความเห็นชอบร่างขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าโดยเร็ว ก่อนชงรัฐมนตรี ประกาศผลการเจรจาทบทวนก.ย.นี้ พร้อมชี้การบังคับใช้กฎศุลกากรว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดสินค้าใหม่ของอินเดียเป็นการเพิ่มขั้นตอน และสุ่มเสี่ยงข้อมูลความลับทางธุรกิจรั่วไหล

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน–อินเดีย ครั้งที่ 33 ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเร่งสรุปการจัดทำขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน–อินเดีย และเรียกร้องให้อินเดียแก้ไขปัญหากฎระเบียบทางศุลกากรในการนำเข้าสินค้าโดยใช้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรี

โดยผลการประชุมว่า เมื่อเดือนก.ย.2562 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน–อินเดีย ได้มีมติให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน–อินเดีย (ASEAN – India Trade in Goods Agreement: AITIGA) ให้มีความทันสมัยและสะดวกต่อการค้าระหว่างกัน ซึ่งที่ผ่านมา อาเซียนได้จัดทำร่างขอบเขตการทบทวนและส่งให้ฝ่ายอินเดียได้พิจารณาระยะหนึ่งแล้ว โดยการประชุมครั้งนี้ อาเซียนได้เร่งรัดอินเดียให้ความเห็นต่อเอกสารดังกล่าว โดยอินเดียแจ้งว่า จะสามารถส่งความเห็นให้อาเซียนได้ภายในเดือนมิ.ย.2564 ทั้งนี้ สองฝ่ายจะพยายามดำเนินการเพื่อให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน–อินเดีย ครั้งที่ 18 เดือนก.ย.2564 สามารถประกาศการเจรจาทบทวนความตกลง AITIGA อย่างเป็นทางการได้

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบว่า ขณะนี้ทุกประเทศได้ให้สัตยาบันความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-อินเดีย (ASEAN – India Investment Agreement : AIIA) ทำให้ความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับประเทศภาคีทุกประเทศแล้ว​อาเซียนชี้กฎศุลกากรอินเดียตัวใหม่  ทำป่วน เสี่ยงข้อมูลธ.รั่วไหล

​นอกจากนี้อาเซียนยังได้หยิบยกปัญหาการบังคับใช้กฎศุลกากรว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดสินค้าใหม่ของอินเดีย (CAROTAR 2020) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนก.ย.2563 ที่ให้อำนาจศุลกากรอินเดียร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของสินค้านำเข้ามากเกินกว่าที่ตกลงไว้ ซึ่งไทยและประเทศอาเซียนเห็นว่า กฎระเบียบดังกล่าวเป็นการเพิ่มขั้นตอนพิธีการทางศุลกากรและมีความสุ่มเสี่ยงที่ข้อมูลที่ขออาจเป็นข้อมูลทางธุรกิจอีกด้วย เช่น ค่าแรง กำไร และกระบวนการผลิต

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้หารือเรื่องการผลักดันให้สภาธุรกิจอาเซียน–อินเดีย เร่งจัดหารือระหว่างภาคธุรกิจของอาเซียนและสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย เพื่อหาแนวทางการบริหารสภาธุรกิจอาเซียน–อินเดีย เพื่อให้สามารถเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดีย​อาเซียนชี้กฎศุลกากรอินเดียตัวใหม่  ทำป่วน เสี่ยงข้อมูลธ.รั่วไหล

ในปี 2563 การค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียมีมูลค่า 65,589 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้า 14.92% เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด – 19 โดยแบ่งเป็นการส่งออกจากอาเซียนไปอินเดีย มูลค่า 39,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าจากอินเดียมายังอาเซียน มูลค่า 26,178 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันในปี 2563 การค้าระหว่างไทยกับอินเดียมีมูลค่า 9,774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้า 19.54% แบ่งเป็นการส่งออกจากไทยไปอินเดีย มูลค่า 5,489 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าจากอินเดียมาไทย มูลค่า 4,284 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 22 มิถุนายน 2564

กนศ.ถกซีพีทีพีพี ก่อนส่งครม.เคาะท่าทีไทย

เมื่อเร็วๆนี้ในการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เรื่อง CPTPP กับสื่อมวลชน (CPTPP Media Focus Group) ครั้งที่1 จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศ

เชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ไทยไม่ควรละทิ้งโอกาสที่จะเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลงความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) เพราะ กระบวนการเข้าร่วมเป็นภาคีข้อตกลงนี้ มีขั้นตอนดำเนินการหลายส่วน เริ่มตั้งแต่หากไทยสนใจเข้าร่วมซีพีทีพีพีต้องยื่นหนังสือขอเริ่มการเจรจาก่อน ซึ่งปีนี้ญี่ป่นเป็นประธานสมาชิกฯ และเมื่อเร็วๆนี้ได้พิจารณาคำขอเข้าเป็นสมาชิกของสหราชอาณาจักรไปแล้ว  ซึ่งเดิมที่มีความเข้าใจว่าสามารถยื่นความจำนงได้ในช่วงการประชุมคณะกรรมาธิการซีพีทีพีพี ในช่วงส.ค.ของทุกปีเท่านั้น ตอนนี้ถ้าพร้อมก็ยื่นใบสมัครได้เลย               อย่างไรก็ตาม หลังการยื่นใบสมัครกรรมาธิการฯจะพิจารณาคำขอหากเห็นชอบก็จะจัดตั้งคณะทำงานเจรจาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกฯ  เมื่อเจรจาแล้วเสร็จก็จะเสนอกลับมาที่กรรมาธิการซีพีทีพีพีเพื่อแจ้งผลการพิจารณาหากยินยอมรับเป็นสมาชิกประเทศผู้ขอก็จะดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศต่อไป

“ประเทศไทยยังอยู่ในขั้นต้นที่ยังไม่ได้ยื่นใบสมัคร ซึ่งความเห็นของกรมเศรษฐกิจฯเราไม่ควรทิ้งโอกาสเพราะหน้าที่ของรัฐบาลต้องแสวงหา ค้นหาโอกาสของประเทศไทยในทุกๆโอกาส เพราะเรายังมีเวลาและขั้นตอนอีกหลายส่วนให้จะตัดสินใจได้อีกว่าจะรับข้อตกลงนี้หรือไม่”

 สำหรับท่าทีสหรัฐต่อการกลับเข้าสู่ซีพีทีพีพีหลังเปลี่ยนผู้นำนั้น เบื้องต้นประเมินว่า สหรัฐไม่น่าจะขยับในเรื่องนี้อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ เพราะสหรัฐมีท่าทีให้ความสำคัญต่อการปกป้องตลาดภายในมากกว่า แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือขณะนี้สหราชอาณาจักรเข้าสู่การเจรจาแล้วหากบรรลุข้อตกลงได้ เงื่อนไขและมาตรฐานของซีพีทีพีพีจะเพิ่มขึ้นไปอีก

“ถ้าจะอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าโลก(GVC) ก็ต้องทำตามกติกาของโลก ซึ่งไทยอยู่ในRegional value chainsและหลังโควิดเงื่อนไขข้อตกลงการค้าเสรีจากนี้อาจมีกติกาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการแรงงาน สิ่งแวดล้อม ซึ่งซีพีทีพีพีได้กำหนดมาตรฐานต่างๆไว้แล้ว”

รัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ปฏิบัติราชการประจำที่ส่วนกลาง)  กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าสหรัฐจะเข้าร่วมซีพีทีพีพีเพราะให้ความสำคัญต่อดับเบิลยูทีโอ และต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

“ข้อตกลงการค้าจากนี้ จะมีเงื่อนไขต่างๆมากขึ้น แต่ถ้าทำในรูปแบบข้อตกลงการค้าเงื่อนไขต่างๆที่จะเกิดขึ้นจะสามารถเจรจาต่อรองได้ไม่ใช่การกำหนดเงื่อนไขฝ่ายเดียว”

ธิดากุญ แสนอุดม เลขานุการกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ซีพีทีพีพีกำหนดให้สมาชิกต้องเป็นภาคีอนุสัญญาUPOV 1991 ซึ่งว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่โดยให้สิทธิเด็ดขาดแก่นักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญาทางด้านพืช ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของประเทศไทย

โดยประเด็นที่แตกต่างจากกฎหมายไทย เช่นอายุการคุ้มครอง อย่างเมล็ดพันธุ์ กฎหมายไทยจะคุ้มครอง 12ปี ขณะที่UPOV คุ้มครอง 20 ปี ด้านสิทธิการเก็บพันธุ์ ของไทยกำหนดเก็บไว้ปลูกในCropต่อไปได้ แต่ UPOV มีเงื่อนไขที่ต่างออกไป ซึ่งอาจกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยที่หากต้องการพันธุ์พืชที่ด่ต้องมีต้นทุนเพิ่ม เพื่อลดข้อกังวลเรื่องนี้สามารถส่งเสริมหน่วยงานรัฐให้ปรับปรุงพันธุ์ที่ดีเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้

“UPOV ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อตอบโจทย์การเกษตรในอนาคตซึ่งพื้นที่การเกษตรลดลง ประชากรเพิ่มขึ้น โดยไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของอาเซียนที่มีขีดความสมารถของนักปรับปรุงพันธุ์พืชและทำรายได้จากการส่งออก ”

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าวันนี้ (22 มิ.ย.) เครื่อข่ายภายประชาชนนำโดยgreenpeace Thailand และ เครือข่ายรณรงค์‘#NoCPTPP’ จะยื่นรายชื่อกว่า 2 แสนรายชื่อของผู้คัดค้านการเข้าร่วมและเจรจราซีพีทีพีพี

นลินทิพย์ หอมวิเศษวงศา ผู้อำนวยการกองนโยบายระบบการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กล่าวว่า ในวันนี้ (22 มิ.ย.) จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 4 /2564 เพื่อพิจารณาผลการทำงาน

หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ศึกษาเงื่อนไข ข้อจำกัดและการปรับตัวจากข้อตกลงนี้ หากที่ประชุมมีมติในทางใดก็จะเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งเป็นกำหนดกรอบเวลาดำเนินการตามที่ครม.มอบหมาย ก่อนนำเสนอที่ประชุมครม.ต่อไป

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 22 มิถุนายน 2564

กรมโรงงานฯ เล็ง ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี ช่วยลดผลกระทบจากโควิด-19

โรงงานอุตสาหกรรม 59,013 แห่ง ทั่วประเทศเตรียมเฮ ! หลังกรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานรายปีต่อเนื่องอีก 1 ปี หลังสิ้นสุด 9 มิ.ย.64 เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 คาดจะมีผลตั้งแต่ 10 มิ.ย.64 จนถึง 9 มิ.ย.65

นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้สามารถฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้นนั้น

ในส่วนของ กรอ.ได้นำเสนอร่างกฎกระทรวงเพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ทุกขนาดไปอีก 1 ปี ต่อเนื่องจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานในปี 2563 ที่สิ้นสุดการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ การยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีดังกล่าว จะต้องออกเป็นกฎกระทรวงและนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะมีผลบังคับใช้

“การยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่เจ้าของกิจการโรงงานเป็นหนึ่งในมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเชื่อว่ามาตรการนี้จะช่วยพยุงสถานะของโรงงานให้มีการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนหลังจากที่คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติแล้วก็จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อนที่จะประกาศใช้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565” นายประกอบ กล่าว

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 22 มิถุนายน 2564

กทท.เผยส่งออกฟื้นดันตู้สินค้าผ่านท่า6เดือนโต

กทท. เผยผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ 2564 ตู้ผ่านท่าขยายตัว 2.05% ปัจจัยหนุนส่งออกสินค้าเริ่มฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในการให้บริการเรือ สินค้า และตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน (ทชส.) ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) และท่าเรือระนอง (ทรน.) ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564) โดยเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน สรุปดังนี้ทกท. เรือเทียบท่า 1,961 เที่ยว ลดลง 0.81% สินค้าผ่านท่า 10.621 ล้านตัน ลดลง 3.65%ตู้สินค้าผ่านท่า 0.720 ล้าน ที.อี.ยู. ลดลง 0.70%ทลฉ. เรือเทียบท่า 4,601 เที่ยว ลดลง 11.52% สินค้าผ่านท่า 43.588 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.10%ตู้สินค้าผ่านท่า 4.074 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 2.56%ทชส. เรือเทียบท่า 1,129 เที่ยว ลดลง 36.39% สินค้าผ่านท่า 47,092.68 ตัน ลดลง 61.04% ตู้สินค้า ผ่านท่า 2,585 ที.อี.ยู. ลดลง 52.42%ทชข เรือเทียบท่า 4 เที่ยว ลดลง 97.24% สินค้าผ่านท่า 24 ตัน ลดลง 99.06% ทรน. เรือเทียบท่า 2 เที่ยว เพิ่มขึ้น 100% สินค้าผ่านท่า 47,365 ตัน ลดลง 33.00% ตู้สินค้าผ่านท่า 1,661 ตู้ ลดลง 23.88%

สำหรับ ผลการดำเนินงานของ กทท. ในรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564) มีทิศทางฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีเรือเทียบท่าที่ ทกท. และ ทลฉ. รวม 6,562 เที่ยว ลดลง 8.57% สินค้าผ่านท่า 54.208 ล้านตัน ลดลง 0.66% และตู้สินค้าผ่านท่า 4.794 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 2.05% คิดเป็นกำไรสุทธิ 2,969 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.47% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

จากการขยายตัวของตู้สินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้น 2.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สืบเนื่องจาก การได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ประกอบกับ หลายประเทศได้แจกจ่ายและฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนของตน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งการฟื้นตัวของภาคการผลิตส่งผลให้ความต้องการวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 22 มิถุนายน 2564

องค์การจัดการน้ำเสีย จับมือ อีสท์วอเตอร์ แก้ปัญหาขาดน้ำอีอีซี

องค์การจัดการน้ำเสีย จับมือ อีสท์วอเตอร์ ลงนามร่วมบริหารจัดการน้ำรองรับพื้นที่ อีอีซี ศึกษาการนำน้ำเสียมาเปลี่ยนเป็นน้ำดี คู่ขนานแก้ปัญหาขาดแคลน สร้างทรัพยากรน้ำให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การบริหารจัดการน้ำเสียในภาคตะวันออกระหว่างองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ว่า ภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนมาตรการในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ และเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาวและเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนเชื่อมโยงการพัฒนาภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้น อจน. และอีสท์วอเตอร์ จึงได้กำหนดความร่วมมือดำเนินงานศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ใน อีอีซี ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือ ยกระดับคุณภาพการให้บริการของทั้งสองหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความยั่งยืนของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ

“การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นแนวทางในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆในเขตพื้นที่อีอีซี และจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ต่อไป”

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 22 มิถุนายน 2564

สรท.หนุนเอฟทีเอแคนาดา ดันจีดีพีไทยเพิ่ม1.97%

สรท.หนุนเอฟทีเออาเซียน-แคนาดาเปิดประตูสู่ละตินอเมริกา ด้าน กรมเจรจาฯ คาดดันจีดีพีไทยเพิ่ม 1.97% เร่งหารือประเด็น แรงงาน สิ่งแวดล้อม ก่อนชงรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไฟเขียวก.ย.นี้

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า เขตการค้าเสรีอาเซียน - แคนาดา จะส่งผลดีกับไทย แม้ว่าการค้าระหว่างไทยและแคนาดามีมูลค่าการค้าประมาณ 0.6 % ของการค้าไทย โดยการค้าของแคนนาดาส่วนใหญ่จะค้าขายกับประเทศสหรัฐ ละตินอเมริกา

โดยแคนาดามีความเชี่ยวชาญในด้านการให้คำปรึกษา หรือเซอร์วิส เซ็คเตอร์ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม การเงิน เป็นต้น หากจะมีการทำเอฟทีเอจริงประโยชน์ที่จะได้รับก็น่าจะเป็นเรื่องของการเปิดประตูการค้าไปสู่กลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น เม็กซิโก อาเจนตินา ซึ่งไทยเองไม่มีเอฟทีเอกับประเทศเหล่านี้มีเพียงเอฟทีเอไทยกับเปรู

นอกจากนี้การที่จะทำเอฟทีเอกับแคนาดาก็ต้องพิจารณาถึงประเด็นต่างในการเจรจาทั้งเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตร UPOV ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งถือเป็นประเด็นอ่อนไหวเหมือนกรณีซีพีทีพีพี ดังนั้นจะต้องศึกษาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯได้ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน - แคนาดา เพื่อหารือถึงขอบเขตการเจรจาจัดทำเอฟทีเอ อาเซียน-แคนาดา ที่มีความคืบหน้าอย่างมาก คงเหลือประเด็นการค้าใหม่ๆ เช่น แรงงาน สิ่งแวดล้อม รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาเซียนยังไม่เคยมีอยู่ในเอฟทีเอที่ผ่านมา โดยที่ประชุมจะเร่งหาทางออกร่วมกันโดยเร็ว เพื่อเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน - แคนาดา ในเดือนก.ย.นี้ เพื่อให้เปิดการเจรจาเอฟทีเอระหว่างกันภายในปีนี้

“แคนาดาก็มีท่าทีที่ต้องการทำเอฟทีเอกับอาเซียน มีเพียงบางประเด็นที่ต้องหารือกันเพื่อได้ผลสรุปที่ตรงกัน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองพันธุ์พืช การเข้าถึงยา เพียงแต่แคนาดาไม่เข้มเหมือนอียู ”

ทั้งนี้ จากการศึกษา พบว่า เอฟทีเออาเซียน-แคนาดา พบว่า จะส่งผลให้จีดีพีของอาเซียนเพิ่มขึ้น 1.6 % หรือเพิ่มขึ้น 39,361 ล้านดอลลาร์ โดยในส่วนของไทยจะทำให้จีดีพีขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.97% หรือเพิ่มขึ้น 7,967 ล้านดอลลาร์ แคนาดาเพิ่มขึ้น 5,104 ล้านดอลลาร์หรือเพิ่มขึ้น 0.3% และภายใน 7 ปี มูลค่าการค้า ระหว่างอาเซียนกับแคนาดา จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 11,000 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่าการค้าในปัจจุบันที่ประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์ สินค้าที่ส่งออกสำคัญของไทย คืออาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น จะได้ประโยชน์เพิ่ม

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 22 มิถุนายน 2564

'อาเซียน'พึ่งเทคโนโลยีอิสราเอลเพิ่มผลผลิตการเกษตร

อาเซียนพึ่งเทคโนโลยีอิสราเอลเพิ่มผลผลิตการเกษตร ขณะที่ภูมิภาคนี้กำลังรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ผู้กำหนดนโยบายต้องเตรียมสภาพแวดล้อมให้พร้อมเพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมอาหารเกษตรให้ประสบความสำเร็จ

บรรดาบริษัทเทคโนโลยีด้านการเกษตรของอิสราเอลกำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่หลายประเทศอย่างไทย เวียดนามและฟิลิปปินส์ก็มองหาแนวทางต่างๆในการเพิ่มผลผลิตด้านอาหารจากภูมิภาคตะวันออกกลางเช่นกัน

ที่ผ่านมา นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรของอิสราเอลรุกคืบเข้ามาในชุมชนการทำฟาร์มในเอเชียตะวัออกเฉียงใต้มากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านทางโครงการความร่วมมือด้านการเกษตรระดับทวิภาคี

อย่างกรณีของไทย อิสราเอล ขยายความร่วมมือกับไทยด้วยการเปิดโรงเรือนหลังที่สอง ภายในศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว หลังจากเปิดโรงเรือนแห่งแรกเมื่อปี 2561เพื่อเป็นแปลงสาธิตของเกษตรกรในท้องที่ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

โรงเรือนหลังที่สองนี้ติดตั้งระบบน้ำหยดและฉีดฝอยของอิสราเอล เพื่อช่วยให้การเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และโรงเรือนหลังนี้ได้รับการสนับสนุนจาก มาชาฟ หรือ ศูนย์ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศของอิสราเอล

นอกจากไทยแล้ว เวียดนาม ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจโดดเด่นในภูมิภาคอาเซียน ก็เตรียมลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านแรงงานกับอิสราเอลเร็วที่สุดภายในปีนี้ ซึ่งภายใต้ข้อตกลงที่เวียดนามทำร่วมกับอิสราเอลนั้น เปิดทางให้ทางการเวียดนามส่งแรงงานไปอิสราเอลเพื่อรับการฝึกอบรมและเรียนรู้ประสบการณ์ในภาคการเกษตรของประเทศนี้ได้อย่างเต็มที่

ปัจจุบัน เวียดนามก็เหมือนกับไทย ที่มีโรงเรือนในจังหวัดวินห์ฟุก ทางตอนเหนือของประเทศที่ช่วยให้เกษตรกรเวียดนามสามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรบางประเภทได้อย่างประสบความสำเร็จโดยใช้เทคนิคไฮโดรโปนิก

 “สิ่งที่อิสราเอลจัดสรรให้คือเทคนิคการทำการเกษตรที่พึ่งพานวัตกรรม เช่นเทคนิคระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่ช่วยให้การใช้น้ำเพื่อการเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น พึ่งพาพลังงานน้อยลง”ซาคิ คาร์นิ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสิงคโปร์ กล่าว

เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสิงคโปร์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน อิสราเอลมีบริษัทเกษตรและเทคโนโลยีด้านอาหารประมาณ 600 แห่ง ซึ่งบริษัทเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพการเกษตรนอกประเทศได้

ขณะที่สถาบันเพื่อการเปลี่ยนแปลงของโลกโทนี่ แบลร์ ซึ่งเป็นสถาบัน่ไม่แสวงผลกำไร ระบุไว้ในรายงานปี 2562 ว่า อิสราเอลสามารถเป็นผู้นำระดับโลกด้านการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำได้ แม้ว่าข้อเท็จจริงจะบ่งชี้ว่า 2 ใน 3 ของพื้นดินในอิสราเอลจะแห้งแล้งและดินมีคุณภาพต่ำ

ส่วนความสำเร็จของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำแก่พืชผลทางการเกษตรของอิสราเอล ประกอบด้วย การผลิตมะเขือเทศให้ผลผลิตสูงถึง 300 ตันต่อ 6 ไร่ 1 งาน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 50 ตันของทั่วโลกอย่างมาก

นอกจากนี้ อิสราเอลยังเป็นผู้นำในการจัดการพืชผลหลังการเก็บเกี่ยว โดยบันทึกการสูญเสียการจัดเก็บเมล็ดพืชแค่ 0.5% เท่านั้นเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 20%

ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังต่อสู้กับภัยคุกคามด้านความมั่นคงด้านอาหาร ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการชะงักงันของอุปทานจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้ประสบการณ์ด้านการเกษตรของอิสราเอลได้รับความสนใจจากบางประเทศในภูมิภาคนี้ที่ต้องการสนับสนุนการทำฟาร์ม

สถาบันเพื่อการเปลี่ยนแปลงของโลกโทนี่ แบลร์ ตั้งข้อสังเกตุว่า ภาคเกษตรกรรมและอาหารเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด ซึ่งการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมผลกระทบของการระบาดส่งผลกระทบต่อการจัดหาผลิตผลสู่ตลาดและผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ด้านอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิคส์ บริษัทวิจัยชั้นนำ ระบุว่า การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหารเป็นกุญแจสำคัญสำหรับภูมิภาคนี้ โดยในปี 2562 ภาคการเกษตรและอาหารมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม คิดเป็นมูลค่า 717,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 30% จากปี 2558 อีกทั้งภาคส่วนนี้ยังมีแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 48% ของแรงงานทั้งหมด4ประเทศที่มีงานทำ 127 ล้านตำแหน่ง

“เจมส์ แลมเบิร์ต” ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจประจำภูมิภาคเอเชียของอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ให้ความเห็นว่า “ขณะที่ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการระบาดใหญ่ของโรคโควิด19 ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่บรรดาผู้กำหนดนโยบายต้องเตรียมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยมากที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมอาหารเกษตร เพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมาใหม่อย่างประสบความสำเร็จ”

ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรของอิสราเอล ไม่ได้เป็นที่ต้องการของประเทศเกษตรกรรมอย่างเดียวเท่านั้น แม้แต่ประเทศที่ไม่ใช่เกษตรกรรมอย่างสิงคโปร์ก็สนใจและตั้งเป้าที่จะผลิตอาหารเพื่อรองรับความต้องการด้านโภชนาการให้ได้ในสัดส่วน 30% ภายในปี 2573

นอกจากนี้ สิงคโปร์และอิสราเอลยังตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาและการวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมสิงคโปร์-อิสราเอล ที่เน้นด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ครอบคลุมด้านอาหารเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านนี้ระหว่างกันและสนับสนุนด้านเงินทุนสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์ในโครงการต่างๆ

เมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ริวูลิส( Rivulis) บริษัทเทคโนโลยีชลประทานขนาดเล็กของอิสราเอล ได้รับการอนุมัติด้านกฎระเบียบเพื่อเข้าถือหุ้นประมาณ 85% ในบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิง กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 22 มิถุนายน 2564

ปูพรมตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศคุมโควิด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้าคุมเข้มโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข เพื่อป้องกันการระบาดโควิด-19 ภายในโรงงานว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จะร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด นำร่องในกรุงเทพฯ โดยจะคัดเลือกจากโรงงานที่มีคนงานมากกว่า 200 คน มีความเสี่ยงสูง และมีความแออัดในการปฏิบัติงาน ซึ่งในกลุ่มนี้จะเริ่มตรวจสอบก่อน 40 แห่ง ในจำนวนนี้ 12 แห่งเป็นโรงงานเกี่ยวกับอาหารหรือแปรรูปอาหาร 12 แห่ง และยังจะตรวจโรงงานที่มีคนงานมากกว่า 1,000 คน อีก 28 แห่ง เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า

“กรอ.รายงานว่า ร่วมมือกับ กทม.คัดเลือกโรงงานเป้าหมายในกรุงเทพฯที่มีคนงานมากกว่า 200 คน ซึ่งมี 278 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานที่มีคนงาน 200-500 คน 206 แห่ง, มีคนงาน 500-1,000 คน 40 แห่ง และมากกว่า 1,000 คน อีก 32 แห่ง ซึ่งมีทั้งประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหาร หรือแปรรูปอาหาร โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า และโรงงานอื่นๆ โดยจะทยอยตรวจสอบต่อเนื่อง และจะร่วมกับจังหวัดต่างๆขยายผลตรวจสอบให้ได้ทั่วประเทศ”

นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดให้ กรอ.สำรวจตัวเลข พร้อมทั้งกำชับให้โรงงานอุตสาหกรรม ร่วมทำแบบประเมินตนเองไทย “สต็อป โควิด พลัส” และ “ไทย เซฟ ไทย” ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่กรมอนามัยพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

สำหรับผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อ ซึ่งผู้ประกอบการต้องประเมินตนเองอย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ผ่านไทย สต็อป โควิด พลัส ส่วนพนักงาน ต้องประเมินตนเอง ผ่านไทย เซฟ ไทย ก่อนเข้าโรงงาน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

ด้านนายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดี กรอ.กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงงานที่แจ้งประเมินตนเองผ่านไทย สต็อป โควิด พลัส แล้ว 11,177 แห่ง คิดเป็น 17% ของโรงงานทั่วประเทศ 64,000 แห่ง โดย กรอ.จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทุกโรงงานเข้าร่วมให้มากที่สุดภายในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้

หากโรงงานที่ประเมิน มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะมีทีมตรวจประเมินของกรอ.เข้าไปช่วยเหลือ หากพนักงานติดเชื้อใน

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 22 มิถุนายน 2564

ฝนหลวงฯ รวมพลังเหล่าทัพ ลุยปฏิบัติการฝนหลวงช่วยพื้นที่เกษตรอาศัยน้ำฝนต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังคงร่วมกับกองทัพอากาศและกองทัพบก ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 13 หน่วยฯ ทั่วประเทศ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรอาศัยน้ำฝนที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนนี้ ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องสนับสนุนปริมาณน้ำให้มีเพียงพอต่อการเพาะปลูก เพื่อให้ผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรและประชาชนไม่เกิดความเสียหาย โดยจากผลปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.64) ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 5 หน่วยฯ ได้แก่ หน่วยฯ จ.พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี นครราชสีมา และสุรินทร์ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครราชสีมา บุรีรัมย์ และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำห้วยเทียน และอ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการติดตามสภาพอากาศเพื่อวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงเช้าวันนี้ ผลการตรวจสภาพอากาศจากสถานีเรดาร์ฝนหลวงทั่วประเทศ พบว่า มีบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง ในเช้าวันนี้จึงมีการวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 3 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ได้แก่ หน่วยฯ จ.พิษณุโลก ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร หน่วยฯ จ.กาญจนบุรี ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มรับน้ำ จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี และหน่วยฯ จ.ลพบุรี ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์

อย่างไรก็ตาม สำหรับ 10 หน่วยปฏิบัติการ จะติดตามสภาพอากาศตลอดทั้งวัน หากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงและเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่เป้าหมายทันที โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สระแก้ว ยังไม่สามารถขึ้นบินปฏิบัติการได้ เนื่องจากนักบินงดปฎิบัติหน้าที่เพื่อเฝ้าระวังสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ 48 ชม. ภายหลังการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งนี้ พี่น้องเกษตรกรและประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ที่ช่องทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account : @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100

จาก https://siamrath.co.th วันที่ 21 มิถุนายน 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “อ่อนค่า” ที่ระดับ  31.47 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่า- ระวังถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดสายกลาง(Neutral) ที่อาจเริ่มมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น (Hawkish)

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.47 บาทต่อดอลลาร์“อ่อนค่า”ลงจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า  ที่ระดับ 31.45 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับประมาณการเศรษฐกิจดีขึ้นและมองว่าจะขึ้นดอกเบี้ยราว 50bps (หรือ 2 ครั้ง) ได้ในปี 2023 สำหรับสัปดาห์นี้ ควรติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงถ้อยแถลงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน พร้อมทั้งติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธโดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้ ฝั่งสหรัฐฯ – เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงเดินหน้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนโดยการแจกจ่ายวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรราว 50% ทำให้ทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการบริการยังคงขยายตัวต่อเนื่องในเดือนมิถุนายนจากความต้องการบริโภคหลังมาตรการ Lockdown ผ่อนคลายลง สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการบริการโดย Markit (Manufacturing & Services PMIs) ที่ระดับ 61.5จุด และ 70 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึงการขยายตัว) ขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวดีขึ้น โดยยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) จะลดลง สู่ระดับ 3.8 แสนราย หนุนโดยการทยอยยุติเงินช่วยเหลือผู้ตกงานเพิ่มเติมในหลายรัฐ ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นและระดับฐานราคาสินค้าในปีก่อนหน้าที่ต่ำไปมากในช่วงวิกฤติ COVID-19 จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (PCE) เดือนพฤษภาคม พุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.9% อย่างไรก็ดี การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้ออาจเป็นปัจจัยเพียงชั่วคราว สะท้อนจากมุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งยังไม่กังวลต่อทิศทางเงินเฟ้อมากนัก ทั้งนี้ ตลาดจะติดตาม มุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดถึง 4 ท่าน อาทิ Williams, Daly (วันอังคาร) และ Bowman, Bostic (วันพุธ) ทางด้านฝั่งยุโรป – เศรษฐกิจยุโรปยังคงส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้น หลังการแจกจ่ายวัคซีนคืบหน้ามากขึ้น (ครอบคลุมประชากรราว 36%) โดยทั้งฝั่งภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการยังมีการขยายตัว ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการบริการที่ระดับ 62.1 จุด และ 57.9 จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่สดใสจะช่วยหนุนให้ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (IFO Business Climate) เดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 100.6 จุด ทั้งนี้ ในฝั่งอังกฤษ ยังคงต้องติดตามการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่อาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ หากการระบาดทวีความรุนแรงมากขึ้นและควบคุมไม่ได้ ซึ่งปัญหาการระบาดดังกล่าวจะกดดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ที่ระดับ 0.10% และเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการซื้อสินทรัพย์ (QE) เพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ แม้การแจกจ่ายวัคซีนจะครอบคลุมประชากรถึง 55%

ในฝั่งเอเชีย – ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง Semiconductor Chip จะช่วยหนุนให้ยอดการส่งออกเกาหลีใต้ในช่วง 20 วันแรกของเดือนพฤษภาคม อาจโตกว่า 50%y/y อนึ่ง แม้ว่าเศรษฐกิจในหลายประเทศจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ธนาคารกลางของทุกประเทศในเอเชียจะเลือกเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป โดยเฉพาะการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยในฝั่งจีน PBOC จะคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Loan Prime Rate) อายุ 1 ปี และ 5 ปี ที่ระดับ 3.85% และ 4.65% ตามลำดับ ส่วนในฝั่งของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ก็จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight Rate) ที่ 2.00% หลังเศรษฐกิจยังคงซบเซาจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 และการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้า และในฝั่งไทย – ภาคการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงบอบช้ำจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 โดยตลาดมองว่ายอดการส่งออก (Exports) เดือนพฤษภาคม อาจโตขึ้นกว่า 35%y/y หนุนโดยจากความต้องการสินค้าทั่วโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะโตกว่า 53%y/y ตามการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและยังคงเผชิญปัญหาการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% และเน้นช่วยเหลือภาคธุรกิจรวมถึงครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหนักผ่านมาตรเร่งรัดกระจายสินเชื่อหรือ Soft Loans มากกว่าที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง นอกจากนี้ เรามองว่า ธปท. อาจปรับลดประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจแย่ลงจากประมาณการในเดือนมีนาคม หลังการระบาดของ COVID-19 ยังไม่มีแนวโน้มสงบลง และ การแจกจ่ายวัคซีนก็ล่าช้ามาก (ครอบคลุมประชากร 5.4%) ส่วนแนวโน้มของค่าเงินบาทมีโอกาสเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง โดยในส่วนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่านั้นอาจมาจากทั้ง เงินดอลลาร์ โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำของบรรดาผู้เล่นในตลาดทองคำที่รอ Buy on Dip และ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเรามองว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อในระยะสั้น หลังผู้เล่นในตลาดทยอยลดสถานะ “Short” อนึ่ง ต้องระวังถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดสายกลาง(Neutral) ที่อาจเริ่มมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น (Hawkish) ในส่วนของฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรากังวลว่า หากการแจกจ่ายวัคซีนในไทยยังไม่สามารถเร่งตัวขึ้นมากกว่านี้ได้ อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจและทยอยขายทำกำไรหุ้นไทยได้ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง จนกว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะเร่งตัวขึ้นได้ดีขึ้น (อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 5 แสนโดสขึ้นไป หากต้องการให้ถึงเป้าหมายสร้างภูมิคุ้มกัน 50% ของประชากรภายในปีนี้) อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะฝั่งผู้ส่งออกก็ทยอยขายเงินดอลลาร์ หากเงินบาทอ่อนค่าใกล้ระดับ 31.50-31.60 บาทต่อดอลลาร์ อีกทั้ง เราคาดว่า หากเงินบาทอ่อนค่าลงไปมากในระยะสั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีโอกาสทยอยขายเงินดอลลาร์ เพื่อลดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (FX Reserves) ออกมาบ้าง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสถูกสหรัฐฯ มองว่า ประเทศไทยมีการแทรกแซงค่าเงินบาทในทิศทางเดียว ทำให้เงินบาทยังคงแกว่งตัวในกรอบไม่เกิน 31.60 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 31.20-31.60 บาท/ดอลลาร์ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.40-31.55 บาท/ดอลลาร์

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 21 มิถุนายน 2564

เอกชนลุยแผนฟื้นส่งออกดันศก.รับเปิดปท.

ประธาน หอการค้า เผย ภาคเอกชนลุยแผนฟื้นส่งออกดันเศรษฐกิจทันที รับ 120 วันเปิดประเทศ เชื่อขยายตัวได้เร็ว

นาย สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ความชัดเจนจากคำประกาศของนายกรัฐมนตรี 120 วันเปิดประเทศนั้น ทางภาคเอกชน โดยหอการค้าไทยและภาคธุรกิจ สั่งเตรียมความพร้อม รับมือกับการฟื้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ซึ่งผู้ประกอบการเองจะมีการทำแผนป้องกันความเสี่ยงจากโควิด-19 ภายในสถานประกอบการ และแผนผลักดันการส่งออกสินค้าที่สำคัญไปในตลาดต่างประเทศ เพื่อทำรายได้เข้าประเทศเป็นการฟื้นเศรษฐกิจเพราะการส่งออกถือว่าเป็นเครื่องจักรสำคัญในการที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้เร็วที่สุด นอกเหนือจากการท่องเที่ยว และเมื่อมีการเปิดประเทศแล้วเชื่อว่าจะมีลูกค้าจากต่างประเทศจะเข้ามาในประเทศมากขึ้น เป็นการเพิ่มยอดขายของสินค้าไทยได้เป็นอย่างดี

โดยการฟื้นการส่งออกเมื่อรวมกับมาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ จากงบประมาณที่รัฐบาลมีการใช้จ่าย แล้วนั้นเชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 21 มิถุนายน 2564

อีอีซีไร้ปัญหาน้ำไม่พอใช้ ชลประทานจัดแสนล้านลุย 5 โครงการ

กรมชลประทานเตรียมผุด 5 โครงการยักษ์ งบเฉียดแสนล้านรองรับอีอีซี เล็งเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล สร้างอ่างเก็บน้ำน้ำยวม รองรับการเติบโตของอีอีซีในอนาคต ห่วงอีก 10 ปีข้างหน้า “อุตสาหกรรม-ท่องเที่ยว-เกษตร” บูม เกิดปัญหาน้ำไม่พอใช้

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานเตรียมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ระยะเวลา 10 ปี (ปี 2564-2574) รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว รวมทั้งภาคเกษตรกรรม ที่อาจจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมีเพิ่มขึ้น จากคาดการณ์แนวโน้มความต้องการน้ำในเขตอีอีซี ในปี 2574 คาดจะมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น 358 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) เป็น 1,412 ล้าน ลบ.ม. จากปี 2564 มีความต้องการใช้น้ำ 1,054 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้พิจารณาแนวทางในการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนรองรับการความต้องการน้ำที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำและป้องกันการขาดแคลนน้ำทั้งในการอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการรักษาระบบนิเวศ มีแนวทางการดำเนินการดังนี้ ในลุ่มน้ำวังโตนด จ.จันทบุรี ดำเนินการ 2 โครงการ คือ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ดำเนินการเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำประแสร์ได้ปีละ 140 ล้าน ลบ.ม. มีแผนงานก่อสร้างในปี 2567-2570 และโครงการผันน้ำคลองวัง–โตนด-อ่างฯประแสร์ เส้นที่ 2 เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำประแสร์ได้อีกปีละ 70 ล้าน ลบ.ม.

