http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนพฤศจิกายน 2558)

 

ชาวไร่ตบเท้าจี้อรรชกาเร่งสรุปราคาอ้อยขั้นต้น

          ชาวไร่เตรียมยื่นหนังสือ "อรรชกา" 30 พ.ย.นี้ เร่งชงราคาอ้อยขั้นต้น 58/59 เข้า ครม.พร้อมโต้ 2 ราคา ไม่ทำให้เกิดปัญหาแย่งอ้อย

          นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า วัน ที่ 30 พ.ย.นี้ องค์กรชาวไร่อ้อยเตรียมที่จะยื่นหนังสือถึงนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอให้เร่งรัดการนำราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2558/59 เข้า สู่การพิจารณาในคณะรัฐมน ตรี (ครม.) โดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายได้ทยอยเปิดหีบอ้อยตั้งแต่ 25 พ.ย.นี้ เพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยโดยเร็ว

          ทั้งนี้กรณีที่ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายได้ทำ หนังสือร้องไปยังนายกรัฐมน ตรีคัดค้านการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นตามที่คณะกรรม การอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ประกาศไว้ 2 ราคา คือเขต 5 (สุพรรณบุรี) ที่กำหนดไว้ที่ 773 บาทต่อตันที่ระดับความหวาน 10 ซีซีเอส ส่วนราคาคำนวณเขต อื่นๆ 8 เขตอยู่ที่ 808 บาทต่อตัน เพราะจะทำให้เกิดการแย่งอ้อยไม่ได้เป็นเหตุผลที่เพียงพอ เนื่องจากโรงงานน้ำตาลทราบดีอยู่แล้วว่า ไม่ว่าจะประกาศราคาใดการแย่งซื้ออ้อยมีขึ้นอยู่แล้ว แต่การพิจารณาราคาอ้อยตามเขตนั้นเป็นสิ่งที่จะบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของโรงงานและชาวไร่อ้อยด้วยเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน

          นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำ ตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า กอน.ได้กำหนดราคาอ้อยไว้ 9 เขตในอัตราไม่ต่ำกว่า 80% ตามต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งเมื่อคำนวณราคาจะแตกต่างกันตั้งแต่ 777.26-854.33 บาทต่อตัน ดังนั้นคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาราคาที่ 99.5% ในเขตที่ต่ำสุดได้ที่  773.37 บาทต่อตัน ซึ่งตัวแทนชาวไร่อ้อยได้เสนอว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่ 773 บาทต่อตัน เป็นราคาอ้อยของเขต 5 โดยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพียง 3.82 แสนตันหรือ 0.35% ของ อ้อยทั่วประเทศ หากนำราคาอ้อยต่ำสุดมาประกาศใช้ก็จะทำให้ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ได้รับค่าอ้อยน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจึงน่าจะเป็น 2 ราคา.

จาก http://www.thaipost.net วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

ชาวไร่ยื่นหนังสือถึง‘อรรชกา’ หนุนการกำหนดอ้อยขั้นต้น2ราคา

นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่30 พฤศจิกายน 2558 นี้ องค์กรชาวไร่อ้อย ได้เตรียมที่จะยื่นหนังสือถึงนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอให้เร่งรัดดำเนินการนำราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2558/59 เข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายได้ทยอยเปิดหีบอ้อยตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 แล้ว เพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยโดยเร็ว

โดยชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่เห็นว่า ราคาอ้อยตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เห็นชอบประกาศราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2558/59 ไว้ที่ 2 ราคา คือ เขต 5 (สุพรรณบุรี) กำหนดราคาไว้ที่ 773 บาทต่อตัน ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. ส่วนราคาคำนวณเขตอื่นๆ 8 เขต อยู่ที่ระดับราคา 808 บาทต่อตัน ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. เช่นเดียวกัน

“จากกรณีที่ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รมว.อุตสาหกรรม, รมว.พาณิชย์ และรมว.เกษตรและสหกรณ์ โดยระบุว่าไม่เห็นด้วยกับราคาอ้อยขั้นต้นตามที่ กอน.ประกาศไว้ 2 ราคา โดยอ้างว่าจะทำให้เกิดการแย่งอ้อย ซึ่งไม่ได้เป็นเหตุผลที่เพียงพอ เพราะโรงงงานน้ำตาลก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ไม่ว่าจะมีการประกาศราคาใดออกมา การแย่งซื้ออ้อยก็จะมีขึ้นอยู่แล้ว แต่การพิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นตามเขตนั้น เป็นสิ่งที่จะบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน”นายธีระชัย กล่าว

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่า กอน.ได้กำหนดราคาอ้อยไว้ 9 เขต ในอัตราไม่ต่ำกว่า 80% ตามต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อคำนวณราคาจะแตกต่างกันตั้งแต่ 777.26-854.33 บาทต่อตัน ซึ่งคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาราคาที่ 99.5% ในเขตที่ต่ำสุดได้ที่ 773.37 บาทต่อตัน โดยตัวแทนชาวไร่อ้อยได้เสนอว่า ราคาอ้อยขั้นต้นที่ 773 บาทต่อตัน เป็นราคาอ้อยของเขต 5 เพราะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพียง3.82 แสนตัน หรือ 0.35% ของอ้อยทั่วประเทศ ดังนั้น หากนำราคาอ้อยต่ำสุดมาประกาศใช้ ก็จะทำให้ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ได้รับค่าอ้อยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ราคาอ้อยขั้นต้นจึงน่าจะเป็น 2 ราคา

“ทั้งนี้ ในการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น จึงเห็นว่าน่าจะนำราคาอ้อยเขตต่ำสุดรองลงมา คือ เขต 2 จากที่เหลืออีก 8 เขต ซึ่งอยู่ที่ 812.89 บาทต่อตัน มาคิด ก็จะได้ราคาอ้อยของเขตที่เหลือ 808 บาทต่อตัน และราคาที่ต่างกัน 35 บาทต่อตัน ก็ไม่มีผลต่อการแย่งอ้อย เพราะค่าบรรทุกอ้อยส่งโรงงานที่ 25 กิโลเมตร (กม.) กับ 50 กม. มีค่าระวางต่างกัน 30 บาทต่อตัน”นายสมศักดิ์ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

เล็งกระตุ้นศก.‘ก๊อก2’ปีหน้า ‘สมคิด’นัดพบนายกฯถกนโยบายประชารัฐ

สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 33 ที่จ.อุดรธานี ได้ปิดฉากลงแล้ว โดยเอกชนมอบ “สมุดปกขาว” เป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้าน“สมคิด”เผย 3 ธ.ค. เตรียมนำเอกชน 20 ราย เข้าหารือนายกฯ ถกนโยบายประชารัฐให้เป็นรูปธรรม ยันไม่ได้หาเสียง แต่ช่วยลดเหลื่อมล้ำ และการสร้างความปรองดอง

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2558 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สร้างไทยให้เข้มแข็ง” ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 33 ที่จ.อุดรธานี

นายสมคิด กล่าวว่า ในวันที่ 3 ธ.ค. 2558 นี้ จะมีการหารือในการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐให้เป็นรูปธรรม ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนักธุรกิจกว่า 20 ราย เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน และอนาคตเอกชนจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีความเข้มแข็งกว่าทุกภาคส่วน จึงต้องการให้เอกชนเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐ ที่ถือเป็นการร่วมมือไตรภาคี ระหว่าง 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการร่วมกันพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน

“ถ้าทุกฝ่ายคุยกันมากเท่าไหร่ ความเข้าใจก็จะมีมากขึ้น นโยบายประชารัฐ ไม่ได้ทำเพื่อการหาเสียง แต่จะเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างความปรองดองให้ประเทศไทย ประชารัฐไม่ใช่แค่ราคาคุย แต่ถ้าทำได้จะทำให้ประเทศได้ประโยชน์มหาศาล เราทำได้หรือไม่เราไม่รู้ แต่เราต้องพยายาม”

นายสมคิดกล่าวอีกว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 ที่จะออกมาในปีหน้า หลังจากที่ปีนี้ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนแล้ว ซึ่งทางรัฐก็ต้องการให้ทุกภาคส่วน ทั้ง เอกชน ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล ชุมชนต่างๆ และประชาชน ช่วยกันคิดแผนโครงการล่วงหน้าในการสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น ทั้งการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาเกษตรแปรรูป และการส่งเสริมเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

ขณะเดียวกันได้มอบนโยบายให้ กระทรวงพาณิชย์ และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ในการส่งเสริมและคอยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ออกไปลงทุนในประเทศอาเซียนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน(เออีซี) เช่น หาก

 ผู้ประกอบการไทยถูกโกงในต่างประเทศก็จะมีแนวทางในการเข้าไปช่วยเหลือได้ทันทีเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศ

นอกจากนี้ หลังจากที่ได้มีการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ทางนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ต้องการให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ทีพีพี เพราะญี่ปุ่นมีการลงทุนในไทยมาก และหากเข้าร่วมจะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ ซึ่งตนได้ตอบกลับไปว่าไทยมีความสนใจจะเข้าร่วม แต่เนื่องจากยังมีเรื่องละเอียดอ่อนหลายเรื่อง จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างถี่ถ้วน และต้องมีการทำความเข้าใจกับทุกส่วนก่อน

“รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายให้ประเทศเดินหน้าด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน โดยไม่ยึดติดแต่ตัวเลขการเติบโตของจีดีพีอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องนำไปสู่การปฏิบัติ เพราะจะเป็นตัวเร่งเศรษฐกิจได้ดี”

พร้อมให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือกลุ่ม CLMV ที่ต้องเอื้อประโยชน์และเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งขณะนี้รัฐบาล กำลังขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ซึ่งได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ไปปรับบทบาท และหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับเอกชนไทยในทุกรูปแบบ

นายสมคิด กล่าวอีกว่า จากการเสวนาครั้งนี้ ทางหอการค้าฯได้มอบสมุดปกขาวแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งพร้อมรับไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป

มีรายงานข่าวแจ้งว่า ผลการสรุปข้อเสนอของการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 33 นี้ จะจัดทำเป็นสมุดปกขาวเสนอต่อรัฐบาล ได้เห็นความจำเป็นในการปรับตัวเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลง โดยใช้นวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งจะเน้นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งการผลักดันเอสเอ็มอี ต่อยอดธุรกิจเดิม และให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ด้วยนวัตกรรม ภาคบริการเชิงสร้างสรรค์ เน้น 3 ธุรกิจทั้งท่องเที่ยว สุขภาพ และดิจิทัล และภาคเกษตร โดยใช้นวัตกรรมมาเพิ่มคุณภาพและผลผลิต และสร้างการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการแข่งขัน รวมทั้งใช้แนวคิด “การตลาดนำการผลิต” เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด ทั้งนี้ ต้องสร้างให้เกิดความโดดเด่น และแตกต่าง เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลง

จาก http://www.naewna.com วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

ชาวไร่อ้อยเร่ง ครม.เคาะราคาขั้นต้น เชียร์มติ กอน.หนุนประกาศ 2 ราคา ตีกันรง.น้ำตาลออกโรงค้าน

ชาวไร่อ้อย ยื่นหนังสือถึง "อรรชกา" ขอให้เร่งนำราคาอ้อยขั้นต้นฤดูผลิต 2558/59 เสนอ ครม.ด่วนสุด เพื่อเห็นชอบตามประกาศ กอน. กำหนด 2 ราคาตามเขต ตันละ 773 บาท และ 808 บาท อ้างเหตุช่วยป้องกันการเอารัดเอาเปรียบราคารับซื้อจากโรงงานน้ำตาล

นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า ต้นสัปดาห์นี้ องค์กรชาวไร่อ้อย จะยื่นหนังสือถึงนางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอให้เร่งรัดการนำราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/59 เข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้โรงงานน้ำตาลทราย ได้ทยอยเปิดหีบอ้อยตั้งแต่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยโดยเร็ว ทั้งนี้ ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับราคาอ้อย ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เห็นชอบประกาศราคาอ้อยขั้นต้นปี 2558/59 ไว้ 2 ราคา คือ เขต 5 (สุพรรณบุรี) ที่กำหนดไว้ที่ 773 บาทต่อตัน ที่ระดับความหวาน 10 ซีซีเอส ส่วนราคาคำนวณเขตอื่นๆ อีก 8 เขต อยู่ที่ 808 บาทต่อตัน ดังนั้น กรณีที่ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ทำหนังสือร้องไปยังนายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ โดยอ้างว่าไม่เห็นด้วยกับราคาอ้อยขั้นต้น ตามที่ กอน.ประกาศไว้ 2 ราคา โดยอ้างว่าจะทำให้เกิดการแย่งอ้อยไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอ เพราะทราบอยู่แล้วว่าปัญหาแย่งอ้อยมีมาตลอด

"โรงงานน้ำตาลต่างทราบดีว่า ไม่ว่าจะประกาศราคาใด ปัญหาการแย่งซื้ออ้อยมีขึ้นอยู่แล้ว แต่การพิจารณาราคาอ้อยตามเขตนั้นเป็นสิ่งที่จะบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของโรงงานและชาวไร่อ้อยด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน" นายธีระชัยกล่าว

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า กอน.ได้กำหนดราคาอ้อยไว้ 9 เขตในอัตราไม่ต่ำกว่า 80% ตามต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อคำนวณราคาจะแตกต่างกัน ตั้งแต่ 777.26-854.33 บาทต่อตัน คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาราคาที่ 99.5% ในเขตที่ต่ำสุดได้ที่ 773.37 บาทต่อตัน โดยตัวแทนชาวไร่อ้อยได้เสนอว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่ 773 บาทต่อตันเป็นราคาอ้อยของเขต 5 ซึ่งมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพียง 3.82 แสนตันหรือ 0.35% ของอ้อยทั่วประเทศ หากนำราคาอ้อยต่ำสุดมาประกาศใช้จะทำให้ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ได้รับค่าอ้อยน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจึงน่าจะเป็น 2 ราคา

 "กอน.จึงเห็นว่า น่าจะนำราคาอ้อยเขตต่ำสุด รองลงมาคือเขต 2 จากที่เหลืออีก 8 เขต ซึ่งอยู่ที่ 812.89 บาทต่อตันมาคิด จึงได้ราคาอ้อยของ 8 เขตที่ 808 บาทต่อตัน ส่วนเขต 5 อยู่ที่ 773 บาทต่อตัน และราคาที่ต่างกัน 35 บาทต่อตัน ไม่มีผลต่อการแย่งอ้อย เพราะค่าบรรทุกอ้อยส่งโรงงานที่ 25 กิโลเมตร (กม.) กับ 50 กม.มีค่าระวางต่างกัน 30 บาทต่อตันอยู่แล้ว หากเลือกไปส่งโรงงานที่ระยะไกลกว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจไม่คุ้มก็ได้" นายสมศักดิ์กล่าว

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

ชี้ไทยยังตรึงดอกเบี้ยต่อ สกัดเงินบาทอ่อนค่าลง

บลจ.วรรณ มองทิศทางดอกเบี้ยตลาดโลกเข้าสู่ขาขึ้น ส่วนของไทยยังทรงตัวระดับต่ำต่อไป เพื่อสกัดเงินบาทอ่อนค่า

นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ เปิดเผยว่า คาดการณ์อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ของตลาดในประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งประเทศไทย มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกที่เข้าสู่ช่วงขาขึ้น จากที่ตลาดคาดการณ์ถึงโอกาสความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในวันที่ 15-16 ธ.ค.2558

นอกจากนี้ ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ซึ่งคาดว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับ 1.50% ต่อไป เพื่อสกัดการอ่อนค่าของเงินบาท โดยปีหน้าบคาดว่าค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าแตะระดับ 36.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จากผลกระทบจากไหลออกของกระแสเงินทุนต่างชาติ

ทั้งนี้ หากสถานการณ์ความไม่สงบของประเทศฝรั่งเศสและประเทศพันธมิตรไม่มีความรุนแรงขึ้น มองว่าโอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.นี้ มีค่อนข้างสูง โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป อาจปรับขึ้นในปีนี้ที่ 0.25% และครึ่งปีแรก 2559 อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง เนื่องจากช่วงครึ่งปีหลัง ทางสหรัฐจะมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ มองว่าเฟดจะไม่พิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย.

จาก http://www.thaipost.net   วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

ชาวไร่เร่งอุตฯชงราคาอ้อยเข้าครม.

 กอน. นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า องค์กรชาวไร่อ้อย เตรียมยื่นหนังสือถึงนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ เพื่อขอให้เร่งรัดนำราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 58/59 เข้าสู่ที่ประชุมครม.โดยเร็ว

เนื่องจากขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายได้ทยอยเปิดหีบอ้อยตั้งแต่ 25 พ.ย. เพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยโดยเร็ว และส่วนใหญ่เห็นว่า ราคาอ้อยตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)เห็นชอบประกาศราคาอ้อยขั้นต้นปี 58/59 ไว้ 2 ราคาคือ เขต 5 (สุพรรณบุรี) ที่กำหนดไว้ที่ 773 บาทต่อตันที่ระดับความหวาน 10 ซีซีเอส ส่วนราคาคำนวณเขตอื่นๆ 8 เขตอยู่ที่ 808 บาทต่อตัน เป็นราคาที่เหมาะสม และไม่เกิดปัญหาการแย่งซื้ออ้อย

ตามที่ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายระบุ"กรณีที่3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายได้ทำหนังสือร้องไปยังนายกรัฐมนตรีโดยอ้างว่าไม่เห็นด้วยกับราคาอ้อยขั้นต้นตามที่กอน.ประกาศไว้2 ราคาโดยอ้างว่าจะทำให้เกิดการแย่งอ้อยไม่ได้เป็นเหตุผลที่เพียงพอ เพราะโรงงานก็ทราบดีว่าไม่ว่าจะประกาศราคาใดการแย่งซื้ออ้อยมีขึ้นอยู่แล้ว แต่การพิจารณาราคาอ้อยตามเขตนั้นเป็นสิ่งที่จะบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของโรงงานและชาวไร่อ้อยด้วยเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน"

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่า กอน.ได้กำหนดราคาอ้อยไว้ 9 เขตในอัตราไม่ต่ำกว่า80% ตามต้นทุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งเมื่อคำนวณราคาจะแตกต่างกันตั้งแต่777.26-854.33 บาทต่อตัน ซึ่งคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาราคาที่99.5% ในเขตที่ต่ำสุดไว้ที่ 773.37 บาทต่อตัน โดยตัวแทนชาวไร่อ้อยได้เสนอว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่ 773 บาทต่อตันเป็นราคาอ้อยของเขต5 ซึ่งมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพียง 382,000 ตัน หรือ 0.35%ของอ้อยทั่วประเทศ

หากนำราคาอ้อยต่ำสุดมาประกาศใช้ จะทำให้ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ได้รับค่าอ้อยน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจึงน่าจะเป็น 2 ราคา"การกำหนดจึงเห็นว่า น่าจะนำราคาอ้อยเขตต่ำสุดรองลงมาคือเขต 2 จากที่เหลืออีก 8 เขต ซึ่งอยู่ที่ 812.89 บาทต่อตันมาคิดก็จะได้ราคาอ้อยของเขตที่เหลือ808 บาทต่อตันและราคาที่ต่างกัน35บาทต่อตันก็ไม่มีผลต่อการแย่งอ้อยเพราะค่าบรรทุกอ้อยส่งโรงงานที่ 25 กิโลเมตร (กม.) กับ50กม. มีค่าระวางต่างกัน 30 บาทต่อตัน"“

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558

ครบุรีชูธุรกิจพลังงานครบวงจร ปลื้มแบรนด์น้ำตาล KBS พุ่งพัน ล.

น้ำตาลครบุรีทุ่มกว่า 5 พันล้านสร้าง Sugar Energy Complex เน้นบริหารต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำครบวงจร วางแผนมุ่งสู่เป้าหมายองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมเกษตรกรและผู้บริโภค เผยปลื้มยอดขายแบรนด์ KBS เพียงปีเดียวทะลุพันล้าน ชู Food Solution ผ่านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมหลากหลาย

นายทัศน์ วนากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาล ภายใต้แบรนด์ "เคบีเอส" เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงงานน้ำตาลครบุรีมีแผนขยายการลงทุนต่อเนื่อง ด้วยเงินลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล 35 เมกะวัตต์ โครงการขยายกำลังการผลิต Production Line C 12,000 ตันอ้อยต่อวัน โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลขนาด 200,000 ลิตร/วัน และโครงการก่อสร้าง Conditioning Silo และอาคารบรรจุผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยบริษัทมีแนวคิดจะทำเป็น Sugar Energy Complex ที่มีความสมบูรณ์และทันสมัยทัดเทียมโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ

"วันนี้บริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมเกษตรกรและผู้บริโภค จึงวางกลยุทธ์ระยะยาว ได้แก่ 1.ต้นน้ำ คือ ฝ่ายไร่หรือฝ่ายวัตถุดิบ ต้องเพิ่มความมั่นคงทางวัตถุดิบ ส่งเสริมให้ชาวไร่มีผลผลิตที่สูงขึ้น มีรายได้ที่ดีขึ้น จะได้ยึดอาชีพปลูกอ้อยได้อย่างยั่งยืน ช่วยให้ KBS สามารถขยายกำลังผลิตหรือลดต้นทุนต่อไป 2.กลางน้ำ คือ ฝ่ายผลิต มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพ โดยเลือกใช้โมเดล Sugar Energy Complex ซึ่งจะปรับปรุงโรงงานในปัจจุบันให้มีความทันสมัยและครบวงจร โดยมองถึงการรองรับอ้อยจำนวนมากจากเกษตรกร และมีการผลิตไฟฟ้าและเอทานอลที่เป็นธุรกิจชีวพลังงานอย่างครบถ้วน

3.ปลายน้ำ คือ การตลาดจะต้องตอบโจทย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่กับการสร้างแบรนด์ KBS ให้เป็นที่รู้จัก โดยจะเน้นคอนเซ็ปต์ของการเป็น Food Solution และยังช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้มีผลกำไรมากขึ้นด้วย"

การเปิดตัวน้ำตาลแบรนด์ใหม่ "เคบีเอส" เมื่อปีที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับที่ดีมาก ยอดขายทะลุเป้า 1 พันล้านบาท เป็นผลจากการใช้กลยุทธ์ Food Solution ที่มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยผลิตภัณฑ์ KBS 2X Double Sweet (น้ำตาลหวาน 2 เท่า) สามารถช่วยผู้ประกอบการ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขนม ลดต้นทุนลงได้กว่า 25-30% และสามารถลดพื้นที่การจัดเก็บได้ถึง 50% อีกทั้งตอบโจทย์ผู้บริโภคเรื่องสุขภาพด้วยการเป็นน้ำตาลที่ให้พลังงานต่ำ รวมถึงการมีช่องทางการขายที่หลากหลาย ในกลุ่ม Modern Trade มีส่วนสำคัญในความสำเร็จครั้งนี้ด้วย

นายภาณุพงศ์ พงศ์ติยะชวางกูล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและขายในประเทศ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปี 2559 จะเน้นการทำตลาดกลับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อย่างเข้มข้นขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์เพื่อเพิ่มยอดขายในกลุ่มผู้บริโภค นอกจากนี้ มีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติหวานสองเท่าเช่นเดิม แต่อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำน้ำตาลไปใช้ในอาหารที่หลากหลายขึ้น ขณะเดียวกันจะขยายช่องทางการขายให้หลากหลายขึ้น และจะเน้นประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

เกษตรฯจัดงานเฉลิมพระเกียรติ "ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน"

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้แนวคิด “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 ระหว่างวันที่ 2 – 6 ธันวาคม 2558 ณ บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก (บริเวณแยกผ่านฟ้า – แยก จ.ป.ร.) โดยการจัดงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ทางรัฐบาลกำหนดจัดขึ้น โดยใช้ชื่องานว่า “ถนนสายวัฒนธรรมไทย ใต้ร่มพระบารมี” ระหว่างวันที่ 3 – 5 ธันวาคม 2558 ณ บริเวณท้องสนามหลวง และถนนราชดำเนินกลาง

สำหรับแนวทางการจัดนิทรรศการภายในงานกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน” ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "การจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ" อาทิ แบบจำลองระบบบริหารจัดการน้ำ การจำลองพื้นที่สูงแสดงให้เห็นแหล่งต้นน้ำ พร้อมการปลูกหญ้าแฝก นาขั้นบันได การจัดแสดงวิถีชีวิตภายใต้แนวคิดทฤษฎีใหม่ภูมิคุ้มกันของเกษตรกร และการจัดแสดง "โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามแนวพระราชดำริ" เป็นต้น กิจกรรมที่ 2 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ "ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า  ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน" เป็นนิทรรศการนำเสนอการรณรงค์การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ภายใต้ "โครงการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน" เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 อาทิ การทำแปลงนาสาธิตและโมเดลสามมิติที่เกี่ยวกับการใช้น้ำแบบประหยัด เปียกสลับแห้ง และการจัดการน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น

 ส่วนกิจกรรมที่ 3 นิทรรศการมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งและการปลูกพืชใช้น้ำน้อย" เป็นนิทรรศการนำเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งและการปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ การปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน (ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง โสนอัฟริกัน) และการจำลองแปลงปลูกหม่อนแบบระบบน้ำหยด สาธิตสาวไหม การนำน้ำสาวไหมไปใช้ประโยชน์ และ Zero waste ด้านหม่อนไหม กิจกรรมที่ 4  การสาธิตและฝึกอาชีพ เป็นการสาธิตและฝึกอาชีพด้านการเกษตรและการแปรรูปผลิตผลเกษตร อาทิ สาธิตการทำปลาราดซอสมะนาว การแปรรูปไส้กรอกอีสาน แหนมและไส้อั่ว การทำดอกไม้ใบยาง การทำสเปรย์ไล่ยุงตระไคร้หอม การทำดอกไม้จากดินญี่ปุ่น การแปรรูปเครื่องสำอางจากข้าว การให้น้ำหม่อนอย่างประหยัด การขยายพันธุ์หม่อน การทำหม่อนผลสดเข้มข้น และการผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.  และการฝึกอาชีพการทำแหนมเห็ด การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน การเพาะถั่วงอกคอนโดและการแปรรูปผลิตผลเกษตร เป็นต้น กิจกรรมที่ 5 การจำหน่ายสินค้า อาทิ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูป ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนออแกนิก ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติก เป็นต้น  และกิจกรรมพิเศษ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2558 ได้แก่ 1.การไถ่ชีวิตโคกระบือ ภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริอย่างละ 9 ตัว และ 2.การจุดเทียนชัยถวายพระพร ด้วย

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ถก‘นิเวศการเกษตร’เอเชีย-แปซิฟิก หนุนใช้ทรัพยากรสอดคล้องสภาวะภูมิอากาศ-ขจัดหิวโหย

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเรื่องนิเวศทางการเกษตรในเอเชียและแปซิฟิก เพื่อหารือแนวทางการลดความยากจนในชนบท การขจัดความหิวโหยและภาวะโภชนาการ รวมถึงการลดการพึ่งพาการใช้สารเคมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเกษตรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สืบเนื่องจากเมื่อเดือนกันยายน 2557 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชน (FAO) ได้จัดการประชุม Symposium on Agroecology for Food Security and Nutrition ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า นิเวศทางการเกษตร ควรอ้างอิงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและหลักการของชุมชนและภูมิภาค ในประเด็นสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม จึงได้จัดการประชุมเกี่ยวกับนิเวศทางการเกษตรในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ แอฟริกา เอเชียลาตินอเมริกา แคริบเบียน และมาจัดในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

 นายธีรภัทรกล่าวต่อไปว่า นิเวศทางการเกษตร เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียน เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรทั้งระบบการผลิตพืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและภาคการเกษตร โดยการประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ภาคเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาครัฐบาล ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปลูกพืช กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมีหัวข้อการประชุม ดังนี้ 1.นิเวศทางการเกษตร : หนทางสู่ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการเพื่อการเปลี่ยนแบบแผนการทำการเกษตรในทวีปเอเชีย (Agroecology as a Pathto Food and Nutrition Security for Agricultural Transition in Asia) 2.นิเวศทางการเกษตรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Agroecology and the use of natural resources in the context of climate change) 3.นิเวศทางการเกษตร: นวัตกรรมทางสังคม การดำรงชีพและเทคโนโลยี (Agroecology: Social innovation,Livelihoods and Technology) และ 4.นโยบายสาธารณะซึ่งรวมถึงกฎหมายและกรอบนโยบายและการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมนิเวศทางการเกษตร (Public Policies (including Legal andInstitutional Frameworks) to Promote Agroecology)

“รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมระบบนิเวศทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการลดการพึ่งพาใช้สารเคมี เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยด้านโภชนาการและความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งส่งเสริมการเตรียมความพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน สำหรับการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นการร่วมวิเคราะห์ปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อนิเวศทางการเกษตรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดทั้งหาแนวทางป้องกันและการแก้ไขปัญหา ซึ่งผลจากการหารือดังกล่าวจะนำเสนอต่อรัฐบาลไทยและประเทศสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางการเกษตรของประเทศต่อไป” นายธีรภัทร กล่าว

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ล้อมคอกเกษตรพันธสัญญา สภาเกษตรกร-สนช.ดันออกกฎหมายคุมเข้ม

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้เข้าพบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยผลักดัน ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. .... เพื่อส่งเสริมคุ้มครองสร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกร ในระบบเกษตรพันธสัญญา หรือ Contact Farming เพราะแม้จะสร้างรายได้และเอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรหลายประการ แต่ยังมีปัญหาข้อตกลงหรือเงื่อนไขระหว่างบริษัทกับเกษตรกร มีลักษณะเป็นสัญญาสำเร็จรูปกำหนดเงื่อนไขเพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรมีสิทธิเพียงจะยอมรับและทำสัญญาหรือไม่เท่านั้น ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมและความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างบริษัทกับเกษตรกร ซึ่งแน่นอนว่าคนเสียเปรียบคือเกษตรกร ผลที่ได้รับคือภาระหนี้สินของเกษตรกรที่ตามมา

สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ 1) ก่อนทำสัญญา มีการควบคุมโดยให้ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์พื้นที่ควบคุม หรือ ส่งเสริมสำหรับการผลิตและบริการทางการเกษตร กำหนดรูปแบบของสัญญา การให้เกษตรกรได้ทราบเป็นการล่วงหน้าถึงข้อมูลการตลาด แผนการผลิต คุณภาพผลผลิต ปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องตามสัญญา ความคุ้มค่าในการผลิต ภาระความเสี่ยงที่อาจต้องรับผิดชอบร่วมกัน 2) ข้อตกลงในสัญญา ที่เป็นเงื่อนไขให้ได้เปรียบโดยไม่เป็นธรรมให้ถือว่าข้อสัญญาส่วนนั้นเป็นโมฆะ และให้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี หากมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมต้องรับผิดร่วมกัน มีการทำประกันภัยผลผลิต การบอกเลิกสัญญาต้องกำหนดเงินชดเชยการลงทุนอย่างเป็นธรรม3) การทำสัญญา จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และนำไปจดทะเบียน 4) การระงับข้อพิพาท ให้มีคณะกรรมการระงับข้อพิพาทในจังหวัดพิจารณาตัดสิน และ 5) บทลงโทษ กำหนดโทษทั้งจำทั้งปรับ ทั้งผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร และเกษตรกร

สภาเกษตรกรแห่งชาติดำเนินงานมาเกือบครบ 4 ปี ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนเดินหน้าเพื่อเกษตรกร ในการแก้ปัญหาที่สะสมเก่า ในการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมของคนไทยยั่งยืน นอกจากเรื่องยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ปศุสัตว์ ประมง ที่ได้ขับเคลื่อนผลักดัน การเดินหน้าเพื่อเกษตรกรในระบบพันธสัญญาครั้งนี้ เป็นเรื่องสำคัญในสถานการณ์การทำการเกษตรของคนไทยที่ลดลง การใช้เทคโนโลยีทำการเกษตรของบริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ จึงขอให้เกษตรกรไทย คนไทย รัฐบาลไทยร่วมใจกันผลักดัน

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

พิสูจน์ฝีมือรัฐมนตรีอุตสาหกรรมหญิง "อรรชกา"เปิดใจเดินงานเร่ง-สางงานร้อน พาภาคผลิตไทยผงาด! 

          หลังรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อดีตปลัดกระทรวงฯ ได้ลาออก มาดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนำทุกหน่วยงาน ในสังกัดใส่เกียร์เดินหน้าลุยงานทันที โดยเฉพาะการ ขับเคลื่อนเอสเอ็มอีกับงาน Thailand Industry Expo 2015 ที่ใหญ่กว่าทุกครั้งและสำเร็จยิ้มกันถ้วนหน้า ทั้งคนเข้าชมงานและผู้ขายเพราะยอดดีขึ้นกว่าปีก่อนถึงร้อยละ 22 พร้อมกันนี้ยังเปิดเผยประเด็นร้อนในวงการอุตสาหกรรมที่รอให้สะสางอีกเพียบ

          * นโยบายเร่งด่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ ภาคอุตสาหกรรม

          มีเรื่องหลักอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ การผลักดันคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ตามแนวนโยบายของรัฐบาล ล่าสุด ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งคณะกรรมการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คลัสเตอร์อุตสาหกรรม ทั้ง 6 คลัสเตอร์ ได้แก่ ซุปเปอร์คลัสเตอร์ 4 กลุ่ม คือ คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และคลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และคลัสเตอร์ดิจิทัล กับอีก 2 คลัสเตอร์ คือ คลัสเตอร์เกษตร แปรรูปและคลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยคณะกรรมการ ชุดนี้จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแล เป็นรายคลัสเตอร์

          สำหรับอำนาจหน้าที่ขอคณะอนุกรรมการชุดนี้ คือ 1) พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินงานตามนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละประเด็น ตามกรอบแนวทางในภาพรวมที่คณะกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์กำหนด 2) พิจารณากำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ที่มีศักยภาพ (Product Champion) ในแต่ละคลัสเตอร์ และจัดทำแผนชักจูงการลงทุน เพื่อให้เกิดการลงทุนในผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่กำหนด 3) ขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดไว้ ภายใต้การบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 4) แต่งตั้งคณะทำงานย่อยหรือกลุ่มทำงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯตามความเหมาะสม 5) รายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในรูปแบบคลัสเตอร์เป็นระยะตามความเหมาะสม 6) ปฏิบัติภารกิจอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย

          "ตอนนี้รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมทำงานคู่กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการกระตุ้นการลงทุน เราเลยกลายเป็นแม่งานหลักในการเร่งรัดให้เกิดคลัสเตอร์ โดยบีโอไอ จะเป็นตัวช่วยหานักลงทุนต่างประเทศ และจะมีการจัดทำแผนโรดโชว์เจาะเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมลงไปมากกว่าการโรดโชว์ปกติที่บีโอไอทำโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทคที่เราอยากได้ และพยายามเสนอให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ นอกจากนี้ได้ลงนามคำสั่งตั้งคณะกรรมการบริหารด้านคลัสเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์หลัก มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน โดยมีผู้บริหารหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อเร่งรัดให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในแต่ละคลัสเตอร์ขึ้นมาเป็นคณะทำงาน

          โดยคณะอนุกรรมการทั้งหมด มีเวลาทำงานกำหนดแผนและอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะชักจูงการลงทุน เพื่อเสนอกลับเข้ามาให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ซึ่งล่าสุดได้มีการแต่งตั้งปลัดกระทรวงการต่างประเทศให้ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐพิเศษ ในรูปแบบคลัสเตอร์ด้วย เพื่อให้ทูตไทยในต่างประเทศทั่วโลก เข้ามามีส่วนช่วยชี้เป้าหมายอุตสาหกรรมต่าง ๆ

          ตอนนี้กำลังดูอุตสาหกรรมเป้าหมาย และผลิตภัณฑ์เป้าหมาย แล้วดูว่ามีนักลงทุนอยู่ที่ไหน มาลงทุนแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มาต้องออกไปชักชวน บางรายลงทุนในไทยอยู่แล้ว แต่ผลิตภัณฑ์ที่เราอยากได้ยังไม่มา อย่างการไปญี่ปุ่นช่วงปลายเดือนนี้ กับรองนายกฯสมคิดจะไปประชาสัมพันธ์นโยบายคลัสเตอร์

          เราต้องสู้เต็มที่ เพราะเรารู้ว่าบริษัทรายใหญ่ๆ จะไม่หยุด วางแผนการลงทุน เพราะฉะนั้นเราต้องเจาะเข้าไปคุย หากมีนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนเพิ่มจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจภายในประเทศจะเติบโตได้ แม้เศรษฐกิจนอกประเทศจะยังนิ่ง ส่งออกอาจไม่เพิ่มไปกว่านี้ เพราะการลงทุนมีส่วนในการ กระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ ก่อให้เกิดการจ้างงาน รายได้ที่ ต่อเนื่อง มีเงินลงไปหมุนเวียนได้อีกหลายรอบ กระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำก็จะเกิด ผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รับงานที่บริษัทใหญ่ส่งให้"

          เรื่องที่สอง คือ การช่วยเหลือและพัฒนาขีด ความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี ระยะ 2 วงเงิน 5,097 ล้านบาท ต่อจากระยะแรกที่เน้นมาตรการด้านสินเชื่อของกระทรวง การคลัง คาดว่ามาตรการระยะ 2 จะสามารถช่วยเหลือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ทั้งสิ้นกว่า 100,000 ราย แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน

          ส่วนแรก มีเป้าหมายช่วยเหลือเอสเอ็มอี จำนวน 70,040 ราย วงเงินรวม 3,260 ล้านบาท มี 4 โครงการ คือ

          การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเอสเอ็มอีกลุ่มที่ ประกอบการอยู่แล้ว จำนวน 55,338 ราย วงเงิน 2,947 ล้านบาท

          การสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม จำนวน 22,715 ราย วงเงิน 408 ล้านบาท

          การช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ ปรับแผนธุรกิจเป็นการเร่งด่วน จำนวน 17,000 ราย วงเงิน 630 ล้านบาท

          การสร้างและพัฒนาปัจจัยสนับสนุน 2,450 ราย วงเงิน 1,112 ล้านบาท

          ส่วนที่สอง เป็นการบูรณาการของ 4 กระทรวงหลัก ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ช่วยกันพิจารณาแผนงานโครงการเพิ่มเติม โดยขอจัดสรรงบประมาณจากกองทุน สสว.มาสนับสนุนมี 11 โครงการ วงเงินรวม 1,837 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ 27,463 ราย

          * ความคืบหน้าของแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม

          แผนแม่บทดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ พัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อยกระดับและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญและสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมี 3 ยุทธศาสตร์ การพัฒนา นั่นคือ 1) ยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมไทย โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และระบบบริหารจัดการ สมัยใหม่ 2) ยกระดับผลิตภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะรอบด้าน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ ภาคอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ 3) พัฒนาศักยภาพของปัจจัยแวดล้อม เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพที่นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

          ซึ่งในแผนแม่บทการเพิ่มผลิตภาพฯ ได้มีการกำหนด เป้าหมายที่ชัดเจน สามารถชี้วัดได้ 4 ประการด้วยกัน คือ 1) ผลิตภาพการผลิตรวม (TFP) ของภาคอุตสาหกรรม มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 3 2) ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรม มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 5 3) ระดับความสำเร็จของการรวมกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือ และ 4) อัตราความพึงพอใจเฉลี่ยต่อบริการภาครัฐไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

          โดยขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน สถาบันและหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งในนั้น จะประกอบด้วยแผนงานและโครงการย่อยต่างๆ หลังจากนั้น จะเสนอ กอช. พิจารณาอีกครั้ง การที่เราให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพหรือประสิทธิภาพนั้น เนื่องจากเป็นจุดที่เราสามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ เพราะภาคอุตสาหกรรม จะใช้ความได้เปรียบทางภาษี หรือค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ เหมือนเดิมจะไม่ยั่งยืน ทั้งในตอนนี้และในอนาคต จึงต้องเพิ่มผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น โดยดำเนินการอย่างเร่งด่วน

          * กรณีผังเมืองทับพื้นที่อุตสาหกรรมทำให้ไม่สามารถขยายหรือตั้งโรงงานได้ตอนนี้มีความคืบหน้าอย่างไร

          ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย จะต้องนำมติ ครม. ไปสู่การปฏิบัติให้ เป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือการยกเลิกบัญชีโรงงานท้ายกฎกระทรวงและจัดทำข้อกำหนดที่ยืดหยุ่น ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดขณะนี้มีการแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดเป็นแบบยืดหยุ่น ไปแล้ว 22 จังหวัด และเหลืออยู่อีก 51 จังหวัดที่อยู่ระหว่างการแก้ไขให้มีความยืดหยุ่นขึ้นคาดว่าจะเสร็จภายในปีนี้

          ข้อกำหนดการทำผังเมืองแบบยืดหยุ่นนี้ จะสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขผังเมือง ได้ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยจะกำหนดกว้างๆห้ามสร้างโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตามประเภทโรงงานที่กำหนด และโดยกฎหมายอื่นๆ ซึ่งหากในอนาคตมีเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้โรงงานเหล่านี้ไม่มีมลพิษ ก็สามารถแก้ไขประเภทโรงงานที่เป็นอันตรายได้ทันทีโดยไม่ต้องไปแก้ไขกฎหมายผังเมือง ซึ่งจะเกิดความยืดหยุ่นในการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่า

          ทั้งนี้ หากแก้ไขผังเมืองทั้ง 51 จังหวัดให้เป็นแบบยืดหยุ่นแล้วเสร็จ ก็จะสามารถปลดล็อกโรงงานเอสเอ็มอี และโรงงานขนาดใหญ่ให้สามารถสร้าง และขยายโรงงานเพิ่มขึ้นได้ โดยคาดว่าภายใน 1 ปีจากนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการชาวไทยและต่างชาติในการเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทยว่าจะไม่ถูกผังเมืองประกาศเปลี่ยนแปลง จนกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันยังต้องอยู่ภายใต้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนข้อกำหนดมาตรฐานอื่นๆ เช่น การจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/HIA) ก็จะยังคงความเข้มงวด เพื่อให้โรงงานที่ตั้งขึ้นไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน ย้ำว่า ไม่ใช่เปิดให้ทุกพื้นที่จะสามารถตั้งโรงงานได้ ขณะที่กระบวนการพิจารณาอนุญาตต่างๆ ก็ยังเข้มข้นเหมือนเดิม

          ด้านการแก้ไขปัญหาผังเมืองมาบตาพุด ที่ผังเมืองเดิม ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2546 กำหนดพื้นที่สีม่วงสำหรับอุตสาหกรรมไว้กว่า 4 หมื่นไร่ได้หมดอายุลง และในร่างผังเมืองได้ลดขนาดลงเหลือ 2.5 หมื่นไร่ ซึ่งมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ต่อการขยายพื้นที่ตามนโยบายส่งเสริมคลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ล่าสุดภาคเอกชนและชุมชนมีความเห็น ตรงกันว่าพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมควรจะอยู่ที่ 3.8 หมื่นไร่รวมท่าเรืออุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีก 12 เดือนในการแก้ไขผังเมืองมาบตาพุดจนแล้วเสร็จ ซึ่งในระหว่างนี้ ผู้ประกอบการที่จะขอตั้งโรงงานนอกพื้นที่ของการนิคมฯ ก็จะต้องขออนุญาตจากเทศบาลเป็นรายๆ ไปก่อนจนกว่าผังเมืองใหม่จะแล้วเสร็จ

          * กรณีเหมืองทองคำ ที่ตอนนี้ภาคประชาชนส่วนหนึ่ง ร้องเรียนมายังกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

          เรื่องนี้เป็นปัญหามานาน ต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนว่า ใครผิดถูกต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และเราต้องดูว่าผู้ป่วยมีกี่คน ใครต้องการการรักษาอย่างจริงจัง กระทรวงฯ ได้ตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนให้เข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ โดยมีตัวแทน ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ทั้งนี้ยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรม กับทุกฝ่ายแน่นอน โดยขั้นตอนการทำงานจะลงพื้นที่ ตรวจสอบ และนำข้อมูลผลตรวจสอบที่ผ่านมา มาพิสูจน์เพื่อให้ได้ คำตอบทางวิทยาศาสตร์และมีคำอธิบายที่ชัดเจน รวมทั้ง ทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่อาศัยโดยรอบเหมืองทองคำ ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส ในจังหวัดพิจิตร และเพชรบูรณ์ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังวิตกกังวลว่า การดำเนินงาน ของเหมืองจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้แหล่งน้ำ และผลผลิตทางการเกษตรปนเปื้อนสารพิษ คาดว่าจะรวบรวมข้อมูลภายใต้กรอบเวลา 1 เดือน เพื่อนำเสนอ ต่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินใจต่อไป ดังนั้น ในเวลานี้ คงไม่สามารถตอบได้ว่าหากเหมืองผิดจะต้องปิดกิจการ หรือไม่เพราะต้องมีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้รองรับ เพราะ อาจไม่เป็นธรรมกับนักลงทุนและอาจถูกฟ้องร้องได้ แต่ยืนยันว่าจะดูแลประชาชนรอบพื้นที่เหมืองอย่างเต็มความสามารถแน่นอน

          * ยังมีปัญหาอื่นใดที่ต้องเร่งแก้ไข นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

          กระทรวงอุตสาหกรรม ยังมีภารกิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคส่วนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและมี ความมั่นคงในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และให้ทันต่อสถานการณ์การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม อาทิ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และชิ้นส่วน ล่าสุดภารกิจของ สมอ.ยังรวมถึงการเดินหน้าสนามทดสอบรถยนต์และชิ้นส่วนมูลค่าหลายพันล้านบาท เรื่องนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามผลักดันให้เกิด โดย ครม. เห็นชอบให้สร้างสนามทดสอบมาตรฐานยางรถยนต์ อาร์ 117 ส่วนสนามทดสอบอื่นและการทดสอบชิ้นส่วนยานยนต์ ให้หาแนวทางความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุน กับเอกชน (พีพีพี) ขณะนี้ กระทรวงฯ มอบให้ สมอ.จัดทำสรุปแผนรายละเอียด ขั้นตอน ส่งให้บริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ สร้างสนามทดสอบ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก จากประเทศสเปน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี และออสเตรเลีย ให้ความเห็น เพิ่มเติมเพื่อจะนำแผนดังกล่าวมาจัดทำ TOR เพื่อจ้าง ที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้าง สนามทดสอบและการร่วมลงทุนกับเอกชน (พีพีพี) สำหรับสนามทดสอบยางรถยนต์ อาร์ 117 จะเป็นสนามทดสอบแรก ที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและสามารถทำการทดสอบได้ในระยะเวลา 2 ปี

          ทั้งนี้ภายในเดือนธันวาคมนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะเสนอ ครม. เพื่อเห็นชอบและขออนุมัติงบประมาณ ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบราชการต่อไป

          นอกจากนี้ อีกประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ล่าสุดคณะทำงานที่มีนายสมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม ได้ส่งผลการศึกษาให้นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณา คาดว่าจะเสนอมาที่ตนเองได้เร็วๆนี้ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

          เบื้องต้นได้รับรายงานว่าการพิจารณาจะอยู่ภายใต้กรอบ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายนั้นจะมีการปรับองค์ประกอบของอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมในส่วนของเอทานอล และไบโอพลาสติกด้วย เพื่อใช้ในการคำนวณรายได้ของอุตสาหกรรม 2.เรื่องประสิทธิภาพอ้อยและการผลิตอ้อยจะดำเนินการ ปรับมาตรฐานอย่างไรให้ผลผลิตดีขึ้น 3.ประสิทธิภาพ การผลิตน้ำตาล จะพัฒนาอย่างไรให้ปริมาณน้ำตาลทรายจากอ้อย 1 ตันเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันผลผลิตไทยน้อยกว่า บราซิลและออสเตรเลียมาก 4.การรักษาเสถียรภาพกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายให้มีฐานะการเงินมั่นคง และ 5.แนวทางการจัดตั้งสถาบันวิจัยอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวในภาพ

          ส่วนความชัดเจนในการออกใบอนุญาตโรงงานน้ำตาล ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับ ระยะห่างระหว่างโรงงานน้ำตาลทรายต้องไม่ต่ำกว่า 50 กิโลเมตร (กม.) จากเดิมกำหนดไม่ต่ำกว่า 80 กม. ล่าสุดมีคำขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลทรายแห่งใหม่ เข้ามาที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จำนวนทั้งสิ้น 34 คำขอ และขอขยายโรงงาน 16 คำขอ หลังจากนี้ สอน.จะใช้เวลาพิจารณา 45 วัน โดยจะเริ่มประกาศรายชื่อโรงงานที่ผ่านเกณฑ์ได้รับอนุญาตได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมนี้เป็นต้นไป

          ภารกิจในฐานะรัฐมนตรีหญิงคนแรกของกระทรวงอุตสาหกรรม มีเรื่องร้อนรอการแก้ไข เพื่อเติมเต็มทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ประสบผลสำเร็จ และในฐานะผู้บริหารราชการกระทรวงอุตสาหกรรม การสะสางปัญหาทั้งหมดจึงถือเป็นการพิสูจน์ฝีมือ เพื่อผลักดัน ภาคอุตสาหกรรมของไทยผงาดในอาเซียนต่อไป

จาก http://www.matichon.co.th   วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

น้ำตาลวังขนายจับมือสยามคูโบต้าปลูกอ้อยอินทรีย์ ตั้งเป้าป้อนโรงงาน30% ภายใน3-5ปี

กลุ่มวังขนายจับมือคูโบต้า ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาล ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้ถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด เผยโครงการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและค่าเเรงได้มากกว่า 70%

นายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย  ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มบริษัทน้ำตาลวังขนาย เปิดเผยว่า "โครงการ วังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล" จัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ และตอบสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรปลอดภัย ที่ผ่านมาทางกลุ่มวังขนายได้จัดทำโครงการปลูกอ้อยอินทรีย์มาเป็นเวลานานกว่า 15 ปีแล้ว ปัจจุบันมีเกษตรกรในโครงการฯจำนวน 1,000 กว่าราย มีพื้นที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ที่ต้องดูแลประมาณ 30,000 ไร่

จากเดิมที่คิดใช้เพียงแรงงานเกษตรกร ขณะนี้กลุ่มวังขนายมั่นใจแล้วว่าโครงการปลูกอ้อยอินทรีย์จะต้องขยายใหญ่ขึ้น ไปเรื่อยๆ ดังนั้นแรงงานคนอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จึงเล็งเห็นว่าสยามคูโบต้ามีความเหมาะสมที่จะร่วมมือผลักดันให้โครงการนี้ ประสบผลสำเร็จ

"เราได้ทำการศึกษาร่วมกับคูโบต้ามา 1 ปี ลองผิดลองถูก ตั้งเเต่ทดลองกระทั่งส่งคนไปฝึกงานที่ออสเตรเลียเพื่อกลับมาพัฒนา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือหากเรานำเครื่องจักรที่เหมาะสมกับอ้อยบ้านเรามาลดกำ ลังเเรงคน เฉพาะค่าจ้างเเรงงานลดลงได้ถึง 70-80% ส่วนต้นทุนเราถูกอยู่เเล้วเพราะออร์แกนิคไม่ต้องพึ่งปุ๋ย ซึ่งผมคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของ อุตสาหกรรมน้ำตาลในอนาคต"

สำหรับในปี 2558 นี้ กลุ่มวังขนายสามารถผลิตน้ำตาลออร์แกนิคได้ถึง 15,000 ตัน  แบ่งเป็น ส่งจำหน่ายในประเทศ 75% และส่งออกไปต่างประเทศ 25%  ได้แก่ เกาหลีใต้  ฮ่องกง  มาเลเซีย  สิงค์โปร์ ฝรั่งเศส  เนเธอร์แลนด์  เยอรมนี โอเชียเนีย และนิวซีแลนด์

ส่วนราคาน้ำตาลออร์แกนิคภายในประเทศไทยที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ราคากิโลกรัมละ 26 บาท ส่วนราคาส่งออกน้ำตาลออร์แกนิค (FOB Price) นั้นจะสูงกว่าราคาขายปลีกในประเทศ 15%-50% ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้ทำสัญญากันไว้ โดยกลุ่มวังขนายตั้งเป้าหมายภายใน 3-5 ปีนี้ จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้ถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมดของกลุ่มวังขนาย เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิคส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

"เป็นที่ทราบกันดีว่าราคาน้ำตาลซบเซามานาน เเต่เทรนด์ของตลาดขณะนี้ คือความปลอดภัย ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าออร์แกนิคได้รับความนิยมสูงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งวังขนายผลิตน้ำตาลออร์แกนิคอยู่แล้ว ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี" นายบุญญฤทธิ์กล่าว

ด้านนายโอภาศ  ธันวารชร  กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่าโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มวังขนายและสยามคูโบต้า ที่ต้องการยกระดับศักยภาพขั้นตอนการผลิต สำหรับปลูกอ้อยข้ามแล้ง เพื่อให้ดินเก็บความชื้นไว้ในดินช่วงหน้าแล้ง โดยเครื่องปลูกอ้อย ที่ใช้แรงงาน 1- 2 คน สามารถทำงานได้สูงสุด 20 ไร่ต่อวัน จึงช่วยลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน 

อีกทั้งเครื่องฝังปุ๋ย เครื่องคีบอ้อย และแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่มีความคล่องตัวร่องอ้อยสูง เพื่อกำจัดวัชพืช ช่วยลดการใช้สารเคมีและสารปนเปื้อนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลจะมีคุณภาพ สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิคที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเหมาะสำหรับการ บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีต่อไป

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

SCB EIC วิเคราะห์ ส่องอุตสาหกรรมเอทานอล โอกาสและความท้าทายของธุรกิจเกษตรไทย

อีไอซีมองภาพรวมของอุตสาหกรรมเอทานอลมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากนโยบายส่งเสริมของทางภาครัฐเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจเกษตรที่เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของอุตสาหกรรมเอทานอล โดยเฉพาะธุรกิจมันสำปะหลัง อ้อยและน้ำตาล อย่างไรก็ดี สภาวะน้ำมันตกต่ำในปัจจุบัน ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมเอทานอลของไทย เนื่องจากราคาอ้างอิงเอทานอลปัจจุบันยังมีส่วนต่างของราคาที่แพงกว่าราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ณ โรงกลั่น อยู่ที่ราวลิตรละ 12 บาท นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยอุตสาหกรรมนี้ยังต้องการความร่วมมือกันจากทุกฝ่ายในการที่จะพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศได้ในอนาคต

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมของอุตสาหกรรมเอทานอลมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกระแสการตื่นตัวของทั่วโลกที่มุ่งหน้าเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว (green economy) โดยปัจจุบัน สหรัฐฯ และบราซิล ถือว่าเป็นประเทศผู้นำในอุตสาหกรรมเอทานอล ทั้งในแง่ผู้ผลิตและผู้บริโภคเอทานอลรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่ไทยเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ลำดับที่ 7 จากประเทศผู้ผลิตเอทานอลทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ราว 3.4-3.5 ล้านลิตร/วัน (รูปที่ 1) โดยส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (bio-fuel) เนื่องจากเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะมีการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน และยังเป็นการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน อีกทั้งด้วยทิศทางการตื่นตัวของทั่วโลกที่มุ่งหน้าเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว (green economy) รวมไปถึงนโยบายส่งเสริมจากทางภาครัฐ ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเริ่มมีความสนใจและหันมาเลือกใช้เชื้อเพลิงทางเลือกอย่างเอทานอล (แก๊สโซฮอล์) เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมเอทานอลในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นโยบายและแรงสนับสนุนของทางภาครัฐถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ส่งผลต่อทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมเอทานอลของไทยในอนาคต เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้ประกาศยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้ในประเทศถึง 40% ของปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินทั้งหมด ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 (ULG 95) ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้สัดส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์ซึ่งมีเอทานอลเป็นส่วนผสม มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และเป็นแรงผลักดันให้ในปี 2013 ปริมาณการใช้เอทานอลในประเทศมีการขยายตัวแบบก้าวกระโดดราว 88% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (รูปที่ 2) นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังได้มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกระยะยาว 20 ปี (AEDP 2015) ขึ้นมา โดยมีการวางเป้าหมายเพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้เอทานอลจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปที่ราว 11.3 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2036 ทั้งนี้ หากเป็นไปตามแผนที่ทางภาครัฐได้วางไว้ จะทำให้อุตสาหกรรมเอทานอลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 7% ต่อปี (รูปที่ 3) และความต้องการใช้มันสำปะหลัง และอ้อย (กากน้ำตาล) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเอทานอล ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 59.5 ล้านตัน/ปี และ 182 ล้านตัน/ปี จากผลผลิตปัจจุบันอยู่ที่ราว 30.6 ล้านตัน/ปี และ 112 ล้านตัน/ปี ตามลำดับ จึงจะสามารถตอบโจทย์ของความต้องการใช้ในการผลิตเอทานอลที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ตามแผนที่ทางภาครัฐได้วางไว้

ผู้ประกอบการในธุรกิจเอทานอล และผู้ผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร โดยเฉพาะมันสำปะหลัง อ้อยและน้ำตาล จะได้ประโยชน์จากนโยบายของทางภาครัฐที่มีการส่งเสริมให้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศมากขึ้น แรงขับเคลื่อนต่างๆ จากทางภาครัฐในปัจจุบัน ทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลมีแนวโน้มที่จะสดใสในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการใช้กองทุนน้ำมันเข้าช่วยในการรักษาระดับราคาแก๊สโซฮอล์ในประเทศให้ต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 (ULG 95) หรือการเตรียมที่จะปรับสูตรราคาอ้างอิงเอทานอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลง เป็นต้น โดยมาตรการเหล่านี้มีส่วนช่วยส่งเสริมและจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากมองในแง่ผลกำไรของผู้ผลิตเอทานอลจะพบว่า ผู้ผลิตเอทานอลยังสามารถที่จะสร้างผลกำไรส่วนต่างได้อยู่ที่ราว 11-14% เนื่องจากส่วนต่างของราคาต้นทุนการผลิตเอทานอลเมื่อเทียบกับราคาอ้างอิง ยังมีส่วนต่างอยู่ที่ราว 3-4 บาท/ลิตร (รูปที่ 4) โดยจากทิศทางดังกล่าว จะส่งผลให้ทางภาครัฐหันมาส่งเสริมและสนับสนุนภาคการเกษตร รวมไปถึงธุรกิจเกษตรที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โดยเฉพาะธุรกิจมันสำปะหลัง อ้อยและน้ำตาลในระยะต่อไป

อย่างไรก็ดี สภาวะราคาน้ำมันตกต่ำในปัจจุบันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่ส่งแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมเอทานอล แต่สำหรับไทยโดยรวมถือว่าได้ประโยชน์จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรในประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงกว่าครึ่ง ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 (ULG 95) ณ โรงกลั่น ปรับตัวไปอยู่ที่ราว 14 บาท/ลิตร (รูปที่ 4) ซึ่งต่ำกว่าราคาของต้นทุนการผลิตเอทานอลถึงราว 40% ส่งแรงกดดันต่อการที่จะนำเอทานอลมาผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ในประเทศ ทางภาครัฐจึงต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนราคาให้กับแก๊สโซฮอล์ โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น อย่างไรก็ดี สำหรับไทยที่มีวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลเป็นของตนเอง จะได้ประโยชน์จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบในประเทศทดแทนการใช้น้ำมันดิบที่ต้องมีการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ โดยมูลค่าที่ไทยหันมาใช้เอทานอลแทนการใช้น้ำมันเบนซินจะอยู่ที่ราว 15,000 ล้านบาท/ปี จากส่วนต่างของราคาที่ประมาณ 12 บาท/ลิตร (รูปที่ 4) เมื่อเทียบราคาเอทานอลอ้างอิงกับราคาน้ำมันเบนซิน ULG 95 ณ โรงกลั่น ซึ่งทางภาครัฐต้องให้เงินอุดหนุนในบางส่วนด้วย ทั้งนี้ การหันมาเลือกใช้เอทานอลในประเทศให้มากขึ้นนั้น นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศลงได้แล้ว ยังสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกน้ำมันเบนซินได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่าราว 19,000 ล้านบาท/ปี (อ้างอิงจากราคาส่งออกน้ำมันเบนซินเฉลี่ยที่ราว 15 บาท/ลิตร) ซึ่งเป็นการช่วยในการเพิ่มดุลการค้าของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการสร้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรในประเทศอีกด้วย  

ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือการพัฒนาความสามารถในการผลิตวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต ตามแผนพัฒนาพลังงานฯ ของทางภาครัฐ ที่วางเป้าหมายให้กับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลในระยะยาวนั้น จะส่งผลต่อภาคการเกษตรและธุรกิจเกษตร (มันสำปะหลัง อ้อยและน้ำตาล) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของอุตสาหกรรม ให้ต้องปรับเพิ่มปริมาณผลผลิตของมันสำปะหลังและอ้อย (กากน้ำตาล) ของประเทศ เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์ของความต้องการใช้ที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแผนของทางภาครัฐในอนาคต โดยหากจะทำให้เป็นไปตามแผนที่ทางภาครัฐได้วางไว้ ภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อย จะต้องมีการเพิ่มอุปทานของอ้อยจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นอีกราว 6 ล้านไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกปัจจุบันที่มีอยู่ราว 10 ล้านไร่ เพื่อที่จะได้มีกากน้ำตาลเหลือเพียงพอ สำหรับใช้ในการผลิตเอทานอลที่ราว 4.88 ล้านลิตร/วัน ขณะที่การเพิ่มอุปทานของมันสำปะหลังสำหรับใช้ในการผลิตเอทานอลที่ราว 2.50 ล้านลิตร/วัน ต้องมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังของไทยในปัจจุบันถูกใช้จนเต็มศักยภาพแล้วราว 8.5 ล้านไร่ ซึ่งต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังขึ้นอีกเกือบ 2 เท่าตัว จากปัจจุบันที่ราว 3.5-3.6 ตัน/ไร่ พัฒนาเพิ่มให้ไปอยู่ที่ราว 7 ตัน/ไร่ โดย 2 ประเด็นดังกล่าว ถือว่าเป็นความท้าทายอีกหนึ่งประการที่ทุกภาคฝ่ายควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของอุตสาหกรรมเอทานอลจะเป็นไปตามแผนที่ทางภาครัฐได้วางเป้าหมายไว้หรือไม่นั้น อีไอซีมองว่ายังมีความเสี่ยงและยังมีประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาศักยภาพให้พร้อมสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ผู้ประกอบการธุรกิจเอทานอล ต้องมองหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต ให้สามารถที่จะแข่งขันกับราคาน้ำมันที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำในระยะต่อไป อีไอซีมองว่า ปัจจุบันผู้ผลิตเอทานอลยังมีการเติบโตและสามารถทำกำไรได้ในระยะนี้ แต่เป็นการที่ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากนโยบายของทางภาครัฐเป็นสำคัญ ในการที่จะผลักดันเพื่อให้มีการใช้เอทานอลในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนแผนนโยบาย เนื่องจากส่วนต่างของราคาเอทานอลที่สูงกว่าราคาน้ำมันเบนซินเกือบหนึ่งเท่าตัว ประกอบกับความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีการเร่งพัฒนาศักยภาพในการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต หรือเป็นการพัฒนาร่วมกับผู้ผลิตวัตถุดิบในการลดต้นทุนของวัตถุดิบ เป็นต้น   

ภาครัฐและผู้ประกอบการต้องเร่งเพิ่มอุปทานของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเอทานอลให้เพียงพอต่ออุปสงค์ที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต ถือเป็นความท้าทายที่ทางภาครัฐและผู้ประกอบการควรให้การมุ่งเน้นเป็นสำคัญ การที่จะขยายผลผลิตมันสำปะหลัง และอ้อยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด ภายในระยะเวลา 10 ปี ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับไทย เนื่องจากทุกภาคฝ่ายต้องมีการวางแผนและร่วมมือกันในการที่จะผลักดันให้ผลผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ การวางแผนจัดสรรพื้นที่ทางการเกษตรที่เหมาะสม การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเพาะปลูก รวมไปถึงปัจจัยความเหมาะสมต่างๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประกอบกับนโยบายสนับสนุนทางภาคการเกษตรในด้านต่างๆ ของภาครัฐ ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการแก้โจทย์ปัญหาความท้าทายที่มีอยู่ในปัจจุบัน 

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ค่าเงินบาททรงตัว หลังจากแข็งค่าขึ้นเมื่อต้นสัปดาห์

ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารกสิกรไทยระบุว่า ค่าบาทเช้าวันนี้ (26 พ.ย.) เปิดตลาดที่ 35.64 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเมื่อวาน (25 พ.ย.) ที่ปิดตลาดที่ 35.69 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ปัจจุบัน (9.20 น.) มีการซื้อขายอยู่ที่ 35.73 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ  วันนี้ค่าเงินบาทน่าจะไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก และไม่มีปัจจัยใหม่ เนื่องจากสหรัฐปิดตลาดเพราะเป็นวันขอบคุณพระเจ้า รวมถึงเข้าช่วงปลายปีนักลงทุนจะรอดูสถานการณ์ ในขณะที่ตลาดส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียงครั้งเดียวในปีนี้ อาจทำให้ตลาดบางส่วนนำเงินกลับเข้าไปในสหรัฐ แต่ก็คาดว่าจะมีบางส่วนที่ยังนำเงินมาลงทุนในไทย เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังสูงกว่าสหรัฐในปลายปีนี้

ธนาคารกสิกรไทยคาดการณ์การเคลื่อนไหวกรอบค่าเงินบาทวันนี้อยู่ที่ 35.65-35.85 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

รวบ 2 หนุ่ม ขนน้ำตาลเถื่อนจากเขมรมาไทย ส่งร้านโชห่วยในอรัญฯ

ทหารพรานอรัญฯ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ จับ 2 หนุ่มขับรถกระบะลักลอบขนน้ำตาลทรายเถื่อน 60 กระสอบ จากเขมรเข้ามาขายฝั่งไทย ส่งขายร้านโชห่วยใน อ.อรัญประเทศ อ้างไม่มีนายทุนหนุนหลัง ระบุทำมาหลายครั้งแล้ว ได้กำไรเที่ยวละ 12,000 บาท...

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 58 พ.อ.ปรมาธร บุนนาค ผบ.ฉก.กรม.ทพ.12 กกล.บูรพา (ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 12 กองกำลังบูรพา) สืบทราบว่า จะมีการลักลอบนำน้ำตาลทรายจากฝั่งประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นน้ำตาลทรายส่งออกห้ามนำกลับมาขายในประเทศไทย นำกลับมาลักลอบจำหน่ายในฝั่งไทย ผ่านด่านพรมแดนจุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จึงสั่งการให้ พ.ท.สมเจตน์ ผลประเสริฐ รอง ผบ.ฉก.กรม.ทพ.12 กกล.บูรพา ประสานความร่วมมือกับนายสาธิต ภู่หอมเจริญ นายด่านศุลกากรอรัญประเทศ และ พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.จ.สระแก้ว สนธิกำลังร่วมกันเฝ้าตรวจบริเวณสามแยกทางเข้าตลาดจุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

ต่อมา เจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบรถยนต์กระบะต้องสงสัย ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีโก้ สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน บต 6358 พิจิตร กระบะท้ายติดตั้งโครงเหล็กหลังคาสูงด้านข้างกรุปิดด้วยผ้าใบสีเขียวมิดชิด วิ่งออกมาจากตลาดจุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งอยู่ตรงข้าม อ.มาลัย จ.บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา มุ่งหน้าจะเข้า อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อถึงบริเวณสามแยกทางเข้าตลาดจุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือฯ เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวเรียกให้หยุด เพื่อขอตรวจสอบพบว่า นายธงชัย กรไกร อายุ 33 ปี ชาว ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นผู้ขับขี่ และนายอาทิตย์ สุภาษิต อายุ 32 ปี ชาว ต.คลองหาด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว นั่งคู่กันมา

จากการตรวจค้นบริเวณกระบะท้ายรถใต้โครงหลังคาสูง พบน้ำตาลทรายบรรจุกระสอบสีขาว ขนาดน้ำหนักกระสอบละ 50 กก. วางเรียงซ้อนกันจำนวน 60 กระสอบ ข้างกระสอบระบุเป็นน้ำตาลทรายขาว ของ หจก.น้ำตาลท่ามะกา จำกัด อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เป็นสินค้าส่งออกห้ามจำหน่ายในประเทศไทย จึงขอตรวจเอกสารการขออนุญาตนำเข้าน้ำตาลทรายจากกัมพูชา แต่ทั้ง 2 คน ไม่มีเอกสารใดๆ หรือหนังสือรับรองการอนุญาตนำเข้าน้ำตาลทรายดังกล่าว จึงควบคุมตัวทั้งหมดพร้อมของกลางมาร่วมกันสอบสวนที่ ฉก.กรม.ทพ.12 กกล.บูรพา บ้านดงยาง ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

สอบสวนเบื้องต้น นายธงชัย กรไกร และนายอาทิตย์ สุภาษิต รับสารภาพว่า ได้ลักลอบติดต่อซื้อน้ำตาลทรายดังกล่าวมาจากชาวเขมรในตลาด อ.มาลัย จ.บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา โดยใช้วิธีขนข้ามชายแดนโดยกองทัพมด นำมาซุกซ่อนไว้ภายในตลาดจุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือ ฝั่งไทย จากนั้นจึงนำรถยนต์กระบะมาขน เพื่อนำไปส่งขายตามร้านจำหน่ายสินค้าโชห่วยในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ และ อ.โคกสูง จ.สระแก้ว โดยทำมาแล้วหลายครั้ง อ้างว่า ไม่มีนายทุนหนุนหลังหรือทำร่วมกับผู้ประกอบการส่งออกแต่อย่างใด เนื่องจากน้ำตาลทรายดังกล่าวเป็นสินค้าส่งออกไปขายฝั่งกัมพูชา และผู้ประกอบการได้ขอคืนภาษีแวต 7 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว ทำให้ราคาน้ำตาลทรายในฝั่งเขมรมีราคาถูกกว่าฝั่งไทย จึงไปติดต่อซื้อมาจากชาวกัมพูชา ราคากระสอบละ 900 บาท หรือ กก.ละ 18 บาทเศษ แล้วนำเข้ามาส่งขายฝั่งไทย กก.ละ 22 บาท หรือกระสอบละ 1,100 บาท จะได้กำไรกระสอบละประมาณ 200 บาท แต่ละเที่ยวจะได้กำไรเที่ยวละ 12,000 บาท

จากคำให้การดังกล่าวของนายธงชัย กรไกร และนายอาทิตย์ สุภาษิต เจ้าหน้าที่ยังไม่ปักใจเชื่อ เตรียมสอบสวนเพื่อขยายผลว่ามีนายทุนหรือผู้ประกอบการส่งออกน้ำตาลทรายรู้เห็นเป็นใจด้วยหรือไม่ เนื่องจากการส่งออกน้ำตาลทราย ผู้ประกอบการได้ขอคืนภาษีแวต 7 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ส่วนนี้ไป จึงต้องตรวจสอบว่าเป็นขบวนการโกงแวตด้วยหรือไม่ต่อไป.

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

หวั่นราคาอ้อยป่วนโรงงานน้ำตาลเปิดศึก 

          นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า 3 สมาคม จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รมว.อุตสาหกรรม รมว.พาณิชย์ และรมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อคัดค้านและไม่เห็นด้วยต่อการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/59 ตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่เห็นชอบให้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 2 ราคา คือ เขตคำนวณราคาอ้อยเขต 5 ในอัตราตันอ้อยละ 773 บาท ณ ระดับค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. ส่วนเขตที่เหลือกำหนดที่ 808 บาท ต่อตันอ้อย ณ ระดับค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.

          "สำหรับเหตุผลที่ 3 สมาคมขอคัดค้าน เพราะการประกาศราคาอ้อยขั้นต้นดังกล่าว จะก่อให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ปัญหาอ้อยข้ามเขต นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย เนื่องจากการเพาะปลูกอ้อยในแต่ละฤดูการผลิตนั้น โรงงานน้ำตาลทรายจะส่งเสริมสนับสนุนชาวไร่อ้อยคู่สัญญาทั้งปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในการพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการสนับสนุนเงินทุน (เงินเกี๊ยว) แก่ชาวไร่อ้อย หากชาวไร่อ้อยนำผลผลิตอ้อยไปส่งยังโรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่า ทำให้โรงงานมีความเสี่ยงในการสนับสนุนเงินทุนใหใแก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา และขาดความร่วมมือกันในการสนับสนุนพัฒนาอ้อยให้มีคุณภาพ"

          นายสิริวุทธิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นที่ต่ำกว่าพื้นที่เพาะปลูกอื่นๆ จะมีความเสี่ยงที่สถาบันการเงินไม่สนับสนุนสินเชื่อให้แก่โรงงานเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกอ้อย ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบอ่อนแอลง และไม่เป็นผลดีต่อระบบโดยรวมเหมือนกับที่เคยเกิดในประเทศคิวบา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่เคยเป็น ยักษ์ใหญ่ในการส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ ของโลกในอดีต ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการประกาศราคาอ้อยขั้นต้นตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้มีการ กำหนดเขตคำนวณราคาอ้อยเป็นเขตเดียวกันทั่วประเทศ และกำหนดราคาอ้อย และผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งขั้นต้นและขั้นสุดท้ายเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศมาโดยตลอด แม้ตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2540/41 ได้เริ่มแบ่งเขตคำนวณราคาอ้อยออกมาเป็นหลายเขต แต่การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นยังคงยึดปฏิบัติประกาศเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศ.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ค้านกำหนดอ้อยขนต่ำ2ราคา หวั่นเกิดศึกแย่งชิงซื้อข้ามเขต 

           นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลได้ยื่นให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คัดค้านการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 58/59 ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เห็นชอบให้กำหนด 2 ราคาเป็นครั้งแรก  คือ เขตคำนวณราคาอ้อยเขต 5 อัตรา 773 บาทต่อตันอ้อย ส่วนเขตที่เหลือกำหนดที่ 808 บาทต่อตัน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดปัญหาการแย่งอ้อยข้ามเขต

          นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย เนื่อง จากการปลูกอ้อยในแต่ละฤดูการผลิตนั้นโรงงานน้ำตาลทรายจะส่งเสริมชาวไร่อ้อยคู่สัญญา ทั้งปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในการพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการสนับสนุนเงินทุน (เงินเกี๊ยว) แก่ชาวไร่อ้อย หากชาวไร่อ้อยนำผลผลิตอ้อยไปส่งยังโรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่า จะทำให้โรงงานมีความเสี่ยง.

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

รายงานพิเศษ : กระทรวงเกษตรฯบูรณาการทุกหน่วยงาน เตรียมพร้อมรับมือวิกฤติภัยแล้ง

จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ฤดูฝนในช่วงที่ผ่านมามีปริมาณฝนตกน้อยกว่าเกณฑ์ปกติอย่างมาก ดังนั้น ปริมาณกักเก็บน้ำทั้งในเขื่อนหลักและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ทั่วประเทศจึงมีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ที่สำคัญตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป ก็จะเข้าสู่ฤดูแล้งยาวไปอีก6 เดือน จึงต้องเตรียมการรับมืออย่างเร่งด่วน

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการบูรณาการงานเร่งด่วนการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและภาคเกษตร โดยเฉพาะในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ที่น่าเป็นห่วงว่าจะประสบกับวิกฤติภัยแล้งอย่างมาก จึงต้องเร่งทำความเข้าใจเกษตรกรเรื่องสถานการณ์น้ำและการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ขณะที่ นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำว่า การทำเกษตรของประเทศไทยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งปีนี้ฝนตกน้อยมากเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 17% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้อยกว่า 14% ภาคกลาง น้อยกว่า 7-8% ภาคตะวันออก น้อยกว่า 13% ภาคใต้ฝั่งตะวันออกน้อยกว่า 15% มีเพียงภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่สถานการณ์ค่อนข้างปกติคือปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยมากที่สุด ดังนั้น ในภาพรวมทั้งประเทศปริมาณฝนน้อยกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 11% ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณน้ำต่างๆ ค่อนข้างจะน้อย ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 33 แห่ง มีน้ำน้อยมากคือต่ำกว่าปีที่แล้ว 8% ส่วนแหล่งน้ำขนาดกลาง 448 แห่งกระจายอยู่ทุกภูมิภาค ปีนี้น้ำน้อยมีแค่ 62% ของความจุ นอกจากนี้ แหล่งน้ำขนาดเล็ก แหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นานอกเขตชลประทาน ก็มีปริมาณน้ำน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 40% ของความจุเท่านั้น

จากการประเมินสถานการณ์ของกรมชลประทาน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ จะมีปริมาณน้ำใช้การได้ของเขื่อนภูมิพล 1,170 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 2,060 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 380 ล้านลบ.ม. ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำที่น้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์นั้น มีปริมาณน้ำใช้การได้ 640 ล้านลบ.ม. รวมปริมาณน้ำใช้การได้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4,250 ล้านลบ.ม. แต่จากแผนการจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฤดูแล้งปี 2558/59 จะต้องสำรองน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคและรักษาระบบนิเวศน์ จำนวน 1,350 ล้านลบ.ม. รวมถึงจัดสรรน้ำในช่วงต้นฤดูฝนปี 2559 (พฤษภาคม-กรกฎาคม) อีกจำนวน 2,500 ล้านลบ.ม. ดังนั้น จะคงเหลือปริมาณน้ำใช้เพื่อการเกษตรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้เพียง 400 ล้านลบ.ม.

สรุปคือ สถานการณ์น้ำมีเพียงพอสำหรับการอุปโภค บริโภคและรักษาระบบนิเวศน์อย่างแน่นอน แต่น้ำเพื่อการเกษตรมีจำกัด จึงต้องขอความร่วมมือเกษตรกรลดทำนาปรัง เพื่อสำรองน้ำไปสนับสนุนพืชที่ใช้น้ำน้อยและจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งนี้ คงต้องมีมาตรการควบคุมการใช้น้ำอย่างเข้มข้นดังเช่นที่เคยดำเนินการมาในช่วงที่ผ่านมา แต่ในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองที่มีพื้นที่ติดต่อกันหลายจังหวัด การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปได้ยาก จะใช้รูปแบบของกลุ่มผู้ใช้น้ำไม่ค่อยได้ผล จึงต้องมีการบริหารจัดการแบบบูรณาการ นอกจากนี้ จะต้องขอความร่วมมือลดปริมาณการเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำด้วย ที่สำคัญยังมีการปฏิบัติการฝนหลวงของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ช่วยทำฝนหลวงต่อเนื่องไปจนกว่าสภาพความชื้นในอากาศจะไม่เหมาะสม ซึ่งก็น่าจะช่วยเติมน้ำต้นทุนในเขื่อนได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งระดับชาติ ปี 2558/59 มีโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 8 มาตรการ ประกอบด้วย 1.มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน 3.มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 4.มาตรการเสนอโครงการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของหมู่บ้าน ชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง 5.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ 6.มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 7.มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 8.มาตรการสนับสนุนด้านอื่นๆ

นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงเรื่องมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งว่า กรมส่งเสริมการเกษตร จะดูแลรับผิดชอบในส่วนของมาตรการที่1 ส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งได้รับงบกลางจำนวน 1,000 ล้านบาท จะจัดสรรลงพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งแบ่งเป็นการปลูกพืชอื่นทดแทนนาปรัง หรือด้านปศุสัตว์ ประมง และพัฒนาที่ดิน โดยจะมีกระบวนการบริหารจัดการหลายขั้นตอน ซึ่งจะต้องรีบดำเนินการให้ทันฤดูกาลเพาะปลูกนี้ ส่วนมาตรการที่ 4 พัฒนาอาชีพตามความต้องการของชุมชนนั้น ทางจังหวัดจะให้ชุมชนเสนอโครงการมา เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาและเสนอของบและจัดสรรลงจังหวัด ทั้งนี้ แต่ละมาตรการเป็นงานที่ต้องเร่งดำเนินการทั้งสิ้น ทุกส่วนจึงต้องทำงานสนับสนุนกันเพื่อประคับประครองให้เกษตรกรผ่านวิกฤติภัยแล้งนี้ไปให้ได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ระดมสมองแผนพัฒนาเกษตร ตอ.ดันพุ่งเป้า‘ยุทธศาสตร์น้ำ’

นางบุบผา ภู่ละออ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) เปิดเผยว่า สศท.6 ได้ร่วมจัดเวทีระดมความคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนาการเกษตรฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในภาคตะวันออก ซึ่งมีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ด้านนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ (Cluster) ของรัฐบาล ที่เน้นเรื่องของพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมและเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยในพื้นที่ รวมถึงการเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบ การจ้างงาน SMEs ในพื้นที่เหล่านั้น โดยเฉพาะเรื่องของ SuperCluster ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ Food Innovation Medical Hub

ดังนั้น Super Cluster จึงเป็นประเด็นหนึ่งในการระดมความคิดเห็นครั้งนี้อย่างมาก เนื่องจากต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาการทำ SuperCluster ที่จะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของภาคตะวันออกในเรื่องของสารพิษตกค้าง โดยอีกมุมมองหนึ่งเห็นว่าควรทำ Super Cluster ในภาคการเกษตรด้วย เพื่อสนับสนุน Super Cluster ในภาคอุตสาหกรรม เช่น Super Cluster ยางพารา สนับสนุน Super Cluster ยานยนต์ เป็นต้น รวมทั้งความรู้ด้านการตลาด Demand และ Supply เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิต

นอกจากนี้ เกษตรกรได้เสนอแนวทางการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้มีความมั่นคง ในการนำนวัตกรรม มาประกอบกับภูมิปัญญาของเกษตรกร เช่น การวิจัยดิน ปรับปรุงพันธุ์ การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์การสร้างเครือข่ายสถาบันการเกษตร การรวมกลุ่มสหกรณ์ ส่งเสริมสหกรณ์ให้มีศักยภาพ รวมปัญหาแหล่งน้ำทางการเกษตร ที่ต้องการให้ตั้งยุทธศาสตร์เรื่องน้ำเป็นหัวข้อใหญ่ภายใต้แผนพัฒนาฯ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ลุ้นมาตรการอุ้มเกษตร 16 ธ.ค.นี้

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้เห็นผลชัดเจนถึงแนวทางมาตรการในการลดต้นทุนการผลิตในเรื่องปัจจัยการผลิตของเกษตรกร ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญ โดยทั้ง 2 กระทรวงได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะเร่งดำเนินการลดต้นทุนการผลิต 3 ด้านหลัก คือด้านปัจจัยการผลิตกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในจะส่งรายการปัจจัยการผลิต อาทิ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ค่าบริการเครื่องจักรกล ค่าอาหารสัตว์/สัตว์น้ำ ฯลฯ ที่จะนำไปหารือกับผู้ประกอบการภาคเอกชนและส่งให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ภายในวันที่ 4 ธ.ค.58 ซึ่งคาดว่าจะประกาศมาตรการลดค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตได้ภายในวันที่ 16 ธ.ค.58

ขณะที่ด้านพันธุ์/อาหารของปศุสัตว์ และประมง กรมปศุสัตว์และกรมประมง จะหารือกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ในวันที่ 26 พ.ย.นี้ และจะส่งผลการหารือให้ สศก.ภายในวันที่ 4 ธ.ค.58

ส่วนในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรกระทรวงเกษตรฯ จะประสานกับกรมการค้าภายใน เพื่อลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศมีราคาลดลง

สำหรับเรื่องการตลาดนั้นทั้งสองกระทรวงได้เห็นชอบร่วมกันตั้งผู้รับผิดชอบรายสินค้า หรือ Mr./ Mrs./ Ms. สินค้าเกษตร เพื่อร่วมบริหารอุปสงค์อุปทาน และวางแผนการตลาดร่วมกัน

  สำหรับการเกษตรแปลงใหญ่ที่ปัจจุบันมีเกษตรแปลงใหญ่แล้ว 263 แปลง และแปลงต้นแบบจังหวัดละ 1 แปลง ที่นอกจากจะเน้นในด้านการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การบริหารจัดการและการตลาดแล้ว ขณะนี้ได้เริ่มมีการสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร (Motor Pool) โครงการนำร่อง 20 สหกรณ์ แบ่งเป็นเครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องนวด เครื่องสี สำหรับพื้นที่ปลูกข้าว 10 แห่ง และเครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องนวด เครื่องสี สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 แห่ง และตั้งเป้าหมายการขยายตัวให้มากกว่านี้ประมาณ 1,500 แปลง

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการเพิ่มโอกาสการแข่งขันสินค้าเกษตร ประเด็นที่ทั้งสองกระทรวงจะบูรณาการการทำงานร่วมกันให้มากขึ้น ใน 3 เรื่องเร่งด่วนคือ 1.เกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะการส่งเสริมตลาดเกษตรอินทรีย์ และระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า 2.โซนนิ่ง โดยเฉพาะการวิเคราะห์ความต้องการสินค้าเกษตร (อุปสงค์) เพื่อวางแผนการผลิตตามเขตที่เหมาะสมทางกายภาพ 3.ตลาดรองรับผลผลิตพืชทดแทนข้าวนาปรังปี 2558/59 ได้แก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น

จาก http://www.banmuang.co.th  วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

BRR ดีเดย์รับผลผลิตอ้อยเข้าหีบ คาดมีปริมาณ 2.3 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 2.7 แสนตัน แถมมีผลพลอยได้หนุนธุรกิจพลังงานทดแทนสร้างความเข้มแข็งให้บริษัท

          'บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์' ชูความพร้อมด้านการผลิตน้ำตาลทรายรอบการผลิตปี 58/59 รักษาฐานความแข็งแกร่งด้านประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลทรายที่ดี เปิดประตูโรงงานรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบช่วงต้นเดือน ธ.ค. คาดมีปริมาณอ้อยเข้าหีบกว่า 2.3 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายได้มากกว่า 2.7 แสนตัน พร้อมต่อยอดนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบให้แก่ธุรกิจพลังงานทดแทน รับโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งที่ 3 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและ COD ได้ภายในปี 2559

          นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวสีรำส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศและนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายไปต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมความพร้อมด้านการผลิตน้ำตาลทรายในรอบการผลิตปี 58/59 โดยได้เตรียมเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ คาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบจำนวน 2.3 ล้านตันอ้อยเมื่อเทียบกับฤดูการหีบอ้อยปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 1.95 ล้านตันหรือเฉลี่ยวันละ 20,000 ตัน ซึ่งปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบในรอบการผลิตปี 58/59 ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 200,000 ไร่ และการให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่และค่าความหวาน พร้อมคาดว่าผลผลิตอ้อยต่อไร่จะเพิ่มจาก 12.22 ตัน เป็น 12.91 ตัน และผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยจะแตะ 120 กิโลกรัม

          ทั้งนี้ BRR ยังได้ประเมินผลผลิตเข้าหีบในรอบฤดูการผลิตปีนี้ คาดว่าจะสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ 2.7 แสนตันหรือคิดเป็นผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อย (ยิลด์) เฉลี่ยอยู่ที่ 120 กิโลกรัม ซึ่งเชื่อว่าจะยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย พร้อมรองรับตลาดน้ำตาลทรายโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอันเนื่องมาจาก ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นขณะที่ประเทศผู้ผลิตสำคัญหลายๆ ประเทศ มีผลผลิตลดลงจากผลกระทบของปรากฏการณ์ เอล นิโน

          ประธานกรรมการบริหาร BRR กล่าวว่า ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายถูกนำไปช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลทั้ง 2 แห่งที่มีกำลังการผลิตรวม 19.8 เมกะวัตต์ ให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ตลอดทั้งปี และมีปริมาณเพียงพอต่อการป้อนโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลแห่งที่ 3 กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างและจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบได้ภายในปี 2559

          สำหรับแผนลงทุนในระยะยาว BRR จะเดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนนำโมลาสซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ธุรกิจเอทานอล ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโรงงานเอทานอล คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานได้ในปี 2559 และแล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี โดยมีกำลังการผลิต 1.5 แสนลิตรต่อวัน ทั้งนี้ จึงมั่นใจว่าภาพรวมธุรกิจของกลุ่ม BRR ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้ายังมีการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

กษ. แจงคืบหน้า 8 มาตรการช่วยภัยเล้ง

"พล.อ.ฉัตรชัย" แจงคืบหน้า 8 มาตรการช่วยภัยเล้ง เร่งเสนอโครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อของบประมาณสนับสนุน

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าใน 8 มาตรการช่วยภัยแล้ง ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหรือ ครม. มีมติอนุมัติ งบประมาณ 971.9 ล้านบาท ในมาตรการที่ 1 สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนทั้ง 22 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา และในมาตรการที่ 2 ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณ 206 ล้านบาท สำหรับช่วยชดเชยดอกเบี้ยเกษตรกร

โดยทั้งมาตรการที่ 1 และ มาตรการ 2 จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ในส่วนของมาตรการที่ 3 การจ้างงาน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมชลประทาน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมาตรการที่ 4 สำหรับช่วยเกษตรกรแต่ละชุมชนทั้ง 77 จังหวัด ให้จัดทำโครงการตามความต้องการเกี่ยวกับการปลูกพืชใช้น้ำน้อยในช่วงหน้าแล้ง เพื่อเสนอของบประมาณต่อรัฐบาล โดยล่าสุดเกษตรกรเสนอโครงการทั้งหมด 514 โครงการ สำหรับ

มาตรการที่ 6 การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งล่าสุดได้มีการขุดบ่อบาดาลเพิ่ม 251 บ่อ

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ไทยเสียตลาดในอาเซียนเพิ่ม ติด 7 ใน 10 ปท. พึ่งได้แค่ CLMV

นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลประเมิน 6 ปี ภาคการผลิตไทยภายใต้เออีซี ว่า ช่วงตั้งแต่ปี 2553 จนถึง 9 เดือนของปี 2558 ไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดอาเซียนเก่าแล้ว 0.2% หรือสูญเสียแล้ว 1.99 หมื่นล้านบาท และหากดูเฉพาะ 19 รายการสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก พบว่าไทยสูญเสียตลาดมากถึง 6.71 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเลียมที่เสียให้กับสิงคโปร์ และยานยนต์ที่เสียให้กับอินโดนีเซีย ส่วนภาพรวมการส่งออกไทยในตลาดอาเซียนใหม่ (ซีแอลเอ็มวี) พบว่าไทยยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 3.9% แต่เพิ่มแบบชะลอตัว โดยปี 2557 ส่วนแบ่งตลาดในซีแอลเอ็มวี 44.1% หรือมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% แต่ปีนี้แม้ส่วนแบ่งตลาดที่ 44.7% มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท แต่ขยายตัวเพียง 0.6% โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดอาเซียนเก่า อันดับ 7 รองจากเวียดนาม มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และบรูไน

"ตอนนี้ตลาดอาเซียนใหม่ไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง แต่อีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดซีแอลเอ็มวีจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบสำหรับสินค้าไทยอีกต่อไป เพราะประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนเก่า ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย เร่งพัฒนาสินค้าออกมาขายแข่งกับไทย หรือไม่ก็จะเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าในซีแอลเอ็มวี เพื่อป้อนตลาดซีแอลเอ็มวีเลย ดังนั้น ไทยในซีแอลเอ็มวีก็จะลดลง" นายอัทธ์กล่าว

นายอัทธ์กล่าวว่า อุตสาหกรรมทำเงินของไทยในอาเซียนเก่าคือ ยานยนต์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อาหารและข้าวสาร ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มตกต่ำ ได้แก่ เหล็ก ผลิตภัณฑ์ไม้ อโลหะ เครื่องแต่งกาย สิ่งทอ ผลไม้ พลาสติก และมันสำปะหลัง ทางออกคือ เร่งเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือถอนตัวออกจากตลาดหรือขายทิ้ง ขณะที่อุตสาหกรรมทำเงินในอาเซียนใหม่ คือ ยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง และน้ำมันปาล์ม ดังนี้ เพื่อคงรายได้เข้าประเทศไทยต้องเริ่มหันขายแต่สินค้าสำเร็จรูปทั่วอาเซียน และเติมเต็มห่วงโซ่อุปทานอาเซียนให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันไทยส่งเข้าไปในห่วงโซ่อุปทานเพียง 5.7% เท่านั้น หากเพิ่มถึง 15-20% จะช่วยเพิ่มมูลค่าตลาดและส่วนแบ่งตลาดของไทยในอาเซียนโดยรวมโตขึ้นอีกมาก และหากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ทีพีพี) แต่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วมสมาชิก จะส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดของไทยทันที ไทยต้องเร่งดันข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสาม (อาเซ็ป)

จาก http://www.prachachat.net    วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

'ประยุทธ์'ชี้ไทยต้องร่วมTPP แต่ขอดูผลกระทบ

"ประยุทธ์"ระบุไทยจะต้องร่วมTPP แต่ขอดูผลกระทบ พร้อมเชิญร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟ ถนน สนามบินและแอร์พอร์ตลิ้งค์เชื่อมพัทยา-หัวหิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งแก่สมาชิก Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand: (JFCCT) ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพฯ ว่า วันนี้ต้องเร่งเจรจาอาเซปเพราะเป็นพื้นฐานของอาเซียน ส่วนข้อตกลงข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก Trans-Pacific Partnership (TPP) ก็กำลังศึกษา แต่คิดว่าลงอยู่แล้ว แต่ระยะยาว ต้องดูว่ามีผลกระทบกับประเทศไทยที่มีรายได้น้อย กระทบประเทศเกษตรกรรมหรือไม่ ทั้งนี้ประเทศไทยพร้อมร่วมมือประชาคมโลกอยู่แล้ว

นายกฯ ยังกล่าวด้วยว่า ตนทำกฎหมายแล้ว 360 ฉบับ ทำเพื่อทุกคน เพื่อนาคต มีการแก้เกี่ยวกับการค้าการลงทุน สิทธิภาษี เพราะไม่ได้แก้มานาน ทั้งในเมื่อจะส่งเสริมการค้า ก็ต้องทำให้สอดคล้องกับทุกประเทศ ส่วนเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีหลายอย่าง ถนนมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า10สาย รถไฟความเร็วสูง ความเร็วปานกลางและรถไฟมาตรฐาน เพื่อศึกษาร่วมกันเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงเหนือ ใต้ ออก ตก ที่ทุกประเทศต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ เรามีหมดแล้ว เรามองไว้หมดแล้วว่าจะร่วมทุนได้ตรงไหน

ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายกฯ กล่าวว่า จะมีการประกวดราคาในปี62และดอนเมืองก็จะมีการปรับปรุง รวมทั้งปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาที่เป้าหมายจะเป็นสนามบินพาณิชย์อีกแห่งมีความสะดวกปลอดภัย และจะเชื่อมต่อแอร์พอร์ตลิ้งจากดอนเมืองไปสุวรรณภูมิ ไปหัวหินไปพัทยา ตนถามว่าเราจะไปร่วมกันได้หรือไม่ หรือใครสนใจจะมาลงทุน

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

"ฉัตรชัย"เร่งจ้างเกษตรกรเป็นแรงงานกรมชลฯ

พล.อ.ฉัตรชัยสั่งเร่งจ้างงานเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งเป็นแรงงานกรมชลประทานคาดมีรายได้7,700 บาทต่อคน

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงว่า ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งรัดในการจ้างเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งเป็นแรงงานในการขุดลอกคูคลองได้แล้วล่าสุด ตัวเลขยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นกว่าราย จากเดิมที่การจ้างงานยังน้อยมาก เนื่องจากบางพื้นที่คนสมัครน้อย ซึ่งกรมชลฯมีงบประมาณในการจ้างงานประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ประมาณ 7,700 บาทต่อคน

สำหรับมาตรการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร ล่าสุดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) ได้เสนอการลดค่าเช่าที่นาของสปก.จำนวน 5 แสนไร่ และลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการเช่าซื้อที่ดินจากอัตรา 4% เหลือ 1% ซึ่งจะเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน(คปก.)ในสัปดาห์หน้า ส่วนราคาปุ๋ยและวัตถุดิบทางการเกษตรฯได้มีการหารือกับกระทรวงพาณิชย์แล้วจะหามาตรการช่วยเหลือต่อไป

สำหรับมาตรการที่ 4 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงมหาดไทย ได้เตรียมเสนอ 2 มาตรการ โดยมาตรการแรกส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้ความชื้นในดินต้องสรุปในเดือน พ.ย. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือน ธ.ค. เบื้องต้น มหาดไทยเสนอมาแล้ว 517 โครงการ ในขณะที่มาตรการชุมชนจะต้องแล้วเสร็จเสนอธ.ค.เพื่อเดินหน้าในเดือนก.พ. 2559 “

ทั้งนี้การทำงานในทีมไทยแลนด์นี้ ทุกกระทรวงช่วยกัน ซึ่งในส่วนของการความชื้นในดินปลูกพืชใช้น้ำน้อย ต้องเร่งดำเนินการและมั่นใจว่าจะทันก่อนที่ความชื้นในดินจะหายไปหมด ซึ่งได้กำชับว่า โครงการต้องทำได้จริง “ พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

สำหรับสถานการณ์น้ำ สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาขณะนี้ (24พ.ย. 58) มีน้ำใช้การได้ 4,220 ล้าน ลบ.ม. โดยได้วางแผน ระบายน้ำ วันละ15.85 ล้าน ลบ.

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

สมาคมน้ำตาลค้านอ้อยขั้นต้น '2 ราคา'      

          ชี้ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยอ่อนแอลง

          3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายค้านมติกอน. กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นปี 58/59 เป็น 2 ราคา หวั่นเกิดปัญหาโรงงานน้ำตาลเปิดศึกแย่งอ้อยและปัญหาการส่งอ้อยข้ามเขตในพื้นที่รอยต่อ ชี้ชาวไร่คู่สัญญาหันส่งมอบอ้อยให้โรงงานน้ำตาลที่ให้ราคาอ้อยสูงกว่า

          นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงาน ด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล ทราย เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลได้ทำ หนังสือยื่นถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก รัฐมนตรี รมว.อุตสาหกรรม รมว.พาณิชย์ และ รมว.เกษตรฯ เพื่อคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับ การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทน การผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดู การผลิตปี 2558/59

          ตามมติ กอน.ที่เห็นชอบให้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 2 ราคาคือเขตคำนวณราคา อ้อยเขต 5 ในอัตราตันอ้อยละ 773 บาท ณ ระดับ ค่าความหวาน10ซี.ซี.เอส. ส่วนเขตที่เหลือกำหนดที่ 808 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับค่า ความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.