ในพื้นที่ จ.ระยอง ดำเนินการ 2 โครงการ คือ โครงการระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างฯประแสร์ เส้นที่ 2 เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำประแสร์ได้อีกปีละ 50 ล้าน ลบ.ม. ดำเนินงานปี 2566-2567 ภายใต้งบประมาณ 810 ล้านบาท ปัจจุบันออกแบบแล้วเสร็จ พร้อมดำเนินการ ส่วนพื้นที่ จ.ชลบุรี ได้ดำเนินโครงการผันน้ำจากอ่างฯประแสร์-หนองค้อ-บางพระ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำบางพระ ปีละ 80 ล้าน ลบ.ม. รองรับความต้องการน้ำในการอุปโภค-บริโภค การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวในอนาคต ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปี 2566-2569) ภายใต้งบประมาณ 9,500 ล้านบาท ปัจจุบันออกแบบและทบทวนแบบเดิมแล้วเสร็จ และดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งขออนุญาตใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว

นายประพิศยังกล่าวต่อว่า นอกจากการพัฒนาโครงการในพื้นที่อีอีซี เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองในอนาคต กรมชลประทานมองเห็นศักยภาพของเขื่อนภูมิพล ที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 5,626 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณเก็บกักที่ 9,662 ล้าน ลบ.ม. จึงทำให้มีช่องว่างเหลือเก็บกักน้ำได้อีกประมาณ 4,000 ล้านลบ.ม.กรมชลประทานจึงมองว่าการเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนภูมิพลจะสามารถช่วยพื้นที่อีอีซีได้เช่นกัน

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้พิจารณาแนวทางในการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล โดยดำเนินการภายใต้งบประมาณโครงการ 71,110 ล้านบาท ซึ่งกรมชลประทานมีแผนการดำเนินโครงการ 9 ปี (2565-2573) ส่วนความคืบหน้าโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณารายงานอีไอเอ ซึ่งจะพิจารณารายงานอีไอเอ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 2 ก.ค.2564 ขณะที่งานสำรวจ-ออกแบบแล้วเสร็จในปี 2562 และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2566

นอกจากนี้ จะดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำยวม ซึ่งมีความจุ 68.40 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยที่จุดบรรจบแม่น้ำเมย 2,858.10 ล้าน ลบ.ม./ปี และก่อสร้างสถานีสูบน้ำบ้านสบเงา พร้อมอุโมงค์ส่งน้ำ จำนวน 2 ช่อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.10 ม. และ 8.30 ม. โดยจะสูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำน้ำยวมผ่านอุโมงค์ไปลงห้วยแม่งูด ที่อัตรา 182.52 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะมีปริมาณน้ำผันสูงสุดรายปี 1,795 ล้าน ลบ.ม./ปี.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 21 มิถุนายน 2564

ธุรกิจกับการลดโลกร้อน (6)  พลังงานทดแทน

ธุรกิจกับการลดโลกร้อน (6) พลังงานทดแทน : คอลัมน์เศรษฐทัศน์  โดย...รศ.(พิเศษ) ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทความตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป จะอธิบายถึง พลังงานทดแทน (Renewable Energy) ที่มีกระแสการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคธุรกิจด้วย ให้ความสำคัญและนำมาใช้เพื่อทดแทนพลังงานฟอสซิล ซึ่งมักสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากกว่า และในหลายๆ กรณี เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น ก็ถูกจัดว่าเป็นพลังงานสะอาดที่ปลอดภัย รวมทั้งเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานเหล่านี้ก็มีต้นทุนที่ตํ่าลงอย่างมากเมื่อเทียบในอดีต

1. ลักษณะพื้นฐานของพลังงานทดแทนข้อมูลจาก Wikipedia สรุปไว้ว่า พลังงานทดแทน หมายถึงพลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และแก๊ซธรรมชาติ ซึ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลอันเป็นสาเหตุให้โลกร้อน ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญเช่น พลังงานลม พลังงานนํ้า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานคลื่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้นข้อมูลจาก adheseal.com  สรุปได้ว่าในปี 2560 อัตราส่วนการใช้พลังงานทดแทนเทียบกับพลังงานทั้งหมดของโลกเท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ และภายในอีก 20 ปี อัตราส่วนการใช้พลังงานทดแทนอาจสูงขึ้นกว่า 2 เท่า เป็น 31 เปอร์เซ็นต์ โดยอัตราส่วนของการใช้พลังงานที่ลดลงนั้นเป็นส่วนของพลังงานฟอสซิล ซึ่งมีการตกค้างที่สกปรกกว่า จะเห็นได้ว่าในอนาคตพลังงานทดแทนจะมีความสำคัญมากขึ้นและจะเข้ามาแทนที่พลังงานสกปรก อย่างไรก็ดี พลังงานทดแทนอาจจะไม่ได้มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป เช่น พลังงานชีวมวล และพลังงานนํ้าอาจส่งผล กระทบต่อป่าไม้ สัตว์ป่า และสภาพภูมิอากาศ จากการสร้างเขื่อนผลิตพลังงานนํ้า ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการตัดไม้ทำลายป่าไปบางส่วน และเขื่อนยังเป็นสิ่งกีดขวางการไหลของนํ้า และการอพยพที่อยู่อาศัยของสัตว์นํ้า ทำให้คุณภาพของนํ้าลดลง และสามารถทำลายระบบนิเวศทางนํ้า เป็นต้นถึงกระนั้น ข้อดีของพลังงานทดแทนก็ยังมีอีกมาก เพราะพลังงานทดแทนคือ พลังงานที่เกิดมาจากทรัพยากรธรรมชาติ หรือมาจากกระบวนการที่สามารถเกิดขึ้นซํ้าได้เรื่อยๆ อย่างไม่จำกัด เช่น แสงอาทิตย์ที่ส่องออกมาจากดวงอาทิตย์ได้ทุกวัน หรือคลื่นในทะเลที่ซัดเข้าฝั่งได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเป็นต้น ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก พยายามศึกษาและค้นหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และมีประสิทธิภาพดียิ่งกว่าพลังงานแบบเดิม เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมของโลก  2. ประเภทของพลังงานทดแทนข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสรุปไว้ใน Wikipedia ในเรื่องการจำแนกประเภทของพลังงานทดแทนไว้ดังนี้ • พลังงานแสงอาทิตย์ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานทดแทนจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฎิกิริยาใดๆ อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษเซลล์แสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานที่รับมาในเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสูงและในส่วนของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง โดยมีพลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งได้รับทั่วประเทศ ประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาให้มีการผลิตและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้มากขึ้นในขณะที่การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ข้อจำกัดประการหนึ่งก็คือ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าต้องใช้พื้นที่โล่งขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งอาจใช้บนพื้นที่ทุ่งโล่ง หรือลอยอยู่ในอ่างนํ้าขนาดใหญ่ก็ได้

• พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลม เป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้ในการสูบนํ้าได้ด้วย พลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตก กระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่น ซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่า จึงเข้ามาแทนที่การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งประเทศ ไทยด้วย ซึ่งพื้นที่แนวฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย สามารถสร้างพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบนํ้า และผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็วอยู่ระหว่าง 3-5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20-50 วัตต์ต่อตารางเมตร ธุรกิจกับการลดโลกร้อน (6)  พลังงานทดแทน • พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นการใช้ประโยชน์จากความร้อนด้านในของโลก ซึ่งที่แกนของโลกอาจร้อนถึง 9,932 องศาฟาเรนไฮท์ ความร้อนจากใต้พิภพมีลักษณะค่อนข้างสมํ่าเสมอตลอดปี และในที่มีแหล่งเก็บนํ้าที่ใกล้กับแหล่งความร้อนจากใต้พิภพนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากนํ้าร้อนได้ดีโดยสามารถส่งผ่านท่อไปช่วยทำความร้อนในบ้านทำให้เรือนกระจกอุ่นขึ้น และแม้แต่ละลายหิมะบนถนนนอกจากนี้พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถก่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้าได้ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ใต้พิภพใช้บ่อนํ้าความลึกสูงสุดประมาณ 1.5 กิโลเมตร (1ไมล์) ซึ่งความร้อนจากนํ้าที่เดือดจนเกิดไอนํ้าจะทำให้ใบพัดหมุนและกำเนิดไฟฟ้าได้ โรงไฟฟ้าสมัยใหม่ใช้นํ้าร้อนจากผิวดินเพื่อทำความร้อนให้กับของเหลว เช่น ไอโซบิวทีน ซึ่งเดือดที่อุณหภูมิ ตํ่ากว่านํ้า ซึ่งเมื่อระเหยกลายเป็นไอและขยายตัวก็จะทำให้ใบพัดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนได้เช่นกันการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพแทบไม่ก่อมลพิษหรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเลย พลังงานนี้เงียบและน่าเชื่อถือมาก โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพผลิตพลังงานประมาณ 90% ตลอดเวลา เมื่อเทียบ 65-75% ของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล นํ้าร้อนที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าแล้วนั้น แม้อุณหภูมิจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้ง และใช้ในห้องเย็นสำหรับรักษาพืชผลทางการเกษตรได้นอกจากนั้น นํ้าที่เหลือใช้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อกายภาพบำบัดหรือเพื่อการท่องเที่ยว สุดท้ายการนำนํ้าดังกล่าวที่มีความอุ่นเหลือเล็กน้อยเมื่อปล่อยลงไปผสมกับนํ้าธรรมชาติในลำนํ้า ก็จะช่วยเพิ่มปริมาณนํ้าให้กับเกษตรกรในฤดูแล้งได้อีกด้วยอย่างไรก็ดี การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมีข้อควรระวัง เกี่ยวกับก๊าซพิษที่ออกมาจากความร้อนด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบการหายใจหากมีการสูดดม ต้องมีวิธีกำจัดโดยเอาก๊าซผ่านเข้าไปในนํ้า และกลายเป็นกรดซัลฟิวริก ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ในนํ้าอาจมีแร่ธาตุมากเกินไปต้องแยกก่อนจะปล่อยออกสู่ลำนํ้าธรรมชาติเสียก่อน อีกทั้งการดึงแหล่งนํ้าสำรองที่มีความร้อน ต้องระวังการเกิดปัญหาแผ่นดินทรุดด้วย

• พลังงานชีวภาพได้แก่การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิต เช่นขยะที่เป็นสารอินทรีย์หรือมูลสัตว์ไปหมักให้ย่อยสลายโดยปราศจากอ๊อกซิเจน จะทำให้ได้ก๊าซมีเทน ซึ่งใช้เชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเกษตรกรได้นำก๊าซชีวภาพที่ผลิตขึ้นเองเหล่านี้มาใช้ในครัวเรือนมากขึ้น ทำให้ลดการใช้พลังงานฟอสซิลได้เป็นจำนวนมากเกษตรกรบางส่วนยังขายมูลสัตว์ให้กับโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อการพาณิชย์ด้วย• พลังงานชีวมวลเชื้อเพลิงที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่นไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้าที่เหลือทิ้งจากการเกษตรใช้เผาให้ความร้อนได้ เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพแบบของแข็ง และความร้อนนี้สามารถนำไปปั่นไฟได้ มีการคาดการณ์ว่าประเทศ ไทยในฐานะเป็นประเทศเกษตรกรรมจะมีวัตถุดิบเพื่อสร้างเชื้อเพลิงชีวภาพมวลมาก เทียบได้กับนํ้ามันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร• พลังงานนํ้าพื้นผิวโลกถึง 70% ปกคลุมด้วยนํ้า ซึ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นํ้าเหล่านี้มีการเปลี่ยนสถานะและหมุนเวียนตลอดเวลาระหว่างผิวโลกและบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง นํ้าที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก มนุษย์รู้จักนำพลังงานนํ้ามาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น ใช้หมุนกังหันนํ้า ปัจจุบันมีการนำพลังงานนํ้าไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังนํ้าเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งมักจะอยู่กับเขื่อนกักเก็บนํ้าที่สร้างขึ้น• พลังงานจากขยะขยะชุมชนจากบ้านเรือนและกิจการต่างๆ เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้ โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง จะนำขยะมาเผาบนตะแกรงความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มนํ้าในหม้อนํ้าจนกลายเป็นไอนํ้าเดือด ซึ่งจะไปเพิ่มแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 20 มิถุนายน 2564

'สภาพัฒน์' หวังขีดสามารถแข่งขันไทยยืนหนึ่งอาเซียน แนะ 4 ข้อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจ

"สภาพัฒน์" ชี้อันดับขีดสามารถในการแข่งขันของไทยมีโอกาสปรับเพิ่มได้อีกหลังจากได้อันดับที่ 28 ปีนี้ตามการจัดอันดับของ IMD แนะเร่งยกระดับ 4 ด้านเพิ่มศักยภาพระยะยาว หวังเพิ่มคะแนนแซงมาเลเซียในระยะสั้นและสิงคโปร์ในระยะยาว

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยสถาบัน  "International Institute for Management Development" หรือ "IMD" ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้ได้อันดับ 28 จาก64 ประเทศทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้น 1 อันดับจากปีที่ผ่านมานั้นประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นโดยมีเป้าหมายระยะยาวอยู่ที่การขึ้นเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ส่วนเป้าหมายในระยะสั้นคือการเพิ่มอันดับแซงประเทศมาเลเซียขึ้นเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน

ทั้งนี้การขยับอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันขึ้นให้ได้ตามเป้าหมายดังกล่าว ต้องพัฒนาในหลายด้านคือ

1.ยกระดับการทำงานภาครัฐให้มีความทันสมัยเข้าสู่ระบบดิจิทัลให้เร็วขึ้น รวมทั้งการปรับการใช้ข้อมูลภาครัฐให้ทันต่อสถานการณ์เพื่อให้ภาครัฐสามารถนำข้อมูลที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์มาวางแผนจัดทำนโยบายต่างๆได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

2.เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน รวมทั้งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้เร็วขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้การสร้างโอกาสใหม่ๆทางเศรษฐกิจ

3.ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคน ยกระดับการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และแนวโน้มการพัฒนาของเศรษฐกิจของโลกในอนาคต

และ 4.ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศไทยทำได้ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการดูแลเรื่องหนี้ครัวเรือน และการรักษาวินัยทางการเงินการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจมีเสภียรภาพได้อย่างต่อเนื่อง

นายดนุชากล่าวว่าในส่วนของการจัดอันดับของ IMD ในปีนี้ที่เมื่อพิจารณาดูจากคะแนนในด้านต่างๆพบว่าคะแนนของไทยมีการปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกด้าน ยกเว้นในเรื่องของสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนนี้ IMD ให้ความสำคัญในส่วนของเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศ และเรื่องของภาคการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งสองส่วนเราได้คะแนนลดลงมากโดยในส่วนของการค้าระหว่างประเทศลดลง 16 อันดับ และการลงทุนระหว่างประเทศที่ลดลงถึง 3 อันดับ โดยปัจจัยทั้งสองส่วนนั้นเป็นผลมาจากผลกระทบของโควิดที่ส่งผลทั้งต่อการลงทุนและการส่งออกในปีที่ผ่านมาได้รับผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้คะแนนลดลง

ส่วนคะแนนในเรื่องของระดับราคา (Price) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ฉุดคะแนนในด้านนี้ลดลง 9 อันดับจากอันดับที่ 28 มาอยู่ที่ 24 ซึ่งในส่วนนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากในเรื่องของเงินเฟ้อแต่มาจากค่าใช้จ่ายในการครองชีพที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับระดับรายได้ในช่วงที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ลดลง

ธปท.อัตราแลกเปลี่ยนกลาง 37.7671 บาท/ยูโร (แข็งค่า 0.1658 บาท/ยูโร)

ทั้งนี้ในส่วนของคะแนนที่เพิ่มขึ้นชัดเจนของประเทศไทยคือด้านประสิทธิภาพภาครัฐ (Government Efficiency)ประเทศไทยมีการขยับคะแนนขึ้น 3 อันับ โดยมีส่วนที่คะแนนปรับเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดคือปัจจัยในเรื่องของกรอบการบริหารด้านสถาบัน ที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใส การปรับตัวในการดำเนินการของภาครัฐที่รวดเร็วมากขึ้นตามการขับเคลื่อน Ease of doing businessที่ช่วยเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และภาคธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ รวมทั้งความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มุ่งมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้อันดับในส่วนนี้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดถึง 15 อันดับจากเดิมอยู่ที่ 53 มาเป็นอันดับ ที่ 38 ในปีนี้

ส่วนที่ต้องปรับปรุงยังมีอีกหลายด้าน เช่นเรื่องของการศึกษามีประเด็นที่ต้องให้ความสนใจตั้งแต่ใน อัตราส่วนครูต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ไปจนถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่วัดโดยสถาบันต่างๆ อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่านจากการวัดผล PISA ภาษาอังกฤษจากคะแนนเฉลี่ย TOEFL และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูลจาก Time Higher Education เป็นต้น

ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เรื่องผลิตภาพ (Productivity) ยังคงเป็นประเด็นที่ไทยมีอันดับต่ำทั้งในภาพรวมและทุกภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ส่วนในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีประเด็นสำคัญด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษาที่ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประเด็นสำคัญในด้านสุขภาพได้แก่ ด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ อัตราส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ ความสิ้นเปลืองของการใช้พลังงาน อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ มลพิษทางอากาศ และการบาบัดน้ำเสียและประสิทธิภาพการใช้น้ำ เป็นของการพัฒนาในด้านอื่นๆ

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 20 มิถุนายน 2564

จับตา รง.น้ำตาลระส่ำ!  อ้อยขาด-แข่งแย่งซื้อ  ส่งออกต่ำสุดรอบ 10 ปี

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล สถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศในปีนี้จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ฟังจากกนายอภิชาติ ลักษณะสิริศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาชีพเกษตรกรรมมีความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศ และภัยธรรมชาติที่ไม่ว่าจะเกิดน้ำท่วม ฝนทิ้งช่วง ภัยแล้ง รวมถึงสินค้าที่ราคาขึ้น-ลงล้วนมีโอกาสเจ็บตัวได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอ้อย  พืชหลักในการผลิตน้ำตาลสำหรับบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกที่ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกที่ต้องจับตานับจากนี้ไป

ขณะที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจะเป็นอย่างไร หากบริหารจัดการไม่ดี หรือรับมือไม่ทัน อีกทั้งการเชื่อมโยงของราคาน้ำตาลที่ขายในประเทศและส่งออกอิงราคาตลาดโลก นายอภิชาติ ลักษณะสิริศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย (อนท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงทิศทางภาพรวมจากนี้ไป และสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาลปี 2564/65 ขณะที่โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศจะต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างน่าติดตามอภิชาติ ลักษณะสิริศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย (อนท.)

อภิชาติ ลักษณะสิริศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย (อนท.)

นายอภิชาติ เกริ่นให้เห็นภาพรวมอุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาลปี 2564/65 ว่า น่าจะผ่านช่วงย่ำแย่ใน 3 ปีที่ผ่านมา ที่ได้รับผลกระทบทั้งราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ไม่ค่อยดีนัก และปริมาณอ้อยที่ถดถอยอย่างเด่นชัด (กราฟประกอบ) เนื่องจากจากภาวะภัยแล้งและเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าและทนแล้งได้มากกว่าฤดูการผลิตปี 2564/65 ผลผลิตอ้อยจะดีขึ้นจากปี 2563/64 (คาดจะมีผลผลิต 85 ล้านตัน +/- 5 ล้านตัน) เนื่องจากโรงงานออกมาประกันราคาอ้อยที่ 1,000 บาทต่อตัน ไม่รวม CCS (ค่าความหวานของน้ำตาล) ประกอบกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น นอกจากนี้ภาวะภัยแล้งในปีนี้น่าจะหายไป ปริมาณฝนที่ผ่านมาค่อนข้างดี ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยต่อไร่จะสูงกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้นโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยก็น่าจะหายใจได้ดีขึ้น เหล่านี้คือภาพรวมในแง่ชาวไร่อ้อย

โรงงานน้ำตาลเสี่ยง 3 ด้านส่วนในแง่โรงงานน้ำตาลกว่า 50 โรงงานในประเทศ ยังมีความเสี่ยง 3 ด้านหลักคือ  1.ปริมาณผลผลิตอ้อยไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิตที่มี อาจจะมีการแย่งซื้ออ้อยในบางพื้นที่เกิดขึ้น เนื่องจากโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศจะต้องใช้ปริมาณอ้อยมากกว่า 90 ล้านตันขึ้นไป แต่ฤดูการผลิตอ้อยปี 2564/2565 คาดว่าจะหีบอ้อยได้รวมทั้งสิ้นราว 80-85 ล้านตัน ทั้งนี้ภาวะอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยปี 2559/2560 ผลิตน้ำตาลได้ 10 ล้านตัน ส่งออก 7.5ล้านตัน ปี2560/2560 ผลิตน้ำตาลได้ 14.71 ล้านตัน ส่งออก12.21 ล้านตัน ปี2561/2562 ผลิตน้ำตาลได้ 14.58 ล้านตัน ส่งออก 12.08 ล้านตัน ปี 2562/2563 ผลิตน้ำตาลได้ 8.17 ล้านตัน  ส่งออก 5.67 ล้านตัน  และปี 2563/2564 ผลิตน้ำตาลได้ 6.5-7 ล้านตัน ส่งออกได้ราว 4-4.5 ล้านตันโดยแต่ละปีจะแบ่งน้ำตาลรองรับตลาดในประเทศให้เพียงพอก่อนซึ่งจะมีสัดส่วนราว 2.5 ล้านตันต่อปี  จะเห็นว่าปริมาณน้ำตาลจะลดลงต่อเนื่องตามปริมาณอ้อยแต่ละปีประเทศไทยเคยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบสู่โรงงานน้ำตาลสูงสุดในปี 2560/2561 ถึง 134.93 ล้านตัน หลังจากนั้นก็ลดต่ำลงตามลำดับ ดังนี้ ปีการผลิต 2561/2562 ปริมาณอ้อยลดลงเหลือ 130.97 ล้านตัน ปีผลิต 2562/ 2563 เหลือ 74.89 ล้านตัน และปีผลิต 2563/2564 ลดลงมาเหลือ 66 ล้านตัน และปีผลิต 2564/2565 คาดปริมาณอ้อยจะขยับดีขึ้น (คาดอยู่ที่ 80-85 ล้านตัน) แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับการขยายตัวของโรงงานน้ำตาลในปัจจุบัน“สถานการณ์การหีบอ้อยในประเทศไทยปีนี้ คาดจะมีการหีบอ้อยรวมได้ประมาณ 85 ล้านตัน (บวกและลบ 5 ล้านตัน) และคิดว่าปริมาณอ้อยคงไม่เพียงพอป้อนโรงงานน้ำตาล เนื่องจากกำลังการผลิตมีมากกว่าปริมาณอ้อยมาก”  2.การบริหารด้านราคาขายน้ำตาลทำได้ยากขึ้น เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำตาลในตลาดโลก และการคาดการณ์จำนวนอ้อยที่จะเข้าโรงงาน  3.การส่งออกน้ำตาลจะลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปีคาดว่าจะลดลงเหลือประมาณ 4.00 - 4.50 ล้านตัน จากเดิมเคยส่งออกได้ 7-10 ล้านตันต่อปีจับตา รง.น้ำตาลระส่ำ!  อ้อยขาด-แข่งแย่งซื้อ  ส่งออกต่ำสุดรอบ 10 ปีอย่างไรก็ตามปี 2564/65 อุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาลไทยต้องปรับตัว โดยชาวไร่อ้อย จะต้องลดต้นทุนในการผลิตอ้อย เช่น ไม่ปลูกอ้อยในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ปลูกให้เหมาะสมกับกำลังและความสามารถ เป็นต้น และหันมาใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน เช่น เครื่องจักรในการตัดอ้อย เพื่อทดแทนแรงงานที่หายากมากขึ้น   ส่วนในแง่โรงงานน้ำตาล จะต้องระมัดระวังในการขายน้ำตาลล่วงหน้า และ การทำราคาน้ำตาล (Pricing) และเข้ามาสนับสนุนและดูแลชาวไร่ให้มากขึ้น (ชาวไร่ที่มีจรรยาบรรณ)

น้ำตาลโลกแนวโน้มขาดเมื่อถามว่าตลาดโลกจะเจอภาวะน้ำตาลขาดแคลนหรือไม่ ผู้จัดการทั่วไปอนท. มองว่าในปี 2564/65 คาดว่าจะอยู่ในภาวะที่สมดุล หรือ อาจจะเกินดุลหรือขาดดุลไม่น่าเกิน 2 ล้านตัน แต่ค่อนข้างจะมีความเสี่ยงไปในทางที่ขาดดุลมากกว่า เนื่องจากราคาเอทานอล (Hydrous) ที่ 17.97 เซนต์ต่อปอนด์ (ปรับหน่วยราคาเพื่อเปรียบเทียบกับราคาน้ำตาล) ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2564 ในบราซิลเริ่มมีราคาที่สูงกว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลก  มีโอกาสที่โรงงานน้ำตาลจะหันไปผลิตเอทานอลมากขึ้น และลดการผลิตน้ำตาลลง ประกอบกับภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตอ้อยในภาคกลางและภาคใต้ในบราซิลน่าจะลดลงไปไม่น้อยกว่า 30 ล้านตันอ้อย แม้ว่าประเทศไทยจะมีผลผลิตน้ำตาลมากขึ้นกว่า 2 ล้านตันจากปีที่ผ่านมา รวมถึงกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป(อียู) ก็น่าจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านตัน ก็อาจจะไม่พอเพียงกับการลดลงของการผลิตประเทศบราซิลอย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีข่าวว่าการบริโภคน้ำตาลของอินเดียในปีนี้น่าจะลดลงมากว่า 2 ล้านตัน หากการบริโภคในระดับโลกยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไวรัสโควิด  สมดุลของน้ำตาลอาจจะกลับมาเป็นบวกได้  ขณะที่สถานการณ์โควิดทำให้อุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาลในตลาดโลกในมุมของอุปทาน ไม่ค่อยมีผลกระทบมากนักในการผลิตอ้อย แต่จะมีผลกระทบในด้านการขนส่งที่อาจล่าช้ามากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ  รวมถึง อัตราค่าขนส่งระหว่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก “แต่ทางด้านอุปสงค์ค่อนข้างมีผลกระทบอย่างเด่นชัด ทำให้การบริโภคทั่วทั้งโลกลดลง จากปกติการบริโภคเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 1% แต่ในปีนี้ ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการบริโภคจะกลับมาเติบโตหรือไม่ ลำพังแค่อินเดียประเทศเดียวก็น่าจะลดลงมากกว่า 2 ล้านตัน ส่วนของไทยเราเองก็ลดลงมา 2 ปีติดกัน ส่วนปีปัจจุบันก็ยังไม่แน่ชัดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วหรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ต้องติดตาม”-ภัยแล้งทุบขาใหญ่บราซิลผลผลิตร่วงนอกจากนี้วิกฤติภัยแล้งจะทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกอย่างบราซิล คาดว่าผลผลิตอ้อยจะลดลงประมาณ 30-40 ล้านตันจากปีที่แล้ว ในเขต CS Brazil ก็น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญอันหนึ่งที่ปริมาณน้ำตาลจะลดลง แต่ปัจจัยที่มีผลกระทบมากกว่าคือ สัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตเอทานอลมากกว่า หากว่าโรงงานปันส่วนอ้อยไปผลิตเอทานอลมากขึ้น ก็ทำให้ปริมาณน้ำตาลจะลดลงอย่างมาก อันจะส่งผลบวกต่อราคาน้ำตาลอย่างมีนัยยะสำคัญ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 19 มิถุนายน 2564

วช. หนุน มทร. อีสาน ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานจากฟูเซลแอลกอฮอล์

วช. หนุน มทร. อีสาน ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานจากฟูเซลแอลกอฮอล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบซึ่งเป็นการประหยัดเงินจากต่างประเทศ โดยใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก และกระตุ้นให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.64 จากกรณีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มีแผนส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนการใช้ฟอสซิล เพื่อจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ให้ธุรกิจการบินพาณิชย์ค่อยๆ ทยอยเพิ่มปริมาณการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ จากปัจจุบันที่ใช้อยู่ปีละ 82 ล้านตัน ให้เพิ่มขึ้นเป็น 128 ล้านตัน ภายในปี 2040 และเป็น 285 ล้านตันภายในปี 2050 การศึกษา วิจัยเพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน เพื่อนำไปสู่การลงทุนในเชิงพาณิชย์และการใช้งานจริงจึงต้องเตรียมการล่วงหน้า เพื่อนำเสนอภาครัฐในการกำหนดนโยบายของประเทศ

รศ.ดร.อาทิตย์ อัศวสุขี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงงานผลิตเอทานอลที่ดำเนินการแล้วจำนวน 26 ราย กำลังการผลิตรวม 5.89 ล้านลิตรต่อวัน อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตเอทานอลนอกจากจะให้เอทานอลเป็นผลิตภัณฑ์หลักแล้ว ยังให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นฟูเซลแอลกอฮอล์ (Fusel alcohol) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลั่นอีกเป็นจำนวนมาก โครงการวิจัย "การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากฟูเซลแอลกอฮอล์ที่ได้จากโรงงานเอทานอล" ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนฟูเซลแอลกอฮอล์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน หรือไบโอเจ็ต (Biojet) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการบิน โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเติมลงไปในฟูเซลแอลกอฮอล์ในอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสมเพื่อปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของฟูเซลแอลกอฮอล์

โดยในกระบวนการผลิตนี้สามารถให้ปริมาณน้ำมันเจ็ตได้มากกว่า 57 เปอร์เซ็นต์ต่อฟูเซลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนที่เหลือยังให้สารเอโลฟินส์ พาราฟินส์ สารอะโรมาติกส์ ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นพลาสติก ตัวทำละลาย สี สารเติมแต่งและน้ำมันเบนซิน ผลที่ได้จากโครงการนี้มีแผนที่จะนำเสนอผลการวิจัยให้กับผู้ผลิตเอทานอลในประเทศไทย และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพต่อไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า โครงการที่ วช.สนับสนุนการวิจัยส่วนหนึ่งจะเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โครงการวิจัย "การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากฟูเซลแอลกอฮอล์ที่ได้จากโรงงานเอทานอล" จะเป็นแนวทางใหม่สำหรับการผลิตน้ำมันไบโอเจ็ตที่สามารถพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ การโดยใช้ฟูเซลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยจากกระบวนการกลั่นเอทานอลมาเป็นวัตถุดิบ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการหมักวัสดุทางการเกษตร เพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ลดการนำเข้าน้ำมันดิบซึ่งเป็นการประหยัดเงินตราจากต่างประเทศ ใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก และกระตุ้นให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรม

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 19 มิถุนายน 2564

สถานีเกษตร-สิ่งแวดล้อม : ผลงานด้านน้ำกับภาวะฝนทิ้งช่วง

ปีนี้แม้ฝนจะตกเร็วตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา เหมือนธรรมชาติจะหลอกให้เกษตรกรเริ่มปักดำทำนาปี พอถึงเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องมาถึงต้นเดือนมิถุนายน 2564 ฝนกลับทิ้งช่วง นาข้าวหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาอู่ข้าวอู่น้ำของไทย

ท่าน สส.นพพล เหลืองทองนาราจากเมือง 2 แควพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย ถือโอกาสอัดรัฐบาล โดยเฉพาะท่านรองนายกฯ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) กับคำถามที่ว่า “..โกหกหรือไม่ที่บอกว่า ประเทศไทยไม่มีภัยแล้ง เพราะในความเป็นจริงเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่องล่าสุดข้าวกำลังยืนต้นตายหมด เพราะขาดน้ำ..”

จริงๆท่าน สส.นพพล อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อน ที่ท่านรองนายกฯพูดถึงนั้น หมายถึงฤดูแล้งปี 2563/64 คือ ตั้งแต่1 พ.ย.2563-30 เม.ย.2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไม่มีการประกาศให้เป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) เกือบตลอดฤดู จะมาประกาศก็ช่วงปลายฤดูแล้ง แต่ก็เป็นพื้นที่แคบๆ ในเขต อ.เถิน จ.ลำปาง และอ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี เท่านั้น อย่างไรก็ตามประกาศไม่นานฝนก็ตก

สาเหตุสำคัญที่ไม่ได้มีการประกาศเขตประสบภัยแล้ง แม้ปริมาณต้นทุนในปีที่ผ่านมาจะน้อย เพียง 19,868 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือ 42% ของปริมาณการกักเก็กเท่านั้น เนื่องจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ที่มีท่านรองฯประวิตร เป็นผู้อำนวยการได้มีการวางแผนรับมือเชิงป้องกัน พร้อมสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน

ด้วยเหตุผลที่กล่าวว่าประกอบกับปีนี้ฝนตกเร็วกว่าปกติ ฤดูแล้งปี 2563/64 ประเทศไทยจึงพ้นวิกฤติภัยแล้ง ข้าวนาปรังที่เกษตรกรซึ่งมีบางพื้นที่ปลูกเกินเป้าหมาย ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ เลย

สำหรับปัญหาขาดแคลนน้ำในปัจจุบัน เป็นปัญหามาจากภัยธรรมชาติ ที่เรียกว่า “ภาวะฝนทิ้งช่วง” ประกอบกับปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนยังมีน้อยอยู่ ส่งผลให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะข้าวนาปีในฤดูฝนปี 2564 ได้รับผลกระทบการขาดแคลนน้ำ

ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รองนายกฯประวิตร ได้มอบหมายให้ กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งติดต้งเครื่องสูบน้ำช่วยสูบช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำแล้ว และได้สั่งการให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) เร่งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะข้าวนาปีที่เกษตรกรปลูกในขณะนี้

ท่ามกลางความโชคร้ายที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง และปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนมีน้อยอยู่เช่นนี้ ก็มีความโชคดีจากธรรมชาติเกิดขึ้นเหมือนกัน เมื่อ “โคะงุมะ” พายุโซนร้อน ลูกแรกของปีนี้ ซึ่งต่อมาได้อ่อนกำลังลงเป็น ดีเปรสชั่น และหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ ได้พัดผ่านประเทศเวียดนาม ลาวตอนบนและบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำน่าน ซึ่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่คือ เขื่อนสิริกิติ์ ตั้งอยู่

กอนช. คาดการณ์ว่า “โคะงุมะ” จะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ไม่น้อยกว่า 277 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำในจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก (บ้านของท่านสส. นพพล) พิจิตร นครสวรรค์ และจังหวัดในลุ่มเจ้าพระยาคลี่คลายลง สามารถบรรเทาปัญหาผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายได้จากภาวะฝนทิ้งช่วงได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตามการฝ่าวิกฤติภาวะภัยแล้ง และภาวะฝนทิ้งช่วง แม้จะมีโชคดีแต่ถ้าไม่มีการวางแผน และไม่มีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว ก็ยากที่จะฝ่าวิกฤติได้

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 18 มิถุนายน 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “อ่อนค่า” ที่ระดับ  31.42 บาทต่อดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.42 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่า”ลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 31.40 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่า แนวโน้มค่าเงินบาท  เรามองว่าเงินบาทอาจอ่อนค่าลงตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ รวมถึง แรงซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้ค้าทองคำที่เตรียมทยอย Buy on Dip ทองคำ หลังราคาทองคำปรับตัวลงมาใกล้ระดับแนวรับสำคัญ ขณะเดียวกัน แรงกดดันฝั่งเงินบาทอ่อนค่ายังมาจากแรงขายหุ้นไทยสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติยังไม่กลับมา ตราบใดที่การแจกจ่ายวัคซีนยังมีปัญหา อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมากหรืออ่อนค่าต่อเนื่องทะลุระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ เพราะผู้ส่งออกต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์ โดยเงินบาทมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ระดับ 31.50-31.60 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเรามองว่า โอกาสทะลุระดับดังกล่าวมีไม่มากนัก นอกจากนี้ เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง เรามองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้จังหวะนี้ทยอยลดการถือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (FX Reserves) ลงบ้าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สหรัฐฯมองว่า ไทยมีการแทรกแซงค่าเงินในทิศทางเดียว หรือ เพื่อให้ FX reserves มีการลดลงบ้าง มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.35-31.50 บาท/ดอลลาร์ สำหรับผู้เล่นในตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก เนื่องจากในวันศุกร์นี้จะเป็นวันที่ สัญญาออพชั่นและสัญญาฟิวเจอร์ ของบรรดาดัชนีและหุ้นรายตัวส่วนใหญ่ หมดอายุลง ทำให้อาจเกิดการปรับเปลี่ยนสถานะถือครองสินทรัพย์และส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ดี บรรดาผู้เล่นในตลาดต่างเดินหน้าเปลี่ยนกลุ่มหุ้น จากเดิมนักลงทุนเน้นธีม Cyclical & Value ก็เริ่มกลับมาลงทุนในกลุ่ม Tech & Growth หลังจากที่ ผลการประชุมเฟดสะท้อนว่า เฟดมีความมั่นใจต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเงินเฟ้อมากขึ้น จนเฟดเริ่มมองโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2023 ซึ่งมุมมองดังกล่าว ยังสะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ในช่วงกลางของวัฎจักรที่มักจะเป็นช่วงที่หุ้นในกลุ่มเทคฯ ให้ผลตอบแทนได้ดี นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่มเทคฯ ยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ กว่า 7bps สู่ระดับ 1.51% ส่งผลให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้นกว่า +0.87% ขณะที่ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.04% ส่วน ดัชนี Dowjones ปิดลบกว่า -0.62% จากแรงเทขายหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ Financial, Materials และ Industrials

ฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้นราว +0.15% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นในเกือบทุกตลาด ยกเว้นในฝั่งอังกฤษที่ปรับตัวลดลงจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มกลับมาใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่ม Industrials ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งออกสินค้า อาทิ สินค้าแบรนด์เนม รวมถึง ยานยนต์ หลังจากที่เงินยูโรอ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลดีต่อแนวโน้มรายได้ของกลุ่มบริษัทที่มีการส่งออก (Kering +1.19%, Daimler +1.01%, Louis Vuitton +0.7%) ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังเฟดส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 91.86 จุด สูงที่สุดในรอบเกือบ 2 เดือน กดดันให้ เงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.191 ดอลลาร์ต่อยูโร เช่นเดียวกับ เงินปอนด์ (GBP) ที่อ่อนค่าลงใกล้ระดับ 1.394 ดอลลาร์ต่อปอนด์ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ยังได้กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) โดย ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลงราว -1.7% สู่ระดับ 73 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับ ราคาทองคำ ที่ร่วงลงต่อเนื่องกว่า -2% สู่ระดับ 1,777 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ ราคาทองคำปรับตัวใกล้กับแนวรับของราคาทองคำ ทำให้อาจมีผู้เล่นบางส่วนรอจังหวะ Buy on Dip ทองคำได้ สำหรับวันนี้ เรามองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อาทิ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Balance Rate) ที่ระดับ -0.10% พร้อมทั้งเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินต่อไป หลังเศรษฐกิจในประเทศอาจฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 รวมถึงการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้าไปมาก แม้ว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนพฤษภาคม อาจโตขึ้นกว่า 50%y/y หนุนโดยจากความต้องการรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

จาก  https://www.thansettakij.com   วันที่ 18 มิถุนายน 2564

เร่งพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเกษตรทางอากาศ

กรุงเทพฯ 18 มิ.ย. “รมว. เฉลิมชัย” สั่งเดินหน้าเดินหน้าพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร นำร่องที่สนามบินดอนเมือง เตรียมตรวจเยี่ยมจุดจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าแบบวันสต็อปเซอร์วิส ซึ่งจะทำให้การขนส่งทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันการส่งออกในสถานการณ์โควิด-19

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า สั่งการให้เร่งพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Air Cargo Terminal :AFCT) โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตร-อาหาร ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ซึ่งจะนำร่องที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ต่อด้วยท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ก่อนจะขยายโครงการไปยังท่าอากาศยานภูมิภาคที่มีความพร้อมเช่นเชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ ภูเก็ต เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาคเกษตรอาหารซึ่งเป็นโอกาสของประเทศไทยภายใต้วิกฤติโควิด-19 โดยเตรียมจะไปตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่คาร์โกเทอร์มินัล สนามบินดอนเมืองในเร็วๆ นี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารต้องการความสะดวกรวดเร็วส่งถึงลูกค้าปลายทางทั่วโลกด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากลโดยคงความสดสะอาดอร่อยสามารถเพิ่มเวลาการบริโภคหรือเวลาการขาย (Shelf life) มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องจัดระบบศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรอาหารให้สามารถบริการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอาหารเพื่อส่งออก ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าและมาตรฐานสากล แบบวันสต็อปเซอร์วิสเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นฮับการผลิตและขนส่งสินค้าเกษตรและอาหารของอาเซียน

สำหรับ การประเมินการส่งออกอาหารของไทยในปี 2564 ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19  โดยสถาบันอาหาร คาดการณ์ว่า สินค้าอาหารของไทยจะมีมูลค่า 1.08-1.10 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 10.2-12.2% ดังนั้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน จึงเป็นกลไกที่สำคัญในสนับสนุนการส่งออกผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล จะเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความเชื่อมั่นของตลาดต่างประเทศ เพิ่มปริมาณและมูลค่าสูงขึ้น และส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป.

จาก  https://tna.mcot.net   วันที่ 18 มิถุนายน 2564

เร่งศึกษาFTAไทย-ฮ่องกง  โอกาสทองส่งออกไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าเปิดรับฟังความคิดเห็นการทำ FTA ไทย-ฮ่องกง ยังมีความจำเป็นหรือไม่ แม้จะ FTA กับฮ่องกงในกรอบอาเซียน-ฮ่องกงอยู่แล้ว เผยส่วนใหญ่แนะยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หาโอกาสใช้ฮ่องกงเป็นประตูการค้าสู่จีน และหนุนมีเวทีหารือด้านเศรษฐกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชนสองฝ่าย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้จัดสัมมนา "ความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ฮ่องกง" ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นเรื่องการจัดทำ FTA ไทย – ฮ่องกง หากไทยจะจัดทำ FTA ฉบับใหม่กับฮ่องกง ไทยจะได้ประโยชน์หรือมีผลกระทบอะไรเพิ่มเติมจาก FTA อาเซียน – ฮ่องกง หรือไม่ และหากในอนาคตฮ่องกงเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งไทยเป็นสมาชิก RCEP อยู่แล้ว FTA ฉบับใหม่นี้ยังมีความจำเป็นหรือไม่

ทั้งนี้ ผลการสัมมนา พบว่า ด้านการเปิดตลาดสินค้า ไทยจะไม่ได้รับประโยชน์เพิ่มเติม เนื่องจากฮ่องกงได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรในสินค้าทุกรายการให้ไทยแล้วภายใต้ FTA อาเซียน – ฮ่องกง แต่ในส่วนของภาคบริการ จะสามารถทำให้ฮ่องกงสนใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจและลงทุนเพิ่มเติมในไทย อาทิ สาขาอสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเงิน ประกันภัย และโลจิสติกส์เร่งศึกษาFTAไทย-ฮ่องกง  โอกาสทองส่งออกไทยสำหรับผู้ประกอบการ เห็นว่า ระหว่างนี้ไทยควรเร่งใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA อาเซียน - ฮ่องกง ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจากการที่ฮ่องกงและจีนมียุทธศาสตร์ความร่วมมืออ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area – GAB) ซึ่งจีนกำหนดให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ไทยควรเร่งยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับฮ่องกงให้เป็นรูปธรรม ทั้งเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเงินและประกันภัย เทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน และโลจิสติกส์ เพื่อใช้ฮ่องกงเป็นประตูการค้าสู่จีน

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้มีกลไกการหารือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทย-ฮ่องกง อาทิ คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ระหว่างภาครัฐ และสภาธุรกิจไทย-ฮ่องกงระหว่างภาคเอกชน สำหรับเป็นเวทีหารือส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดเข้าสู่ฮ่องกงในสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ สินค้าเกษตร อาหาร ผลไม้ อาหารที่ทำจากพืช สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและการทำงานอยู่บ้าน ตลอดจนสินค้าในภาคบริการ อาทิ อุตสาหกรรมบันเทิง สุขภาพ และอสังหาริมทรัพย์ฮ่องกงเป็นคู่ค้าอันดับ 8 ของไทย ในปี 2563 การค้าของไทยกับฮ่องกงมีมูลค่า  13,298 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออกไปฮ่องกงมูลค่า 11,292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการนำเข้ามูลค่า 2,006 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และข้าว สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ เครื่องประดับ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

จาก https://www.naewna.com     วันที่ 17 มิถุนายน 2564

จับตาแผนพลังงานฯฉบับกู้วิกฤติโลกร้อน!พลิกลงทุนครั้งใหญ่

การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26” ที่ เมืองกลาสโกว์ สหราชอณาจักร หรือ COP26 ระหว่าง 1-12 พฤศจิกายนนี้มีความพยายามที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้หลายประเทศต่างออกมาประกาศจุดยืนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ และความเป็นกลางทางคาร์บอน อาทิ สหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ที่วางเป้าหมายในปีค.ศ. 2050 และจีนในปีค.ศ. 2060

สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ได้ประกาศลดก๊าซเรือนกระจกใน COP 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสโดยมีเป้าหมายลด 20-25% ในปี 2573 ดังนั้นการเข้าร่วมประชุมที่กลาสโกว์ปลายปีนี้ไทยจะมีการประกาศจุดยืนอีกครั้ง โดยขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังหารือทุกส่วนเพื่อวางแนวทาง โดยเบื้องต้นมีเสียงสะท้อนจากเอกชนว่าไทยควรกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในปีค.ศ. 2065 ดังนั้นจากทิศทางดังกล่าวทำให้แผนด้านพลังงานที่ถือว่าเป็นภาคที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดถึง 30% ของภาพรวมจำเป็นต้องปรับไปในทิศทางเพื่อไม่ให้ตกขบวนของเวทีโลก

ภาพของแผนพลังงานแห่งชาติ((National Energy Plan) หรือ NEP ที่กระทรวงพลังงานโดยสำนักงาน นโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)อยู่ระหว่างการจัดทำจะต้องล้อกันไปกับเป้าหมายของรัฐบาลและทิศทางของโลกในภาพรวมที่ไม่เพียงตอบโจทย์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีส่วนมากสุดถึง 80% แต่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนที่กำลังแสวงหาพลังานสะอาด 100% รับกับกติกาการค้าโลกที่เปลี่ยนไปเพื่อลดโลกร้อนโดยมุ่งตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าต่างๆต้องใช้พลังงานสะอาด อาทิ มาตรการการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของอียูหรือ CBAM ฯลฯ และอีกฝั่งที่สำคัญคือค่าไฟฟ้าของภาคประชาชนที่ต้องไม่แบกรับภาระที่สูงเกินความเป็นจริง

ปิดฉากโรงไฟฟ้าถ่านหิน-เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน

 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวยอมรับว่า หากมองทิศทางของโลกแล้วพลังงานของไทยโดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าใหม่จะต้องไม่มีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินอีกต่อไปเพราะถือว่าไม่ได้ตอบโจทย์ทิศทางของโลก โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะ(ทดแทน) ขนาดกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 650 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบและอนาคตเหมืองถ่านหินกฟผ.เมื่อถูกใช้จนครบกำหนดจะถูกปรับไปอย่างอื่นต่อไปเช่น สมาร์ทซิตี้ เช่นเดียวกับการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศก็ต้องไม่ใช่เชื้อเพลิงถ่านหินเช่นเดียวกัน ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินเดิมที่มีอยู่จากแผนเดิมก็จะทยอยปลดออกจากระบบไปในที่สุด

สำหรับพลังงานหมุนเวียน( Renewable Energy) หรือ RE จะมีสัดส่วนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 30% ก็จะต้องเพิ่มมากกว่านี้ทั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ขยะ รวมไปถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านที่เป็นพลังงานสะอาด เช่น น้ำ แต่จะเพิ่มสัดส่วนจากที่ทำ MOUไว้กับประเทศเพื่อนบ้านแล้วหรือไม่ก็จะต้องมาพิจารณารายละเอียดก่อน อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลอัตราค่าไฟฟ้าภาพรวมที่ยังจำเป็นต้องวางเป้าหมายการส่งเสริมให้หลากหลายขึ้นโดยมองว่าแม้ RE จะมีสัดส่วนที่สูงในอนาคตแต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้มีแนวโน้มค่าไฟจาก RE จะถูกลงรวมถึงแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน(ESS)

 “ผมเชื่อว่าปี 2573 ราคาพลังงานหมุนเวียนจะถูกลงมาก แบตเตอรี่ก็เช่นกัน ก็จะส่งผลให้โครงสร้างค่าไฟในอนาคตอาจถูกลง รวมถึงการนำเข้า LNG Spot ที่เป็นราคาแข่งขัน ก็จะส่งผลดีต่อค่าไฟด้วยเช่นกัน ”นายกุลิศกล่าว

ขณะเดียวกันจะต้องนำเรื่องของการผลิตไฟฟ้าใช้เองของภาคประชาชน(Prosumer) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือ IPS เข้ามาคำนวนในระบบไฟฟ้าหลักด้วย และต้องพัฒนาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า (Grid Modernization) และระบบสมาร์ทกริด ไมโครกริดเข้ามาเสริมศักยภาพของระบบไฟฟ้า ตลอดจนมุ่งปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตเองใช้เอง และคำนึงถึงการใช้รถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) และแบตเตอรี่ ที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามแผนของภาครัฐ เป็นต้น ส่วนพลังงานที่จะมีผลกระทบค่อนข้างมากก็จะต้องวางกรอบในการปรับตัวอาทิ โรงกลั่นน้ำมันว่าจะไปต่ออย่างไร

“หลักการเหล่านี้จะถูกวางกรอบไว้ในแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติที่จะมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงมาตามทิศทางของประเทศไทย เพราะพลังงานถือเป็นสาขาที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากสุดถึง 30% โดยคาดว่าแผนพลังงานแห่งชาติจะประกาศใช้ได้ราวเดือนกันยายนนี้เป็นอย่างเร็ว “นายกุลิศกล่าว

“รสนา”แนะเร่งปลดล็อกพลังงานไทย

น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและแกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) กล่าวแสดงความเห็นว่า หลังจากโควิด-19 เกิดขึ้นกิจกรรมของมนุษย์หยุดลงแต่กลับทำให้ธรรมชาติหวนกลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ควรจะกลับมาใช้ชีวิตปกติเช่นที่ผ่านมาที่มีการบริโภคเกินความจำเป็น(Over Consumption) และการใช้พลังงานฟอสซิลเองก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนไป( Climate Change) ทำให้โลกตื่นตัวที่จะมุ่งสู่พลังงานสะอาดและทยอยลดและเลิกการใช้พลังงานจากฟอสซิล ขณะที่ภาคพลังงานของไทยนั้นผู้กำหนดนโยบายมาจากการเมืองและมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มทุนที่ผูกพันกับการแสวงหากำไรจากพลังงานดั้งเดิม(ฟอสซิล) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงอยู่ที่นโยบายการเมืองเป็นสำคัญ

 ทั้งนี้ โลกร้อนส่งผลกระทบมากมายต่อมนุษยชาติถ้าเราไม่เปลี่ยนก็จะอยู่ยากขึ้น ไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องดูตามทิศทางของโลกและนวัตกรรมวันนี้เปลี่ยนไปมาก การที่แผนพลังงานแห่งชาติจะกำหนดไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ถูกต้องแล้ว และต้องหันมาเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นในทางปฏิบัติแต่เป็นการส่งเสริมฯแบบมีสติด้วยเช่น กรณีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน(โซลาร์ฟาร์ม)ที่ต้องใช้พื้นที่จำนวนมากนับเป็นล้านๆไร่ ก็ไม่ควรจะไปส่งเสริมฯเพราะควรจะนำพื้นที่ไปสนับสนันภาคเกษตรกรรม

ขณะที่การผลิตไฟจากแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) โครงการโซลาร์ภาคประชาชนกลับรับซื้อไฟในอัตราที่ต่ำเพียง 1.68 บาทต่อหน่วยเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปีทั้งที่อายุแผงมีถึง 25 ปีที่ไม่จูงใจให้ประชาชนติดตั้ง สวนทางกับโรงไฟฟ้าใหญ่ที่รับซื้อตลอด 25 ปีแถมอัตราค่าไฟที่รับซื้อก็ไม่ได้ถูก ตรงกันข้ามกับที่ทั่วโลกต่างส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสพึ่งพาพลังงานด้วยตนเอง เช่น อังกฤษมุ่งติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้กับคนจนฟรีแต่ไทยกลับไปใช้นโยบายให้ใช้ไฟฟรี 90 หน่วยแรกที่ไม่ด้เป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน

” โรงไฟฟ้าเก่าที่วันนี้เรามีสำรองไฟสูงมากถึงเกือบ 40% ควรจะชะลอการก่อสร้างออกไปด้วยซ้ำ แถมสัญญาซื้อขายที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่าย(AP)แม้ไม่ใช้ก็ต้องจ่ายถือเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงเลยแต่รัฐก็ไม่เคยเจรจาในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าไฟฟ้าจากก๊าซฯจะเป็นฟอสซิลแต่ระยะแรกยังจำเป็นแต่ที่สุดจะต้องทยอย Phase Out โรงไฟฟ้าฟอสซิลออกไปให้เร็วที่สุด”น.ส.รสนากล่าว

 ส.อ.ท.จ่อคลอดแผนพลังงานภาคประชาชนก.ย.

นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าว่า อยากเห็นการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติที่มีการวางสมดุลของไฟฟ้าในระยะยาวที่คำนึงถึงจุดคุ้มทุน(Break Even) ของโรงไฟฟ้าเก่า โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิด เพราะหากพลังงานหมุนเวียนหรือ RE อนาคตมีราคาต่ำกว่ามากจะส่งผลให้ไทยต้องใช้ค่าไฟที่แพงขึ้นจึงต้องมี Business Plan ที่ชัดเจน เพราะเอกชนเองก็ต้องมองความอยู่รอดของธุรกิจ

 “มันอารมณ์เดียวกับการลงทุน 4Gก่อนหน้าที่ไทยอยู่แค่ 3G แต่เทคโนโลยีมาเร็วสปป.ลาวเลยลงทุน 4G เลยเช่นเดียวกับเรื่องของ RE เราจึงต้องวางสมดุลให้ดี ขณะเดียวกัน RE 100% ที่เอกชนกำลังต้องการก็มากขึ้นเพื่อรับกติกาการค้าโลกที่มุ่งสู่การลดโลกร้อน ”นายสุวิทย์กล่าว

เขาชี้ให้เห็นว่า ภาคการผลิตและส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิต(OEM)ที่มีห่วงโซ่การผลิตจำนวนมากที่ต้องทำตามนโยบายจากบริษัทแม่ เช่น ญี่ปุ่นที่ต่างตั้งเป้าไปสู่ลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปีค.ศ. 2050 เช่นเดียวกับนโยบายประเทศแต่ล่าสุดเรามีนโยบายพัฒนาการลงทุน RE 100% ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตแล้วอุตสาหกรรมเดิมที่อยู่ในอีอีซีจะทำอย่างไร รัฐจะต้องมองจุดนี้ด้วย

”โรงไฟฟ้าก๊าซฯต้องมองส่วนที่จะไปสนับสนุนรถไฟฟ้าของภาครัฐเพราะ RE คงจะรองรับไม่ได้ในระยะแรกแต่อนคตเทคโนโลยี ESS มาก็อาจจะทำให้ RE มีความมั่นคงได้มากขึ้น ระหว่างนี้ก็ต้องประคองไว้ก่อนแล้วค่อยๆ ปลดล็อกโดยดูทิศทางนวัตกรรม ”นายสุวิทย์กล่าว

อย่างไรก็ตามส.อ.ท.อยู่ระหว่างจัดทำร่างแผนพลังงานแห่งชาติฉบับภาคประชาชนหรือแผนพีดีพีภาคประชาชนในความหมายเดียวกัน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนี้หรือภายในกันยายน โดยกำหนดไว้ 2 scenario โดยชี้ให้เห็นว่าถ้าทำแบบนี้จะได้อะไร ถ้าไม่ทำแล้วจะเกิดไรขึ้นไม่ได้ฟันธง โดยเนื้อหาหลักของแผนจะมุ่งเน้นการตอบโจทย์ของกติกาโลกที่จำเป็นต้องวางสมดุลของภาคพลังงานไทยโดยเฉพาะพลังงานจากฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนที่จะเป็นเทรนด์ของโลก โดยแผนดังกล่าวจะมุ่งปรับปรุงทุกปีเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ต่างๆและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วในยุคปัจจุบัน

 พร้อมกันนี้ยังได้ทำการปรับปรุงแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ฉบับภาคประชาชนที่ก่อนหน้านี้ได้จัดทำไปแล้วให้ทันเหตุการณ์มากขึ้นและบรรจุแผนการลดก๊าซเรือนกระจก แผนเชื้อเพลิงชีวภาพ และพลังงานจากความร้อนเข้าไปเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวของทิศทางพลังงานโลกและพลังงานไทยล้วนมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกันในการที่จะร่วมกันกู้วิกฤติโลกร้อนเพื่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ดังนั้นนโยบายด้านพลังงานของไทยจึงมีบทบาทสำคัญว่าจะพลิกให้วิกฤติโลกร้อนครั้งนี้กลายเป็นโอกาสให้กับประเทศได้มากน้อยเพียงใด

จาก https://mgronline.com   วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เวียดนามเล่นงานไทย เก็บภาษีน้ำตาลกว่า 47% อ้างไทยทุ่มตลาด

เวียดนามเคาะแล้วเก็บภาษีน้ำตาลไทย 47.64% เป็นเวลา 5 ปี

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามเผยได้เรียกเก็บภาษี 47.64% สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่นำเข้าจากไทยเป็นเวลา 5 ปี เพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดและทดแทนการเก็บภาษีชั่วคราวที่บังคับใช้ในเดือนก.พ. ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 33.88%

การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ทางกระทรวงได้ดำเนินการสอบสวนต่อต้านการทุ่มตลาดเมื่อเดือนก.ย. ปีที่แล้ว หลังได้รับคำร้องเรียนจากเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมน้ำตาลของเวียดนาม

ข้อมูลจากการสอบสวนชี้ให้เห็นว่าเวียดนามนำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านตันในปี 2563 ซึ่งเพิ่มขึ้น 330.4% จากปี 2562

เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมในประเทศจึงต้องมีการขึ้นภาษีน้ำตาลนำเข้าจากประเทศไทย

ชี้ไทยไม่ร่วม CPTPP เสี่ยงกระทบส่งออก ระวังญี่ปุ่นจ่อย้ายฐานไปเวียดนาม

ทบทวนยกเครื่องลงทุน “EEC”....ภายใต้ภูมิทัศน์การเปลี่ยนแปลง

แถลงการณ์จากกระทรวงยังเผยว่าเวียดนามจะยังคงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลกระทบของมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ เวียดนามยกเลิกการเก็บภาษีน้ำตาลนำเข้าจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2563 ตามข้อตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ATIGA)

แต่ข้อตกลงดังกล่าวอนุญาตให้ประเทศภูมิภาคอาเซียนสามารถกำหนดภาษีนำเข้าเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมในประเทศของตนได้

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สนพ.ลุ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพโลกพุ่งต่อ หลังตลาดโลกต้องการเพิ่ม

“สนพ.” คาดการณ์ราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกต่อเนื่อง หลังความต้องการของตลาดโลกทั้งจีน และสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นทำให้โรงสกัดมีโอกาสส่งออก พร้อมเร่งทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเชื้อเพลิงชีวภาพใหม่ให้สะท้อนต้นทุนจริงและเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน หวังให้ราคาถูกลงและเกษตรกรได้ประโยชน์

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 32.80 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากประเทศจีน และสหรัฐอเมริกามีความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มฯ ในจำนวนมาก ดังนั้นแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้โรงสกัดส่งน้ำมันปาล์มดิบออกไปขายที่ต่างประเทศมากขึ้นซึ่งจะสะท้อนให้ราคาขายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตาม

สำหรับราคาน้ำมันไบโอดีเซลอ้างอิงเฉลี่ยของไทยระหว่างวันที่ 14-20 มิ.ย. 64 อยู่ที่ 38.18 บาทต่อลิตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.20 บาทต่อลิตร จากสัปดาห์ก่อน จากสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมันระหว่างวันที่ 7-13 มิถุนายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.70-7.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 34.50-35.75 บาทต่อกิโลกรัม เป็นช่วงที่มีผลผลิตในตลาดตามฤดูกาล ส่วนราคาเอทานอลอ้างอิงในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 25.84 บาทต่อลิตร โดยราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.01 บาทต่อลิตร โดยปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 ประมาณ 194,121 ตัน ส่วนสต๊อกน้ำมัน ไบโอดีเซล (B100) ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 เท่ากับ 73.79 ล้านลิตร

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีนโยบายสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมันมาผลิตเป็นไบโอดีเซล อ้อยและมันสำปะหลังมาผลิตเป็นเอทานอลเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเบนซิน ทำให้ปัจจุบันไทยมีน้ำมันเชื้อเพลิงหลากหลายชนิดขึ้น เช่น น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7, B10 และ B20 และแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95, แก๊สโซฮอล์ E20, แก๊สโซฮอล์ E85 เป็นต้น นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศแล้ว ยังช่วยรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและสร้างรายได้ให้เกษตรกร และทำให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาอ้างอิงในการคำนวณโครงสร้างราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซลและเอทานอล) รวมไปถึงสถานการณ์การผลิต เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพมีการเปลี่ยนแปลงไป สนพ. จึงอยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อให้ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพสะท้อนกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน ทำให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาถูกลง รวมไปถึงการสร้างรายได้ให้เกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากได้อีกด้วย

จาก https://mgronline.com   วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

​​​​​​​ศึกแบน 3 สารเคมีเกษตร ยังไม่จบ

“มนัญญา” โพสต์ เดือด ทวงความทรงจำ รัฐสภา ยกมือสนับสนุนแบน 3 สารเคมี หลุด “ไกลโฟเซต” เหลือสถานะ “จำกัดการใช้” ดักคอ ปลุกชีพขึ้นใหม่

พลิกแฟ้ม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ 19 พฤษภาคม 2563 ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม” เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่6) พ.ศ.2563 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ1 ให้ยกเลิกรายการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2556 ดังต่อไปนี้ โดยให้รายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน บัญชีที่1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่53 คอลร์ไพริฟอส ลำดับที่ 54 คลอร์ไพริสฟอส-เมทิล ลำดับที่ 352 พาราควอต ลำดับที่ 353 พาราควอตไดคลอไรด์ และลำดับที่ 354 พาราควอตไดคลอไรด์ ข้อ2. ให้ผู้ผลิจ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่4 ตามประกาศฉบับนี้ ที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศบับนี้มีผลใช้บังคับ ปฎิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ข้อ3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ล่าสุดมีความคืบหน้า  นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้โพสต์คลิป คุณชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี  พรรคภูมิใจไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายร่าง พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. .... โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ กล่าวถึงวิธีคิดของกระทรวงอุตสาหกรรม แยบยล เล่นกล เป็นการกระทำที่คิดได้เก่งจริงไม่ได้มีอะไรมาก “คำว่าวัตถุอันตราย” สารพิษ 3 ตัว  ได้มีการยกเลิกไปแล้ว 2 ตัว ก็คือ “พาราควอต” และ”คอลไพรริฟอส” ยังเหลือไกลโฟเซต ที่เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่วันนี้กำลังจะเอากลับมาทั้งหมด เพราะอยู่ดีๆ เอาอำนาจไปให้ต่างชาติ ผมถามว่าเหตุผลอะไร คนไทยโง่หรือไม่รู้จัก สารเคมีที่เข้ามาทั้งหมดมาจากต่างชาติแล้วนำกติกาไปให้ต่างชาติเป็นคนกำหนด แล้วถ้าไปทำงานวิจัยแล้วบอกว่า ตัวนี้ไม่มีพิษ ตัวนี้ไม่มีปัญหา คณะกรรมการชุดเดิมกล้าหรือไม่ อยู่ดีดีไปยื่นหอกให้คนต่างชาติ ผมบอกได้เลยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเก่งมาก ขณะที่นางสาวมนัญญา กล่าวว่า จำได้ไหม มติให้แบน 3 สาร วันนั้นผู้ทรงเกียรติเห็นด้วยทุกท่าน ณ เวลานี้มันกลับมาอีกแล้ว มันเกิดอะไรขึ้น ทำได้แค่นี้ แค่เด็กบ้านนอกคนหนึ่ง

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ชาติอาเซียนผนึกกำลังฟื้นฟูศก. เร่งขจัดอุปสรรคทางการค้าและลงทุน

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 2/52 ผ่านระบบประชุมทางไกล เมื่อวันที่8-10 มิถุนายน 2564 เพื่อเร่งรัดการทำงานตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เช่น การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ATIGA) เพื่อรองรับรูปแบบการค้าปัจจุบันและลดอุปสรรคมากขึ้น การปรับปรุงตารางข้อผูกพันการเปิดตลาด การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเข้าใจง่ายและเป็นรูปแบบเดียวกัน และเตรียมการประชุมหาแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับประเทศนอกภูมิภาค ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐฯ แคนาดา และอินเดีย

ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนงานด้านเศรษฐกิจสำคัญประจำปี 2564 (PED) ที่บรูไน ในฐานะประธานอาเซียนผลักดัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู ด้านการเป็นดิจิทัล และด้านความยั่งยืน จำนวน 13 ประเด็น เช่น การจัดทำเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTM) ของประเทศสมาชิก (NTM Toolkit) ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 การหารือจัดทำเอกสารอ้างอิงเพื่อนำไปสู่การประกาศเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา ช่วงปลายปี เป็นต้น

ไฮไลต์ของการประชุมครั้งนี้ คือ การหารือประเด็นใหม่ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมให้เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัว เช่น 1.ปรับปรุงแนวทางเพื่อส่งเสริมให้สินค้าและบริการของอาเซียนมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVC) มากขึ้น โดยจะตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลโดยเฉพาะ 2.การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ในภูมิภาคตามแนวโน้มของโลก โดยไทยได้เสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่อาเซียนสามารถนำไปปรับใช้ได้ 3.การจัดทำแผนงานระยะสั้นและกลางเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค (แผนงานบันดาร์เสรีเบกาวัน) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงและความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในระยะยาว

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจตามที่ผู้นำอาเซียนได้มอบหมายไว้ เช่น การจัดตั้งคณะผู้พิจารณาอิสระเพื่อหาแนวทางแก้ไขหรือไกล่เกลี่ยปัญหามาตรการที่มิใช่ภาษี (NTM) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การพิจารณาขยายบัญชีสินค้าจำเป็น (essential goods) ที่อาเซียนจะไม่จำกัดการส่งออกในช่วงโควิด-19 เพิ่มเติมจาก ยา และเวชภัณฑ์ ไปยังสินค้าเกษตรและอาหารบางรายการ

การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในปี 2563 มีมูลค่า 94,838.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียน 55,469.59 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 39,368.47 ล้านเหรียญสหรัฐ มีตลาดสำคัญ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

จาก https://www.naewna.com วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จับทิศไบโอดีเซล-เอทานอล ขาขึ้น รับดีมานด์ตลาดโลก

สนพ.ทบทวนสูตรราคาเชื้อเพลิงชีวภาพสะท้อนสถานการณ์จริง คาดแนวโน้มตลาดโลกเพิ่มขึ้น หลังสหรัฐ-จีนต้องการสูง หวั่นแห่ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบดันราคาในไทยพุ่ง

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนพ.อยู่ระหว่างการทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ  ทั้งไบโอดีเซลและเอทานอล เพื่อให้ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพสะท้อนกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ส่งผลให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาถูกลง รวมไปถึงการสร้างรายได้ให้เกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากได้อีกด้วย

ปัจจุบันราคาอ้างอิงในการคำนวณโครงสร้างราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันเชื้อเพลิงมีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซลและเอทานอล) ซึ่งสถานการณ์การผลิต เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพมีการเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ  ราคาน้ำมันไบโอดีเซลอ้างอิงเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 14 - 20 มิ.ย. 64 อยู่ที่ 38.18 บาทต่อลิตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.20 บาทต่อลิตร เป็นผลจากราคาผลปาล์มน้ำมันระหว่างวันที่ 7 - 13  มิ.ย. เฉลี่ยอยู่ที่ 5.70 - 7.00 บาทต่อกิโลกรัม (ก.ก.) ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 34.50 - 35.75 บาทต่อก.ก. เป็นช่วงที่มีผลผลิตในตลาดตามฤดูกาล

เศรษฐกิจชะลอ ฉุดการใช้น้ำมัน-ไฟฟ้าไตรมาสแรกหดตัว

บางจาก พลิกกำไร 2 พันล้าน ทำแฮททริคยอดขาย New High

ด้านราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 32.80 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น  เนื่องจากประเทศจีน และประเทศสหรัฐมีความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มในจำนวนมาก คาดการณ์ว่าจะทำให้ราคาตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้โรงสกัดส่งน้ำมันปาล์มดิบออกไปขายที่ต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ราคาขายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่มากกว่าความต้องการขายในประเทศ

ส่วนราคาเอทานอลอ้างอิงในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 25.84 บาทต่อลิตรโดยราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.01 บาทต่อลิตร  ทั้งนี้ ปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ ณ สิ้นเดือน เมษายน 2564 ประมาณ 194,121 ตัน ส่วนสต็อกน้ำมัน ไบโอดีเซล (B100) ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 เท่ากับ 73.79 ล้านลิตร

อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงาน มีนโยบายสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมันมาผลิตเป็นไบโอดีเซล อ้อยและมันสำปะหลังมาผลิตเป็นเอทานอลเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเบนซิน ทำให้ปัจจุบันไทยมีน้ำมันเชื้อเพลิง มีหลากหลายชนิดขึ้น เช่น น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7 ,B10 และ B20 และแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95, แก๊สโซฮอล์ E20, แก๊สโซฮอล์ E85 เป็นต้น

นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศแล้วยังช่วยรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและสร้างรายได้ให้เกษตรกร และทำให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กระทรวงพลังงาน ขยี้ซ้ำโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่อินเทรนด์

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงจะสรุปแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่จะเสนอกรอบเบื้องต้นให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาได้ในเดือน มิ.ย.- ก.ค.นี้ จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็น และคาดว่าจะประกาศใช้แผนพลังงานแห่งชาติได้ในเดือน ก.ย.นี้

“แนวทางดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศไทยมุ่งหน้าสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น และสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (RE) ก็จะเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องไม่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน เนื่องจากไม่ตอบโจทย์การลดโลกร้อน ขณะที่สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน (RE) จะเพิ่มขึ้นจากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 30% โดยจะเป็นสัดส่วนเท่าใด จะรอข้อสรุปอีกครั้งหนึ่ง และ RE ส่วนหนึ่งจะเป็นการส่งเสริมการลงทุน การส่งออก เพราะปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีเงื่อนไขทางการค้า ที่มีการตรวจสอบย้อนหลังว่าใช้พลังงานสะอาดหรือไม่ ทำให้การลงทุนขณะนี้ ต้องการพลังงานสะอาด 100% มากขึ้น เช่น พลังงานชีวมวล, ชีวภาพ, โซลาร์ฟาร์ม, ขยะ รวมถึงการซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศลาว

สำหรับแผนพลังงานชาติในเรื่องของน้ำมัน ก็จะต้องดูเรื่องของไฮโดรเจนที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น รวมถึงเมื่อโรงกลั่นน้ำมันที่มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 5 แล้ว จะไปต่ออย่างไรในระยะยาว เมื่อได้แผนพลังงานแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว จะนำไปสู่การวางแผนพลังงานที่เป็นแผนปฏิบัติการลงรายละเอียดให้เป็นไปตามเป้าหลัก ได้แก่ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับใหม่หรือ PDP 2022.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

“พาณิชย์” เปิดให้บริการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไทย-ชิลี ด้วยระบบ ESS

กรมการค้าต่างประเทศเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form TC สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใน FTA ไทย-ชิลี ด้วยระบบการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) เริ่ม 15 มิ.ย.นี้ ช่วยผู้ประกอบการลดขั้นตอน ระยะเวลา และยังตรวจสอบย้อนกลับได้ เผยล่าสุดเปิดให้บริการแล้ว 8 ฟอร์มจากทั้งหมด 12 ฟอร์ม

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยและชิลีบรรลุข้อตกลงในการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form TC เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ชิลี ด้วยการนำระบบการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal : ESS) มาใช้ ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาการให้บริการในยุคโควิด-19 และปรับตัวรับกับสถานการณ์ New Normal ได้เป็นอย่างดี โดยจะเริ่มใช้ระบบ ESS สำหรับ Form TC ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวจะนำลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูลของกรมฯ มาพิมพ์บนฟอร์มโดยอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถลดเวลาในการขอรับฟอร์มเหลือเพียง 10 นาทีต่อฉบับ จากเดิมที่เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการต้องลงลายมือชื่อและประทับตราแบบสด ซึ่งใช้เวลากว่า 30 นาทีต่อฉบับ ซึ่งช่วยลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ลดการสัมผัสเอกสาร และยังสามารถช่วยลดการตรวจสอบย้อนกลับ (Verify) จากประเทศปลายทางได้ เนื่องจากลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์มีโอกาสคลาดเคลื่อนน้อยและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ปัจจุบันมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกด้วยระบบ ESS ทั้งสิ้น 8 ฟอร์ม จากทั้งหมด 12 ฟอร์ม ได้แก่ 1. ฟอร์ม D (อาเซียน) 2. ฟอร์ม FTA (ออสเตรเลีย) 3. ฟอร์ม AANZ (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) 4. ฟอร์ม JTEPA (ญี่ปุ่น) 5. ฟอร์ม AJ (อาเซียน-ญี่ปุ่น) 6. ฟอร์ม AK (อาเซียน-เกาหลี) 7. ฟอร์ม AHK (อาเซียน-ฮ่องกง) และ 8. ฟอร์ม TC (ไทย-ชิลี) และในช่วง 5 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-พ.ค.) กรมฯ ได้ออก Form TC คิดเป็นมูลค่า 214.48 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.41%

สำหรับการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยระบบ ESS เป็น 1 ใน 85 รายการของบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวของกระทรวงพาณิชย์ (MOC Online One Stop Service) ที่ดำเนินการตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ

จาก https://mgronline.com วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ครม.อนุมัติงบกลาง 3.2 พันล้านบาท บริหารจัดการน้ำ-แก้ภัยแล้ง

มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ อนุมัติงบกลาง 3,248 ล้านบาท ดำเนินโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแก้ภัยแล้ง ให้ 5 กระทรวง 7 หน่วยงาน ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ

วันที่ 15 มิ.ย. 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,248.52 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้ง และเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือสำหรับสนุนการจัดการน้ำในฤดูฝน รวม 2,854 รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยมี 5 กระทรวง และ 7 หน่วยงาน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการดังนี้

1. กรมชลประทาน วงเงิน 1,202.42 ล้านบาท จำนวน 44 รายการ เช่น การขุดลอกฝาย/ห้วย/อ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ จัดหาเครื่องสูบน้ำ

2. กรมทรัพยากรน้ำ วงเงิน 48.36 ล้านบาท จำนวน 4 รายการ เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ การก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

3. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล วงเงิน 1,447.65 ล้านบาท จำนวน 2,195 รายการเช่น การฟื้นฟูสภาพบ่อน้ำบาดาล โครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น

4. จังหวัด วงเงิน 227.92 ล้านบาท จำนวน 395 รายการ เช่น การขุดลอกคลอง/สระ/อ่างเก็บน้ำ การปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร การขุดเจาะบ่อบาดาล

5. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น วงเงิน 176.59 ล้านบาท จำนวน 212 รายการ เช่น การก่อสร้างคลองส่งน้ำ การขุดเจาะบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ การก่อสร้างระบบผลิตเพิ่มประสิทธิภาพน้ำประปา

6. สทนช. วงเงิน 115.01 ล้านบาท จำนวน 2 รายการ คือ การจัดหาครุภัณฑ์ประกอบพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และหน่วยอำนวยการติดตามคาดการณ์สถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ในภาวะเข้าใกล้วิกฤติ

7. หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา วงเงิน 30.57 ล้านบาท จำนวน 2 รายการ คือ การขุดลอกแหล่งน้ำ และการซ่อมทางผิวจราจรลาดยาง

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ไทย-อียูเดินหน้าเจรจาFTA ขยายโอกาสทางการค้าและลงทุน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายปีร์กะ ตาปิโอละ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป (อียู) ประจำประเทศไทย ว่า ไทยและอียูเห็นตรงกันที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-อียู ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายอยู่ในขั้นตอนการจัดทำกรอบการเจรจา ซึ่งระดับเจ้าหน้าที่กำลังเร่งหารือทำเอกสารความคาดหวังร่วมกัน เพื่อใช้เป็นต้นร่างในการนำไปสู่การขอความเห็นชอบจากรัฐบาล ทั้งในส่วนของไทย และรัฐบาลของอียู เพื่อเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไป

“การทำ FTA ไทย-อียู เป็นนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ และเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้มีการรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว การหารือครั้งนี้อียูคาดหวังว่า ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียนที่ทำ FTA กับอียู โดย 2 ประเทศแรก คือ เวียดนามกับสิงคโปร์ ถ้ามีการทำ FTA ไทยกับอียูเกิดขึ้นจริง และมีผลบังคับใช้ ไทยจะได้รับประโยชน์เรื่องการค้าและการลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะการค้าไทยกับอียูถือว่าสูงมาก คิดเป็น 8% ของการค้าไทยกับโลก”นายจุรินทร์กล่าว

การหารือครั้งนี้ ไทยและอียูยังมีความเห็นร่วมกันในการใช้องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าในระบบพหุภาคี และจะต้องเร่งเรื่องการปฏิรูป WTO ให้มีสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ เพื่อมาพิจารณาข้อพิพาทให้ได้โดยเร็ว เร่งสรุปการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมง รวมทั้งเห็นร่วมกันในการส่งเสริมการค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ได้ขอให้ท่านทูต เชิญภาคเอกชนของอียูเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของไทยในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 โดยจะมีการเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching -OBM) ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้ากลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่น สเปน เดนมาร์ก อิตาลีสาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น โดยไทยจะจัดงานแสดงสินค้าหลายกลุ่ม เช่น อาหาร ผลไม้ เครื่องดื่ม เครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

จาก https://www.naewna.com วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ  31.12 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้ จากแรงขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ หลังการแจกจ่ายวัคซีนในไทย เริ่มมีปัญหาขาดแคลนวัคซีน

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.12 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า”ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 31.13 บาทต่อดอลลาร์- มองกรอบวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.05-31.20 บาท/ดอลลาร์

 นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า แนวโน้มค่าเงินบาท  เรามองว่า เงินบาทยังคงมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways เนื่องจากบนภาพเงินดอลลาร์ ผู้เล่นในตลาดก็รอคอยผลการประชุม FOMC อย่างไรก็ดี เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้ จากแรงขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ หลังการแจกจ่ายวัคซีนในไทย เริ่มมีปัญหาขาดแคลนวัคซีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการคุมสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 รวมถึง การทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdownมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.05-31.20 บาท/ดอลลาร์สำหรับตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น (Risk-On) ท่ามกลาง มุมมองของผู้ในเล่นตลาดส่วนใหญ่ที่คลายความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และมองว่า ในการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ เฟดจะยังคงมุมมองไม่เร่งรีบปรับลดการทำคิวอี ภาพดังกล่าว ได้หนุนให้ หุ้นสหรัฐฯในกลุ่มเทคฯ (Apple +2.46%, Adobe +2.9%, Bilibili +3.63%)ปรับตัวขึ้นโดดเด่น ทำให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปิดตลาด +0.74% ส่วน ดัชนี S&P500 ก็ปรับตัวขึ้น 0.18% ขณะที่ ดัชนี Dowjones ปิดลบ -0.25% กดดันโดยแรงเทขายทำกำไรหุ้นในกลุ่ม Cyclical ส่วนในฝั่งยุโรป บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ได้ช่วยหนุนให้ ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้นราว +0.14%  โดยส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่มเทคฯ SAP +1.55%, Infineon Tech. +0.74%, ASML +0.71%

ทางด้านตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นกว่า 3bps สู่ระดับ 1.49% จากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดที่ได้หนุนให้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายทำกำไรบอนด์ระยะยาวออกมาบ้าง หลังจากที่ในสัปดาห์ก่อนหน้า บอนด์ระยะยาวปรับตัวขึ้นโดดเด่นจากการที่ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงหนัก ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดบอนด์ต่างรอคอยผลการประชุม FOMC ในช่วงเช้าตรู่ของวันพฤหัสฯ นี้ ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนสถานะถือครองอีกครั้ง ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ โดยรวมทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 90.51 จุด ซึ่งเรามองว่า เงินดอลลาร์ก็มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ Sideways ไปจนกว่าจะทราบผลการประชุม FOMC อย่างไรก็ดี ส่วนต่างระหว่างยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ กับ ยีลด์ 10ปี ญี่ปุ่น ที่เพิ่มสูงขึ้น ได้หนุนให้ เงินเยน (JPY) อ่อนค่าลง สู่ระดับ 110.08 เยนต่อดอลลาร์ สำหรับวันนี้ เรามองว่า ตลาดการเงินจะมีแนวโน้มกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่มองว่า เฟดจะยังไม่ส่งสัญญาณปรับลดการอัดฉีดสภาพคล่องหรือลดการทำคิวอี ก่อนงานสัมมนาประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole ในช่วงเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ดี การเปิดรับความเสี่ยงของตลาด อาจเป็นภาพหุ้นในกลุ่มเทคฯ ที่มีแนวโน้มผลกำไรเติบโตได้ดี สามารถปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่าหุ้นในกลุ่มอื่นๆ หลังจากที่ราคาปรับตัวลดลงหนักในช่วงที่บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ เร่งตัวสูงขึ้น แต่ทว่า เราก็อาจเห็นแรงเทขายทำกำไรหุ้นในกลุ่ม Cyclical ออกมาบ้าง หลังจาก หุ้นกลุ่ม Cyclical ปรับตัวขึ้นไปมากจากช่วงต้นปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า  อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเช้านี้ (15 มิ.ย.) ปรับตัวอยู่ในกรอบแคบๆ ที่ระดับประมาณ 31.10-31.12 บาทต่อดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงระดับปิดตลาดวานนี้ 31.13 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ รอปัจจัยกระตุ้นใหม่ๆ เนื่องจากแม้ตลาดจะประเมินว่า เฟดยังไม่น่าจะส่งสัญญาณถอยออกจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมรอบนี้ แต่ก็จะติดตามท่าทีเชิงนโยบายการเงินจากผลการประชุมนโยบายการเงิน Dot Plot และประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชุดใหม่ สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 31.05-31.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยติดตามจะอยู่ที่สัญญาณฟันด์โฟลว์ สถานการณ์โควิด 19 แผนการจัดหาและการกระจายจัดสรรวัคซีนของไทย ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต การรผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ผลสำรวจกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมิ.ย.  

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

'ประวิตร' ดัน 3 แผนน้ำ 'อีอีซี' คิกออฟเติมอ่าง 'ประแสร์'

ความต้องการใช้น้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีแนวโน้มขึ้น โดยมีการประเมินว่าความต้องการใช้น้ำในพื้นที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งภาคประชาชน ภาคเกษตร ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนเพิ่มน้ำต้นทุนให้มากขึ้น

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ทำการเปิดสถานีสูบน้ำคลองสะพาน จังหวัดระยอง วานนี้ (14 มิ.ย.) เพื่อเพิ่มน้ำให้อ่างประแสร์ได้ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในเขต EEC

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกและอีอีซี รวมถึงเน้นย้ำความพร้อมการขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 เพื่อให้ภาคตะวันออกมั่นคงเรื่องน้ำและนักลงทุนเกิดความมั่นใจ โดยมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 3 ประเด็นหลัก คือ

1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หารือและกำหนดแนวทางร่วมกันถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ รวมถึงเร่งเพิ่มน้ำต้นทุนโดยการพัฒนาระบบโครงข่ายน้ำให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

2.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดหาแหล่งน้ำสำรองของตนเอง พร้อมสนับสนุนภาคเอกชนใช้น้ำแบบ 3R รวมถึงเร่งเพิ่ม

3.ขอให้ทุกหน่วยปฏิบัติตาม 10 มาตรการ รับมือฝนปี 2564 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก รวมถึงวางแผนเก็บน้ำสำรองทุกแหล่งทั้งผิวดินและใต้ดินไว้รองรับฤดูแล้งหน้า

ทั้งนี้ ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2561–2563) รัฐบาลเร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้มีพื้นที่เก็บน้ำฝนให้มากที่สุดรองรับความต้องการภาคประชาชน เศรษฐกิจ เกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง มีโครงการแหล่งน้ำแล้ว 2,872 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 372,950 ไร่ ประชาชนรับประโยชน์ 136,751 ครัวเรือน ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 138 ล้าน ลบ.ม.

รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง ที่เป็นหัวใจหลักสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งประสบปัญหาน้ำน้อยมาก กอนช.จึงจัดสรรงบกลางปี 2563 สนับสนุนส่วนหนึ่งให้กรมชลประทานเร่งโครงการสูบน้ำกลับจากคลองสะพานมาเติมอ่างประแสร์ให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นในปี 2564

นอกจากนี้ แม้ว่าสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกปี 2564 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าห่วงนัก แต่ต้องเน้นย้ำทุกหน่วยงานบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผน พร้อมสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเพื่อเตรียมการรับมือและให้การสนับสนุนร่วมไปกับภาครัฐที่มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและภาคเกษตรกรรม

รวมทั้งการหาแหล่งน้ำต้นทุนให้พอและดำเนินการปี 2563-2580 ทั้งสิ้น 38 โครงการ ใน 9 กลุ่มโครงการ ได้แก่ การก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่ ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม ก่อสร้างโครงข่ายน้ำใหม่ ปรับปรุงโครงข่ายน้ำเดิม ก่อสร้างระบบสูบกลับ ขุดลอกแก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำ บ่อบาดาลอุตสาหกรรม สระเอกชน และผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 872 ล้าน ลบ.ม.

ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการขยายตัวของสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC รัฐบาลจึงสั่งการให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการการทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ให้ประชาชนมีน้ำเพียงพอใช้ในทุกกิจกรรม

ปัจจุบันใน EEC มีปริมาณน้ำเก็บกักรวมกัน 662 ล้าน ลบ.ม. หรือ 44% ของความจุอ่างรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 522 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจัดสรรน้ำทุกกิจกรรมแล้ว 80 ล้าน ลบ.ม.ต้องการใช้น้ำ 1,054 ล้าน ลบ.บ.โดยปี 2574 ต้องการใช้น้ำเพิ่มรวม 358 ล้าน ลบ.ม.และชลบุรีต้องการเพิ่มขึ้นมากสุด โดยกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำใน EEC อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม แต่ปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอสำหรับอนาคตจึงต้องดำเนินการ 4 โครงการ ได้แก่

1.โครงการระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 ปัจจุบันพร้อมดำเนินการและหากแล้วเสร็จจะเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำประแสร์ได้ 50 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

2.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ปัจจุบันกำลังเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และโครงการผันน้ำคลองวังโตนด-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 หากเสร็จจะเพิ่มน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำประแสร์ได้ 140 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

3.โครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-หนองค้อ-บางพระ ปัจจุบันพร้อมดำเนินการ หากแล้วเสร็จจะเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้อ่างเก็บน้ำบางพระได้ 80 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

4.โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หากเสร็จจะเพิ่มน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล 1,795 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

สำหรับลุ่มน้ำบางปะกง กรมชลประทานทำการจัดสรรน้ำ จากอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง เพื่อรักษาระบบนิเวศกว่า 300 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ในการควบคุมค่าความเค็มไม่ให้เกินเกณฑ์ 1 กรัมต่อลิตร ในขณะนี้กำลังก่อสร้างระบบส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา 100,000 ไร่ ทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในปัจจุบันไม่พอผลักดันน้ำเค็มจึงศึกษาแนวทางการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน

รวมทั้งประเมิน EIA โครงการอ่างเก็บน้ำจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร อ่างเก็บน้ำคลองหนองแก้ว อ่างเก็บน้ำคลองวังมืด อ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา และอ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ หากดำเนินการได้จะมีปริมาณน้ำต้นทุนที่เพียงพอสำหรับทุกกิจกรรมในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำอย่างยั่งยืนอีกด้วย

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ราคาสินค้าเกษตรพุ่งกระทบ'ผู้บริโภค-ธุรกิจ'เอเชีย

ราคาสินค้าเกษตรพุ่งกระทบ'ผู้บริโภค-ธุรกิจ'เอเชีย โดยดัชนีราคาอาหารโลกของเอฟเอโอเพิ่มขึ้น12เดือนติดต่อกันและเดือนพ.ค.ปรับตัวสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี

ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไล่ตั้งแต่ข้าวสาลี น้ำมันพืช ไปจนถึงน้ำตาลช่วงไม่กี่เดือนมานี้กำลังส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย

บรรดาผู้ประกอบการด้านอาหารกำลังผลักภาระราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นไปยังครัวเรือนต่างๆซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริโภคและบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจบางประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้ในสภาพแวดล้อมแบบนี้จะมีผู้ส่งออกและเกษตรกรบางกลุ่มได้ประโยชน์ก็ตาม

ดัชนีราคาอาหารมาตรฐานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(เอฟเอโอ)ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวของราคาเนื้อวัว ผลิตภัณฑ์จากนม ซีเรียล น้ำมันพืชและน้ำตาลปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ในเดือนพ.ค.เป็น 127.1 ถือเป็นการปรับตัวสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี และตัวเลขของเดือนพ.ค.สูงกว่าปีก่อนหน้านี้ 40%

ราคาอาหารโลกปรับตัวขึ้นจากปัจจัยหลายด้านทั้งความต้องการจากจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่สุดของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหลังจากซบเซาเพราะผลพวงจากการระบาดของโรคโควิด-19 เร็วกว่าทุกประเทศในโลก

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องต้นทุนการขนส่งทางเรือที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสาเหตุขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และระบบห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งประเด็นปัญหาอื่นๆเช่น ความล่าช้าในการเก็บเกี่ยวพืชเกษตรและผลผลิตอ้อยที่ลดลงในบราซิล

ยิ่งกว่านั้น ราคาโภคภัณฑ์ยังปรับตัวขึ้นเพราะเม็ดเงินลงทุนที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแห่งนี้ เนื่องจากบรรดานักลงทุนพยายามสร้างความหลากในการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดเงินโลกมีความผันผวนสูง

เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บรรดาผู้ประกอบการด้านอาหารในเอเชียจึงเลือกที่จะปรับราคาสินค้าขึ้นเพื่อชดเชยกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น บรรดาผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ๆอย่างบริษัทญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีนเริ่มเคลื่อนไหวแล้ว เริ่มจากบริษัทนิชชิน ไซฟุน กรุ๊ป ผู้ผลิตแป้งสำหรับทำอาหารชั้นนำสัญชาติญี่ปุ่น ขึ้นราคาแป้งสาลีสำหรับครัวเรือนประมาณ 2-4% ในเดือนก.ค.โดยให้เหตุผลว่าเพื่อชดเชยกับการปรับตัวขึ้นของราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งรวมทั้งต้นทุนการบรรจุหีบห่อ

ส่วนบริษัทอายิโนะโมโตะ ผู้ผลิตเครื่องปรุงอาหารก็ขึ้นราคามายองเนสประมาณ 1-10% ในเดือนหน้า โดยอ้างว่าราคาน้ำมันสำหรับการบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ขณะที่ในเกาหลีใต้ ปารีส บาเกตต์ เครือข่ายเบเกอรีใหญ่สุด ปรับขึ้นราคาขนมปังประมาณ 5.6% เมื่อเดือนก.พ.เนื่องจากราคาวัตถุดิบในการทำขนมปังเพิ่มขึ้น ส่วนในจีน ราคาน้ำมันถั่วเหลืองในท้องถิ่นบางยี่ห้อเพิ่มขึ้นประมาณ 20%ในเดือนเม.ย.