          3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมองว่า การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นดังกล่าว จะก่อให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ปัญหาอ้อยข้ามเขต นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงาน น้ำตาลทราย เนื่องจากการเพาะปลูกอ้อยในแต่ละฤดูการผลิตนั้น โรงงานน้ำตาลทรายจะส่งเสริมสนับสนุนชาวไร่อ้อยคู่สัญญา ทั้งปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในการพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการสนับสนุนเงินทุน(เงินเกี๊ยว) แก่ชาว ไร่อ้อย หากชาวไร่อ้อยนำผลผลิตอ้อยไปส่ง ยังโรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่า ทำให้ โรงงานมีความเสี่ยงในการสนับสนุนเงินทุน ให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา และขาดความร่วมมือ กันในการสนับสนุนพัฒนาอ้อยให้มีคุณภาพ

          ขณะเดียวกัน โรงงานที่ให้ราคาอ้อยขั้นต้น ที่ต่ำกว่าพื้นที่เพาะปลูกอื่น จะมีความเสี่ยงที่ สถาบันการเงินไม่สนับสนุนสินเชื่อให้แก่โรงงาน เพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกอ้อย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบอ่อนแอลงและไม่เป็นผลดีต่อระบบโดยรวม เหมือนกับที่เคยเกิดในประเทศคิวบา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่ในการ ส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ ของโลก

          นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการ ประกาศราคาอ้อยขั้นต้นตามพระราชบัญญัติ อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ได้มีการ กำหนดเขตคำนวณราคาอ้อยเป็นเขตเดียวกัน ทั่วประเทศ และกำหนดราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้ง ขั้นต้นและขั้นปลายเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศมาโดยตลอด แม้ว่าในฤดูการผลิตปี 2540/41 จะเริ่มมีการแบ่งเขตคำนวณราคาอ้อยออกมา เป็นหลายเขตมาจนถึงปัจจุบัน แต่การประกาศราคาอ้อยขั้นต้น ยังคงยึดปฏิบัติประกาศเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศ

          การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตนี้ กำหนดเป็น 2 ราคา จึงควรพิจารณาให้ความอย่างเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อยอย่างเท่าเทียมกัน หากอนาคตมีการประกาศราคาอ้อยหลายเขต หลายราคามากขึ้น จะยิ่งทำให้ชาวไร่อ้อยเกิด ความสับสนและจะนำไปสู่ความแตกแยกในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย

          "3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 2 ราคาและต้องการให้กำหนดเป็นราคาเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะนำไปสู่การแย่งอ้อย การส่งอ้อยข้ามเขต ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลขาดแรงจูงใจที่จะร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การแย่งซื้อ อ้อย สุดท้ายไม่มีฝ่ายใดได้ประโยชน์จาก การประกาศราคาอ้อยขั้นต้น 2 ราคาในครั้งนี้ และจะทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกอ่อนแอลง"นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

โรงงานน้ำตาลค้านมติให้ซื้ออ้อย2ราคา

เอกชนค้านอ้อย 2 ราคา หวั่นเกิดปัญหาแย่งผลผลิต จนอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลแตกแยก

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า สมาชิก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า สมาชิก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดค้านการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/2559 ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเห็นชอบกำหนดราคาขั้นต้น 2 ราคา

ทั้งนี้ มติดังกล่าวกำหนดให้เขตคำนวณราคาอ้อยเขต 5 ในอัตราตันอ้อยละ 773 บาท ที่ระดับความหวาน 10 c.c.s. ส่วนเขตที่เหลือกำหนดที่ตันอ้อยละ 773 บาท ที่ระดับความหวาน 10 c.c.s. ส่วนเขตที่เหลือกำหนดที่ตันอ้อยละ 808 บาท ที่ระดับความหวาน 10 c.c.s

นายสิริวุทธิ์ ชี้แจงว่า การประกาศราคาอ้อยขั้นต้น 2 ราคา จะก่อให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ปัญหาอ้อยข้ามเขต นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย เนื่องจากการปลูกอ้อยในแต่ละฤดูการผลิตนั้น โรงงานน้ำตาลทรายจะสนับสนุนชาวไร่อ้อยคู่สัญญาหากประกาศราคาอ้อยหลายเขตหลายราคา จะทำให้ชาวไร่อ้อยสับสนและจะนำไปสู่ความแตกแยกในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในที่สุด

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ส่งออกต.ค.ติดลบ8.11% พาณิชย์แจงเหตุเศรษฐกิจโลกทรุด-สินค้าเกษตรราคาร่วง-หวังปีหน้าฟื้น

กระทรวงพาณิชย์ เผยตัวส่งออกเดือนตุลาคม ติดลบ 8.11% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน อ้างเจอสารพัดปัจจัยลบรุมซ้ำเติม ทั้งศก.โลกตกต่ำค่าเงินผันผวน น้ำมัน-สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ หวังปีหน้าตัวเลขกลับมาเป็นบวก หลังระดมกำลังวางแนวทางลดอุปสรรคการค้า ทั้งเร่งโรดโชว์ เพื่อรักษาตลาดเดิม และหาตลาดใหม่

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ประจำเดือน ต.ค. 2558 ว่า สถานการณ์ส่งออกในเดือน ต.ค.มีมูลค่า 18,556.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.11%เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 10 เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังเปราะบาง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงตกต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ประเทศคู่ค้ายังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สูง บางประเทศมีการติดลบต่อเนื่อง การนำเข้าของประเทศคู่ค้าลดลง รวมถึงสถานการณ์การก่อการร้ายที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในหลายประเทศ ขณะที่มูลค่าส่งออก 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค. 2558) มีมูลค่า 180,129.3 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 5.32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

“การส่งออกไทยในเดือนนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ ตามปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการส่งออก ทั้งเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในเดือน ต.ค. 2557 ส่งออกไทยมีมูลค่าสูงถึง 20,206 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะในช่วงต้นปี การส่งออกชะลอตัวจากปัจจัยทางการเมือง และกลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ทำให้ไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 การส่งออกมีมูลค่าสูง และเป็นไตรมาสเดียวที่ขยายตัวเป็นบวก 1.58% แต่ทั้งนี้ ตัวเลขส่งออก ต.ค. 2558 กระทรวงยังไม่พอใจนัก

 แต่ก็ยอมรับว่าตัวเลขส่งออกของไทยยังดีกว่าหลายประเทศที่เป็นประเทศส่งออกสำคัญของโลก อีกทั้งส่วนแบ่งตลาดของไทยยังเพิ่มขึ้นในตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐ สหภาพยุโรป มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น จึงมองว่า

 การส่งออกของไทยต่อจากนี้ไปน่าจะสูงขึ้นได้”

ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมเดือน ต.ค.2558 ลดลง 10.3% ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญอย่างยางพาราจะมีปริมาณส่งออกสูงขึ้น แต่ราคายังคงอยู่ในระดับต่ำทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวลง โดยยางพารา ลดลง 7.6%ข้าวลดลง 17.6% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลดลง 11.4%และอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ลดลง 25.8% ส่วนผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และไก่แปรรูป ยังคงขยายตัวสูงขึ้น 26.9% 5.4% 6.0% และ 4.6% ตามลำดับ

ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวลงโดยภาพรวมเดือน ต.ค. 2558 ลดลง 6.6% โดยสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย คือ รถยนต์และส่วนประกอบขยายตัวที่ 0.2% ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้ามากตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำไปจนถึงสิ้นปี

ส่วนการนำเข้า เดือน ต.ค. 2558 มีมูลค่า 16,465.3ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 18.21% ส่งผลให้ไทยยังเกินดุลการค้ามูลค่า 2,101 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ 10 เดือนการนำเข้ามีมูลค่า 170,270 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.27%ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 9,859 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงยังคงไว้ที่ ติดลบ 3% โดยในช่วง 2 เดือนที่เหลือ ต้องทำให้ได้เดือนละ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย และแนวโน้มการส่งออกในปี 2559 ขณะนี้ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างการรวมรวม จัดทำข้อมูล แต่ก็มองว่าการส่งออกในปีหน้าจะดีขึ้น และกลับมาเป็นบวกได้ เพราะทั้งกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยายามผลักดันการส่งออก ทั้งการทำข้อตกลงทางการค้าเสรี(FTA) การหาตลาดและเจาะตลาดการค้าใหม่ๆ นโยบายของภาครัฐที่หันมาสนับสนุนและพัฒนาการผลิตในประเทศ สนับสนุนภาคบริการ การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาภาคบริการ รวมถึงส่วนแบ่งตลาดของไทยที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ เป็นต้น

“การค้าโลก รวมทั้งไทย ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวแต่เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ส่งออกไทยกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าอัตราหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือน ก.ย. 2558เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย ลดลง 21.7%ฝรั่งเศส ลดลง 13.7% สิงคโปร์ ลดลง 14.6% ญี่ปุ่น ลดลง9.3% เกาหลีใต้ลดลง 6.6% สหรัฐ ลดลง 6.1% จากสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนได้ว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยไม่ได้ลดลงตามมูลค่าส่งออก ประเทศไทยยังมีสถานการณ์การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าหลายประเทศ”

อย่างไรก็ตาม การผลักดันการส่งออกปี 2559 ขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งเดินทางโรดโชว์ เพื่อรักษาตลาดเดิมและทำตลาดใหม่ให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งเร็วๆ นี้ นายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะนำคณะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความพร้อมของไทยที่จะรองรับการค้าการลงทุนของภูมิภาคอาเซียนที่จะเกิดเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ จะได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออก เพื่อปลดล็อคอุปสรรคทางการค้ารูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกัน ภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปส่งผลให้การบริโภคในหลายประเทศเริ่มขยายตัวดีขึ้น จึงเชื่อว่าปีหน้าการส่งออกของไทยจะมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกได้ แต่ยังต้องติดตามปัจจัยลบจากราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งผลกระทบจากการก่อการร้ายด้วย

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

น้ำมันตลาดโลกปีหน้าผันผวนต่อ เคลื่อนไหวที่53-56เหรียญ สอท.ชี้ช่วยหนุนเศรษฐกิจ

นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่ง-ประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยตัวเลขประมาณการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2558 ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้คาดว่าจะมีกำลังการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง 172 ล้านลิตรต่อวัน (1,128 พันบาร์เรลต่อวัน) หรือคิดเป็นอัตรากำลังการผลิตที่ร้อยละ 92 ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยผลิตเป็นน้ำมันสำเร็จรูป 142 ล้านลิตรต่อวัน (900 พันบาร์เรลต่อวัน) เพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศ

สำหรับน้ำมันเบนซินมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ในขณะที่ก๊าซปิโตรเลียมเหลวความต้องการใช้ปรับลดลงร้อยละ -10 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปี 2557 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันโลกที่ต่ำลงมาก และจากนโยบายภาครัฐในการปรับราคาน้ำมันทุกประเภทให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

นายสุกฤตย์กล่าวว่า แนวโน้มและสถานการณ์ของน้ำมันโลกในปี 2559 คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยมีความต้องการหลักจากเอเชียสำหรับอุปทานจากนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะชะลอตัว 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน สาเหตุจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลงมาก ในขณะที่กลุ่มโอเปกมีแนวโน้มที่จะผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน คาดว่าทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังคงผันผวน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบปี 2558 โดยราคาน้ำมันดิบดูไบคาดว่าจะอยู่ในระดับ 53-56 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

สำหรับผลกระทบราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม จากราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกเติบโตในอัตราที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่นำเข้าน้ำมันสุทธิ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ ซึ่งล้วนเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งประเทศไทยเองด้วย ยกเว้นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ได้รับผลกระทบทางลบ เช่น ประเทศในตะวันออกกลาง และ

 รัสเซีย เป็นต้น

นายสุกฤตย์กล่าวว่าอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการที่อุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ ค่าเชื้อเพลิงและการสูญเสียลดลง นอกจากนี้ เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ที่ใช้การดำเนินงานลดต่ำลงด้วยซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินลง ส่งผลให้ผลประกอบการของกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันดีขึ้นในปี 2558 และคาดว่าจะดีต่อเนื่องไปถึงปี 2559

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ชูธงเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง การแก้ปัญหาภาคเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นไปที่การแก้เรื่องตัวสินค้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมาตรฐานการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด หรือการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้า แต่ไม่ว่าจะแก้ไขอย่างไรปัญหาก็ยังคงวนเวียนกลับมาเหมือนเดิม เกษตรกรยังไม่มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เราอาจติดหล่มหรือคิดในวิธีการเดิมที่ว่าจะต้องดูแลสินค้าเกษตรบางตัว เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้นแต่ลืมไปว่าสิ่งสำคัญคือตัวเกษตรกรไม่ใช่สินค้า ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯ ต้องปรับแนวคิดว่าเกษตรกรคือศูนย์กลาง เขาจะปลูกพืชผลอะไรก็ได้ เพียงแต่ให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอที่จะยังชีพและสามารถดูแลครอบครัวได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย นอกจากนี้ยังมีปัญหาภัยแล้งที่มาซ้ำเติมสร้างผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกร

ฉะนั้นในปี 2559 ถือเป็นปีแห่งความท้าทายการทำงานของกระทรวงเกษตรฯ เพราะถ้าไม่วางแผนตั้งรับให้ดีจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ทั้งนี้ ได้รณรงค์ให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน เน้นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีแนวทางการขับเคลื่อนอยู่ 4 เรื่อง ได้แก่ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย การบริหารจัดการ และการตลาด นอกจากนี้ จากสภาพปัญหาของการทำเกษตรในประเทศไทยที่ไม่มีแผนควบคุม ทำให้ไม่เห็นความชัดเจนหรือแก้ปัญหาไม่ตรงจุด จึงเร่งดำเนินการเรื่องโซนนิ่ง (Zoning) โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดกรอบระยะเวลา 3 เดือนนับจากนี้เรื่องดังกล่าวต้องมีความชัดเจน

อีกเรื่องคือศูนย์เรียนรู้ จำนวน 882 ศูนย์ ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร ต้องสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ว่าพื้นที่แบบนี้ ดิน น้ำ สภาพอากาศแบบนี้ควรทำการเกษตรแบบไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่แค่เพียงปลูกพืชแล้วให้ผลผลิตดีเท่านั้น ต้องสามารถนำไปขายได้ราคาดีด้วย เช่น ศูนย์อาจจะตั้งอยู่พื้นที่ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าว แต่ศูนย์อาจจะนำเสนอว่าควรจะปลูกพืชชนิดอื่นหรือเลี้ยงสัตว์ ทำประมงที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็ได้ ซึ่งต้องมีการบูรณาการหน่วยงานในสังกัดให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ศูนย์เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าศูนย์เหล่านี้จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรได้ง่ายนัก ถึงกระนั้นก็ต้องร่วมมือกันทำให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยตั้งเป้าว่าทุกศูนย์จะต้องดำเนินการให้สำเร็จภายใน 3 เดือนเช่นกัน

“นโยบายของผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ที่ผ่านมาไม่มีความแตกต่างกัน คือมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ชีวิตเกษตรกรดีขึ้น แต่อุปสรรคที่พบคือการนำนโยบายสู่การปฏิบัติไม่เกิดการขับเคลื่อนตรงตามวัตถุประสงค์ เนื่องด้วยผู้บริหารอยู่ที่ส่วนกลางแต่ผู้ปฏิบัติอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ดังนั้น ข้าราชการในระดับพื้นที่ต้องทำความเข้าใจ ติดตามข้อมูลข่าวสาร สามารถประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ว่าปี 2559 จะเกิดอะไรขึ้นบ้างที่มีผลกระทบต่อเกษตรกร เมื่อรู้สถานการณ์ต้องลงพื้นที่ทำงานโดยนำนโยบายจากผู้บริหารไปขับเคลื่อนให้เกิดผลประโยชน์กับเกษตรกรมากที่สุด และเพื่อเป็นการประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ จะจัดให้มีการประกวด การลดต้นทุน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในรูปแบบการผลิตเกษตรแปลงใหญ่ที่มีความสำเร็จเป็นรูปธรรม การประกวดศูนย์เรียนรู้ 882 ว่าศูนย์ไหนทำได้ดี เกษตรกรในพื้นที่ให้การยอมรับ เป็นต้น”

นอกจากนี้ ยังมีงานเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการอีกหลายเรื่อง เช่น การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) งานพัฒนาแหล่งน้ำและแก้ปัญหาภัยแล้ง การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวงเกษตรฯ ต้องเร่งทำงานให้สัมฤทธิผล เพื่อให้เกษตรกรที่เป็นศูนย์กลางมีชีวิตที่ดีขึ้น และต้องสามารถผ่านวิกฤติปี 2559 ในทุกด้านไปให้ได้ นี่คือเป้าหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

น้ำตาลครบุรีปลื้มยอดขายแบรนด์ KBS ทะลุพันล้าน ชู Food Solution ผ่านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมหลากหลาย

          ทุ่มกว่า 5 พันล้านสร้าง Sugar Energy Complex เน้นบริหารครบวงจร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำสู่เป้าหมายองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมเกษตรกรและผู้บริโภค

          บมจ.น้ำตาลครบุรี เผยผลการดำเนินงานประจำปี 2558 และทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2559 ปลื้มยอดขาย "น้ำตาลแบรนด์ KBS" ทะลุพันล้านหลังเปิดตัวเพียงปีเดียว ลั่นเดินหน้าต่อยอดความสำเร็จในฐานะผู้นำด้าน Food Solution ด้วยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้แนวคิด KBS : Sweet & Smart ความหวานสำหรับคนฉลาดเลือก ล่าสุด เดินหมากกลยุทธ์ระยะยาว โดยมุ่งเน้นการบริหารองค์รวมและสอดประสานระหว่างกลยุทธ์ของฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ด้วยงบกว่า 5 พันล้านเปลี่ยนโรงงานน้ำตาลเป็น Sugar Energy Complex ตั้งเป้าขึ้นเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมเกษตรกรและผู้บริโภค

          นายทัศน์ วนากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเปิดตัวน้ำตาลแบรนด์ใหม่ "เคบีเอส" เมื่อปีที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับที่ดีมาก ยอดขายทะลุเป้า 1 พันล้านบาท เป็นผลจากการใช้กลยุทธ์ Food Solution ที่มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเข้ามาเป็นเพื่อนคู่คิดที่ช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย เพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น และเป็นเพื่อนคู่ครัวของผู้บริโภคที่ช่วยให้การทำอาหารได้ทั้งคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติที่ดีขึ้น ซึ่งจากกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกพบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ อาทิ การมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกให้กับตลาด คือ ผลิตภัณฑ์ KBS 2X double sweet (น้ำตาลหวาน 2 เท่า) มุ่งตอบโจทย์ SME ที่ต้องการรายได้เพิ่มขึ้น

          ซึ่งตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าผลิตภัณฑ์ KBS 2X double sweet สามารถช่วยผู้ประกอบการ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขนม ลดต้นทุนลงได้กว่า 25-30% และในด้านการจัดเก็บก็สามารถลดพื้นที่การจัดเก็บได้ถึง 50% อีกทั้งยังตอบโจทย์ผู้บริโภคเรื่องสุขภาพด้วยการเป็นน้ำตาลที่ให้พลังงานต่ำ สำหรับผู้ที่มีความกังวลเรื่องสุขภาพ นอกจากนี้ การมีช่องทางการขายที่หลากหลาย รวมถึงในกลุ่ม Modern Trade ก็มีส่วนสำคัญในความสำเร็จครั้งนี้อีกด้วย

          นอกจากนี้ นายทัศน์ ยังได้เปิดเผยถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร และการวางกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ว่า "วันนี้บริษัทฯ มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมเกษตรกรและผู้บริโภค จึงถือเป็นความท้าทายที่ไม่สามารถทำสำเร็จได้ด้วยการใช้กลยุทธ์ระยะสั้น ต้องเลือกใช้แผนกลยุทธ์ระยะยาวและการมองภาพใหญ่ ซึ่งกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ของ KBS เป็นแผนที่เน้นองค์รวม และมีความสอดประสานระหว่างกลยุทธ์ของฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยเริ่มจากต้นน้ำ คือ ฝ่ายไร่หรือฝ่ายวัตถุดิบ ต้องเพิ่มความมั่นคงทางวัตถุดิบ โดยจะต้องเป็นคู่คิดให้กับชาวไร่ ส่งเสริมให้ชาวไร่มีผลผลิตที่สูงขึ้น มีรายได้จากการปลูกอ้อยที่ดีขึ้น ชาวไร่ก็จะเป็นผู้ที่ขยายหรือยึดอาชีพปลูกอ้อยได้อย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ KBS สามารถขยายกำลังผลิตหรือลดต้นทุนต่อไป

          "กลางน้ำ คือ ฝ่ายผลิต KBS มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพของสินค้า KBS เลือกใช้โมเดล Sugar Energy Complex ซึ่งจะปรับปรุงโรงงานในปัจจุบันให้มีความทันสมัยและครบวงจร โดยมองถึงการรองรับอ้อยจำนวนมากจากเกษตรกรและมีการผลิตไฟฟ้าและเอทานอลที่เป็นธุรกิจชีวพลังงานอย่างครบถ้วน สุดท้าย ปลายน้ำ คือ การตลาดจะต้องตอบโจทย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ของผู้บริโภคให้ได้ โดยมีการสร้างแบรนด์ KBS ให้เป็นที่รู้จัก โดยจะทำควบคู่กันกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้บริโภค โดยจะเน้นคอนเซ็ปท์ของการเป็นFood Solution ซึ่งจะให้น้ำหนักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มี "คุณภาพ" สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค และยังช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้มีผลกำไรมากยิ่งขึ้นอีกด้วย" นายทัศน์ กล่าวเพิ่มเติม

          ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนการลงทุนต่อเนื่องด้วบงบกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโรงงานน้ำตาลครบุรีให้เป็นโรงงานที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย โดยจะเปลี่ยนเป็น Sugar Energy Complex ที่มีความสมบูรณ์และทันสมัยทัดเทียมโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ โดยประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล 35 เมกะวัตต์ (ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว) โครงการขยายกำลังการผลิต Production Line C 12,000 ตันอ้อยต่อวัน โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลขนาด 200,000 ลิตร/วัน และโครงการก่อสร้าง Conditioning Silo และอาคารบรรจุผลิตภัณฑ์ใหม่

          ด้าน นายภาณุพงศ์ พงศ์ติยะชวางกูล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและขายในประเทศ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงก้าวย่างต่อไปของแบรนด์และกิจกรรมการตลาดที่จะเกิดขึ้นในปี 2559 โดยกล่าวว่า ความสำเร็จที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นชัดว่าแบรนด์ KBS เดินมาถูกทางแล้ว ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดี ในปีแรก เราวางเป้าหมายลูกค้าเรากว้างทั้งในส่วนธุรกิจ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค แต่จากสัดส่วนยอดขาย ทำให้เราเห็นชัดว่า ลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุด คือ กลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของเราอย่างชัดเจน ดังนั้น ในปี 2559 เราจึงจะเน้นการทำตลาดกลับกลุ่มผู้ประกอบการ SME อย่างเข้มข้นขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์เพื่อเพิ่มยอดขายในกลุ่มผู้บริโภค

          สิ่งที่บริษัทจะเน้นในปีหน้า ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์ เรามีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติหวานสองเท่าเช่นเดิม แต่อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำน้ำตาลไปใช้ในอาหารที่หลากหลายขึ้น 2.ช่องทางการขาย โดยจะขยายช่องทางการขายให้หลากหลายขึ้น เน้นการขายผ่าน Modern Trade เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองและเข้าถึงสินค้าเราได้ง่ายขึ้น และ 3. เครื่องมือส่งเสริมการขาย โดยในปี 59 นี้ เราจะเน้นประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยผลการวิจัยเรื่อง SME & Consumer Behavior พบว่าช่องทางออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่าออฟไลน์ แต่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ใกล้และตรงใจมากกว่า

          "ปัจจุบันมีการใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดมากขึ้น SME เองก็ใช้ช่องทางนี้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเช่นกัน อาทิ เฟซบุค ไลน์ อินสตาแกรม และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ซึ่งถือเป็นช่องทางการตลาดที่กำลังได้รับความสนใจมาก นอกจากนี้เรายังมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดโครงการสัญจรที่ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มSME ขณะเดียวกันก็ให้พวกเขาได้มีโอกาสทดลองใช้สินค้าของเรา โดยเราจะจัดทีมเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์เมนูใหม่ การปรับปรุงเมนูให้อร่อยมากขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ความเป็น food solution ของแบรนด์ KBS ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นนั่นเอง" นายภาณุพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

 จาก http://www.bangkokbiznews.com    วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

KTIS มอบรางวัลหมู่บ้านป้องกันอ้อยไฟไหม้

          นายเพทาย หมื่นจิตร ผู้ช่วยผู้จัดการสายปฏิบัติการและพนักงาน บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS มอบรางวัลให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านป้องกันอ้อยไฟไหม้ บ้านหนองสร้อยทองประจำปีการผลิต 57/58 พร้อมร่วมแรงร่วมใจกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษาสมดุล อนุรักษ์ดินและน้ำบริเวณสระน้ำสาธารณะประจำหมู่บ้านหนองสร้อยทอง จังหวัดนครสวรรค์

จาก http://www.bangkokbiznews.com    วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

KBS ยื่น ก.อุตฯ ขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ที่โคราช 

ทัศน์ วนากรกุล  

         “น้ำตาลครบุรี” ยื่น ก.อุตสาหกรรม ขอตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ไม่ไกลจากโรงงานเดิม รวมทั้งจะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลและเอทานอลใหม่ในพื้นที่เดียวกัน คาดใช้เงินลงทุน 5-6 พันล้านบาทใน 3 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าปี 59 รายได้เพิ่ม 5% และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีนี้ หลังมีกำลังการผลิตเพิ่มและราคาน้ำตาลส่งออกสูงขึ้น

               นายอิสสระ ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการบริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) (KBS) เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนลงทุนในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 5-6 พันล้านบาทเพื่อตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ขนาดกำลังการผลิต 1.2-2 หมื่นตันอ้อย/วัน ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ไม่ห่างจากโรงงานน้ำตาลเดิมของบริษัทที่ตั้งอยู่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ทำให้สามารถใช้เครื่องจักรและบุคลากรร่วมกันได้ และทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ขณะเดียวกันก็ลงทุนตั้งโรงงานไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง และโรงงานผลิตเอทานอลในพื้นที่เดียวกันเพื่อให้ครบวงจรภายใต้โมเดล Sugar Energy Complex

                ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยื่นหนังสือไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3-4 พันล้านบาท โดยยืนยันว่าปริมาณอ้อยที่จะเข้าหีบในโรงงานใหม่นี้ไม่มีปัญหาแย่งอ้อยอย่างแน่นอน ส่วนวงเงินที่เหลือจะใช้ลงทุนโรงไฟฟ้าและผลิตเอทานอลแห่งใหม่

               ด้านแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวนี้จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานส่วนหนึ่ง ที่เหลืออาจจะกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือหาพันธมิตรใหม่เข้ามาถือหุ้นก็ได้ จากปัจจุบันที่มีพันธมิตรญี่ปุ่น คือ มิตซุย เข้ามาถือหุ้นอยู่ 16% โดยบริษัทฯ ยังไม่ได้สรุปรูปแบบการระดมทุนดังกล่าว

               ก่อนหน้านี้ปี 2557 บริษัทฯ ได้มีการลงทุนต่อเนื่อง 5 พันล้านบาท ในโครงการขยายกำลังการผลิตไลน์ซี อีก 1.2 หมื่นตันอ้อย/วัน, โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 35 เมกะวัตต์ โดยจ่ายไฟเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 22 เมกะวัตต์แล้วเมื่อต้นปีนี้, โครงการ Conditioning Silo และโครงการก่อสร้างโรงงานเอทานอล ขนาด 2 แสนลิตร/วัน ที่เดิมคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 คงต้องเลื่อนออกไปอีก 1 ปีเนื่องจากยังไม่ได้รับใบอนุญาตรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

                นายทัศน์ วนากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2558 บริษัทฯ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงโรงงาน ขณะนี้ที่ราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออกเฉลี่ยอยู่ 11-12 เซ็นต์/ปอนด์ ทำให้ไตรมาสนี้มีโอกาสที่จะขาดทุนสุทธิต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ขาดทุนสุทธิ 89 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าทั้งปี 2558 บริษัทจะมีกำไรสุทธิแน่ แต่ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 318 ล้านบาท ส่วนรายได้ปีนี้จะใกล้เคียงปี 2557 ที่ระดับ 6 พันล้านบาท เนื่องจากรับรู้รายได้จากธุรกิจไฟฟ้า 550 ล้านบาท

               ส่วนปีหน้า บริษัทฯ มั่นใจว่าผลการดำเนินงานจะมีรายได้โตขึ้น 5% จากปีนี้ และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จากปีนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 15 เซ็นต์/ปอนด์ ต่ำกว่าปี 2557 ที่ราคาส่งออกเฉลี่ย 19 เซ็นต์/ปอนด์ ขณะเดียวกัน บริษัทได้มีการขยายกำลังการผลิต ทำให้มั่นใจว่าทั้งปีจะสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นจาก 2.2 ล้านตันอ้อย เป็น 2.6 ล้านตันอ้อย/ปี ทำให้ปี 2559 มีน้ำตาลที่ผลิตได้ 2.8-3 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่ 2.2 แสนตัน

               สำหรับการลงทุนในปี 2559 ส่วนใหญ่จะเป็นงบลงทุนเพื่อใช้ซ่อมบำรุงโรงงานตามปกติ 200-300 ล้านบาท เนื่องจากงบลงทุนโครงการใหญ่ส่วนใหญ่แล้วเสร็จ เว้นแต่โครงการผลิตเอทานอลที่เลื่อนออกไป ซึ่งจะใช้เงินลงทุน 1.2 พันล้านบาท โดยมีการเตรียมเงินเพียงพอสำหรับโครงการแล้ว

               แผนทำตลาดน้ำตาลแบรนด์ KBS ในปีนี้ พบว่ามียอดขายทะลุพันล้านบาท โดยล่าสุดได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่น้ำตาลทราย KBS 2x Double Sweet ที่มีความหวานเพิ่มขึ้น 2เท่าเพื่อช่วยผู้ประกอบการ SME ประหยัดต้นทุนลงได้กว่า 25-30% และยังตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วย เนื่องจากน้ำตาลดังกล่าวเป็นน้ำตาลที่ให้พลังงานต่ำ หรือโลว์แคลอรี โดยมีช่องทางขายผ่านกลุ่มโมเดิร์น เทรด พบว่าได้รับการต้อนรับจากผู้บริโภคด้วยดี

 จาก http://manager.co.th   วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

กรมส่งเสริมการเกษตรชี้ องค์ความรู้ด้านดินและปุ๋ยช่วยเกษตรกรไทยลดต้นทุนการผลิต 

          นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้เล็งเห็นความสำคัญของงานดินและปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชทั้งปริมาณและคุณภาพ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง โดยการส่งเสริมการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินและเสริมประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น ใช้ไม่ถูกต้องตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและความต้องการของพืช ส่งผลให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งทำให้เกิดต้นทุนการผลิตสูง ทั้งนี้ปี 2559 กรมฯได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ผ่านศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 882 ศูนย์ ใน 77 จังหวัด เพื่อให้ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็ง และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผลการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตออกไปสู่เกษตรกรให้กว้างขวางซึ่งดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ได้ประกาศให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ 1. ลดปัจจัยการผลิต โดยให้ใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยเคมีเท่าที่จำเป็น โดยใช้แม่ปุ๋ย และให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพร่วมด้วย 2. เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น 3. เน้นการบริหารจัดการด้วยระบบการเกษตรแปลงใหญ่ และ 4. วางแผนเพิ่มช่องทางการตลาด

          นายโอฬาร พิทักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การดำเนินการโครงการการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องดินและปุ๋ยสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่สู่เกษตรกร เพื่อยกระดับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้เป็น Smart Officer และเพื่อยกระดับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนให้เป็น Smart Center กรมส่งเสริมการเกษตร โดยกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ได้จัดอบรมความรู้ด้านดินและปุ๋ยให้แก่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานดินปุ๋ยจำนวน 120 คน ในระหว่างวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรม เอบีน่าเฮาส์ กรุงเทพฯ หลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย การบรรยายวิชาการ การฝึกปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ดิน การแปลผล และให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ย การศึกษาดูงานด้านดินปุ๋ยที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และการจัดการความรู้ที่ได้รับเพื่อนำไปถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ทั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้ร่วมเสนอผลงานการจัดทำโปรแกรมปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในมันสำปะหลัง และการผสมปุ๋ยใช้เองบน Smart Phone ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อใช้ในการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัดแก่เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนและเกษตรกรทั่วไป

จาก http://www.thaipost.net วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

ของบอบรมเกษตรกรแก้ภัยแล้ง 20 ล้าน 

          นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง 2558/2559 ว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กำชับให้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการฝึกอบรมอาชีพแก่เกษตรกร จึงจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 27 พ.ย.นี้ เพื่อของบกลาง 20 ล้านบาท ขณะที่มาตรการให้ชุมชนคัดโครงการเอง งบ 1,000 ล้านบาท เข้า ครม.ในวันอังคารนี้

จาก http://www.posttoday.com วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

"กรมน้ำบาดาล" ทุ่ม 3.4 พันล้านบาท เจาะ 6 พันบ่อรับภัยแล้ง

นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาใน 4 เขื่อนหลักน้อยกว่าปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำบาดาลต้นทุนที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ในช่วงที่เกิดภาวะภัยแล้ง และเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า โดยมอบเป็นนโยบายเร่งด่วนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ ดังนี้

มาตรการที่ 1 จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อให้พร้อมดำเนินการในพื้นที่ ประกอบด้วย ชุดเจาะบ่อน้ำบาดาล 92 ชุด ชุดเป่าล้างทำความสะอาดบ่อน้ำบาดาล 76 ชุด ชุดซ่อมระบบประปา และเครื่องสูบ 56 ชุด ชุดปรับปรุงคุณภาพน้ำเคลื่อนที่ 18 ชุด รถบรรทุกน้ำ 95 คัน จุดจ่ายน้ำถาวร 87 แห่ง และระบบน้ำดื่มสะอาดในโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 2,631 ระบบ

มาตรการที่ 2 จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อติดตามให้ความช่วยเหลือเรื่องน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน และรับแจ้งการขอความช่วยเหลือด้านน้ำบาดาลจากประชาชนผ่านสายด่วนกระทรวงทรัพยากรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Green Call 1310 กด 4

มาตรการที่ 3 เร่งรัดการดำเนินงาน 4 โครงการหลักของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เป้าหมายรวม 5,997 แห่ง งบประมาณ 3,452 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถให้บริการประชาชนได้กว่า 530,000 ครัวเรือน มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 390,000 ไร่ คิดเป็นปริมาณน้ำประมาณ 197 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ประกอบด้วยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เป้าหมายดำเนินการ 1,836 แห่งทั่วประเทศ งบประมาณ 1,468 ล้านบาท เป็นการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลพร้อมก่อสร้างระบบประปาบาดาลและระบบกระจายน้ำให้แก่หมู่บ้านที่ไม่มีระบบประปา ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียงตลอดฤดูแล้ง

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศหรือโครงการน้ำโรงเรียนเป้าหมายดำเนินการ 688 แห่งทั่วประเทศ งบประมาณ 742 ล้านบาท เพื่อช่วยให้นักเรียนและบุคคลากรในโรงเรียน รวมถึงชุมชนใกล้เคียงมีน้ำดื่มสะอาดมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และเป็นจุดให้บริการน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติได้อีกด้วย

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้งเป้าหมายดำเนินการจำนวน 1,278 แห่ง งบประมาณ 506 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชผักในการเลี้ยงชีพและประกอบอาชีพ ช่วยให้คนในพื้นที่มีงานทำ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยบรรเทาปัญหาการละทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในเมืองใหญ่

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้งระยะเร่งด่วนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำนวน 2,195 แห่ง งบประมาณ 735 ล้านบาท โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลและติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน จำนวน 1,460 แห่ง ส่วนอีก 735 แห่ง ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานเป็นการจ้างเหมาเอกชนเจาะบ่อน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเอง

มาตรการที่ 4 การให้ความช่วยประชาชนในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ผ่านโครงการ "ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง" ประจำปี พ.ศ. 2559 ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน คือ กองทัพบก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยเปิดจุดจ่ายน้ำถาวรทั่วประเทศ 87 แห่ง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำแก่ประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ ภายในต้นปี 2559

มาตรการที่ 5 สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน เช่น ความรู้เรื่องการทรุดบ่อ การเจาะบ่อน้ำบาดาลทำให้เกิดแผ่นดินทรุดหรือไม่ รวมถึงการชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรในการนำน้ำบาดาลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่นำน้ำบาดาลไปใช้เพาะปลูกข้าว

มาตรการที่ 6 เฝ้าระวังระดับน้ำบาดาลและตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาลผ่านเครือข่ายบ่อสังเกตการณ์ทั่วประเทศ 2,561 สถานี จำนวน 5,515 บ่อ และสามารถกักเก็บไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำสำรอง ในกรณีจำเป็นได้ ไม่น้อยกว่า 161 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

มาตรการที่ 7 การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำประปาสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 7 จังหวัด) ที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ออกใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลแล้ววันละ 800,000 ลูกบาศก์เมตร และสามารถออกใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลเพิ่มเติมได้อีกวันละ 400,000 ลูกบาศก์เมตร รวมเป็นวันละ 1,200,000 ลูกบาศก์เมตร (ไม่เกิน Safe Yield 1.25 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตงดใช้น้ำประปา และให้ใช้น้ำบาดาลเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลให้ประชาชนได้ใช้น้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันปริมาณการสูบใช้น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลมีเพียงวันละ 200,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

ไฟเขียวงบกลางอุ้มเกษตรกรประสบภัยแล้ง

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบงบกลางเพื่อดำเนินโครงการบูรณาการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 58/59 มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน โครงการตามแผนชุมชนเพื่อแกไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร อาทิ การสร้างรายได้จากพืชทดแทนนาปรัง การสร้างรายได้จากปศุสัตว์ การสร้างรายได้จากประมง เป็นต้น จำนวน  971 ล้านบาท และมาตรการที่ 2 การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้เกษตรกรมีภาระหนี้สินกับสถาบันการเงิน โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ เป็นต้น จำนวน 134,479 ราย วงเงิน 206ล้านบาท 

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

"กรมชลประทาน" เร่งทำแผนจัดการโครงการน้ำทุกลุ่มน้ำภายใน 4 เดือน

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยในการมอบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติงานแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ว่า ได้สั่งการให้จัดทำแผนงานหลัก ได้แก่ โครงการขนาดใหญ่ในทุกพื้นที่ว่าแต่ลุ่มน้ำควรจะต้องมีการทำโครงการใดๆ เพิ่มเติมบ้าง จำนวนกี่โครงการ รวมถึงแผนเร่งด่วน เช่น  แหล่งน้ำในแต่ละจังหวัด ปรับปรุงพื้นที่แก้มลิงให้เป็นไปตามหลักวิชาการ คำนวณทิศทางน้ำไหลเข้า-ออก และการถ่ายโอนน้ำ โดยจะต้องนำเสนอแผนโครงการทั้งหมดภายใน 4 เดือน

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ในการสนองตอบนโยบายของรัฐบาล ที่กำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิต โดยการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร ผ่านศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบส่งน้ำ สนับสนุนโครงการเกษตรแปลงใหญ่และการจัดโซนนิ่ง

สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณฝนที่ตกลงมาในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บใน 4 เขื่อนหลักอยู่ที่ 4,220 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายออกวันละ 15.5 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำต่อวินาทีที่ไหลผ่านจุดตรวจวัดที่จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ที่ 190 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นไปตามแผนการระบายน้ำ อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ซึ่งฝนเริ่มหมด จะต้องจับตาดูสถานการณ์อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่อยู่มีเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค แต่ไม่เพียงพอสำหรับการทำนาปรัง จึงต้องขอความร่วมมือเกษตรกรในการปลูกพืชชนิดอื่นซึ่งใช้น้ำน้อย จนกว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

น้ำตาลครบุรีขาดทุนไตรมาสสี่ตามภาวะโลก

นายทัศน์ วนากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คาดว่าไตรมาส 4/2558 จะขาดทุนต่อเนื่องจากไตรมาส 3/2558 ที่มีผลขาดทุน 88.9 ล้านบาท เนื่องจากราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยลดลง 12.96% ตามภาวะราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง และส่วนต่างระหว่างน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบน้อยลง

ส่วนรายได้ในปี 2559 จะเติบโต 5% เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่คาดว่าจะทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าที่ 6,300 ล้านบาท ซึ่งรวมรายได้จากการขายไฟฟ้าชีวมวลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประมาณ 550 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากบริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 3.5 หมื่นตันอ้อยต่อวัน จาก 2.3 หมื่นตันอ้อยต่อวัน ขณะที่กำไรสุทธิจะเติบโตเล็กน้อยจากปี 2558 ที่คาดว่าจะทำได้น้อยกว่าปีก่อนหน้าที่ทำได้ 318.68 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าปี 2559 ราคาน้ำตาลจะปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากราคาเฉลี่ยทั้งปี 2558 อยู่ที่ 15 เซนต์ต่อปอนด์ 

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

หวั่นสินค้าไทยสูญส่วนแบ่งตลาดในอาเซียนเพิ่ม

นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการประเมิน 6 ปีภาคการผลิตไทยภายใต้เออีซี พบว่า ตั้งแต่ปี 2553 จนถึง 9 เดือนของปี 2558 ไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดอาเซียนเก่าแล้ว 0.2%  และเฉพาะ 19 รายการสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ไทยสูญเสียตลาดให้ประเทศในอาเซียนเก่าถึง 6.71 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเลียมที่เสียให้กับสิงคโปร์ และยานยนต์ที่เสียให้กับอินโดนีเซีย  ขณะที่ตลาดอาเซียนใหม่ (ซีแอลเอ็มวี) ส่วนแบ่งการตลาดยังเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มแบบชะลอตัว โดยปี 2557 ส่วนแบ่งตลาดในซีแอลเอ็มวี 44.1% หรือมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% แต่ปีนี้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 44.7% มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท แต่ขยายตัวเพียง 0.6 % โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดอาเซียนเก่า  เป็นอันดับ 7 รองจากเวียดนาม มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และบรูไน

นายอัทธ์ กล่าวว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า อาจเสียส่วนแบ่งตลาดประเทศอาเซียนใหม่ให้กับประเทศในอาเซียนเก่า ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่กำลังเร่งพัฒนาสินค้าออกมาขายแข่งกับไทย หรือเข้าไปลงทุนผลิตสินค้า  และหากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ทีพีพี) แต่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วมสมาชิก จะส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดของไทยทันที ดังนั้นไทยต้องเร่งดันข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสาม (อาเซ็ป)

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

อุตสาหกรรมผนึกกำลังพาณิชย์-แรงงาน ใช้ตราสัญลักษณ์TTMบุกตลาดโลก

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงแรงงาน ในการให้ตราสัญลักษณ์Thailand Trusted Mark (TTM) สำหรับผู้ประกอบการที่จะมีการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าและบริการของไทยในตลาดโลก หลังพบว่าผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้วางใจในสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ TTM จนทำให้สินค้าอุตสาหกรรมที่ได้รับตราสัญลักษณ์ TTM มียอดการส่งออกเป็นที่น่าพอใจ

โดยผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์TTM จะต้องผ่านการตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียว(Green Industry) ระดับที่ 2 หรือที่เรียกว่าปฏิบัติการสีเขียว และต้องผ่านมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001-2553 (Thailand Labour Standard : TLS 8001-2010) ก่อน จึงสามารถขอรับการรับรองตราสัญลักษณ์ TTM ได้

ทั้งนี้ ล่าสุด การรับรอง Green Industryของกระทรวงอุตสาหกรรม มีทั้งสิ้น 5 ระดับ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการได้รับการรับรองแล้วรวม 22,713 ราย แบ่งเป็น ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว จำนวน 14,912 ราย, ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว จำนวน 4,353 ราย, ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว จำนวน3,344 ราย, ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว จำนวน 91 ราย และระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว จำนวน 13 ราย 

“กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมโรงงานสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และต่อยอดไปสู่ระดับพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น คือ นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (Eco Town) เพื่อสร้างการยอมรับ และลดปัญหาความไม่ไว้วางใจกันระหว่างชุมชนกับโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้กัน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เชื่อมโยงระหว่างนโยบายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อให้มีความร่วมมือกันในระดับห่วงโซ่อุปทานการผลิต (Supply chain) ของตนเอง และมีการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด” นายอาทิตย์ กล่าว

โดยปี 2558 นี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้พัฒนาพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 4 แห่ง ใน 4 จังหวัด สู่การเป็น Eco Town ได้แก่ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี, สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี, เขตประกอบอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเขตประกอบการอุตสาหกรรมเหมราชสระบุรี จังหวัดสระบุรี ซึ่งความคืบหน้าของโครงการนั้น ขณะนี้ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม จำนวน 155 ราย คิดเป็น 52% จากโรงงานในกลุ่มเป้าหมาย 4 จังหวัด รวมจำนวน 294 ราย

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเครือข่ายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และการศึกษาดูงานโรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 และระดับที่ 5

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศรุนแรงต่อภาคเกษตรไทย

          ที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศรุนแรง (Extreme Weather Events) ในรูปของภาวะน้ำท่วมและภัยแล้ง เกิดบ่อยครั้งขึ้นและในหลายๆ ครั้ง ได้นำความเสียหายอย่างมากมาสู่ภาคเกษตรไทย ในขณะที่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เหตุการณ์ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วง 30 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะภัยพิบัติน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำ ด้วยเหตุนี้ ทีดีอาร์ไอจึงทำการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าสภาพภูมิอากาศรุนแรงได้สร้างผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรไทยในช่วงที่ผ่าน และจะน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นหากเกษตรกรโดยรวมยังคงใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่มีประสิทธิภาพและไม่ได้เตรียมการรับมือกับความเสี่ยงหรือสถานการณ์ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

          ดร.ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพอากาศรุนแรงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มีการพูดถึงกันมากในระยะหลังทั้งภาวะน้ำแล้งหรือน้ำท่วม ฉะนั้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของปัจจัยทางด้านสภาพภูมิอากาศรุนแรงต่อการผลิตภาคเกษตร ทีดีอาร์ไอจึงทำการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ด้วยการใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติเพื่อศึกษาว่า สภาพภูมิอากาศรุนแรงมีผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูแล้งมากน้อยเพียงใด โดยวิเคราะห์ทั้งผลกระทบที่เกิดกับปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำคัญสำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูแล้ง และ ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศรุนแรงต่อการตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร

          ผลการวิเคราะห์แบบจำลองโดยรวมชี้ให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศแล้งรุนแรงและปริมาณน้ำฝนมีอิทธิพลอย่างมากต่อปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนทั้งสองแห่งและต่อการผลิตภาคเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยพบว่า หากในช่วงฤดูฝนเกิดภาวะน้ำแล้งรุนแรงและมีปริมาณฝนตกน้อยในพื้นที่เหนือเขื่อน จะทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนลดลงซึ่งส่งผลทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้งลดลงตามไปด้วย นอกจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศแล้ว การขยายตัวของเมืองหรือชุมชนเหนือเขื่อน รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ต้องการใช้น้ำมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยอธิบายการลดลงของปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อน ซึ่งมีผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับการเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูแล้ง

นอกจากนั้น การศึกษานี้ยังได้วิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกพืชหลัก เช่น ข้าว อ้อย และต่อผลผลิตต่อไร่ของพืชเหล่านี้ด้วย โดยรวมพบว่า ทั้งปัจจัยทางด้านราคาผลผลิตและปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศล้วนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ และต่อปริมาณผลผลิตของพืช สำหรับปัจจัยทางด้านสภาพภูมิอากาศนั้น นอกจากจะมีผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งตามที่อธิบายข้างต้น ภาวะน้ำแล้งรุนแรงในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในรอบปีที่ผ่านมานับเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกษตรกรในบางพื้นที่ตัดสินใจลดพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ต้องการใช้น้ำมาก นอกจากนั้น การดำเนินนโยบายของรัฐบาลก็มีผลกระทบต่อภาคเกษตรมากเช่นกัน เช่น การแทรกแซงตลาดสินค้าข้าวกระตุ้นให้เกษตรกรโดยรวมหันมาขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าว การสนับสนุนเงินงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาข้าวช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของข้าว เป็นต้น

          ผลการศึกษายังพบอีกว่า ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีความแตกต่างกันในเชิงพื้นที่และในแต่ละประเภทพืชที่ปลูก โดยพบว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของน้ำชลประทานในการปลูกข้าวและอ้อยในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉลี่ยสูงกว่าการเพาะปลูกในฝั่งตะวันตก ในขณะที่การปลูกอ้อยให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของน้ำชลประทานโดยเฉลี่ยสูงกว่าข้าว

          อย่างไรก็ดีในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยายังคงปลูกข้าวเป็นหลักทั้งๆ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของน้ำชลประทานโดยเฉลี่ยต่ำกว่าการปลูกพืชอื่น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีการใช้น้ำสิ้นเปลืองมากในกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำ ด้วยเหตุที่ปัญหาการขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและการแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่างภาคส่วนต่างๆ

          โดยรวมแล้ว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศรุนแรงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อการผลิตภาคเกษตรโดยรวม เกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญมากขึ้นกับประสิทธิภาพการใช้น้ำในการเพาะปลูกหรือการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรโดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในแปลงเกษตร และการวางแผนการเพาะปลูก เช่น การเลือกชนิดพืชและพันธุ์พืชที่จะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ เป็นต้น เกษตรกรควรให้ความสำคัญกับการวางแผนการเกษตร การปรับตัวและการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต

          อย่างไรก็ดี ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ที่ถูกต้องและให้คำแนะนำแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาภัยแล้ง ความสำคัญของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการพัฒนาแหล่งน้ำในแปลงเกษตรเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง รวมถึงเสนอทางเลือกและแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ สำหรับการจัดการกับปัญหาการขาดแคลนน้ำและการใช้น้ำไม่มีประสิทธิภาพในระดับท้องถิ่นนั้น มีความจำเป็นต้องปรับระบบการบริหารจัดการน้ำโดยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้น้ำและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ร่วมกันดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ ซึ่งจะช่วยจูงใจให้เกษตกรผู้ใช้น้ำใช้น้ำประหยัดมากขึ้น

          นอกจากนั้น ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการทำเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคเกษตรไทยในระยะยาว รวมถึงควรมีระบบข้อมูลและการถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาทักษะให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้เกษตรกรมีความเข้าใจและสามารถนำเอาไปปรับใช้ในแปลงเกษตรของตนให้เกิดเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องไม่ดำเนินนโยบายที่ทำให้พฤติกรรมของเกษตรกรเบี่ยงเบนไป.