ขณะที่ข้อมูลราคาผู้บริโภคอย่างเป็นทางการในบางประเทศสะท้อนถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้เพิ่มขึ่น 2.6% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบกับปีก่อน ถอเป็นการปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปี 2555 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น และเป็นที่น่าสังเกตุว่า ราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ฟิลิปปินส์เองก็เจอปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเช่นกันในปีนี้ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 4.5% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ปรับตัวขึ้น 4.6%

จั่ว ฮัก บิน นักเศรษฐศาสตร์จากเมย์แบงก์ กิมเอ็ง ให้ความเห็นว่า “ราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจบั่นทอนความพยายามฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รายได้ครัวเรือนที่ลดลงและประเทศที่มีฐานะยากจนจะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่า เนื่องจากต้องใช้เงินจากรายได้หมดไปกับค่าอาหารที่แพงขึ้น และประเทศเหล่านี้เข้าถึงวัคซีนต้านโควิด-19ได้น้อยกว่า ทั้งยังมีข้อจำกัดด้านแหล่งทรัพยากรทางการเงินที่จะมาช่วยบรรเทาผลกระทบจากราคาอาหารแพงขึ้น”

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุว่า รายได้ในภาคเกษตรของไทย ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ปรับตัวขึ้น 14% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวขึ้น โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกน้ำตาลและข้าวรายใหญ่สุดของโลก

วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทดำเนินธุรกิจด้านการเกษตร มีฐานดำเนินงานอยู่ในสิงคโปร์ แจงกำไรสุทธิช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น2เท่าเป็น 450 ล้านดอลลาร์ อานิสงส์จากราคาน้ำมันปาล์มและน้ำตาลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า การระบาดของโรคโควิด-19 และจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางประเทศของเอเชียจะส่งผลกระทบต่อปริมาณสินค้าเกษตรและความต้องการด้านอาหาร และจะสร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มด้านราคาอาหารในอนาคต

"ราคาอาหารอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะปัญหาในระบบห่วงโซ่อุปทานและการล็อกดาวน์เป็นระยะๆในประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร ตัวอย่างเช่น มาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกปาล์มรายใหญ่ ประกาศล็อกดาวน์ประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ส่งผลให้โรงงานผลิตทุกแห่งต้องปิดตัวชั่วคราว เนื่องจากยอดผู้ป่วยโควิด-19เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

“จุรินทร์” ถกทูตอียู หนุนเจรจา FTA เป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียน

“จุรินทร์” พบทูตอียูเห็นร่วมผลักดันการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู หวังไทยเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน ต่อจากเวียดนาม และสิงคโปร์ เตรียมนำเรื่อง CL ยา หารือในเวที WTO ปลายปีนี้ ช่วยโลกเข้าถึงวัคซีนโควิดง่ายขึ้น

วันที่ 14 มิถุนายน 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการร่วมหารือกับนายปีร์กะ ตาปีโอละ (H.E.Mr. Pirkka Tapiola) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ณ กระทรวงพาณิชย์ ว่าได้มีการพูดคุยหารือใน 4 ประเด็นสำคัญ

คือ ประเด็นแรก ไทยและอียูมีความเห็นร่วมกันว่าองค์การการค้าโลก หรือ WTO ควรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าในระบบพหุภาคี ในเรื่องการปฏิรูปองค์การการค้าโลก โดยการเร่งรัดให้มีสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ เพื่อมาพิจารณาข้อพิพาทในช่วงที่มีการอุทธรณ์ให้ได้โดยเร็ว รวมทั้งการเร่งสรุปการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมง และเห็นร่วมกันในการส่งเสริมการค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประเด็นที่ 2 ไทยและอียูเห็นตรงกันในเรื่องการจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับอียู โดยในเรื่องนี้ถือเป็นนโยบายของกระทรวงและรัฐบาล และได้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว และประเด็นสำคัญอยู่ในขั้นตอนการจัดทำกรอบการเจรจา และเห็นตรงกันว่าในระดับเจ้าหน้าที่ของไทยและอียูจะเร่งหารือ เพื่อจัดทำเอกสารความคาดหวังร่วมกัน เพื่อจะใช้เป็นร่างสำหรับนำไปสู่การขอความเห็นชอบจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เพื่อเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไป โดยอียูคาดหวังว่าไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน ที่จะทำเอฟทีเอกับอียู ต่อจากเวียดนาม และสิงคโปร์

ทั้งนี้ หากมีการจัดทำเอฟทีเอและมีผลบังคับใช้ ไทยจะได้รับประโยชน์มากในเรื่องของการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องของการค้า เพราะสหภาพยุโรปถือว่ามีการค้ากับไทยในปริมาณที่สูงมาก คิดเป็น 8% ของการค้าของไทยกับโลก

ประเด็นที่ 3 ไทยและอียูเห็นตรงกันว่าการทำ CL วัคซีน จะช่วยให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ ซึ่งจะนำเรื่องดังกล่าว ไปหารือในการประชุมรัฐมนตรี WTO ในเดือน พ.ย.นี้

และประเด็นที่ 4 ได้เชิญภาคเอกชนในสภาพยุโรปเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในไทย ช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 โดยจะมีการจับคู่เจรจาธุรกิจ (Online Business Matching : OBM) ระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ของสภาพยุโรป เช่น สเปน เดนมาร์ก อิตาลี และสาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น โดยภายในงานจะมีการจัดแสดงสินค้าหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มอาหาร ผลไม้ เครื่องดื่ม เครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

ทั้งนี้ อียู (27 ประเทศ) เป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 ของไทยรองจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ ในปี 2563 มูลค่าการค้า 33,133.90 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,032.7 พันล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.56 ของการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปอียู 17,637.14 ล้านเหรียญสหรัฐ (545.9 พันล้านบาท) และนำเข้าจากอียู 15,496.77 ล้านเหรียญสหรัฐ (486.8 พันล้านบาท) สำหรับ 4 เดือนแรกของปี 2564 (ม.ค.-เม.ย.) การค้าไทย-อียูมีมูลค่า 12,879.86 ล้านเหรียญสหรัฐ (388.3 พันล้านบาท) ขยายตัว 10.95% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

โดยไทยส่งออกไปอียูมูลค่า 77,291.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (218.4 พันล้านบาท) ขยายตัว 17.98% และนำเข้าจากอียูมูลค่า 5,588.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (169.8 พันล้านบาท) ขยายตัว 2.94% สินค้าส่งออกหลักของไทยไปอียู คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา ไก่แปรรูป และข้าว และสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากอียู คือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ก.พลังงานส่งสัญญาณไร้โรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ตอบโจทย์แผนพลังงานแห่งชาติลดโลกรวน

ก.พลังงานเตรียมเสนอร่างแผนพลังงานแห่งชาติตอบโจทย์ลดภาวะโลกรวนของไทย ภาพใหญ่ลุยมุ่งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงาน คาดชง กพช.เคาะเร็วๆ นี้หวังประกาศใช้ ก.ย. แย้มไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เพราะไม่สอดรับเทรนด์โลก พลังงานหมุนเวียนสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ดันไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้กระทรวงพลังงานจะสรุปโมเดลแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกของไทยร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาประกอบจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่คาดว่าจะเสนอกรอบเบื้องต้นให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีพิจารณาปลายมิ.ย.นี้ หรือต้นเดือน ก.ค.นี้ จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน คาดว่าจะประกาศใช้แผนพลังงานแห่งชาติได้ในช่วงเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งจากแนวดังกล่าวจะส่งผลให้ไทยต้องมุ่งสู่พลังงานสะอาดมากขึ้นสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (RE) จะเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้าใหม่ต้องไม่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินเนื่องจากไม่ตอบโจทย์การลดโลกร้อน

“พลังงานเป็นสาขาที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากสุด 30% เราก็ต้องหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ว่าจะมีเป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน (Car neutrality) ปีไหน อย่างยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ปี 2050 แต่จีนปี 2060 เมื่อเทรนด์เป็นอย่างนี้ในภาคไฟฟ้าเองก็ชัดเจนว่าโรงไฟฟ้าต้องไม่เป็นถ่านหินโรงสุดท้ายที่เรายอมก็จะเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ทดแทนแม่เมาะ 650 เมกะวัตต์เท่านั้น เช่นเดียวกับการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศที่การรับซื้อไฟฟ้าใหม่จะไม่รับซื้อไฟฟ้าจากจงถ่านหินเช่นกัน ขณะเดียวกันจะต้องมาดูว่าจะปรับโรงไฟฟ้าเก่าๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะมีการบริหารจัดการอย่างไร แต่ภาพรวมโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ในแผนพัฒนากำลังการผลิตของประเทศไทย (พีดีพี) เดิมที่มีอยู่แล้ว 18% ก็จะลดสัดส่วนลงไปเรื่อยๆ” นายกุลิศกล่าว

นอกจากนี้ แผนพลังงานฯ สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน (RE) จะต้องเพิ่มขึ้นจากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 30% โดยจะเป็นสัดส่วนเท่าใดก็คงจะต้องรอสรุป และ RE ส่วนหนึ่งจะเป็นการส่งเสริมการลงทุน การส่งออก เพราะปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีเงื่อนไขทางการค้าที่มีการตรวจสอบย้อนหลังว่าใช้พลังงานสะอาดหรือไม่ ทำให้การลงทุนขณะนี้ต้องการพลังงานสะอาด 100% มากขึ้น และรัฐก็ต้องส่งเสริมแพลตฟอร์มนี้ให้เกิดการตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุน RE เพิ่มขึ้น เช่น ชีวมวล ชีวภาพ โซลาร์ฟาร์ม ขยะ รวมถึงการซื้อพลังน้ำจาก สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม จะเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือไม่ ก็คงจะต้องมีการหารือถึงความเหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ แผนพลังงานชาติก็จะสอดคล้องกับแผนลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศ แผน BCG แผนพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆ ที่ต้องปรับปรุงให้เหมาะและก้าวสู่การเป็น ENERGY TRANSITION ทั้งท่อก๊าซ ท่อน้ำมัน สายส่ง โรงกลั่นฯ และอื่นๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ จะต้องบริหารจัดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากต่างประเทศ ที่จะมีการนำเข้าหลังเปิดเสรีก๊าซฯ ระยะที่ 2 มากขึ้น น้ำมัน จะต้องดูเรื่องของไฮโดรเจน ที่คนเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น ฯลฯ

“เมื่อเราได้แผนพลังงานแห่งชาติก็จะนำไปสู่การวางแผนพลังงานที่เป็นแผนปฏิบัติการลงรายละเอียดให้เป็นไปตามเป้าหลัก ได้แก่ (PDP) ฉบับใหม่ หรือ PDP 2022 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) ที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ” นายกุลิศกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ชี้ไทยไม่ร่วม CPTPP เสี่ยงกระทบส่งออก ระวังญี่ปุ่นจ่อย้ายฐานไปเวียดนาม

หนุนไทยร่วม CPTPP ติดเขี้ยวแข่งขันการค้า แนะยืดบังคับใช้ เตรียมตัวให้พร้อม จับตาไม่เกิน 2 ปี “ไบเดน” โดดร่วมวงใช้เป็นเครื่องมือสกัดจีน

KKP Research  โดยบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร ได้จัดทำรายงาน “ผลกระทบจากการ (ไม่) เข้าร่วมข้อตกลง CPTPP” ว่า ข้อตกลงทางการค้าที่ชื่อว่า Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership หรือ CPTPP ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ทั้งประเด็นการเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนและผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป เช่น ผลกระทบต่อเกษตรกรที่จะถูกผูกขาดเมล็ดพันธุ์จากต่างชาติจากการเข้าร่วม UPOV1991 หรือประเด็นด้านราคายาที่อาจเพิ่มสูงขึ้นจากการเข้าร่วม TRIPS Plus

ทั้งนี้ข้อตกลงทางการค้าทุกฉบับจะมีคนได้ประโยชน์และคนเสียประโยชน์ การต่อต้านจากผู้เสียประโยชน์จึงเป็นเรื่องปกติ หัวใจสำคัญ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการถกเถียง เจรจา และตัดสินใจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรการเตรียมความพร้อม ชดเชย และเยียวยาให้กับกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม

สำหรับ CPTPP เป็นมากกว่าข้อตกลงทางการค้า แต่จะเป็นปัจจัยกำหนดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะในกรณีที่สหรัฐฯ กลับเข้าร่วมข้อตกลงการค้านี้อีกครั้ง  ขณะที่ญี่ปุ่น แคนาดา หรือสิงคโปร์ ตัดสินใจเข้าร่วมข้อตกลงนี้ จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก

รวมไปถึงการปฏิรูปและบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่สากลโดยเฉพาะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน การสนับสนุนการแข่งขัน และการต่อต้านการคอร์รัปชั่น หากไทยจะเจรจาข้อตกลงการค้าอื่น ๆ ก็จะต้องยอมรับกฎเกณฑ์ลักษณะที่คล้ายคลึงกับ CPTPP อยู่ดี การปฏิเสธข้อตกลงทางการค้าใหม่ ๆ หรือการทำได้อย่างล่าช้าจะทำให้ไทยเสียความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

อย่างไรก็ตามตั้งแต่หลังปี 2007 มาไทยมีการทำข้อตกลงการค้า (FTA) เพิ่มเพียง 1 ฉบับเท่านั้น ในขณะที่เวียดนามมีการทำเพิ่มไปแล้วถึง 6 ฉบับ ดังนั้นหากประเทศไทยยังหวังจะพึ่งพาการส่งออก แทบจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเจรจาเข้าร่วมข้อตกลงการค้าใหม่ ๆ ที่มีกฎเกณฑ์ที่ถูกคัดค้านในปัจจุบัน

ดังนั้นโอกาสที่เกิดขึ้นเกิดจากหลักการของกฎระเบียบใหม่ ๆ ยังจะทำให้ไทยได้รับการยอมรับจากประเทศพัฒนาแล้วและจะเป็นกลไกที่เพิ่มประสิทธิภาพของตลาดให้ดีขึ้น เช่น ข้อตกลง UPOV1991 ที่ให้ความคุ้มครองในการพัฒนาพันธุ์พืช ข้อตกลง TRIPS Plus ที่ให้ความคุ้มครองยา ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดสินค้าใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเป็นที่มาของการเติบโตระยะยาว

การเข้าร่วมข้อตกลงจะนำมาซึ่งความเสี่ยงหลายอย่าง เพราะคนไทยอาจไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติได้ ซึ่งหลายส่วนอาจเป็นผลมาจากนโยบายที่ผิดพลาดในอดีตด้วย กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ไม่ควรถูกทอดทิ้ง ทางออกระยะสั้นคือการเจรจายืดระยะเวลาการบังคับใช้กฎเกณฑ์ใน CPTPP เพื่อชะลอผลกระทบและเตรียมความพร้อม

การไม่เข้าร่วม CPTPP อาจจะก่อให้เกิดต้นทุนมหาศาลคือ ผลกระทบต่อการแข่งขันด้านการส่งออก โดยเฉพาะหากสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ซื้อคนสำคัญของโลกกลับเข้าร่วมข้อตกลงนี้อีกครั้ง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ในยุคของประธานาธิบดี โจ ไบเดน เพราะ ข้อตกลง CPTPP จะถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือกีดกันการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคในสงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ ฯ  และเมื่อถึงวันนั้นหากไทยต้องการเข้าร่วมข้อตกลงอาจไม่มีโอกาสในการกลับไปเจรจา

ขณะที่กฎเกณฑ์หลายอย่างจะเข้มงวดกว่าเดิมมากตามแนวนโยบายของสหรัฐฯ KKP Research ประเมินว่าในอีกประมาณ 2 ปีหลังจากนี้เป็นเวลาที่ โจ ไบเดน อาจตัดสินใจกลับเข้าร่วม CPTPP อีกครั้ง

ความเสี่ยงอีกประการที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ การย้ายฐานการผลิตของประเทศที่อยู่ในข้อตกลง CPTPP อย่างญี่ปุ่นที่อาจมีการย้ายออกจากไทยและไปตั้งฐานการผลิตที่เวียดนาม ซึ่งมีข้อได้เปรียบทั้งค่าแรงที่ถูกกว่า เศรษฐกิจที่เติบโตได้ดีกว่า และสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการเข้าถึงตลาดใหญ่ๆจากการเข้าร่วมข้อตกลงทางการค้า ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงสำคัญ และสร้างผลกระทบมหาศาล เพราะญี่ปุ่นมีการลงทุนทางตรงในไทยกว่า 33% ของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศทั้งหมด และ 40% ของจำนวนการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดเป็นภาคการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีความสำคัญมากในฐานะสินค้าส่งออกของไทยไม่แพ้ภาคเกษตร

KKP Research  ประเมินว่ากระแสต่อต้าน CPTPP ส่วนหนึ่งสะท้อนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภาครัฐที่อยู่ในระดับต่ำและการสื่อสารนโยบายที่ไม่เพียงพอ ภาครัฐจึงต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบ สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีนโยบายลดผลกระทบ เตรียมความพร้อม และชดเชยเยียวยากับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม และที่สำคัญที่สุดคือการพยายามเพิ่มความสามารถของภาคเศรษฐกิจไทยเองให้แข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติในระยะยาว 

ปัจจุบันการเจรจา CPTPP ของไทยยังอยู่ในเพียงขั้นการขอเข้าร่วมเจรจาเท่านั้น ไม่ควรรีบปฏิเสธข้อตกลง CPTPP ในวันนี้แต่ควรศึกษาประโยชน์และผลเสียให้ครบถ้วนรอบด้าน ศึกษาหาทางเลือกในการปรับตัวและเตรียมความพร้อมที่จะทำให้เราได้รับผลกระทบน้อยที่สุด  หรือเปลี่ยนข้อจำกัดเหล่านั้นให้กลายเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาวเช่นเดียวกับที่หลายประเทศได้ทำสำเร็จมาแล้ว

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

‘อุต’เยียวยาผู้ประกอบการ ยกเว้นค่าตรวจโรงงงานอีก1ปี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผย ถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้สามารถฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการเดิมจากปี 2563 ที่ขยายเวลาต่อเนื่อง ล่าสุด ได้เห็นชอบให้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจโรงงานเพื่อการขออนุญาต มอก. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า มาตรการยกเว้นค่าตรวจโรงงานเพื่อการขออนุญาต มอก. มีอัตราค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายให้ สมอ. 10,000 บาทต่อวัน ซึ่ง สมอ. มีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตกว่า 10,000 ราย ทั้งผู้ทำและผู้นำเข้า คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย.2564 จนถึงวันที่ 30 เม.ย.2565

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเยียวยาอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ครม. ได้แก่ มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มอก. และใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบรับรองระบบงาน ISO สำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง หาก ครม. มีมติเห็นชอบแล้ว สมอ.จะดำเนินการต่อทันที ซึ่งจะช่วยเหลือผู้ประกอบการได้กว่า 110 ล้านบาท

 “แม้ว่าในขณะนี้ สมอ. จะปฏิบัติงานภายในที่พัก หรือ Work from Home กว่า 90% เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ขอให้เชื่อมั่นว่าจะไม่กระทบต่อการให้บริการผู้ประกอบการและประชาชน โดยท่านยังสามารถติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ภายใน สมอ. ได้ทุกกระบวนการและกิจกรรม ผ่านทางระบบออนไลน์” นายวันชัยกล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 14 มิภุนายน 2564

ปิดตำนาน 74 ปี “กุมภวาปี” โรงงานน้ำตาลแห่งแรกในภาคอีสาน

การประกาศปิดกิจการของ “โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี” อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โรงงานเก่าแก่แห่งแรกในภาคอีสาน ซึ่งถือเป็นโรงงานรุ่นบุกเบิกของธุรกิจอ้อยน้ำตาลที่มีอายุกว่า 70 ปี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ได้สร้างความสั่นสะเทือนให้คนในวงการ และนอกวงการอ้อยน้ำตาลไม่ใช่น้อย

ด้วยความที่โรงงานดังกล่าวเป็นของกลุ่มทุนยักษ์ข้ามชาติระดับโลก “มิตซุย” จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้หลายคนต่างวิพากษ์วิเคราะห์กันไปต่าง ๆ นานา แม้ทางบริษัทได้แจ้งว่า ผลประกอบการขาดทุนสะสมต่อเนื่องมาหลายปี แต่หลายคนยังค้างคาใจในการตัดสินใจปิดกิจการของทุนยักษ์ญี่ปุ่น

เปิดปูม 74 ปี โรงงานกุมภวาปี

แรกเริ่มกำเนิดน้ำตาลกุมภวาปี มีข้อมูลจากหอการค้าจังหวัดอุดรธานี ระบุไว้ในโอกาส “ฉลองครบรอบ 50 ปี น้ำตาลกุมภวาปี” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 อย่างยิ่งใหญ่ โดยครั้งนั้น นายธนัชชัย สามเสน ผู้จัดการอาวุโสสายงานบริหารและการเงิน บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด

ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมา พอสรุปได้ว่า โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี อาจถือว่าเป็นตำนานตกทอดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อุดมการณ์ในการพัฒนาชาติ ในปี 2480 รัฐบาลได้ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลทรายขาวแห่งแรกที่ จ.ลำปาง และแห่งที่ 2 ที่ จ.อุตรดิตถ์ ในปี 2485 รวมทั้งจัดตั้ง “บริษัท ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด”

ขึ้นมารับโอนโรงงานทั้ง 2 แห่ง ต่อมาบริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย ได้สร้างโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นอีก 11 โรง รวมทั้ง “โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี” ขึ้นที่ อ.ภุมภวาปี จ.อุดรธานี ปี 2490 บริษัท

ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด ได้โอนโรงงานน้ำตาลทั้งหมดให้กับ “องค์การน้ำตาลไทย” ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ต่อมาในปี 2495 ราคาน้ำตาลตกต่ำ สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวไร่อ้อยและโรงงาน ในปี 2496 รัฐบาลจึงจัดตั้ง“บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย จำกัด” ขึ้น เพื่อนำเข้าและส่งออกน้ำตาลแต่ผู้เดียว

ขณะที่องค์การน้ำตาลไทย มีหน้าที่ผลิตร่วมกับเอกชน ต่อมาองค์การน้ำตาลไทยได้ขายกิจการโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ให้กับบริษัท บุญเกื้ออุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งบริหารกิจการด้วยความยากลำบากในยุคที่โรงงานน้ำตาลเกิดขึ้นมากถึง 48 โรงงาน น้ำตาลล้นตลาด ราคาน้ำตาลต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

วิกฤตการณ์ดังกล่าวในปี 2506 บริษัท บุญเกื้ออุตสาหกรรม จำกัด ได้ขายกิจการให้บริษัท ชิบาอุระเซโต ซึ่งประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลในประเทศญี่ปุ่น โดยมีการตั้งบริษัท ชิบาโต(ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นมาบริหาร

โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2506 โดยความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นกรณีพิเศษ

ต่อมา บริษัท ชิบาอุระเซโต จำกัด ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารในบริษัท โดยมีการเชิญกลุ่มบริษัท มิตซุย เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รวมทั้งมีนักธุรกิจชาวไทย กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท บุญเกื้อฯ ชาวไร่อ้อยและพนักงานของบริษัท

เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย โดยถือเสมือนว่าชาวกุมภวาปีทุกคนมีส่วนของความเป็นเจ้าของโรงงานนี้ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2517

บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด มีชื่อย่อว่า KMP ก่อตั้งวันที่ 3 กันยายน 2506 โดย บริษัท ชิบาอุระ ไทย ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท มิตซุย แอนด์ คัมปนี 51% และบริษัท มิตซุย ชูการ์ จำกัด 44% ต่อมาปี 2529 เริ่มผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

และปี 2552 ขยายเพิ่มไลน์การผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ มีพื้นที่ 820,000 ตารางเมตร รองรับการผลิต ต้นอ้อย 14,000 ตัน/วัน, น้ำตาลดิบ 1,500 ตัน/วัน

และน้ำตาลทรายขาว 750 ตัน/วัน ปริมาณการจัดเก็บ น้ำตาลทรายดิบ 75,000 ตัน (3 โกดัง), น้ำตาลทรายขาว 75,000 ตัน(4 โกดัง) และกากน้ำตาลโมลาส 60,000 ตัน (7 ถัง)

และล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ที่ประชุมได้มีมติหยุดกิจการ บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด โดยจะมีผลเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 และจะมีการโยกสัญญาซื้อขายอ้อยกับชาวไร่ ไปยังโรงงานน้ำตาลเกษตรผล จ.อุดรธานี ที่อยู่ในเครือเดียวกัน

6 โรงงานอีสานล่างแย่งอ้อยหนัก

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้พยายามเจาะลึกถึงปัญหาแท้จริงจากคนในแวดวงอ้อยน้ำตาลในจังหวัดอุดรธานี ได้เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โรงงานแห่งนี้ขาดทุนสะสมต่อเนื่องมาประมาณ 7-8 ปีแล้ว

ขณะที่สภาพโรงงานและเครื่องจักรเก่ามาก เพราะเป็นโรงงานน้ำตาลแห่งแรกในภาคอีสาน ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงเครื่องจักรมาตลอด แต่เครื่องจักรเก่าก็ทำอะไรไม่ได้มาก

และไม่สามารถขยายโรงงานได้ เพราะปัจจุบันพื้นที่รอบโรงงานล้วนเป็นชุมชนหนาแน่น ความเจริญ ถนนหนทาง สาธารณูปโภค เกิดความแออัด ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันห่างออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร กลุ่มมิตซุยได้ขยายกิจการ โดยเข้าซื้อกิจการของโรงงานน้ำตาลเกษตรผลอยู่แล้ว ซึ่งมีการพัฒนา ขยายกำลังการผลิตสูงสุด ได้เทียบเท่า 2 โรงงานรวมกันอยู่แล้ว

หากวิเคราะห์การปิดโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี คงไม่มีผลต่อซัพพลายน้ำตาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะที่ผ่านมา กลุ่มมิตซุยได้ทุ่มขยายโรงงานน้ำตาลเกษตรผล รองรับตลาดที่ใหญ่ขึ้น รวมทั้งสามารถรองรับปริมาณอ้อยของชาวไร่น้ำตาลกุมภวาปีได้อยู่แล้ว

สำหรับข้อมูลของบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด หรือ KSP จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2489 โดยกลุ่มน้ำตาลบ้านโป่ง ต่อมาในปี 2537 ช่วงที่อุตสาหกรรมน้ำตาลมีปัญหา

ได้มีการขายกิจการให้กลุ่มมิตซุย ล่าสุดมีทุนจดทะเบียน 1,507 ล้านบาท สัดส่วนผู้ถือหุ้น ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า บริษัท สาทรแคปปิตอล จำกัด ถือหุ้น 63.65%, บริษัท มิตซุย ชูการ์ จำกัด ถือหุ้น 28.38%,

บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ถือหุ้น 3.97%, บมจ.กรุงเทพ ถือหุ้น 0.99%, บริษัท น้ำตาลนครเพชร จำกัด ถือหุ้น 0.99%, บริษัท มิตรสยามอินเตอร์ จำกัด ถือหุ้น 0.99% และบริษัท เอสบีซีเอส จำกัด ถือหุ้น 0.99%

โรงงานน้ำตาลเกษตรผล มีขนาดพื้นที่ 1,314,000 ตารางเมตร รองรับการผลิต ต้นอ้อย 15,000 ตัน/วัน, น้ำตาลดิบ 1,600 ตัน/วัน, น้ำตาลทรายขาว 500 ตัน/วัน ปริมาณจัดเก็บ น้ำตาลทรายดิบ 40,000 ตัน (2 โกดัง), น้ำตาลทรายขาว 70,000 ตัน (4 โกดัง) และกากน้ำตาลโมลาส 43,000 ตัน (5 ถัง)

ปัจจุบันมีกำลังการผลิต จำนวนอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบน้ำอ้อย รวม 2 โรงรวมกัน อยู่ที่ 3 ล้านตันต่อปี ส่งขายมากกว่า 90 บริษัท ใน 50 ประเทศ ฐานลูกค้ามีทั้งบริษัทท้องถิ่น

และบริษัทข้ามชาติ ประมาณ 70% ของสินค้าของบริษัท เป็นสินค้าส่งออก เริ่มจากน้ำตาลดิบ ตามด้วยกากน้ำตาล น้ำตาลดิบ เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดระหว่างประเทศ

ซึ่งมีการซื้อขายส่วนใหญ่ในนิวยอร์ก และลอนดอน ราคาน้ำตาลจะปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามจำนวนสินค้า และความต้องการของเศรษฐกิจและการเมืองของโลก ส่วนการขายในประเทศ มีเครือข่ายผู้ค้าส่งและค้าปลีกมากกว่า 100 ราย ภายใต้แบรนด์ ช้อน

อย่างไรก็ตาม อีกปัจจัยที่หลายคนมองว่า ลึก ๆ แล้วการปิดโรงงานกุมภวาปีน่าจะมาจาก “ผลผลิตอ้อย” ที่ลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่โรงงานน้ำตาลบริเวณพื้นที่อีสานตอนล่างเพิ่มขึ้นถึง 6 โรงงาน

หลังการเปิดเสรีใบอนุญาตโรงงานน้ำตาล ทำให้ที่ผ่านมามีการแย่งซื้ออ้อยกันพอสมควรทีเดียว เฉพาะจังหวัดอุดรธานี มีถึง 4 โรงงาน ได้แก่ 1.โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี 2.โรงงานน้ำตาลเกษตรผล

3.โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม 4.โรงงานน้ำตาลไทยกาญจนบุรี จ.อุดรธานี ส่วนจังหวัดใกล้เคียงที่ซื้ออ้อยในแหล่งเดียวกัน ได้แก่ โรงงานรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จ.ชัยภูมิ,โรงงานน้ำตาลเอราวัณ จ.หนองบัวลำภู และโรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จ.สกลนคร

ผลิต “เซลลูโลส” จากกากอ้อย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากเอกสารแนะนำบริษัท เมื่อเดือนเมษายน 2562 กลุ่มมิตซุยมีโรงงานน้ำตาล บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด หรือ KMP, บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด หรือ KSP

และบริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด หรือ KBS ล่าสุดที่เพิ่งเปิด คือ บริษัท มิตซุย ชูการ์ จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี และโรงงานน้ำตาลเกษตรผล ได้ร่วมกับบริษัท โทเร อินดัสตรีส์ อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น

เพื่อจดทะเบียนตั้งบริษัท เซลลูโลซิก ไบโอแมส เทคโนโลยี จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลเซลลูโลสจากกากอ้อย ที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนจาก New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) ประเทศญี่ปุ่น 900 ล้านบาท และกลุ่มมิตซุย และบริษัทโทเรฯ อีกจำนวน 800 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท

นอกจากนั้น บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด และบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ได้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายใน อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โดยบริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด

ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ในปริมาณ 6 เมกะวัตต์ และบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ในปริมาณ 5 เมกะวัตต์

KSP หรือ น้ำตาลเกษตรผล มีการเปลี่ยนโฉมอุปกรณ์การผลิตใหม่ เพื่อมุ่งจับตลาดกลุ่มประเทศเอเชียที่มีความต้องการน้ำตาลคุณภาพสูง คาดการณ์กำลังการบริโภคน้ำตาลตลาดเอเชียเพิ่มสูงขึ้น 2.8%

โดย CAGR เปรียบเทียบกับตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.0% ซึ่งโครงการเปลี่ยนโฉมอุปกรณ์การผลิตใหม่ วางแผนที่จะเสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคม ปี 2562 หลังเสร็จสิ้น KSP จะมีกำลังการผลิตน้ำตาลคุณภาพสูงอยู่ที่ 300,000 ตันต่อปี

การรับรองกำลังการหีบอ้อยจากเดิม 12,000 ตัน/ปี เป็น 30,000 ตัน/ปี, การผลิตน้ำตาล (น้ำตาลบริสุทธิ์) จากเดิม 160,000 ตัน/ปี (น้ำตาลบริสุทธิ์ 60,000 ตัน/ปี) เป็น 326,000 ตัน/ปี (น้ำตาลบริสุทธิ์ 313,000 ตัน/ปี)

เปิดฐานลูกค้ายักษ์มิตซุย

ปี 2559 KSP จัดตั้งบริษัทส่งออกขึ้นใหม่ ในนาม World Sugar Export หรือ WSE ร่วมกันกับกลุ่ม TCC และ KBS เพื่อยกระดับฟังก์ชั่นการขนส่ง บริษัทส่งออกเดิมที่ KSP ใช้ เป็นบริษัทร่วมทุนและมีผู้ถือหุ้นหลายฝ่าย ควบคุมการดำเนินงานได้ยากลำบาก

KMP/KSP เริ่มเบนเข็มจากการโฟกัส น้ำตาลดิบ เป็นหลัก มีลูกค้าสำคัญ คือ ตลาดญี่ปุ่น กลุ่ม trader 70% และ EU 25% และสัดส่วนสินค้า น้ำตาลดิบ 80% และน้ำตาลทรายขาว/บริสุทธิ์ 20%

หันมาทำธุรกิจกับน้ำตาลทรายขาว/บริสุทธิ์ โฟกัสไปที่คุณภาพเป็นหลัก ในสัดส่วน น้ำตาลทรายขาว/บริสุทธิ์ 40% น้ำตาลดิบ 60% โดยมีลูกค้าสำคัญ คือ ตลาดเอเชีย กลุ่ม trader 55% และ EU 45%

มิตซุย ชูการ์ และมิตซุย แอนด์ คัมปนี ถือหุ้นใน SIS’88 และ Asian Blending ที่ประเทศสิงคโปร์ 100% และกำลังเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจน้ำตาล โดยวางกลยุทธ์ธุรกิจในเอเชีย ร่วมกับ KMP และ KSP

SIS’88 เป็นธุรกิจ บรรจุและจัดจำหน่ายน้ำตาลบริสุทธิ์ คุณภาพสูงจากต่างประเทศ เป็นเจ้าของฟังก์ชั่นการจัดเก็บ ขนส่งเฉพาะ และบริการคุณภาพสูง หรือรถบรรทุกอุตสาหกรรม และสินค้าสำหรับตลาดค้าปลีก มีตราสินค้าที่แข็งแกร่ง มีฐานลูกค้าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก

Asian Blending หรือ AB ผลิต เตรียม ผสมน้ำตาลจาก SIS กับโกโก้ หรือ นม, ผลิตสินค้า 3 in 1 โดยผสมกาแฟ/ชา เข้ากับนม และน้ำตาล มีฐานลูกค้าเป็นธุรกิจ Preparation/Premix ที่ญี่ปุ่น

“จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กลุ่มมิตซุย หลังพบปัญหาหลายอย่างที่ทำให้ขาดทุน จึงเตรียมพร้อมโดยการขยับขยายทั้งโรงงาน และกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลเกษตรผลเพื่อให้ครอบคลุมถึงกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีด้วย เพื่อไม่ส่งผลกระทบกับชาวไร่ และลูกค้า ก่อนจะปิดกิจการ”

 จาก https://www.prachachat.net วันที่ 14 มิถุนายน 2564

ค่าเงินบาทวันนี้ (14 มิ.ย.) อ่อนค่าที่ 31.12 บาท บทวิเคราะห์ล่าสุด

ค่าเงินบาทวันนี้ (14 มิ.ย.) เปิดตลาดอ่อนค่าลงที่ 31.12 บาท กรอบแนวรับที่ 31.05 บาท แนวต้านที่ 31.15 บาท

นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้ (14 มิ.ย.) เปิดตลาดอ่อนค่าลงที่ 31.12 บาทต่อดอลลาร์ โดยกรอบการเคลื่อนวันนี้คาดการณ์แนวรับที่ 31.05 บาท แนวต้านที่ 31.15 บาท

โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนตลาด ได้แก่ เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนมิถุนายน

กลุ่มประเทศ G7 บรรลุข้อตกลงในการเพิ่มภาษีและมาตรการที่มีต่อจีน

ด้านปริมาณวัคซีนที่ไม่เพียงพอทำให้กระบวนการฉีดวัคซีนในไทยล่าช้าออกไป

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน ในวันนี้, การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 17 มิ.ย. และการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) วันที่ 18 มิ.ย.

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 14 มิถุนายน 2564

พาณิชย์เผยสินค้าไทย 207 รายการได้ลดภาษี0%ในตลาดญี่ปุ่นหลังอาร์เซ็ป

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศชำแหละผลประโยชน์ไทยในอาร์เซ็ป เผย ตลาดญี่ปุ่น พบมีสินค้าไทย 207 รายการที่จะมีการลดภาษีเหลือ 0% หลังความตกลงบังคับใช้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ชี้ไทยได้มากกว่าเอฟทีเอเดิมที่มีอยู่ ทั้ง JTEPA และ AJCEP

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ทำการวิเคราะห์ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรืออาร์เซ็ป (RCEP) เจาะเป็นรายประเทศ ตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้ชำแหละผลประโยชน์ของไทย เพื่อแจ้งให้ผู้ประกอบการได้รับรู้และเตรียมความพร้อมในการใช้ประโยชน์ล่วงหน้า โดยล่าสุดได้ทำการศึกษาการลดภาษีของญี่ปุ่นภายใต้อาร์เซ็ป หลังจากที่รัฐสภาญี่ปุ่นได้อนุมัติให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมความตกลงเมื่อเดือนเม.ย.2564 ที่ผ่านมา และมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่น จะยื่นให้สัตยาบันได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งพบว่า มีสินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการที่ญี่ปุ่นลดภาษีเพิ่มเติมจากความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ (FTA) ที่ไทยมีอยู่กับญี่ปุ่นเดิม ทั้งในกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จำนวนมากถึง 207 รายการ ที่จะมีการลดภาษีเหลือ 0% ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้

สำหรับสินค้า 207 รายการ ที่จะมีการลดภาษี ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ได้แก่ สินค้าประมง ผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด แป้งจากมันฝรั่ง แป้งสาคู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวัน ผักปรุงแต่ง ผงโกโก้ กาแฟคั่ว ขนมปังกรอบ น้ำส้ม น้ำเกรปฟรุต น้ำผลไม้ผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ญี่ปุ่นลดภาษีเพิ่มเติมให้กับสินค้าส่งออกจากไทย โดยในอาร์เซ็ป ญี่ปุ่นลดภาษีคิดเป็นสัดส่วน 90.4% ของรายการสินค้าทั้งหมด แต่ใน JTEPA ลดภาษี 88.1% และใน AJCEP ลดภาษี 87.1%

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ภายใต้ความตกลง AJCEP และ JTEPA ญี่ปุ่นเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกจากไทยในอัตรา 0% อยู่แล้ว ทำให้ในการเจรจาอาร์เซ็ป  ญี่ปุ่นจึงเปิดตลาดให้ไทยเท่ากับที่เคยเปิดให้ในความตกลงทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งผู้ส่งออกไทย สามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเอ กรอบใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเกณฑ์สะสมถิ่นกำเนิดที่กำหนดในกรอบเอฟทีเอ นั้น ๆ โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกจากไทยแล้วในเอฟทีเอทั้ง 3 ฉบับ เช่น เครื่องโทรศัพท์ ยานยนต์ไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ตู้เย็น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 14 มิถุนายน 2564

ไทยจ่อรับอานิสงส์อาร์เซ็ป จากการที่ญี่ปุ่นลดภาษีเพิ่มเติม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้วิเคราะห์ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) เจาะเป็นรายประเทศ เพื่อแจ้งให้ผู้ประกอบการได้รับรู้และเตรียมความพร้อมใช้ประโยชน์ล่วงหน้า โดยล่าสุดได้ศึกษาการลดภาษีของญี่ปุ่น หลังจากที่รัฐสภาญี่ปุ่นอนุมัติเข้าร่วมความตกลงในเดือน เม.ย.64 และมีความเป็นไปได้ที่จะยื่นให้สัตยาบันได้ในเร็วๆนี้ พบว่ามีสินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการที่ญี่ปุ่นลดภาษีเพิ่มเติมให้ไทย โดยมี 207 รายการที่ญี่ปุ่นจะลดเหลือ 0% ทันทีที่อาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้

ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ได้แก่ ประมง ผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด แป้งจากมันฝรั่ง แป้งสาคู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวัน ผักปรุงแต่ง ผงโกโก้ กาแฟคั่ว ขนมปังกรอบ น้ำส้ม น้ำเกรปฟรุต น้ำผลไม้ผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยในอาร์เซ็ป ญี่ปุ่นลดภาษีนำเข้าในสัดส่วน 90.4% ของสินค้าทั้งหมด แต่ในเจเทปา ลดภาษี 88.1% และอาเซียน-ญี่ปุ่น ลดภาษี 87.1%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายใต้อาร์เซ็ป นอกจากญี่ปุ่นที่จะลดภาษีให้กับสินค้าแล้ว จีนยังลดภาษีให้ไทยเพิ่มเติมอีก 33 รายการ เกาหลีใต้ ลดภาษีเพิ่มเติม 413 รายการ โดยสินค้าที่จีนเปิดเพิ่มเติม เช่น พริกไทย สับปะรดแปรรูป น้ำมะพร้าว ตัวรับสัญญาณโทรทัศน์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น เกาหลีใต้เปิดตลาดเพิ่ม เช่น ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันที่ได้จากพืช แป้งมันสำปะหลัง สินค้าประมง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เป็นต้น.

 จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 14 มิถุนายน 2564

‘สิระ’ ลงพื้นที่ตรวจสอบหลุมดินยุบขนาดใหญ่กลางไร่อ้อย

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสิระ เจนจาคะ ประธานกรรมาธิการกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎรและคณะ ได้เดินทางมาจะลงพื้นที่ดู ที่ดินไร่อ้อยของเกษตรกรที่ ประสบกับปัญหาดินยุบตัวเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่กลางไร่อ้อยของเกษตรกร ซึ่งพบว่ามีทั้งหลุมขนาดเล็กและใหญ่ ของชาวบ้านประมาณ 15 ครอบครัว ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดย มี นายวุฒิพงษ์ ศิริสถิตย์ นายก อบจ.หนองบัวลำภู ว่าที่ร้อยตรีรักชัย เลิศสุบิน นายอำเภอนากลาง และผู้ใหญ่บ้านหนองด่าน บ้านนากุดผึ้ง และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบนำดูสภาพของการเกิดหลุมดินยุบตัวขนาดใหญ่ โดย มี นายอำเภอนากลาง ได้นำเสนอสภาพของการเกิดหลุมดินขนาดใหญ่ให้กับ ทางคณะกรรมาธิการกฏหมายสภาผู้แทนราฎรและคณะได้รับทราบถึงสภาพการเกิดหลุมดังกล่าว ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมา ทางจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งนำโดย นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มาตรวจสอบยังสถานที่ดังกล่าวแล้วว่า สาเหตุของการเกิดดินยุบตัวจนเป็นหลุมขนาดใหญ่นั้น มาจากสภาพพื้นที่ของหินปูนใต้พื้นดิน เมื่อมีรอยแตกและมีน้ำเข้าไปจะทำให้เกิดเป็นโพรงได้ เมื่อเป็นโพรงใต้ดิน และพื้นดินด้านบนรับน้ำหนักไม่ไหวก็จะเกิดการหยุบตัวลง

จากนั้น นายสิระ และคณะหลังได้รับฟังข้อมูลแล้วได้เดินทางไปดูสถานที่หลุมดินยุบตัวขนาดใหญ่ ในพื้นที่ดินของ นางจันทร์เพ็ญ วรบุตร อายุ 43 ปี ที่เกิดดินยุบตัวบริเวณถนนที่ได้มีการนำหินลูกรังมาทำการถมแล้วในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา แต่ก็ยังมายุบตัวลง และบริเวณไร่อ้อย ห่างจากหลุมดินบนถนนออกไปเล็กน้อย พบหลุมดินขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 60 เมตร ส่วนความกว้างบางจุดก็กว้างมากกว่า 20 เมตร พบเป็นทางน้ำไหลเสียงดังเหมือนกับน้ำตก ไหลลงจากพื้นดินด้านบนลงด้านล่างไปตามอุโมงค์ และยังพบต้นอ้อยที่ดินทรุดลงกองอยู่พื้นดิน จากสภาพดินที่ทรุดทำให้มองเห็นพื้นด้านล่างเป็นลักษณะของหินปูนจากการกัดเซาะของน้ำ

นางจันทร์เพ็ญ  กล่าวกับ นายสิระ เจนจาคะ อยากให้ทางหน่วยงานราชการมาช่วยเหลือทำเป็นทางน้ำไปยังลำน้ำพะเนียง เพราะจะทำให้น้ำไม่ไหลบ่ากระจายไปทั่ว ถ้าน้ำมีทางน้ำไหลไปตามร่องทางน้ำแล้วก็อาจจะไม่ทำให้ปัญหาเกิดนี้ขึ้น และไม่อยากจะโทษว่าเป็นเพราะอะไร อยากทำให้ตนเองปลอดภัย รักษาพื้นที่ตรงนี้ไว้ให้ทำมาหากิน ไม่ได้ว่าใครทำ เราไม่รู้ ไม่มีความรู้ เชื่อตามที่ทางนักธรณีวิทยาบอก เป็นเรื่องของภัยธรรมชาติและอยากให้ถมหลุมให้ด้วยเพราะว่าถ้าไม่ถมจะพังลงเรื่อย ๆ และทำทางน้ำให้ ซึ่งชาวบ้านและเจ้าของที่ดินที่ได้รับผลกระทบหลังจากเห็นว่า มีหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานต่างๆเดินทางมาดูมารับทราบปัญหาแล้ว ได้นำเสนอสภาพปัญหาแล้วก็รู้สึกสบายใจ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้มาดูแล

ด้าน นายสิระ กล่าวว่า ขอให้ทางนักวิชาการตรวจสอบพิสูจน์ก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด แล้วถึงจะหาทางแก้ไขให้ถูกหลัก จะดูแลทางรัฐให้ด้วยให้รู้ปัญหาก่อนรู้วิธีแก้ปัญหาด้วย นอกจากนั้นประธานกรรมาธิการกฎหมายสภาผู้แทนราษฎร ยังกล่าวอีกว่า ส่วนหนึ่งจะไปดูกฎหมายเกี่ยวกับการระบำดหิน ว่ามันระเบิดเขาเหนือจากดินขึ้นไป การระเบิดหินมันทำได้เฉพาะข้างบนหรือชั้นใต้ดินด้วยได้หรือไม่ ขอไปดูในเรื่องของกฎหมาย ส่วนล่างลงไปมันทำได้หรือไม่ ตรงนี้ต้องไปศึกษาเรื่องของโรงโม่ ไปดูระเบียบกฎหมายว่าโรงโม่ทำถูกระเบียบกฎหมายหรือไม่ มีผลกระทบเป็นร่องน้ำลงมา จึงขอไปดูในเรื่องนี้ก่อน

ทางด้าน นายศักดิ์สิทธิ์ ทูลพุทธา ผู้ใหญ่บ้านหนองด่าน กล่าวว่า ดินทรุดทางลูกบ้านแจ้งว่าดินทรุดก็ได้ออกสำรวจ พบว่า เหตุการณ์จริงๆตั้งแต่ปี 2559 แต่หลุมใหญ่จริงๆ เกิดปี 2563 และมาปีนี้เกิดขึ้นอีกใหญ่กว่าเดิมทำให้เกิดปัญหา ชาวบ้านเดือดร้อนจึงอยากให้ผู้ใหญ่มาตรวจสอบให้ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านก็รอคำตอบอยู่ สำหรับพื้นที่เสียหายจะเป็นบริเวณกว้างในละแวกนี้ แต่ถ้าเสียหายจริงๆ ก็หลายไร่เหมือนกัน แปลงที่ใหญ่จริงๆ ไม่ต่ำกว่า 2 ไร่

“ตอนนี้ชาวบ้านคิดว่าจะเกิดไปมากกว่านี้ไหมเป็นความวิตกกังวลของชาวบ้าน อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยียวยาทางด้านจิตใจ จุดที่อยู่มันจะเสี่ยงไหม จะเกิดความปลอดภัยไหม เป็นพื้นที่เราทำมาหากิน เมื่อทำงานอยู่ หรือเครื่องจักรทำงานอยู่แล้วดินจะทรุดลงไปไหม เคยมีรถทำงานอยู่ดินทรุดลงแต่มันไม่ลึกรถขึ้นได้ ตอนนี้หลายหน่วยงานได้จะหาวิธีการพิสูจน์ให้แน่ชัดว่า จะให้อยู่ได้ ให้เกิดความปลอดภัย ตอนนี้อุ่นใจขึ้น ส่วนบริเวณที่เกิดหลุม เกิดความเสียหายจะอยู่บริเวณด้านหน้า จะว่าเป็นจากโรงโม่หินมันก็ไม่ได้กระจายไปที่อื่นแนวมันมีจุดเดียว ชาวบ้านก็เข้าใจว่าอยู่ใกล้โรงโม่จริง แต่ว่าหากเกิดจากโรงโม่จริงทำไมไม่ไปเกิดที่อื่น”นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่  13 มิถุนายน 2564

ฝนหลวงฯ เกาะติดสภาพอากาศต่อเนื่อง เร่งช่วยพื้นที่ภาคกลางขาดแคลนน้ำ

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. นางนรีลักษณ์ วรรณสาย รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า แม้ในช่วงนี้จะเป็นช่วงฤดูฝนแต่หลายพื้นที่ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่การเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชไปแล้ว ซึ่งการขาดน้ำจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตพืชได้ การขาดน้ำในพื้นที่ดังกล่าวอาจเนื่องจากมีฝนตกน้อย หรือบางพื้นที่ที่ปริมาณน้ำชลประทานยังไม่สามารถสนับสนุนการเกษตรได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ จึงได้มีการประสานเข้ามายังกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตรพร้อมปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือหากสภาพอากาศเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง โดยเมื่อวานนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการฝนหลวงร่วมกับกองทัพอากาศและกองทัพบก จำนวน 2 หน่วยปฏิบัติการ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรของ อ.เมือง พรหมบุรี ท่าช้าง ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี อ.ดอนเจดีย์ สามชุก ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และ อ.เมือง แสวงหา โพธิ์ทอง สามโก้ ไชโย วิเศษชัยชาญ ป่าโมก จ.อ่างทอง

นางนรีลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการติดตามสภาพอากาศเพื่อนำมาวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงในวันนี้ พบว่า จากข้อมูลแผนที่อากาศผิวพื้นของกรมอุตุนิยมวิทยา ตัวการอากาศที่สำคัญคือร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่พายุโซนร้อน “โคะงุมะ” ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกของประเทศมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง ขณะเดียวกันด้านปริมาณน้ำฝนสะสมทั่วประเทศพบว่า บริเวณภาคกลางลุ่มเจ้าพระยา ยังมีปริมาณน้ำสะสมน้อย และมีการขอรับบริการฝนหลวงทั่วประเทศ จำนวน 428 แห่ง ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนเพื่อปฏิบัติการฝนหลวง แต่ในเช้าวันนี้การติดตามสภาพอากาศของสถานีเรดาร์ฝนหลวงทั่วประเทศ พบว่า ยังไม่เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง คือมีลมระดับปฏิบัติการมีกำลังแรง ท้องฟ้าปิดและมีเมฆชั้นกลางและชั้นสูงปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง 13 หน่วยปฏิบัติการฯ จึงขอติดตามสภาพอากาศตลอดทั้งวัน โดยหากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าเงื่อนไขการทำฝนแล้ว จะขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มรับน้ำ อาทิ พื้นที่การเกษตร จ.เชียงใหม่ ลำปาง กาญจนบุรี ยโสธร ขอนแก่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง เป็นต้นต่อไป

อย่างไรก็ตาม พี่น้องเกษตรกรและประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ที่ช่องทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account : @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100

 จาก https://siamrath.co.th วันที่  13 มิถุนายน 2564

โรงงานกุมภวาปีเลิกกิจการ อุตฯน้ำตาลต้องปรับตัวครั้งใหญ่

ปรากฏการณ์โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี โดยบริษัท น้ำตาลกุมภวาปี ประกาศปิดกิจการ อันเนื่องมาจากสาเหตุ “บริษัทตกอยู่ในสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่ยากลำบาก” จนที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น วันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีมติให้ “หยุดกิจการน้ำตาล” ลงทั้งหมด พร้อมกับให้โอนย้ายสัญญาซื้อขายอ้อยที่โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีทำไว้กับชาวไร่อ้อยทุกราย ไปยังบริษัท น้ำตาลเกษตรผล ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทน้ำตาลตราช้อนเช่นเดียวกัน

การประกาศปิดกิจการดังกล่าวนับเป็นเรื่องสั่นสะเทือนวงการค้าน้ำตาลและวงการชาวไร่อ้อย เนื่องจากเป็นโรงงานน้ำตาลโรงแรกในรอบมากกว่า 10 ปีที่ “ไปไม่รอด” สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลภายในประเทศ

และที่สำคัญก็คือ โรงงานน้ำตาลโรงนี้ไม่ได้เป็นโรงงานน้ำตาลที่บริหารงานโดยคนไทย แต่เป็นโรงงานน้ำตาลที่บริหารงานโดยนักลงทุนญี่ปุ่น ถือหุ้นอยู่ 88.0473% ผ่านทางบริษัท มิตซุย (11.1906%) กับบริษัท มิตซุย ชูการ์ (43.8567%) รวมทั้งบริษัท น้ำตาลเกษตรผล ถือหุ้นอยู่อีก 6.1385%

เบื้องต้นโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีได้โอนย้ายโควตาการผลิตน้ำตาล-สัญญาซื้อขายอ้อยกับชาวไร่ ไปให้โรงงานน้ำตาลเกษตรผล ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ใช้ผู้บริหารญี่ปุ่นชุดเดียวกัน (หุ้นไทย 71.6145%-หุ้นญี่ปุ่น 28.3854%) ผ่านทางบริษัท สาทรแคปปิตอล 63.6560%, บริษัท มิตซุย ชูการ์ 28.3854%, บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี 3.9793%, ธนาคารกรุงเทพ 0.9948% และอื่น ๆ

จากการติดตามผลประกอบการของทั้งบริษัท กุมภวาปี และบริษัท น้ำตาลเกษตรผล ในข่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีมีผลประกอบการขาดทุนจากการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 จำนวน -156,047,939 บาท ปี 2560 ขาดทุน -153,564,976 บาท ปี 2561 ขาดทุน -295,816,401 บาท ปี 2562 ขาดทุน -234,158,771 บาท และล่าสุด 31 ตุลาคม 2563 ขาดทุนไปถึง -351,354,543 บาท

โดยรายได้จากการขายน้ำตาลเฉลี่ย 4 ปีย้อนหลัง อยู่ในระดับ 2,000 กว่าล้านบาท ยกเว้นปีล่าสุดมีรายได้แค่ 1,676 ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนการขายสูงกว่ารายได้มาโดยตลอด

ด้านโรงงานน้ำตาลเกษตรผลก็เช่นกัน ผลประกอบการ 5 ปีย้อนหลังประสบกับภาวะการขาดทุนจากการดำเนินงาน โดยปี 2559 ขาดทุน -177,248,408 บาท ปี 2560 ขาดทุน -58,897,216 บาท ปี 2561 ขาดทุน -447,926,718 บาท ปี 2562 ขาดทุน -502,861,989 บาท และปีล่าสุด 2563 ขาดทุนถึง -467,435,045 บาท

จนอาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของโรงงานน้ำตาลเกษตรผลนั้นใกล้เคียงกับโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี

โรงงานน้ำตาลต้องปรับตัว

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) กล่าวถึงการปิดกิจการของโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าห่วง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไม่ปรับตัวของโรงงาน เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีวัตถุดิบ คือ “อ้อย” ผลผลิต คือ “น้ำตาล” จึงมีรายได้จากการขายน้ำตาลทางเดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือมาจากกระบวนการผลิตอย่าง “ชานอ้อย” ก็นำไปผลิตไฟฟ้า เพื่อใช้ภายในโรงงานไม่เหลือขาย

ส่วนโมลาสขายให้กับอุตสาหกรรมเหล้า ในขณะที่โรงงานน้ำตาลรายอื่น ๆ จะลงทุนตั้งโรงงานใหม่เพื่อนำชานอ้อยผลิตไฟฟ้าทั้งใช้และขายให้กับการไฟฟ้า นำโมลาสมาผลิตเป็นเอทานอล หรือต่อยอดไปสู่การใช้เป็นส่วนประกอบให้กับอุตสาหกรรมพลาสติกและเครื่องสำอาง รวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการขายน้ำตาลที่ต้องพึ่งพิงราคาตลาดโลกเพียงอย่างเดียว

ดังนั้น โรงงานน้ำตาลรายใดที่ยังไม่สามารถปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ มีรายได้จากการขายน้ำตาลเพียงทางเดียว โดยเฉพาะโรงงานขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิต 12,000-15,000 ตัน ก็จะหนีสถานการณ์แบบนี้ไปไม่พ้น กล่าวคือจะทยอยล้มหายตายจาก ปิดกิจการในอนาคต

และยิ่งหาก พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับใหม่) ที่อยู่ระหว่างแก้ไขโดย “ไฟเขียว” ให้ผลพลอยได้จากการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลได้ให้สามารถนำมาแบ่งปันผลประโยชน์ 70 : 30 กับชาวไร่ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งส่งผลให้ “รายได้” ในส่วนที่เคยเป็นของโรงงานน้ำตาลมาแต่เดิมต้องลดลง นั่นหมายความว่า โรงงานน้ำตาลจะขาดทุนหนักเข้าไปอีก เนื่องจากมีต้นทุนจากการลงทุนใหม่เข้ามาเพิ่ม

“กลายเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ถ้าไม่ทำอะไรเพิ่มเลย มีรายได้จากการขายน้ำตาลทางเดียวก็จะอยู่ไม่รอด ต่อไปเมื่ออ้อยยิ่งน้อยลง การขาดทุนก็จะตามมา ตอนนี้เราเลยเห็นโรงงานส่วนใหญ่ที่ยื่นขอใบอนุญาตจากสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย จะเป็นพวกที่ขยายโรงงานส่วนอื่นเพิ่มแทบไม่มีโรงงานน้ำตาลรายใหม่เลยเพราะอ้อยมันลด ราคาก็ผันผวน แต่ก็ยังดีที่ว่า ถัวเฉลี่ยทั่วโลก ไทยลด อินเดียลด บราซิลดี ราคาน้ำตาลมันเลยวิ่งประมาณนี้”

สำหรับสถานการณ์ของราคาน้ำตาลตลาดโลกตอนนี้มีแนวโน้มปรับขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ 13-15 เซนต์/ปอนด์ (ยังไม่บวกค่าพรีเมี่ยม) ส่วนปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลงทุกปี โดยฤดูการผลิตปี 2563/2564 อยู่ที่ 66.6 ล้านตันเท่านั้น หรือลดลงจากปี 2562/2563 ซึ่งอยู่ที่ 74.8 ล้านตัน การบริโภคภายในประเทศถือว่าทรงตัว ราคาขายหน้าโรงงานอยู่ที่ 17-18 บาท ปริมาณ 23-24 ล้านกระสอบ อาจลดลงเล็กน้อย

เมื่อประเมินจากราคาน้ำตาลตลาดโลกตอนนี้ ยังถือว่า “พอไปได้” แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่น่ากังวล เรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น ต้นทุนการปลูกอ้อย 1,500 บาท/ไร่ หากราคาน้ำตาลโลกอยู่ที่ 15 เซนต์/ปอนด์ ก็อยู่ไม่ได้ หรือถ้าต้นทุน 1,000 บาท/ไร่ ราคาน้ำตาลโลกอยู่ที่ 13-14 เซนต์/ปอนด์ ก็พออยู่ได้

อ้อยขั้นสุดท้ายมากกว่าขั้นต้น

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี ซึ่งตั้งโรงงานอยู่ที่ จ.อุดรธานี หลังจากได้แจ้งปิดกิจการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าโรงงานมีชาวไร่อ้อยคู่สัญญา 1,195 ราย ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 หีบอ้อยได้ 716,862.94 ตัน และผลิตน้ำตาลได้ 82,977.23 ตัน

โดยการปิดโรงงานแห่งนี้ ผู้บริหารได้ให้ดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาช่วยเหลือแก่พนักงานประจำโรงงาน และจะดำเนินการติดตามการจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายให้กับชาวไร่อ้อยคู่สัญญา ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ส่งผลให้ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลในประเทศเหลืออยู่ 56 โรง

ทางด้าน นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังมีการยื่นขอใบอนุญาต ทั้งขยายโรงงานน้ำตาลเก่าและขอตั้งโรงงานใหม่ ซึ่งได้ทยอยพิจารณาเนื่องจากจะมีบางใบรับรองที่ได้ไปก่อนนี้ พอครบ 5 ปีก็จะหมดอายุใบรับรอง จึงมีพื้นที่ที่ไม่ซับซ้อนสามารถออกใบอนุญาตใหม่ให้ได้ ขณะที่เดือนกรกฎาคม 2564 ราคาซื้อขายน้ำตาลทรายดิบตลาดล่วงหน้าอยู่ที่ประมาณ 17.70 เซนต์/ปอนด์ “นับว่าเป็นราคาดี”

ขณะที่ราคาขายหน้าโรงงานน้ำตาลทรายขาวธรรมดา 17.25 บาท และขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 18.25 บาท และเมื่อคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นประมาณ 16 เซนต์/ปอนด์ จึงมีแนวโน้มว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายจะมากกว่าราคาขั้นต้น (ขั้นต้น 920 บาท) โดยราคาขั้นสุดท้ายน่าจะเกิน 1,000 บาท

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 12 มิถุนายน 2564

KTIS สร้างโมเดลต้นแบบเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย

กลุ่ม KTIS ร่วมมือกระทรวงเกษตรฯ-สภาอุตสาหกรรมฯพัฒนาเกษตรแม่นยำ สร้างโมเดลต้นแบบ เพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีแผนขับเคลื่อน “โครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่” โดยมีอ้อยโรงงานเป็นหนึ่งในพืชเกษตรเป้าหมาย ในฐานะที่กลุ่ม KTIS เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นโครงการนำร่องด้วย

ทั้งนี้ พื้นที่เป้าหมายเกษตรแปลงใหญ่อ้อยที่ทางกลุ่ม KTIS เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และลพบุรี โดยมีพื้นที่รวม 46,868 ไร่ เกษตรกรจำนวน 1,493 ราย แยกเป็นที่เป็นเกษตรแปลงใหญ่อ้อยอยู่แล้ว 27 แปลง พื้นที่ 31,957 ไร่ มีจำนวนเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ 1,420 ราย และเป็นพื้นที่ของเกษตรกรเครือข่าย 14,911 ไร่ จำนวนเกษตรกร 73 ราย (ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรแปลงใหญ่)

“โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำฯ นี้ จะส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิต โดยเริ่มจากการให้การอบรม และให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ที่ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณภาพอ้อยที่วัดจากค่าความหวานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีเป้าหมายสร้างผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยมากกว่า 10 ตันต่อไร่ คุณภาพความหวาน 12 ซีซีเอส ขึ้นไป และตัดอ้อยสดคุณภาพดี ไม่มีสิ่งสกปรกปนเปื้อนส่งเข้าโรงงาน ซึ่งโรงงานน้ำตาลกลุ่ม KTIS มีเป้าหมายจะรับซื้ออ้อยเพิ่มขึ้นจากโครงการนี้จำนวน 730,000 ตัน หรือ 730 ล้านกิโลกรัม” นายประพันธ์กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม KTIS ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำฯ ว่า เนื่องจากจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น โดรน เข้ามาใช้ในการถ่ายภาพ รวมถึงการฉีด พ่น หว่าน ดังนั้น จึงมีการจัดทำหลักสูตรการบินโดรนเพื่ออบรมให้กับเกษตรกร โดยจะมีแปลงสาธิตสำหรับการฝึกอบรมด้วย นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อย โดยการตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน และวิจัยพัฒนาหาแม่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับดิน รวมไปถึงการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยได้วางเป้าหมายการขุดบ่อจำนวน 3,216 บ่อ

“ในการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำนั้นจะดูความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่หากมีน้ำไหลผ่านอาจจะสร้างฝาย ห้วย หรือทำสระน้ำ รวมไปถึงการขุดลอกคูคลอง และการใช้พลังงานโซล่าร์เซลในการสูบน้ำมาใช้” นายประพันธ์กล่าว และสรุปทิ้งท้ายว่า โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำฯ จะทำให้ได้โมเดลต้นแบบตั้งแต่การพัฒนาดิน การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไปจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะต้องแบ่งชั้นคุณภาพ และประเมินผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว โดยโมเดลต้นแบบนี้สามารถนำไปใช้กับไร่อ้อยแปลงอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยต่อไร่เพิ่มขึ้นและคุณภาพอ้อยสูงขึ้น

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 11 มิถุนายน 2564

เอกชน-รัฐเร่งออกมาตรการ ควบคุมโควิดในโรงาน

รัฐผนึกเอกชน ออกมาตรการ  ป้องกัน-ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าได้หารือร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เรื่องมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด19 ในสถานประกอบกิจการโรงงานเพื่อยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน โดยที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการกิจการโรงงาน มีจำนวนโรงงานที่พบการแพร่ระบาด 149 แห่ง มีผู้ติดเชื้อ 7,777 คน ในพื้นที่ 21 จังหวัดทั่วประเทศ   (ข้อมูลณวันที่10 มิ.ย.2564)

เอกชน-รัฐเร่งออกมาตรการ  ควบคุมโควิดในโรงานทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รายงานความคืบหน้าการออกมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน อาทิ การขอความร่วมมือสถานประกอบกิจการโรงงานประเมินตนเองผ่าน Platform Thai Stop Covid Plus และ Thai Save Thai โดยมีโรงงานเข้าสู่ระบบ จำนวน 6,259 โรง (คิดเป็นร้อยละ 10 จากโรงงานทั้งหมด)   อย่างไรก็ตามได้วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์กระจายวัคซีนในสถานประกอบกิจการโรงงาน ทั้งในและนอกโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวน 27 แห่ง โดยเบื้องต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบแล้ว จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สวนอุตสาหกรรมบางกะดี และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีกทั้ง อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบ 21 แห่ง เพื่อจะขอ ศบค.พิจารณาจัดสรรวัคซีนให้กับศูนย์ฉีดวัคซีน เป็นต้น โดยเน้นความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน ผ่านการฉีดวัคซีนให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคม

เอกชน-รัฐเร่งออกมาตรการ  ควบคุมโควิดในโรงาน“ แนวทางการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ได้มีการหารือกันนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เนื่องจากคนที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งหอการค้าฯ พร้อมสนับสนุนภาครัฐอย่างเต็มที่ ในมาตรการป้องกัน การเฝ้าระวัง รวมถึงการควบคุมการระบาด และยินดีเป็นจุดเชื่อมโยง ประสานความร่วมมือไปยังเครือข่ายต่างๆ ทั้ง หอการค้าจังหวัด และ สมาคมการค้า ให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนตามแนวทางที่ได้มีการหารือกันไว้”

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 11 มิถุนายน 2564

กลุ่ม KTIS จับมือเกษตรฯ-ส.อ.ท. สร้างโมเดลต้นแบบ เพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย

กลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร ให้ความร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามโครงการนำร่อง “พัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่” มุ่งสร้างโมเดลต้นแบบ ตั้งแต่การพัฒนาดิน การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไปจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น โดรน มาใช้ในการถ่ายภาพ ฉีด พ่น หว่าน เพื่อช่วยเพิ่มทั้งผลผลิตต่อไร่และคุณภาพอ้อย โดยกลุ่ม KTIS จะร่วมอบรมชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิตที่สำคัญ

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีแผนขับเคลื่อน “โครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่” โดยมีอ้อยโรงงานเป็นหนึ่งในพืชเกษตรเป้าหมาย ในฐานะที่กลุ่ม KTIS เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นโครงการนำร่องด้วย

ทั้งนี้พื้นที่เป้าหมายเกษตรแปลงใหญ่อ้อยที่ทางกลุ่ม KTIS เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และลพบุรี โดยมีพื้นที่รวม 46,868 ไร่ เกษตรกรจำนวน 1,493 ราย แยกเป็นที่เป็นเกษตรแปลงใหญ่อ้อยอยู่แล้ว 27 แปลง พื้นที่ 31,957 ไร่ มีจำนวนเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ 1,420 ราย และเป็นพื้นที่ของเกษตรกรเครือข่าย 14,911 ไร่ จำนวนเกษตรกร 73 ราย (ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรแปลงใหญ่)

 “โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำนี้จะส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิต โดยเริ่มจากการให้การอบรม และให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ที่ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณภาพอ้อยที่วัดจากค่าความหวานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีเป้าหมายสร้างผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยมากกว่า 10 ตันต่อไร่ คุณภาพความหวาน 12 ซีซีเอส ขึ้นไป และตัดอ้อยสดคุณภาพดี ไม่มีสิ่งสกปรกปนเปื้อนส่งเข้าโรงงาน ซึ่งโรงงานน้ำตาลกลุ่ม KTIS มีเป้าหมายจะรับซื้ออ้อยเพิ่มขึ้นจากโครงการนี้จำนวน 730,000 ตัน หรือ 730 ล้านกิโลกรัม”

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม KTIS ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำฯ ว่า เนื่องจากจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น โดรน เข้ามาใช้ในการถ่ายภาพ รวมถึงการฉีด พ่น หว่าน ดังนั้น จึงมีการจัดทำหลักสูตรการบินโดรนเพื่ออบรมให้กับเกษตรกร โดยจะมีแปลงสาธิตสำหรับการฝึกอบรมด้วย นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อย โดยการตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน และวิจัยพัฒนาหาแม่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับดิน รวมไปถึงการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยได้วางเป้าหมายการขุดบ่อจำนวน 3,216 บ่อ

“ในการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำนั้นจะดูความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ หากมีน้ำไหลผ่านอาจจะสร้างฝาย ห้วย หรือทำสระน้ำ รวมไปถึงการขุดลอกคูคลอง และการใช้พลังงานโซล่าร์เซลในการสูบน้ำมาใช้ โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำฯ จะทำให้ได้โมเดลต้นแบบตั้งแต่การพัฒนาดิน การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไปจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะต้องแบ่งชั้นคุณภาพ และประเมินผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว โดยโมเดลต้นแบบนี้สามารถนำไปใช้กับไร่อ้อยแปลงอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยต่อไร่เพิ่มขึ้นและคุณภาพอ้อยสูงขึ้น”

จาก https://siamrath.co.th   วันที่ 10 มิถุนายน 2564

ก.อุตฯ ยัน โรงงานน้ำตาล 56 แห่งยังแข็งแกร่ง แจง "กุมภวาปี" ปิดกิจการไม่กระทบ

กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันภาพรวมโรงงานน้ำตาลทราย 56 แห่งยังแข็งแกร่งหลังทิศทางผลผลิตฤดูหีบปี 64/65 และราคาอ้อยมีแนวโน้มสูงขึ้น แจงการปิดกิจการโรงงานกุมภวาปีเพื่อไปโอนย้ายไปยังบริษัทใหม่ที่มีกำลังผลิตสูงขึ้น

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีมติเมื่อ 7 มิ.ย.หยุดกิจการน้ำตาลอย่างเป็นทางการ โดยบริษัทจะโอนย้ายสัญญาซื้อขายอ้อยไปยัง บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเดียวกัน ที่มีกำลังการผลิตได้ถึง 30,000 ตันอ้อยต่อวัน เพื่อรองรับชาวไร่อ้อยคู่สัญญาจาก บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ว่า จากแผนการดำเนินงานของบริษัทดังกล่าวยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมของโรงงานน้ำตาลทรายอีก 56 แห่งแต่อย่างใด เนื่องจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยในฤดูการผลิตปี 2564/2565 มีแนวโน้มผลผลิตอ้อยและราคาน้ำตาลของตลาดโลกจะสูงขึ้นจากในฤดูการผลิตปี 2563/2564 จึงมั่นใจได้ว่าผลประกอบการโรงงานน้ำตาลอีก 56 โรงงาน จะมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด มีชาวไร่อ้อยคู่สัญญา จำนวน 1,195 ราย ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 หีบอ้อยได้ 716,862.94 ตัน และผลิตน้ำตาลได้ 82,977.23 ตัน โดยการปิดโรงงานดังกล่าวจะไม่กระทบกับชาวไร่อ้อยคู่สัญญา ขณะเดียวกันนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ประสานไปยัง บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ให้ดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาช่วยเหลือแก่พนักงานประจำโรงงาน และจะดำเนินการติดตามการจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายให้กับชาวไร่อ้อยคู่สัญญาอย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายในช่วงเดือนตุลาคม 2564 รวมไปถึงตรวจสอบภาระหนี้ของบริษัทฯ กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อไม่ให้กระทบกับระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และการปิดกิจการจะไม่กระทบต่อการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 แต่อย่างใด

จาก https://mgronline.com  วันที่ 10 มิถุนายน 2564

โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีปิด ไม่กระทบอุตสาหกรรมน้ำตาล

สอน. แจง บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ปิดโรงงานน้ำตาล ไม่กระทบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ย้ำในฤดูการผลิตปี 64/65 ผลผลิตอ้อยมีแนวโน้มเติบโตขึ้น เร่งให้โรงงานเยียวยาพนักงานประจำโรงงาน พร้อมจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายให้กับชาวไร่อ้อยคู่สัญญา

วันที่ 10 มิถุนายน 2564 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 กรณี บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีมติหยุดกิจการน้ำตาลอย่างเป็นทางการ โดยบริษัทจะโอนย้ายสัญญาซื้อขายอ้อยไปยัง บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเดียวกัน ที่มีกำลังการผลิตได้ถึง 30,000 ตันอ้อยต่อวัน เพื่อรองรับชาวไร่อ้อยคู่สัญญาจาก บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด

โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี ปิดกิจการ พนักงานกว่าพันชีวิตตกงาน

นายกอบชัย เปิดเผยต่อว่า การปิดโรงงานดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย เนื่องจากในฤดูการผลิตปี 2564/2565 มีแนวโน้มผลผลิตอ้อยและราคาน้ำตาลของตลาดโลกจะสูงขึ้นจากในฤดูการผลิตปี 2563/2564 จึงมั่นใจได้ว่าผลประกอบการโรงงานน้ำตาลอีก 56 โรงงาน จะมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนถือเป็นสัญญาณที่ดีท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด มีชาวไร่อ้อยคู่สัญญา จำนวน 1,195 ราย ในฤดูการผลิตปี 2563/2564 หีบอ้อยได้ 716,862.94 ตัน และผลิตน้ำตาลได้ 82,977.23 ตัน โดยการปิดโรงงานดังกล่าวจะไม่กระทบกับชาวไร่อ้อยคู่สัญญา

ในขณะเดียวกันนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ประสานไปยัง บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ให้ดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาช่วยเหลือแก่พนักงานประจำโรงงาน และจะดำเนินการติดตามการจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายให้กับชาวไร่อ้อยคู่สัญญาอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายในช่วงเดือนตุลาคม 2564 รวมไปถึงตรวจสอบภาระหนี้ของบริษัทฯ กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อไม่ให้กระทบกับระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และการปิดกิจการจะไม่กระทบต่อการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 แต่อย่างใด

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 10 มิถุนายน 2564

สอน.ดึงกองทุนอ้อยฯช่วยชาวไร่ 1.1 พันราย หลังโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีปิดกิจการ

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงกรณีโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี จ.อุดรธานี เตรียมปิดกิจการตามเอกสารที่มีการเผยแพร่ ออกมาว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) ได้ประสานกับทางบริษัท บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า ที่ผ่านมา บริษัทฯ ตกอยู่ในสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่ยากลำบาก ล่าสุดในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 จึงมีมติหยุดกิจการน้ำตาลอย่างเป็นทางการ และบริษัทได้ดำเนินการให้พนักงานหยุดปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2564 โดยให้ถือเป็นวันลาพักผ่อน และจะมีการให้สิ้นสภาพการเป็นพนักงานของบริษัท ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 และบริษัทจะโอนย้ายสัญญาซื้อขายอ้อยไปยังบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเดียวกัน ซึ่งในปี 2563 บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ได้ขยายกำลังการผลิตจาก 12,000 ตันอ้อยต่อวัน เป็น 30,000 ตันอ้อยต่อวัน เพื่อรองรับปริมาณอ้อยของบริษัทน้ำตาลกุมภวาปี จำกัด

นายเอกภัทร กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เขตเทศบาล ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กำลังหีบอ้อยตามใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) จำนวน 12,000 ตันอ้อย/วัน ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา 1,195 ราย หีบอ้อยได้ 716,862.94 ตัน ผลิตน้ำตาลได้ 82,977.23 ตัน ในปีการผลิต 2563/2564 ) มีพนักงานประจำโรงงาน 30 คน และคนงานชั่วคราวในช่วงเปิดหีบประมาณ 2,000 คน

“โรงงานนี้เป็นโรงงานเก่าแก่ในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและคนในชุมชนอย่างดีมาตลอด แต่ในช่วงท้ายของการดำเนินกิจการ ชุมชนมีการขยายตัวมากขึ้น และเข้ามาใกล้พื้นที่ของโรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ทำให้มีปัญหาเรื่องมลภาวะกับชุมชนเพิ่มขึ้นไปด้วย ประกอบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมาผลผลิตอ้อยลดน้อยลงและผลิตภาพเครื่องจักรลดลง ทำให้บริษัทตัดสินใจปิดโรงงาน และย้ายสายการผลิตไปรวมกับบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแทน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือพนักงาน และข้อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง”นายเอกภัทรกล่าว

นายเอกภัทร กล่าวว่า หลังจากนี้ สอน.จะเข้าไปดูแลชาวไร่อ้อยคู่สัญญา 1,195 ราย ที่ถ่ายโอนไปยังบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด หรือโรงงานน้ำตาลเกษตรผล เพื่อให้แผนการขายอ้อยเดินหน้าตามปกติไม่ส่งผลกระทบต่อชาวไร่ รวมทั้งจะประสานกับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อดูสถานะทางการเงินระหว่างโรงงานและชาวไร่ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ผลกระทบต่อชาวไร่

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 9 มิถุนายน 2564

กรมเจรจาฯ เตรียมจัดระดมความคิดเห็นออนไลน์การจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดระดมความคิดเห็นการจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดาผ่านทางออนไลน์ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปแสดงความคิดเห็น รวม 4 วัน ระหว่างวันที่ 14-17 มิ.ย. ก่อนใช้ประกอบในผลการศึกษา และใช้เป็นท่าทีประกอบการตัดสินใจในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-แคนาดา ในเดือน ก.ย.นี้

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ มีกำหนดจัดประชุมระดมความเห็น เรื่อง “เปิดประตูอาเซียน-แคนาดา โอกาสการค้า การลงทุน และความร่วมมือ” ผ่านระบบประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 14-17 มิ.ย. 2564 เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจในเรื่องการเจรจาจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ซึ่งจะมีการถ่ายทอดผ่านทาง Facebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ารับฟังการสัมมนา และร่วมเสนอแนะข้อคิดเห็นตามวันและเวลาที่กำหนด

สำหรับรายละเอียดการสัมมนา ได้แก่ 1. การค้าสินค้าและสินค้าเกษตร ในวันที่ 14 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00-11.00 น. 2. การค้าบริการ การลงทุน และการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ในวันที่ 15 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00-11.00 น. 3. ประเด็นเจรจาใหม่ๆ ในวันที่ 16 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00-11.00 น. และ 4. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข ในวันที่ 17 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00-11.00 น. โดยผลการสัมมนาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องการเจรจาจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ซึ่งกรมฯ ได้มอบบริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการ

นางอรมนกล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมากรมฯ ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง “โอกาสขยายตลาดใหม่ ผ่าน FTA อาเซียน-แคนาดา” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมได้ระบุว่าเห็นโอกาสในการขยายตลาดใหม่ของไทยจากการทำ FTA กับแคนาดา โดยเป็นประเทศที่ยังไม่มี FTA กับไทยมาก่อน แต่ก็มีบางประเด็นที่ไทยต้องใช้ความระมัดระวังในการเจรจาร่วมกับอาเซียนด้วยความรอบคอบ เช่น การเปิดตลาดสินค้าสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการเข้าถึงยา และการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เป็นต้น

“การสัมมนากลุ่มย่อยในครั้งนี้ กรมฯ คาดว่าจะได้หารือในรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการหารือของไทยกับอาเซียนและแคนาดาต่อไป เนื่องจากรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนมีกำหนดจะประชุมร่วมกับรัฐมนตรีการค้าแคนาดา เพื่อพิจารณาตัดสินใจเรื่องการเปิดเจรจาจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ในเดือน ก.ย. 2564 นี้” นางอรมนกล่าว

ในปี 2563 การค้าร่วมระหว่างไทยกับแคนาดามีมูลค่า 2,308.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปแคนาดา มูลค่า 1,540.97 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากแคนาดามูลค่า 767.52 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนการค้าร่วมระหว่างอาเซียนกับแคนาดา ในปี 2563 มูลค่า 19,966.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอาเซียนส่งออกไปแคนาดา มูลค่า 15,269.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากแคนาดามูลค่า 4,697 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น เครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกล สิ่งทอ และรองเท้า สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น ธัญพืช ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และเครื่องจักรไฟฟ้า

จาก https://mgronline.com   วันที่ 9 มิถุนายน 2564

กทท.ปรับอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษน้ำมัน บริการตู้สินค้า-เรือลากจูงตามภาวะตลาด

กทท.ปรับอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงบริการตู้สินค้าและเรือลากจูงตามสภาวะตลาด ใช้ค่าเฉลี่ยราคาดีเซลรอบ 3 เดือน พบเปลี่ยนแปลงเกิน 5%

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การท่าเรือฯ ปรับอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการให้บริการตู้สินค้า และการให้บริการเรือลากจูง ณ ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้

• อัตราค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการให้บริการตู้สินค้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ประเภทตู้สินค้า โดย ตู้มีสินค้า ขนาดตู้ 20 ฟุต 38 บาท ขนาดตู้ 40 ฟุต 76 บาท ขนาดตู้มากกว่า 40 ฟุต 86 บาท

ตู้สินค้าเปล่า ขนาดตู้ 20 ฟุต 23 บาท ขนาด 40 ฟุต 46 บาท ขนาดตู้มากกว่า 40 ฟุต 52 บาท

• อัตราค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการให้บริการเรือลากจูง (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ท่าเรือกรุงเทพ เรือลากจูงตั้งแต่ 2,000 แรงม้าขึ้นไป 1,202 บาท/ชั่วโมง

ท่าเรือแหลมฉบัง 1,435 บาท/ชั่วโมง (กรณีเศษของชั่วโมงแต่ไม่ถึง 30 นาที จะคิด 30 นาที และหากเกิน 30 นาที แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง คิดเป็น 1 ชั่วโมง)          ทั้งนี้ กทท.จะทบทวนอัตราค่าธรรมเนียม ทุกวันที่ 1 ของเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี ซึ่งใช้ผลต่างของราคาน้ำมันดีเซลของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระหว่างราคาเฉลี่ยในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยทั้งปีของปี พ.ศ. 2547 และจะปรับปรุงในกรณีที่ผลการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 5

จาก https://mgronline.com   วันที่ 9 มิถุนายน 2564

ชงบอร์ดกบน.จ่อเลื่อนยกเลิกชดเชยราคาก๊าซชีวภาพอีก2ปี

บอร์ด กบน. เตรียมถกปลายเดือน มิ.ย.นี้ พิจารณาเลื่อนยกเลิกชดเชยราคาก๊าซชีวภาพ ออกไป 2 ปี เหตุเอกชนยังไม่พร้อม หวั่นกระทบผู้ใช้น้ำมัน หากราคาปรับขึ้นทันทีในปี 2565

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ในปลายเดือนมิ.ย.นี้ เตรียมพิจารณาวาระสำคัญ เรื่องการขยาย “มาตรการยกเลิกชดเชยราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ” ซึ่งตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 กำหนดให้ยกเลิกการชดเชยเชื้อเพลิงชีวภาพภายในปี 2565 หรือใน 30 ก.ย. 2565 แต่หากดำเนินการไม่ทันสามารถขอขยายกรอบเวลาเลื่อนการใช้มาตรการดังกล่าวออกไปได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี

โดยเบื้องต้น คาดการณ์ว่าจะมีการเสนอให้ที่ประชุมขยายระยะเวลายกเลิกการชดเชย ออกไปอีก 2 ปี เพราะจากการจัดประชุมรับฟังความเห็นมาตรการยกเลิกการชดเชยราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(สกนช.) เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมธุรกิจพลังงาน ,สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.), กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.), ผู้ค้ามาตรา 7 ,ผู้ค้าเอทานอล ,โรงกลั่นน้ำมัน และผู้ค้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (B100) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม

พบว่า ที่ประชุมยังมีข้อกังวลหลายเรื่อง โดยเฉพาะภาคเอกชน มองว่า ภาครัฐควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดเลือกน้ำมันพื้นฐานของประเทศก่อน ว่าจะให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันฐานของกลุ่มเบนซินหรือไม่ โดยจะต้องประกาศเป้าหมายและระยะเวลาดำเนินออกอย่างเป็นทางการก่อน เพื่อให้เวลากับทางโรงกลั่นน้ำมันได้เตรียมความพร้อมปรับเปลี่ยนการสต๊อกน้ำมัน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ภาครัฐมีแผนจะผลักดันใช้น้ำมัน E20 เป็นน้ำมันฐานของกลุ่มเบนซิน โดยคาดว่า จะเริ่มประกาศให้ E20 เป็นน้ำมันฐานในวันที่ 1 ม.ค. 2565 จากนั้นจะเริ่มประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบไม่น้อยกว่า 3 เดือน และจะใช้วิธีทยอยลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของเอทานอลและน้ำมันปาล์ม เพื่อให้ทันกำหนด 30 ก.ย. 2565 ที่ต้องยกเลิกชดเชยราคาทั้งหมด

ทั้งนี้ ภาคเอกชน มองว่า ระยะเวลาเตรียมการดังกล่าวไม่เพียงพอ เนื่องจากกระบวนการทั้งหมดล่าช้ามากว่า 2 ปี อีกทั้งประเทศไทยยังติดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานต่างๆของภาครัฐ ประกอบกับยอดการใช้น้ำมันของประเทศลดต่ำลง ฉะนั้น หากเร่งรีบดำเนินการตามกฎหมายกำหนดไว้ในกรอบเดิมจะส่งผลให้เกิดการลดการชดเชยราคาน้ำมันและมีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล อาจปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำมันได้

 “เข้าใจว่า ทาง สนกช.จะเสนอที่ประชุม กบน.พิจารณาขอขยายเวลาดำเนินการยกเลิกชดเชยราคาก๊าซชีวภาพออกไปอีก 2 ปี เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น”

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 9 มิถุนายน 2564

"บิ๊กตู่" สั่งศึกษาแผนปฏิรูปภาษีกลุ่มจี 7 หวั่นกระทบโครงการลงทุนอีอีซี

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานและผู้ที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปศึกษาแผนการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่เพิ่งบรรลุข้อตกลงด้านภาษีครั้งประวัติศาสตร์ในการทำให้บริษัทข้ามชาติต้องเสียภาษีมากขึ้น รวมทั้งการกำหนดเพดานอัตราภาษีบริษัทนิติบุคคลในแต่ละประเทศด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่านโยบายภาษีของกลุ่มประเทศ G7 อาจส่งผลกระทบหรือเป็นโอกาสในการดึงดูดการลงทุนของประเทศไทยรวมทั้ง โครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ด้วย จึงให้มีการศึกษาทั้งในแง่ของผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยจากนโยบายปฏิรูปภาษีของกลุ่ม G7 และให้นำมาเสนอ ครม.อีกครั้ง

ทั้งนี้ นายสุพัฒนพงษ์ ได้กล่าวเสริมข้อสั่งการของนายกฯในเรื่องนี้ว่าเมื่อมีการใช้นโยบายเรื่องนี้ในกลุ่มประเทศ G7 ประเทศต่างๆอีก 80-90% ทั่วโลก ก็จะใช้ตาม จึงเป็นเรื่องที่เราต้องเตรียมความพร้อม

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจวันนี้ คือมีการประชุมหลายกลุ่มด้วยกันโดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น G7 และหลายๆเวทีโลก ได้ประชุมหารือกันในเรื่องของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งเราต้องเตรียมการให้พร้อมในการรับมือกับพันธสัญญากรณี ต่างๆ ที่มีอยู่เนื่องจากเราอยู่ในห่วงโซ่ของเขาทั้งหมด ทั้งการค้าการลงทุนต่างๆ มีกติกาต่างๆ ที่ออกมามากมาย เราต้องเตรียมความพร้อมเราต้องเข้มแข็งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถตัวเองไปด้วยให้สอดคล้องกับมาตรฐานต่างๆที่เราได้ออกมาของแต่ละประเทศด้วย.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 9 มิถุนายน 2564

พนักงานสุดเศร้า โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี ปิดกิจการ หลังเปิดมายาวนาน 58 ปี

พนักงานสุดเศร้า โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี จ.อุดรธานี ประกาศปิดกิจการ หลังเปิดมายาวนาน 58 ปี เนื่องจากพิษเศรษฐกิจ

วันที่ 8 มิ.ย. ที่โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี เทศบาลตำบลกุมภวาปี อ.กุมภวาปี บริษัทฯ มีการนัดหมายให้พนักงาน ลูกจ้างของบริษัท มารับฟังคำชี้แจงการเลิกกิจการ หลังจากดำเนินกิจการมามากกว่า 58 ปี โดยติดป้ายแบ่งสถานที่ประชุมเป็น 6 จุด มีพนักงาน ลูกจ้าง รวม 280 คน ทยอยเข้าประชุมแบบแยกส่วน จากนั้น นายฮิเดยูกิ มุราคามิ ประธาน บริษัทน้ำตาลกุมภวาปี จำกัด เดินทางมาชี้แจงด้วยตนเอง ขณะสื่อมวลชนได้รับแจ้งให้ออกนอกพื้นที่ของโรงงาน ห้ามถ่ายภาพ

ทั้งนี้ บริษัท มีการแจกเอกสาร 2 ฉบับ ฉบับแรก ประกาศวันหยุดพิเศษ ระบุเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี พนักงานประจำ 8 มิ.ย.-2 ก.ค.64 พนักงานชั่วคราว 8-12 มิ.ย.64 ที่ยังคงได้รับค่าจ้าง และพนักงานที่ยังคงต้องมาทำงาน ในช่วงวันหยุดพิเศษ บริษัทฯจะจ่ายค่าแรง และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้, ฉบับที่ 2 เป็นจดหมายถึง เกษตรกรชาวไร่อ้อยครอบครัวตราซ้อนที่เคารพรักทุกท่าน ประกาศแจ้งหยุดกิจการ ที่ดำเนินกิจการมาเกินกว่าครึ่งศตวรรษ ขอขอบคุณเกษตรกรชาวไร่ ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีมาโดยตลอด

ทั้งนี้ ในจดหมาย ฉบับที่ 2 ยังระบุด้วยว่า ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทตกอยู่ในสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่ยากลำบาก ดังนั้นในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่จัดขึ้นเมื่อวานนี้ จึงมีมติตัดสินใจจะหยุดกิจการน้ำตาลหลังจากนี้อย่างเป็นทางการ จากการตัดสินใจครั้งนี้ บริษัทได้ร้องขอบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทน้ำตาลตราช้อนเช่นเดียวกัน ให้รับการโอนย้ายสัญญาซื้อขายอ้อยที่บริษัททำร่วมกับเกษตรกรทุกท่าน ขอให้ทุกท่านโปรดเข้าใจ สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษัทน้ำตาลเกษตรผล จำกัด จะแจ้งให้เกษตรกรทุกท่านทราบต่อไป

นายชัยวัฒน์ ศรมณี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.อุดรธานี เปิดเผยหลังการประชุมว่า บริษัทฯชี้แจงว่าประสบปัญหาขาดทุน ติดต่อกันมารวม 6-7 ปีแล้ว ก็จะปิดกิจการทั้งหมด หรือเลิกกิจการ ไม่เหลือกิจกรรมอะไร ซึ่งมีพนักงาน ลูกจ้างอยู่รวม 280 คน ทั้งรายวันรายเดือนก็จะต้องเลิกจ้าง รวมทั้งลูกจ้างตามฤดูกาลอีกกว่า 1,000 คนก็จะไม่มีการจ้าง โดยวันนี้ได้ประกาศหยุดกิจการ เขาก็ประกาศหยุดงานตั้งแต่วันนี้-2 ก.ค.64 แบบยังมีค่าจ้าง แต่ยังมีแรงงานที่สมัครใจ เข้ามาช่วยเก็บงาน ซึ่งก็จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้ ถือว่ามาทำงานในวันหยุด

"การเลิกจ้างจะเริ่มวันที่ 3 ก.ค.64 แบ่งเป็นการสมัครใจลาออก จะได้รับการชดเชย 3 ส่วน คือ เงินชดเชยตามกฎหมาย , เงินช่วยเหลือพิเศษ และเงินช่วยเหลือจากการลาออก คนที่สมัครใจลาออก ให้ยื่นเรื่องวันนี้-12 มิ.ย.นี้ เมื่อเลยวันที่ 3 ก.ค.64 ถือว่าสิ้นสุดการเป็นพนักงาน หากไม่สมัครใจลาออก ก็จะดำเนินการเลิกจ้างตามกฎหมาย ซึ่งจะจ่ายชดเชยเฉพาะตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันมาก อาทิ ผู้มีอายุงานมากกว่า 20 ปี ตามกฎหมายจะได้ชดเชย 400 วัน เขาจะบวกเพิ่มเงินช่วยพิเศษอีก 120 วัน และเงินช่วยเหลือการลาออก 90 วัน รวมแล้ว 610 วัน เขาเรียกโครงการนี้ว่า มาราอิ จากกันด้วยดีสู่อนาคตใหม่"

สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.อุดรธานี กล่าวต่อว่า วันนี้สวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ได้จัดเจ้าหน้าที่ไปให้คำปรึกษา แก่พนักงาน ลูกจ้างที่จะตัดสินใจ ตั้งแต่พรุ่งนี้ ถึงวันที่ 12 มิ.ย. ทั้งนี้พนักงาน ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ยังจะได้รับเงินจากประกันการว่างงาน หากลาออกจะได้รับ 45 เปอร์เซ็นต์ 90 วัน หากถูกเลิกจ้างได้ 70 เปอร์เซ็นต์ 200 วัน ทำให้บริษัทเพิ่มเงินช่วยในส่วนนี้ เขาบอกว่าหากดำเนินกิจการต่อ อาจจะไม่มีเงินเดือนจ่าย ผลกำไรที่เคยได้รับไป ยังพอนำมาชดเชยให้ทุกคนได้

นายไพรวัลย์ ฤทธิมหา ประธานสหภาพแรงงานน้ำตาลกุมภวาปี เปิดเผยว่า จะร่วมโครงการนี้กับโรงงาน เพราะคงไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ โดยโรงงานให้หยุดพักร้อนพิเศษ ไม่ต้องไปทำงานตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 3 ก.ค.นี้ จากนั้นก็จะพ้นสภาพพนักงาน ซึ่งพนักงานทุกคนคงจะไม่คัดค้าน เพราะเป็นนโยบายผู้ถือหุ้น ถึงคัดค้านไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ตนพอที่จะรู้มาก่อนว่าโรงงานจะปิดกิจการ แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะเร็วขนาดนี้ หลังจากนี้พนักงานทุกคนก็คงจะเริ่มต้นหางานใหม่ทำ พนักงานคนไหนมีที่ดินก็คงจะทำกันไปก่อน และดูสถานการณ์ตั้งหลัก 1-2 เดือนก่อน แล้วใครมีโอกาสไปทางไหนก็ค่อยไป

"ความรู้สึกของผมตอนนี้ก็เสียใจ เพราะด้วยที่ผูกพันกับโรงงานมานาน ทำงานมา 24 ปี เรียนจบตอนปี 40 ฟองสบู่แตก ก็ได้มาทำงานที่นี่ เติบโตจากที่นี่ ซึ่งมาเจอเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้ ค่อนข้างที่จะสะเทือนใจพอสมควร เพราะที่โรงงานนั้นก็เหมือนบ้านอีกหลังหนึ่ง เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ที่โรงงานเกือบทั้งหมด" นายไพรวัลย์ กล่าว

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 8 มิถุนายน 2564

เปิดปฏิบัติการฝนหลวง บรรเทาแล้ง

อธิบดีฝนหลวงฯ วางแผนปฏิบัติการขึ้นบินฝนหลวง เผยลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่อยู่ในเขตชลประทาน และบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางบางส่วน และภาคใต้ เผชิญฝนทิ้งช่วง น้ำไม่พอทำเกษตร

วันที่ 8 มิถุนายน 2564 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ช่วงนี้ประเทศไทยยังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงแม้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วก็ตาม อย่างบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่อยู่ในเขตชลประทานก็ไม่อาจหลีกหนีสภาวะฝนทิ้งช่วงไปได้ รวมไปถึงบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางบางส่วน รวมถึงภาคใต้ ซึ่งจากสภาพอากาศที่ผ่านมาแม้จะเชื่อกันว่าปีนี้อาจจะมีฝนตกเยอะ แต่ความเป็นจริงแล้วฝนยังตกไม่มากพอตามความต้องการของเกษตรกร

ฉะนั้นการปฏิบัติการฝนหลวงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยบรรเทาสภาวะฝนทิ้งช่วงเพื่อให้เกษตรกรสามารถผ่านพ้นสภาวะนี้ไปได้ และจากแผนที่อากาศพื้นผิวของกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อเวลา 07.00 น. ได้มีหย่อมความกดอากาศต่ำทางตอนเหนือของประเทศไทย บริเวณประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม มีโอกาสพัฒนาตัวเป็นร่องฝนส่งผลให้อิทธิของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น

จะทำให้ความชื้นเพิ่มมากขึ้นจึงมีแนวโน้มทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั้งบริเวณทางด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคกลาง และด้านตะวันออกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณชายขอบประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน รวมถึงได้แจ้งเตือนประชาชนในบริเวณดังกล่าวถึงการเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยขอให้ฟังประกาศจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด

สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงฯ เมื่อวานนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ร่วมกับกองทัพอากาศ และกองทัพบก ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 7 หน่วยปฏิบัติการ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว

และสามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนลำปาว เขื่อนน้ำอูน และ

อ่างเก็บน้ำ จำนวน 6 แห่ง

ส่วนด้านการติดตามสภาพอากาศเพื่อวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงเช้าวันนี้ พบว่า ผลการตรวจสภาพอากาศจากสถานีเรดาร์ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง โดย 3 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงมีแผน ที่จะปฏิบัติในช่วงเช้าของวันนี้

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 8 มิถุนายน 2564

สะพัด เตรียมปิดโรงงานน้ำตาลชื่อดัง อุดรธานี เจ้าของทำหนังสือถึง ตร. ขอดูแลความเรียบร้อย

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ตลาดเทศบาลตำบลกุมภวาปี อ.กุมภวาปี มีการเผยแพร่เอกสารผ่าน “ออนไลน์”ของ บ.น้ำตาลกุมภวาปี จก. เจ้าของกิจการโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็น “กลุ่มมิตซุย” และ “บ.มิตซุย ชูการ์ จก.” ลงวันที่ 1 มิ.ย.64 ถึงผู้บังคับการตำรวจ จ.อุดรธานี ขออนุเคราะห์กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาดูแลความปลอดภัย เกี่ยวกับการปิดดำเนินการปิดกิจการบริษัทฯ ที่นายจ้างจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พนักงานมีเงินทุนหลังสิ้นสุดการจ้าง ตามโครงการ MIARI : จากกันด้วยดีสู่อนาคตใหม่

โดยมีกำหนดประชุมชี้แจง – รับเอกสารร่วมโครงการ – เปิดรับสมัครร่วมโครงการ 07.00-12.00 น. วันที่ 8 มิ.ย.64 และเปิดรับสมัครร่วมโครงการ 09.00-16.00 น. 9-12 มิ.ย.64 บริษัทฯจึงใครขอความอนุเคราะห์ ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดูแลความสงบเรียบร้อย ทั้งก่อนและหลังการจัดประชุมเพื่อชี้แจง ตั้งแต่วันที่ 7-30 มิ.ย.64 และ 1-3 ก.ค.64 เพื่อกระจายกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตามจุดต่างๆ ตามแผนภูมิการจัดงาน วันละ 2 นาย ยกเว้น 8 มิ.ย.64 จำนวน 15 นาย โดยทางบริษัทยังไม่ชี้แจงรายละเอียดการปิดโรงงาน

ข้อมูลจากวารสารหอการค้า จ.อุดรธานี ระบุว่า โรงงานน้ำตาลที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2480 บ.ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จก. สร้างโรงงานน้ำตาล 11 โรง รวมทั้ง ฎโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี” ที่ อ.ภุมภวาปี, พ.ศ.2490 ได้โอนโรงงานน้ำตาลทั้งหมดให้กับ “องค์การน้ำตาลไทย” ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ต่อมา พ.ศ.2495 ราคาน้ำตาลตกต่ำ รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง “บ.อุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย จก.” ต่อมาได้ขายโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ให้ บ.บุญเกื้ออุตสาหกรรม จก. ในยุคที่โรงงานน้ำตาลมากถึง 48 โรงงาน เกิดภาวะน้ำตาลล้นตลาด รัฐไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โรงงานน้ำตาลจึงหยุดกิจการไปเป็นจำนวนมาก

พ.ศ.2506 บริษัท บุญเกื้ออุตสาหกรรม จำกัด ได้ขายกิจการให้ บ.ชิบาอุระเซโต ประกอบการโรงงานน้ำตาลในญี่ปุ่น ในนาม บ.ชิบาโต (ประเทศไทย) จก. ต่อมา บ.ชิบาอุระเซโต จก.ได้เชิญกลุ่ม บ.มิตซุย เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รวมทั้งมีนักธุรกิจชาวไทย กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ชาวไร่อ้อย และพนักงานบริษัท เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย จากนโยบายให้ความสำคัญ ต่อการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และเน้นความเป็น “กุมภวาปี” โดยถือเสมือนว่าชาวกุมภวาปีทุกคน มีส่วนเป็นเจ้าของโรงงานนี้ ภายใต้หลักการว่า ธุรกิจและชุมชนควรมีความเจริญก้าวหน้ามั่นคงไปพร้อมๆ กัน ในนาม บ.น้ำตาลกุมภวาปี จก. 9 มกราคม 2517

นายไพบูลย์ ธิติศักดิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ยังไม่ได้รับแจ้งว่าจะปิด รง.น้ำตาลกุมภวาปี ขณะเป็นช่วงการทำสัญญาซื้ออ้อย ระหว่างโรงงานฯกับชาวไร่อ้อย โดยเรื่องการปิดหรือย้ายโรงงาน มีการพูดกันมาหลายปีแล้ว โดยปีที่แล้วผลผลิตอ้อยมีน้อยมาก หากมีการปิดโรงงานจริง ในส่วนของชาวไร่อ้อยไม่น่ามีปัญหา เพราะกลุ่มมิตซุยที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็ถือหุ้นใหญ่ใน รง.น้ำตาลเกษตรผล อ.กุมภวาปีด้วย ซึ่งขณะนี้ รง.น้ำตาลเกษตรผล ได้ขยายโรงงานเพิ่มกำลังผลิต สามารถรองรับอ้อยจาก รง.น้ำตาลกุมภวาปีได้

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย (อีสาน) อดีตประธานหอการค้า จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ยังไม่รู้เรื่องแผนการปิด รง.น้ำตาลกุมภวาปี ขอตรวจสอบแล้วตอบภายหลังว่า ยังไม่มีโอกาสพูดคุยกันผู้ลงทุน มีเฉพาะข้อมูลจากนักธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องของเหตุผล และขั้นตอนของการปิดโรงงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าตกใจ ที่โรงงานที่เติบโตมาคู่กับ อ.กุมภวาปี ระบบเศรษฐกิจมีห่วงโซ่เชื่อมโยงเข้าหากัน ไม่ใช่เพียงชาวไร่อ้อยนำอ้อยมาขายให้โรงงานเท่านั้น หรือแรงงานโรงงาน แต่หมายถึงภาพรวมทั้งหมด

“นักธุรกิจในพื้นที่อธิบายว่า มีแผนปิดโรงงานมานานแล้ว โดยไปขยายกำลังผลิตอีกโรงไว้ ขณะหลายปีที่ผ่านมามี รง.น้ำตาลขยายกำลังผลิต และย้ายเข้ามาตั้งใหม่ เกิดการแย่งซื้ออ้อยเข้าโรงงาน และยังมี รง.แป้งมันมาลงทุนอีก ชาวบ้านหันไปปลูกมันสำปะหลัง รวมทั้ง รง.น้ำตาลกุมภวาปี ไม่คล่องตัวในการแย่งซื้ออ้อย ผลผลิตก็ได้น้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังอยากรู้เหตุผลของโรงงานด้วย ซึ่งเรื่องนี้ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี รับรู้เป็นการเบื้องต้นแล้ว และสั่งให้หน่วยรับผิดชอบลงไปติดตาม หอการค้าฯก็จะไปดูเช่นกัน”

นายพรเทพ จวงทอง อดีตนายก ทต.กุมภวาปี เปิดเผยว่า เรื่องปิดโรงงานหรือย้ายโรงงาน มีข่าวว่าคุยกันมาหลายปีแล้ว แต่ปีนี้ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร วานก่อนก็ยังเงียบๆ อยู่ จนเย็นวานพนักงานในโรงงานมาบอก รง.น้ำตาลกุมภวาปี อยู่คู่กับเมืองใหม่กุมภวาปี มีคนงานประจำราว 300 คน คนงานชั่วคราวช่วงเปิดหีบ 2,000 คน ทุกคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาล ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แม้ชาวไร่จะมีที่ส่งอ้อย การปิดโรงงานก็จะกระทบเศรษฐกิจของ ทต.กุมภวาปี หรือเมืองใหม่กุมภวาปีแน่นอน

นายพรเทพ จวงทอง อดีตนายก ทต.กุมภวาปี ตอบคำถามด้วยว่า พนักงานบอกว่าโรงงานกู้เงินไม่ได้ เราก็ไม่รู้ว่าใช้เหตุผลจริงๆ หรือทั้งหมดไหม เราเองก็อยากจะรู้ และอยากเห็นแผนการปิด ส่วนเรื่องมีปัญหากับชุมชนหรือไม่ ในภาพรวมคืออยู่ร่วมกันมานานมาก จนมีสภาพโรงงานตั้งอยู่ในชุมชน เมื่อปีก่อนมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ร้องเรียนปัญหาควัน-กลิ่น-น้ำเสีย ในฐานะนายกก็เข้าไปติดตาม แก้ไขปัญหากับหน่วยรับผิดชอบ เรื่องนั้นก็จบลงไปแล้ว

นายประชา มีธรรม อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ไม่เคยได้รับจาก รง.น้ำตาลกุมภวาปี ว่าจะปิดกิจการมาก่อน รวมทั้งไม่ได้รับการส่งสัญญาณมา ขณะเดียวกันช่วงนี้โรงน้ำตาล “ปิดหีบ” โดยหน้าที่ของ สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด ก็เป็นเพียงผู้ออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามกฎหมาย บางทีมีโรงงานไม่ได้ดำเนินกิจการแล้ว มาขออนุญาตปิดภายหลังก็มี วันพรุ่งนี้คงไม่ไปติดตามการชี้แจงของโรงงาน ถ้าจะไปเกี่ยวข้องก็ต้องกระทบชาวบ้าน การปิดกิจการก็น่าจะกระทบกับแรงงานมากกว่า ขณะเดียวกันช่วงนี้ทุกฝ่ายกำลังคุมเข้ม ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 7 มิถุนายน 2564

“จุรินทร์” ขอให้เวียดนาม เร่งแก้ไขภาษีน้ำตาล-ส่งออกสุกร

“จุรินทร์” เผยหลังทูตเวียดนามเข้าพบ เพื่อหารือแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า อำนวยความสะดวกสินค้าผ่านด่านไปจีน ผ่อนคลายกฎระเบียบขึ้นทะเบียนยา ขึ้นภาษีน้ำตาล และเปิดทางส่งออกสุกร พร้อมนัดประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ส.ค. นี้ ตั้งเป้าเพิ่มการค้า 2 ฝ่ายเป็น 7.5 แสนล้านบาท

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังนาย ฟาน จี๊ ทัญ เอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ ที่กระทรวงพาณิชย์ ว่าไทยได้ใช้โอกาสนี้ ขอให้เวียดนามช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน โดยขอให้ช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด่านเพื่ออำนวยความสะดวกสินค้าไทยผ่านเวียดนามไปจีน เพราะประสบปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะด่านเวียดนามที่จะผ่านไปด่านโหย่วอี้กวนของจีน

สำหรับไทยและเวียดนามได้ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าระหว่างกันจากปัจจุบัน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 500,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 750,000 ล้านบาท โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่อาวุโสทั้ง 2 ประเทศ หารือกันว่าจะต้องใช้เวลากี่ปี และนำมาหารือร่วมกันในการประชุม JTC ในเดือน ส.ค. 2564 ต่อไป

ส่วนการค้าไทย-เวียดนามในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่า ได้ 517,524 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปเวียดนาม 346,063 ล้านบาท ซึ่งเวียดนามถือคู่ค้าอันดับ 6 ของไทยในโลก และเป็นลำดับ 3 ในอาเซียน และในช่วง 4 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-เม.ย.) การค้าไทย-เวียดนาม เพิ่มขึ้นถึง 20% สินค้าที่ไทยส่งออกไปเวียดนาม ส่วนมากเป็นรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และสินค้าที่เวียดนามส่งมาไทย เช่น โทรศัพท์มือถือ น้ำมันดิบ เป็นต้น

ทั้งนี้ ไทยยังได้ขอให้เวียดนามผ่อนคลายกฎระเบียบหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนยา ที่มีความซับซ้อน ให้เป็นมาตรฐานอาเซียนหรือองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อช่วยการส่งออกยาไปเวียดนาม เพราะเอกชนผู้ผลิตยาไทยได้ให้ข้อมูลมาที่กระทรวงพาณิชย์ และขอให้ช่วยเหลือ ส่วนเรื่องน้ำตาล ขอให้พิจารณาผ่อนคลายมาตรการให้เป็นไปตามกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) หลังมีการขึ้นภาษี

โดยใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ทำให้ภาษีเพิ่มขึ้น และกรณีสุกร ขอให้ช่วยประสานทางการเวียดนามให้ผ่อนคลายมาตรการ เพื่อให้สุกรคุณภาพจากไทยส่งออกไปเวียดนามได้สะดวก โดยยืนยันว่าไทยเข้มงวดเรื่องสุขอนามัยและการส่งออกมาก และมีการตรวจสอบทุกล็อต

นอกจากนี้ ขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์งานจับคู่ธุรกิจออนไลน์ระหว่างไทย-เวียดนาม ที่ไทยกำหนดจัดขึ้นในช่วงวันที่ 4-5 ส.ค.2564 เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันด้วย

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นที่ทูตเวียดนามนำมาหารือ คือ ปีนี้ ประเทศไทยต้องเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมการค้า (JTC) ไทย-เวียดนาม แต่ติดสถานการณ์โควิด-19 จึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่าควรจะจัดในเดือนส.ค.2564 และท่านทูตยังได้สนับสนุนความเห็นของตนที่ให้ความเห็นในการประชุมเอเปก ในประเด็นที่ไทยสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ สามารถใช้สิทธิในการผลิตวัคซีน โดยเหตุผลสุขอนามัยของประชาชน หรือที่เรียกว่า CL วัคซีน หรือการใช้มาตรการทริปส์ ที่ให้ถือว่าวัคซีนปลอดการบังคับใช้สิทธิบัตรชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ สามารถผลิตวัคซีนได้ จะได้กระจายวัคซีนไปทั่วโลก ทั้งประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา

อย่างไรก็ดี เบื้องต้นจากการหารือทางท่านทูตเวียดนาม ได้ให้การสนับสนุนความเห็นของตนเรื่องนี้ และขณะนี้ ประเทศไทย มีโรงงานผลิตวัคซีนเอง คือ สยามไบโอไซเอนซ์ ถ้ามาตรการทั้งสองอันนี้บังคับใช้ได้ ไทยมีโอกาสในการช่วยผลิตวัคซีนและส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่ต้องการ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนของเราและเวียดนามได้ด้วย

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 7 มิถุนายน 2564

โรงงานขนาดใหญ่ 3,300 แห่ง ต้องตรวจประเมินตนเอง ให้เสร็จภายใน 15 มิ.ย.นี้

สกัดโควิดลามโรงงาน “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” ร่อนหนังสือถึงผู้ประกอบการทุกโรงงาน ตรวจประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Thai Stop Covid Plus และ Thai Save Thai เริ่ม 3,304 โรงงานขนาดใหญ่เสร็จภายในวันที่ 15 มิ.ย. นี้ ที่เหลืออีก 3,100 โรง ต้องเสร็จสิ้นเดือน มิ.ย. รายใดฝืนเตรียมรับโทษทันที

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากที่ประชุม ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ให้เป็นเจ้าภาพหลักขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในสถานประกอบกิจการโรงงาน ด้วยการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือโรงงานกว่า 60,000 โรงทั่วประเทศ ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในสถานประกอบกิจการโรงงาน (Good Factory Practice : GFP) ของสาธารณสุข

โดยประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Thai Stop Covid Plus ทุก 2 สัปดาห์ และให้พนักงานประเมินด้วย Thai Save Thai ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ตั้งเป้าให้โรงงานทุกแห่งดำเนินการภายใน 30 มิถุนายนนี้

“ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในแรงงานภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องหยุดประกอบกิจการ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบกิจการโรงงาน และเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ซึ่ง ศบค. ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพในการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการโรงงาน ผมจึงสั่งการเร่งด่วนให้ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด แจ้งขอความร่วมมือสถานประกอบการ ดำเนินการประเมินตนเองตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาขึ้น ได้แก่ Thai Stop Covid Plus ซึ่งเป็นข้อแนะนำทางด้านสาธารณสุข ในการป้องกันการแพร่ระบาด ประกอบด้วย มาตรการ/แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อ ซึ่งผู้ประกอบการต้องประเมินตนเองอย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์

ในส่วนของพนักงานทุกคน ต้องประเมินตนเอง โดยใช้แพลตฟอร์ม Thai Save Thai ซึ่งยกระดับการคัดกรองคนก่อนเข้าโรงงานอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันผู้มีความเสี่ยงไม่ให้เข้ามาปฏิบัติงานและแพร่เชื้อในสถานประกอบการ รวมทั้งการสนับสนุนให้พนักงาน สมัครใจเข้าร่วมโครงการ “ก้าวท้าใจ” ด้วยการออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรค

โดย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดแจ้งไปยังผู้ประกอบการ และให้หน่วยงานในสังกัดทั้ง 3 ติดตามการดำเนินการของสถานประกอบการ ซึ่งตั้งเป้าหมายสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ คนงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป (จำนวน 3,304 โรง) ต้องทำการประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop Covid Plus และ Thai Save Thai ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 และโรงงานทั้งหมด (ประมาณ 64,000 โรง) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งขณะนี้มีโรงงานเข้าสู่ระบบทำการประเมินแล้วประมาณ 20% เท่านั้น หากโรงงานใดไม่ให้ความร่วมมืออาจจะมีการพิจารณาบทลงโทษต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างประชุมหารือ”

ด้าน นายเดชา จาตุธนานันนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤต กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบดังกล่าวจะเป็นเช็กลิสต์ข้อแนะนำออนไลน์เพื่อให้ผู้ประกอบการและพนักงานทุกคนประเมินและจัดการความเสี่ยง โรงงานจะได้เรียนรู้วิธีการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และมาตรการเสริมอื่น ๆ

รวมทั้งข้อแนะนำหากพบผู้ติดเชื้อต้องทำอย่างไร ตลอดจนคำแนะนำในการกักตัว เพื่อทำให้ทราบว่ามาตรการที่ดำเนินการอยู่ของแต่ละโรงงาน ผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสาธารณสุข ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ คือการปรับตัวสู่การทำงานวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อให้โรงงานปลอดโควิด พนักงานปลอดภัย ขณะที่ภาครัฐเองก็มีข้อมูลในการกำกับดูแล (Monitor) ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกัน ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงแรงงาน

ทั้งนี้ โรงงานที่ประเมินผ่านแฟลตฟอร์ม Thai Stop Covid Plus แล้ว มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะมีทีมตรวจประเมินของรัฐเข้าไปช่วยเหลือ โดยกระทรวงฯ จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เช่น จังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัด ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม เพื่อสนับสนุนโรงงานให้ผ่านเกณฑ์ฯ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากพบพนักงานติดเชื้อโรงงาน จะต้องดำเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุก แยกผู้ติดเชื้อไปรักษาและผู้ใกล้ชิด ต้องกักตัว และหากโรงงานใดพบมีการติดเชื้อมากกว่า 10% จะคงยังใช้หลักการ Bubble & Seal (โรงงานจัดหาที่พักให้อยู่ในสถานที่ที่กำหนด และให้โรงงานจัดหาที่พักให้พนักงานอยู่ภายในโรงงาน เพื่อสามารถควบคุมโรคจนกว่าสถานการณ์ การติดเชื้อกลับสู่ปกติ) และสั่งปิดโรงงานเพื่อควบคุมเชื้อโควิด-19 ไม่ให้ออกสู่สังคมภายนอก เช่นเดียวกับเคสที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมา มั่นใจว่ามาตรการที่ ศบค. มอบหมายให้กระทรวงมาช่วยขับเคลื่อน จะสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรมได้

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 7 มิถุนายน 2564

กรมชลฯ เร่งบริหารน้ำในภาวะวิกฤต ช่วยประชาชนมีน้ำเพียงพอ ตามที่รบ.สั่งการ

รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วง จึงได้สั่งการให้กรมชลประทาน และทุกหน่วยงาน ประสานความร่วมมือกันเร่งให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน ซึ่งกรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นปรากฏการทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องบริหารจัดการน้ำอย่างปราณีต ควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน และได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานวางแผนเก็บกักน้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้มีน้ำพอใช้ในฤดูแล้งหน้าด้วย

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ปัจจุบัน (7 มิ.ย.64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 34,904 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 10,974 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 8,153 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 1,457 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งในขณะนี้มีการเพาะปลูกข้าวนาปี 64 ไปแล้วทั้งประเทศรวม 5.6 ล้านไร่ คิดเป็น 33.6% ของแผน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 3.7 ล้านไร่ คิดเป็น 47.1% ของแผน

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งดำเนินการตามแผนให้ความช่วยเหลือพื้นที่ข้าวนาปีที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนทิ้งช่วง และประกอบกับปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนต่างๆมีปริมาณน้อย คาดว่าจะพอใช้ถึงเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้พื้นที่การเกษตรได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงจำเป็นต้องทำการจัดสรรน้ำตามรอบเวรให้กับพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะข้าวนาปีที่ทำการเพาะปลูกไปแล้ว เพื่อไม่ให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก ขอให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อน จนกว่าจะมีฝนตกชุกในพื้นที่สม่ำเสมอและมีน้ำเพียงพอ

นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ บริหารจัดการน้ำตามมาตรการที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ตามนโยบายของรัฐบาล โดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี วางแผนการปลูกพืชโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก เน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเก็บกักน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ควบคู่ไปกับการวางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย การกำหนดพื้นที่เสี่ยง กำหนดเจ้าหน้าที่ กำหนดเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าไปประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที และยังกำชับให้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและรอบเวรการใช้น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้เฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด หากประชาชนหรือหน่วยงานใดมีต้องการความช่วยเหลือสามารถโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา

จาก https://siamrath.co.th  วันที่ 7 มิถุนายน 2564

ไร่อ้อยปลูกต่อเนื่องระวังจักจั่น

กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในทุกภาคของประเทศไทย ให้เฝ้าระวังการระบาดของจักจั่นในไร่อ้อยโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกอ้อยต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้พบการเข้าทำลายของจักจั่นอ้อยในหลายพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อย และเริ่มพบตัวเต็มวัยจากตัวอ่อนที่อยู่ในดินได้ขุดดินขึ้นมาเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ ประกอบกับปีที่ผ่านมามีการระบาดของจักจั่นในพื้นที่ปลูกอ้อยภาคกลางได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง พื้นที่มากกว่า 6,000 ไร่ และพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวขยายเป็นวงกว้าง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกอ้อยอย่างสม่ำเสมอ

โดยให้สังเกตการวางไข่ของจักจั่นตัวเมียจะเจาะเส้นกลางใบอ้อยเป็นรูเล็กๆเพื่อวางไข่ มักพบที่ใบแก่สีเขียว ในใบที่ 3-5 นับจากใบล่าง จากนั้นเส้นกลางใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 1-2 เดือน ฟักจากไข่กลายเป็นตัวอ่อนทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน อาศัยอยู่ในดินที่ความลึก 30 ซม. ถึง 2.5 ม. นาน 6-8 เดือน เป็นระยะที่สร้างความเสียหายให้กับอ้อยมากที่สุด ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากอ้อย ทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น เหี่ยวและแห้งตาย

และเมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่จะขุดรูโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินและจะไต่ขึ้นมาบนลำต้นอ้อยเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย เตรียมพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ต่อไป

หากพบการระบาดของจักจั่นอ้อยให้แจ้งเกษตรกรแปลงปลูกข้างเคียงให้เฝ้าระวัง และรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชที่อยู่ใกล้เคียงทราบ

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุม ป้องกันกำจัดการระบาดแล้ว.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 7 มิถุนายน 2564

แผนจัดการน้ำ 20 ปี สู้ ทั้งแล้ง...ทั้งท่วม

แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นให้ “ประเทศไทย” มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็น...ประเทศที่พัฒนาแล้ว

ด้วยมีหัวใจสำคัญของการพัฒนาตามหลัก...ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ว่านี้จะประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1...การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค

ด้านที่ 2...การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต ด้านที่ 3...การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย ด้านที่ 4...การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ด้านที่ 5...การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และสุดท้าย ด้านที่ 6...การบริหารจัดการ

ประเด็นสำคัญมีว่าแผนบริหารจัดการข้างต้นนี้กำหนดหน่วยงานหลักและสนับสนุนกว่า 40 หน่วยงาน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา “แหล่งเก็บกักน้ำ”...ระบบกระจายน้ำใหม่ ไม่น้อยกว่า 13,439 ล้าน ลบ.ม.

ที่สำคัญ...คือการเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ 18 ล้านไร่ ภายในปี 2580

เชื่อมโยงบูรณาการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่... กำหนดพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านน้ำซ้ำซาก ทั้ง น้ำแล้ง น้ำท่วม และ คุณภาพน้ำ รวมถึงพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ หรือแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งต้องจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่เกิดขึ้นรวม 66 พื้นที่

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉายภาพอีกว่า...โครงการสำคัญที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ Area Based...การพัฒนาพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ ต้องขับเคลื่อนภายในปี 2566 มี 526 โครงการ

แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 151 โครงการ, โครงการขนาดใหญ่, โครงการที่ต้องบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน จำนวน 106 โครงการ

นอกจากนี้ยังมีโครงการสำคัญเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาด้านน้ำตามนโยบาย 269 โครงการ กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ และเพื่อให้งานเดินหน้าอย่างเป็นระบบ “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็ก เพื่อพิจารณาแผนงานโครงการขนาดเล็ก

ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็กให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี

ย้ำว่า...ภายในปี 2566 มีแผนขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็กจำนวน 24,071 โครงการ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ สูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมา...เป็นภาคเหนือ และภาคกลาง

ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำคู่มือ “แนวทางการจัดทำแผนงานโครงการ และแผนปฏิบัติการโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก” พร้อมกำหนดหน่วยงานพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนแก่ท้องถิ่น

อาทิ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมากยิ่งขึ้น

“ผลสัมฤทธิ์”...ที่เป็นรูปธรรม คือ ความสำเร็จในการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ โดยการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในนาม “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ” เน้นการวิเคราะห์...ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงล่วงหน้า เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทางในการป้องกันแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลทำให้...“ฤดูแล้ง” ปี 2563/64 ไม่มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมถึงปี 2562 เป็นปีที่มีสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงเป็นลำดับ 2 รองจากปี 2558 แต่การบริหารจัดการน้ำในเชิงป้องกัน ทำให้มีหมู่บ้านที่ได้รับการประกาศสถานการณ์ภัยแล้งเพียง 30 จังหวัด 891 ตำบล ใน 7,662 หมู่บ้าน

น่าสนใจว่า...น้อยกว่าการบริหารจัดการน้ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับการเตรียมมาตรการรับมือใน “ฤดูฝน” ที่ผ่านมา... ทำให้ปี 2562 ซึ่งเป็นปีแรกที่รัฐบาลเข้ามาบริหารงาน มีความเสียหายเพียง 94 ล้านบาท ต่ำสุดในรอบ 9 ปี...

และในปี 63 มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 58 จังหวัด มูลค่าความเสียหาย 223 ล้านบาท ต่ำสุดเป็นลำดับที่ 3 ในรอบ 9 ปี หากยังพอจะจำกันได้... ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ “มหาอุทกภัย” ปี 2554 เลยทีเดียว

ตอกย้ำ...ผลการดำเนินงาน ช่วงปี 2561-2563 มีการพัฒนาแหล่งน้ำต่อเนื่องรวม 125,162 แห่ง วงเงิน 314,182 ล้านบาท ควบคู่ไปกับการขยายเขต พัฒนาประปาเมือง...พื้นที่เศรษฐกิจ 558 แห่ง

เชื่อมโยงไปถึงภาพรวมครบทุกมิติ การฟื้นฟูพื้นที่แหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน 208 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำชุมชน 0.91 ล้าน ลบ.ม. พัฒนาแหล่งเก็บน้ำ 635.35 ล้าน ลบ.ม. ระบบบาดาลเพื่อการเกษตร 100.28 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป้องกันตลิ่ง 59 กม. ปรับปรุงทางน้ำ 223 แห่ง เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย 12 แห่ง

ที่ต้องไม่ลืมและขาดไม่ได้ก็คือ...ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 135,170 ไร่

“ประเทศไทย”...ถือเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องมาจากลักษณะที่ตั้งของประเทศที่อยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร และวางตัวอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพของ “พืช” และ “สัตว์”

ทรัพยากรเหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญของการผลิตใน...“ภาคเกษตร” ทั้งยังเป็นต้นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญสำหรับ...“ภาคบริการ” และ...“การท่องเที่ยว”

มิติข้อมูลเกี่ยวกับ “น้ำ” ที่สำคัญพบว่า มีปริมาณน้ำท่าในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 845,300 ล้าน ลบ.ม. ผ่านการซึมซับลงพื้นดิน นำไปใช้ประโยชน์ และการเก็บกักในแหล่งน้ำต่างๆ

คงเหลือ...ไหลออกนอกลุ่มน้ำเฉลี่ยปีละ 259,500 ล้าน ลบ.ม.

จากการสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพแหล่งเก็บน้ำทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและแหล่งน้ำธรรมชาติ พบอีกว่า ประเทศไทยมีแหล่งเก็บน้ำผิวดินรวม 82,950 ล้าน ลบ.ม. มีความต้องการน้ำเฉลี่ยปีละ 113,740 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำที่เก็บกักได้เทียบกับความต้องการน้ำตามช่วงฤดูกาล...

พบว่า มีปริมาณน้ำขาดในช่วงฤดูแล้ง 18,460 ล้าน ลบ.ม. และในฤดูฝนมีปริมาณน้ำเกินประมาณ 24,560 ล้าน ลบ.ม.