จาก http://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

IEC มุ่งสู่ยุครุ่งโรจน์ด้วยธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ

          ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC ชี้แจงแผนการลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพดังนี้

          โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกำแพงเพชร (Kampaengphet Biogas Power Plant) ขนาดกำลังการผลิต 5.8 เมกกะวัตต์ได้ก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งขณะนี้โรงงานได้รอเชื่อมต่อไฟฟ้าและรออัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบใหม่จากรัฐบาล (อัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบใหม่ Feed-in Tariff ประเภทพืชพลังงานที่อัตรา 5.43 บาทต่อเมกกะวัตต์) IEC คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ที่ ต.ลานดอกไม้ อ.เมือง จ. กำแพงเพชร โดยได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตก๊าซชีวภาพทำให้ไม่มีของเสียออกจากระบบการผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกำแพงเพชรใช้เงินลงทุนจำนวน 400 ล้านบาท มีผลตอบแทนของโครงการที่อัตราร้อยละ 17.42 และระยะเวลาคืนทุน 4.7 ปี

          โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพสุพรรณบุรี (Suphanburi Biogas Power plant) ขนาดกำลังการผลิต 10.6 เมกกะวัตต์ได้ใบอนุญาติประกอบกิจการกิจการไฟฟ้า (PPA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนจำนวน 900 ล้านบาท มีผลตอบแทนของโครงการที่อัตราร้อยละ 15 และระยะเวลาการคืนทุน 4.3 ปี คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในปี 2560 โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพสุพรรณบุรีใช้วัตถุดิบกากน้ำอ้อยเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวมวล

          นอกจาก IEC ยังได้มีแผนลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเพิ่มอีกสองแห่งคือ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ จ.ระยอง โดยโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งนี้จะผลิตไฟฟ้าจากอาหารที่คัดกรองออกจากขยะ (food waste) นำไปหมักเพื่อให้เกิดก๊าซชีวมวล โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะ อ.หาดใหญ่มีเงินลงทุนจำนวน 104 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของโครงการร้อยละ 16.2 มีระยะเวลาการคืนทุน 6.7 ปี ส่วนโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพอีกแห่งที่จังหวัดระยองนั้นมีเงินลงทุนจำนวน 197 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของโครงการร้อยละ 16 มีระยะเวลาการคืนทุน 4 ปี รวมกำลังการผลิตทั้งสองแห่ง 4.5 เมกกะวัตต์ โครงการทั้งสองคาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2559

          การลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant)นั้น สอดคล้องกับแผนและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของ IEC ที่มุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างดี และ IEC เชื่อมั่นว่าผลประกอบการในอนาคตจะเติบโตและมีรายได้ที่ยั่งยืนจากธุรกิจที่เข้าลงทุน

จาก http://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

4เขื่อนหลักยังไม่พ้นวิฤกติแล้ง กำชับปฎิบัติการฝนหลวงทันที

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาวิฤกติภัยแล้ง2558/59 ว่าจากที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ กำชับให้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติม โดยได้มีการกำหนดการฝึกอบรมอาชีพ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร โดยจะรองรับได้ จำนวน100 คนต่อศูนย์ จากศูนย์การเรียนรู้ทั้งหมด 882 ศูนย์ทั่วประเทศ จะสามารถฝึกอาชีพให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นคน ซึ่งจะมีเงินค่าตอบแทนเป็นค่าพาหนะ ค่าอาหารกลางวัน คาดว่ารายละไม่เกิน180 บาทต่อวัน ในการฝึกอบรมเน้นในเรื่องส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพัฒนาอาชีพ นำความรู้ไปเชื่อมโยงการผลิตจะเป็นทางเลือก เช่นส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อย

อย่างไรก็ตามไม่มีนโยบายห้ามทำนา แต่เป็นทางเลือกให้ในอนาคต โดยมีการประชุมวันที่27 พ.ย.นี้เพื่อจะสรุปของบเพิ่มเติมจากครม.ในสัปดาห์หน้า  โดยจะนำเข้าพร้อมกับงบช่วยเหลือตาม มาตรการที่4 ที่เป็นโครงการให้ชุมชนทั่วประเทศ คัดเลือกขึ้นมาเอง โดยกระทรวงมหาดไทย เป็นแม่งาน ในส่วนนี้จะใช้งบกว่า1 พันล้านบาท ซี่งจะนำเข้าครม.เพื่อทราบในวันอังคารนี้ด้วยถึงความคืบหน้าของมาตรการแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น

"กรมชลฯได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลัก ยังมีปริมาณเพียง 4,230 ล้านลบม.ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิฤกติในรอบ29 ปี เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมาในช่วงเดียวกันมีถึง 7 พันล้านลบ.ม. ซี่งปัญหานี้กระทรวงเกษตรฯไม่สามารถจัดสรรน้ำให้ใช้ในการเกษตรได้ โดยเฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงได้วางมาตรการช่วยเหลือประชาชนช่วงภัยแล้ง ล่าสุดได้มอบ กรมชลประทาน กรมประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่ทำความเข้าใจประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมรณรงค์ให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยและใช้น้ำอย่างประหยัด ขณะเดียวกันรมว.เกษตรฯได้กำชับ กรมฝนหลวงฯเข้าปฎิบัติการฝนหลวงทันที โดยตั้งศูนย์ฝนหลวงเฉพาะกิจ ที่จ.นครสวรรค์ แล้ว"นายธีรภัทร กล่าว

ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลฯ กล่าวว่า พื้นที่ปลูกข้าวนาปี ที่ไม่ต้องใช้น้ำแล้ว 1.4 ล้านไร่ ที่รอการเก็บเกี่ยว ส่วนที่ปลูกต่อเนื่องในช่วงเดือนต.ค. ที่ผ่านมามีจำนวน1.6 ล้านไร่ ซึ่งเสี่ยงเสียหายกว่า7 แสนไร่ เพราะปริมาณน้ำไม่พอส่งไปให้ ในขณะนี้ที่มีการสำรวจล่าสุด พบว่าหลังจากวันที่1 พ.ย. มีการปลูกข้าวนาปรังอีก 8 แสนไร่ ซึ่งค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยอยู่ในพื้นที่ปลายน้ำบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และรอบนอกกรุงเทพฯ จะขาดแคลนน้ำอย่างมาก ทั้งนี้มีกรณีที่พบว่าบางพื้นที่มีการสูบน้ำเข้านาในพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาด้วย แต่ยังไม่กระทบมากนัก เพราะมีปริมาณอัตรน้ำไหล 196 ลบ.ม.ต่อวินาที จากฝนตกสะสมบางส่วนด้วย แต่หลังจากนี้เข้าหน้าแล้งเต็มที่ จะปล่อยน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 130 ลบ.ม.ต่อวัน เกษตรกรต้องหยุดสูบน้ำเข้านา เด็ดขาดเพื่อรักษาระบบนิเวศและ ผลักดันน้ำเค็ม

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

อาเซียนรับลูกผู้นำเร่งแผนเศรษฐกิจ 10 ปี เน้นเปิดเสรีบริการ แก้อุปสรรคการค้าการลงทุน  

         “อภิรดี” เผยอาเซียนรับลูกผู้นำเดินหน้าเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 10 ปีข้างหน้า หลังเห็นชอบเริ่ม AEC แล้ว เน้นเปิดเสรีภาคบริการ แก้อุปสรรคการค้า การลงทุน ปรับมาตรฐานสินค้า ขีดเส้นไตรมาสแรกปี 59 มีแผนปฏิบัติการ ระบุอาเซียน-จีนยังบรรลุการเปิดเสรีที่เพิ่มขึ้น คาดการค้าลงทุน บริการขยายตัวแน่ พร้อมเร่งหารือญี่ปุ่น-เกาหลี ขยายการเปิดเสรี

               นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 21-22 พ.ย. 2558 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า ผู้นำอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2025 ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจในระยะ 10 ปีข้างหน้าของอาเซียนที่มุ่งการดำเนินงานต่อยอดจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่ผู้นำได้ให้ความเห็นชอบแล้วให้มีความเข้มข้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้อาเซียนมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงกว้างและลึกมากยิ่งขึ้น

               ทั้งนี้ คณะกรรมการสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียนจะมีการหารือในการเปิดเสรีภาคบริการเพิ่มขึ้น เพราะเป็นสาขาที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของอาเซียน การพิจารณายกเลิกและลดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน การปรับประสานมาตรฐานสินค้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การเสริมสร้างระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้า การสร้างความเข้มแข็งแก่ MSMEs และส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ในสาขาต่างๆ ให้เสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2559

                นางอภิรดีกล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้อาเซียนและจีนยังสามารถสรุปพิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและจีนได้มีการลงนามพิธีสารไปแล้วเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2558 ซึ่งผลจากการเปิดเสรีที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การค้าการลงทุน และการค้าบริการของอาเซียนกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะข้อตกลงฉบับใหม่ได้มีการปรับกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่ยืดหยุ่นและมีกระบวนการศุลกากรที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเพิ่มขึ้น มีการเปิดเสรีการค้าบริการ การส่งเสริมการลงทุนและอำนวยความสะดวกทางการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมหลายสาขามากขึ้น

               ส่วนความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ผู้นำได้เร่งรัดให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการให้ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการมีผลใช้บังคับโดยเร็ว และเร่งหาข้อสรุปการเจรจาด้านการลงทุน โดยล่าสุดสาขาบริการที่ญี่ปุ่นจะเปิดตลาดให้อาเซียน เช่น บริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านก่อสร้าง บริการด้านการเงิน และบริการด้านโทรคมนาคม ส่วนไทยมีแผนที่จะผูกพันการเปิดเสรีภาคบริการ เช่น บริการด้านคอมพิวเตอร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง บริการโทรคมนาคม บริการก่อสร้าง บริการสิ่งแวดล้อม บริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา เป็นต้น

               นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนและเกาหลีใต้ยังได้เห็นควรกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีให้มากขึ้น และเห็นพ้องให้มีการเจรจาเปิดเสรีสินค้าอ่อนไหวเพิ่มเติมต่อไป

               สำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ผู้นำได้ให้ความเห็นชอบผลการเจรจาในประเด็นสำคัญด้านการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมถึงข้อบทต่างๆ และขอให้พยายามเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2559 เพราะความตกลง RCEP จะส่งเสริมซึ่งกันและกันกับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตโดยรวมของภูมิภาค อันจะนำไปสู่การจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ในอนาคต 

จาก http://manager.co.th  วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

ชาติอาเซียนลงนามปฏิญญาตั้งเขตศก.AEC

ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน ลงนามปฏิญญาก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้ลงนามในปฏิญญาก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเป็นทางการ เมื่อวันอาทิตย์ เมื่อรวมแล้วมีประชากร และความหลากหลายมากกว่าสหภาพยุโรป หรือ อเมริกาเหนือ พร้อมกับตั้งความหวังให้ AEC เป็นคู่แข่งของจีน และอินเดีย ในอนาคต    

ทั้งนี้ AEC จะยกเลิกกำแพงพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและวีซ่า เพื่อนำไปสู่การกระชับความร่วมมือทางการเมืองและวัฒนธรรมในหมู่สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับอาเซียน ประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิก ดังนี้ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และ เวียดนาม โดยมีประชากรรวมกันทั้งสิ้น 630 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 9 ของประชากรโลก แต่อาเซียนมีประชากรมากกว่าสหภาพยุโรป และอเมริกาเหนือ นอกจากนี้ อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกอาเซียนที่มีประชากรมากที่สุด 246 ล้านคน และบรูไน เป็นสมาชิกที่มีประชากรน้อยที่สุด 412,000 คน

จาก www.innnews.co.th  วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

ชลประทานตั้งเครื่องสูบน้ำส่ง5จว. ทุ่งเจ้าพระยาทำประปาสู้ภัยแล้ง

จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เริ่มส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้แหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาเริ่มลดน้อยลง โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ที่เคยเกิดภาวะวิกฤคน้ำประปา ทำให้กรมชลประทานหามาตรการเตรียทรับมือ โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อส่งน้ำให้5จังหวัดทำน้ำประปาในหน้าแล้งที่ปากคลองชัยนาท-ป่าสัก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โดยนายสุชาติ เจริญศรี ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ พร้อมเจ้าหน้าที่ได้นำเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ขนาดท่อ 36นิ้ว จำนวน 4เครื่องมาตั้งตั้งเพื่อเตรียมทำการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเข้าพื้นที่ 5จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ จ.ลพบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี เพื่อใช้เป็นน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ให้บริการประชาชนในฤดูแล้งนี้

นายสุชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีการลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้ระดับน้ำจะลดลงต่ำกว่าปากคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งจะทำให้น้ำไม่ไหลเข้าคลอง ซึ่งจะกระทบกับน้ำดิบเพื่อการประปา ใน5จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ทางโครงการฯ จึงเตรียมมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการใช้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ที่สามารถส่งน้ำเข้าคลองได้ในอัตรา 2.4ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตน้ำประปาเหมือนที่พื้นที่ จ.ลพบุรีและ จ.ปทุมธานี โดยเฉพาะพื้นที่คลองระพีพัฒน์ประสบมาเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม2558 ซึ่งครั้งนั้นมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก รวมทั้งถนนที่ทรุดพังเป็นทางยาวหลายกิโลเมตรด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

ก.เกษตรเร่งทำฝนหลวงยันมีน้ำพอหน้าแล้ง

"เลิศวิโรจน์" เผยเร่งทำฝนเทียมเติมน้ำในเขื่อน ยืนยันปริมาณน้ำใช้เพียงพอหน้าแล้งนี้

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. เรื่องการทำฝนหลวงในฤดูแล้ง ว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการเตรียมพร้อมสำหรับการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อน หากความชื่นในอากาศอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมจะลงมือทำฝนหลวงทันที ให้มีปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้เมื่อหมดฤดูฝนแล้วความชื่นจะน้อยลง ทำให้ไม่สามารถทำฝนเทียมได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าได้มีการเตรียมพร้อมเต็มที่เพื่อบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่มีอยู่ให้เพียงพอตามหลักความจำเป็นโดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 พร้อมกันนี้ ฝากถึงประชาชนที่จะทำการเพาะปลูกว่าหากพืชที่ปลูกนั้นต้องใช้น้ำในระยะยาว เมื่อฝนไม่ตกจะไม่มีน้ำมาช่วยอาจส่งผลให้การเพาะปลูกเสียหายได้ อยากให้ประชาชนหันมาปฏิบัติตามคำแนะนำและมาตรการต่าง ๆ ที่ทางภาครัฐประกาศออกมา เพราะทางรัฐบาลมีความห่วงใยและพร้อมที่จะดูแลประชาชนให้ผ่านช่วงหน้าแล้งนี้

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

เขื่อนอุบลรัตน์วิกฤติเหลือน้ำใช้12%

เขื่อนอุบลรัตน์วิกฤติหนัก ผอ.ยันมีน้ำพอแค่อุปโภค-บริโภค เท่านั้น วอนปชช.-เกษตรกรช่วยกันประหยัด

นายวรวิทย์ รวีนิภาพงศ์ ผู้อำนวยการเขื่อนอุบลรัตน์ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ขณะนี้ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ โดยมีน้ำใช้งานอยู่ที่ 220 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 12% ของปริมาณน้ำทั้งหมด ซึ่งภายหลังจากการประชุมร่วมกันระหว่างคณะบริหารจัดการน้ำของจังหวัดขอนแก่น ได้มีมติให้เกษตรกรงดทำนาปรัง และปลูกพืชฤดูแล้ง ในเขตพื้นที่ชลประทาน หนองหวาย และมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2559 ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อเกษตรกร ใน จ.ขอนแก่น หนองบัวลำภู และมหาสารคาม ทั้งนี้ ขอยืนยันปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ เพียงพอแค่สำหรับการอุปโภค-บริโภค และผลิตประปา นายวรวิทย์ ยอมรับว่า ที่ผ่านมาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงมีฝนตกลงมาน้อยมาก ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนลดลง จากที่เฉลี่ยแล้วน้ำควรจะไหลเข้าเขื่อนประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ในปีนี้มีเพียง 500 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น จึงอยากฝากถึงเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ให้ช่วยกันประหยัดน้ำ เพื่อช่วยให้มีเพียงพอต่อการใช้อุปโภค-บริโภค

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนเหลือน้ำไม่ถึงครึ่ง

ผอ.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ระบุ เหลือน้ำแค่ 44% จากที่ควรจะมี 88% เร่งบริหารจัดการ พร้อมทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่

นายสมหวัง ปานสุขสาร ผู้อำนวยการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนอยู่ที่ประมาณ 414 ล้านลูกบากศ์เมตร หรือคิดเป็น 44 % จากความจุ ซึ่งตามปกติแล้ว ในช่วงนี้จะต้องมีน้ำประมาณ 88% นั้นทำให้ต้องมีการบริการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยทางกรมชลประทานจะใช้น้ำจากเขื่อน 200 ล้านลูกบากศ์เมตร เก็บสำรองไว้ฉุกเฉินในกรณีน้ำไม่พอ หรือน้ำทะเลหนุน ต้องปล่อยน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศอีกประมาณ 200 ล้านลูกบากศ์เมตร ทำให้ไม่สามารถปล่อยน้ำให้กับภาคการเกษตรได้ แต่ถ้าเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น ยืนยันว่าเพียงพอแน่นอน

ส่วนเรื่องขอความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่นั้น ผู้อำนวยการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน กล่าวว่า ชาวบ้านมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าปีนี้น้ำน้อยมากจริง ๆ ดังนั้น จึงต้องงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมากไปก่อน

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

ติดอาวุธนักรบSMEs รุกขยายการค้า-ลงทุนสู่’เออีซี’

จากที่ “อิสระ ว่องกุศลกิจ”ได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการหอการค้าไทย ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการหอการค้าไทยเป็นสมัยที่ 2 (วาระปี 2558-2559) ล่าสุด”ฐานเศรษฐกิจ”ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษอิสระอีกครั้ง ถึงผลการดำเนินงานที่สำคัญของหอการค้าไทยในรอบปี 2558 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป ตลอดจนแผนงานและเป้าหมาย มุมมองโอกาสและความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ การค้าของประเทศไทยในปี 2559 ที่กำลังจะมาถึง

 3พันธกิจเกิดผลรูปธรรม

“อิสระ” กล่าวว่า Mission หรือพันธกิจในยุคที่ดำรงตำแหน่งมี 3 เรื่องหลักคือ 1. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ 2.การเชื่อมโยงเครือข่ายของหอการค้า ทั้งสมาชิก หอการค้าจังหวัด สมาคมการค้า และหอการค้าต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็ง และ 3.การลดความเหลื่อมล้ำ

สำหรับเรื่องแรก การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อเตรียมพร้อมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในด้านต่างๆ ทั้งการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ การให้คำแนะจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ การบริหารจัดการและการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ เรื่องการตลาด การพัฒนาสินค้าเพื่อส่งออก การทำบัญชี การสร้างนวัตกรรม และการให้ความรู้เรื่องไอที เป็นต้น

“ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา ในทุกเดือนเราได้ออกไปฝึกอบรมผู้ประกอบการแล้วใน 19 กลุ่มหอการค้าทั่วประเทศ โดยแต่ละครั้งจะมีผู้มาอบรม 300-500 คน อบรมในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น โดยปัจจุบันหอการค้า 77 จังหวัดทั่วประเทศมีนักธุรกิจรุ่นใหม่อยู่กว่า 3 พันคนที่เราจะพัฒนาขีดความสามารถเพื่อให้เขาต่อสู้กับโลกแห่งการแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ”

เรื่องที่ 2 การเชื่อมโยงหอการค้าไทยกับสมาชิกต่างๆ ภายในประเทศ และไปยังกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) และกลุ่มอื่นๆ โดยนำคณะนักธุรกิจเดินทางเยือนต่างประเทศเพื่อขยายลู่ทางการค้า การลงทุน อย่างล่าสุดได้นำบริษัทใหญ่ๆ ไปเยือนประเทศอิตาลี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธุรกิจ ชวนเขามาลงทุนในไทย รวมถึงการนำสินค้าไทยไปจำหน่ายโดยทางกลุ่มเซ็นทรัลได้ไปซื้อห้างสรรพสินค้าในอิตาลี และกลุ่มอื่นๆ ที่ไปเช่นมิตรผล เอสซีจี เป็นต้น การเดินทางเยือนไต้หวัน และเร็วๆ นี้มีแผนไปที่เวียดนาม และอื่น ๆ

 หลากโครงการลดเหลื่อมล้ำ

และเรื่องที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำ มีหลายโครงการ เช่น โครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนให้กับเกษตรกร,โครงการให้ 1 บริษัทดูแล 1 ชุมชน โดยการนำเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาไปช่วยเพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้กับเกษตรกร เช่น พริก อ้อย ผักปลอดสารพิษส่งตามโรงแรมต่างๆ เพื่อช่วยให้คนในชุมชนได้อยู่ดีกินดีมากขึ้น, โครงการ 1 หอการค้าดูแล 1 สหกรณ์ โดยช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการหาตลาดให้ เป้าหมายในสิ้นปี 2559 ที่ 100 สหกรณ์ ตัวอย่างเวลานี้ เช่นการพัฒนาเรื่องกล้วยหอมของจังหวัดเพชรบุรีให้เก็บรักษาได้นานขึ้นเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นทำให้ได้ราคามากขึ้น

“นอกจากภารกิจทางด้านเศรษฐกิจแล้วทางหอการค้าไทยยังมีส่วนร่วมกับภาคสังคมมากขึ้นทั้งการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การเสริมสร้างจรรยาบรรณและธรรมาภิบาลซึ่งเราทำปีนี้เป็นปีที่ 13 ในปีนี้จะมีการประกวดบริษัทที่มีจรรยาบรรณและมอบรางวัลในเดือนธันวาคม ซึ่งเรื่องจรรยาบรรณถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะทำให้การทำธุรกิจมีความยั่งยืน”

ปี59รุกหนักค้า-ลงทุนAEC

“อิสระ” กล่าวอีกว่า สำหรับงานที่จะสานต่อในปี 2559 ยังมีอีกมาก ที่สำคัญคือการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการที่มีโอกาสขยายการค้าการลงทุนเข้าไปใน AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ที่จะเริ่มต้นขึ้นในปีหน้า โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะเดินทางไปเยือนบ่อยครั้งขึ้นไม่ใช่แค่ CLMV อย่างเดียว แต่ยังมีฟิลิปปินส์ที่มีประชากรเป็น 100 ล้านคน อินโดนีเซีย 250 ล้านคน เวียดนาม 90 ล้านคน รวมถึงเมียนมาที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งทุกประเทศมีประชากรมาก และเศรษฐกิจกำลังเติบโตเป็นโอกาสของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่ต้องเริ่มต้นจากตรงนี้ก่อน

เรื่องถัดมาคือการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่กระทรวงพาณิชย์จะมีการเจรจาเพื่อขยายโอกาสทางการค้าใหม่ๆ เช่น อิหร่าน ปากีสถาน ทางหอการค้าไทยจะเข้าไปสนับสนุนข้อมูลและให้คำเสนอแนะว่ามีประเด็นใดที่เป็นปัญหาอุปสรรค เรื่องใดที่ควรเจรจาเพื่อช่วยขยายการค้า การลงทุน ไม่ใช่การขายสินค้าอย่างเดียว รวมถึงการนำคณะเดินทางเยือนต่างประทศทั้งในรูปแบบไปเอง หรือร่วมคณะเดินทางกับรัฐบาลที่คาดว่าจะมีมากขึ้น

“เรายังกำลังจะสร้างศูนย์บ่มเพาะเอสเอ็มอีเพื่อให้เขาเรียนรู้ในเรื่องการทำธุรกิจ ทั้งเรื่องการจดทะเบียนตั้งบริษัทการบริหารจัดการด้านการตลาด การบริหารบุคลากร การหาเงินทุน ความรู้ด้านการทำบัญชีร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยโดยเราจะมีผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จมาเป็นวิทยากร ซึ่งศูนย์นี้จะมีคนช่วยดูแลเขาไป 1-3 ปีเพื่อไม่ให้หลงทาง ในภาพรวมปีหน้า เราจะเน้นเรื่องการเชื่อมโยงผู้ประกอบการเป็นหลัก และการติวเข้มเรื่องไอทีที่จะมีบทบาทอย่างมาก รวมถึงคนรุ่นใหม่จะมีบทบาทมากขึ้น”

 ร่วมเยือนญี่ปุ่นทำการตลาด

สำหรับในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นภายใต้การนำของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ระหว่างวันที่ 25-28 พฤศจิกายนนี้จะมีตัวแทนของภาคเอกชนร่วมคณะเดินทางไปด้วย เช่นกลุ่มมิตรผล ซึ่งจะไปในเรื่องการขายน้ำตาลให้ร้านอาหารในญี่ปุ่น นอกจากนี้เท่าที่ทราบยังมีกลุ่มไทยยูเนี่ยน สุรพลซีฟู้ดส์ เบทาโกร ดุสิตธานี และตัวแทนจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยร่วมคณะเดินทางไปด้วย

“ภาพรวมการเดินทางครั้งนี้จะไปชวนญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยเพิ่ม ทั้งเรื่องโรงแรม พลังงานหมุนเวียน และอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลคงมีเป้าหมายไปทำการตลาดของไทยมากกว่า คงไม่ใช่แกรนด์เซล”

 ศก.ไทยปี 59 คาดโต 4%

ขณะที่ในประเด็นเศรษฐกิจอื่น ๆ “อิสระ”ยังให้ความเห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558 ว่าน่าจะขยายตัวได้ที่ 2.7-2.8% หากรัฐบาลมีการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วตามแผนในช่วงเดือนที่เหลือของปี และขณะนี้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ส่วนปี 2559 คาดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.5-4% ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเห็นผลมากขึ้น โดยรัฐบาลมีแผนดำเนินนโยบายการคลังที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 3.9 แสนล้านบาท จากเดิม 2.5 แสนล้านบาท อีกทั้งงบลงทุนในปี 2559 จะเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน

“ยังมีปัจจัยช่วยเศรษฐกิจจากภาคการส่งออก และท่องเที่ยวที่จะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยังต้องเฝ้าระวังในระยะต่อไปคือ ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะกระทบต่อไทยโดยตรงและโดยอ้อมผ่านทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า”

 TPPจุดยืนเอกชนต้องร่วม

ส่วนในประเด็นความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ที่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วม หลายฝ่ายเกรงไทยจะตกขบวน และกระทบกับความสามารถในการแข่งขันนั้น แต่อีกด้านหนึ่งก็เกรงผลกระทบที่จะตามมาหากไทยเข้าร่วม เรื่องนี้ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)อยู่ระหว่างการศึกษาในรายละเอียดข้อมูลที่ 12 ประเทศสมาชิก TPP ได้บรรลุข้อตกลงแล้วว่า หากไทยเข้าร่วมจะได้จะเสียอย่างไร และหากไม่เข้าร่วมจะเสียหายมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายกลุ่มสินค้าว่ากลุ่มใดพร้อม กลุ่มใดไม่พร้อม กลุ่มใดอยู่กลางๆ แล้วคำนวณออกมาว่ามีผลกระทบกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินเท่าใด แล้วต้องไปดูว่าอันไหนแข่งได้ อันไหนแข่งไม่ได้

“กกร.เราอยู่ในขั้นศึกษา ก็ขอเวลา 2-3 เดือน เพราะมันเป็นรายละเอียด เรื่องนี้มีได้มีเสีย เราจะได้อย่างเดียวใครจะคุยกับเรา อันนี้ต้องยอมรับความจริง และเราก็ยังไม่รู้เลยว่าเขาจะรับเราเข้าเป็นสมาชิกหรือเปล่า อย่างไรก็ดีเสียงส่วนใหญ่จากผู้ประกอบการอยากเข้าร่วม แต่ต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบก่อน”

จาก http://www.thansettakij.com วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558

รัฐบาลสั่งก.เกษตรฯขุด'บ่อจิ๋ว' วางแผนรับภัยแล้งทั่วประเทศ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ "ขุดแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นานอกเขตชลประทาน" หรือ "บ่อจิ๋ว" ทั่วประเทศ เพื่อรับมือปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้ประชาชนมีแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2558 นี้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ 356 ล้านบาท สำหรับการขุดบ่อจิ๋วเพิ่มอีก 20,000 บ่อ โดยแต่ละบ่อมีค่าใช้จ่าย ในการขุด 20,300 บาท แบ่งเป็นรัฐบาลสนับสนุน 17,800 บาท และเกษตรกรเจ้าของที่ดินสมทบอีก 2,500 บาท โดยตั้งแต่ ต.ค. 57–ก.ย.58 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการขุดบ่อจิ๋วไปแล้วทั่วประเทศจำนวน  56,206 บ่อ ทั้งนี้บ่อจิ๋วสามารถจุน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคได้ 1,260 ลบ.ม. ใช้เลี้ยงปลา และปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณขอบบ่อเพื่อบริโภคในครัวเรือน  ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

"นายกฯ ห่วงใยความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง  จึงติดตามความคืบหน้าของโครงการเป็นระยะพร้อมกำชับให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย   เพื่อพี่น้องประชาชนได้มีแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก ย้ำมาตรการช่วยเหลือนี้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องใน ทุกพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะยาว"

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า แม้รัฐบาลจะวางแผนและดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งในหลายมาตรการ ทั้งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อน การสร้างแก้มลิงเพื่อดึงน้ำให้อยู่ในพื้นที่นานที่สุด วางแผนการระบายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์อย่างเหมาะสม รวมถึงการขุดบ่อจิ๋วทั่วประเทศแล้วก็ตาม แต่สิ่งสำคัญคือภาคประชาชนที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของน้ำและปัญหาเรื่องน้ำ ต้องเข้าใจว่าปริมาณน้ำในประเทศของเรานั้นขึ้นอยู่กับปริมาณฝนเป็นหลัก ยิ่งในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่เหนือเขื่อนลดลง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฝนแล้ง จึงขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ปล่อยของเสียลงในแหล่งน้ำ และเกษตรกรควรปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย  เพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตภัยแล้งในอนาคต

จาก http://www.naewna.com วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558

ผอ.ฝนหลวงภาคกลางรับปีหน้าแล้งหนัก

ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง รับปีหน้าสถานการณ์ภัยแล้งสาหัส สั่งซ่อมบำรุงเครื่องบินครั้งใหญ่ เตรียมพร้อมปฏิบัติการกลางเดือน ก.พ. 2559

นายรัฐกร วรุณสุขะศิริ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปี พ.ศ. 2559 ว่า ช่วงนี้เนื่องจากเข้าหน้าหนาวทางศูนย์ได้ปิดหน่วยชั่วคราว แต่ได้เตรียมหน่วยเคลื่อนที่เร็วไว้รองรับ โดยขณะนี้ต้องนำเครื่องบิน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตรวจเช็กซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ เพราะปีนี้บินขึ้นทำฝนหลวงกว่า 7000 เที่ยวบิน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดศูนย์ทางการบรรเทาปัญหาภัยแล้งตามแผนการในช่วงเดือน มี.ค. 2559 แต่ถ้าภูมิอากาศเอื้ออำนวยอาจจะเริ่มทำการบินเร็วขึ้น อาจเป็นกลางเดือน ก.พ. อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ได้เตรียมความพร้อมไว้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน สารทำฝนหลวง บุคลากรต่าง ๆ เพื่อรองรับภัยแล้งในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม นายรัฐกร มองว่าปีหน้าภัยแล้งค่อนข้างจะหนัก เนื่องจากตอนนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนหลัก ๆ น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมา เหลือเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น ส่วนภาคการเกษตรอาจไม่เพียงพอ

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558

ปฏิรูปการจัดการน้ำทั้งระบบ

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ฉลอง เกิดพิทักษ์

เมื่อเกิดน้ำท่วมและภัยแล้งครั้งใดก็ทำให้นึกถึง การปฏิรูปการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำทั้งโครงการที่มีอยู่ก่อนแล้ว และโครงการที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่ และเนื่องจากในปัจจุบันการจัดการน้ำโดยเฉพาะในลุ่มน้ำที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ ซึ่งความจริงแล้วสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำ ทั้งกรณีปกติและกรณีที่เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมขึ้นได้อีก

ประมาณ พ.ศ. 2520 ธนาคารโลกซึ่งให้ประเทศไทยกู้เงินมาพัฒนาโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แนะนำให้จ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาต่างประเทศมาศึกษาการใช้น้ำใน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-แม่กลอง ผลการศึกษาปรากฏว่าปริมาณน้ำที่สามารถเก็บกักได้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีไม่เพียงพอ สำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ในโครงการชลประทานเจ้าพระยาได้เต็มที่ (เต็มตามความสามารถที่คลองส่งน้ำจะส่งให้ได้)

ทุกปีบริษัทจึงได้พัฒนา แบบจำลองสำหรับจัดสรรน้ำล่วงหน้า รายสัปดาห์ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในลุ่มน้ำดังกล่าว

ผู้เขียนมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2522-2524) เมื่อการศึกษาแล้วเสร็จ ก็ได้หยุดใช้การจัดสรรน้ำด้วยแบบจำลอง (ประมาณปี 2525) เพราะบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สามารถดำเนินงานต่อได้

การจัดสรรน้ำด้วยแบบจำลองวิธีการคือนำเทคโนโลยีแบบจำลองที่เคยใช้ในช่วงปี2520-2525 มาปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลอง โดยต้องการเก็บข้อมูลจากสนามมาสอบเทียบ (Calibrate) แบบจำลองที่มากพอ ซึ่งรายละเอียดแบบจำลองได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2558 หน้า 21 อนึ่ง บุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ก็จะต้องเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพด้วย จึงจะสามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยงานที่รับผิดชอบในช่วง พ.ศ. 2517-2518 รวมเวลา 1 ปี (มีอบรมสัมมนา 3 ครั้ง) ผู้เขียนมีโอกาสเข้าปฏิบัติงานกับบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาขนาดใหญ่ในประเทศแคนาดา ที่เมืองไนแอการาฟอล รัฐออนตาริโอ (Niagara Falls, Ontario.) ซึ่งที่นั่นปฏิบัติงานเฉพาะทาง

กล่าวคือผู้เขียนปฏิบัติงานในกลุ่มงานชลศาสตร์ (Hydraulic Department) ก็ปฏิบัติงานเฉพาะชลศาสตร์และอุทกวิทยาเท่านั้น ในการปฏิบัติงานผู้เขียนได้พบกับวิศวกรชาวเกาหลีใต้ ซึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกาและได้สัญชาติแคนาดาแล้ว ได้ถามผู้เขียนว่า หน่วยงานด้านน้ำในประเทศไทยแบ่งการปฏิบัติงานอย่างไร ?

เมื่อผู้เขียนอธิบายจบ ท่านก็พูดขึ้นว่าในประเทศเกาหลีใต้เมื่อก่อนก็เคยแบ่งการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ได้เปลี่ยนเป็น การปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่นเดียวกับบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาขนาดใหญ่ในประเทศแคนาดา มาได้ 2-3 ปีแล้ว

เวลาได้ล่วงเลยมา 40 ปีแล้ว หน่วยงานด้านน้ำของไทยยังไม่ได้แบ่งการปฏิบัติงานเป็นเฉพาะทางเลย การปฏิบัติงานเฉพาะทางจะรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทเข้าปฏิบัติงาน (สาขาวิศวกรรมโยธา ปริญญาตรีจะเรียนวิศวกรรมโยธาทั่ว ๆ ไป ส่วนปริญญาโทจะแยกเป็นสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ วิศวกรรมการทาง และวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น) จึงสามารถปฏิบัติงานในเชิงลึกได้ดีกว่าในปัจจุบัน บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ บางคนสำเร็จการศึกษามาปฏิบัติงานได้ 6-7 ปีแล้ว ยังไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมสักครั้ง

เนื่องจาก ผู้เขียนเป็นอนุกรรมการสอบเลื่อนระดับจากภาคีเป็นสามัญวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ด้านวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ของสภาวิศวกร ในการสอบข้อเขียนได้ออกข้อสอบ ตัวอย่างดังนี้ 1.ประตูระบายน้ำ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา เมื่อปิดบานประตูทุกบานสนิทจะเปิดบานประตูแต่ละบานเท่า ๆ กันอย่างไร จึงจะไม่ทำให้เกิดการกัดเซาะท้ายน้ำ 2.ประตูระบายน้ำ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา ถ้าจะขุดลอกน้ำ-น้ำท้ายเขื่อนมีความลึกเฉลี่ย 0.50 เมตร จะต้องเว้นระยะห่างเท่าใดเมื่อเปิดบานประตูแล้วจะไม่ทำให้เกิดการกัดเซาะท้ายน้ำ

ออกข้อสอบไป 4-5 ครั้ง ไม่มีผู้ตอบได้ ส่วนการสอบสัมภาษณ์ตามผลงาน อาทิ มีผลงานคุมงานก่อสร้าง เช่น ก่อสร้างฝายขนาดเล็กในลำน้ำเดิม ถามว่าในฤดูฝนระบายน้ำออกจากบ่อก่อสร้างจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ (Gravity) หรือโดยการสอบ ทุกคนที่เข้าสอบ (ประมาณ 20 คน) ตอบว่าระบายน้ำออกโดยการสูบ จึงถามต่อว่าขนาดเครื่องสูบน้ำคำนวณอย่างไร ทุกคนไม่สามารถตอบได้ ส่วนการผันน้ำอ้อมบ่อก่อสร้างซึ่งเป็นคำถามที่ยากขึ้น ก็ไม่มีผู้ตอบได้

ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนต้องเขียนบทความเฉลยข้อสอบลงในวิศวกรรมสารของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.)ถึง 2-3 ตอน

การสอนและงานวิจัยในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 1.นำเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเพื่อจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลอง รวมทั้งวิธีการเก็บข้อมูลจากสนามมาสอบเทียบแบบจำลอง มาสอนในมหาวิทยาลัยในวิชาที่เกี่ยวข้องปัจจุบัน (2558) ยังมีน้อยมาก 2.สนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติงานวิจัยประยุกต์ที่เกี่ยวกับแบบจำลองต่าง ๆ เช่น แบบจำลองทำนายฝน แบบจำลองทำนายปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ และปริมาณน้ำที่ไม่สามารถควบคุมได้ แบบจำลองทำนายการไหลของน้ำในลำน้ำ รวมทั้งแบบจำลองสำหรับคำนวณหาความต้องการน้ำชลประทานที่เหมาะสำหรับการชลประทานในประเทศไทย เป็นต้น (มีรายละเอียดลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนวันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2558 หน้า 21)

สำหรับการปฏิรูปน้ำในประเทศไทยที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการปฏิรูป ประกอบด้วย 1.ปฏิรูปหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านน้ำ ให้ปฏิบัติงานเฉพาะทางโดยรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโยธาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติงาน 2.ปฏิรูปบุคลากร โดยจัดให้มีการฝึกอบรมสัมมนาและทดสอบความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ปฏิบัติงานที่ตรงตามความสามารถ 3.ปฏิรูปการสอนในมหาวิทยาลัยในวิชาที่เกี่ยวข้องให้มีการสอนและวิจัยประยุกต์เกี่ยวกับการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลองและวิธีการเก็บข้อมูลจากสนามมาสอบเทียบแบบจำลอง 4.ปฏิรูปให้มีการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลองเป็นมาตรการหลักและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างเป็นมาตรการเสริม และมีการเก็บข้อมูลจากสนามที่มากและนานพอมาสอบเทียบแบบจำลอง

จึงเสนอแนะให้รัฐบาลปฏิรูปการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบโดยเร่งด่วนเพราะจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศดังเช่น ใน พ.ศ. 2544 ได้มีการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำบนลุ่มน้ำชี ซึ่งทำให้มีการปรับเกณฑ์การจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ที่มีความจุที่ระดับเก็บกัก 2,263 ล้าน ลบ.ม. (ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

เมื่อใช้เกณฑ์ในการจัดการน้ำในอ่างเพียงปีเดียว ก็คุ้มค่าจ้างศึกษา นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ดี แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอีก

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

รัฐงัดแผนอุ้มเกษตรกรสู้'ภัยแล้ง'ใช้ศูนย์เรียนรู้เปิดอบรมเพิ่มรายได้-เล็งจ่ายวันละ180บาท           

 "สมคิด" มอบงานกระทรวงเกษตรฯ เร่งดูแลเกษตรกรรับมือปัญหาภัยแล้ง แนะใช้ศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ 882 แห่ง อบรมเพิ่มประสิทธิภาพสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ดึงเงินประมูล 4จี เข้ามาสนับสนุน ด้าน พล.อ.ฉัตรชัยนัดหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกชน ถกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เล็งจ่ายเงินจ้างอบรมวันละ 180 บาทต่อคน

          นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจกับหัวหน้าส่วนราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ได้มอบหมายให้แบ่งการทำงานช่วยเหลือเกษตรกรเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นให้มีการดูแลเกษตรกร โดยเฉพาะการรับมือกับปัญหาภัยแล้งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า โดยแนะนำให้กระทรวงเกษตรฯ ทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ใช้ศูนย์เรียนรู้การเกษตรที่มีอยู่ 882 แห่ง เป็นศูนย์อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มความรู้และมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ อาจจะให้มีการจ้างเกษตรกรในกิจกรรมเช่นการขุดบ่อน้ำ หรือสร้างลานตากผลผลิต ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้ในส่วนนี้

          "เรื่องการใช้ศูนย์เรียนรู้การเกษตรที่มีอยู่ 882 ศูนย์ เป็นจุดอบรมเกษตรกรให้รู้จักการเพิ่มประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่ม ควรจะเห็นผลใน 3 เดือน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ซึ่งยอมรับว่าการที่รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนแบบให้เปล่าแก่เกษตรกรไปเรื่อยๆ คงเป็นไปไม่ได้" นายสมคิด กล่าวและว่า รัฐบาลจะใช้เงินที่ได้จากการประมูลคลื่น 4จี มาสนับสนุนส่งเสริมให้ใช้ศูนย์เรียนรู้ แต่ทุกสินค้าต้องมีแผนการดำเนินการชัดเจน ทุกสินค้าที่เป็นโปรดักท์แชมเปี้ยนต้องมีผู้ดูแลเฉพาะ หรือให้ตั้งมิสเตอร์แต่ละสินค้าขึ้นมา เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าสินค้า

          ส่วนในระยะปานกลางและระยะยาว ให้เน้นเรื่องการจัดโซนนิ่ง ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและต่อยอดไปยังสินค้าอื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยยืนยันว่าไม่ได้จัดโซนนิ่งเพื่อให้เกษตรกรเลิกปลูกข้าว แต่เป็นการแนะนำเพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเติม หรือนำไปสู่การแปรรูปสินค้าในอนาคต รวมทั้งแนะนำให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำการเกษตรและรัฐบาลจะสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร หรือให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ตัวสินค้า

          ด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ จะเชิญกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หารือถึงแนวทางการออกมาตรการระยะเร่งด่วนเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในช่วงภัยแล้ง โดยเบื้องต้นมีแนวคิดที่จะจ้างงานให้เกษตรกร เพื่อสร้างประโยชน์ในชุมนุมและพื้นที่ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม รวมทั้งจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร ในช่วงที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล (ศบกต.) ของกรมส่งเสริมการเกษตร 882 แห่งทั่วประเทศ

          "ในการฝึกอบรมเกษตรที่เข้าร่วมจะได้รับเบี้ยเลี้ยง เช่น ค่าพาหนะ ค่าอาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายในการอบรม รวมวันละ 180 บาท แต่ต้องหารือกับสำนักงบประมาณก่อนว่า มาตรการแต่ละรูปแบบมีหลักเกณฑ์การอนุมัติวงเงินสูงสุดมากน้อยเท่าใด หากได้ข้อสรุปก็จะเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว

จาก http://www.komchadluek.net วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ก.พลังงานดันแผนลดโลกร้อน ชี้PDP2015เน้น4กลุ่มหลัก

นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือ PDP 2015กระทรวงพลังงาน ได้เน้นในมิติการบริหารจัดการเพื่อรักษาความสมดุลย์ในการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นและจริงจัง โดยพร้อมจะลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งภายใต้แผน PDP 2015 นี้ ได้วางแผนให้สามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงจาก 0.506 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วย ในปี 2556 เหลือเพียง 0.319 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วย ในปี 2579 หรือจะช่วยให้การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ลดลงได้สูงถึง  37% ระหว่างต้นแผนกับปลายแผนPDP 2015

ทั้งนี้ การลดปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากแผน PDP 2015 ได้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 20% ตามแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกหรือ AEDP 2015 รวมถึงการกำหนดเป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงานหรือ EEDP 2015ที่จะลดสัดส่วนของการใช้พลังงานต่อรายได้ลง  30% โดยมุ่งผลไปยังกลุ่มเป้าหมายหลัก 4 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรม อาคาร ที่อยู่อาศัย และภาครัฐ ซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ ในแผน PDP 2015 นี้ จะได้มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะกรณีการเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเข้ามาในระบบ ซึ่งจากการติดตาม เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดดังกล่าว พบว่า ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถลดปริมาณการปล่อยมลพิษที่เกิดจากขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า โดยเบื้องต้นข้อมูลโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี 2558 จะมีค่าควบคุมการปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพียง 50 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งดีกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 180 ส่วนในล้านส่วน และค่าการปลดปล่อยฝุ่นละอองมีเพียง 30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งดีกว่าค่ามาตรฐานกำหนดไว้ที่ 80 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

"กระทรวงพลังงาน ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า ตามแผน PDP 2015 จะมีการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักควบคู่ไปกับการพัฒนาโรงไฟฟ้า และทางเลือกเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำมาใช้นั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและทันสมัยที่สุด จึงให้หลักประกันได้ว่าการปลดปล่อยมลภาวะจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่ามาตรฐานไปตลอดอายุของการผลิตไฟฟ้าถึง 30 ปี และจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนน้อยที่สุด" นายชวลิต กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ชาวไร่อ้อยสระแก้ว เฮ! ศาล ปค.สั่งเพิกถอน กฎ อก.ตั้งโรงงาน-ปมหนุนปลูกอ้อย แต่ไม่มีโรงงานแปรรูปในพื้นที่

 เผย เกษตรกรที่หันมาลงทุนปลูกอ้อยจำนวนหลายพันคนได้รับผลกระทบ ต้องประสบภาวะผลผลิตล้นตลาด

               วันนี้ (20 พ.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสํานักงานศาลปกครอง เรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ ด้วยศาลปกครองสูงสุดได้มีคําพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๑๑๘/๒๕๕๘ ระหว่างสมาคมเกษตรกร ชายแดนบูรพา ที่ ๑ กับพวกรวม ๗๓๕ คน ฟ้องคดี บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลีจํากัด ผู้ร้องสอด กับ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๑ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๒ บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี จํากัด ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี โดยพิพากษาเพิกถอนหลักเกณฑ์ตามหนังสือ สอน. ที่ อก. ๐๖๐๑/๘๖๒ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๐ เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขการย้ายสถานที่ตั้งและขยายกําลังการผลิตของโรงงานน้ำตาล เฉพาะหลักเกณฑ์ในข้อ ๑ ที่กําหนดให้โรงงานที่จะตั้งใหม่ต้องมีระยะห่างจากที่ตั้งของโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิมในเส้นทางที่ใกล้ที่สุดไม่น้อยกว่า ๘๐ กิโลเมตรโดยให้มีผลนับแต่วันออกหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ไกรรัช เงยวิจิตร รองเลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง รักษาการในตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง

               มีรายงานว่า คดีนี้เมื่อ วันที่ 10 พ.ค. 56 สมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา สภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย จ.สระแก้ว กว่า 500 คน ตัวแทนเกษตรกรผู้ฟ้องคดีจำนวน 735 คน เข้ายื่นฟ้องศาลปกครองให้ดำเนินคดีกับ กระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัทน้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี จำกัด เพื่อขอให้กระทรวงอุตสาหกรรม และโรงงานน้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี ดำเนินการจัดตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ขึ้นที่ จ.สระแก้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 50 ซึ่งกำหนดให้จัดตั้งโรงงานน้ำตาลเพิ่มในพื้นที่ จ.สระแก้ว

               จากมติ ครม. ดังกล่าว บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี จำกัด ได้เข้ามาประชาสัมพันธ์และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อยเพิ่ม เพื่อตั้งโรงงานแปรรูปและรับซื้อผลผลิตแห่งใหม่ อย่างไรก็ดี กลับไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่ตามที่สัญญาไว้ ทำให้เกษตรกรที่หันมาลงทุนปลูกอ้อยจำนวนหลายพันคน ต้องประสบภาวะผลผลิตล้นตลาด โรงงานน้ำตาลเดิมซึ่งมีอยู่เพียง 1 แห่ง ในจังหวัดสระแก้วเดิมก็ไม่สามารถรองรับปริมาณการผลิตได้ ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยขาดทุนต่อเนื่องมายาวนานกว่า 5 ปี

               คำร้องต่อศาลในคดีนี้ คือ 1. ขอให้มีคำสั่งเพิกถอน หรืองดเว้นการใช้หลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการย้ายสถานที่ตั้งและขายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาล ซึ่งกำหนดให้โรงงานที่จะตั้งใหม่ต้องมีระยะห่างจากที่ตั้งของโรงงานน้ำตาลเดิมไม่น้อยกว่า 80 กม. โดยสันนิษฐานว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวถูกใช้นำมาเป็นข้ออ้างในการไม่พิจารณาจัดตั้งโรงงานแห่งใหม่ซึ่งเดิมจะจัดตั้งใน อ.ตาพระยา แต่ประสบปัญหาด้านชลประทานจึงจะย้ายไปจัดตั้งใน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ทำให้อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลเดิมน้อยกว่า 80 กม.

                ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ออกเป็นกฎกระทรวงตามที่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ แต่ออกเป็นบันทึกข้อความเมื่อปี 2554 และยังไม่ถูกนำไปใช้อย่างเป็นมาตรฐาน เนื่องจากในหลายจังหวัด เช่น จ.เลย ยังมีการอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่มีระยะห่างจากโรงงานเดิมน้อยกว่า 80 กม. ได้ จึงตีความได้ว่าการกระทำดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นการเลือกปฏิบัติ เข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้โรงงานน้ำตาลเดิมผูกขาดการรับซื้อผลผลิตเพียงเจ้าเดียว

               2. ขอให้มีคำสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ให้บริษัท นิวกว้างสุ้นหลี สามารถย้ายสถานที่ตั้งโรงงานผลิตน้ำตาล ไปตั้งที่ อ.วัฒนานคร ได้ และ 3 .ขอให้มีคำสั่งให้บริษัท นิวกว้างสุ้นหลี ดำเนินการขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตน้ำตาล และ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เพื่อดำเนินกิจการและรับซื้อผลผลิตอ้อย

               วันนั้น นายมนตรี คำพล นายกสมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา ระบุว่า ผลจากการส่งเสริมการปลูกอ้อยเพื่อใช้เป็นพืชพลังงานผลิตเอทานอล การที่รัฐบาลรับประกันราคา รวมทั้งการโฆษณาชวนเชื่อของโรงงานใน จ.สระแก้ว ให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อย ทำให้ในปีที่ผ่านมา จ.สระแก้ว มีผลผลิตอ้อยถึง 3.6 ล้านตัน แต่โรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวสามารถรองรับผลผลิตได้เพียง 2.5 ล้านตันต่อหนึ่งฤดูกาล เกษตรกรจึงต้องขนอ้อยสดไปขายนอกพื้นที่ เช่น ชลบุรี บุรีรัมย์ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กระทบเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั้งใน จ.สระแก้ว และข้างเคียงมากกว่า 3,000 ราย เป็นเหตุให้ขาดทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 142 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ หากคิดมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ปี 2550 - ปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมปลูกและโรงงานใหม่ไม่ไปตั้งตามสัญญา คิดเป็นความเสียหายรวมมูลค่ากว่า 640 ล้านบาท และหากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขคาดว่าในปีการผลิต 2556/2557 เกษตรกรชาวไร่อ้อย จ.สระแก้วจะได้รับความเสียหายเพิ่มคิดเป็นมูลค่า 202 ล้านบาท

               “ทุกวันนี้เราต้องขนอ้อยไปขายนอกพื้นที่ที่ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก โรงงานในพื้นที่ก็ไม่มีคิวให้ หรือมีก็ต้องรอนานทำให้ผลผลิตเสียหายทั้งเรื่องน้ำหนักและความหวาน เกษตรกรจึงถูกเอารัดเอาเปรียบจนมีแต่หนี้สิน” ตัวแทนเกษตรกรไร้อ้อยรายหนึ่งกล่าว

 จาก http://manager.co.th วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

รัฐชู'882ศูนย์เรียนรู้'เร่งพัฒนาเกษตรกร 

          "ฉัตรชัย"จ่ายเบี้ยเลี้ยง 180บาทต่อวัน หนุนเข้าโครงการ คาด3เดือนรู้ผล

          สมคิด"สั่งใช้ 882 ศูนย์เรียนรู้ เชื่อมมหาดไทย พัฒนาเกษตรกร ชุมชน นำไปสู่การโซนนิ่ง ตั้งมิสเตอร์รายสินค้า ดึงผู้เชี่ยวชาญ-เอกชนมหาวิทยาลัยช่วย พร้อมดึงงบประมูล 4จี สนับสนุน

          นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์  รองนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจกับหัวหน้าส่วนราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ ต่อการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ อยากให้ แบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน 1.ระยะสั้น ต้องดูแล เกษตรกรซึ่งขณะนี้ยังมีความลำบาก  และอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จะมีปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้น ยัง ไม่รู้ว่าจะรุนแรงแค่ไหน  กระทรวงเกษตรฯต้อง กระตือรือร้นที่จะเข้าช่วย โดยการจ้างงาน เพื่อให้ เกิดรายได้ ควรเพิ่มขึ้นในลักษณะส่วนรวม สร้างงานในบ้านในชุมชน  รัฐมีงบประมาณ สนับสนุน  ส่วนศูนย์เรียนรู้เกษตรกร  ทำให้เกษตรกร รู้จักพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง สามารถปลูกพืชหลายอย่างร่วมกันทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา

          ถ้ากระทรวงเกษตรฯร่วมกับกระทรวงมหาดไทยใช้ศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ 882 ศูนย์ เป็นจุด ให้เกษตรกรเข้ามาอบรม ให้รู้จักการเพิ่มประสิทธิ ภาพ การสร้างเพิ่มมูลค่า  พัฒนาตราสัญลักษณ์ หรือแบรนด์สินค้าขึ้นมา นำร่องให้เกษตรกร และชุมชนเข้าสู่นโยบายประชารัฐของรัฐบาลได้

          "เรื่องนี้มหาดไทยสนใจร่วมมือและควรเห็นผลใน 3 เดือน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯรับที่จะนำไปหารือ โดยใช้ 882 ศูนย์ ทำได้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นได้"นายสมคิด กล่าว

          2. ระยะกลาง-ยาว ให้จัดการเรื่องโซนนิ่ง พิจารณาจากข้อมูลแต่ละศูนย์การเรียนรู้ ควรจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืช และสัตว์ชนิดไหน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก  แต่ไม่ควรไปบอกเกษตรกรให้เลิกปลูกข้าวหรือพืชที่ปลูกอยู่ทันที เพราะเกษตรกรจะไม่ให้ความร่วมมือ แต่ทำอย่างไรจะหาสินค้าเข้าไปเพิ่มเติมและให้เกิดการยอมรับ

          "การกำหนดแผนโซนนิ่งให้ชัดเจน เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูง  ใช้เครื่องมือต่างๆ ร่วมกัน ทั้งเครื่องหว่าน เครื่องไถ  สิ่งเหล่านี้เกษตรกร หรือ เอกชนไม่สามารถจัดหาได้ ต้องภาครัฐบาลเท่านั้น ที่สนับสนุน ใช้ให้เป็นประโยชน์  ปัจจุบันที่เกษตรกร ไม่มียุ้งฉาง ลานตากเป็นของตัวเอง"นายสมคิดกล่าว

          นายสมคิด กล่าวว่า การส่งเสริมให้ใช้ศูนย์เรียนรู้ จะใช้งบที่รัฐบาลได้จากการประมูล 4จี เข้ามา สนับสนุน แต่ทุกสินค้าต้องมีแผนดำเนินการชัดเจน ทุกสินค้าที่เป็นโปรดักส์แชมเปี้ยน ต้องมีผู้ดูแลเฉพาะ หรือให้ตั้งมิสเตอร์แต่ละสินค้าขึ้นมา เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น ข้าว ผลไม้ภาคใต้ ที่โดดเด่นมาก แต่ระบบโลจิสติกส์ ยังไม่ดี ทำให้ราคาตกต่ำ  ปัญหาทุกอย่างต้องเริ่มจากการพัฒนาเกษตรกรให้รู้จักปลูก สร้างสรรค์สินค้าให้เป็นสินค้าที่โดดเด่น  โดยมีข้าราชการ ผู้เชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยเข้ามาช่วย

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้ (20 พ.ย.) จะเชิญกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  หารือถึงแนวทางการออกมาตรการระยะเร่งด่วนเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในช่วงภัยแล้ง

          เบื้องต้นมีแนวคิดที่จะจ้างงานให้เกษตรกร เพื่อสร้างประโยชน์ในชุมนุมและพื้นที่ ส่งเสริม ให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม รวมทั้งจัดฝึกอบรม เพื่อยกระดับองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร ในช่วงที่ ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล(ศบกต.) ของกรมส่งเสริมการเกษตร 882 แห่งทั่วประเทศ

          ในการฝึกอบรมเกษตรที่เข้าร่วมจะได้รับ เบี้ยเลี้ยงเช่นค่าพาหนะ ค่าอาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายในการอบรม รวมวันละ 180 บาท แต่ต้องหารือกับสำนักงบประมาณก่อนว่า มาตรการแต่ละรูปแบบ มีหลักเกณฑ์การอนุมัติวงเงินสูงสุดมากน้อยเท่าใด  หากได้ข้อสรุปก็จะเสนอครม. อนุมัติต่อไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

กรมฝนหลวง-จับมือ‘ประปา’ ลงนามสนับสนุนงานวิชาการ

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง เพื่อสนับสนุนความร่วมมือทั้งสองฝ่าย ในด้านวิชาการ การให้คำปรึกษา การจัดสัมมนา การบรรยายพิเศษ การจัดนิทรรศการ และการดำเนินการอื่นๆ ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งในด้านข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลทางสถิติ และการพยากรณ์ การเชื่อมโยงกันของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลน้ำต้นทุน ความต้องการ น้ำต้นทุน การใช้พื้นที่จัดกิจกรรมระหว่างสองฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมด้านวิชาการและสังคม

ทั้งนี้ยังมีด้านกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น โครงการฝนหลวงเพื่อแก้ไขบรรเทาภัยแล้ง ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การประปานครหลวง จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไม่เกินปีละ 1,000,000 บาท เพื่อใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาภัยแล้งหรือภัยพิบัติอื่นๆ ตลอดจนการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการร่วมพลังกันของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติในภาพรวมต่อไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

"สมคิด" สั่งดูแลเกษตรกรทั้งระบบ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมมอบนโยบายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ต้องการให้แบ่งงานออกเป็นระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นให้ดูแลเรื่องเกษตรกรที่ลำบาก และกำลังจะมีปัญหาภัยแล้งเข้ามา เช่น การจ้างงานเกษตรกรในบางพื้นที่ให้มีรายได้ หรือพิจารณาว่าในชุมชนจะมีงานอะไรที่จะสร้างขึ้นมาได้บ้าง รัฐบาลยินดีสนับสนุนจัดงบประมาณเพิ่มเติมให้ ขณะเดียวกันได้หารือกับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดอบรมเกษตรกร โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเกษตร 882 แห่งจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รู้จักการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า โดยการอบรมจะมีค่าครองชีพให้เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมด้วย

สำหรับระยะยาวให้ยึดพื้นที่เป็นหลักในการพัฒนา โดยให้เลือกปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การทำโซนนิ่ง โดยมีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแลหลัก รวมถึงการจัดสรรเครื่องมือไปไว้ในจุดที่เหมาะสมเพื่อให้ส่วนรวมใช้ เช่น รถแทรกเตอร์ เครื่องหว่าน เครื่องไถ ให้ร่วมกันคิดให้เป็นระบบตามหลักประชารัฐ ว่าต้องการให้มีอะไรเป็นจุดร่วมของชุมชนได้บ้าง จะได้นำเครื่องมือไปช่วยได้ตรงความต้องการ รวมทั้งเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจะต้องมีผู้ใดผู้หนึ่งมารับผิดชอบ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือมิสเตอร์โปรดักซ์ติวีตี้ รวมทั้งช่วยดูแลการเพิ่มมูลค่าสิ่งที่ผลิตด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยผลิตสินค้าได้มากแต่มูลค่าต่ำ เช่น ผลิตข้าวได้มาก ภูมิใจที่เป็นประเทศผลิตข้าวได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งไม่น่าภูมิในเท่ากับว่ามีการผลิตอย่างไร และได้มูลค่าแค่ไหน

“เรื่องโซนนิ่งพูดกันมานาน แต่ขาดการเอาจริงเอาจัง ทำบ้างไม่ทำบ้างก็เหมือนที่ผ่านมา ไม่นานก็จบ แต่ครั้งนี้ต้องวางพื้นฐานตั้งใจจะทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้จะไม่มีโอกาสได้ทำ และนายกรัฐมนตรีตั้งใจจะลงพื้นที่ทุกเดือนเพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นตลอด 1 ปี 6 เดือนที่เหลือ”

นอกจากนี้ ต้องมีผู้ที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบเป็นรายสินค้าโดยเลือกตัวที่เป็นโปรดักซ์แชมเปี้ยน มากำหนดให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบ ส่วนการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายไร้การควบคุม หรือไอยูยูเป็นหน้าที่ของกรมประมงที่จะต้องทำอย่างจริงจังให้โลกรู้ว่าประเทศไทยไม่สนับสนุนสิ่งที่ผิด ซึ่ง รมว.เกษตรฯ จะมาดูแลด้วยตัวเอง เพื่อประเมินการทำงานของกรมประมงด้วย นอกจากนี้ จะใช้เวลาที่เหลือของรัฐบาลเข้าไปฟื้นฟูสหกรณ์การเกษตรอย่างจริงจัง หลังจากที่ระบบสหกรณ์อ่อนแอมาก ต้องมีกรรมการสหกรณ์ที่มีคุณภาพ มีผู้จัดการสหกรณ์ที่มีความรู้เพียงพอ ทั้งเรื่องความคิดด้านการพัฒนาและระบบบริหารจัดการเช่น ระบบบัญชีเป็นต้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ตนดูแลเรื่องนี้โดยตรง.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

หมดยุคราคาน้ำมันแพง ผลกระทบอุตฯเอทานอล

ช่วยกันคิดช่วยกันคุย : หมดยุคราคาน้ำมันแพง ผลกระทบอุตฯเอทานอล : โดย...ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี)

                            เอทานอล เป็นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ของไทยที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ซึ่งใช้เอทานอลเป็นส่วนผสม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12% ในช่วงปี 2009-2014 และสัดส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์ต่อการใช้น้ำมันเบนซินรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 59% ในปี 2009 เป็น 93% ในปี 2014

                            ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทนอย่างเอทานอลปรับตัวลดลงตามไปด้วย สะท้อนได้จากราคาเอทานอลในปัจจุบันที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเนื้อน้ำมันเบนซินราว 12.6 บาทต่อลิตร จากในช่วงเดือนมกราคม 2014 ที่แตกต่างกันเพียง 3.2 บาทต่อลิตร ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปเติมน้ำมันเบนซิน หรืออาจจะหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลในสัดส่วนที่ต่ำเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ความต้องการใช้เอทานอลปรับตัวลดลง

                            อีไอซี พบว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงส่งผลดีต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลมากกว่าผลเสีย แม้ราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลให้ส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์กับน้ำมันเบนซิน และส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์ด้วยกันเองปรับตัวแคบลงจริง แต่ผู้บริโภคกลับไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินหรือหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ที่มีสัดส่วนการผสมเอทานอลในระดับต่ำเพิ่มขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายกังวล

                            อย่างไรก็ดี นโยบายของภาครัฐจะเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในระยะต่อไป สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้เอทานอลยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ นโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ ซึ่งหากภาครัฐยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในประเทศ ผ่านการดำเนินนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวต่อไป อุตสาหกรรมเอทานอลของไทยก็จะยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

                            การเปลี่ยนแปลงของนโยบายภาครัฐจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะติดตามและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางการปรับตัวและวางแผนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต

                            ในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลที่ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน แม้ว่าการผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตจากกากน้ำตาลค่อนข้างมากราว 23%

                            แต่ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มีโรงงานน้ำตาลใดในไทยที่สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้โดยตรง เนื่องจากชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลยังไม่สามารถตกลงเรื่องราคาน้ำอ้อย เพื่อนำมาคำนวณในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนผลผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน โรงงานน้ำตาลซึ่งผลิตเอทานอลด้วย ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะให้สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้

จาก http://www.komchadluek.net   วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ชาวไร่ระทึกเพิ่มค่าอ้อยยังเคว้ง ก.อุตฯโยนครม.ชี้ชะตากู้

          ผู้จัดการรายวัน360 - กระทรวงอุตฯโยน "ครม." ชี้ชะตาเงินช่วยเหลือราคาอ้อย หลังราคาขั้นต้นปี 58/59 ที่แยกเป็น 2 ราคายังต่ำกว่าราคาต้นทุนหวังรัฐช่วยแบบเดิมๆ กู้ธ.ก.ส.เพิ่มอีก 160 บาทต่อตันขณะที่กองทุนฯแบกหนี้อ่วม

          แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/59 เป็น 2 ราคาโดยเขต 5 สุพรรณบุรีอยู่ที่ 773 บาทต่อตัน ที่เหลือ 808 บาทต่อตันซึ่งจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติเร็วๆ นี้นั้นยอมรับว่าชาวไร่อ้อยยังไม่พอใจ เนื่องจากต่ำกว่าต้นทุนการผลิตซึ่งมีการเรียกร้อง ขอให้เพิ่มค่าอ้อยอีกอย่างต่ำ 160 บาทต่อตัน ด้วยการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) เช่นปีที่ผ่านๆ มา คิดเป็นวงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาทนั้นยอมรับว่าคงจะต้องหารือกับรัฐบาลผ่านคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงความเป็นไปได้ในการช่วยเหลือเงินกู้ดังกล่าวได้หรือไม่และได้มากน้อยเพียงใด

          ปัจจุบันกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) มีภาระหนี้ที่สำคัญใน 2 ส่วนคือ 1. หนี้เงินกู้เดิมวงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาทจากการเพิ่มราคาอ้อยฤดูการผลิตปี 57/58 ซึ่งเงินส่วนนี้ได้นำรายได้จากการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)ส่งเข้ากองทุนฯเฉลี่ยปีละ 1,300 ล้านบาท ซึ่งจะชำระหนี้คืนได้หมดในกลางปี 2560

          2. ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 57/58 ที่ต่ำกว่าราคาขั้นต้นทำให้ต้องจ่ายเงิน คืนโรงงานตามกฎหมาย 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนโดยมีทางเลือกที่สำคัญได้แก่ การชำระให้กับโรงงานตามกระแสเงินสดที่มีอยู่คือ 7,000 ล้านบาทส่วนที่เหลือ 3,000 ล้านบาทอาจกู้ธ.ก.ส.แล้วหักจากเงินค่ารักษาเสถียรภาพชำระหนี้คืนปีละ 1,000ล้านบาทซึ่งจะต้องมีการจัดเก็บเงินส่วนนี้เพิ่มจากเดิมจากที่ได้ปีละ 700-800 ล้านบาทเป็นปีละ 1,000 ล้านบาทโดย 3 ปีจะชำระหมด

          "ถ้าหากดูจากภารหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่เฉพาะหน้าก็จะเห็นว่าหากจะต้องกู้ใหม่ขั้นต่ำ 160 บาทต่อตันนั้นจะต้องขยายเวลาการชำระหนี้เพิ่มขึ้นก็คงอยู่ที่รัฐบาลว่าที่สุดจะให้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกขณะนี้เฉลี่ยเริ่มสูงขึ้นมาอยู่ระดับ 14.26 เซ็นต์ต่อปอนด์ และแนวโน้มปี 2559 คาดว่าราคาอ้อยจะกลับมาดีเพราะผลผลิตโลกเมื่อเทียบกับการผลิตเริ่มลดต่ำ"แหล่งข่าวกล่าว.

จาก http://manager.co.th  วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

'สมคิด'เร่งช่วยปากท้องเกษตรกร เล็งตั้งงบเพิ่มแก้ปัญหาภัยแล้ง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯดูแลด้านเศรษฐกิจ มามอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจให้แก่หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯเข้าร่วมด้วย ซึ่งนายสมคิด ได้กำชับให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งรัดช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงในช่วงภัยแล้ง2-3 เดือนนี้จะลำบากมาก จึงอยากให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากที่ไม่มีน้ำทำนา เพราะนโยบายจ้างงานของกระทรวงเกษตรฯ ที่ผ่านมามีปัญหาจ้างเกษตรกรได้ไม่ทั่วถึง และมีผู้สูงอายุจำนวนมากในภาคเกษตร มาขุดดินคงไม่ไหว อีกทั้งงบประมาณมีจำกัด จะเห็นปัญหาที่ จ.ชัยนาท มีชาวบ้านมาสมัคร 1.2 พันคน แต่เปิดรับสมัครได้พียง 200 คนซึ่งยังมีปัญหานี้เกิดขึ้นหลายพื้นที่ลักษณะเดียวกัน

"รมว.เกษตรฯต้องเร่งหามาตรการจ้างงานเพิ่มเติมในเรื่องฝึกอาชีพ โดยจ่ายค่าตอบแทนในการมาเรียนรู้ นำไปต่อยอดทำการเกษตร ดีงปราชญ์ชาวบ้านมาแนะนำ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกหลากหลายมากขึ้น และเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ ไม่ใช่ปลูกข้าวอย่างเดียว รวมทั้งเร่งแก้ปัญหาในระบบสหกรณ์ที่อ่อนแอ ก็ต้องยุบเลิก ก็ควรยุบ ซึ่งนโยบายนายกฯมีความชัดเจนที่ให้พัฒนายกระดับขบวนการสหกรณ์ เข้ามาบริการจัดการสินค้าเกษตรได้ครบวงจร เหมือนประเทศ เกาหลีใต้  ญี่ปุ่น ภาคเกษตรทั้งหมดมีการบริหารโดยสหกรณ์ชัดเจน ทำไมของเราทำไม่ได้ จึงต้องตั้งเจ้าภาพมาดูแลโดยเฉพาะ เพื่อมาปรับระบบการทำงานของสหกรณ์ไทยทั้งหมดภายใน6 เดือน" นายสมคิด กล่าว

ส่วนมาตรการระยะยาว คือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งภาคเกษตรมีทางเดียวคือต้องทำแปลงรวม โดยรัฐจัดหาเครื่องมือนำ เทคโนโลยีใหม่ ๆ และสร้างระบบสหกรณ์ให้แข็งแรง และปฎิบัติจริงจัง ทำให้เกษตรกรเราดีขึ้นซึ่งงบประมาณไม่ใช่ปัญหา โดยนายกฯ เอาจริงเรื่องการปรับโครงสร้างภาคเกษตร จะนำเงินประมูล 4 จี บางส่วนมาลง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโตขึ้นแน่นอนและเวลาที่เหลืออีกปีเศษ ตนและ รมว.เกษตรฯ จะใช้เวลานี้เข้าฟื้นฟูสหกรณ์ ให้เป็นสถาบันที่เข้มแข็งให้ได้

 ทั้งนี้ นายกฯจะลงพื้นที่ทุกเดือน พยายามนำความคิดจากข้างล่างขึ้นมา ไปรับฟังจาก แกนนำกองทุนหมู่บ้าน ชุมชน พัฒนาไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม พร้อมกับแหล่งท่องเที่ยว ต้องเร่งเปลี่ยนวิธีคิดในมิตินี้ให้กับชาวบ้าน เพราะเศรษฐกิจ ไทยเป็นป่วยโรคโปลิโอ อาศัยภาคส่งออกด้านอุตสาหกรรม ทำให้ขาโตข้างเดียว

ด้านพล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่ามาตรการจ้างเสริมฝึกอาชีพเกษตรกร ช่วงภัยแล้ง ตนคิดตรงกับนายสมคิดและพร้อมทำทันที ตนได้เรียกประชุมทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน  กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม วันจันทร์ที่ 23 พ.ย. นี้เพื่อเซ็ทแผนอบรมครั้งนี้ ต้องทำให้เร็ว ผ่าน 882 ศูนย์ โดยมีค่าตอบแทนเป็นการจูงใจ เป็นค่าพาหนะ ค่าอาหารกลางวัน ซึ่งมีสำนักงบฯมาดูเรื่องงบประมาณ คาดว่าจะจ่ายวันละ 180-200 บาท ต่อราย จะวางกรอบเสร็จสิ้นนำเข้าครม.โดยเร็ว คาดว่าไม่เกินเดือนนี้ จะเปิดอบรมอาชีพเกษตรกรได้

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

กรมฝนหลวงแจงทำฝนหลวงปท.ไทย กับฝนเทียมของตปท.ต่างกัน

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ในการปฏิบัติการดัดแปรภาพอากาศในประเทศไทย กรมฝนหลวงฯจะใช้วิธีการทำฝนเมฆอุ่น โดยที่สภาวะที่เหมาะสมอยู่ที่ปริมาณความชื้นในอากาศมีมาก ปริมาณและคุณสมบัติของแกนกลั่นตัวมีพอเหมาะ และบรรยากาศไม่มีความเสถียร ปริมาณน้ำฝนที่ตกจากเมฆอุ่นจะมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มเมฆ และฝนที่ตกในประเทศไทยมากกว่า 90 % เป็นฝนจากเมฆอุ่น ซึ่งมีขั้นตอนการทำ 3 ขั้นตอน เริ่มจากขั้นตอนที่ 1 เป็นการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดเมฆ โดยการโปรยสารโซเดียมคลอไรด์ ในท้องฟ้าที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี จะทำหน้าที่เสริมประสิทธิภาพของแกนกลั่นตัวในบรรยากาศ ทำให้กระบวนการดูดซับความชื้นในอากาศให้กลายเป็นเม็ดน้ำเกิดเร็วขึ้นกว่าธรรมชาติ และเกิดกลุ่มเมฆจำนวนมาก ขั้นที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน เป็นการเพิ่มขนาดของเมฆและขนาดของเม็ดน้ำในก้อนเมฆจะปฏิบัติการเมื่อเมฆที่ก่อตัวจากขั้นตอนที่ 1 ก่อนสูงถึงระดับ 10,000 ฟุต  โดยการโปรยสารแคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งจะดูดซับความชื้นและเม็ดน้ำขนาดเล็กในก้อนเมฆให้กลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้นในก้อนเมฆ และยอดเมฆพัฒนาตัวสูงขึ้นในขั้นนี้ เมฆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและก่อยอดสูงขึ้นไป ขั้นตอนที่ 3 โจมตี เป็นการเร่งให้เมฆเกิดเป็นฝน เมื่อเมฆแก่ตัว ยอดเมฆจะอยู่ที่ระดับ 10,000 ฟุต จะใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ ทับยอดเมฆอีกเครื่องหนึ่งโปรยผงยูเรียที่ฐานเมฆ จนทำให้ฝนใกล้จะตกหรือเริ่มตกแล้ว และจะเร่งการตกของฝนและเพิ่มปริมาณน้ำโดยการโปรยเกล็ดน้ำแข็งแห้ง ที่ระดับใต้ฐานทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง มีอัตราการตกของฝนสูงขึ้น และทำให้ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้นและหนาแน่นขึ้น

ในส่วนการทำฝนในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีนจะเป็นการทำฝนเมฆเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (0°c) เป็นการทำฝนด้วยกระบวนการเกิดผลึกน้ำแข็ง จะใช้แกนน้ำแข็งเทียม ได้แก่ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ น้ำแข็งแห้ง ไนโตรเจนเหลว การปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆเย็นนั้น ยอดเมฆเจริญขึ้นถึง 25,000 ฟุต หรือมากกว่านั้น มีอุณหภูมิในเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ขั้นตอนในการทำฝนเมฆเย็นคือ เมื่อเมฆพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระหว่าง -8 ถึง 12 องศาเซลเซียส มีกระแสอากาศไหลขึ้นสูงกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ต่ำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร อนุภาคสารจะทำหน้าที่เป็นแกนเยือกแข็ง เม็ดน้ำเหล่านั้นกลายเป็นน้ำแข็งและผลักดันให้ยอดเมฆเจริญสูงขึ้นไปอีกจนน้ำแข็งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และล่วงหล่นลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งจะละลายเป็นเม็ดน้ำฝน เมื่อผ่านชั้นอุณหภูมิเยือกแข็งลงมาที่ฐานเมฆ และเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน ปริมาณน้ำฝนที่ตกจากเมฆเย็นจะมากกว่าเมฆอุ่นเนื่องจากเมฆมีขนาดใหญ่กว่ามากและในประเทศไทยมีประมาณ 10% เท่านั้นที่เป็นฝนที่ตกจากเมฆเย็นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำฝนจากเมฆอุ่น  สำหรับในประเทศไทยมีอากาศในเขตร้อนชื้นจึงเหมาะกับการทำฝนจากเมฆอุ่น ส่วนเมฆเย็นนั้นโดยขั้นตอนของการทำฝนมีความยุ่งยากกว่า

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

พณ.ชงแผนยุทธศาสตร์การค้าระหว่างปท.

รัฐมนตรีช่วยฯ พาณิชย์ เผย เตรียมเสนอแผนยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ 4 ธ.ค.นี้

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธาน โดยกระทรวงพาณิชย์เตรียมเสนอแผนยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ โดยไทยยังคงมุ่งเน้นให้อาเซียนเป็นตลาดหลักโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกับเอกชนจัดทำยุทธศาสตร์ 5 ปี เจาะกลุ่มลงไปถึงระดับเมืองของแต่ละประเทศใน CLMV เพื่อเป็นการวางรากฐานการค้าระหว่างประเทศในระยะยาว นอกจากนี้ ยังจะมีการหารือถึงการเข้าเป็นสมาชิก TPP หรือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เอเชียแปซิฟิกในการประชุมดังกล่าวด้วย

ในขณะที่ การส่งออกในปี 2559 เชื่อว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นจากในปีนี้ โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตรซึ่งตกต่ำมาก ในอนาคตก็น่าจะกลับมาดีขึ้น แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะได้เห็นการส่งออกไทยเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก เนื่องจากมีปัจจัยระดับโลกหลายอย่างที่มีความผันผวนสูง เช่น การก่อการร้ายซึ่งเกิดขึ้นจนเกือบจะเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กฟผ.เตือนอย่าเผาไร่อ้อยแนวสายส่ง

กฟผ. เตือน เกษตรกร อย่าเผาไร่อ้อยใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง หวั่นเป็นอันตรายต่อตัวบุคคล อาจทำให้เกิดไฟดับเป็นบริเวณกว้าง

นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ช่วงฤดูกาลเปิดหีบอ้อย มักจะมีการเผาไร่อ้อย โดยเฉพาะก่อนตัดส่งเข้าโรงงานผลิตน้ำตาล ซึ่งการเผาหญ้า เผาวัชพืช เผาซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว บริเวณใกล้พื้นที่แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้เกิดควัน เขม่า และเปลวไฟ ส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสู่พื้นดิน เป็นอันตรายแก่พี่น้องประชาชน เกษตรกรที่อยู่บริเวณดังกล่าว ทั้งผู้ก่อกองไฟหรือผู้อยู่ใกล้เคียงอาจได้รับอันตรายถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงขนาดแรงดันหลายแสนโวลต์ดูดได้ รวมถึงอาจเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลเสียหายต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ “เสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง” จึงต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา

ปัจจุบันเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ดูแลและรับผิดชอบโดย กฟผ. เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของระบบไฟฟ้า เปรียบเสมือน “เส้นเลือดใหญ่แห่งพลังงาน” ทำหน้าที่เชื่อมโยงกระแสไฟฟ้าจากระบบผลิตไปยังระบบจำหน่าย คือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

ทั้งนี้กฟผ.จึงขอความร่วมมือไม่จุดไฟเผาไร่อ้อยและเผาวัชพืช ในพื้นที่ใกล้เสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่เฉพาะตัวพี่น้องประชาชนเท่านั้น แต่ทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับ นอกจากนี้ ควันและเขม่าจากการเผาไร่อ้อยและเผาวัชพืชดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ตลอดจนเป็นอันตรายต่อทัศนวิสัยในการเดินทางและการคมนาคม อีกทั้งเมื่อเกิด “ไฟตก ไฟดับ” ย่อมส่งผลต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องหยุดชะงัก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้างอย่างคาดไม่ถึง

จาก http://www.posttoday.com    วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

สอน.จ่อเคาะตั้ง-ขยายโรงงานน้ำตาล 9 ธ.ค. 50 แห่งแห่ยื่นคัดเหลือแค่ 10 แห่ง 

         "สอน."หวังประกาศรายชื่อโรงงานน้ำตาลที่ได้รับการคัดเลือกให้ตั้งและขยายโรงงานได้ภายใน 9 ธันวาคมนี้ หลังจากประกาศเงื่อนไขให้เอกชนเข้ายื่นล่าสุดมีผู้ยื่นแล้วถึง 50 รายแยกเป็นขอตั้งโรงงานใหม่ 36 แห่ง ขยายการผลิต 16 แห่ง จับตาแนวโน้มคัดเหลือแค่ 10 แห่ง

               นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สอน.ออกประกาศเงื่อนไขการขอตั้งหรือย้าย หรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเพื่อเปิดให้เอกชนเข้ายื่นขอคำอนุญาตตั้งและขยายโรงงาน มีเอกชนมายื่นขอตั้งโรงงานใหม่ 34 แห่งและขอขยายกำลังการผลิตอีก 16 แห่ง ล่าสุดสอน.อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดและจะประกาศโรงงานที่จะผ่านการพิจารณาได้ใน 9 ธ.ค.นี้โดยยอมรับว่าโรงงานที่จะได้รับอนุมัติดำเนินการคงจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 10 แห่ง

               "เดิมมีปัญหาเรื่องระยะห่างโรงงานแต่เมื่อชัดเจนว่าจะต้องมีระยะห่างของโรงงานที่มีอยู่ 50 กิโลเมตร(กม. ) ก็ให้ทางผู้ที่เคยยื่นขอและค้างพิจารณาก่อนหน้านั้นไปเตรียมเอกสารให้พร้อมและยื่นมาได้ภายใน 7ส.ค.-3ต.ค.58 ส่วนใครที่สนใจก็ยื่นได้ตลอดเวลาและเพื่อความโปร่งใสก็จะกำหนดพิจารณาคำขอรายละไม่เกิน 45 วันแต่เนื่องจากต้องมีการวัดระยะห่างเดิมจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งก็ให้ปรับจากเขตไปเขตเพื่อดูพิกัดรอบโรงงานทั้งหมด 8 พิกัดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเลยค่อนข้างใช้เวลา"นายสมศักดิ์กล่าว

               นอกจากนี้ตามเกณฑ์ที่สอน.ประกาศนอกเหนือจากระยะห่างประเด็นสำคัญคือจะต้องมีแผนจัดหาอ้อยป้อนโรงงานไม่น้อยกว่า 50% ของกำลังการผลิตอ้อยโรงงานนั้นๆ ที่คิดการผลิตไม่เกิน 120 วันและมีแผนทางการเงินในการส่งเสริมการปลูกอ้อยที่ชัดเจน รวมถึงการจัดทำแผนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) ทำให้ผู้ที่ยื่นขอต้องส่งบัญชีชาวไร่อ้อยมายังสอน.ซึ่งต้องใช้เวลารวบรวมเนื่องจากผู้ประกอบการส่งมาเป็นแบบ Hard Copy หรือเอกสารเพื่อความสะดวกสอน.จึงขอให้จัดส่งมาเป็นซอฟแวร์หรือ File จึงทำให้กระบวนการพิจารณาล่าช้า

               นายสมศักดิ์ยังได้กล่าวถึง ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2558/2559 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมจะนำเสนอเข้าสู่วาระประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)โดยคาดว่าจะเข้าสู่ครม.พิจารณาในช่วงวันที่ 24 พ.ย.นี้เพื่อให้ทันกำหนดการเปิดหีบอ้อยวันที่ 28 พ.ย. 58 โดยราคาอ้อยขั้นต้นเป็นไปตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)ที่เห็นชอบไว้ 2 ราคาได้แก่ ราคาอ้อยในเขต 5 จ.สุพรรณบุรีจะอยู่ที่ 773 บาทต่อตันเนื่องจากที่ผ่านมาเขตดังกล่าวมีผลผลิตอ้อยและน้ำตาลมีประสิทธิภาพต่ำกว่าพื้นที่อื่น ส่วนที่เหลือในเขตอื่นๆ อยู่ที่ 808 บาทต่อตันซึ่งคำนวณจากราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกที่มีการทำราคาซื้อขายล่วงหน้าไปแล้ว 38% ของปริมาณการผลิตเพื่อส่งออก 8 แสนตัน ราคา 14 เซนต์ต่อปอนด์

จาก http://manager.co.th  วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558

เผาอ้อย=เผาเงิน แล้วจะเผาไปไย

  ฤดูเปิดหีบอ้อยกำลังมาเยือน...ฤดูเผาไร่อ้อยมาถึงแล้ว

“ทุกวันนี้บ้านเรายังมีการเผาไร่อ้อยเพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวมากกว่า 60% สาเหตุมาจากขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยว ถ้าไม่เผาคนงานจะไม่มาตัดอ้อยเพราะตัดได้น้อย ไม่เหมือนเผาก่อนการตัดทำได้เร็ว”

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การเผาอ้อยไม่เพียงแต่จะทำเฉพาะก่อนเก็บเกี่ยวเท่านั้น

ในไร่อ้อยที่มีการตัดสด ใบอ้อยถูกตัดวางไว้คลุมดิน เจ้าของไร่กลัวจะเป็นเชื้อเพลิงให้ใครมาจุดเล่นเผาอ้อยตอ เลยชิงลงมือเผาเสียเอง...และยังมีการเผาอีกแบบ เผาก่อนเตรียมดินปลูกอ้อยใหม่ เนื่องจากอ้อยตอปีสุดท้าย ตัดขายแล้ว ใบอ้อยที่สะสมอยู่ในไร่มีเป็นจำนวนมาก ทำให้ล้อรถแทรกเตอร์ลื่นไถไม่ไป จึงเผาซะเลย

การเผาไร่อ้อยทั้ง 3 รูปแบบ ไม่เพียงจะก่อปัญหามลภาวะ ยังทำให้น้ำหนักอ้อยที่ขายได้ลดลง ค่าความหวานของอ้อยน้อยลง เกษตรกรรายได้น้อยตาม ในขณะที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะการเผาทำให้อินทรียวัตถุในดินน้อยลง ดินทึบแน่นขึ้น ดินไม่อุ้มน้ำ การเผาทำให้ไร่อ้อยไม่มีใบคลุมดิน วัชพืชขึ้นได้ง่าย มาแย่งอาหาร ทำให้ตออ้อยแคระแกร็น แถมบรรดาแมลงศัตรูอ้อยบินมาวางไข่ เติบใหญ่เป็นหนอน สามารถชอนไชไปทำลายตอได้ง่าย

ที่สำคัญยังเป็นการทำลายปุ๋ย เพราะเศษซากใบอ้อยมีปุ๋ยไนโตรเจน 0.35-0.66% แต่ละปีเรามีใบอ้อยถูกเผาไปประมาณ 10 ล้านตัน...เท่ากับเราเผาปุ๋ยทิ้งไปปีละ 35,000-66,000 ตัน

“ปัญหานี้ถ้าเป็นเมื่อก่อนต้องยอมรับว่ายังแก้ได้ยาก เพราะไม่มีเครื่องจักรกลเหมาะจะนำมาใช้กับไร่อ้อยบ้านเรา แต่หลังจากเราทำวิจัยมานานร่วม 20 ปี ปัจจุบันเราสามารถแก้ปัญหาการเผาทั้งสามแบบได้หมดแล้ว”

การแก้ปัญหาเผาไร่อ้อยก่อนเก็บเกี่ยว อรรถสิทธิ์ บอกว่า การวิจัยได้ประดิษฐ์รถตัดอ้อยสดที่มีกลไกไม่ซับซ้อน เหมาะกับไร่อ้อยไทย สามารถให้ช่างซ่อมบำรุงในพื้นที่ได้ และมีราคาเหมาะกับเกษตรกรไทย สามารถซื้อในราคาแค่คันละ 2.5 ล้านบาท ถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงถึง 11.5 ล้าน

แก้ปัญหาเผาแบบที่ 2 เพราะกลัวใบอ้อยที่กองอยู่ในไร่ระหว่างตอเป็นเชื้อเพลิงให้คนมาเผลอจุด...ใช้เครื่องสับใบอ้อยลงดินระหว่างแถวอ้อยตอ

ส่วนการเผาใบอ้อยก่อนปลูกอ้อยใหม่...งานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องสับใบและกลบเศษซากอ้อยฝังลงดิน

 การนำสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้มาใช้ในการหยุดเผาอ้อยทั้ง 3 แบบ งานวิจัยยังพบว่า ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น...ผลผลิต อ้อยตอ 1 ถ้าใช้วิธีเผา จะได้น้ำหนักเฉลี่ยไร่ละ 12.3 ตัน แต่ถ้าใช้วิธีที่ได้จากงานวิจัย อ้อยจะน้ำหนักไร่ละ 18.6 ตัน ได้กำไรเพิ่ม 51%

อ้อยตอ 2 ทำแบบเผาได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 12.1 ตัน...ไม่เผาได้ 17.3 ตัน ได้มากกว่า 42%

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558

เล็งชงครม.ไฟเขียว2ราคาอ้อย

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยถึงความคืบยหน้าการพิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 58/59 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมเสนอที่ประชุมครม.วันที่ 24 พ.ย. พิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่เห็นชอบไว้ 2 ราคา

ซึ่งเป็นครั้งแรก โดยราคาอ้อยในเขต 5 จ.สุพรรณบุรี อยู่ที่ 773 บาทต่อตัน เนื่องจากมีผลผลิตอ้อยและน้ำตาลมีประสิทธิภาพต่ำกว่าพื้นที่อื่น ส่วนที่เหลือในเขตอื่น ๆ อยู่ที่ 808 บาทต่อตัน ซึ่งคำนวณจากราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลก ที่ทำราคาซื้อขายล่วงหน้าไปแล้ว 38% ของปริมาณการผลิตเพื่อส่งออก 8 แสนตัน ราคา 14 เซนต์ต่อปอนด์ 24 พ.ย.นี้ เพื่อให้ทันกำหนดการเปิดหีบอ้อยวันที่ 28 พ.ย. 58

โดยส่วนการพิจารณาระยะห่างโรงงานน้ำตาลใหม่จาก 80 กม. เป็น 50 กม.นั้น มีเอกชนยื่นขอตั้งโรงงานใหม่ 34 แห่ง และขอขยายกำลังการผลิตอีก 16 แห่ง รวม 50 แห่ง

เบื้องต้นคาดว่า มีโรงงานที่ได้รับอนุมัติประมาณ 10 แห่ง โดยจะประกาศโรงงานที่จะผ่านการพิจารณา 9 ธ.ค.นี้

“ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องระยะห่างโรงงาน แต่เมื่อชัดเจนว่าจะต้องมีระยะห่างของโรงงานที่มีอยู่ 50 กม. ก็ให้ผู้ที่เคยยื่นขอและค้างพิจารณาก่อนหน้านั้น ไปเตรียมเอกสารให้พร้อมและยื่นมาได้ ภายใน 7ส.ค.-3ต.ค.58 ส่วนใครที่สนใจก็ยื่นได้ตลอดเวลา และเพื่อความโปร่งใสก็จะกำหนดพิจารณาคำขอรายละไม่เกิน 45 วัน

แต่เนื่องจากต้องวัดระยะห่างเดิมจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ก็ให้ปรับจากเขตไปเขตเพื่อดูพิกัดรอบโรงงานทั้งหมด 8 พิกัด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเลยค่อนข้างใช้เวลา”

นอกจากนี้ ตามเกณฑ์ที่สอน.ประกาศนอกเหนือจากระยะห่างประเด็นสำคัญ คือ ต้องมีแผนจัดหาอ้อยป้อนโรงงานไม่น้อยกว่า 50% ของกำลังการผลิตอ้อยโรงงานนั้น ๆ ที่คิดการผลิตไม่เกิน 120 วัน และมีแผนทางการเงินในการส่งเสริมการปลูกอ้อยที่ชัดเจน รวมถึงการจัดทำแผนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ทำให้ผู้ที่ยื่นขอต้องส่งบัญชีชาวไร่อ้อยมายังสอน.ซึ่งต้องใช้เวลารวบรวม เนื่องจากผู้ประกอบการส่งมาเป็นแบบเอกสาร เพื่อความสะดวก สอน ขอให้จัดส่งมาเป็นซอฟแวร์ ทำให้กระบวนการพิจารณาล่าช้า“

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558

KTIS ไตรมาส 3 กำไร 529 ล้านบาท โต 139.5% มั่นใจปี 59 ดีต่อเนื่องทั้งสายน้ำตาลและชีวพลังงาน

          กลุ่ม KTIS ทำผลงานได้สวย ไตรมาส 3 มีกำไรสุทธิ 529.2 ล้านบาท เติบโต 139.5% จากสายธุรกิจน้ำตาลและเอทานอล ส่วนงวด 9 เดือน รายได้เพิ่ม 880 ล้านบาท มั่นใจโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงและยั่งยืน จากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ผ่านพ้นจุดต่ำสุด ส่งผลดีต่อสายธุรกิจน้ำตาลและผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องทั้งน้ำเชื่อมและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษที่จะผลิตออกจำหน่ายในปลายปีนี้ ส่วนโรงไฟฟ้าขนาด 50 MW อีก 2 โรง จะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำในปี 2559

          นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 (กรกฎาคม-กันยายน 2558) สายธุรกิจที่ยังคงมีรายได้เติบโตโดดเด่นคือสายธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ซึ่งมีรายได้ 4,970.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 686.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 16% รองลงมาเป็นรายได้จากการจำหน่ายเอทานอล 392.1 ล้านบาท เติบโต 12.2% และมีรายได้จากการจำหน่ายเยื่อกระดาษ 324.5 ล้านบาท

          สำหรับรายได้รวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2558 ของบริษัทและบริษัทย่อย เท่ากับ 5,759.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 608.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 11.8% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2557 ซึ่งมีรายได้ 5,150.3 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 529.2 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 221.0 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 139.5%

          "สิ้นสุดไตรมาส 3 สัดส่วนรายได้ของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลทรายของ KTIS อยู่ที่ 84.1 % ซึ่งยังเป็นสัดส่วนที่สูง และกลุ่มธุรกิจชีวพลังงานมีสัดส่วน 15.9 % เนื่องจากรายได้จากสายธุรกิจน้ำตาลมีการเติบโตสูงกว่าสายธุรกิจอื่น" นายประพันธ์กล่าว

          สำหรับรอบ 9 เดือน ของปี 2558 (มกราคม-กันยายน 2558) บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 1,193.6 ล้านบาท จากรายได้รวม 15,031.7 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ 879.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2557 ซึ่งมีรายได้ 14,152.1 ล้านบาท

          ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม KTIS กล่าวด้วยว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกได้ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการน้ำตาลของประเทศจีนเข้ามาช่วยกระตุ้น ประกอบกับค่าเงินของบราซิลเริ่มหยุดการอ่อนค่าลง และเมื่อพิจารณาจากปริมาณน้ำตาลทรายในอนาคต ที่จะผลิตได้จากประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะมีออกมาไม่มากจนเกินความต้องการ ก็เชื่อว่าราคาน้ำตาลโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ซึ่งจะทำให้รายได้และกำไรของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลของ KTIS ดีขึ้นในอนาคต

          "หากราคาน้ำตาลกลับมาดี ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำตาล รวมไปถึงน้ำเชื่อมและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ ที่จะผลิตออกจำหน่ายในปลายปีนี้ก็จะมีอนาคตที่ดีด้วย และสายชีวพลังงานของ KTIS ก็จะมีโรงไฟฟ้าขนาด 50 MW เพิ่มอีก 2 โรง ดังนั้น ในแง่ของการเติบโตของ KTIS นั้น จะเห็นชัดเจนขึ้นในปี 2559 จึงให้ความมั่นใจกับผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนได้ว่า KTIS เป็นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแน่นอน" นายประพันธ์กล่าว

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558

ไทยถกเปิดตลาดสินค้าเกษตร

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ครั้งที่27ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ได้หารือกับนายโมโตะ ฮายาชิ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เพื่อติดตามการเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยของญี่ปุ่น โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณโควตานำเข้าหมูแปรรูปและการอนุญาตนำเข้ามะม่วงจากไทย หลังจากที่เรื่องนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยได้เคยหารือกับนายชินโชะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาก่อนหน้านี้แล้ว

ขณะเดียวกันไทยยังได้เชิญชวนให้ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบกลุ่มอุตสาหกรรม (ซุปเปอร์ คลัสเตอร์) ตามนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิต วัตถุดิบ อุตสาหกรรมสนับสนุนเอสเอ็มอี เข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

ซึ่งจะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมคลัสเตอร์มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยปัจจุบันมีคลัสเตอร์เป้าหมาย 6 กลุ่ม คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเคมี ดิจิตอล เกษตรแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

นอกจากนี้ ไทยและญี่ปุ่นยังได้หารือเกี่ยวกับการหาแนวทางการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทป้า) โดยจะเน้นการเจรจาเพื่อเปิดตลาดสินค้าเพิ่มขึ้น และเห็นพ้องที่จะให้ข้อมูลกับภาคเอกชนเพื่อขยายช่องทางการลงทุนระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้นด้วย

นางอภิรดี กล่าวว่า ไทยยังได้หารือกับนายเอเดรส เรโบเลโด ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านการค้าของชิลี โดยทั้งสองจะร่วมกันจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอไทย-ชิลี ที่มีผลบังคับเมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันได้เสนอให้ชิลีใช้ไทยเป็นฐานสำหรับการขยายการค้าและการลงทุนในอาเซียน เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และใช้ชิลีเป็นประตูการค้าเข้าสู่ตลาดลาตินอเมริกาด้วย“ชิลี เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยในภูมิภาคอเมริกาใต้ โดยในปี 57 ชิลีเป็นคู่ค้าอันดับที่3รองจากบราซิลและอาร์เจนตินา การค้ารวมระหว่างไทยกับชิลีมีมูลค่า961ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปี 58 (ม.ค.-ก.ย.) มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับชิลีมีมูลค่า694ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.62% สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง เป็นต้น

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558

 

กรมชลฯคุมเข้มบริหารน้ำทั่วประเทศ

"อธิบดีกรมชลฯ" เข้ม บริหารน้ำทั่วประเทศ ด้านศูนย์พิบัติเกษตรฯรายงานความเสียหายด้านผลผลิตแล้วประมาณ 8 พันล้าน

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคาระห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำว่ากรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า ขณะนี้มีความกดอากาศต่ำลงมาเป็นระลอกส่งผลให้ระหว่างวันที่ 18- 20 พ.ย. จะมีฝนตกทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างขนาดใหญ่ต่อเนื่อง ทั้งเขื่อนภูมิพลและ เขื่อนสิริกิติ์ วันละประมาณ 4-6ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)อย่างไรก็ตามทั้งหมดจะมีการบริหารตามแผนอย่างเคร่งครัดโดยจะระบายน้ำจาก4 เขื่อนหลักไม่เกิน 15 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันเพื่อให้น้ำพอใช้ถึง ก.ค. 2559

ทั้งนี้ได้กำชับเจ้าหน้าที่ชลประทานในท้องถิ่นและยังมีบันทึกแจ้งผู้ว่าฯทั้ง 7 จังหวัดและอบต.ต่างๆที่ดูแลสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือให้ใช้น้ำตามแผนที่แจ้งไว้กรมชลฯเท่านั้นโดยมีการเฝ้าระวังที่สถานีนครสวรรค์และเขื่อนเจ้าพระยาชัยนาท หากมีปริมาณน้ำ ลดต่ำกว่า 130ลบ.ม.ต่อวินาทีแสดงว่ามีการนอกกติกาจะระสานกระทรวงมหาดไทยแจ้งเตือนเพราะต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงในส่วนการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องกว่า 1.76 ล้านไร่นาปรัง 1.9 แสนไร่ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ลงไปกำชับขอความร่วมมือเกษตรทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน

ทั้งนี้ศูนย์ติดตามแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร รายงานว่าช่วงภัยเดือนพ.ค. 2558 – ปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรประสบภัย19 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ สุโขทัยอุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครราชสีมา เลย ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี และสุพรรณบุรี พื้นที่ประสบภัย 3.3ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1.2ล้านไร่ พืชไร่ 2.038 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ0.027 ล้านไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 92,696 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย1,140,747 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 310,094 ไร่ พืชไร่827,181 ไร่พืชสวนและอื่นๆ 3,472 ไร่ คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 1,300 ล้านบาท

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พ.ค.- 9 พ.ย. 2558 พบว่า มีพื้นที่เสียหาย1,124,292 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิต 4,923,486 ตันคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 8,128 ล้านบาท

สำหรับแผนการระบายน้ำ กรมชลฯมีแผนระบายน้ำชัดเจน วันละ15.54 ล้านลบ.ม.จากเขื่อนภูมิพล 4.4 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 8.5 ล้านลบ.ม.เขื่อนแควน้อย 1.1 ล้านลบ.ม.เขื่อนป่าสักฯ1.6 ล้านลบ.ม.ทั้งนี้จะเป็นผลให้ไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้รวมทั้งคุมอัตราการไหลของน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในระดับ 130-160ลบ.ม.ต่อวินาที จนถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ระดับ 70-80ลบ.ม.ต่อวินาที จะไม่เกิดปัญหาน้ำเค็มเข้าระบบประปาแน่นอน รวมทั้งสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำแม่กลอง ในพื้นที่ 4 จ. เช่นกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐมสมุทรสาคร.... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/biz/gov/400071

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558

กระทรวงเกษตรฯลุยทำฝนหลวง 

          เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่อาคารรัฐ ประศาสนภักดี ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ อาสาฝนหลวงกว่า 1,000 คน และผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ร่วมวางพานพุ่มและถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

          ภายหลังพิธี พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า ในช่วงฤดูแล้งปี 2558/2559 ที่ลุ่มเจ้าพระยาพบว่ามีปริมาณทั้ง 4 เขื่อนหลัก รวมกันจำนวน 4,247 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยมีแผนการจัดสรรน้ำแบ่งเป็นการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งเดือนพฤศจิกายนปี 2558 ถึงเมษายนปี 2559 จำนวน 2,900 ล้าน ลบ.ม. โดยแบ่งเป็นน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 1,100 ล้าน ลบ.ม., เพื่อรักษาระบบนิเวศ 1,400 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 400 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปริมาณน้ำอีก 1,347 ล้าน ลบ.ม. จะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2559

          นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในภาพรวมว่า ในช่วงนี้ยังมีปริมาณความชื้นในอากาศอยู่บ้าง พอที่จะสามารถทำฝนหลวงได้ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้เขื่อน บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้ฝนหลวงที่ทำขึ้นมานั้นไม่สามารถไปเติมน้ำเข้า 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ ดังนั้นปริมาณน้ำในเขื่อนอาจไม่เพียงพอสำหรับการทำเกษตรในช่วงฤดูแล้งที่จะถึงนี้ ดังนั้นเกษตรกรที่จะปลูกพืชที่ใช้น้ำมากโดยเฉพาะข้าวอาจมีความเสี่ยง จึงต้องขอความร่วมมือเกษตรกรและประชาชนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และคุ้มค่า มากที่สุด

          นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์ฝนหลวงได้ตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วขึ้น 2 หน่วย เพื่อเตรียมทำฝนหลวงเมื่อได้รับรายงานสภาพอากาศที่เหมาะสมก็จะออกปฏิบัติการทันที ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปฏิบัติการในพื้นที่ จ.ตากไปแล้ว และในช่วงวันที่ 12-15 พฤศจิกายนนี้ เตรียมขึ้นปฏิบัติการที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหวังว่าจะมีปริมาณน้ำลงไปเติมใน 4 เขื่อนหลักมากขึ้น โดยยืนยันว่ากรมฝนหลวงมีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อมที่จะทำฝนหลวง ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 ได้เตรียมสารทำฝนหลวงกว่า 7 พันตัน เน้นในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

จาก http://www.matichon.co.th วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 

กรมชลฯชี้อากาศเหมาะทำฝนหลวง เผยน้ำยังจำกัดงดปล่อยให้เกษตรกร

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคาระห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ว่ากรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานสภาพอากาศว่าเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วโดยมีความกดอากาศต่ำลงมาเป็นระลอก จนถึงวันที่18- 20 พ.ย.ทำให้มีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีปริมาณน้ำไหลงอ่างขนาดใหญ่ต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นโชคดีและเกินความคาดหมาย ที่มีฝนตกในพื้นที่เหนือเขื่อนขนาดใหญ่ เช่นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์

"ทำให้สภาพป่ายังคงมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูแล้งนี้และการเกิดไฟป่าได้ช้าลง รวมทั้งสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้ขึ้นปฎิบัติการฝนหลวง ยังคงเติมน้ำในเขื่อนได้ อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำในเขื่อนขณะนี้นี้ ยังอยู่ระดับ 4.2 พันล้านลบ.ม.เท่ากับช่วงแรก ซึ่งไม่สามารถทำนาปรัง ได้ และไม่ปล่อยน้ำให้พื้นที่เกษตร "นายสุเทพ กล่าว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลฯมีแผนระบายน้ำชัดเจน วันละ15.54 ล้านลบ.ม. จากเขื่อนภูมิพล 4.4 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 8.5 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อย 1.1 ล้านลบ.ม.เขื่อนป่าสักฯ1.6 ล้านลบ.ม.โดยระบายอัตรานี้ต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนเมษายนปีหน้า ยืนยันว่าไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ รวมทั้งคุมอัตราการไหลของน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในระดับ 130-160 ลบ.ม.ต่อวินาที จนถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ระดับ 70-80 ลบ.ม.ต่อวินาที จะไม่เกิดปัญหาน้ำเค็มเข้าระบบประปาแน่นอน

นายสุเทพ กล่าวว่า กรณีที่เกิดปัญหามีการใช้น้ำนอกแผน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปริมาณน้ำลดน้อยเหนือเขื่อนเจ้าพระยากว่า1.2 ล้านลบ.ม. โดยได้กำชับเจ้าหน้าที่ชลประทานในท้องถิ่น ยังมีบันทึกแจ้งผู้ว่าฯทั้ง 7 จ. และอบต.ต่างๆที่ดูแลสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ให้ใช้น้ำตามแผนที่แจ้งไว้กรมชลฯเท่านั้น หากพบมีการนอกกติกา มีปริมาณน้ำ ลดต่ำกว่า 130 ลบ.ม.ต่อวินาที จะแจ้งเตือนทันที เพราะเราเฝ้าระวังทุกชั่วโมงแต่ในช่วงนี้มีฝนตกทำให้มีปริมาณน้ำท่าสูงกว่าอัตรา 130 ลบ.ม.