จากเงื่อนปัญหาสำคัญนี้ จึงทำให้เกิด “แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี” ขึ้นมาเพื่อบูรณาการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง

“น้ำ” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หมุนเวียนไม่มีวันหมดแต่นำมาใช้ได้อย่างจำกัด เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาตินี้ “รัฐบาล”...ให้จัดทำแผนแม่บทเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำของประเทศ ป้องกัน บรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ตัวแปรสำคัญคือความต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 เพื่อให้สามารถกำกับ ควบคุม การอนุรักษ์ พัฒนา ดูแลรักษาทรัพยากรน้ำให้เหมาะสม

มุ่งหมายให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง “หลักประกันด้านน้ำ” ได้อย่างเป็นธรรม...ยั่งยืน เพิ่มความมั่นคงของน้ำทั้งประเทศ... “น้ำ” คือ “ชีวิต” ทุกสรรพสิ่งต้องพึ่งพา ไม่ว่าวันนี้หรือวันข้างหน้า.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 7 มิถุนายน 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ  31.16 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท-ยังมีทิศทางเคลื่อนไหวในกรอบ - ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เชื่อว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนและแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดกลับมากังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.16 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า”ขึ้นจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ -มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 31.05-31.35 บาท/ดอลลาร์ -ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.10-31.20 บาท/ดอลลาร์

นายพูน   พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า แนวโน้มของค่าเงินบาทจะยังมีทิศทางเคลื่อนไหวในกรอบ (Sideways) ตามเงินดอลลาร์ และ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเราเชื่อว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนและแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดกลับมากังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น อนึ่ง เงินดอลลาร์อาจไม่ได้แข็งค่าไปมาก เพราะสกุลเงินอื่นๆ อาทิ เงินยูโร หรือ สกุลเงินเอเชียก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้น หากข้อมูลเศรษฐกิจในยุโรปและเอเชียออกมาดีเกินคาด ทั้งนี้ในส่วนของฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรามองว่ายังคงต้องติดตามการแจกจ่ายวัคซีน เพราะการแจกจ่ายวัคซีนที่ดีต่อเนื่องจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติและหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ อย่างไรก็ดี เรากังวลว่า การแจกจ่ายวัคซีนอาจมีปัญหาในระยะแรก ทำให้เงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบ (Sideways) จนกว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะเร่งตัวขึ้นได้  สัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด ได้ช่วยคลายกังวลโอกาสที่เฟดจะปรับลดคิวอีเร็วขึ้น ทำให้ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงหนัก ฉุดให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงตามสำหรับสัปดาห์นี้ ควรจับตา ทิศทางเงินเฟ้อสหรัฐฯ พร้อมกับ การฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก อาทิ ภาคการส่งออกของเอเชีย รวมถึง ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้ในฝั่งสหรัฐฯ แนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะช่วยหนุนให้ความต้องการแรงงานยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนผ่าน ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTS Job Openings) ที่อยู่ในระดับสูงถึง 8.4 ล้านตำแหน่ง ทั้งนี้ การจ้างงานที่ดีขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้นตามการแจกจ่ายวัคซีนจะช่วยทำให้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (UofMichigan Consumer Sentiment) เดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 84.2 จุด อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการจ้างงานที่ดีขึ้น แต่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ก็ยังคงเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงานอยู่ หลังจากที่ยอดการจ้างงานอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นเพียง 5.6 แสนตำแหน่ง เนื่องจากผู้ว่างงานบางส่วนยังคงพอใจกับสวัสดิการการว่างงาน ขณะที่บางส่วนก็ยังไม่พร้อมสำหรับ New Normal ของการทำงาน อาทิ การทำงานจากบ้าน ซึ่งภาวะขาดแคลนแรงงานจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาด้านอุปทานที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนพฤษภาคมยังอยู่ในระดับสูงถึง 4.7% ซึ่งก็ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดการเงินยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) เดือนมิถุนายนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 25.4 จุด ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) เดือนมิถุนายนก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 86 จุด หนุนโดย ภาพเศรษฐกิจเยอรมนีที่ฟื้นตัวดีขึ้น หลังการเร่งแจกจ่ายวัคซีนสามารถคุมการระบาดได้ดีขึ้นและช่วยให้รัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown นอกจากนี้ เรามองว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป ทั้งคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาทิ Deposit Facility Rate ที่ระดับ 0.50% พร้อมกับเดินหน้าซื้อสินทรัพย์อย่างน้อย 8.5 หมื่นล้านยูโร ต่อเดือน  เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ขณะที่ในฝั่งเอเชีย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในโซนเอเชียยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกเป็นสำคัญ สะท้อนผ่านยอดการส่งออกของหลายประเทศที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไต้หวันที่ยอดการส่งออก (Exports) ในเดือนพฤษภาคมจะโตขึ้นกว่า 30%y/y จากความต้องการชิพและแผงวงจรที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนในฝั่งจีน ยอดการส่งออกในเดือนพฤษภาคม ก็จะขยายตัวกว่า 32%y/y เช่นกัน หนุนโดยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีนจะทำให้ความต้องการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการนำเข้า (Imports) เพิ่มขึ้นกว่า 50%y/y ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนพฤษภาคม ที่จะเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 8.5% จาก 6.8% ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ที่จะเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 1.6% จาก 0.9% ในเดือนก่อน และในฝั่งไทย ปัญหาการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของการแจกจ่ายวัคซีน จะกดดันความเชื่อมั่นของประชาชนต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) เดือนพฤษภาคมที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 44 จุด

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 7 มิถุนายน 2564

“จุรินทร์”ถกทูตเวียดนาม แก้ปมเอดีน้ำตาล-นำเข้าหมูมีชีวิต

รายงานข่าวจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะหารือกับนายฟาน จี๊ ทัญ เอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย ถึงแนวทางขยายมูลค่าการค้าระหว่างกัน แนวทางความร่วมมือการค้าระหว่างสองประเทศหลังจากควบคุมการแพร่ระบาดโควิดเรียบร้อยแล้ว และความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เวียดนาม รวมถึงการผลักดันการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสินค้าไทยไปเวียดนาม ประเด็นการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)สินค้าน้ำตาลและการส่งออกสุกรของไทย

ก่อนหน้านี้กรมการค้าต่างประเทศ ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวียดนามจะเก็บภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายเพิ่มจากไทย เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และชาวไร่อ้อยเวียดนาม จากที่ได้มีการยื่นไต่สวนตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ใน 2 ประเด็นคือ การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งมีการพิจารณาจากราคาขายในประเทศหน้าโรงงานที่มีราคาสูง แต่ราคาส่งออกต่ำทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของเวียดนามเสียหาย

สำหรับอัตราภาษี น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ เวียดนามจะมีการเก็บภาษีการทุ่มตลาด 44.23% และภาษีการอุดหนุนอีก 4.65% ส่วนน้ำตาลทรายดิบ เก็บที่ 29.23% และภาษีการอุดหนุนอีก 4.65% จากเดิมที่อัตราเป็นศูนย์ทั้งสองประเภททั้งนี้เวียดนามมีการส่งแบบสอบถามให้เอกชนไทย และหน่วยงานภาครัฐตอบคำถามในประเด็นการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เช่น ราคา นโยบายการอุดหนุน เช่น โครงการของบีโอไอการยกเว้นอาการนำเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก สินเชื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย ซึ่งผลการสอบสวนเบื้องต้น พบว่าเข้าข่ายอุดหนุนและทุ่มตลาด จึงใช้มาตรการชั่วคราวเก็บภาษี เพื่อปกป้องการทุ่มตลาด 120 วันจนกว่าการไต่สวนจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

ส่วนกรณีสุกรไทยนั้นเป็นผลจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้ส่งจดหมายถึงสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงฮานอย แจ้งว่าเวียดนามจะห้ามนำเข้าสุกรขุนมีชีวิตจากประเทศไทย มีผลวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป โดยระบุสาเหตุจากตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF)ในสุกร ซึ่งในประเด็นดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับพบว่าสุกรล็อตดังกล่าวพบผลการสุ่มตรวจโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทางห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดก่อนการส่งออกไปยังเวียดนาม ปรากฏว่าไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาแต่อย่างใด ซึ่งไทยจะเร่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด แล้วสรุปรายงานให้ทางเวียดนามทราบสำหรับในปี 2563 ไทยมีการส่งออกน้ำตาลทรายมูลค่า  55,668 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 42% โดยเวียดนามเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย โดยไทยส่งออกไปเวียดนามมูลค่า 13,181 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 376% ส่วนช่วง 4 เดือนแรกปี 2564 ไทยส่งออกน้ำตาลทราย 13,967 ล้านบาท ในจำนวนนี้ไทยส่งอออกเวียดนามเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และกัมพูชา โดยไทยส่งออกไปเวียดนาม 2,571 ล้านบาท ลดลง 37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 6 มิถุนายน 2564

กรมชลประทาน เร่งลำเลียงน้ำช่วยพื้นที่ตอนล่าง

กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา วางแผนควบคุมการใช้น้ำในแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา เพื่อเร่งลำเลียงน้ำลงสู่พื้นที่ทางตอนล่าง ช่วยเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีไปก่อนหน้านี้แ ละสนับสนุนน้ำเพื่อการผลิตประปา

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นปรากฏการทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องบริหารจัดการน้ำอย่างปราณีต ควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ซึ่งได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานวางแผนเก็บกักน้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้มีน้ำพอใช้ในฤดูแล้งหน้าด้วย

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 34,980 ล้าน ลบ.ม. หรือ 46% ของความจุอ่างฯรวมกัน มีน้ำใช้การได้เพียง 11,049 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 8,187 ล้าน ลบ.ม. หรือ 33% ของความจุอ่างฯรวมกัน มีน้ำใช้การได้เพียง 1,491 ล้าน ลบ.ม กรมชลประทาน เร่งลำเลียงน้ำช่วยพื้นที่ตอนล่าง

ในขณะที่ลุ่มเจ้าพระยา มีพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีปี 64 ไปแล้วกว่า 3.7 ล้านไร่ หรือ 47% ของพื้นที่ทั้งหมด ในส่วนของสำนักงานชลประทานที่ 12 มีการเพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้วประมาณ 1.2 ล้านไร่ คิดเป็น 56%ของแผนเพาะปลูก ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำนักงานประชลทานที่ 12 ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ไปแล้ว 42 เครื่อง และเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 64 ที่ผ่านมา ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีระดับต่ำมาก จนไม่สามารถไหลเข้าโครงการเจ้าพระยาใหญ่ผ่านคลองส่งน้ำชัยนาท-ป่าสักได้โดยแรงโน้มถ่วง เบื้องต้นกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดใหญ่รวม 8 เครื่อง ทำการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คลองส่งน้ำชัยนาท – ป่าสัก ที่ประตูระบายน้ำมโนรมย์วันละประมาณ 1.5 ล้าน ลบ.ม. ช่วยสนับสนุนการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค 7 สาขา และการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 24 แห่ง รวม 31 แห่ง ให้มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ กรมชลประทาน เร่งลำเลียงน้ำช่วยพื้นที่ตอนล่าง

ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับสถารการณ์ในภาวะเร่งด่วนนี้ กรมชลประทาน ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ลงมาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว ได้เดินทางมาถึงเขื่อนเจ้าพระยาแล้วเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย. 64) จึงได้สั่งการให้สำนักงานชลประทานที่ 3 และ 4 ที่อยู่ทางตอนบน ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ รวมทั้งขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำในแม่น้ำสายหลัก (แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา) และลำน้ำสาขา เป็นการชั่วคราวพร้อมขอความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกรให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ปฏิบัติตามรอบเวรการใช้น้ำอย่างเคร่งครัด เพื่อแบ่งปันน้ำให้ทั่วถึงกัน ทั้งนี้ได้เร่งลำเลียงน้ำลงสู่พื้นที่ตอนล่างให้มากที่สุด เพื่อบรรเทาและลดผลผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนให้มากที่สุด และให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 6 มิถุนายน 2564

สนช. ชวนเกษตรกรทั่วประเทศ เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ จาก 15 สตาร์ตอัพ

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า จากการสำรวจระบบนิเวศสตาร์ตอัพด้านการเกษตรในประเทศไทย หนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญ คือ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ทั้งจากการรับรู้และความไม่เข้าใจถึงเทคโนโลยี หรือบริการ รวมทั้งยังขาดการเชื่อมโยงให้รู้จักผลิตภัณฑ์

เนื่องจากเกษตรบางส่วนยังมีความกังวลถึงความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ และทักษะในการใช้งาน ประกอบกับแรงงานในภาคการเกษตรมีอายุเฉลี่ยที่สูงขึ้น จึงต้องมีการเร่งสร้างเพื่อให้เกิดสังคมที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ดังนั้น แพลตฟอร์ม AgTech Connext จึงเป็นสะพานเชื่อมให้กับสตาร์ตอัพด้านการเกษตรให้มีโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และเป็นช่องทางให้กับกลุ่มเกษตรกรได้รับรู้ รวมทั้งโอกาสนำไปประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดจากสตาร์ตอัพการเกษตรของไทยเพิ่มกระจายในวงกว้างขึ้น

ทั้งนี้ 15 สตาร์ตอัพที่ผ่านการคัดเลือก มีเทคโนโลยีพร้อมใช้งาน หรือบริการที่ช่วยแก้ปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่การบริหารจัดการฟาร์มด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ และการควบคุมด้ายเทคโนโลยีที่แม่นยำ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่จะช่วยยืดอายุสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และระบบตลาดที่จะส่งสินค้าเกษตรให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงความต้องการ

งานนี้ เกษตรกรทุกกลุ่ม ทุกประเภท ต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยการทำเกษตรให้ง่ายขึ้น ผลผลิตดีขึ้น ลดต้นทุน ทุ่นแรง ขอเชิญสมัครเข้าร่วมได้ที่ https://forms.gle/ncRXtL1DA9Cob3mKA ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 02-017 5555 ต่อ 552 – มือถือ 098-257 0888

จาก https://www.khaosod.co.th   วันที่ 6 มิถุนายน 2564

เศรษฐกิจโลกฟื้น ดันลงทุนครึ่งปีหลังสดใส

หุ้นตราสารหนี้ กองทุน ยังให้ผลตอบแทนดี โบรกแนะลงทุนหุ้นรับประโยชน์เศรษฐกิจฟื้น ด้านสมาคมตราสารหนี้ไทย คาดปีนี้เอกชนออกหุ้นกู้ตามเป้าหมาย ส่วนบลจ.แนะเก็บกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศเข้าพอร์ต 80%

เหลือแค่ 1 เดือนก็จะพ้นช่วงครึ่งแรกปี 2564 การลงทุนยังคงผันผวนตามสถานการณ์และอาจดูดีขึ้นบ้างจากปัจจัยต่างประเทศที่เศรษฐกิจประเทศหลักเริ่มฟื้นตัว ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกให้ฟื้นตาม ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่ยังทรงตัวระดับสูง รวมถึงเสียชีวิตต่อเนื่อง แต่ยังมีความหวังจากการปูพรมฉีดวัคซีนและเพิ่มยี่ห้อวัคซีนทางเลือกมากขึ้น ทำให้ช่วงที่เหลือปีนี้ บรรยากาศจะคลี่คลายมากขึ้นและค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นได้

รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทย,ตลาดตราสารหนี้ไทยและกองทุนรวมมีแนวโน้มดีขึ้น โดยดัชนีหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีถึง 28 พฤษภาคม 2564 เพิ่มขึ้น 168.20 จุด หรือ 11.61% ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล(บอนด์ยีลด์)เพิ่มขึ้น 0.58%, 5 ปีเพิ่มขึ้น 0.46% และ 1 ปีเพิ่มขึ้น 0.11% ขณะที่กองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2564 คือ กองทุนรวม Commodities Energy ที่ 32.86%, Equity Small/Mid-Cap ที่ 20.09% และ Equity Fix Term ที่ 19.70% เศรษฐกิจโลกฟื้น ดันลงทุนครึ่งปีหลังสดใส

นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจผู้อำนวยการอาวุโสและนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย)จำกัดเปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยไตรมาส 3 ปี2564 ยังได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียน (บจ.)และสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่ช่วงปลายไตรมาส 3-4 อาจเห็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดการทำมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (คิวอี) ซึ่งจะทำให้กระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐและประเทศที่พัฒนาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่เหลือของปีนี้ มองว่าหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นคือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มปิโตรเคมี โดยยังคงซื้อเก็งกำไรได้ แต่ยังมีความเสี่ยงจากราคาที่สูงขึ้น ต้องรอจังหวะที่เหมาะสม ส่วนกลุ่มที่ปลอดภัยคือ กลุ่มสื่อสาร ที่แม้พื้นฐานไม่ค่อยดีนักแต่ภาพรวมยังดีจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานในปัจจุบันที่ต้องใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ที่ผ่านมาเป็นกลุ่มที่ราคาปรับขึ้นน้อยที่สุด ส่งผลให้ราคาในปัจจุบันยังพอซื้อได้ และมองว่าจะเป็นกลุ่มที่สามารถนำเงินมาได้

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกล่าวว่า บรรยากาศการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ยังอยู่ในภาวะปกติ แม้ช่วงเดือนมีนาคม บอนด์ยีลด์จะปรับขึ้นตามบอนด์ยีลด์สหรัฐที่กังวลเรื่องเงินเฟ้อ ส่วนกระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน มีสถานะซื้อสุทธิ 35,000 ล้านบาท คาดว่าหลังเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลดีต่อผู้ออกหุ้นกู้ให้เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น และหากปีนี้สถานการณ์ดีขึ้น อาจมีการออกหุ้นกู้ของเอกชนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7-7.5 แสนล้านบาทนายสาห์รัช ชัฏสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาด และที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า แนะนำนักลงทุนจัดพอร์ตการลงทุนในกองทุนหลากหลาย จะทำให้พอร์ตไม่แกว่งตามดัชนีหุ้น ซึ่งหากคาดหวังผลตอบแทน 100% ควรลงทุนในกองทุนรวมหุ้น 100% แต่ถ้าคาดหวังผลตอบแทนเพียง 4-5% ให้ลงทุนในกองทุนรวมหุ้น 50% ส่วนกองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 50% นอกจากนี้ หากลงทุนในกองทุนรวมหุ้นเป็นหลัก ควรลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ 80% และกองทุนรวมหุ้นในไทย 20% 

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 6 มิถุนายน 2564

ธุรกิจกับการลดโลกร้อน (5)  พลังงานฟอสซิล

ธุรกิจกับการลดโลกร้อน (5) พลังงานฟอสซิล : คอลัมน์เศรษฐทัศน์  โดย... รศ.(พิเศษ) ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,685 หน้า 5 วันที่ 6 - 9 มิถุนายน 2564

เราได้กล่าวไปแล้วว่าการใช้พลังงานจากฟอสซิลของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน แต่เราก็ต้องยอมรับว่าพลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน นํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ ยังจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์ ทั้งภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะใช้เพื่อทำให้เกิดพลังงานความร้อนความเย็น ผ่านกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในการอยู่อาศัย การผลิตสินค้าบริการ รวมทั้งใช้เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์ตอบสนองการคมนาคมขนส่งต่างๆ

บทความตอนนี้จะสรุปให้เห็นถึงการใช้พลังงานฟอสซิลโดยตรงโดยอ้อมของภาคธุรกิจ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นให้ภาคธุรกิจหันไปตระหนักและเริ่มเก็บข้อมูลว่าในกระบวนการทำธุรกิจของตน ใช้พลังงานฟอสซิลไปเท่าใด และหากคำนวณแล้วธุรกิจมีส่วนได้สร้างมลภาวะโลกร้อนเท่าใด และจะมีแผนระยะสั้นระยะยาวอย่างไรเพื่อมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบดังกล่าวข้อมูลเหล่านี้ในอนาคตจะเริ่มมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากคู่ค้า ลูกค้า สถาบันการเงิน นักลงทุนเป็นต้น มีแนวโน้มที่อยากทราบข้อมูลเหล่านี้มากขึ้นในอนาคต และเป็นสิ่งกดดันต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้ที่เพิกเฉยอาจถูกต่อต้านโดยไม่สนับสนุนสินค้าและบริการของบริษัท จนกระทบต่อการลดลงของมูลค่าของกิจการได้ ธุรกิจควรมีข้อมูลการใช้พลังงานฟอสซิลของตนในปัจจุบัน ผู้ประกอบการและพนักงานในภาคธุรกิจ ควรทราบว่า การใช้นํ้ามันเชื่อเพลิงในการขนส่งคมนาคมหรือในกระบวนการผลิตสามารถทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ที่สำคัญได้แก่ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนได ออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดฝนกรดและปรากฎการณ์เรือนกระจกนอกจากนี้ นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่ก็มาจากพลังงานฟอสซิล สำหรับก๊าซธรรมชาติ แต่การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ ที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า แม้จะทำให้เกิดมลพิษน้อยกว่าใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น แต่การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้นั้นจะเกิดก๊าซมีเทนรั่วสู่บรรยากาศประมาณร้อยละ 2 และเมื่อเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติก็จะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเช่นกันในด้านลิกในต์ที่นำมาผลิตไฟฟ้า หากไม่มีระบบกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้าได้ ซึ่งหากติดตั้งระบบกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ได้มาตราฐานก็จะเพิ่มต้นทุนการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 20-30ธุรกิจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานฟอสซิลไม่มากก็น้อย อาจผ่านการจัดหาและขนส่งวัตถุดิบเข้าโรงงาน การขนส่งระหว่างการผลิต การขนส่งสินค้าไปยังผู้จัดจำหน่ายและผู้บริโภค ในส่วนของการใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ไฟฟ้าส่องสว่างในโรงงานและสำนักงานการใช้ไฟฟ้าผ่านเครื่องปรับอากาศในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้นธุรกิจอาจเริ่มต้นโดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้รูปแบบหลัก 2 ชนิด คือ การขนส่ง หรือ การเดินทางกับการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการทำธุรกิจห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของตนเอง เช่น ช่วงก่อนการผลิต (Inbound Logistics) ช่วงการผลิต (Production) ช่วงหลังการผลิต (Outbound Logistics) โดยบันทึกความถี่ ปริมาณการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่ายเอาใว้ การมีข้อมูลดังกล่าวจะเป็นพื้นฐาน (Benchmark) เอาไว้ให้ธุรกิจได้เห็นว่าปัจจุบันธุรกิจมีสถานะการใช้พลังงาน เช่น นํ้ามัน และไฟฟ้าอย่างไร เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์เพราะสามารถนำไปวิเคราะห์จุดที่อาจใช้พลังงานสิ้นเปลืองหรือปรับปรุงการใช้ให้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมได้

ธุรกิจควรมีองค์ความรู้และวิธีปฎิบัติ เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน แม้ว่าพลังงาน เช่น นํ้ามันเชื้อเพลิง และไฟฟ้าจะยังคงเป็นพลังงานพื้นฐานที่ธุรกิจยังจำเป็น ต้องใช้อยู่ในการผลิตสินค้าและบริการก็ตาม แต่ถ้าธุรกิจสามารถหาวิธีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือวิธีประหยัดกว่าเดิมทำให้เกิดการลดการใช้พลังงานได้ นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุนแล้วยังจะมีส่วนช่วยลดผลกระทบทางลบในด้านภาวะโลกร้อนได้ ธุรกิจกับการลดโลกร้อน (5)  พลังงานฟอสซิล

ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น การใช้นํ้ามัน หรือ การใช้ไฟฟ้า เพราะสามารถสืบค้นได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งสามารถรวบรวมและเรียนรู้ได้ไม่ยาก แต่มีข้อคิดสำหรับธุรกิจว่า การใช้พลังงานในธุรกิจนั้น ผู้ใช้ก็คือ บุคลากร หรือ พนักงานของธุรกิจนั่นเองเช่น มีคนที่ต้องขับรถไปรับวัตถุดิบ ไปส่งสินค้า หรือมีคนที่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ ต้องเปิดใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งกระจายอยู่ ณ จุดต่างๆ ขององค์กร คำถามก็คือกลุ่มคนเหล่านี้มีการปฎิบัติเวลาการใช้พลังงานอย่างไร มีความตระหนักรู้ที่จะใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ความห่วงใยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า นอกจากสามารถส้ราง DNA ความตระหนักในเรื่องดังกล่าว แล้วลงไปที่พนักงานทั่วถึงทั้งองค์กรแล้ว ในหน่วยย่อยต่างๆ ที่พนักงานสังกัดอยู่ ยังมีการร่วมกำหนดเป้าหมายและลงปฎิบัตเพื่อควบคุมการใช้พลังงานไม่ให้สิ้นเปลืองซึ่งการเดินทางไปยังจุดที่ใช้พลังงานมีประสิทธิภาพดีที่สุด จะสามารถหาวิธีที่จะประหยัดพลังงานได้ในหัวข้อที่แล้วสถานะที่ใช้พลังงานในปัจจุบัน จึงเป็นจุดตั้งต้นที่จะต้องตั้งคำถามกับพนักงานว่า ในจุดนั้น เป็นจุดที่ดีที่สุดให้องค์กรหรือยัง หากพนักงานได้เห็น และองค์กรได้เติมความตระหนักความรู้และทักษะให้ เมื่อพนักงานรู้และเข้าใจ และเข้าร่วมกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนเพื่อช่วยนำไปสู่จุดที่ดีกว่าเดิมของการใช้พลังงานก็จะเกิดขึ้น

ทำดีต้องกล้าเปิดเผยหัวข้อนี้ไม่ได้หมายความว่า หากเราทำดีแล้วให้เราอวดตัว แต่เป็นเรื่องที่จะชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลการประหยัดพลังงาน เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Stakeholders) ทั้งใกล้ และไกลอยากรู้ เพราะทุกภาคส่วนต่างก็กังวลกับปัญหาภาวะโลกร้อนข้อมูลที่บอกว่าธุรกิจแต่ละแห่งได้ดำเนินการอะไรบ้างเพื่อช่วยลดปัญหานี้ การใช้และการประหยัดพลังงานก็จะเป็นหัวข้อหนึ่งของการดำเนินการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ธุรกิจที่ทำได้ดี เมือเปิดเผยข้อมูลว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ผลเป็นอย่างไร จะสะท้อนให้เห็นถึงการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ แสดงถึงความใส่ใจขององค์กรที่จะทำธุรกิจอย่างประณีต ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้เกี่ยว ข้องในระยะยาว ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น จะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง ส่งผลดีต่อการเติบโตของมูลค่าและอยู่ในข่ายของบริษัทที่มีความยั่งยืนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ไม่ได้ทำเรื่องการประหยัดพลังงานกับกระบวนการภายในขององค์กรตนเองเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันวิธีการไปยังคู่ค้า ลูกค้า ชุมชน เป็นต้น เพื่อช่วยให้เกิดผลลัพธ์การประหยัดพลังงานเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงจะสามารถรวมพลังแก้ไขภาวะโลกร้อนร่วมกัน ได้อย่างไรก็ดี การลดการใช้พลังงาน ฟอสซิลโดยตรงเป็นหนึ่งในเรื่องที่จะช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนเท่านั้น ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การสนับสนุนหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาดเป็นต้น ก็อีกแนวทางที่จะส่งผลกระทบทางอ้อม ทำให้การใช้พลังงานฟอสซิลลดลงได้ ซึ่งจะขอนำมากล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 6 มิถุนายน 2564

ผ่างบ "เกษตรแปลงใหญ่"

​​​​​​กรมส่งเสริมการเกษตร โชว์ออฟ ผ่างบ  “เกษตรแปลงใหญ่” ด้วยเกษตรสมัยใหม่ เชื่อมโยงตลาด คืบ 47 กลุ่ม วงเงินกว่า 112 ล้านบาท

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร  กล่าวว่า สรุปความก้าวหน้าโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เฉพาะในส่วนกลุ่มแปลงใหญ่ที่กรมส่งเสริมการเกษตรดูแล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2564 พบว่า มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่ดำเนินการจัดทำแผนการใช้จ่ายแล้วรวม 982 แปลง คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการระดับจังหวัด 400 แปลง คิดเป็นร้อยละ 41 ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อขอรับเงินอุดหนุนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดแล้ว 149 แปลง คิดเป็นร้อยละ 38 ของจำนวนแปลงที่ได้รับการอนุมัติ พร้อมกันนั้นได้มีการดำเนินการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้กับกลุ่มแปลงใหญ่แล้ว 47 กลุ่ม วงเงินงบประมาณกว่า 112 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มแปลงใหญ่สามารถดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่ได้รับการอนุมัติไว้  ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้เกษตรจังหวัดทุกจังหวัดเร่งรัดติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และกำชับให้จัดทีมลงพื้นที่ไปชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการดำเนินงานโครงการฯ ให้ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ได้รับทราบ

อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรมีความก้าวหน้ามาก   เป็นที่น่าพอใจ  แต่เนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักของโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จึงได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดคอยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ของกรมการข้าว กรมปศุสัตว์ กรมประมง การยางแห่งประเทศไทย และกรมหม่อนไหม เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการในภาพรวมสามารถดำเนินการไปได้ตามแผนที่กำหนดไว้ อนึ่ง โครงการ "ยกระดับแปลงใหญ่" ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เป็นโครงการที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ และเป็นกลุ่มนิติบุคคลตามระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม และยกระดับการผลิตไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคเกษตรไทยเกิดการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 4 มิถุนายน 2564

ไทยชู 6 ประเด็น ขับเคลื่อนการค้าหลังเจอแก้ผลกระทบเศรศฐกิจจากพิษโควิดในเวทีการค้าเอเปค

“จุรินทร์”ร่วมประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปกกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก ชู 6ประเด็น แก้ปัญหาเศรษฐกิจจากผลโควิด เดินหน้าหนุนการค้าสมาชิกดับบลิวทีโอในรูปแบบเอฟทีเอ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมระหว่างรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทาง ธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) รวม21 เศรษฐกิจ ผ่านระบบ Video Conference ว่าได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีการค้าเอเปกรวมทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปก โดยเป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีการค้ากับภาคเอกชนของแต่ละประเทศซึ่ง  ที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มเพื่อหาข้อสรุปทั้งหมด 3 กลุ่มโดยกลุ่มแรกแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเศรษฐกิจระดับภูมิภาค การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค กลุ่มที่ 2 การรับมือทางเศรษฐกิจต่อสถานการณ์โควิดและกลุ่มที่ 3 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด

สำหรับประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ 2 เรื่องการรับมือทางเศรษฐกิจต่อสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคโดยไทยได้ให้ความเห็นไปทั้งสิ้น 6  เรื่องประกอบด้วย  1 .สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ส่งผลกระทบต่อทั้งภาคธุรกิจและการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค  2. ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับมือกับวิกฤตโควิดโดยใช้โมเดลการค้ายุคใหม่ เช่นการค้าออนไลน์

3 .ประเทศไทยสนับสนุนการเชื่อมโยงในกลุ่มประเทศเอเปค หลังจากเกิดโควิดในช่วงปีที่ผ่านมาโดยสนับสนุนให้มีการผ่อนคลายการห้ามเดินทางระหว่างประเทศ โดยแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าประเทศไทยจะเริ่มเปิดโมเดลการท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต ที่เรียกว่า ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์ โดยเริ่มเปิดเกาะในวันที่ 1 ก.ค. 2564

 4 .ประเทศไทยจัดสรรให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนและสินค้าจำเป็นโดยสนับสนุนให้มีการขจัดข้อจำกัดในการส่งสินค้าข้ามแดน และประเทศไทยได้ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับยาและเครื่องมือแพทย์จากประเทศต่างๆ 5 .ประเทศไทยจะเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้ทั่วถึงโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้เกิดขึ้นในความร่วมมือในระดับภูมิภาค และ6 .ประเทศไทยสนับสนุนและส่งเสริมการค้าที่นำไปสู่ความยั่งยืน เช่น กำหนดให้ BCG โมเดลเป็นโมเดลทางเศรษฐกิจสำคัญในการขับเคลื่อนของประเทศไทยเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติโ

นายจุรินทร์ กล่าวว่า  ภายหลังการหารือมีข้อสรุปหลายประเด็น โดยเฉพาะปัญหาโควิดที่เกิดขึ้น

ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทั้งในเรื่องวัคซีนและการเดินทางข้ามแดนระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดอุปสรรคทางการค้าและนำไปสู่ผลกระทบทั้งภาครัฐและเอกชน โดยที่ประชุมเสนอให้ภาครัฐต้องไม่ออกมาตรการที่เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายวัคซีนและสินค้าจำเป็นเพื่อให้ทุกประเทศหรือทุกฝ่ายรวมทั้งผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงวัคซีนและสินค้าจำเป็นได้ นอกจากนี้ภาคธุรกิจในภูมิภาคยังมีความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้เร็ว ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต  ทั้งนี้เอเปคจะร่วมกันผลักดันให้การเจรจาภายใต้เงื่อนไของค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอ เพื่อบรรลุผลโดยเร็วรวมทั้งสนับสนุนให้พัฒนาเอเปคซึ่งในรูปแบบความร่วมมือเศรษฐกิจพัฒนาไปเป็นเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ ต่อไปในอนาคต

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 4 มิถุนายน 2564

ค่าเงินบาทวันนี้ (4 มิ.ย.) อ่อนค่าลงที่ 31.23 บาท บทวิเคราะห์ล่าสุด

ค่าเงินบาทวันนี้ (4 มิ.ย.) เปิดตลาดอ่อนค่าลงที่ 31.23 บาท กรอบแนวรับที่ 31.15 บาท แนวต้านที่ 31.30 บาท

นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้ (4 มิ.ย.) เปิดตลาดอ่อนค่าลงที่ 31.23 บาทต่อดอลลาร์ โดยกรอบการเคลื่อนวันนี้คาดการณ์แนวรับที่ 31.15 บาท แนวต้านที่ 31.30 บาท

โดยปัจจัยขับเคลื่อนตลาด คือ ตัวเลขตลาดแรงงานและภาคบริการของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกดดันหุ้นเทคโนโลยี และสร้างความกังวลต่อการลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ด้านเฟดจะเริ่มขายตราสารหนี้เอกชนและกองทุนรวมดัชนี (ETF) ออกมาตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.นี้ ส่วนนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามคำสั่งห้ามสหรัฐลงทุนในจีน

ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อของไทย การประชุมนโยบายการเงินอินเดีย การจ้างงานนอกภาคเกษตรและคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เร่งเครื่อง Big Data ภาคเกษตร สศก.ผนึกธปท.พัฒนาระบบติดตามภาวะศก.การเกษตร

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินงาน Big Data ด้านการเกษตร ซึ่งสศก.ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ดำเนินการและเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ได้เร่งพัฒนาฐานข้อมูล Big Data มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการบริหารและการให้บริการข้อมูลภาคเกษตรในทุกมิติ

สำหรับปี 2564 สศก.และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้ความร่วมมือ MOU ของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ที่เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในยุคดิจิทัลในการติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตรอย่างรอบด้าน มีข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ มีความแม่นยำและทันต่อทุกสถานการณ์ โดยระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Decision Support System) ที่ให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย 1) รายรับจากการขายสินค้าเกษตรของเกษตรกร 2) ต้นทุนการผลิต 3) มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติ และ 4) เงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็นรายพืชและรายจังหวัด

ทั้งนี้ การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ในระยะที่ 1 จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระดับจังหวัด อาทิ กำหนดฤดูกาลเพาะปลูก กำหนดรอบรายสินค้าตามฤดูกาล สินค้าที่มีการผลิตรายจังหวัด และการประมาณการผลผลิตภาพรวม เข้าสู่ฐานข้อมูลเกษตรแห่งชาติ และประมวลผลด้วยวิธีการจัดทำดัชนีแบบลูกโซ่ สามารถรายงานสถานการณ์ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเป็นรายเดือน ในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ ซึ่งเป้าหมายของระบบติดตาม ระยะที่ 1 คือ “ค่าพยากรณ์ผลผลิต” จะใกล้เคียง“ค่าจริงผลผลิต” เมื่อช่วงการเพาะปลูกเข้าใกล้การเก็บเกี่ยว รวมทั้ง การปรับ“ค่าพยากรณ์ผลผลิต” สะท้อนผลผลิตในพื้นที่อย่างทันกาลและมีเหตุผล และในระยะถัดไป จะมีการนำเข้าข้อมูลมิติอื่นๆ ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 สศก.โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center) หรือ NABC ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำตัวเลขประมาณการผลผลิต ระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 (สศท.) เพื่อให้ เจ้าหน้าที่ สศท. 1-12 เรียนรู้การใช้งาน Web Application และการปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตรระดับจังหวัดได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพข้อมูลผลผลิตของระบบเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงลึกในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างภาคเกษตรรายพื้นที่

เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายว่า “การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ภายใต้ความร่วมมือ ธปท. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จไปอีกขั้นของ Big Data ด้านการเกษตร อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ระยะแรก จะเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจให้เฉพาะผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานเกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งในส่วนของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถสืบค้นข้อมูลบริการด้านต่างๆ อาทิ ได้จากเว็บไซต์ www.nabc.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ 0-2579-8161 หรือ อีเมล nabc@nabc.go.th”

จาก https://www.naewna.com วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สถานีเกษตร-สิ่งแวดล้อม : กรมคลอง กรมทดน้ำ กรมชลประทาน 119 ปี

ในวันที่ 13 มิถุนายน 2564 นี้ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีอายุครบ 119 ปี กว่าจะมาถึงวันนี้กรมนี้มีตำนาน...ที่ยาวนานครับ

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ได้รับสัมปทานดำเนินโครงการก่อสร้างระบบคลอง ในบริเวณพื้นที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือที่เรียกว่า “ทุ่งรังสิต” เพื่อใช้ในการเพาะปลูก และการคมนาคมขนส่งทางน้ำ

บริษัทได้ดำเนินการขุดคลองในปี 2433 เริ่มจากการขุดคลองสายใหญ่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก นั้นก็คือ “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” พร้อมทั้งมีการสร้างประตูระบายน้ำ จากนั้นก็ได้มีการขุดคลองสาขาอีกหลายสาย เป็นโครงข่ายระบบคลอง ทำให้พื้นที่รกร้างบริเวณรังสิตเปลี่ยนเป็นแหล่งเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ปทุมธานี นครนายก พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพฯ

อย่างไรก็ตามหลังจากดำเนินการขุดคลองไปได้ประมาณ 10 ปี รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า จำเป็นจะต้องมีการวางระบบการบริหารจัดการน้ำในทุ่งรังสิต จึงได้ว่าจ้าง นายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) มาดำเนินการวางระบบชลประทาน พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “กรมคลอง” ขึ้นมาในวันที่ 13 มิถุนายน 2445 และทรงแต่งตั้งนายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก

ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “กรมทดน้ำ”

ขึ้นแทน “กรมคลอง” เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2457 พร้อมทั้ง สร้างเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ คือ เขื่อนพระราม6 ขึ้นที่ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย จากนั้นก็ได้เริ่มก่อสร้างโครงการชลประทานกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า หน้าที่ของกรมทดน้ำ มิได้ปฏิบัติงานอยู่เฉพาะแต่การทดน้ำเพียงอย่างเดียว งานที่กรมทดน้ำปฏิบัติอยู่จริงในขณะนั้นมีทั้งการขุดคลอง การทดน้ำ รวมทั้งการส่งน้ำตามคลองต่าง ๆ อีกทั้งการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมทดน้ำ” เป็น “กรมชลประทาน” เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2470 โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน้ำ การส่งน้ำ และการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง

รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ความสำคัญกับงานชลประทานมากเป็นพิเศษ ทรงตั้งพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นลำดับแรก พระราชทานพระราชดำรัสเสมอว่า “น้ำคือชีวิต” และได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2,000 โครงการ สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศชาติอย่างมหาศาล

รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสขอให้กรมชลประทาน สืบสานต่อยอด และเร่งรัดดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 ให้สัมฤทธิ์ผล

จากกรมคลองเมื่อ 119 ปี ที่แล้วมาเป็นกรมชลประทานวันนี้ ภารกิจของกรมชลประทานยังต้องก้าวต่อไปเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ว่า “เป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่ม่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580”

จาก https://www.naewna.com วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

“พพ.” หนุน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน “ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2021”

“พพ.” หนุน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน “ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2021”

“กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)” หนุน ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตั้งเป้าปรับแผนการใช้พลังงานของประเทศ ขานรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ (Disruptive Technology) สร้างแนวทางการใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) พร้อมสนับสนุน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จัดงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2021 (ASEW2021) มหกรรมอุตสาหกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์พลังงานของอาเซียน

ดร. ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า  กรมฯ มีภารกิจหลักในการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ โดยในปัจจุบันได้มุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานสะอาดในทุกภาคส่วน พร้อมสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถ และรองรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ (Disruptive Technology) มาใช้งานเพื่อให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน อาทิ สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน เปิดรับการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล การผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าซ สนับสนุนการใช้โซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะในครัวเรือนและภาคเกษตร  ที่สำคัญเราพร้อมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากแหล่งฟอสซิลสู่การใช้พลังงานจากธรรมชาติ

โดยปัจจุบันได้ตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาดอยู่ที่ 30% โดยทางกระทรวงพลังงานได้หารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการปรับระบบเศรษฐกิจสู่การเป็นประเทศปลอดคาร์บอน (Zero Carbon Economy) ในอนาคต ซึ่งหลายประเทศต่างตระหนักถึงผลกระทบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ โดยล่าสุด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสและทุ่มงบประมาณในการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจสู่สังคมปลอดคาร์บอน หรือประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมประกาศนโยบายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ให้ได้ ภายในปี 2050 การเปลี่ยนแปลงสำคัญเหล่านี้จะผลักดันให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับวิธีการดำเนินธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับแรงกดดันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า และปรับตัวเพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาเพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน

ทั้งนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้กำหนดแนวทางเพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานในรูปแบบเดิม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ต่อไป

ดร.ประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของโลก ที่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า เราจำเป็นที่จะต้องปรับตัวกันตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม จะถูกผลักดันให้มุ่งผลิตสินค้าปลอดคาร์บอน และสินค้าที่ผลิตจากแหล่งฟอสซิลจะถูกกีดกันโดยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) จากปัจจัยดังกล่าว กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้มีแนวทางความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดปริมาณคาร์บอน และการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งนอกจากส่งผลดีต่อเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้อีกช่องทางหนึ่ง

ล่าสุดได้ให้การสนับสนุน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในการจัดงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2021 (ASEW2021) ซึ่งเป็นเวทีสำคัญระดับภูมิภาคในการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืน รองรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเป็นโอกาสในการระดมความคิด องค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงบทบาทของประเทศไทยในฐานะของประธานกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานของอาเซียน ที่พร้อมจะเป็นผู้นำในการแสวงหาแนวทางความร่วมมือพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อสร้างมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาคอย่างยั่งยืน

ด้าน นายสรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวต่อว่า การจัดงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2021 (ASEW2021) ว่า ในปีนี้ได้จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “ENHANCING ENERGY INTEGRATION FOR A SUSTAINABLE CITY” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่ยั่งยืนของพลังงานที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการเติบโตของเมือง ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้เน้นตอบโจทย์แนวโน้มพลังงานของทั่วโลกที่ไม่เพียงแต่มุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง โดยจัดงานในรูปแบบไฮบริด (Hybrid Edition) ผสมผสานการจัดงานในรูปแบบปกติ (Physical Exhibition) และในรูปแบบออนไลน์ (Virtual Exhibition) เป็นแพลตฟอร์มงานแสดงสินค้าและโชว์รูมดิจิทัลที่จะอำนวยความสะดวกให้คู่ค้าทางออนไลน์ และเป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าชมงานจะพบปะผู้ประกอบการจากต่างประเทศในรูปแบบ ไฮบริด พาวิเลียน (Hybrid Pavilion) ภายในงานมีการจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานล่าสุดไว้อย่างครบครัน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์, เทคโนโลยีระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid/ Micro Grid), เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ, นวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง, การจัดการพลังงานด้วยศูนย์ข้อมูล (Big Data) ที่ผสมผสานการทำงานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, การจัดการโรงไฟฟ้าจากขยะตามแผนนโยบาย BCG Economy,  อัปเดตเทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และ รวมถึงเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain) ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนพลังงานกับผู้ผลิตหรือระหว่างกันเองได้

นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมสัมมนากว่า 100 หัวข้อ การประชุมนานาชาติด้านพลังงานทดแทนในหัวข้อ REA Conference  - International Renewable Energy Asia Conference, iEVTech – International Electric Vehicle Technology Conference, International Data Center for Energy Efficiency Conference, ASEAN Bioenergy & Economy Conference และหัวข้ออื่น ๆ ที่น่าสนใจ พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 รายจากนานาประเทศ ร่วมให้ความรู้ในรูปแบบการสัมมนาออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งนี้ ภายในงาน ยังมีไฮไลท์ที่สำคัญจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกับกิจกรรม “Drive & Ride” การทดสอบขับยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ 100% จากค่ายรถยนต์ชั้นนำมาให้ผู้ที่สนใจได้ทดลองขับกันอีกด้วย          

ทั้งนี้ งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2021 (ASEW 2021) งานแสดงนิทรรศการนานาชาติด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในอาเซียน โดยกำหนดจัดงานพร้อมกับงาน PUMPS & VALVES ASIA และ THAI WATER EXPO ในวันพฤหัสบดีที่ 14 ถึงวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: www.asew-expo.com

จาก https://www.siamturakij.com วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ฝนหลวงฯ เร่งปฏิบัติการทำฝน ช่วยพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทานในภาวะฝนทิ้งช่วง

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่ ทำให้ยังมีพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงนี้ของประเทศไทยเป็นช่วงของฤดูกาลเพาะปลูกซึ่งมีพื้นที่การเกษตรจำนวนกว่า 149 ล้านไร่ โดยอยู่ในเขตชลประทานกว่า 30 ล้านไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทานจำนวนกว่า 110 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรที่ต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝนกรมฝนหลวงและการบินเกษตรร่วมกับกองทัพอากาศและกองทัพบก จึงยังคงตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 13 หน่วยปฏิบัติการ กระจายตัวอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทยเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและลดความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำในช่วง ฤดูกาลเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวานนี้ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 4 หน่วยปฏิบัติการ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 5 แห่ง

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มอีกเติมว่า สำหรับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการปรับแผนการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 หน่วยฯ โดยปรับแผนย้ายหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.บุรีรัมย์ มาตั้งอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สุรินทร์ และปรับแผนย้ายหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.อุดรธานี มาตั้งอยู่ที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ขอนแก่น ทั้งนี้ เพื่อให้การวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงเกิดประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการติดตามสภาพอากาศในช่วงเช้าวันนี้ จากผลการตรวจสภาพอากาศจากสถานีเรดาร์ฝนหลวงทั่วประเทศ พบว่า มีบริเวณพื้นที่ภาคกลาง และภาคใต้ เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง ในเช้าวันนี้จึงมีการวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการ จำนวน 6 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.กาญจนบุรี มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.อุบลราชธานี มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.อำนาจเจริญ และ จ.ยโสธร

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สุรินทร์ มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.บุรีรัมย์

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.นครราชสีมา มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.นครราชสีมา

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สระแก้ว มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี จ.นครนายก และพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.เพชรบุรี

อย่างไรก็ตาม อีก 7 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จะยังคงติดตามสภาพอากาศตลอดทั้งวัน โดยหากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่เป้าหมายต่อไป ทั้งนี้ พี่น้องเกษตรกรและประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ที่ช่องทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account : @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100

จาก https://siamrath.co.th   วันที่ 2 มิถุนายน 2564

การค้าไทยกับคู่เจรจา FTA 4 เดือนแรก ทะลุ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

กรมเจรจาฯ เผยการค้าไทยกับคู่เจรจา FTA ช่วง 4 เดือนปี’64 มีมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 13.18% เป็นการส่งออกถึง 5.2 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 6.45% ระบุสินค้าเกษตรโตแรง เพิ่ม 22% ยางพารา มันสำปะหลังเด่นสุด

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วยจำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู ในช่วง 4 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่า 108,826.75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.18% คิดเป็นสัดส่วน 63.84% ของการค้ารวมของไทย โดยเป็นการส่งออกไป 18 ประเทศคู่ FTA มูลค่า 52,627.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.45%

ทั้งนี้ เมื่อแยกการส่งออกเป็นรายกลุ่มสินค้า พบว่า สินค้าเกษตร (กสิกรรม ปศุสัตว์และประมง) เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นทั้งอาหารและวัตถุดิบ โดยไทยส่งออกไปประเทศคู่ FTA มูลค่า 6,097 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22% คิดเป็นสัดส่วน 74.56% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย โดยตลาดที่มีการขยายตัว

เช่น จีน เพิ่ม 46% อาเซียน เพิ่ม 4% ญี่ปุ่น เพิ่ม 6% เกาหลีใต้ เพิ่ม 23% และอินเดีย เพิ่ม 71% เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น ยางพารา เพิ่ม 47% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 49% และยังมีสินค้าเกษตรกลุ่มอาหารอื่น ๆ ที่ขยายตัว เช่น ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักสดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง เครื่องเทศและสมุนไพร และข้าวโพด

สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 40,161.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 5.25% มีสัดส่วน 58.65% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัว เช่น จีน เพิ่ม 14% เวียดนาม เพิ่ม 24% มาเลเซีย เพิ่ม 59% ฟิลิปปินส์ เพิ่ม 18% สปป.ลาว เพิ่ม 41% ญี่ปุ่น เพิ่ม 5% เกาหลีใต้ เพิ่ม 36% ออสเตรเลีย เพิ่ม 25% อินเดีย เพิ่ม 28% และนิวซีแลนด์ เพิ่ม 56%

ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในภาคการผลิต สินค้าป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสินค้า Work From Home และมีสินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ เพิ่ม 37% คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพิ่ม 13% ผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่ม 37% เม็ดพลาสติก เพิ่ม34% เคมีภัณฑ์ เพิ่ม 27% วงจรไฟฟ้า เพิ่ม 12% และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เพิ่ม 13%

ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป มีมูลค่า 3,736 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.16% แต่ยังมีสินค้าที่ส่งออกขยายตัวได้ดี เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่ม 23% ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เพิ่ม 1% เครื่องดื่ม เพิ่ม 8% สิ่งปรุงรสอาหาร เพิ่ม 8% ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เพิ่ม 143% และไอศกรีม เพิ่ม 29% เป็นต้น

“การส่งออกของไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้ากลุ่มอาหาร และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นวัตถุดิบในภาคการผลิต เนื่องจากปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และที่สำคัญ ความตกลงการค้าเสรี ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าไทยจากการที่ประเทศคู่ค้าลดภาษีให้ไทย” นางอรมนกล่าว

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 2 มิถุนายน 2564

อาเซียน 10 ประเทศเร่งปรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกัน

มกอช. พร้อมเป็นเจ้าภาพประชุม EWG-OA ครั้งที่ 6 เร่งเดินหน้าปรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศอาเซียนให้สอดคล้องกัน ดันไทยผู้นำขายสินค้าอินทรีย์ไทยในตลาดอาเซียน และขยายสู่ตลาดโลก

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) หัวหน้าคณะฝ่ายไทย นำทีมคณะผู้แทนหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม ASEAN Experts Working Group for Organic Agriculture (EWG-OA) ครั้งที่ 5 ผ่านระบบทางไกล Online Application Zoom โดยมีสาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพ เพื่อติดตามการเทียบเคียงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศสมาชิกกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (ASOA) ซึ่งพบว่าขณะนี้มีเพียง 2 ประเทศที่ผ่านการประเมินว่าเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต่ำ (Align) ของมาตรฐานอาเซียนแล้ว และมีประเทศที่ได้มีการแก้ไขมาตรฐานให้สอดคล้องกับอาเซียนรวมถึงประเทศไทยแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาประกาศใช้

นายพิศาล กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้มีการพิจารณาผลเทียบเคียงขั้นสุดท้าย (Group Validation) ของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่สอดคล้องกับอาเซียนยกเว้นการปลูกพืชอินทรีย์ในกระถาง ที่สิงคโปร์ต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมจึงจะสามารถประเมินได้ว่าใช้ดินจากฟาร์มที่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานหรือไม่ รวมถึงพิจารณาข้อเสนอโครงการการจัดทำเอกสารการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอาเซียนด้านพืชและผลิตภัณฑ์ และความก้าวหน้าของการจัดทำความตกลงการยอมรับร่วมด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งให้สินค้าอินทรีย์ของภูมิภาคอาเซียนให้มีอำนาจต่อรองและค้าขายได้ในตลาดโลก และการคัดเลือกประธานการประชุมคนใหม่ ซึ่งฟิลิปปินส์กำลังจะหมดวาระลง โดยสิงคโปร์จะเป็นประธานการประชุมคนต่อไป แต่เนื่องจากที่ประชุมเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยเสนอให้ประเทศไทยรับเป็นประธานการประชุม อีกทั้งในปี 2565 ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการประชุมดังกล่าว

ทั้งนี้ สินค้าเกษตรมีโอกาสเติบโตในตลาดโลกอย่างมาก ซึ่งมีมูลค่าสูงถึงแสนกว่าล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเติบโตปีละ 20% ตลาดที่สำคัญของโลกคือยุโรปและอเมริกาเหนือ และที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมากคือ จีน ออสเตรเลีย และอาเซียน สำหรับในประเทศไทย มีมูลค่าตลาด 3,000 ล้านบาท และส่งออก 2,000 ล้านบาท ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้นำที่ร่วมในการประชุมดังกล่าวมาโดยตลอด ได้ให้ข้อคิดเห็นที่ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียน เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์ไทยในการที่จะผลิตสินค้าอินทรีย์ให้สามารถจำหน่ายได้ในภูมิภาคเป็นการเปิดช่องทางการค้าขายสินค้าอินทรีย์ Organic Thailand ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดอาเซียน

 “มกอช. พร้อมที่รับเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งต่อไป และจะเข้าร่วมประชุมเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยให้สินค้าอินทรีย์ของไทย มีความเข้มแข็งและเป็นผู้นำในการจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ไทยในตลาดอาเซียนและขยายช่องทางไปยังตลาดโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป”เลขาธิการ มกอช. กล่าวทิ้งท้าย

จาก https://siamrath.co.th   วันที่ 2 มิถุนายน 2564

ลุยเกษตรสุดเขตทั่วไทย : งบประมาณกระทรวงเกษตรฯปี’64

 “หนุ่มยูโร” กลับมารายงานตัวอีกครั้งครับ พบกันในวันพุธที่2 มิ.ย. 2564 ที่หนังสือพิมพ์แนวหน้า หนังสือพิมพ์คุณภาพของประเทศไทยอีกฉบับครับ ครั้งก่อนเราพูดถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศให้การทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงเกษตรฯ มีงบประชาสัมพันธ์ตั้งแต่สมัยหลงจู๊ 3 เปอร์เซ็นต์ของงบประมูลงาน ฉบับนี้เราจึงมาพูดถึงงบประมาณปี 2564 ของกระทรวงเกษตรฯ ที่ได้จัดสรรงบมาทั้งสิ้น 111,832.5171 บาท…เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2563 จำนวน 2,719.2521 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49) โดยเน้นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติรวม 5 ด้าน ประกอบด้วย....

1.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (31,315.7216 ล้านบาท) ซึ่งเป็นโครงการที่ขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเกษตร ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องส่งเสริมการพัฒนาเกษตร อัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ และส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศเกษตร …

2.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (3,108.1736 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านพลังสังคมและด้านเศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อย การถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรผ่านโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร พัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร...

3.ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (77,041.9435 ล้านบาท) เพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเติบโตอย่างยั่งยืนและด้านการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ระบบกระจายน้ำและเชื่อมโยงวางระบบเครือข่ายน้ำ/ลุ่มน้ำทั้งในและนอกเขตชลประทาน ...

4.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ(41.5900 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร ผ่านศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center :NABC)...

5.ด้านความมั่นคง (325.0884 ล้านบาท) ขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง ดำเนินโครงการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านการประมง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้..….แล้วคิดดูครับงบประชาสัมพันธ์ 3 เปอร์เซ็นต์ ของงบการประมูลงาน ที่เป็นช่องทางทำมาหากินของนักการเมือง จนทำให้ข้าราชการเขาอึดอัดใจ...“หนุ่มยูโร” ขอถามตรงๆ เราจะแก้ไขกันอย่างไร เลิกเถอะครับ....ฉบับหน้าเจอกันใหม่ครับ...

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 2 มิถุนายน 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “ทรงตัว” ที่ระดับ  31.16 บาทต่อดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท “ทรงตัว” ระยะสั้นจับตาแนวโน้มหากมีการแจกจ่ายวัคซีนใกล้เคียงอัตรา วันละ 3แสนโดสจะช่วยสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติ กลับเข้ามาลงทุนในหุ้นไทย

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.16 บาทต่อดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า คาดกรอบวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 31.10-31.20 บาท/ดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์   นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า แนวโน้มค่าเงินบาท  โดยรวมค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวในกรอบ เพราะแม้ว่า เงินบาทอาจอ่อนค่าลงเล็กน้อยตามเงินดอลลาร์ที่รีบาวด์กลับขึ้นมา แต่ทว่า แรงหนุนฝั่งแข็งค่าก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้น ทั้ง โฟลว์ขายทำกำไรทองคำ (ขายกำไรบนสกุลเงินดอลลาร์ และแลกกลับมาเป็นเงินบาท) รวมถึง ฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติที่กลับเข้ามาเป็นฝั่งซื้อสินทรัพย์ไทยสุทธิมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งหุ้น ซึ่งเรามองว่า ในระยะสั้นต้องจับตาแนวโน้มการแจกจ่ายวัคซีน เพราะหากมีการแจกจ่ายวัคซีนที่ดีต่อเนื่อง (ใกล้เคียงอัตรา วันละ 3แสนโดส) ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ กลับเข้ามาลงทุนในหุ้นไทยมากขึ้น และหนุนให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ โดยรวมอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังจากกลับมาเปิดทำการปกติ โดยผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงมีความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น หลังจากรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อฝ่ายการผลิตอุตสาหกรรมโดย ISM (Manufacturing PMI) เดือนพฤษภาคม ยังแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตสหรัฐฯ  ยังมีแนวโน้มเผชิญปัญหาผลิตสินค้าไม่ทัน จากความต้องการสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่ยังไม่สามารถจ้างงานเพิ่มขึ้นได้และยังมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงปัญหาด้านการขนส่ง  ซึ่งภาพความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นดังกล่าว ทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อรอดูสัญญาณการฟื้นตัวของการจ้างงานในฝั่งสหรัฐฯ ในวันศุกร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินเฟ้อได้ ทำให้ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ย่อตัวลง 0.09% ส่วน ดัชนี S&P500 ปิดลบ 0.05% ขณะที่ ดัชนี Downjones สามารถปิดบวก 0.13% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานที่ได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบกว่า 2ปี หลังที่ประชุมกลุ่ม OPEC+ มองว่าความต้องการน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจทำให้ ตลาดน้ำมันเผชิญภาวะตึงตัวได้

อย่างไรก็ดี ในฝั่งยุโรป นักลงทุนกลับเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังข้อมูลเศรษฐกิจยุโรป อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้ ดัชนี STOXX50 ปิดบวกราว 0.8%  นำโดยหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม Cyclical อาทิ Volkswagen +3.06%, Daimler +2.67%, ING +2.66% และ Airbus +1.97% เป็นต้นทางด้านตลาดบอนด์ ความกังวลเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นนั้น ไม่ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดบอนด์เทขายบอนด์สหรัฐฯ 10ปี มากขึ้นแต่อย่างใด ทำให้ ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวในกรอบใกล้ระดับ 1.61% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่บรรดาเจ้าหน้าเฟดต่างยืนกรานว่า เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นชั่วคร่าวและเฟดก็ยังไม่คิดจะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้น ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) รีบาวด์ขึ้นสู่ระดับ 89.9 จุด โดยเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจาก การอ่อนค่าลงของเงินปอนด์ (GBP) สู่ระดับ 1.415 ดอลลาร์ต่อปอนด์ หลังอังกฤษเจอการระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้น สำหรับวันนี้ แม้ว่าจะมีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจไม่มาก แต่ผู้ในเล่นตลาดส่วนใหญ่จะยังคงติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อาทิ Charles Evans (Chicago Fed) และ Raphael Bostic (Atlanta Fed) เป็นต้น  เพื่อติดตามมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและโอกาสที่เฟดจะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน โดยเฉพาะ การปรับลดคิวอี (QE Tapering)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเช้านี้ (2 มิ.ย.) ปรับตัวอยู่ในกรอบแคบที่ระดับ 31.15-31.17 บาทต่อดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยแม้เงินดอลลาร์ฯ จะมีแรงหนุนจาก ข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐฯ เดือนพ.ค. ที่มีสัญญาณแข็งแกร่ง แต่คงต้องติดตามสัญญาณฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างวันที่อาจหนุนเงินบาทให้พลิกกลับมาแข็งค่าต่อเนื่องได้เช่นกันสำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 31.10-31.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยติดตามที่สำคัญจะอยู่ที่สถานการณ์โควิด 19 ของไทยและต่างประเทศ สัญญาณฟันด์โฟลว์ สถานการณ์ค่าเงินหยวนและสกุลเงินในภูมิภาค รวมถึงถ้อยแถลงจากเจ้าหน้าที่เฟด

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 2 มิถุนายน 2564

สรท.ดันส่งออกโต10-15%เร่งรัฐแก้ปัญหาขาดตู้สินค้า

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ประเมินการส่งออกปี 2564 มีโอกาสขยายตัว 10-15% บนเงื่อนไขที่รัฐช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนตู้สินค้าอย่างเต็มที่

นายชัยชาย เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยยังโตอย่างต่อเนื่อง โดยเดือน เม.ย.การส่งออกมีมูลค่า 21,429 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.09% ภาพรวมเดือน ม.ค.-เม.ย.2564 มีมูลค่า 85,577 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 4.78%  

ส่วนการนำเข้าเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีมูลค่า 21,246 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 29.79%  ซึ่ง สรท.คาดการณ์การส่งออกปี 2564 เติบโต 6-7 % โดยหากการส่งออกไตรมาส 2 (พ.ค.-ก.ค.) ขยายตัว 15% หรือมีมูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์ และการส่งออกเฉลี่ยทุกเดือนจากนี้ถึงสิ้นปีได้เดือนละ 21,000 ล้านดอลลาร์ จะทำให้ทั้งปีขยายตัว 7%

ทั้งนี้ ปัจจัยบวกสำคัญ คือ แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐ นำเข้าพุ่งสูงขึ้นเพราะผู้ผลิตในประเทศผลิตไม่ทันความต้องการที่สูงขึ้น และหลายอุตสาหกรรมเริ่มขาดแคลนแรงงาน

รวมทั้งมีความคืบหน้าการฉีด “วัคซีนโควิด-19” ทั่วโลก และดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (World PMI index) สูงสุดรอบ 11 ปี สะท้อนฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก

นอกจากนี้ ราคาสินค้าในตลาดโลกมีทิศทางสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน อาทิ ยางพาราแปรรูปขั้นต้น ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งสอดคล้องราคาน้ำมันดิบและอุปสงค์ในตลาดโลกที่ขยายตัวจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้มูลค่าการส่งออกกลุ่มนี้ฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 1 ปีนี้

อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการส่งออกไทย โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่รุนแรงทั้งในประเทศและอาเซียน ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ล่าช้า

รวมถึงปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนแม้ภาครัฐของไทยมีประกาศอนุญาตให้เรือใหญ่ขนาด 400 เมตร เข้าไทยได้และส่งผลให้นำเข้าตู้เปล่าเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณตู้เปล่ายังไม่เพียงพอ ซึ่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในการส่งสินค้าให้กับประเทศปลายทางที่เป็นคู่ค้าสำคัญ

ประกอบกับสายเรือยังจัดสรรตู้คอนเทนเนอร์ (Space allocation) ส่วนใหญ่ให้จีนและเวียดนาม เพราะจ่ายค่าระวางอัตราสูงกว่าไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ต่อเนื่อง และอัตราค่าระวางที่ทรงตัวระดับสูงขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว

ในขณะที่สถานการณ์ความผันผวนของวัตถุดิบสำคัญ โดยเฉพาะชิปขาดแคลน ส่งผลกระทบเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องชะลอการผลิต เนื่องด้วยจำนวนสินค้าคงคลังเริ่มลดลงและคาดการณ์ว่าจะกระทบอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกรวมทั้งไทย และมีแนวโน้มว่าสถานการณ์ยืดเยื้อถึงไตรมาส 4

นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นจากการที่จีนลดกำลังการผลิตเหล็กมากกว่าครึ่งทำให้เกิดภาวะ Short Supply กระทบต้นทุนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบเหล็ก เช่น บรรจุภัณฑ์โลหะ (อาหารและเครื่องดื่มบรรจุกระป๋อง) การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องจักรกล

รวมทั้งมีปัญหาขาดแคลนแรงงานเพราะโควิด-19 ทำให้แรงงานต่างด้าวกลับประเทศจำนวนมากและยังไม่กลับมา ซึ่งกระทบภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคเกษตรที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน 2-3 แสนคน และรวมถึงผลต่อการต้องชะลอคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

สรท.ประเมินแนวโน้มการส่งออกโดยพิจารณาปัจจัยการแก้ปัญหาตู้สินค้า 3 กรณี คือ

1.กรณีการส่งออกขยายตัว 7% จะต้องมีตู้สินค้า 1.86 ล้าน TEUs หรือเฉลี่ย 158,000 TEUs/เดือน

2.กรณีการส่งออกขยายตัว 10 % จะต้องมีตู้สินค้า 2.01 ล้าน TEUs หรือเฉลี่ย 176,000 TEUs/เดือน

3.กรณีการส่งออกขยายตัว 15% จะต้องมีตู้สินค้า 2.25 ล้าน TEUs หรือเฉลี่ย 207,000 TEUs/เดือน

“การส่งออกไทยมีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวถึง 10-5 % หากหาตู้สินค้าได้ 2.01-2.25 ล้าน TEUs และมีการจัดสรรพื้นที่หรือ Space Allocation และค่าระวางอยู่ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอและรองรับต่อการเติบโตของการส่งออก"

ทั้งนี้ สรท.มีข้อเสนอให้ภาครัฐดำเนินการเพื่อสนับสนุนการส่งออก คือ 1.การเร่งรัดการฉีดวัคซีนในภาคโลจิสติกส์และภาคการผลิต เช่น ท่าเรือ ท่าอากาศยาน

2.เร่งให้มีนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาเพิ่มเติมโดยเร็วและบริหารจัดการ Space Allocation เพราะคำสั่งซื้อเริ่มฟื้นตัวระดับสูง และเอกชนไทยมีศักยภาพส่งออกจึงขอให้ภาครัฐเช่าเรือเพื่อไปนำตู้สินค้าเปล่าจากประเทศที่มีตู้ตกค้างกลับมาไทย

นางสาวกัญญภัค ตันติพิพัฒพงศ์ ที่ปรึกษา สรท.กล่าวว่า โอกาสที่การส่งออกของไทยจะขยับขึ้นไปถึง 10% มีอยู่แต่ขึ้นกับการบริหารจัดการอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้มีคำสั่งสินค้าเข้ามามาก แต่ไม่สามารถส่งสินค้าได้เนื่องจากไม่มีตู้ขนส่งสินค้า ประกอบกับสหรัฐอัดฉีดเงินมหาศาลเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ โดยจะเป็นโอกาสส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาตลาดสหรัฐโตต่อเนื่อง แต่ถ้าไทยไม่รีบแก้ปัญหาจะเสียเปรียบคู่แข่ง

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 2 มิถุนายน 2564

‘สุริยะ’ชี้สัญญาณการผลิตอุตสาหกรรมดีขึ้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรมเปิดเผยถึงสถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรม ว่ามีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีทำให้ต่อตัวเลขการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นและภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่องส่งผลให้แนวโน้มภาคการผลิตของประเทศเติบโตแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยเวลานี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐถือเป็นเครื่องจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ไปได้

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กล่าวว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(เอ็มพีไอ) เดือนเมษายน 2564 เพิ่มขึ้น 18.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อัตราการใช้กำลังผลิต 59.58% เนื่องจากเดือนเมษายน 2563 รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ และทั่วโลกเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ปีนี้ถึงแม้ไทยจะมีการระบาดระลอกใหม่ แต่ไม่มีการล็อกดาวน์ ขณะที่หลายประเทศสถานการณ์คลี่คลายจากการกระจายวัคซีน

เอ็มพีไอช่วง 4 เดือนแรกปี 2564(มกราคม-เมษายน) ขยายตัว 4.38% อัตราใช้กำลังการผลิต65.48% โดยเอ็มพีไอที่ขยายตัวสอดรับกับตัวเลขการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ และอากาศยาน) เดือนเมษายน 2564ขยายตัว 45.69% ขณะที่การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 26.82% และการนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัว 18.61%

อุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนเมษายน 2564 ประกอบด้วย รถยนต์และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้น 288.06% เบียร์เพิ่มขึ้น 515.18% เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่

“ค่อนข้างมั่นใจว่าเดือนพฤษภาคมเอ็มพีไอจะขยายตัวต่อเนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 2563ขณะที่ส่งออกแนวโน้มดีขึ้น เป็นเครื่องยนต์ร่วมกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ปีนี้ส่วนการติดเชื้อโควิด-19 ของแรงงานในภาคการผลิต อาจส่งผลต่อการผลิตบ้าง แต่ไม่น่าส่งผลต่อภาพรวม เนื่องจากเป็นการติดเชื้อเฉพาะกลุ่ม” นายทองชัยกล่าว

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 1 มิถุนายน 2564

บทความพิเศษ : กรมฝนหลวงพร้อมช่วยปชช.ไม่มีวันหยุด เพิ่มน้ำพื้นที่เกษตรสู้ภัยแล้งสะสมระยะยาว

กรมฝนหลวงฯ พร้อมช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่มีวันหยุด เชิญชวน ติดตามสถานการณ์ผ่านไลฟ์สดทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ทุกวัน เพื่อเตรียมการรับมือได้ทันท่วงที

แม้ว่าในขณะนี้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่บางพื้นที่ยังพบฝนทิ้งช่วง กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงยังต้องมีการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่องไม่มีวันหยุด เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนและเกษตรกร พร้อมเชิญชวนให้ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศผ่านไลฟ์สดทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ทุกวัน เพื่อจะได้เตรียมการรับมือได้ทันท่วงที

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 149 ล้านไร่โดยเป็นพื้นที่เกษตรอาศัยน้ำฝนกว่า 110 ล้านไร่ และเป็นพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทาน จำนวน 30 กว่าล้านไร่ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนมาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าเข้าสู่ฤดูฝนไม่เต็มที่ บางพื้นที่อาจมีลักษณะฝนทิ้งช่วง ยังคงมีฝนตกเป็นบางแห่ง และตกไม่กระจายตัวในทุกพื้นที่ ในขณะที่หลายๆ พื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังคงมีความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงต้องเตรียมการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเกษตรกรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรที่ต้องอาศัยน้ำฝน จะต้องปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมเต็มให้กับพี่น้องเกษตรกรบรรเทาความเสียหายในการทำเกษตร โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของกรมฝนหลวงและข้อมูลที่ได้รับจากอาสาสมัครฝนหลวงในพื้นที่ มาวางแผนจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้บูรณาการ การทำงานร่วมกับกองทัพอากาศและกองทัพบก เปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 1 มิถุนายน 2564

ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ชี้ข้าวเปลือกเหนียว-น้ำตาลทรายดิบ-ยางพารา ยังราคาดี

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้ความต้องการของตลาดโลก และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนมิถุนายน 2564 ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียว น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ และปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สุกร กุ้งขาวแวนนาไม และโคเนื้อ มีแนวโน้มราคาปรับลดลง

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนมิถุนายน 2564 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 10,637-10,680 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.92-1.33 เนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวเหนียวเพิ่มขึ้น ในเทศกาลวันไหว้บ๊ะจ่างของชาวจีน ประกอบกับสตอกข้าวเหนียวของผู้ประกอบการเริ่มลดลง น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 17.14-17.24 เซนต์/ปอนด์ (11.89-11.96 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.60-1.20 เนื่องจากคาดว่า ปริมาณการผลิตและการส่งออกเอทานอลของประเทศบราซิลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพบว่ายอดการส่งออกเอทานอล ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.2 จากปีก่อน ทำให้โรงงานน้ำตาลของบราซิลปรับเพิ่มสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตเอทานอล ขณะที่ความต้องการใช้น้ำตาลของโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีนได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การนำเข้าน้ำตาลอีก 0.6 ล้านตัน เป็น 4.5 ล้านตัน จากการที่ผลผลิตน้ำตาลภายในประเทศลดลง ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 58.08-58.80 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.82-2.07 เนื่องจากปริมาณยางพาราที่ออกสู่ตลาดมีแนวโน้มลดลงกว่าที่คาดการณ์ จากการขาดแคลนแรงงานกรีดยางและภูมิอากาศฝนตกชุก ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากการเข้าถึงและการกระจายวัคซีน ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลเยนของประเทศญี่ปุ่น และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 5.16-5.22 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.09-5.33 เนื่องจากผลผลิตน้ำมันปาล์มของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์ม อันดับ 2 ของโลก ปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 8,642-8,706 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.24-1.96 เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวและสตอกข้าวของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณข้าวส่วนเกินระบายออกสู่ตลาดโลกเป็นจำนวนมาก ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,235-11,381 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.51-2.77 เนื่องจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้เกิดปัญหาการส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดยุโรป ประกอบกับความต้องการใช้ของผู้ประกอบการ อาทิ ร้านอาหารและภัตตาคารลดลง จากนโยบายควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.59-7.63 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.20-0.80 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่นที่ 1 ปริมาณผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด ขณะที่ผู้ประกอบการได้มีการนำเข้าวัตถุดิบอื่นเพื่อผลิตอาหารสัตว์ในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศทรงตัว

มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 1.89-1.93 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.52-2.58 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ลานมันสำปะหลังเส้นปิดการรับซื้อ และผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวได้อาจมีคุณภาพลดลงจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น สุกร ราคาอยู่ที่ 75.08-76.28 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44-2.01 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังรุนแรงต่อเนื่อง และมาตรการเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง กุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 137.20-138.32 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.20-2.00 เนื่องจากมีปัจจัยกดดันราคาจากมาตรการควบคุมร้านอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คาดว่าจะยังคงเข้มงวดในพื้นที่เสี่ยงสูง และความกังวลของผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัย ประกอบกับสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศที่ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการบริโภคกุ้งในประเทศลดลง และโคเนื้อ ราคาอยู่ที่ 98.24-98.31 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.01-0.08 เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ความต้องการบริโภคเนื้อโคลดลง ตามแนวโน้มเนื้อสัตว์ประเภทอื่น จากอาหารตามธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ผลผลิตเนื้อโคอาจลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปีสกินในโคและกระบือ.

จาก https://tna.mcot.net วันที่ 1 มิถุนายน 2564

ผ่าเส้นทางวิบากส่งออกไทย ลุ้นกันยาวๆ ดันทั้งปีโต 5-7%

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2564 มีมติ ปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกไทยจะขยายตัวได้ที่ 5-7% จากเดิมคาดขยายตัว 4-6 % ขณะที่สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ปรับคาดการณ์ส่งออกเพิ่มเป็น 6-7% จากเดิมคาดขยายตัว 4-6% และแม้กระทั่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ก็ได้ปรับตัวเลขส่งออกเพิ่มเป็น 10.3% จากเดิมคาด 5.8%ปัจจัยหลักที่ทุกสำนักพยากรณ์ปรับตัวเลขการส่งออกไทยสูงขึ้นมีปัจจัยจากเศรษฐกิจ และการค้าโลกกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจที่เป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกทั้งสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น กลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ หลังซมพิษโควิดในปีที่ผ่านมา รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดหลักปรับตัวดีขึ้น หลังหลายประเทศมีการระดมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชน มีผลให้กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้นสอดคล้องกันกับตัวเลขการส่งออกเดือนเมษายนล่าสุดไทยส่งออกได้ 21,429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวที่ 13% ถือเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 36 เดือนหรือในรอบ 3 ปี ขณะที่เทียบการส่งออกช่วง 4 เดือนแรกปี 2564 ที่ส่งออกได้ 85,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.7% ซึ่งหากเทียบกับตัวเลข 4 เดือนแรกปี 2562 ที่เป็นปีฐานปกติที่ไม่มีโรคโควิด ไทยส่งออกได้ 80,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกไทยขยายตัวที่ 6%ทั้งนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุ 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคการส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาได้แก่ 1.ปัจจัยจากต่างประเทศที่เศรษฐกิจ และการค้าโลกฟื้นตัว 2.ปัจจัยจากการบริหารจัดการส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการวางแผนร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด รวมถึงการช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ผ่านกลไกของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) มาอย่างต่อเนื่องสำหรับแผนงาน/นโยบายของกระทรวงเพื่อผลักดันการส่งออกในเดือนที่เหลือของปีนี้รวมถึงในอนาคตจะดำเนินนโยบายเชิงรุกโดยแบ่งตลาดออกเป็น 3 ตลาด คือ 1.ตลาดเดิมที่ยังต้องรักษาไว้ เช่น สหรัฐฯ จีน ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น 2.เจาะเพิ่มตลาดใหม่ เช่น รัสเซีย กลุ่มประเทศยูเรเซีย มองโกเลีย อินเดีย เป็นต้น และ 3.ฟื้นตลาดเก่าที่เคยเสียไปให้กลับคืนมา เช่น อิรัก ซาอุดีอาระเบีย และประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ โดยช่องทางการตลาดหลักในยุค New Normal ที่ไม่สามารถค้าขายผ่านออฟไลน์ได้ตามปกติ จะเน้นการจัดเจรจาการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การปรับรูปแบบการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในไทยเป็นรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Trade Fair) หรือรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) การเพิ่มพันธมิตรแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซชั้นนำของต่างประเทศในตลาดต่างๆ เพื่อช่วยขายสินค้าไทยมากขึ้น เป็นต้นผ่าเส้นทางวิบากส่งออกไทย ลุ้นกันยาวๆ ดันทั้งปีโต 5-7%

ทั้งนี้แม้ตัวเลขการส่งออก 4 เดือนแรกมีทิศทางการขยายตัวที่ดี แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศยังไม่ปรับเป้าหมายการส่งออกของปีนี้ใหม่ ยังคงไว้ที่ 4% ตามเดิม แต่วงในจากที่ประชุมร่วมระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กับตัวแทนสถาบันภาคเอกชนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาคเอกชนได้ประเมินสถานการณ์ส่งออกไทยทั้งปีนี้น่าจะขยายตัวได้มากกว่า 6% ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าฯ จะนำข้อมูลที่ได้ไปเสนอให้นายจุรินทร์ เป็นผู้พิจารณาปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกคาดจะประกาศตัวเลขใหม่ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้จากทิศทางการส่งออกไทยที่ทุกฝ่ายชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ปีนี้อย่างไรน่าจะขยายตัวในระดับ 5-7% (มูลค่า 243,042-247,671 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งอกของไทยกลับไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด (ปี 2562 ไทยส่งออก 246,269 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ทั้งนี้จากช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ที่ไทยส่งออกแล้ว 85,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากทั้งปีนี้จะผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวได้ที่ 5% ในอีก 8 เดือนที่เหลือจะต้องส่งออกเฉลี่ย 19,683 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน และหากจะขยายตัวที่ 7% ต้องส่งออกเฉลี่ย 20,262 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนอย่างไรก็ดีแม้การผลักดันการส่งออกในปีนี้ให้ขยายตัว 5-7% จะเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ภาคเอกชนมองอาจทำให้ภาคการส่งออกสะดุดในเดือนที่เหลือปีนี้ได้แก่ ข้อกังวลเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลามเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกที่ยังต้องคุมเข้ม ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าที่ต้องแย่งชิงกับผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น จีน เวียดนาม ค่าระวางเรือที่ปรับเพิ่มขึ้น 100-300% จากภาวะปกติ (ขึ้นกับเส้นทางการขนส่ง) ราคาแผ่นเหล็กเคลือบทั้งเหล็กทินเพลท และเหล็กทินฟรี ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตกระป๋องเพื่อบรรจุอาหารมีการขยับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมรถยนต์กระทบต่อการผลิตรถรุ่นใหม่ๆ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 2-3 แสนคน จากผลกระทบแรงงานต่างด้าวกลับประเทศช่วงการระบาดของโควิด และยังไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาได้ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการส่งออกไทยมากน้อยแค่ไหน และสุดท้ายแล้วส่งออกไทยทั้งปีนี้จะขยายตัวได้ที่ 5-7% หรือไม่ คงต้องรอลุ้นกันยาวๆ ในอีกหลายเดือนที่เหลือ

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

'จุรินทร์'ลุยเอเปค ถกรมต.การค้าฟื้นศก.

“จุรินทร์”เตรียมเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค 4-5 มิ.ย.นี้ เร่งหารือแนวทางรับมือและฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ องนายกฯและรมว.พาณิชย์ จะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) ซึ่งเป็นกลุ่มภาคเอกชนจาก 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 4 - 5 มิถุนายนนี้

นางอรมน กล่าวว่า สำหรับการประชุม ABAC จะหารือในประเด็นสำคัญ เช่น การรวมกลุ่มเศรษฐกิจ การลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าจำเป็นข้ามพรมแดน ในช่วงการระบาดของโควิด-19 และการรับมือทางเศรษฐกิจต่อวิกฤตโควิด-19 เป็นต้น ส่วนการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค จะหารือในประเด็นการฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคจากสถานการณ์โควิด-19 และการสนับสนุนให้ระบบการค้าพหุภาคีขององค์การการค้าโลก (WTO) เป็นกลไกให้เกิดการค้าเสรีที่เป็นธรรมและยั่งยืน โดยนางเอ็นโกซี โอคอนโจ-อิเวียลา (Mrs.Ngozi Okonjo-Iweala) ผู้อำนวยการใหญ่ WTO จะเข้าร่วมการประชุมด้วย เพื่อรายงานความคืบหน้าการปฏิรูป WTO และการเตรียมการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 ที่จะจัดขึ้นที่นครเจนีวาปลายปีนี้

นิวซีแลนด์ในฐานะเจ้าภาพการประชุม ได้กำหนดให้เรื่องความร่วมมือ การทำงาน และการเติบโตไปด้วยกัน (Join, Work, Grow Together) เป็นประเด็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการประชุมเอเปคปีนี้ โดยมุ่งหวังให้สมาชิกเอเปคได้ร่วมกันขับเคลื่อน รับมือ และทำงานร่วมกัน เพื่อฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคให้กลับมาขยายตัว และเติบโตได้อย่างยั่งยืนหลังวิกฤติโควิด-19 นางอรมนเสริม

ทั้งนี้ เอเปคเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 21 เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ แคนาดา ชิลี เปรู เม็กซิโก รัสเซีย จีน จีนฮ่องกง จีนไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ปาปัวนิวกินี บูรไนฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยในปี 2563 การค้าระหว่างไทยกับกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค มีมูลค่า 315 ล้านเหรียญสหรัฐ (9.8 ล้านล้านบาท) โดยไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 165 ล้านเหรียญสหรัฐ (5.1 ล้านล้านบาท) และไทยนำเข้าจากเอเปคมูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (4.7 ล้านล้านบาท)

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ  31.19 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท-ได้รับแรงหนุนฝั่งแข็งค่า จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ  31.19 บาท/ดอลลาร์จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 31.24 บาทต่อดอลลาร์  คาดกรอบวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 31.15-31.25 บาท/ดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า แม้ว่าวานนี้จะเป็นวันหยุดในฝั่งสหรัฐฯ ทว่า โดยรวมตลาดการเงินก็กลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้เล่นในตลาดการเงินกลับมาขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อรอดูสัญญาณการฟื้นตัวของการจ้างงานในฝั่งสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินเฟ้อได้ โดยแรงเทขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในฝั่งยุโรป ที่นักลงทุนทยอยขายทำกำไรหุ้นยุโรป กดดันให้ ดัชนี STOXX50 ปิดลบราว 0.76% ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่ที่ปรับตัวลดลงจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม (Industrial) อาทิ Bayer -1.42%, Airbus -1.24% รวมถึง หุ้นในกลุ่มธนาคารและการเงินที่ทยอยปรับตัวลดลง (BNP Paribas -1.12%, Allianz -1.08%, Safran -1.08%) นอกจากนี้ ภาพตลาดที่เริ่มกลับมาระมัดระวังตัวมากขึ้น ยังสะท้อนผ่านตลาดฟิวเจอร์ โดย ฟิวเจอร์ดัชนีตลาดหุ้นในฝั่งสหรัฐฯ อาทิ ฟิวเจอร์ดัชนี Downjones, S&P500 และ Nasdaq ก็ล้วนปรับตัวลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี แม้ว่าบรรยากาศโดยรวมจะไม่สดใสนัก ทว่าในฝั่งตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และ WTI ต่างก็ปรับตัวขึ้นไม่น้อยกว่า 1% หลังจากที่กลุ่ม OPEC+ เปิดเผยในรายงานว่า ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกในปีนี้ ยังคงเพิ่มสูงขึ้นกว่า 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 96.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และยังมองว่า ตลาดน้ำมันโลกอาจเผชิญภาวะตึงตัว เนื่องจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของความต้องการใช้น้ำมัน ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันในอัตราเฉลี่ย 1.4 ล้านบาร์เรลต่อปี อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะจับตาการประชุมรายเดือนของสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ในวันนี้ เพื่อติดตามแผนการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ที่คาดว่าจะมีการทยอยเพิ่มกำลังการผลิต รวมถึง แนวโน้มการเพิ่มกำลังการผลิตและส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ในส่วนตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) อ่อนค่าลงสู่ระดับ 89.79 จุด กดดันโดยการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR)ุระดับ 1.2229 ดอลลาร์ต่อยูโร และ เงินปอนด์ (GBP) ที่แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.4224 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ตามแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนและอังกฤษ

สำหรับวันนี้ ผู้ในเล่นตลาดส่วนใหญ่จะยังคงติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดย ตลาดมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนผ่าน การขยายตัวของทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรม โดยในเดือนพฤษภาคม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (ISM Manufacturing PMI) จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 60.9 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ส่วนในฝั่งเอเชีย ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.10% เพื่อประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และอาจจะเริ่มส่งสัญญาณทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ หลังจากที่ออสเตรเลียสามารถคุมสถาณการณ์การระบาดของ COVID-19 และแจกจ่ายวัคซีนได้ดี แนวโน้มค่าเงินบาท  โดยรวมค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวในกรอบ เพราะแม้ว่า เงินบาทจะได้รับแรงหนุนฝั่งแข็งค่า จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ รวมถึง โฟลว์ขายทำกำไรทองคำ (ขายกำไรบนสกุลเงินดอลลาร์ และแลกกลับมาเป็นเงินบาท) แต่ ค่าเงินบาทก็ยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่ จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติยังคงเป็นฝั่งขายสุทธิสินทรัพย์ไทย

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564