ในส่วนการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องกว่า1.76 ล้านไร่ นาปรัง 1.9 แสนไร่ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ลงไปกำชับขอความร่วมเกษตรให้รับผิดชอบตัวเองในผลเสียหายที่จะเกิดในอนาคต เพราะไม่มีมาตรการทางกฎหมายจะไปบังคับ ได้แต่ขอความร่วมมือทำความเข้าใจ จะไม่มีน้ำ และ ในอนาคตไม่มีฝนในภาคกลาง หากยังฝืนอยู่แจ้งกระทรวงมหาดไทย เข้าพูดคุยกับเกษตรกร เพราะ กรมชลฯ ยอมไม่ได้ที่จะให้ดักสูบน้ำหายกลางทางจนไปเกิดปัญหาน้ำเค็มรุกน้ำจืดที่กระทบต่อภาพรวมทั้งประเทศ โดยมีแผนไว้แล้วในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ส่วนสถานการณ์น้ำลุ่มแม่กลอง ในพื้นที่ 4 จ. เช่นกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร มีน้อยเช่นกันได้ขอความร่วมือไม่ให้ปลูกข้าวนาปรัง 1 ล้านกว่าไร่ แต่ยังมีน้ำ 950 ล้านลบ.ม. เพื่อการเกษตร พืชสวน พืชไร่

"อย่าเป็นห่วงว่าจะเกิดวิฤกติ ทุกคนใช้น้ำกินน้ำใช้แน่นอน ซึ่งยืนยันว่าในลุ่มเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้ทุกกิจกรรมตามแผน3.8 พันล้านลบ.ม.และปริมาณน้ำลุ่มแม่กลอง ไม่กระทบระบบประปา และยังไม่จำเป็นที่นำน้ำก้นเขื่อนมาใช้ เพราะจะไม่เอามาใช้กัน จะกระทบถึงน้ำปีหน้า กว่าจะรอฝนมา ต้องใช้เวลาเก็บน้ำกี่ปีกว่าจะได้น้ำมันไม่คุ้ม"นายสุเทพ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558

แสงอาทิตย์ พลังงานที่มั่นคงและมั่งคั่ง

ประเทศเยอรมนีได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำและพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานทดแทนมา นานแล้ว ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ทั้งพลังงานลม แสงอาทิตย์ และพลังงานจากขยะ จนตอนนี้เยอรมนีได้สร้างสถิติใหม่ของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ได้มากถึง 22 กิกะวัตต์ เทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ 20 โรงงานสามารถผลิตได้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานทางเลือกมีการเติบโตและขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นนัยสำคัญสำหรับคนในวงการการเงินและการลงทุนของไทย เพราะความมั่งคั่งสร้างได้จากแสงอาทิตย์

ดร.อัฐวุฒิ ปภังกร อาจารย์ประจำคณะบัญชี และผู้เชี่ยวชาญของสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า จากการติดตามข้อมูลด้านพลังงานทางเลือกเห็นว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจมาก ทั้งการลงทุนระดับอุตสาหกรรมและระดับส่วนบุคคล ยิ่งตอนนี้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ชาวบ้านสามารถเข้าถึงได้ง่ายในราคาสบายกระเป๋า แถมยังมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทนจากรัฐบาลปัจจุบันส่งเสริมอีก การขยายตัวของภาคธุรกิจเอกชนจึงเพิ่มขึ้นมาก ทั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับรัฐ บริษัทรับเหมาติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำตลาดตรงกับครัวเรือน หรือทำตลาดร่วมกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ช่วงเวลานับจากนี้จึงถือว่าเป็นจังหวะดีสองต่อ นั่นคือการสร้างความมั่งคั่งให้ประชาชน และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย

อัฐวุฒิ ปภังกร

โดย ตอนนี้สำหรับประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐพยายามชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ไทยเราจะขาดแคลนพลังงาน เพื่อผลิตไฟฟ้า หากยังไม่มีความตระหนักในเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทนถือเป็นทางสายใหม่ที่สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศ ไทยได้เป็นอย่างดี ที่รัฐบาลทุกชุดทำไม่ได้

จึงคาดว่าปีนี้เป็นต้น ไปจะเป็นปีทองของธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย ไม่ว่าจะเป็นระดับฟาร์มขนาดใหญ่ ระดับโรงงาน จนถึงการผลิตไฟฟ้าจากหลังคาบ้าน เพื่อขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานรัฐ เพราะเริ่มมีนโยบายส่งเสริมเอกชนผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขายให้กับรัฐบาล รวมถึงการขัดเกลาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคออกไป โอกาสในการขยายธุรกิจจึงมีช่องทางอีกมาก รวมถึงฟากของธนาคารพาณิชย์ที่เริ่มสนใจสนับสนุนทางการเงินทั้งแบบโปรเจ็กต์ ไฟแนนซ์ คอร์ปอเรตไฟแนนซ์ และเพอร์ซันนอลไฟแนนซ์ และอาจจะมีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาธุรกิจกลุ่มนี้ ยิ่งตอนนี้มีข่าวออกมาแล้วว่ารัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเปิดเสรีการผลิตไฟฟ้า โซลาร์รูฟท็อปให้แล้วเสร็จในสิ้นปีนี้ บริษัทเอกชนหลายแห่งที่เล็งการลงทุนธุรกิจเกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เริ่มทยอยเปิดหน้าหาลูกค้า สร้างตลาด สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์และการสร้างรายได้จากแสงอาทิตย์ บนหลังคาบ้านของตัวเอง

แนวโน้มเช่นนี้ ชี้ชัดว่าประเทศไทยสามารถสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากการพัฒนาพลังงานทด แทนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ แม้ตอนนี้จะมีการทำโซลาร์ฟาร์มกระจุกตัวอยู่บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก เฉียงเหนือของไทย และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าก็ยังอยู่ในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 10 ของการผลิตไฟฟ้าใช้ทั่วประเทศ แต่เพราะเราเป็นประเทศเขตร้อน ทุกพื้นที่ทั่วไทยจึงได้รับการศึกษามาแล้วว่าสามารถรับแสงแดดเฉลี่ยทั้งปี อยู่ที่ 3.8-5 ชั่วโมงต่อวัน ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่

เห็นหรือยัง ว่า คนไทยมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งจากต้นทุนพลังงานที่ได้มาเปล่าๆ กับต้นทุนอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ที่มีแต่จะลดต่ำลงแถมอายุการใช้งานยาวนาน 20-25 ปี ค่าบำรุงรักษาก็น้อยแสนน้อย ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสภาพแวดล้อม เรียกว่าเป็นความมั่งคั่งจากแสงแดดอันเป็นทุนที่ประเทศไทยได้มาแบบฟรีๆ ตลอดทั้งปี

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558

BRR สุดแกร่ง โชว์ 9 เดือนแรกทำกำไรสุทธิพุ่ง 85% ด้านผู้บริหารมั่นใจผลการดำเนินงานปีนี้ทำนิวไฮนับตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งบริษัทฯ

           'บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์' หรือ BRR โชว์ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปีนี้ ทำกำไรสุทธิ 269 ล้านบาทเติบโต 85% หลังทำราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ลูกค้าในราคาที่สูง แถมประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยฉุดต้นทุนรวมลดลงช่วยหนุนขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจดีขึ้น ประกอบกับธุรกิจพลังงานทดแทนจากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลทั้ง 2 แห่งช่วยเสริมความแข็งแกร่ง แม้ผลประกอบการไตรมาส 3/58 ชะลอตัวลงหลังจากหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเพื่อบำรุงรักษาประจำปี ด้านผู้บริหาร BRR มั่นใจภาพผลประกอบการปีนี้ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวสีรำส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศและนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายไปต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/58 (กรกฎาคม-กันยายน) ของ BRR ทำรายได้รวม 783 ล้านบาทและมีผลขาดทุน 7 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการส่งมอบน้ำตาลทรายในไตรมาสนี้ชะลอตัวลง หลังครึ่งปีแรกได้ทยอยส่งมอบน้ำตาลทรายไปให้ลูกค้าแล้วกว่า 70% อีกทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลทั้ง 2 แห่ง หยุดเดินเครื่องเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปีและต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการซื้อกากอ้อยเพิ่มจากภายนอก ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการคำนวณส่วนต่างราคาอ้อยเบื้องสุดท้ายตามเกณฑ์การประมาณใหม่ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 ของทางราชการ และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง (ขนส่งน้ำตาลจากโรงงานไปท่าเรือ) เพื่อรอส่งออก ซึ่งส่งผลต่อรอบผลการดำเนินงานในงวดดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/58 จะลดลง แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนแรก (มกราคม-กันยายน) ของปีนี้ ที่บริษัทฯ ยังคงผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานได้ดี โดยทำกำไรสุทธิ 269 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและมีรายได้รวม 3,522 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10 % เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ปัจจัยความสำเร็จของผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือนนั้นมาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการผลิตที่ดี โดยสามารถผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อย (ยิลด์) ได้ 119 กิโลกรัม สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ทำได้ 107 กิโลกรัมต่อตันอ้อยและการจำหน่ายน้ำตาลทรายส่งออกก็สามารถทำราคาได้สูงกว่าราคาเฉลี่ยน้ำตาลทรายในตลาดโลก รวมถึงธุรกิจพลังงานทดแทนในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาด 9.9 เมกะวัตต์ จำนวน 2 แห่ง สามารถเดินเครื่องและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งของภาพรวมผลประกอบการของ BRR ในงวดนี้เติบโตได้ดีขึ้น

"ภาพรวมผลการดำเนินของ BRR ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการผลิตของเราที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยได้สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศและการจำหน่ายน้ำตาลทรายส่งออกก็เป็นที่น่าพอใจ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเราในการแข่งขันทั้งธุรกิจน้ำตาลทราย และธุรกิจพลังงานทดแทน" นายอนันต์ กล่าว

ประธานกรรมการบริหาร BRR กล่าวว่า ส่วนภาพรวมการดำเนินงานในปีนี้ คาดว่าจะเป็นปีที่ดีของ BRR ในแง่ของการผลักดันการเติบโตของผลประกอบการที่คาดว่าจะทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ เนื่องจากใน ไตรมาส 4/58 บริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากการส่งมอบน้ำตาลทรายในส่วนที่เหลือให้แก่ลูกค้า ประกอบกับโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลทั้ง 2 แห่งได้กลับมาเดินเครื่องอีกครั้งตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสและรายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นช่วงของการใส่ปุ๋ยตามวงจรการเพาะปลูกอ้อย ทำให้ BRR สามารถรับรู้รายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่และจะเข้ามาช่วยผลักดันผลการดำเนินงานในปีนี้ให้เติบโตได้ตามเป้าที่วางไว้

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

ก.อุตฯ เร่งแก้ผังเมืองที่ไม่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม

"อรรชกา" เร่งแก้ผังเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สั่งประชุมคกก.เร่งรัดนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์ครั้งแรก 20 พ.ย.นี้

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แถลงข่าวเรื่องการแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านผังเมืองที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ว่า ในจำนวนผังเมืองทั่วประเทศ 73 จังหวัด ซึ่งประกาศใช้แล้ว 28 จังหวัด พบว่า มีผังเมืองใหม่เพียง 22 จังหวัดเท่านั้น ที่มีความยืดหยุ่นต่อการขยายการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม ส่วนที่เหลืออีก 51 จังหวัด กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะประสานงานกับกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจผู้ประกอบการที่จะลงทุนต่อ เพราะขณะนี้ปัญหาผังเมืองไม่เอื้อต่อการขยายการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน และยังส่งผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ขณะนี้ผู้ประกอบการไม่สามารถขยายหรือย้ายโรงงานให้สอดคล้องกับผังเมืองได้ เนื่องจากต้องใช้เงินทุนสูง

ส่วนมาบตาพุดที่ผังเมืองเทศบาลลดพื้นที่สีม่วงสำหรับภาคอุตสาหกรรมลงจากเดิม 40,000 ไร่ เหลือ 25,000 ไร่นั้น ในส่วนของผังเมืองรวมจังหวัดระยองจะกระกาศใช้สิ้นปีนี้ ส่วนผังเมืองรวมชุมชนระดับเทศบาลมาบตาพุดจะใช้เวลา 1 ปี เพื่อทบทวนแก้ไขเพิ่มพื้นที่รองรับภาคอุตสาหกรรมเป็น 35,000 ไร่ ซึ่งทุกฝ่ายมีความชัดเจนและจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนไบโอเคมีภัณฑ์ยังมีพื้นที่รองรับให้มาลงทุนภายในปีนี้ได้ ส่วนแนวกันชนและแนวป้องกันจะจัดทำเสร็จภายในปีนี้

ทั้งนี้ แม้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายผังเมืองที่เป็นอุปสรรคในการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไปแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันว่าการลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ยังต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และเรื่องอื่น ๆ ตามปกติ ได้แก่ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 5 ฉบับ

นางอรรชกา กล่าวว่า วันที่ 20 พ.ย. คณะกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์จะประชุมนัดแรกวางกรอบการทำงานและติดตามประเมินผลการทำงาน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มเป้าหมายระยะแรก คือ ซุปเปอร์คลัสเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ได้แก่ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเลียมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดิจิตอล อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย 9 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ต

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

ส.ผลิตเยื่อกระดาษร้องรัฐปรับภาษี รง.ต้นน้ำกระอักต้นทุนนำเข้าเท่าสินค้าสำเร็จรูป

ผู้ผลิตเยื่อกระดาษไทยโอด ปัญหาสินค้าสำเร็จรูปทะลักแข่งขันไม่ได้ เหตุโครงสร้างภาษีสินค้ากระดาษสำเร็จรูปเท่าภาษีวัตถุดิบ ซ้ำ "ไซเบอร์"

" มาแรงกระทบดีมานด์สิ่งพิมพ์หด ต้องปรับตัวพัฒนาเทคโนโลยีพิมพ์เขียวทำแพ็กเกจอาหาร

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวภายหลังการประชุมนานาชาติ FAPPI 2015 (The 32nd Federation of ASEAN Pulp and Paper Industries) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษได้รับผลกระทบจากโครงสร้างภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปที่มีอัตราภาษีนำเข้า 0% เท่ากับอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ ส่งผลให้ผู้นำเข้า (เทรดเดอร์) มีความได้เปรียบกว่าผู้ผลิต เพราะสั่งซื้อสินค้าแบบกึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูปบวกเพิ่มเพียงต้นทุนค่าขนส่ง แต่ผู้ผลิตกระดาษในประเทศต้องบวกกับต้นทุนค่าแรงงานและอื่น ๆ ทำให้ราคาสูงกว่าแข่งขันไม่ได้

"รัฐบาลควรหาแนวทางช่วยเหลือให้อัตราภาษีมีโครงสร้างที่เหมาะสม 2 ระดับ โดยภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำ (เนื้อไม้หรือเยื่อไม้) ควรเป็น 0% ส่วนสินค้ากระดาษกึ่งสำเร็จรูปและกระดาษสำเร็จรูปควรจัดเก็บภาษีนำเข้าที่ 1-5% เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และให้อุตสาหกรรมภายในยังสามารถแข่งขันได้"

นายมนตรีกล่าวว่า สมาคมได้นำประเด็นดังกล่าวไปหารือกับนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยทาง ส.อ.ท.จะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น คลัสเตอร์การพิมพ์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มเติม เพื่อหาแนวทางแก้ไขในรูปแบบที่เหมาะสมไม่กระทบกับกลุ่มเทรดเดอร์และผู้ผลิตในประเทศ หากได้ข้อสรุปจะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป

"แม้ว่าปีนี้อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษยังไม่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจนนักโดยในปีนี้จะยังมีการเติบโต 3% มูลค่า 250,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ 80% ส่งออก 20% แต่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษยังจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพราะไม่เพียงปัญหาการแข่งขันกับสินค้าสำเร็จรูป แต่สถานการณ์การขยายตัวของยุคไซเบอร์หรือโลกออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการใช้กระดาษพิมพ์เขียวไม่น้อย ดังนั้น ผู้ผลิตต้องปรับตัวนำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาใช้สู่กระบวนการผลิต โดยคาดการณ์ว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้พิมพ์เขียวเป็นแพ็กเกจสำหรับอาหารได้เพิ่มขึ้น และยังส่งผลดีให้อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปด้วย"

พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการส่งเสริมป่าไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในประเทศ โดยพัฒนาพื้นที่สวนป่ากว่า 30 ไร่ เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในอนาคต และยังสามารถส่งออกวัตถุดิบส่วนหนึ่งไปยังจีน ญี่ปุ่น 4 ล้านตัน/ปี มูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท/ปี นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนามาตรฐานวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้ไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งคุณภาพเนื้อไม้ดี แต่เส้นใยสั้นไม่สามารถนำไปผลิตกระดาษพิเศษพรีเมี่ยมได้ ต่างจากเนื้อไม้สนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีเส้นใยยาว สามารถผลิตกระดาษพิเศษพรีเมี่ยมได้ดีกว่า

นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงแนวทางการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเศษวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตกระดาษมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 30% ส่วนอีก 70% ใช้จากถ่านหิน สาเหตุเพราะบางช่วงเศษวัตถุดิบเปลือกไม้มีราคาปรับสูงขึ้น โรงงานจึงต้องใช้เศษวัสดุอื่น เช่น กะลาปาล์ม ชานอ้อยแทน โดยตั้งเป้าหมายว่าปี 2563 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก 0.8-0.9% เป็น 1-1.2% ของปริมาณความต้องการใช้ไฟในอุตสาหกรรม

อนึ่ง การประชุม FAPPI 2015 พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะรวมกลุ่มสมาชิกเอเชียให้เป็นหนึ่งเดียว โดยวาระสำคัญในครั้งนี้คือ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร การพัฒนาแหล่งน้ำ และพลังงาน จะสรุปความคิดเห็นจากสมาชิกเสนอที่ประชุมครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นในปี 2559 ประเทศญี่ปุ่น

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

น้ำโขงวิกฤติระดับลดต่ำสุดรอบ50ปี จุดวัดที่หนองคายจับตาแล้งหนักแน่ พิจิตรเรียกถกด่วน ตั้งศูนย์ฯแก้วิกฤติ

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน สถานการณ์ภัยแล้งส่งผลกระทบต่อเนื่อง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุด ระดับในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย มีระดับลดลงอย่างต่อเนื่อง จนมีระดับต่ำ วัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ 3.12 เมตร ลดลงจาก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนถึง 11 เซ็นติเมตร ต่ำกว่า ตลิ่ง 9.08 เมตร และ ยังมีแนวโน้มลดลงอีก

เมื่อเทียบกับระดับแม่น้ำโขง เฉลี่ยในรอบ 50 ปีพบว่าปีนี้ มีระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึง 1.52 เมตร เมื่อเทียบกับค่าต่ำสุด ในรอบ 50 ปี มีระดับน้ำต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยต่ำสุดถึง 30 เซ็นติเมตรและเมื่อเทียบกับระดับแม่น้ำโขงในช่วงเดียวกันกับปี 2557 ระดับแม่น้ำโขงปีนี้ ลดลงเร็วกว่าและมีระดับต่ำกว่าปีที่ผ่าน มาประมาณ 1.55 เมตรจึงทำให้คาดว่าปีนี้แนวโน้มของระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงหน้าแล้ง น่าจะลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี ที่ผ่านมา จากระดับน้ำโขงที่ลดลง ทำให้ผู้ประกอบการที่ประมูลการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำโขง บริเวณชุมชนจอมมณีได้เร่งปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแล้ว

จ.พิจิตร ที่ศาลากลางจังหวัดพิจิตร นางฉัตรพร ราษฏร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้ร่วมประชุม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งพิจิตร เพื่อเร่งหามาตรการให้ความช่วยเหลือรวมถึงการประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำแก่ประชาชนให้เตรียมรับมือกับวิกฤติภัยแล้งที่น่าจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยผู้ว่าฯได้ย้ำ ขอให้งดหรือลดพื้นที่การทำนา หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนและในส่วนของทางราชการได้เร่งนำ 8 มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน เพื่อสร้างรายได้ทดแทนในช่วงที่เกษตรกรงดการทำนาเพื่อให้ผ่านช่วงวิกฤติภัยแล้ง

ส่วนที่ จ.อ่างทอง จากภัยแล้งทวีความรุนแรงส่งผลให้น้ำต้นทุนในเขื่อนเหลือน้อยใช้ได้เพียงอุปโภคและบริโภค ชาวนาใน จ.อ่างทอง ได้ปรับตัวเปลี่ยนอาชีพทำนามาทำสวนปลูกผักคะน้าขายสร้างรายได้ในช่วงหน้าแล้ง โดย นายสมหมาย แป้นพงษ์ ชาวนาที่นำนามากว่าครึ่งชีวิต ได้รับคำแนะนำในการปรับตัวสู้ภัยแล้ง หลังจากหยุดการทำนาจำนวน 20 ไร่ ได้หันไปเสี่ยงลงทุนกู้หนี้ยืมสินญาติพี่น้องในการทำสวนผักคะน้าจำนวน 10 ไร่ ลงทุนไปกว่าแสนบาทและขุดบ่อบาดาลไว้ใช้สำรองในการสูบน้ำปลูกผักคะน้าและในการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งก็พอมีกำไรอยู่บ้าง ดีกว่าการเสี่ยงทำนาขาดน้ำหล่อเลี้ยงแล้วทำให้ผลผลิตเสียหายซึ่งชลประทานพร้อมช่วยเหลือจ้างงานให้ชาวนามีรายได้ในช่วงหยุดทำนาและเกษตรจังหวัดแนะวิธีปรับตัวสู้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนา

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน เร่งส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพผลิตสกัดผลกระทบ

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จะเป็นการรวมตัวเพื่อเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ โดยประชากรในอาเซียนมีจำนวน 625 ล้านคน เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก อันดับ 3ของเอเชีย มี GDP ในภาพรวมประมาณ 2.4ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง พล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำการเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียน

ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ศึกษาโอกาสและผลกระทบของสินค้าเกษตรไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในประชาคมอาเซียนยังมีแนวโน้มที่ดีเนื่องจากสินค้าเกษตรไทยเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพและมาตรฐาน โดยเฉพาะผลไม้และสินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ในขณะที่บางสินค้ามีการพัฒนาไปสู่การแข่งขันในระดับโลกแล้ว เช่น ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มสินค้าที่แข่งขันได้ แต่ต้องสร้างจุดเด่นและพัฒนาสินค้าเพื่อครองตลาดให้มากขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง (มันเส้น) ไหม และยางพารา ส่วนกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ เมล็ดกาแฟ น้ำมันปาล์ม และมะพร้าว

สำหรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อภาคการเกษตรของประเทศ ภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในเชิงลบ ได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำกว่าจากประเทศสมาชิกอาเซียนจะหลั่งไหลสู่ประเทศไทย รวมทั้งสินค้าเกษตรจากอาเซียนที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาถูกกว่าจะเข้ามาแข่งขันและแย่งตลาด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาสินค้าเกษตรไทย ผู้ประกอบการและเกษตรกรที่มีขีดความสามารถการผลิตต่ำ จะไม่สามารถแข่งขันได้

“จากผลกระทบดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ จึงส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น ส่งเสริม

 เกษตรอินทรีย์และการผลิตที่เน้นความปลอดภัยในสินค้า มีคุณภาพและมาตรฐาน สร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างอำนาจต่อรองในด้านต่างๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีต้นทุนต่ำลงผ่านสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร”นายธีรภัทร กล่าว

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

ห่วง"ภัยแล้ง"ฉุดพืชเกษตรตก กกร.จ่อประเมินเศรษฐกิจปี59

ธปท.ชี้เศรษฐกิจโลกปีหน้ายังผันผวน แต่ของไทยเริ่มได้แรงส่งจากภาครัฐลงทุน ภาคเอกชนห่วงภัยแล้งฉุดสินค้าเกษตรตกต่ำ เผยประชุม กกร.เล็งประเมินตัวเลขจีดีพีปี 59 อีกครั้ง

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายในงานสัมมนา "ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2559" ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลก มีทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน เนื่องจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมหลัก มีแตกต่างกัน โดยเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งจะสร้างความผันผวนต่อตลาดการเงินอีกระยะหนึ่ง ส่วนเศรษฐกิจจีนยังมีความเสี่ยงในหลายด้านที่ต้องติดตามใกล้ชิด

สำหรับเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นแรงส่งจากปัจจัยภายในประเทศ จากการดำเนินนโยบายจากภาครัฐบาลเพิ่มมากขึ้น มาตรการการคลังต่างๆ ที่ออกมาเพื่อมาเยียวยาเบื้องต้น กระตุ้นเศรษฐกิจในต้นปีหน้า โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐ ถ้าเป็นไปได้ตามเป้าหมาย จะทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวอาจจะมีการชะลอตัวในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แต่เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเป็นแรงส่งให้กับเศรษฐกิจ เชื่อว่าในปลายนี้และในต้นปีหน้าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2559 เชื่อว่าจะมีอัตราเติบโตมากกว่าปี 2558 โดยมีปัจจัยบวกจากการที่ภาครัฐมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนอื่นๆ

ส่วนปัจจัยลบเป็นห่วงว่าปัญหาภัยแล้งในปีหน้าจะเป็นปัญหาหลักที่จะทำให้ราคาสินค้าทางเกษตรได้รับผลกระทบ ขณะที่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เชื่อว่าจะทำให้ไทยเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย กล่าวว่า ในปี 2559 เศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง แต่ยังคงมีปัจจัยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะนโยบายภาครัฐจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ฟื้นตัวอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะมีการประชุมในเดือน ธ.ค.นี้ ซึ่งจะมีการประเมินเศรษฐกิจในปี 2559 ที่จะค่อยๆ ดีขึ้น จากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ลงสู่ระบบ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นดีขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตสูงกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 2.5-3%.

จาก http://www.thaipost.net   วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

น้ำตาล KTIS สร้างนักคิดให้ไปสร้างนวัตกรรม

เคทิส (KTIS) ประกาศตัวเป็นเจ้าแห่งทฤษฎีไคเซ็นยุคใหม่ด้วยผลงานการพัฒนาถึง 7,000 เรื่องในช่วง 3 ปี เจริญรอยตามเจ้าตำรับโตโยต้าที่ริเริ่มทฤษฎีนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว สามารถกระตุกต่อมคิดของบุคลากรภายในองค์กรได้มากถึง 20 ล้านไอเดีย ทั้งนี้ ไคเซ็น (Kaizen) กำลังได้รับความนิยมในองค์กรชั้นนำทั่วโลก คือการใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อย แต่ก่อให้เกิดการปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยที่ค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 กลุ่มบริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เคทิส จัดการประกวดผลงานจากการวิจัยและพัฒนาภายในองค์กรต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 แต่ปีนี้มีความพิเศษคือเป็นครั้งแรกที่เผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานในเครือฯได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยการประยุกต์ใช้หรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เช่น ผลงานนวัตกรรมของปีก่อนๆ ผลงานไคเซ็นที่ได้รับคัดเลือกของแต่ละหน่วยงาน

 ผลงานนวัตกรรมชนะเลิศคือ Super Finance โปรแกรมด้านการบริหารจัดการ คิดค้นโดยฝ่ายการเงินของเคทิส ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดเอกสารต่างๆ และลดค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงิน โดยรวมแล้วช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปีละกว่า 12 ล้านบาท

 เคทิสมีบริษัทในเครือจำนวนมาก และเกี่ยวข้องกับการรับ-จ่ายเงินมากมาย ในแต่ละเดือนมีบัญชีที่เกี่ยวข้องกว่า 100 บัญชี หลังจากทีมงานได้ศึกษาแล้วก็นำไปหารือกับธนาคารที่ใช้บริการ พบว่า ธนาคารมีระบบเบื้องต้นที่จะพัฒนามารองรับกระบวนการใหม่นี้ได้ จึงได้ร่วมกันพัฒนาจนประสบความสำเร็จ

 ขณะที่ Cane Harvester นวัตกรรมจากทีมงานฝ่ายไร่ได้รับรางวัลอันดับ 2 ช่วยลดเวลาและแรงงานที่สูญเสียไปจากการที่ต้องหยุดทำงานของรถตัดอ้อย จากปัญหาเครือหญ้าติดเกลียวของรถตัดอ้อยได้วันละประมาณ 2 ชั่วโมง ช่วยให้ตัดอ้อยได้เพิ่มขึ้นประมาณ 50 ตันอ้อยต่อวัน

 ทีมผู้พัฒนาประสบปัญหาเครือหญ้า (ต้นหญ้าและรากหญ้า) มักติดพันเข้าไปที่เกลียวแบ่งอ้อย ทำให้ต้องหยุดตัดอ้อยเป็นระยะๆ เพื่อใช้แรงงานคนมากำจัดหญ้าให้พ้นไปจากเกลียวแบ่งอ้อย ครั้งละประมาณ 20 นาที โดย 1 วัน ต้องแก้ปัญหา 6 ครั้ง เสียเวลาไป 120 นาที เสียโอกาสตัดอ้อยไป 50 ตันต่อวัน จึงใช้การสังเกต ศึกษา ทดลอง กระทั่งพบวิธีป้องกันเครือหญ้าเข้าไปติดในเกลียวแบ่งอ้อย ด้วยการติดตั้งใบมีดที่มีรูปแบบและขนาดที่เหมาะสม โดยประยุกต์จากใบมีดสับท่อนอ้อย ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยหญ้าไม่เข้าไปพันกับเกลียวแบ่งอ้อยอีก

 ผลงานรางวัลอันดับ 3 ชื่อ Flex Guard เป็นนวัตกรรมด้านความปลอดภัย โดยบริษัท เอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด ในเครือ KTIS ที่ตระหนักถึงความเสี่ยงในการทำงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แรงดันสูง จึงค้นหาวิธีป้องกันอันตรายจากสายฉีดแรงดันสูง 1,000 บาร์ ในการฉีดทำความสะอาดท่อยาว และพบว่าจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมเพื่อเป็นตัวล็อกสายฉีด จึงได้ออกแบบแผ่นเหล็กที่สามารถล็อกสายและยึดติดกับท่อได้ มีค่าใช้จ่ายเพียงแผ่นละ 500 บาท แต่สามารถสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการล้างท่อขนาดเล็กและยาวได้เป็นอย่างดี ระยะเวลาการทำงานสั้นลงเนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนชุดหัวฉีดบ่อยๆ

 เคทิสตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมและ Kaizen เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาขับเคลื่อนและผลักดันงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์นำไปสู่การเติบโตขององค์กรเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับแนวหน้าของประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

“การประกวดนวัตกรรมนี้เราทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 แล้ว เน้นนวัตกรรมที่มีผลผลิตเป็นรูปธรรมในทุกสาขา เช่น ด้านอ้อย ด้านเครื่องจักรกล ด้านบริหารจัดการ และมีนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้วย โดยจะทำควบคู่ไปกับงานวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ กระบวนการการพัฒนานวัตกรรมอาจจะเกิดจากการระดมสมองธรรมดา หรือการพบเจอปัญหาในแต่ละวัน หรือผ่านกระบวนการไคเซ็นก็ได้” ประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเคทิส กล่าว

 ทั้งนี้ เป้าหมายขององค์กรคือ มีนวัตกรรมที่สามารถจดสิทธิบัตรเพิ่มอย่างน้อย 3 นวัตกรรมภายในปี 2559

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

เติมความสุข กับน้ำตาลมิตรผล ในแคมเปญ “Sweet Happiness ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข

           "น้ำตาลมิตรผล" ผู้เชี่ยวชาญทุกเรื่องความหวาน จัดงานเปิดตัวแคมเปญ "Sweet Happiness ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข" ตอกย้ำความหวานช่วยให้มีความสุขขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา พร้อมชวนผู้บริโภคร่วมเรียนรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำตาลและวิธีการเลือกประเภทน้ำตาลให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ โดยมีนางอัมพร กาญจนกำเนิด (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจ กลุ่มงานการผลิตและการตลาด กลุ่มมิตรผล และ นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล (ที่ 5 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานกลยุทธ์การตลาด กลุ่มมิตรผล ร่วมในงาน

          ภายในงานยังมี หมอเจี๊ยบ – ลลนา ก้องธรนินทร์ (ที่ 4 จากซ้าย) และ อุ้ม – นพรรต นพปศักดิ์ (ที่ 4 จากขวา) เน็ตไอดอลรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการทำอาหาร มาร่วมสนทนาในหัวข้อ "เคล็ดลับเติมความหวาน สร้างความสุข" อีกทั้ง 3 เชฟดัง เชฟหนุ่ม ธนินธร จันทรวรรณ – เชฟอาหารโมเดิร์นคูซีน เชฟฟิน สุภวดี ศิวพรพิทักษ์ – เชฟสาวสวยพิธีกรรายการครัวอินดี้ และโอ๊ค กรณัฐ ธรรมอำนวยสุข – Mixologist นักออกแบบเครื่องดื่มสุดเท่ จัดคุ้กกิ้งเวิร์คช็อป"Tasty Healthy หวานที่ใช่ในแบบคุณ" โชว์เมนูสุดเอ็กซ์คลูซีฟจากน้ำตาล 4 ประเภท ได้แก่ น้ำตาลมิตรผลโกลด์ น้ำตาลอ้อยธรรมชาติ น้ำตาลทรายแดง และน้ำตาลมิตรผลแคลอรี ที่รังสรรค์มาเพื่องานนี้ โดยมีเหล่าเซเลบรุ่นใหม่ร่วมงานคับคั่ง (จากซ้ายไปขวา) ได้แก่ ปวีณลักษณ์ ลิมปิชาติ / ญาณินท์ วีระไวทยะ / ธันยธร บุญสม / ณัฏฐิ์ประภา ชุณหะวัณ / ปณิตา ว่องกุศลกิจ และ กวิน ว่องกุศลกิจ ณ โรงแรม แอดลิบ แบงกอก เมื่อเร็ว ๆ นี้

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ASEAN Business Forum 2015 รวมพลพรรคอาเซียน เชื่อมโยงเศรษฐกิจยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันบนเวทีโลก

          สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA ผลักดันหลากหลายความคิดบนเวที ASEAN Business Forum 2015 "Creating Value through ASEAN Connectivity" สร้างคุณค่าจากการเชื่อมโยงถึงกันในอาเซียน เพื่อเตรียมก้าวสู่ประตูการค้าเสรีโดยมีประเด็นที่น่าสนใจ 10 เรื่อง ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน การจัดนิทรรศการและงานประชุมวิชาการ การเงิน การท่องเที่ยว รวมไปถึงการส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เติบโตในอาเซียน

          "จากนี้ไปอาเซียนจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นหนึ่งในประชาคมที่มีความโดดเด่นในภูมิภาค ร่วมกันทำงานเพื่อสร้างมูลค่าในอนาคต" วิสิฐ ตันติสุนทร ประธาน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยกล่าว

          ภายในงาน "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ASEAN Physical Connectivity: A key to regional integration (การเชื่อมโยงด้านกายภาพ : กุญแจสู่การรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของภูมิภาค) ว่า ภาพรวมอาเซียนกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจซบเซา ขณะที่ประเทศไทยเองก็ยังล้าหลังทางด้านระบบสาธารณูปโภค 20-30 ปี ดังนั้นจากนี้ไปไทยจะต้องเร่งสปีดตัวเองขึ้นมาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยกระทรวงคมนาคมกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาประเทศเพื่อให้เชื่อมโยงกับอาเซียน

          แบ่งเป็น 5 ส่วนหลักๆ คือ 1. เส้นทางเชื่อมโยงหรือถนนเศรษฐกิจ (Economic Corridors) รวมถึงการเชื่อมโยงทางน้ำและอากาศ พร้อมกับกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) เพื่อขยายโอกาสให้ไทยได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากเส้นทางเหล่านี้มากขึ้น สามารถหลุดจากกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง(Middle Income Trap Country) ได้ในที่สุด 2. การจัดกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Cluster) แบ่งตามเขต เพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรทรัพยากร และส่งเสริมการลงทุน 3. สร้างแรงจูงใจ (Incentive) นักลงทุนต่างชาติ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม 4. การผ่อนคลายกฎระเบียบ (Rules and regulations) ยกเลิกหรือผ่อนคลายกฎระเบียบด้านภาษีสินค้าและศุลกากร ถ้าสามารถทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันจะเรียกได้ว่ามีการรวมตัวเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกันอย่างแท้จริง และ 5. สร้างคนเตรียมความพร้อม ทั้งบุคลากรและผู้ประกอบการที่มีทักษะสากล สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศที่เข้าไปลงทุน

          ในด้านการเชื่อมโยงด้านกายภาพ นายยาสุชิ เนกิชิ, Country Director for Thailand, ADB กล่าวว่า โครงการเส้นทางเศรษฐกิจแม่น้ำโขงของ ADB จะช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและด้านพลังงานของภูมิภาค และเมื่อมองภาพรวมอาเซียน ยังมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก โดยประเมินจากอันดับความสามารถในการแข่งขันของ World Economic Forum ที่ชี้ชัดว่า สิงคโปร์และมาเลเซียนำมาอันดับต้นๆ ตามด้วยไทยและอินโดนีเซีย ขณะที่เมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา อยู่ในลำดับรั้งท้าย ดังนั้นควรจะมีต้องการสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อจะได้เติบโตไปด้วยกัน

          นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการ SCG Logistics Management กล่าวว่า การย้ายฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง ไม่ใช่แค่การเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical Connectivity) เท่านั้น แต่คือการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะมีโรงงานหรือกิจการที่ตั้งระหว่างเมืองต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อเส้นทางกัน ดังนั้น ประเด็นที่สำคัญคือ จะสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันการนำเข้าและส่งออกก็จำเป็นต้องอาศัยมุมมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกมิติ

          ศาสตราจารย์ยาสุฮิโร ยามาดะ Special Assistant to the President of ERIA and CLMV Issues, Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) กล่าวว่า ญี่ปุ่นยังคงมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แต่จากปัญหาค่าแรงแพง ทำให้จำเป็นต้องพิจารณาหลายปัจจัยเพิ่มขึ้น จากมุมมองภายนอก เช่น การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตรถยนต์ไปประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่าอย่างกัมพูชา ก็เพื่อรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ให้ได้

          ในด้านของคุณค่ารวม ฯพณฯ ท่าน ลี บุญคำ Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary, Embassy of the Lao People's Democratic Republic in Thailand กล่าวว่า 5 ปีมานี้ประเทศลาวจัดทำแผนแม่บทการเชื่อมต่ออาเซียน และลงมือทำหลายอย่าง เพื่อให้การเดินหน้าสู่เออีซีสะดุดน้อยที่สุด รวมถึงก้าวผ่านอุปสรรคการดำเนินโครงการสำคัญๆ กว่า 20 เรื่อง แผนกลยุทธ์ 30 ประการ และดำเนินมาตรการหลายอย่างให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

          โดยหลังจากนี้ ลาวเริ่มมองข้ามไปถึงวิสัยทัศน์หลังปี 2015 การมองหาแหล่งเงินทุน สร้างโครงข่ายเชื่อมต่อกันไปเป็นเรื่องๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ระหว่างนี้ทางภาครัฐก็มุ่งให้การศึกษากับประชาชน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในแผนกลยุทธ์อาเซียน และมองว่าการเชื่อมต่อถึงกันทั้งอาเซียนไม่ใช่แค่ความหวัง แต่เป็นความจริงและเป็นอนาคตที่รออยู่

          นายสุริยา จินดาวงศ์ Deputy Director-General of the Department of ASEAN, Affairs Ministry of Foreign Affairs, Thailand กล่าวว่า อาเซียนไม่ควรใช้วีซ่า แต่ก็ไม่ควรละเว้นข้อบังคับในการขอวีซ่า ขณะนี้ทุกประเทศกำลังเดินหน้าไปสู่ภาวะไร้วีซ่า ที่ผ่านมาอาเซียนแสดงตัวตนชัดเจนว่า บรรลุผลลัพธ์หลายอย่าง แต่ก็ยังต้องพิสูจน์ตัวเองในอีกหลายเดือนข้างหน้า หลังจากเปิดเออีซีอย่างเป็นทางการ จากนั้นก็เดินเข้าสู่วิสัยทัศน์ 2025 กลุ่มประเทศอาเซียนที่มีประชากรเป็นศูนย์กลาง และไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลัง

          ฯ พณ ฯ ท่าน ดาโต๊ะ นาซีร่า บินติ ฮัซเซน Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary, Embassy of Malaysia in Thailand กล่าวว่า อาเซียนเดินหน้ามาไกลระดับหนึ่ง ในมุมมองเชิงบวก ถือเป็นความสำเร็จของทุกประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ในฐานะที่อาเซียนคืออนาคตที่อยู่ไม่ไกล

          ฯพณฯ ท่าน ลุตฟี่ รัฟ Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary and Permanent Representative of the Republic of Indonesia to ESCAP, Embassy of the Republic of Indonesia in Thailand กล่าวว่า ก่อนที่จะมีอาเซียน หลายประเทศเคยขัดแย้งกันมาก แต่หลังจากมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งมาจากการมององค์กรแบบอาเซียน ที่มีความหลากหลาย แต่สามารถพัฒนาตัวเองเป็นภูมิภาคที่ก้าวหน้าของโลก

          "อาเซียนเพิ่งเริ่มต้น ทำอย่างไรถึงจะบูรณาการสิ่งที่เราคิด ใส่เข้าไปในระบบ ภูมิภาคเรามีศักยภาพและก็มีโอกาสล้มเหลวได้ อาเซียนเรายังไม่เชื่อใจกันเพียงพอ เรายังมีปัญหาภายใน มีการแข่งขันภายในภูมิภาค ท่ามกลางความหลากหลาย ถ้าเราจัดการไม่ดี เราอาจจะทำอะไรผิดพลาดได้ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต"

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

เกษตรเปิดงานถ่ายทอดผลงานวิจัย นำเกษตรกรเดินหน้าฝ่าวิกฤติภัยแล้ง 

          จรัล พิบูลย์ปุญญโชติ/รายงาน

          กรมวิชาการเกษตรเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จัดงานถ่ายทอดผลงานวิจัยยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด "50 ปี เส้นทางวิจัย ผลงานก้าวไกล เกษตรไทยยั่งยืน" ตอบโจทย์ปัญหา ความต้องการเกษตรกรใช้ได้ผลจริงในไร่นา เพื่อนำพาเกษตรกร เดินหน้าฝ่าวิกฤติภัยแล้ง

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ที่ได้สร้างผลงานวิจัยและพัฒนาพืชไร่มาอย่างยาวนานถึง 50 ปี ตลอดระยะเวลาได้เผยแพร่ผลงานวิจัยไปสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ออกสู่เกษตรกรจำนวนมาก โดยเฉพาะ พันธุ์ถั่วเขียว 2 พันธุ์ พันธุ์อ้อย 18 พันธุ์ และพันธุ์ข้าวฟ่าง 4 พันธุ์ ทั้งยังมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยและประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อใช้ในไร่อ้อย จนได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติดีเด่น ประจำปี 2557 เรื่อง "เครื่องจักรกลในไร่อ้อยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยังยืน"

          กระทรวงเกษตรพิจารณาเห็นว่าศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี เป็นแหล่งวิชาการด้านการเกษตรที่สำคัญ ประกอบกับเกษตรกำลังเผชิญปัญหาปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรมีไม่เพียงพอกับการเพาะปลูก จึงได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรจัดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้และเกิดแนวคิดในการเพาะปลูกพืชต่างๆ นำพาเกษตรกรให้เดินหน้าฝ่าวิกฤติภัยแล้งไปให้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการระลึกถึงการจัดตั้งศูนย์ฯ แห่งนี้มาครบ 50 ปีด้วย งานดังกล่าวจัดในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ภายใต้แนวคิด "50 ปี เส้นทางวิจัย ผลงานก้าวไกล เกษตรไทยยั่งยืน" ซึ่งเป้าหมายของการจัดงานในครั้งนี้ คือ ให้เกษตรกรในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงสามารถนำความรู้ไปปรับใช้หรือใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับไร่นา เพื่อลดต้นทุนการผลิตและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชได้โดยเฉพาะการผลิตอ้อย เพื่อป้อนโรงงาน และพืชชนิดอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และพืชผัก ขณะเดียวกันยังได้เรียนรู้แนวทางการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อสร้างรายได้ในช่วงระยะเวลาที่ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤติภัยแล้งนี้ไปได้ดังที่กล่าวมาแล้ว

          ส่วนทางด้าน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภายในงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี นอกจากเกษตรกรจะได้เรียนรู้ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านพืช และเครื่องจักรกลการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรที่ประสพผลสำเร็จและใช้ได้จริงในระดับไร่นา รวมถึงแนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชแล้ว การปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้ง เป็นประเด็นหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมแผนช่วยเหลือสนับสนุนและมีทางออกให้เกษตรกร โดยได้มีการจัดแสดงนิทรรศการการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน และ พืชผัก เป็นต้น ทั้งยังมีนิทรรศการการปลูกพืชไร่หลังนา ซึ่งคาดว่า จะเป็นแนวทางช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง ทดแทนการทำนาปรัง โดยเฉพาะในพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา

          ปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา สมัครเข้าร่วมกิจกรรมสร้างรายได้จากพืชทดแทนนาปรัง ภายใต้โครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตรแล้ว จำนวน 155,183 คน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มีแผนเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่วเขียว เพื่อสนับสนุนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว

          ทั้งนี้ในปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศเป็นปีแห่งการลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการแข่งขันภาคเกษตร สำหรับกรมวิชาการเกษตรได้มีแผนเร่งนำผลงานวิจัยด้านพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมมาสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งด้านปัจจัยการผลิต การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การบริหารจัดการ และการตลาด เพื่อให้สินค้าเกษตรไทยสามารถแข่งขันได้ นอกจากนั้นกรมวิชาการเกษตรยังมุ่งสู่ความเป็นเลิศหรือเป็นหนึ่งทางการวิจัยด้านพืช และเครื่องจักรกลการเกษตรของประเทศ โดยเน้นให้นักวิจัยวางแผนและตั้งเป้าหมายวิจัยให้ชัดเจน ละต้องทราบถึงปัญหาที่เกษตรกรกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและตรงกับความต้องการของเกษตรกร ที่สำคัญยังมุ่งให้บริการข้อมูลทางวิชาการด้านพืชไปสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย

จาก http://www.banmuang.co.th  วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ปรับแผนศึกษาพัฒนาแหล่งน้ำ กรมชลมุ่งดึงประชาชนมีส่วนร่วม-เน้นครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำ

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่ากรมชลประทาน ได้ปรับแผนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ โดยพิจารณาจากสภาพและความรุนแรงของปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วมเป็นหลัก โดยจะทำการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำ ไม่เน้นว่า เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับศักยภาพของความเหมาะสมของพื้นที่ ตลอดจนราษฎรในพื้นที่มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ไม่มีการตั้งธงไว้ก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาถึงความจำเป็นว่า ควรจะดำเนินการโครงการไหนก่อนโครงการไหนทีหลัง ก่อนที่จะศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนต่อไป

อย่างไรก็ตามในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการนั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ด้วย เนื่องจากแหล่งเก็บกักน้ำที่เหลือส่วนใหญ่จะมีลักษณะทางภายภาพที่เหมาะสมอยู่ในตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า

“โครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำเป็นจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสม เพราะหากไม่ศึกษาแล้วก็จะไม่รู้ว่า จะวางรูปแบบการพัฒนาอย่างไร จะกระทบอะไร มากน้อยอย่างไร และเหมาะสมคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ หากศึกษาแล้วไม่เหมาะสมกรมชลประทานก็จะไม่ดำเนินการ แต่ถ้าพบว่ามีศักยภาพที่เหมาะสม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในวิสัยที่จะสามารถแก้ไขหรือบรรเทาได้ ถึงจะดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และขั้นตอนที่กำหนดไว้สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ” ดร.สมเกียรติกล่าว

สำหรับการศึกษาทั้งลุ่มน้ำนั้น ขณะนี้กรมชลประทานได้นำร่องดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบนตั้งแต่เหนือเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นไป ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพสามารถที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยการสร้างแหล่งเก็บน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำและฝายจำนวน 17 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง โดยมีโครงการเร่งด่วนและเหมาะสมที่จะดำเนินในระยะแรกจำนวน 4 โครงการคือ อ่างเก็บน้ำน้ำกิ อ่างเก็บน้ำน้ำกอน อ่างเก็บน้ำแม่ริม และฝายน้ำยาว เป็นต้น

ทั้งนี้การศึกษาความเหมาะสมครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำนี้ ควรจะเร่งขยายผลไปดำเนินการในทุกๆ ลุ่มน้ำ อาจจะดำเนินการทั้งลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำ หรือ ลุ่มน้ำสาขาที่มีอยู่ 254 ลุ่มน้ำก็ได้ โดยเฉพาะลุ่มน้ำที่ยังไม่มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพราะเมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในอนาคต จะได้สามารถหยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที และที่สำคัญจะทำให้รู้ว่า น้ำท่าในประเทศที่ไหลทิ้งปีละกว่า 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น อยู่ที่ลุ่มน้ำไหนบ้าง จะสามารถพัฒนานำมาใช้ประโยชน์ให้เพียงพอกับความต้องการได้หรือไม่ อย่างไร และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่จำเป็นเร่งด่วนมีโครงการอะไรบ้าง?

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558

เดินเครื่องสร้างบ่อจิ๋ว2หมื่นแห่ง พด.ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในปี’59ช่วยสางปัญหาแล้ง

กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ พร้อมดำเนินการสร้างบ่อจิ๋ว2 หมื่นบ่อตามความต้องการของเกษตรกรแล้วเสร็จภายในปี’59

นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า หลังจากการประชุมชี้แจงแนวทางการแก้ไข้ปัญหาภัยแล้งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีทั้งสิ้น 8 มาตรการ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้นำมาปรับเป็นแนวทางการทำงานของกรม ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 มาตรการ โดยมาตรการที่ 1 จะเป็นการส่งเสริมความรู้และปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

โดยมาตรการนี้กระทรวงเกษตรฯได้กำหนดแนวทางการทำงานว่า จะต้องดำเนินการแล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 ธันวาคมนี้ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้นำมาสร้างเป็น Road Map ในการขับเคลื่อน เบื้องต้นได้มีการเรียกหน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาที่ดินใน 22 จังหวัด มาทำความเข้าใจและข้อตกลง

ทั้งนี้มาตรการที่ 1 กรมพัฒนาที่ดินจะดำเนินการให้กับเกษตรกร “ทำปุ๋ยหมัก” ซึ่งมีเกษตรกรทั้งหมด 1,180 ราย เข้าร่วมโครงการ โดยจะได้ปุ๋ยหมักประมาณ 763 ตัน ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรได้มาลงทะเบียนกับกรมส่งเสริมไปบ้างแล้ว และในส่วนมาตรการที่2 ก็คือ “การผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.2”มีเกษตรกรที่เข้าร่วมทั้งหมด 2,975 ราย คาดว่าจะได้น้ำหมักประมาณ 5 แสนกว่าลิตร ในส่วนมาตรการที่ 3 คือการทำ “พืชปุ๋ยสด” มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 862 ราย มีเนื้อที่ประมาณ 7 พันกว่าไร่

โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นปอเทืองเป็นส่วนใหญ่ ในการปฏิบัติงานทั้ง 3 มาตรการนี้ กรมพัฒนาที่ดินได้เรียกเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมาทำความเข้าใจถึงหลักการและเหตุผลของการดำเนินการปฏิบัติงานนี้ เพื่อที่จะเข้าช่วยเหลือเกษตรกรอย่างรวดเร็ว ในส่วนมาตรการที่ 4 นั้นจะเป็นการเข้าไปช่วยเหลือ ด้านโครงการความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้งซึ่งกรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปให้ข้อมูลกับชุมชนเพื่อทำประชาพิจารณ์ ในความต้องการของชุมชนว่า ชุมชนต้องการอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพืช ประมง ปศุสัตว์ หรือ อื่นๆ ตามที่ชุมชนต้องการ

นอกจากนี้กรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปให้ความรู้ในเรื่องดินกับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะบอกกับเกษตรกรได้ว่าดินบริเวณนั้นมีความเหมาะสมในการปลูกพืชอะไรหรือพืชที่เกษตรกรต้องการจะปลูกพืชเหมาะสมหรือไม่

นายสุรเดชกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของโครงการบ่อจิ๋ว

ขณะนี้ได้วางเป้าหมายการทำงานในปี’59 แล้วว่า กรมพัฒนาที่ดินจะดำเนินการขุดบ่อจิ๋วตามคำร้องขอของเกษตรกร ซึ่งมีทั้งหมด 20,000 บ่อ ให้แล้วเสร็จในปี’59 และนอกจากนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องการเพิ่มเนื้อที่เก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด

ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้สั่งการไปทางสถานีต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งพบว่ามีความต้องการขุดบ่อเพิ่มขึ้นมาอีก 29,000 บ่อ โดยในส่วนนี้กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการส่งเรื่องให้กับกระทรวงเกษตรฯและเตรียมการดำเนินการต่อไป การสำรวจการขุดบ่อทั้งหมด 29,000 บ่อ ที่เกษตรกรส่งคำร้องเข้ามานั้น กรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่หรือหมอดิน เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อดูความเหมาะสมของดินว่าเป็นดินชนิดใด เป็นดินชนิดที่สามารถเก็บกักน้ำได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากดินไม่มีความเหมาะสม พื้นที่นั้นก็จะไม่สามารถดำเนินการขุดบ่อได้

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558

โลกการค้า : TPP กับผลกระทบที่จะเกิดกับไทย(1)

ภายหลังการบรรลุความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ “TPP” ของ 12 ประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้หลายภาคส่วนออกมาเสนอแนะความคิดเห็น ทั้งในแง่ผลดีและผลเสียจากการที่ประเทศไทยจะเข้าหรือไม่เข้าร่วมกลุ่ม TPP ในอนาคต

และขณะนี้สาระสำคัญของความตกลงฉบับเต็มได้มีการเผยแพร่ออกมาบ้างในบางประเทศสมาชิก ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศก็จะมีข้อกำหนดของตนเอง เพื่อปกป้องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้หากความตกลง TPP มีผลบังคับใช้ภายในปี 2559-2560

หากมองในแง่มุมของผลกระทบที่จะเกิดในกรณีที่ไทยเปิดการค้าเสรีกับกลุ่ม TPP ที่เห็นได้ชัดเจนคือ “ภาคเกษตรกรรม” ถ้าสุดท้ายแล้วไทยตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มจริง จะทำให้สินค้าเกษตรของผู้ประกอบการในประเทศได้รับผลกระทบ ในแง่ที่อาจจะต้องยอมเปิดตลาดให้กับประเทศสมาชิกมากขึ้นกว่าที่มีการเปิดอยู่แล้วในปัจจุบัน ที่ไทยมีข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับ 9 ประเทศสมาชิก TPP ยกเว้นกลุ่มการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Agreement : NAFTA) คือ สหรัฐ แคนาดา และเม็กซิโก ที่ไทยยังไม่มี FTA ด้วย...

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยยึดตามหลักการขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) โดยกำหนดเรื่องสินค้าที่จะต้องขออนุญาตการนำเข้า และมีโควตาการนำเข้า รวมถึงอัตราภาษี ซึ่งสินค้าเกษตรก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ

ดังนั้น การเข้าร่วมกลุ่ม TPP ก็จะทำให้ไทยถูกเรียกร้องจากประเทศสมาชิกให้เปิดรับสินค้าเหล่านี้มากขึ้น และจะมีผลต่อปริมาณสินค้าในประเทศที่จะมากขึ้นตามไปด้วย จนอาจเกิดปัญหาล้นตลาดและกลายเป็นตัวฉุดราคาสินค้าของไทยให้ตกต่ำลงได้...

ข้อกังวลเกี่ยวกับภาคเกษตรนี้ไม่ได้เกิดกับไทยเพียงเท่านั้น หากแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศสมาชิก TPP ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันจากการเปิดรับสินค้าเกษตรจากประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้น อาทิ ญี่ปุ่นที่ต้องลดภาษีนำเข้าเนื้อวัวลงเหลือ 9% ใน 16 ปี จากปัจจุบันอยู่ที่38.5% เช่นเดียวกับการนำเข้าเนื้อหมูที่ต้องถูกปรับลดภาษีด้วย ขณะที่ชาวนาญี่ปุ่นจะถูกข้าวของประเทศสมาชิกเข้ามาตีตลาด เพราะญี่ปุ่นจะต้องยกเว้นภาษีนำเข้าข้าวในสัดส่วนร้อยละ 1 ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่ เวียดนามก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน จากการที่จะต้องปรับลดภาษีนำเข้าเนื้อสัตว์ลง15-40%...

สิ่งที่ต้องมองอย่างรอบคอบ คือ หากไทยร่วมกลุ่ม TPPในอนาคตก็อาจถูกสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศผู้นำด้านการผลิตสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ ทั้งการผลิตหมูและไก่เนื้อที่เขามีความแข็งแรง และที่ผ่านมาก็มีความพยายามผลักดันสินค้าประเภทนี้เข้าไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงไทย อาจขอให้ไทยเปิดตลาดสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเกษตรกรผู้ผลิตในบ้านเราย่อมได้รับผลกระทบจากปริมาณสินค้าในตลาดที่มีมากเกินไป ส่งผลให้ราคาสินค้าลดลงจนไม่อาจแข่งขันได้ และต้องล้มละลายไปในที่สุด ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู-เลี้ยงไก่ ของเวียดนามและฟิลิปปินส์ จากการเปิดนำเข้าหมูและไก่จากสหรัฐ….!! ฉบับหน้ามาว่ากันต่อตอนจบ

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558

"KPSugar" ชูแบรนด์ตราช้อน เพิ่มผลผลิต 10 ล.ตัน ป้อนเออีซี

"KP Sugar Group" ทุนต่างชาติเพียงกลุ่มเดียวในอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย เตรียมขยายกำลังการผลิตรองรับเออีซี คาดปีนี้อ้อยเข้าโรงงานไม่ต่ำกว่า 3.9 ล้านตัน เตรียมโปรโมตน้ำตาล "ตราช้อน" ในกลุ่มอาเซียนให้มากขึ้น

นายฮิโรอากิ ไซกะ (Mr.Hiroaki Saiga) ประธานบริหารกลุ่ม KP Sugar ได้แก่ บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด และบริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด ภายใต้กลุ่มทุนมิตซุย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ตลาดน้ำตาลโลกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มีกำลังการผลิตที่เกินความต้องการตลาดโลก ทำให้ปีหน้าอินเดียจะปรับลดกำลังการผลิตลง ขณะที่บราซิลค่าเงินลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกไม่ดี มองว่าปีหน้าดีมานด์จะสูงขึ้น ขณะที่ในประเทศไทยความต้องการยังไม่เปลี่ยนแปลง

สำหรับ KP Sugar Group ปีที่ผ่านมามีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานทั้ง 2 แห่งรวม 3.9 ล้านตัน โดยปีนี้จะเริ่มเปิดหีบในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน คาดว่าจะมีเกษตรกรส่งอ้อยป้อนโรงงานราว 3,000 ราย คาดว่าปริมาณไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กำลังยื่นขอขยายกำลังการผลิตอ้อยจาก 12,000 ตัน เป็น 30,000 ตันต่อวัน ใน 2 โรงงานเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึง ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตันออกสู่ตลาด

"การช่วยเหลือเกษตรกรที่ผ่านมา บริษัทให้ความช่วยเหลือโดยการจ่ายเงินล่วงหน้าเครดิตปีต่อปี และอยากให้รัฐบาลให้การสนับสนุนชาวไร่ เช่น สนับสนุนให้ชาวไร่มีรถตัด เพราะเดี๋ยวนี้ขาดแคลนแรงงาน และพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรม เป็นต้น"

ปัจจุบัน KP Sugar Group มีสัดส่วนการขายในประเทศ 20% และส่งออกต่างประเทศ 80% แบ่งเป็นน้ำตาลดิบส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ส่วนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ส่งขายในกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้แบรนด์ตราช้อน โดยน้ำตาลตราช้อนปัจจุบันเป็นสินค้าอันดับ 1 ในตลาดญี่ปุ่น โดยปลายปีที่จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มที่จะโปรโมตน้ำตาลตราช้อนให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานีพบว่า สถิติการปลูกอ้อยในปี 2557 มีพื้นที่ 779,313 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10,237.77 กิโลกรัม/ไร่ โดย 3 อำเภอแรกที่มีปริมาณการปลูกสูงสุด คือ อ.ศรีธาตุ 113,163 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 9,571.75 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ อ.หนองแสง 105,177 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10,177.91 กิโลกรัมต่อไร่ และ อ.วังสามหมอ 101,981 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 9,656.25 กิโลกรัมต่อไร่

โดยในปีเพาะปลูกตุลาคม 2556 (เข้าโรงงาน 2557/2558) จังหวัดอุดรธานีมีโรงงานน้ำตาลจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด กำลังการผลิต 1.7 ล้านตัน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2557/2558 จำนวน 1,781,444.52 ตัน บริษัท น้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด กำลังการผลิต 2 ล้านตัน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2557/2558 จำนวน 1,624,837.46 ตัน บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด กำลังการผลิต 1.8 ล้านตัน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2557/2558 จำนวน 2,020,060.33 ตัน และบริษัท ไทยอุดรธานี จำกัด กำลังการผลิต 2.4 ล้านตัน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2557/2558 จำนวน 1,840,129.91 ตัน รวมทั้งสิ้นกำลังการผลิต 7.9 ล้านตัน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2557/2558 จำนวนทั้งสิ้น 7,266,474.22 ตัน ราคาขาย 1,152 บาทต่อตัน

จาก www.prachachat.net   วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ม.ขอนแก่นร่วม สอน.ต่อยอดงานวิจัยอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ (สอน.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ม.ขอนแก่นจับมือสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย เผยไทยยังคงครองอันดับ 1 ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายในเอเชีย ระบุการผลิตอ้อยของไทยกว่าครึ่งอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน เร่งพัฒนาสายพันธุ์ทนต่อสภาพอากาศโดยรวมของไทย

               วันนี้ (11 พ.ย. 58) ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) พร้อมด้วย รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สอน. กับ มข.ท่ามกลางสักขีพยาน ซึ่งประกอบด้วย นายกสมาคมชาวไร่อ้อย 16 สมาคมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมในพิธีลงนามกว่า 100 คน

               นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า การลงนามดังกล่าวภายใต้กรอบระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปีจะเน้นหนักเรื่องความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย สร้างบุคลากรในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย การสนับสนุนด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ

               ภาพรวมทั้งประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลรวมกว่า 50 แห่ง แต่ละแห่งมีกำลังการผลิตมากถึงหนึ่งหมื่นตันต่อวัน ซึ่งฤดูการผลิตปี 2557/2558 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 1 ล้านไร่ ผลิตอ้อยได้ 106 ล้านต้น ในจำนวนนี้นำไปผลิตเป็นน้ำตาลสูงได้ถึง 11.3 ล้านตัน และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มตามกำลังผลิตในประเทศ 2.5 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการส่งออกไปยังต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ไทยมากถึง 180,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา

               มูลค่าการส่งออกอ้อยและน้ำตาลของไทย ไทยยังคงอยู่อันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศบราซิล การลงนามในข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นการต่อยอดแนวทางพัฒนาในรูปแบต่างๆ สร้างมูลค่าทางการค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติก่อสร้างโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นอีก 12 แห่งและอยู่ระหว่างการยื่นขอจัดตั้งโรงงานอีกประมาณ 20 แห่ง หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนลงทุนของเอกชนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกอ้อยอีกมาก

               ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและน้ำตาลเพื่อดำรงความเป็นผู้นำประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของเอเชียและเป็นอันดับที่ 2 ของโลก เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

               ด้าน รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มข. กล่าวว่า ภาคอีสานมีโครงสร้างพื้นฐานภาคการเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะอ้อยมีกำลังผลิตมากถึงร้อยละ 44 ในภูมิภาค ในอนาคตจะมีโรงงานน้ำตาลเกิดขึ้นอีกมากจากที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน 19 โรงงาน ซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีบทบาทสำคัญเป็นแหล่งผลิตอ้อยและน้ำตาลที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเอเชีย และของโลก

               คาดว่าผลผลิตอ้อยและน้ำตาลมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประเทศที่ผลิตได้ในภาคอีสานจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจประเทศเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ตามกรอบความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยเฉพาะการวิจัยสายพันธุ์อ้อยที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและสภาพดินครอบคลุมทุกภูมิภาคของไทยอีกด้วย  

จาก http://www.manager.co.th   วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ภัยแล้งลามหนักงดทำนาปรัง4จว. จ่อตั้งคณะหาวิธีสูบน้ำก้นเขื่อน

ที่สำนักงานชลประทานที่13 จ.กาญจนบุรี นายณรงค์ ลีนานนท์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกองบัญชาการทหารราบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และผู้อำนวยการเขื่อน เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำ 4 จังหวัด คือกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร

นายณรงค์ กล่าวว่า สถานการณ์วิฤกติภัยแล้งต่อเนื่องกระทบปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ มีปริมาณน้ำจำกัดโดยรวมกันแล้วมีน้ำใช้การได้ 4.7 พันล้านลบ.ม. มีแผนการใช้น้ำช่วงวันที่1 ม.ค.59- วันที่ 30 มิ.ย.59 ซึ่งมีปริมาณน้ำใกล้เคียงกับปี57 ในช่วงเวลาเดียวกัน จึงต้องงดส่งน้ำทำนาปรัง และให้ขอความร่วมมือเกษตรกร ปรับเปลี่ยนปลูกพืชใช้น้ำน้อย แทนการทำนา และงดการทำบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา โดยจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 300 ล้านลบ.ม. การผลักดันน้ำเค็ม 1.7 พันล้านลบ.ม. และสนับสนุนการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเช่น อ้อย พืชผัก ไม้ประดับ ประมาณ 950 ล้านลบ.ม.เท่านั้น ส่วนที่เหลือสำรองไว้ทำนาปีในช่วงต้นฤดูฝนอีกประมาณ 1.7 พันล้านลบ.ม. ถ้าถานการณ์น้ำน้อยยังต่อเนื่องไปถึงปี60 จะลำบากกันมากขึ้น เพราะแนวโน้มสภาพภูมิอากาศ กระทบสภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนติดลบทุกปี

นายณรงค์ กล่าวต่อว่า ภัยแล้งเกิดขึ้นทั้งสองลุ่ม คือลุ่มเจ้าพระยา และลุ่มแม่กลอง มีน้ำน้อยครั้งที่สองในรอบ 50 ปี ทำให้ผันน้ำมาช่วยพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาไม่ได้ รัฐบาลตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจวิฤกติภัยแล้งปี58/59 ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้าใจเกษตรกร และทุกภาคส่วน หากเกษตรกรไม่เชื่อฟังสูบน้ำไปใช้ในการเกษตร เกิดปัญหาน้ำเค็ม รุกเข้ามาทำให้พืชผลเสียหาย รวมทั้งความเสี่ยงตลิ่งพัง ถนนทรุดตัวตามมา

​"ต้องขอความร่วมมือ จากทางทหาร เข้าชี้แจงชาวบ้านทุกพื้นที่ก็ทำให้แผนการใช้น้ำปี59 มีความสำเร็จขึ้น ผลกระทบลุ่มน้ำแม่กลอง มีปริมาณนาข้าว 1 ล้านไร่ ที่ต้องงดปลูก สำหรับที่มีปัญหาการใช้น้ำมาก คือบ่อกุ้ง บ่อปลา งดเลี้ยงเพื่อไม่ให้กระทบการใช้น้ำทั้งลุ่มน้ำ ถ้าเกิดน้ำเค็มจะกระทบภาพกว้าง"นายณรงค์ กล่าว

ด้าน พล.ต.อภิชาติ สุขแจ่ม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่17 กล่าวว่าได้เสนอแผนต่อคสช. ในการเตรียมมาตรการเชิงรุก มีกองกำลังปฎิบัติการประจำพื้นที่ ชี้แจงประชาชน และการเตรียมมาตการช่วยเหลือ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประชาขน และยุติปัญหาประขาชนอยู่ในพื้นที่อย่าไปเคลื่อนไหวที่ส่วนกลาง หรือกรุงเทพฯ ถ้าเกิดขึ้นอาจเกิดปัญหาประสิทธิภาพการทำงาน

 นายณรงค์ ยังกล่าวว่าห่วงปัญหาน้ำวิฤกติมากในช่วงเม.ย.ปี59 อาจเกิดปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าลำน้ำจึงต้องเข้มงวด ควบคุมให้ได้ผล ไม่ให้เกษตรกรดักสูบน้ำระหว่างทางได้ รวมทั้งได้มีมาตรการนำที่จะน้ำก้นเขื่อนมาใช้ได้บางส่วนในกรณีเกิดวิฤกติไม่มีน้ำกินจริงๆ โดยเฉพาะเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ มีน้ำระดับน้ำตายรวมกัน 13,277 ล้านลบ.ม. โดยมีคณะทำงานกำลังศึกษาวิธีที่เหมาะสมนำน้ำมาใช้โดยไม่กระทบความมั่นคงเขื่อน

นอกจากนี้ใน ปี57 ที่เคยเกิดปัญหาแย่งน้ำในพื้นที่ในส่วนท้ายน้ำ เช่นแม่น้ำสุพรรณ -อู่ทอง มีเกษรกรกร ดักสูบน้ำไปไถนากันมาก จนค่าความเค็มเกินมาตรฐานที่แม่น้ำท่าจีน กระทบสวนกล้วยไม้ ซึ่งในปีนี้เชื่อว่าไม่เกิดขึ้นอีก ได้ขอให้ฝ่ายทหารเข้าพื้นที่ทุกตำบลสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรด้วยไม่ให้สูบน้ำนอกกติกา

ต่อจากนั้นได้นำคณะสื่อมวลชนมาดูความคืบหน้ามาตรการเพิ่มรายได้ โดยจ้างแรงงานเกษตรกร  มีความสนใจเข้าร่วมมาก ที่โครงการส่วนน้ำและบำรุงรักษาบางเลน จ.นนทบุรี ด้วย

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

กอน.เคาะอ้อยขั้นต้น808บาทชงครม.ปลายพ.ย.นี้ชาวไร่ไม่พอใจขอที่กว่าพันบาทต่อตัน   

          กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นปีนี้มาแปลก ชงก่อน เคาะ 2 ราคาสัปดาห์นี้ให้เขต 5 จ.สุพรรณบุรี ที่ 773 บาทต่อตัน ที่เหลือทั่วประเทศใช้ราคา 808 บาทต่อตัน ก่อนเสนอครม.ปลายเดือนพ.ย.นี้ เหตุเพราะผลผลิตต่อไร่ต่ำ ขณะที่โรงงานน้ำตาลเผยยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่ชาวไร่ขอที่ 1,126 บาทต่อตัน ชี้ได้เห็นชาวไร่ประท้วงขอต้นทุนผลิตเพิ่ม เพราะยังมีกองทุนอ้อยฯคอยช่วยเหลืออยู่

          นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ภายใต้พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มีรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาได้มีการเปิดรับฟังความเห็นจากโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย เพื่อหาข้อสรุปราคาอ้อยขั้นต้นของฤดูการผลิตปี 2558/2559 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานในสัปดาห์นี้ และจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ก่อนที่จะมีการเริ่มเปิดหีบอ้อยในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558

          ทั้งนี้ จากการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า จะแบ่งราคาอ้อยออกเป็น 2 ราคา โดยในส่วนของราคาอ้อยขั้นต้นเขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี จะอยู่ที่  773 บาทต่อตันอ้อย และที่เหลือจะอยู่ที่ราคา 808 บาทต่อตัน โดยเป็นการคำนวณต้นทุนและจากราคาตลาดโลกที่มีการซื้อขายล่วงหน้าของน้ำตาลทรายดิบไปแล้ว 38% จากที่ผลิตได้ 8 แสนตัน ที่ราคากว่า 14 เซ็นต์ต่อปอนด์ ส่วนราคาอ้อยขั้นต้นจะเป็นไปตามนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับกอน.เป็นผู้พิจารณา

          ส่วนกรณีที่ต้องแบ่งอ้อยเป็น 2 ราคานั้น จากเดิมที่กำหนดราคาเดียวทั่วประเทศ เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่า ผลผลิตอ้อยของจังหวัดสุพรรณบุรี มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ผลิตน้ำตาลได้น้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ ซึ่งในที่ประชุมก็มีความเป็นห่วงว่า จะเกิดกรณีการแย่งอ้อยหรือส่งข้ามพื้นที่กันขึ้นมา แต่มองว่าปริมาณอ้อยมีไม่มากประมาณกว่า 4 แสนตัน เท่านั้นเมื่อเทียบกับปริมาณอ้อยที่เข้าหีบฤดูนี้ประมาณ 108 ล้านตันอ้อย หรือผลิต น้ำตาลได้กว่า 11.3 ล้านตัน และราคาที่แตกต่างกัน 35 บาทต่อตันอ้อย ไม่น่าจะมีผลให้มีการส่งอ้อยข้ามเขตกัน

          ส่วนกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายใหม่ แล้วนำเสนอให้ครม.พิจารณาก่อนที่จะเปิดฤดูหีบปี 2559/2560 นั้น ในส่วนนี้ขั้นตอนดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีก 1 ปี ถึงจะนำมาใช้กับโครงสร้างอ้อยและน้ำตาลทรายในฤดูปี 2560/2561 เนื่องจากเป็นเรื่องของการปรับปรุงข้อกฎหมายหรือการปรับปรุงพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายใหม่ ที่จะต้องเปิดให้นำผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมาคำนวณแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับชาวไร่อ้อยด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเอทานอล การผลิตไบโอเคมี ไบโอพลาสติก ไฟฟ้า รวมถึงยังไม่มีข้อสรุปว่าจะมีการกำหนดโควตาการผลิตน้ำตาลทรายต่อไปหรือไม่ หรือปล่อยให้มีการส่งออกนำเข้าน้ำตาลทรายอย่างเสรีหรือไม่ เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันในฤดูกาลหีบอ้อยที่จะถึงนี้ได้

          นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า จากราคาอ้อยขั้นต้นที่กำหนดออกมานั้น เป็นราคาที่ชาวไร่ยังไม่สามารถรับได้ เนื่องจากเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาที่ 983.06 บาทต่อตันอ้อย และเมื่อบวกค่าขนส่งถึงโรงงานอีก 143.60 บาทต่อตันอ้อย เท่ากับว่าต้นทุนจริงจะอยู่ที่ 1,126.66 บาทต่อตันอ้อย หรือตกไร่ละ 9,869.90 บาทต่อไร่ เมื่อเทียบกับผลผลิต 10.08 ตันต่อไร่

          โดยมองว่าเมื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายใหม่ ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันในฤดูหีบอ้อยที่จะมาถึงนี้ได้ จะทำให้ชาวไร่ออกมาเรียกร้องต้นทุนการผลิตอ้อยเหมือนกับทุกปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลยังมีกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย สามารถคอยช่วยเหลืออยู่ได้ จากฤดูที่ผ่านมามีการช่วยเหลือจากกองทุนแล้วไม่ต่ำกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท

          อย่างไรก็ตาม ราคาอ้อยขั้นต้นถือเป็นเงินที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้ชาวไร่ เพื่อใช้ไปเป็นเงินหมุนเวียนในช่วงแรกก่อน และหลังจากนั้นเมื่อผลิตน้ำตาลทรายและจำหน่ายได้ ก็จะมาคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะต้องไปดูว่าราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเป็นอย่างไร

จาก http://www.thansettakij.com วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดยิ่งใหญ่ถวายราชสดุดี “60ปี ฝนหลวงพระราชทาน

“กรมฝนหลวงและการบินเกษตร” เชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมถวายราชสดุดี “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ในโอกาสครบรอบ 60 ปีแห่งการกำเนิด “ฝนหลวงพระราชทาน” พร้อมผนึกกำลัง 20 หน่วยงานจัดนิทรรศการ “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน” พบกิจกรรมความรู้ด้านการทำเกษตรแบบประหยัดน้ำ สาธิตอาชีพเสริม มินิคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์โดย “สุชาติ ชวางกูร” รวมทั้งเลือกซื้อสินค้าจากเกษตรกรตัวจริง 12 - 15 พฤศจิกายนนี้ ที่อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า นับจากปีพุทธศักราช 2498 ที่พระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 15 จังหวัด   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชบันทึกไว้ใน “The Rainmaking Story” ถึงเหตุการณ์ทรงพบในวันที่ 14 พฤศจิกายนว่า

“ข้าพเจ้าแหงนดูท้องฟ้าและพบว่ามีเมฆเป็นจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น” และเกิดเป็นแนวพระราชดำริ “ฝนหลวง” เพื่อขจัดปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากของอาณาประชาราษฎรมาจนตราบถึงทุกวันนี้

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งแนวพระราชดำริ “ฝนหลวง” ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทุ่มเทพระสติปัญญา พระวรกาย และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อค้นหาวิธีการในการสร้างฝนเทียม ทรงคิดค้นวิธีการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง โดยมีหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับสนองพระราชประสงค์ในการค้นคว้าทดลองทำฝนหลวงตั้งแต่แรกเริ่ม ในชื่อ

“คณะปฏิบัติการฝนหลวง” รับพระราชทานวิธีการทำฝนหลวงมาปฏิบัติแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามการร้องขอของประชาชน ควบคู่ไปกับการพัฒนากรรมวิธีการทำฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

ซึ่งตลอดระยะเวลาแห่งการพัฒนาเทคนิคฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาติดตามผลปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ทรงประดิษฐ์คิดค้นพัฒนากรรมวิธีด้วยพระองค์เอง และพระราชทานคำแนะนำให้หน่วยงานฝนหลวงนำไปปฏิบัติจนสัมฤทธิ์ผลในการแก้ไขวิกฤตภัยแล้งได้ตลอดมา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ในโอกาสวันพระบิดาแห่งฝนหลวง วันที่ 14 พฤศจิกายนปีนี้ ซึ่งนับเป็นปีที่ 60 แห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดจัดงาน “60 ปี พระบิดาแห่งฝนหลวง 60 ปี พระเมตตาจากฟ้า” เพื่อถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระบิดาแห่งฝนหลวงขึ้น ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประสานศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยจะมีพิธีวางพานพุ่มถวายราชสดุดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน แต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป

นอกจากนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ รวม 20 หน่วยงาน จะร่วมกันจัดนิทรรศการเฉลิม  พระเกียรติ “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน” ภายใต้แนวคิด “60 ปี พระเมตตาจากฟ้า สู่ประชาของแผ่นดิน” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามิ่งมงคล 88 พรรษา 5 ธันวาคม และในวาระโครงการฝนหลวงพระราชทานมีอายุครบ 60 ปี ระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน ตั้งแต่ 07.00 – 18.00 น. โดยภายในงานจะมีการจัดกิจกรรมคู่ขนาน เช่น ให้ความรู้ทำเกษตรแบบง่ายคุณทำได้ การสาธิตสร้างอาชีพเสริม กิจกรรมบันเทิงรื่นรมย์อารมณ์ดี และการออกร้านจำหน่ายสินค้าของกลุ่มเกษตรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกว่า 150 ร้านค้าในราคาจากเกษตรกรถึงผู้บริโภค

“การจัดงานวันพระบิดาแห่งฝนหลวงในปีนี้ ถือเป็นโอกาสดีของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่จะมีโอกาสร่วมถวายราชสดุดีและชื่นชมพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ยกย่องและชื่นชมของนานาประเทศทั่วโลก นอกเหนือจากนี้ยังได้พบกับกิจกรรมมากมายทั้งความรู้ด้านการทำเกษตรแบบประหยัดน้ำ การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า การสาธิตอาชีพเสริมด้านอาหารและการแปรรูปสมุนไพรเพื่อสุขภาพ มินิคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์โดย สุชาติ ชวางกูร และเงาเสียงศิลปินดังที่ผลัดเปลี่ยนกันมาให้ความบันเทิงทุกวัน รวมถึงการเลือกซื้อสินค้าที่นำมาจำหน่ายโดยเกษตรกรตัวจริง จึงอยากขอเชิญชวนประชาชนทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานในระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายนนี้ ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่  ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น” อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าว

จาก http://www.banmuang.co.th   วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ถ่ายทอดงานวิชาการสู่เกษตรกร

นายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาเกษตรกร ระหว่างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันก่อนว่า ตามที่พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน โดยได้เน้น 4 หลักการในการช่วยลดต้นทุน ได้แก่ ลดปัจจัยการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพิ่มการบริหารจัดการ และวางแผนเพิ่มช่องทางการตลาดสิ่งที่สำคัญ คือ จะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน

โดยกระทรวงเกษตรฯ จะสนับสนุนการวิจัยและจัดโซนนิ่งให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก และดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสมรวมทั้งการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งสอดคล้องกับการลงนามในบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการศึกษาวิจัย การพัฒนา การส่งเสริมการฝึกอบรมทางด้านเกษตร เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และพนักงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพร้อมสร้างโอกาสการเรียนรู้ทางด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป และการตลาดของสินค้าทางการเกษตร และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจร ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

“ความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน นับเป็นภารกิจที่สำคัญในการประสานความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพด้านการเกษตรของประเทศ ซึ่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีเกษตรกรสมาชิกที่อยู่ในความดูแลประมาณ 5.7 ล้านคน ที่กำลังรอคอยการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมความรู้จากภาครัฐ โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยเน้นให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบครบวงจรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นายอำนวย กล่าว

ทางด้านนายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานฯ จะกำหนดให้หน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแล เข้ามามีส่วนร่วม สนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ของเกษตรกร

 รวมทั้งการให้การสนับสนุนข้อมูล เอกสาร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้และร่วมสร้างฐานองค์ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและพนักงานของสำนักงาน ภายใต้การให้คำแนะนำของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการศึกษา วิจัย การถ่ายทอดความรู้ การพัฒนาทางด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิตการแปรรูป การตลาด และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเกษตรทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณตามกิจกรรมที่จะดำเนินการ.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

ครม.ยินยอมยืดหยุ่นผังเมือง ช่วยปลดล็อกข้อจำกัดห้ามตั้งโรงงานบาง

          นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในกระทรวงมหาดไทยยกเลิกบัญชีกำหนดประเภทจำพวก โรงงานท้ายกฏกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองรวมเมืองชุมชนและจัดทำข้อกำหนดใหม่ที่มีลักษณะยืดหยุ่น เพื่อสามารถรองรับนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจ และเพื่อให้ยืดหยุ่นต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องพัฒนาในแต่ละพื้นที่ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมนำเสนอ

          "การมีบัญชีกำหนดประเภทจำพวกโรงงานท้ายกฏกระทรวงทำให้อุตสาหกรรมบางกิจการไม่สามารถตั้งโรงงานได้เพราะไม่อยู่ในรายชื่อบัญชีนั้น เช่น โรงงานเกษตรแปรรูป หรือกิจการพลังงานทดแทน โดยการยกเลิกบัญชีดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนมากขึ้น"

          นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการแก้ไขกฏหมายผังเมืองเพื่อปรับแก้ไขการจัดทำผังเมืองเพื่อปรับแก้ไขการจัดทำผังเมืองของพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศใหม่ ยกตัวอย่างเช่นพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดที่มีการสำรวจและพบว่ามีความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในการจัดตั้งโรงงานในพื้นที่ 35,000 ไร่ แต่ผังเมืองจำกัดพื้นที่ให้กับภาคอุตสาหกรรมเพียง 20,000 ไร่ ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมพลังงานไม่สามารถลงทุนได้

          และ ครม.ขอให้กระทรวงมหาดไทยนำผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่อย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุนตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำรายงานการโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรมที่เหมาะสมในแต่จังหวัด รวมทั้งหมด 34 จังหวัด เพื่อนำไปประกอบการวางแผนและจัดทำผังเมืองและออกเป็นกฏหมายผังเมืองต่อไป โดยจะได้สอดคล้องนโยบายที่รัฐกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ทั้งเขตเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับรัฐกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ทั้งเขตเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับที่รัฐบาลจัดทำเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและอุตสาหกรรมด้านคลัสเตอร์

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

เยอรมนีจับมือ 7ชาติอาเซียน พัฒนาความปลอดภัยท่าเรือ

12 ท่าเรืออาเซียนจับมือหน่วยงานรัฐบาลเยอรมนี ยกระดับการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

โครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินงาน “เมืองการขนส่งและสิ่งแวดล้อม” ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานในเฟสที่ 2 (พ.ศ.2556 – 2558) โดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งมอบหมายให้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดำเนินโครงการร่วมกับสมาคมท่าเรืออาเซียนซึ่งปฏิบัติงานในนามของเลขาธิการอาเซียน

นางฟรังก้า สปรอง ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขนส่งทางทะเลและท่าเรือมีบทบาทสำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศและการขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม การกระจุกตัวของกิจกรรมเพื่อการขนส่งสินค้า และการปฏิบัติงานในเขตท่าเรือซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองหรือในเมืองก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเจ้าหน้าที่ท่าเรือและชุมชนโดยรอบ

“ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ท่าเรือต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 12 ท่าเรือจาก 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีความคืบหน้าในการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จากจุดเริ่มต้นที่ต่างกันไปทำให้ท่าเรือแต่ละแห่งได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน โครงการเน้นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยสำหรับเจ้าที่ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งที่ผ่านมา ท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาระบบการบันทึกอุบัติเหตุและมาตรการป้องกัน และได้นำมาใช้จริง ท่าเรือบางแห่งยังได้พัฒนาระบบการจัดการของเสียจากเรือขนส่งให้ได้มาตรฐานสากลด้วย”

นอกจากนี้ โครงการยังได้จัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือกว่า 1 พันคน โดยปรับเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐของแต่ละประเทศ และจัดตั้งเครือข่ายผู้ฝึกอบรมและศูนย์อบรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมการทำงานของท่าเรือต่างๆ ต่อไปหลังจากโครงการสิ้นสุดลงในปีหน้า

ด้านเรือโทชำนาญ ไชยฤทธิ์รองผู้อำนวยการ ท่าเรือกรุงเทพการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่าประเทศไทยมีท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการนี้ คือท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง และเนื่องจากไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานโครงการ ท่าเรือกรุงเทพจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือกันในภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของท่าเรืออีก 11 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ

จาก http://www.thansettakij.com  วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 

สภาเกษตรกรแห่งชาติ”เสนอตั้งคณะทำงานแก้ภัยแล้งระดับชาติ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยในงานสัมมนาแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2559 ว่า สภาเกษตรกรต้องเป็นสื่อกลางในการนำเสนอนโยบายถึงรัฐบาล ลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานราชการ ภาครัฐ และเกษตรกร ที่ผ่านมาสภาเกษตรกรได้ผลักดันในประเด็นยางพารา โดยสนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันแปรรูปยางพารา สร้างมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำยางพารา รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น แพะ แกะ หรือปลูกพืชอื่น เช่น กาแฟ ควบคู่ไปกับยางพารา เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

สำหรับปัญหาภัยแล้งในปีนี้ ทำให้หลายพื้นที่ไม่สามารถทำนาได้ จึงได้ขอความร่วมมือหน่วยงานราชการร่วมกับเกษตรกรแต่ละพื้นที่ หาแนวทางบรรเทาปัญหา อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว เกษตรกรในบางพื้นที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ให้เหมาะสมกับปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกปี เช่น อาจปรับเปลี่ยนไปเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่แทนการปลูกข้าว ทั้งนี้ ได้เสนอไปยังภาครัฐให้จัดตั้งคณะทำงานด้านภัยแล้งระดับชาติโดยเฉพาะ

นายประพัฒน์ กล่าวถึงโครงการจำนำยุ้งฉางของรัฐบาล ว่า หากสามารถดึงข้าวไว้ในมือชาวนาได้นานพอ จะช่วยให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้าวในมือชาวนาถูกปล่อยออกมาพร้อมกัน นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทำให้ข้าวที่ผลิตใหม่ได้ลดลง หากรัฐบาลบริหารข้าวในสต๊อกได้ดี ราคาข้าวก็จะสูงขึ้นได้

จาก  http://www.matichon.co.th  วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรมฝนหลวงฯเผยแผนสู้ภัยแล้งปี 59-เร่งซื้อเครื่องบินเล็กเพิ่ม 2 ลำ วงเงินกว่า 200 ล้านบาท

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เผยว่า กรมฝนหลวงฯได้จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงประจำปีงบประมาณ 2559 เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลักในพื้นที่ 77 จังหวัดตามแผนปฏิบัติการ  และยังมีแนวทางเตรียมการเปิดศูนย์ปฏิบัติการอีก 2 แห่ง ใน จ.พิษณุโลกและบุรีรัมย์ เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติการทั่วประเทศ  แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

-ระยะที่ 1 ช่วงเดือนตุลาคม 2558– กุมภาพันธ์ 2559 เป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่งปกติจะหยุดปฏิบัติการฝนหลวงประจำปีประมาณกลางเดือนตุลาคม เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม จากนั้นจะตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ที่สนามบินจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมที่จะเดินทางไปปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือตามการร้องขอของศูนย์ปฏิบัติ การฝนหลวงทั้ง   5 ศูนย์ ในช่วงที่มีสภาพอากาศเหมาะสม เป็นระยะสั้นๆ

-ระยะที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2559 เน้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและ ป่าไม้ โดยเริ่มจากบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์/มีนาคม และขยายพื้นที่ช่วยเหลือไปในบริเวณลุ่มน้ำและภาคอื่นๆ ตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น ข้าวนาปรัง ไม้ผล และไม้ยืนต้น

-ระยะที่ 3 ช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2559 เน้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้พื้นที่เกษตรกรรม ในช่วงเริ่มฤดูเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจประจำปีเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากฤดูฝนมาล่าช้ากว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงระหว่างฤดูเพาะปลูก

นอกจากนี้ยังได้กำหนดแผนในภาวะฉุกเฉิน เป็นแผนบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า เน้นเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2559 โดยปฏิบัติการฝนหลวงและดัดแปรสภาพอากาศเพื่อลดความหนาแน่นของหมอกควันรวม ทั้งการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้  และแผนการเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2559 เป็นการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสำรองไว้เป็นน้ำต้นทุนในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึงและ เพื่อสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติการไปจนถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม   

ทั้งนี้ นายเลอศักดิ์ยังเผยว่า  ขณะนี้มีแผนซื้อเครื่องบินขนาดเล็ก-กลาง เพิ่ม 2 ลำ วงเงินกว่า 200 ล้านบาท ด้วยวิธีการประกวดราคา เพื่อเฝ้าระวังปัญหาหมอกควันเเละพื้นที่ทำการเกษตร ที่ผ่านมา ตั้งเเต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม 2558 มีปฏิบัติการฝนหลวง 6,800 เที่ยว ปริมาณการใช้สาร 6,000 ตัน แม้ว่ายังเกิดภาวะเเล้งหนักจากน้ำต้นทุนที่ไม่เพียงพอแต่ก็เป็นที่น่าพอใจ

"ในวันที่ 12-15 พฤศจิกายนนี้ จะมีการจัดงาน "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป" นายเลอศักดิ์กล่าว

จาก  http://www.prachachat.net วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โฟกัสงานวิจัยภาคการเกษตรแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 

          ดลมนัส กาเจ

          หากดูตัวเลขของงบประมาณที่ใช้ในลักษณะบูรณาการ เรื่องการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ดูเหมือนว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะให้ความสำคัญด้านงานวิจัยมากที่สุดกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา โดยในปีนี้งบประมาณการวิจัยกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท หรือ 0.37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และเพิ่ม 0.43  ในปีถัดไป มีเป้าหมายของบประมาณด้านการวิจัยให้ได้ 1% ในปี 2562

          สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในภาคการเกษตรนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จะเป็นแม่งานหลัก อาทิ งานวิจัยข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อยและน้ำตาล ปาล์มน้ำมัน พืชสวน/พืชไร่ สัตว์เศรษฐกิจ พลาสติกชีวภาพ สมุนไพร เทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอีนวัตกรรมเพื่อชุมชน ที่เหลือเป็นงานด้านอื่น นอกจากนี้ยังมีโครงการท้าทายไทย เน้นในเรื่องของ อาหารและการเกษตร เช่น การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารไทยในเวทีโลก พลังงานและสิ่งแวดล้อม หวังที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์ในการผลิตพลังงานชีวภาพ และด้านคุณภาพชีวิตและสังคม เป็นต้น

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันภายหลังเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยภายใต้แนวคิด "50 ปี เส้นทางวิจัย ผลงานก้าวไกล เกษตรไทยยั่งยืน" ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญในงานด้านการวิจัยค่อนข้างมาก โดยในปีนี้มีงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศในภาพรวมกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท อย่างที่ไม่เคยมีในรัฐบาลไหนมาก่อน ดังนั้นได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ จะต้องส่งต่องานวิจัยไปให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้จริง

          ส่วนการจัดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรีในครั้งนี้ นับเป็นการแสดงผลงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง เนื่องจากตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 50 ปี ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ที่ได้สร้างผลงานวิจัยและพัฒนาด้านพืชไร่ ที่เผยแพร่ผลงานวิจัยไปสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ออกสู่เกษตรกรจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ถั่วเขียว 2 พันธุ์ พันธุ์อ้อย 18 พันธุ์ และพันธุ์ข้าวฟ่าง 4 พันธุ์ ทั้งยังมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยและประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อใช้ในไร่อ้อยอีกด้วย

          "ตอนนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดลงพื้นที่ติดตาม ช่วยเหลือ และสนับสนุนเกษตรกรในการนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีอยู่ทุกอำเภอจำนวน 882 ศูนย์ ซึ่งจะเป็นเครือข่ายที่ช่วยให้ความรู้และคำแนะนำแก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี" พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

          ด้าน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในงานเดียวกันว่า ปี 2559 กระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศเป็นปีแห่งการลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการแข่งขันภาคเกษตร สำหรับกรมวิชาการเกษตรมีแผนเร่งนำผลงานวิจัยด้านพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมมาสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งด้านปัจจัยการผลิต การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การบริหารจัดการ และการตลาด เพื่อให้สินค้าเกษตรไทยสามารถแข่งขันได้

          นอกจากนั้นกรมวิชาการเกษตรยังมุ่งสู่ความเป็นเลิศหรือเป็นหนึ่งทางการวิจัยด้านพืช และเครื่องจักรกลการเกษตรของประเทศ โดยเน้นให้นักวิจัยวางแผนและตั้งเป้าหมายวิจัยให้ชัดเจน และต้องทราบถึงปัญหาที่เกษตรกรกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและตรงกับความต้องการของเกษตรกร ที่สำคัญยังมุ่งให้บริการข้อมูลทางวิชาการด้านพืชไปสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย

          อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักวิชาการ อย่าง รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ผู้ซึ่งคลุกคลีและสนับสนุนงานวิจัยด้านการเกษตรจนสามารถนำผลงานวิจัยด้านการเกษตรที่ สวก.สนับสนุนงบประมาณ เข้าสู่ปฏิบัติจริงมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา มองว่า ที่ผ่านมาในทุกรัฐบาลล้วนแล้วแต่บอกว่าให้ความสำคัญกับเรื่องการวิจัยและยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ว่าในทางปฏิบัติแล้ว งบประมาณ การวิจัยก็ดูเหมือนไม่ได้ขยับขึ้นตามที่ควรจะเป็น

          ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเกิดปัญหาใหญ่ๆ ขึ้นมา ก็ไม่มีคำตอบสำหรับการแก้ไขปัญหานั้นๆ เพราะไม่มีการสร้างความรู้ดักรอล่วงหน้าไว้ก่อน ทำให้เสียงบประมาณจำนวนมากในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างกรณีปัญหาเรื่องกุ้งตายด่วน ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อเนื่อง แต่ในรัฐบาลนี้เป็นสิ่งที่น่าดีใจ ที่จัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยมากที่สุดเท่าที่มีมาคือ กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท จะทำให้งานวิจัยน่าจะขยับได้มากขึ้น

          "ปัญหาด้านการเกษตรของประเทศไทยในวันนี้ มีทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่และปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ สิ่งเหล่านี้ต้องตัดสินใจที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องมีข้อมูลหรือความรู้ที่ได้มาจากการค้นคว้าวิจัยมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ ซึ่งผมมองว่า ทิศทางการวิจัยภาคการเกษตรในระยะอันใกล้นี้ น่าจะครอบคลุม 3 ด้าน คือ การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าของสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิด อย่างที่สองคือ การเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาระยะปานกลางและระยะยาว และอย่างที่สาม สร้างทางเลือกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้ง 3 ด้านนี้น่าจะเป็นแนวทางหลักของการทำงานวิจัยด้านการเกษตร" รศ.ดร.พีรเดช กล่าว

          ถึงเวลาที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษาจะต้องทุ่มเทงานวิจัยภาคการเกษตร ที่เน้นในการนำไปสู่ภาคปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะแก้ปัญหาภาคการเกษตรได้อย่างแท้จริงและยั่งยืนในอนาคต

จาก  http://www.komchadluek.net  วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เท3หมื่นล้านอุ้มผู้ประสบภัยแล้ง 

          เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นายทองเปลว กองจันทร์ ผอ.สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ในฐานะ รอง ผอ.ส่วนอำนวยการของการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งระดับชาติ ปี 58/59 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักมีปริมาณล่าสุด 4,240 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งจะมีน้ำกินใช้เพียงพอถึงเดือน ก.ค. 59 และสำรองไว้อีก 1 พันล้านลบ.ม.ก่อนเข้าฤดูฝนปีหน้า อย่างไรก็ตามจากช่วงนี้ไปจะเริ่มการบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ต้องขอความร่วมมือการสูบน้ำของสถานีและการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 365 แห่งตลอดลุ่มน้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ 22 จังหวัด จะเป็นไปตามรายละเอียดที่แต่ละสถานีทำตัวเลขเสนอเข้ามาและเป็นไปตามที่ตกลงกันเพื่อป้องกันปัญหาการแย่งน้ำกัน

          นายทองเปลว กล่าวว่านอกจากนี้พบว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวต่อเนื่อง 1.5 ล้านไร่ ซึ่งมีอายุ 1 เดือนแล้วในส่วนนี้ยังมีปริมาณน้ำท่าและน้ำในพื้นที่เพียงพอหล่อเลี้ยงได้ แต่สำหรับข้าวนาปรังรุ่นสอง ที่เริ่มปลูกเมื่อ 1 พ.ย. พบว่ามีปริมาณ 195,171 ไร่ เท่านั้น ยังไม่มากถือว่ามาตรการชี้แจงทำความเข้าใจว่าน้ำไม่มีพอทำการเกษตร ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรในระดับหนึ่ง ทั้งนี้จากการที่รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ช่วงฤดูแล้ง ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท ทำให้งดปลูกข้าวนาปรังกันมาก ซึ่งขณะนี้จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการ ได้มีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 385,985 รายใน 22 จังหวัด โดยขอรับปัจจัยการผลิตปลูกพืชอื่น เช่น เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง 155,183 ราย วงเงิน 376 ล้านบาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 2,440 บาท ในด้านปศุสัตว์ 155,694 ราย เช่น สัตว์ปีก ไก่ เป็ด ครัวเรือนละ 18-20 ตัว และอาหารสัตว์ วงเงิน 442 ล้านบาท ครัวเรือนละ 2,860 บาท ด้านประมง 70,966 ราย สนับสนุนพันธุ์ปลาดุก กบ วงเงิน 171 ล้านบาท ครัวเรือนละ 2,400 บาท และด้านปรับปรุงดิน 41,555 ราย สนับสนุนพันธุ์พืชทำปุ๋ยพืชสด ทำปุ๋ยหมัก วงเงิน 9.41 ล้านบาท ครัวเรือนละ 2,050 บาท โดยเริ่มแจกจ่ายพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.เป็นต้นไป ในส่วนท้องถิ่นทุกจังหวัดเพื่อทดแทนการทำนาช่วงหน้าแล้ง พร้อมกับได้ดำเนินการมาตรการจ้างแรงงาน 31,964 รายต่อวันต่อแรง วงเงิน 786 ล้านบาท และยังมีการจัดสินค้าราคาถูกที่จำเป็นต่อการครองชีพ 400 ครั้ง จัดตั้งศูนย์สินค้าชุมชน 27 ศูนย์

          รายงานข่าวกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า สำหรับการสำรวจพื้นที่เพื่อรับทราบความต้องการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งทั้ง 8 มาตรการ จะมีการเสนอโครงการและวงเงินให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เช่น มาตรการที่ 4 กระทรวงมหาดไทยจะเสนอของบที่จะใช้ในโครงการที่ชุมชนต้องการวงเงินหลายหมื่นล้านบาท โดยผลสำรวจเบื้องต้นจากความต้องการของประชาชนในโครงการพัฒนาอาชีพความต้องการของหมู่บ้านและชุมชน ทั่วประเทศ 8,000 กว่าตำบล เพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง มียอดเสนอเข้ามา 38,000 โครงการเป็นวงเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติงบช่วยภัยแล้งไปแล้วกว่า 11,000 ล้านบาท โดยเป็นงบปกติกว่า 6,000 ล้านบาทและงบกลาง 4,000 กว่าล้านบาท โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับล่างทั่วประเทศช่วงปลายปีนี้และต้นปีหน้า เพื่อทดแทนการสูญเสียรายได้ด้านสินค้าเกษตร กระทบภัยแล้งยาวนานขึ้น และยังที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขวิกฤติภัยแล้งระดับชาติ จะประชุมระดับหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวง วันที่ 14 พ.ย.อีกครั้งเพื่อสรุปสถานการณ์ภัยแล้งทั่วประเทศ เข้ารายงานต่อที่ประชุม ครม.

จาก  http://www.dailynews.co.th  วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เกษตรฯหวั่นภัยแล้งลามตรวจเข้ม'ลักลอบสูบน้ำ

          เกษตรฯผวาวิกฤติภัยแล้งลาม สั่งกรมชลประทานตรวจสอบการสูบน้ำ อย่างเข้มข้น หลังพบน้ำหาย 1.2 ล้านลบ.ม. ใน 6 จังหวัดเหนือเขื่อนเจ้าพระยา หวั่นกระทบ อุปโภคบริโภคในพื้นที่ตอนล่าง ขณะเกษตรยังปลูกข้าวเพิ่ม 1.76 ล้านไร่ สวนทางนโยบายรัฐต้องการสนับสนุนปลูกพืชน้ำน้อย

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งกรมชลประทานตรวจสอบปัญหาการลักลอบสูบน้ำในหลายจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง หลังพบว่าปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาจาก เขื่อนหลักลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแผนการจัดสรรน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งที่คาดว่าจะมีความรุนแรงขึ้น

          ในปีนี้ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ เอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติและ คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในปีหน้า ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องบริการจัดการน้ำอย่างเข้มแข็ง

          ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามรณรงค์และ หามาตรการช่วยเหลือให้หันไปปลูกพืชใช้ น้ำน้อย แต่จากการตรวจสอบล่าสุดยังพบว่าพื้นที่ปลูกข้างยังไม่ลดลง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/2559 ครั้งที่ 3/2558 ว่า ได้ติดตามผลการใช้น้ำหลังจากที่เข้าสู่ฤดูกาลแล้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1-8 พ.ย. ที่ผ่านมา จากน้ำต้นทางใน 4 เขื่อนหลัก 4,240 ล้าน ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ได้มีการระบาย รวม 15.53 (วันที่ 9 พ.ย. ) จากเขื่อนภูมิพล 4.40 ล้าน ลบ.ม. สิริกิติ์ 8.47 ล้าน ลบ.ม. แควน้อยบำรุงแดน 1.04 ล้านลบ.ม. และป่าสักชลสิทธิ์ 1.62 ล้านลบ.ม. และมีน้ำไหล ลงเขื่อน รวม 15.46 ล้านน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการระบายออก

          พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่าจากการตรวจสอบปริมาณน้ำบริเวณเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท พบว่ามีน้ำหายไปตามเส้นทาง รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านลบ.ม. หรือประมาณ 14 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยพบว่ามีการสูบขึ้นไปใช้มากใน 6 จังหวัด คือ ตาก อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ และ กำแพงเพชร

          ดังนั้นจึงสั่งการให้กรมชลประทานเข้าไปตรวจสอบอย่างเข้มข้น รวมทั้งขอความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อบท.) เพื่อให้หยุดกระทำการสูบน้ำดังกล่าว และให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผน

          "น้ำที่มีอยู่ต้องกันเอาไว้เพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์เป้าหลัก การเกษตรสามารถใช้ได้ในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นการเข้าสำรวจพื้นที่ที่สูบน้ำไปใช้นั้นในเบื้องต้นอาจ มีความเป็นไปได้ที่ต้องการน้ำสำหรับข้าวกำลังตั้งท้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องดูตามความจำเป็นให้มองถึง ตรงนั้น และทุกฝ่ายควรคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก" พล.อ. ฉัตรชัย กล่าว

          ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ประกาศแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.-30 เม.ย. ของทุกปี โดยแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2558/59 ของ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 1 พ.ย. 2558 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นแผนการจัดสรรน้ำ มีน้ำใช้การได้จาก 4 เขื่อนใหญ่คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวม 4,247 ลบ.ม.

          ปริมาณดังกล่าว ได้จัดสรรการใช้น้ำรวม 2,900 ลบ.ม.  แบ่งเป็นการอุปโภค-บริโภค  1,100 ลบ.ม.  รักษาระบบนิเวศน์ 1,400 ลบ.ม. และคงเหลือเพื่อการเกษตรเพียง 400 ลบ.ม. ส่วนปริมาณน้ำอีก 1,347 ลบ.ม. จะต้องสำรองไว้ใช้ ในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. 2559

          ชี้พื้นที่ภาคกลางตอนล่างปลูกข้าวเพิ่ม

          พล.อ. ฉัตรชัย กล่าวว่า จากการรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่ากระบวนการสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรสามารถ ดำเนินการได้ดีมาก แต่ในช่วงที่ผ่านมา ยังพบว่า มีพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวม 1.76 ล้านไร่ ในพื้นที่จ.สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี มากที่สุด  ส่วนหนึ่งเพราะเกษตรกรเข้าใจขณะนี้ ยังมีฝนตกและน้ำขังอยู่ในนา จึงทำการปลูกข้าว ซึ่งในความจริงแล้วปริมาณน้ำเหล่านั้นยัง ไม่เพียงพอที่จะทำนาต่อไป เกษตรกรที่ยังฝืน ปลูกข้าวอีกครั้งจะต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเอง

          วอนทุกฝ่ายร่วมมือฝ่าวิกฤติภัยแล้ง

          "หากกรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ำให้ไปตามแผน ผมมั่นใจว่าจะรอดจากวิกฤติแล้งนี้ได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญมากที่สุด ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันไม่เพียงแต่ใช้น้ำตามแผนเท่านั้น แต่ต้องช่วยกันประหยัดน้ำด้วย ผมในฐานะประธานคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ก็ต้องทำให้ดีที่สุด และมีการติดตามอย่างใกล้ชิด" พล.อ. ฉัตรชัย กล่าว

          ส่วนการติดตามความคืบหน้ามาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร 8 มาตรการ ขณะนี้ พบว่า ในมาตรการที่ 1 ซึ่งมี 2 หน่วยงานเกี่ยวข้อง ดำเนินการ คือ กระทรวงเกษตรฯ ซึ่งได้ทำการสำรวจความต้องการของเกษตรกรในช่วงลด ค่าใช้จ่ายด้วยการจัดหาพืชทดแทน การทำปศุสัตว์และทำปุ๋ย เรียบร้อยแล้วทั้ง 22 จังหวัดเจ้าพระยา เพื่อเริ่มดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการจัดกิจกรรมธงฟ้าดำเนินการแล้วใน 7 จังหวัด 12 ครั้ง ในช่วงเดือน พ.ย.จะทำอีก 75 ครั้ง จากแผนทั้งหมด 400 ครั้ง การจำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน 27 ศูนย์ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 1 พ.ย. และการเชื่อมโยงตลาดและจัดการตลาด รองรับผลผลิตของเกษตรกรจะเริ่มดำเนินการ 1 ธ.ค.นี้

          มาตรการที่ 2 การลดปัญหาหนี้สิน เช่น ธ.ก.ส. มีมาตรการออกมาแล้วเช่นกัน อาทิ ปลอดการชำระเงินต้นเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ โดย ส.ป.ก. ก็มีมาตรการลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่า ที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก.เช่นกัน

          มาตรการที่ 3 การจ้างงานและเพิ่มรายได้เกษตรกร ซึ่งมี 3 หน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการจ้างงานของกรมชลประทานแล้ว 525,641 คน งบประมาณ 157 ล้านบาท ขณะที่การจ้างงานโดยกระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการโอนเงินให้จังหวัด 46 จังหวัดแล้วจำนวน 51.2 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจ้างแรงงานแล้ว 105 ล้าน

          มาตรการที่ 4 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลความต้องการของชุมชนโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ ซึ่งในระยะแรกที่จะ ส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยและ อาศัยความชื้นที่ได้ลงพื้นที่สำรวจมาตั้งแต่ 3 พ.ย. คาดว่าเกษตรกรและชุมชนจะได้รับ อนุมัติโครงการภายในวันที่ 13 ธ.ค. ส่วน ระยะที่ 2 จะเป็นการสำรวจกิจกรรมการเกษตร และนอกภาคเกษตรในพื้นที่ทั่วประเทศ จะดำเนินการสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 3 ธ.ค.58 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ อำนวยการเฉพาะกิจฯ พิจารณาก่อนเสนอเข้าครม.เห็นชอบ เพื่อโอนงบประมาณเบิกจ่ายได้แต่ตั้ง ก.พ. 2559 เป็นต้นไป

          มาตรการที่ 5 ความเข้าใจการใช้น้ำ ก็จะต้องดำเนินการเรื่องนี้ต่อเนื่องตลอด ระยะเวลาปัญหาภัยแล้ง มาตรการที่ 6 การ เพิ่มปริมาณต้นทุน ได้แก่ การปฏิบัติการฝนหลวง ในช่วงที่ผ่านมาดำเนินการแล้ว 688 เที่ยวบิน มีฝนตก 50 จังหวัด ส่วนบ่อบาดาลได้เร่งรัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เร่งดำเนินการสร้างบ่อบาดาล จำนวน 6500 ให้เสร็จก่อน ก.พ.2559 ขณะที่การทำฝายเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ โดยกระทรวงกลาโหม จะต้องแล้วเสร็จ ก.พ.2559

          อย่างไรก็ตาม ได้กำชับทุกหน่วยงานทำงานให้เกิดความรวดเร็ว เป็นไปตาม แผนงาน โดยกำหนดนัดหมายการประชุม ครั้งถัดไป 15 วันจากนี้ ขณะเดียวกัน ขอให้ ทุกหน่วยงานส่งข้อมูลความคืบหน้าการ ดำเนินงานในทุกมาตรการ เพื่อเชื่อมโยง ข้อมูลไปยังผู้ว่าราชการทุกจังหวัดติดตามกำกับดูแล

          เผยพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

          ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันกรมชลประทานได้ระบายน้ำตามแผน แต่ปรากฏว่าน้ำไหลผ่าน สถานีบางไทร 76 ลบ.ม.ต่อวินาทีซึ่งถือว่า น้อย โดยจากการตรวจพบว่ามีพื้นที่ตอนบน เขื่อนเจ้าพระยาใช้น้ำเกินแผนไป 14 ล้านลบ.ม. ต่อวินาที หรือจำนวน 1.2 ล้านลบ.ม.

          ดังนั้น การบริหารจัดการหลังจากนี้จะทำหนังสือขอความร่วมมือจากท้องถิ่น เพื่อลดการรับน้ำ หรือรับน้ำเป็นรอบเวร เพื่อทำให้น้ำถึงเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 14 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนให้ได้

          สำหรับพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ ที่มีการใช้น้ำมาก ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และพิจิตร สำหรับตาก กำแพงเพชรและนครสวรรค์ ขณะที่ข้อมูลพื้นที่ปลูกข้าวยังพบว่ามีการ ปลูกข้าวค่อนข้างมากแต่ต่อเนื่อง โดยพื้นที่ ปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องปลูกครั้งที่ 2 มีอยู่ประมาณ 1.76 ล้านไร่ มากสุดอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี อยุธยา และปทุมธานี ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวนาปีครั้งแรก 1.33 ล้านไร่

          นครราชสีมา-หวั่นแล้งซ้ำซาก

          คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ประชุมวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อการประปาอุตสาหกรรมในฤดูแล้ง ปี2558/2559 โดยมีด้วยตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำ จากลุ่มน้ำลำตะคอง พื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมือง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จำแนกเป็นอุตสาหกรรม จำนวน 23 แห่ง และการประปา 79 แห่ง ร่วมกันรับฟังการชี้แจงสถานการณ์น้ำดิบในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเพื่อร่วมพิจารณาแผนการบริหารจัดสรรน้ำให้ทุกภาคส่วนได้ใช้อย่างพอเพียง

          สถานการณ์ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำ ลำตะคอง พบปริมาณน้ำดิบ 112.660 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 35.82% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ไม่สามารถส่งน้ำช่วยเหลือด้านการปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานได้ มติที่ประชุมกำหนดให้สงวนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ โดยอัตราการระบายน้ำอยู่ที่วันละ 432,000 ลบ.ม. หรือเดือนละ 12.96 ล้านลบ.ม. อาจมีผลกระทบต่อกิจการประปาในเขต อ.เมืองได้

          ที่ประชุมยังกำหนดให้ทำการจัดสรรน้ำ 10 ล้าน ลบ.ม. ให้กับเกษตรกรเพื่อช่วยข้าวนาปีที่กำลังตั้งท้อง 97,520ไร่ ข้อกำหนด การส่งน้ำนั้นได้ให้การประปาเทศบาลนคร นครราชสีมา สูบน้ำโดยตรงจากอ่าง ฯ ลำตะคอง เพื่อลดการสูญเสียน้ำที่ส่งมาทางคลองธรรมชาติ อีกทั้งยังให้เพิ่มปริมาณการ สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี เข้ามาช่วยกิจการประปาซึ่งในส่วนนี้ ยังรอข้อสรุปจากการประชุม JMC ลำแชะอีกครั้ง

          นครพนม พื้นที่นาเสียหาย 3-4 พันไร่ สถานการณ์ภัยแล้งส่อวิกฤติรุนแรงขยายวงกว้าง หลังฝนทิ้งช่วงมาเดือนกว่า ทำให้ปริมาณน้ำตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ แห้งขอดส่งผลกระทบชาวบ้านที่รอเก็บเกี่ยว เริ่มขาดน้ำเหี่ยวแห้ง เมล็ดข้าวลีบ บางต้นยืนต้นตาย โดยเฉพาะพื้นที่ บ้านนางัว หมู่ 1,2 ต.นางัว อ.นาหว้า จ.นครพนม พื้นที่นาทั้งหมดกว่า 110,000 ไร่ คาดพื้นที่ 3,000-4,000ไร่ กำลังได้รับผลกระทบ อย่างหนัก จากปัญหาฝนทิ้งช่วง

จาก  http://www.bangkokbiznews.com    วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

‘ประยุทธ์’นำทัพประชุมเอเปก หารือความคืบหน้ากรอบค้าเสรีFTAAP

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 23ร่วมกับสมาชิกเอเปกอีก 20 เขตเศรษฐกิจ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งนี้สมาชิกเอเปกจะมีการหารือผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) เพื่อเปิดเสรีในกลุ่มต่างๆ ให้คืบหน้าโดยเร็ว

โดยเอเปกได้เริ่มหารือมาตั้งแต่ปี 2550 และขณะนี้สมาชิกเอเปกอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อต่อยอดความสำเร็จของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าเอเปกจะสามารถนำเสนอผลการศึกษาได้ภายในปี 2559 หากการเจรจาสำเร็จ จะทำให้FTAAP เป็นความตกลงการเปิดเสรีที่มีขอบเขตกว้างขวางและมีมาตรฐานสูงมาก ทั้งอาเซียน ประเทศคู่เจรจา รวมถึงจะมีการหารือเรื่องความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ด้วย

ในขณะเดียวกันการประชุมเอเปกครั้งนี้ ไทยมีแผนจะให้เอกเปกผลักดันSMEs เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดโลกอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลการค้า แหล่งเงินทุน เทคโนโลยี รวมถึงสนับสนุนให้ SMEs ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-commerce) ในการทำธุรกิจ ซึ่งข้อเสนอของไทยจะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งในข้อเสนอของฟิลิปปินส์เรื่องแผนปฏิบัติการโบราไคย์เพื่อนำวิสาหกิจรายย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง (MSMEs) เข้าไปมีส่วนร่วมในตลาดโลก อีกทั้งไทยได้อาสาทำการศึกษาเรื่องการนำ SMEs ในสาขาเกษตรเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตอาหารของโลก เพราะไทยมีความเชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าอุปสรรคสำคัญของ SMEs คือ การขาดองค์ความรู้ที่สำคัญที่จำเป็น การขาดความรู้เกี่ยวกับมาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้า ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่พอเพียงโดยไทยจะจัดทำการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจและสร้างเครือข่ายภายในอุตสาหกรรมดังกล่าวกับสมาชิกเอเปกในปี 2559

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แล้งส่อวิกฤติหนัก เหลือใช้ได้200วัน กปน.ลดปล่อยน้ำ 5ทุ่ม-ตี5เริ่มธ.ค.นี้

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน นายธนศักดิ์วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.)เปิดเผยว่า หากแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศเป็นไปตามกำหนด โดยมีน้ำใช้เพื่อการบริโภคอุปโภค และการจัดการสิ่งแวดล้อม งดทำนาปรัง โดยปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่วันละ 18-20 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน จากความจำเป็นใช้น้ำจริง7-8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เชื่อมั่นว่าประชาชนภาคกลางจะผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งร่วมกันไปได้ หากใช้เท่านี้ก็จะทำให้น้ำในเขื่อนเหลือใช้ได้ประมาณ200วัน

“จากปริมาณน้ำในเดือนพฤศจิกายน ทั้ง 4 เขื่อนใหญ่ มีปริมาณน้ำเหลือรวมกัน4,200 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปีที่แล้ว 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นปริมาณที่เหลือน้อยมากที่สุด นับจากปี2535หรือ ในรอบ 23 ปี ช่วงหลังต้องยอมรับว่ามีการทำนาปรังมากขึ้น หากขอความร่วมมือให้งดนาปรังได้ก็คาดว่าจะผ่านพ้นภัยแล้งไปได้”ผู้ว่า กปน. ย้ำ

นายธนศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับแผนบริหารน้ำของ กปน.เตรียมไว้แล้ว ภายใต้แผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยจะเริ่มลดระดับการปล่อยน้ำช่วงกลางคืน คาดประหยัดน้ำร้อยละ10 เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ช่วงเวลา 23.00-05.00น.จากการลดแรงดันน้ำ 7-8 เมตร เหลือ5-6 เมตร เพราะช่วงกลางคืนมีการใช้น้ำน้อย ก็จะลดการสูญเสียน้ำจากท่อรั่วซึม และอื่นๆได้และจะลดการใช้น้ำในการทำประปา จาก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร้อยละ10-20 มีการผันน้ำจากกลุ่มน้ำแม่กลองมาใช้ประมาณ 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในส่วนของประชาชน น่าจะหาถังสำรองน้ำเพื่อมีน้ำสำรองไว้ใช้เอง ก็เพื่อให้สะดวกสบายเท่านั้น แต่ไม่ควรแตกตื่น

ขณะเดียว คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการน้ำ ต่างมีการประชุมร่วมกันและใช้“ไลน์” ในการติดตามปัญหาน้ำ หากพบว่าช่วงใดมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะประสานร่วมกันขอความร่วมมือจัดการให้เป็นไปตามแผนจึงเชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดปัญหาน้ำขาดแคลนหรือน้ำกร่อยจนเกินค่ามาตรฐานสากลแต่อย่างใด

ทั้งนี้ สถาบันน้ำแห่งภูมิภาคเอเชียได้จัดสัมมนาและเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำระหว่างประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลี ญี่ปุ่น และอิสราเอลเข้าร่วม เพื่อแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อไทยและประเทศในเอเชียทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง

โดยผู้ว่าฯ กปน.ให้ความเห็นเสนอว่ารัฐบาลน่าจะหาแนวทางลดการปล่อยน้ำฝนลงทะเลที่ทุกปีจะมีประมาณ 200,000ล้านลูกบาศก์เมตร หากนำมาใช้ได้ประมาณ ร้อยละ10จะช่วยแก้ปัญหาได้มาก เหมือนในสิงคโปร์ที่สร้างประตูควบคุมช่องทำระบายน้ำ เพื่อไม่ปล่อยน้ำลงทะเลซึ่งในส่วนของไทย น่าจะหาทางสร้างประตูควบคุม ที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนรวมถึงสร้างแอ่งเก็บน้ำในจังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมเพื่อเก็บกักน้ำมาใช้ประโยชน์

สำหรับสถานการณ์ปริมาณน้ำ ระดับน้ำที่จุดวัดน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับน้ำเหนือ เขื่อนอยู่ที่14.00 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางซึ่งเป็นระดับที่เข้าสู่ภาวะวิกฤติของเขื่อนฯ ส่วนระดับระดับน้ำท้ายเขื่อน ทรงตัวอยู่ที่ 5.77เมตร ขณะนี้เขื่อนเจ้าพระยาปรับลดอัตราการระบายน้ำลงมาที่อยู่ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นายฎรงค์กร สมตน ผู้อำนวยการนักงานชลประทานที่12 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เผยว่า จากสถานการณ์น้ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบัน ได้เข้าสู่ระดับวิกฤติแล้ว ต้องช่วยกันประหยัดน้ำ

โดยเฉพาะเกษตรกรและผู้ใช้น้ำ ต้องขอความร่วมมืออย่างจริงจัง ไม่ลักลอบสูบน้ำในแม่น้ำเข้าพระยาเพราะจะยิ่งเป็นการซ้ำเติม สถานการณ์ภัยแล้ง ที่กำลังทวีความรุนแรงโดยเฉพาะจะกระทบกับน้ำกินน้ำใช้ที่อาจจะเหลือไม่เพียงพอถึงฤดูฝนปี2559 ซึ่งปัจจุบันตรวจสอบพบว่าระหว่างสถานีวัดน้ำนครสวรรค์มาถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ระยะทาง 92กิโลเมตรมีปริมาณน้ำหายไปมากถึง20เปอร์เซ็นต์

ด้าน นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ฤดูแล้งปี2558-2559 มีแนวโน้มจะรุนแรงและกินเวลายาวนานกว่า 7 เดือน ขอให้ประชาชนควรเตรียมตัวให้พร้อมในการสำรองน้ำกินน้ำใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความขาดแคลน โดยในชุนชนอาจจะช่วยกันกักเก็บในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือ ผู้ที่มีแหล่งน้ำเก็บกัก เช่น สระน้ำ หรือแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ ควรเริ่มสำรองน้ำไว้ เพื่อการอุปโภค บริโภคในฤดูแล้งด้วย อีกทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆที่ต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ในการผลิตน้ำประปา ควรมีแผนสำรองหาแหล่งน้ำดิบแหล่งที่ 2 หรือ 3ไว้ใช้ในกรณีแหล่งน้ำหลักแห้งขอดเพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ชาวนาเร่งทำนาก่อนขาดแคลนน้ำ กรมชลฯหวั่นไม่พออุปโภค-บริโภค

ชาวนาใน จ.อ่างทองหลายรายยังคงเร่งทำนา เพื่อหวังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันก่อนที่จะประสบปัญหาภัยแล้ง โดยทางชลประทานได้ลงพื้นที่พร้อมทำความเข้าใจกับชาวนาเรื่องน้ำต้นทุนในเขื่อนปีนี้เหลือน้อย ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ด้านทางเกษตรจังหวัดได้ประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางการช่วยเหลือจากทางรัฐบาลพร้อมแนะนำการปลูกพืชใช้น้ำน้อยและเลี้ยงสัตว์ สร้างรายได้ลดรายจ่ายในช่วงหน้าแล้งขาดแคลนน้ำทำนา

ด้าน นางรัชนก ทองโชติ อายุ 46 ปี ชาวนาหมู่ 3 ต.ศาลาแดง อ.เมือง จ.อ่างทอง เผยว่า ต้องเสี่ยงทำนาเช่าจำนวน 30 ไร่ หลังเห็นน้ำในคลองลำท่าแดงที่อยู่จำนวนมาก เป็นน้ำที่ค้างในทุ่งนาและทางชลประทานได้ปิดประตูระบายน้ำกักเก็บไว้ คาดว่าคงเพียงพอในการลงมือทำนาที่จะเก็บเกี่ยวได้อีกใน 4 เดือนข้างหน้า จำต้องสู้เสี่ยงทำ เนื่องจากเป็นชาวนาโดยกำเนิด และมีครอบครัวที่ต้องดูแล รายจ่ายค่าเทอมลูกที่กำลังเรียนหนังสือ

ทั้งนี้ นายปรีชา พันวา ชลประทาน จ.อ่างทอง ได้ฝากเตือนชาวนาว่า การทำนาในช่วงนี้มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากน้ำต้นทุนเหลือน้อย น้ำในแม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยาไม่เพียงพอในการทำนาและการเกษตร โดยจะใช้ได้เพียงอุปโภคและบริโภคเท่านั้น โดยแนะนำให้ชาวนามาสมัครงานกับทางชลประทาน ในการทำงานตัดหญ้าขุดลอกคูคลองเพื่อหารายได้ในช่วงหน้าแล้งไว้ดูแลครอบครัว และการปลูกพืชใช้น้ำน้อยพร้อมเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการลดรายจ่ายสร้างรายได้ในช่วงหน้าแล้งนี้ต่อไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ส่งออกอาหารทำเงิน9.5แสนล. สถาบันฯหนุน6กลุ่มดาวรุ่งบุกขยายตลาด

สถาบันอาหารประกาศหนุน 6 กลุ่มอาหารดาวรุ่งน้ำตาล เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรสนมและอาหารสุขภาพขยายตลาด คาดปี’59 ส่งออกอาหารทำเงินเข้าประเทศ 9.5 แสนล้านบาท เพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ค่าบาทอ่อนต้นทุนด้านขนส่งและการผลิตลด แต่ยังห่วงปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งกระทบสินค้าเกษตร ทำอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตลด

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสถาบันอาหารอย่างเป็นทางการภายหลังเข้ารับตำแหน่งว่า ปี 2559 นี้สถาบันได้คาดการณ์ 6 กลุ่มอาหาร ที่จะมีส่วนช่วยให้ยอดการส่งออกเติบโตได้ดี ประกอบด้วย1.น้ำตาล ที่คาดว่าราคาจะกลับมาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาน้ำตาลล้นตลาดลดลงจากปริมาณผลผลิตในตลาดลดเพราะปีนี้ราคาไม่จูงใจให้เกษตรกรเลือกเพาะปลูก 2.เนื้อสัตว์ ซึ่งไทยจะมีการส่งออกไก่ไปเกาหลีใต้ และไก่ที่ไทยส่งไปขายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3.เครื่องดื่มที่สามารถส่งไปขายใน 4 ประเทศซีแอลเอ็มวี คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น

4.เครื่องปรุงรส เพราะเป็นสินค้ามีเอกลักษณ์และมีการกระจายตลาดไปทั่วโลก 5.ผลิตภัณฑ์นมที่สามารถส่งไปขายในซีแอลเอ็มวีเพิ่มขึ้นเช่นกันเพราะเทคโนโลยีการผลิตของไทยเหนือกว่าและ 6.กลุ่มอาหารทางเลือก ทั้งอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ เพื่อเด็ก ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นแนวโน้มของโลกที่มูลค่าสูงมาก และไทยมีโอกาสเจาะตลาดนี้เพียงแต่ผู้ประกอบการต้องมีนวัตกรรม สร้างความแตกต่าง และต้องศึกษาตลาดเพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายจริงจัง

นอกจากนี้ในปี 2559 ยังมีกลุ่มอาหารที่คาดว่าการส่งออกจะทรงตัว 2 กลุ่ม คือ 1.อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้งที่แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นแต่ราคาตกต่ำ รวมทั้งผลจากการที่อินโดนีเซียยกเลิกสัมปทานการทำประมงในน่านน้ำ ทำให้วัตถุดิบของไทยลดลง และความไม่แน่นอนในประเด็นใบเหลืองจากอียูจนเป็นข่าวสร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมประมงและสินค้าประมงเป็นระยะ และ 2.ข้าว/ธัญพืช ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทำให้ผลผลิตข้าวชะลอตัว นอกจากนี้มีกลุ่มอาหารที่คาดว่าการส่งออกจะลดลง คือ ผักและผลไม้ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและปริมาณน้ำต้นทุนลดลง ส่งผลต่อปริมาณผักผลไม้

นายยงวุฒิกล่าวว่า ภาพรวมการค้าอาหารของไทยในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2558 (มกราคม-กันยายน) มีการนำเข้าอาหารของไทยเพิ่มขึ้น 9.3% ขณะที่การส่งออกลดลง 3.2%ส่งผลทำให้ดุลการค้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนตลาดส่งออกอาหารของไทย 60% อยู่ในทวีปเอเชีย รองลงมาได้แก่ อเมริกาเหนือ 13.2% ยุโรป 11.9% และแอฟริกา 10.2% และในช่วง 9 เดือนแรก การส่งออกไปยังตลาดเอเชีย และอเมริกาเหนือขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% และ 0.2% ตามลำดับส่วนตลาดอื่นหดตัวลงทั้งหมด

โดยในปี 2559 คาดการณ์ส่งออกอาหารไว้ที่ 9.5 แสนล้านบาท จากปีนี้ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 9 แสนล้านบาท มีปัจจัยสนับสนุนคือ เศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น แผนงานและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภาครัฐ เงินบาทอ่อนค่าเทียบกับเงินสกุลหลัก ต้นทุนการผลิตและขนส่งลดลงตามราคาน้ำมันและวัตถุดิบนำเข้า และเศรษฐกิจที่ขยายตัวจากการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี จนส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ ภาวะภัยแล้งที่กระทบสินค้าเกษตร และส่งผลต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมแปรรูป รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ลดลง การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมัน

นายยงวุฒิย้ำถึงนโยบายในการทำงานหลังจากนี้ ว่าจะผลักดันให้สถาบันอาหารเป็นองค์กรชั้นนำในด้านการสร้างคุณค่าให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทย ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เน้นการสนับสนุนงานวิชาการ เทคโนโลยี และองค์ความรู้ ตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการสนับสนุนภาครัฐในการเดินหน้าคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เดิมพันวิกฤติน้ำแล้งปีนี้เผาจริง

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558...เริ่มต้นเข้าสู่การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง สถานการณ์น้ำของประเทศเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้...“ปีนี้ปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งเก็บกักน้ำต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งน้ำต้นทุนลุ่มเจ้าพระยา จะมีปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมา”

ปัญหามีว่า...ในปีที่ผ่านมาก็มีปริมาณน้ำน้อยอยู่แล้ว แถมยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปีอีกด้วย

ว่ากันว่า...ฤดูแล้งปี 2557/2558 ที่ผ่านมาเป็นเหมือน...“เผาหลอก” แต่ฤดูแล้งปีนี้ 2558/2559 เป็นการ...“เผาจริง” คำถามมีว่าประเทศไทยจะรอดพ้นภาวะวิกฤติขาดแคลนน้ำที่กำลังจะมาเยือนได้ไหม?

สุเทพ น้อยไพโรจน์ รักษาการอธิบดีกรมชลประทาน บอกว่า ปีนี้ต้องยอมรับว่าปริมาณฝนตกน้อยจริงๆ ภาพรวมทั้งประเทศปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 12 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะภาคเหนือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลางต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 18 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 14 เปอร์เซ็นต์ ...มีที่เท่ากับค่าเฉลี่ยก็ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกเท่านั้น

ผลต่อเนื่อง...ทำให้ปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆน้อยลงไปด้วย

ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำ 43,773 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)...คิดเป็นร้อยละ 59 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ...เป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 19,970 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39 ของปริมาณความจุ

น่าสนใจว่า มีปริมาณน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2557) จำนวน 4,688 ล้าน ลบ.ม.

“เขื่อนขนาดใหญ่เกือบทุกแห่งทั้งในภาคเหนือ...อีสาน...กลาง และภาคใต้ตอนบน ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะเขื่อนที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มเจ้าพระยา” สุเทพ ว่า

นับตั้งแต่...เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้เพียง 1,191 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 9 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บเท่านั้น...เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 2,058 ล้าน ลบ.ม. ร้อยละ 22 ของปริมาณความจุ...เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 371 ล้าน ลบ.ม. ร้อยละ 40 ของปริมาณความจุ และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 633 ล้าน ลบ.ม. ร้อยละ 66 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ

ย้ายไปดูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเขื่อนใหญ่ 3 แห่ง มีปริมาณน้ำค่อนข้างดี...เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ และ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 12 แห่งในภาคอีสาน มีปริมาณที่ใช้การได้รวมกันเพียง 2,354 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 28 ของปริมาณความจุ

สำหรับเขื่อนในภาคกลางก็มี เขื่อนทับเสลา และ เขื่อนกระเสียว ปริมาณน้ำที่ใช้การได้เฉลี่ยรวมกันประมาณร้อยละ 25 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ...ในภาคตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนวชิราลงกรณ์ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้เฉลี่ยรวมกันราวร้อยละ 20 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ และภาคใต้ตอนบนปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยเช่นกัน เขื่อนแก่งกระจาน และ เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 36 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ ส่วนภาคใต้ตอนล่างปริมาณน้ำในเขื่อนค่อนข้างดี และขณะนี้ก็ยังมีฝนตกทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่อง สำหรับภาคตะวันออกเช่นเดียวกันปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่โดยเฉลี่ยมีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ โดยเฉพาะ เขื่อนประแสร์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯมากกว่าปริมาณการกักเก็บคือ มีปริมาณน้ำ 260 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 114 ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ

ข้อมูลที่มีอยู่ในมือทั้งหมดเหล่านี้ประเมินได้ว่า ฤดูแล้งปีนี้ ทั่วทุกภูมิภาคจะแล้งมาก ยกเว้นภาคใต้ตอนล่างกับภาคตะวันออก ดังนั้น...จะต้องบริหารจัดการน้ำให้ได้ตามแผนที่กรมชลประทานวางไว้

สุเทพ อธิบายถึงแผนการบริหารจัดการน้ำต่อไปว่า...ในพื้นที่ที่เป็นอ่างเก็บน้ำเชิงเดี่ยว คณะกรรมการจัดการน้ำชลประทานของแต่ละอ่างฯ ที่มาจากตัวแทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรผู้ใช้น้ำ จะบริหารจัดการกันเอง...ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่ที่มีปัญหา...บริหารจัดการน้ำค่อนข้างยากก็คือ การบริหารจัดการน้ำเป็นระบบลุ่มน้ำ ที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนที่มาจากหลายอ่างฯ และมีพื้นที่ชลประทานจำนวนมาก โดยเฉพาะ “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ครอบคลุมถึง 22 จังหวัด

“น้ำลุ่มเจ้าพระยามาจาก 4 เขื่อน...ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์ เหลือน้ำต้นทุนที่ใช้งานได้น้อยกว่าปีที่แล้ว...มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ หากควบคุมการบริหารจัดการไม่ได้ตามแผน”

ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเกษตรกรจะต้องให้ความร่วมมือ เพื่อที่จะให้ลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งเปรียบเสมือนพื้นที่ศูนย์กลางของประเทศรอดพ้นจากวิกฤติขาดแคลนน้ำไปได้

คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำจาก 10 หน่วยงาน...กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมกันวางแผนการใช้น้ำในช่วง 6 เดือนของฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558-30 เมษายน 2559 เอาไว้ดังนี้...

จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 1,100 ล้าน ลบ.ม. เพื่อผลักดันน้ำเค็มและรักษาระบบนิเวศ 1,400 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการเกษตร เฉพาะไม้ผล พืชไร่ เช่น อ้อย 400 ล้าน ลบ.ม. ที่เหลืออีก 1,350 ล้าน ลบ.ม. เตรียมเอาไว้สำรองใช้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2559 เพราะอาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเหมือนที่เกิดขึ้นปีนี้

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการระบายน้ำออกจากเขื่อน เป้าหมายสำคัญควบคุมปริมาณน้ำให้เพียงพอกับการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะการผลิตน้ำประปาและการผลักดันน้ำเค็มไปจนสิ้นสุดฤดูแล้ง

“สิ่งสำคัญต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ว่าปีนี้น้ำในแหล่งน้ำต่างๆ มีน้อย การทำกิจกรรมด้านการเกษตรควรเป็นไปตามที่กรมฯแนะนำ...อย่าปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชที่ใช้น้ำมาก เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับความเสียหายจากภาวะการขาดแคลนน้ำ”

สุเทพ ย้ำว่า เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤติภัยแล้งในปี 2558/59 ครม.มีมติเห็นชอบ 8 มาตรการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือ เช่น การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน,ชะลอ...ขยายระยะเวลาการชำระหนี้, จ้างงานสร้างรายได้, เสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบ, เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ, เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ การปฏิบัติการฝนหลวง การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล, เสริมสร้างสุขภาพ...ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน

ที่ผ่านมา...กรมชลประทานรับผิดชอบโดยตรงคือ มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ขณะนี้ได้จ้างแรงงานทั่วประเทศแล้วกว่า 14,000 อัตรา เฉพาะลุ่มเจ้าพระยาจ้างไป 3,200 อัตรา และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

“การจ้างงานช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการงดทำนาปรังได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ตั้งหวังกันว่า...หากสามารถบริหารจัดการน้ำได้ตามแผน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง...ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด เกษตรกรให้ความร่วมมือไม่ทำนาปรัง ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่เพียงพอที่จะใช้จนพ้นฤดูแล้งนี้ไปได้ โดยที่ไม่ได้รับความเดือดร้อน”

นี่คือเดิมพัน...“วิกฤติน้ำ” ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันให้ผ่านพ้นปี...“เผาจริง” ภาวะแล้งไปให้ได้.

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รายงานพิเศษ : โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ....ต้องศึกษา

ประเทศไทย มี 25 ลุ่มน้ำสำคัญ และลุ่มน้ำย่อยอีก 254 ลุ่มน้ำ มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมประมาณ 511,361 ตารางกิโลเมตร ขณะที่ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละปีเฉลี่ย 1,455 มิลลิเมตร หรือถ้านำมาคิดเป็นปริมาณน้ำจะมีอยู่ประมาณ 736.000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยส่วนหนึ่งซึมลงดินกลายเป็นน้ำบาดาลประมาณ 102,800 ล้านลูกบาศก์เมตร บางส่วนจะระเหยไปตามธรรมชาติ บางส่วนถูกดักอยู่ตามต้นไม้ หลุมบ่อ และชั้นดิน ที่เหลือจะไหลอยู่บนผิวดินที่เรียกกันว่าน้ำท่าหรือน้ำต้นทุนที่นำมาใช้ในทุกกิจกรรมประมาณ 285,200 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

สำหรับความต้องการใช้น้ำในประเทศ ทุกกิจกรรมจะมีอยู่ประมาณ 151,750 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำแล้ว...น่าจะเพียงพอ

แต่ในความจริงแล้วทำไม ไม่พอเพียง เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเกือบทุกปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ผ่านมา และฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ว่ากันว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง บางพื้นที่อาจจะอยู่ในขั้นวิกฤติด้วยซ้ำ

นั่นเป็นเพราะน้ำท่าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในฤดูฝน ขณะที่ในปัจจุบันเรามีแหล่งเก็บกับน้ำได้ประมาณ 79,900 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น น้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำ ส่วนน้ำท่าที่เหลืออีกกว่า 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปล่อยให้ไหลลงตามลำน้ำธรรมชาติและออกสู่ทะเลในที่สุด ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เลย ดังนั้นในฤดูแล้งจึงเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำ

การสร้างแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้สมดุลกับความต้องการใช้ ไม่ได้แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำได้เท่านั้น แต่ยังช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในฤดูฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ จำเป็นจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น ตลอดจนศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโครงการขนาดกลางและขนาดใหญ่นั้น การศึกษาจะครอบคลุมทุกๆ ด้าน ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการที่ยาวนานหลายปี ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ไว้ล่วงหน้า

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่า ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บในอนาคตนั้น กรมชลประทานได้วางเป้าหมายดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2558-2569 ที่จะพัฒนาให้สามารถบริหารจัดการน้ำมาใช้ประโยชน์ให้ได้เพิ่มอีกประมาณ 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และขยายพื้นที่ชลประทานให้ได้อีก 8.7 ล้านไร่ ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งโครงการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเล็ก ควบคู่กันไป

อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาแหล่งน้ำจำเป็นจะต้องศึกษาความเหมาะสม ซึ่งกรมชลประทานได้ปรับแผนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ โดยพิจารณาจากสภาพและความรุนแรงของปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วมเป็นหลัก โดยจะทำการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำ ไม่เน้นว่า เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับศักยภาพของความเหมาะสมของพื้นที่ ตลอดจนราษฎรในพื้นที่มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ไม่มีการตั้งธงไว้ก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาถึงความจำเป็นว่า ควรจะดำเนินการโครงการไหนก่อนโครงการไหนทีหลัง ก่อนที่จะศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนต่อไป

แต่ทั้งนี้การศึกษาความเหมาะของโครงการนั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ด้วย เนื่องจากแหล่งเก็บกักน้ำที่เหลือส่วนใหญ่จะมีลักษณะทางภายภาพที่เหมาะสมอยู่ในตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า

“โครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำเป็นจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสม เพราะหากไม่ศึกษาแล้วก็จะไม่รู้ว่า จะวางรูปแบบการพัฒนาอย่างไร จะกระทบอะไร มากน้อยอย่างไร และเหมาะสมคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ หากศึกษาแล้วไม่เหมาะสมกรมชลประทานก็จะไม่ดำเนินการ แต่ถ้าพบว่ามีศักยภาพที่เหมาะสม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในวิสัยที่จะสามารถแก้ไขหรือบรรเทาได้ ถึงจะดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และขั้นตอนที่กำหนดไว้สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ”ดร.สมเกียรติกล่าว

สำหรับการศึกษาทั้งลุ่มน้ำนั้น ขณะนี้กรมชลประทานได้นำร่องดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบนตั้งแต่เหนือเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นไป ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพสามารถที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยการสร้างแหล่งเก็บน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำและฝายจำนวน 17 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง โดยมีโครงการเร่งด่วนและเหมาะสมที่จะดำเนินในระยะแรกจำนวน 4 โครงการคือ อ่างเก็บน้ำน้ำกิ อ่างเก็บน้ำน้ำกอน อ่างเก็บน้ำแม่ริม และฝายน้ำยาว อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่จะสร้างอ่างฯน้ำกิ และอ่างฯน้ำกอน มีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 1,200 ไร่ และ 1,700 ไร่ตามลำดับ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าโซนE (ป่าสงวนแห่งชาติ) ต้องขออนุญาตเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจจากกรมป่าไม้

อีกโครงการหนึ่งที่ได้มีการศึกษาความเหมาะทั้งลุ่มน้ำคือ โครงการศึกษาแผนพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่างในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (อีสาน) ซึ่งประสบปัญหาทั้งน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำ น้ำเน่าเสีย และการกระจายตัวของน้ำเค็ม ผลการศึกษาพบว่า หากจะให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งปัญหาของประตูระบายน้ำห้วยหลวงที่สร้างเสร็จแล้วแต่ใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้สูญเสียโอกาสและเป็นการลงทุนแบบสูญเปล่าแล้ว จะต้องดำเนินโครงการสำคัญๆอย่างน้อย 6 โครงการด้วยกัน คือ โครงการสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำ-พัฒนาแก้มลิงพร้อมระบบชลประทานประตูระบายน้ำดงสระพัง โครงการประตูระบายน้ำหนองสองห้อง สถานีสูบน้ำถ่อนนาเพลินพร้อมระบบชลประทาน โครงการสูบน้ำพื้นที่ชลประทานห้วยหลวง-คลองดัก โครงการสถานีสูบน้ำบ้านนาคำพร้อมระบบชลประทาน และ โครงการประตูระบายน้ำดอนกลอย-สถานีหนองบัว แต่เมื่อลำดับความสำคัญแล้ว โครงการที่จะต้องเร่งดำเนินการก่อนคือ โครงการสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำโขง และโครงการปรับปรุงแหล่งน้ำ-พัฒนาแก้มลิงพร้อมระบบชลประทานประตูระบายน้ำดงสระพัง

การศึกษาความเหมาะสมครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำนี้ ควรจะเร่งขยายผลไปดำเนินการในทุกๆ ลุ่มน้ำ อาจจะดำเนินการทั้งลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำ หรือ ลุ่มน้ำสาขาที่มีอยู่ 254 ลุ่มน้ำก็ได้ โดยเฉพาะลุ่มน้ำที่ยังไม่มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพราะเมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในอนาคต จะได้สามารถหยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที

หากสามารถทำการศึกษาได้ครบครอบคลุมทุกลุ่มน้ำ ก็จะทำให้รู้ว่า น้ำท่าที่ไหลทิ้งปีละกว่า 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น อยู่ที่ลุ่มน้ำไหนบ้าง จะสามารถพัฒนานำมาใช้ประโยชน์ให้เพียงพอกับความต้องการได้หรือไม่ อย่างไร โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่จำเป็นเร่งด่วนมีโครงการอะไรบ้าง ?

และที่สำคัญการศึกษาทั้งลุ่มน้ำนี่แหละจะทำให้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2558-2569 ของรัฐบาล ที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ สร้างความสุขให้กับประชาชน สร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนากับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ จะเป็นจริงได้.....

จาก http://www.naewna.com วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

'นายกฯ'ห่วงใยสถานการณ์ภัยแล้ง ส่งทีมให้ความรู้ปลูกพืชน้ำน้อย

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์น้ำในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างมากโดยได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปบูรณาการวางแผนเรื่องการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์ให้ดี รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และเกษตรกรต้องพิจารณาว่าควรปลูกพืชชนิดใดในช่วงนี้ เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้ง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในหลายมาตรการคือ การเชิญชวนให้เกษตรกรหันไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก จากการปลูกข้าวที่ต้องใช้น้ำมากเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อย ขายได้ราคาดีและมีตลาดรองรับ โดยที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และ คสช. ร่วมกันลงพื้นที่ไปเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรให้หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยตามแนวทางข้างต้น

"นายกฯ มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีหนังสือแจ้งรายชื่อพืชที่ใช้น้ำน้อยไปยังส่วนราชการในระดับพื้นที่ พร้อมทั้งหารือกับเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และภาคเอกชนในจังหวัด ถึงความต้องการพืชผลที่ใช้น้ำน้อยว่า ผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ต้องการผลผลิตชนิดใดบ้าง จากนั้นทีมประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดจะได้นำเสนอรายชื่อพืชดังกล่าว ให้แก่เกษตรกรเพื่อเป็นทางเลือกในการเพาะปลูก ก่อนนำส่งไปขายยังตลาดที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้อย่างครบวงจร ทั้งนี้ รายชื่อพืชที่ใช้น้ำน้อย ได้แก่ มะละกอ พืชตระกูลถั่วทุกชนิด งาดำ ข้าวฟ่างหวาน ฟักทอง ฟักเขียว แก้วมังกร อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง มะพร้าว ตะบองเพชร และพืชสมุนไพรทุกชนิด" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

'ฉัตรชัย'แจงแผนบริหารน้ำรับผลิตอาหาร 

          "ฉัตรชัย"แจงทูตเยอรมัน แผนบริหาร การจัดการน้ำสร้างความเชื่อมั่นการผลิตอาหารป้อนตลาดโลก  ยันรัฐบาลไทยจริงใจแก้ปัญหาประมงไอยูยู ระบุมีความคืบหน้าไปมาก

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ นายเพเทอร์ พรือเกิล เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้าน การเกษตรระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ชลประทาน และพัฒนาองค์กรเกษตรกร เช่น การส่งเสริมการจัดการน้ำ ในภาวะวิกฤติโดยรักษาระบบนิเวศน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำ การใช้พลังงานทดแทนจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

          สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลในการพัฒนาการเกษตรของประเทศให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล และสอดคล้อง ความต้องการของตลาดโลกที่เริ่มหันมานิยมบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

          พล.อ.ฉัตรชัย  ได้ชี้แจงถึงแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งการป้องกันน้ำท่วม การเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การพัฒนาคุณภาพน้ำ โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินการให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายใน 10 ปี  เชื่อว่าการดำเนินงานของรัฐบาล จะทำให้ไทยมีความพร้อมในการทำการเกษตร สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น  แสดงถึงศักยภาพของประเทศไทยที่มีความพร้อมในการยกระดับไปสู่การเป็นคลังอาหารของโลก

          พล.อ.ฉัตรชัย ยังได้ฝากเอกอัครราชทูตเยอรมนี ช่วยชี้แจงและทำความเข้าใจถึงความตั้งใจ ของรัฐบาลไทย ในการป้องกันและแก้ปัญหาประมง ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม (ไอยูยู) ซึ่งหลายแผนงานได้มีกรอบระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประมงของไทยในเวทีโลก หลายมาตรการมีความคืบหน้าไปค่อนข้างมาก เช่น การตรวจสอบเรือประมงนอกน่านน้ำ การปฏิบัติงานบนเรือประมง ที่มีหลายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกัน ดังนั้นจึงอยากให้เข้าใจว่ารัฐบาลได้เนินการอะไรไปแล้ว และมีความตั้งใจที่จะเร่งแก้ปัญหา

          สำหรับการแก้ปัญหาไอยูยูก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้เข้ามาตรวจสอบและติดตามความคืบหน้ามาแล้ว ในส่วนของกรมประมง ได้ให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเพื่อประกาศใช้พ.ร.ก.การประมงไอยูยู โดยพ.ร.ก. ดังกล่าวเป็นการปรับปรุงจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การประมง พ.ศ.2558 เพื่อให้เนื้อหาเป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติสากล ครอบคลุมการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมายการอนุรักษ์ทรัพยากรแผนบริหารจัดการประมง ระบบตรวจสอบย้อน รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษให้มีความรุนแรงมากขึ้น

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558

โรงงานน้ำตาลทรายพร้อมเปิดหีบอ้อย l คาดปีนี้มีผลผลิต106ล้านตัน

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารภายใต้ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มีมติเห็นชอบวันเปิดหีบอ้อย ประจำฤดูการผลิตปี 2558/2559 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เบื้องต้นได้ประเมินปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 106 ล้านตันอ้อย ใกล้เคียงปีก่อน และผลิตเป็นน้ำตาลทรายได้ประมาณ 11.1 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่มีปริมาณผลผลิตน้ำตาลทราย 11.3 ล้านตัน

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จะเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นผู้พิจารณา เพื่อประกาศกำหนดวันเปิดหีบอ้อย ประจำฤดูการผลิตปีนี้ อย่างเป็นทางการอีกครั้ง พร้อมกันนี้โรงงานน้ำตาลทุกโรงงาน ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2558/2559 โดยการส่งเจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 52 โรงงาน เข้าร่วมสัมมนาเมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา

สำหรับงานสัมมนาในปี 2558 นี้มุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่กระบวนการในการจัดเก็บผลผลิตอ้อย การจัดการคุณภาพอ้อย และลดอ้อยไฟไหม้ การขนส่งอ้อยเข้าหีบ ประสิทธิภาพการหีบอ้อยสกัดของโรงงาน และการขนส่งน้ำตาลทรายทางน้ำ หลังคาดการณ์ว่าในปี 2559 จะเกิดปัญหาภาวะภัยแล้ง ส่งผลให้แม่น้ำที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งตื้นเขิน จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินเรือ และเตรียมความพร้อมทุกด้าน รวมถึงยังมีการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัย ที่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากอุบัติเหตุในการขนส่งน้ำตาลทรายทางน้ำด้วย

“ขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายทุกแห่งเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตใหม่แล้ว โดยได้จัดสัมมนา เชิญผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทุกโรงงานส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไร่อ้อยและโรงงานเข้าร่วมสัมมนา หวังยกระดับโรงงานน้ำตาลทั้งหมดให้มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบให้ดียิ่งขึ้น” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558

คอลัมน์ เกษตรฯโทรโข่ง: เร่งช่วยเกษตรกรจากภัยแล้ง 

           กล้วยน้ำว้า

          ทุกปีประเทศไทยจะต้องเจอปัญหาภัยแล้งซึ่งหนักบ้าง เบาบ้าง และมีน้อยมากที่จะไม่เกิดภัยแล้ง โดยเฉพาะ 2-3 ปีมานี้ไทยได้ประสบปัญหาภัยแล้งติดต่อกัน ทำให้พืชผลเสียหาย เกษตรกรทำการเกษตรไม่ได้

          ในปีนี้ก็เช่นกัน ภัยแล้งกำลังมาเยือนและจะยาวนานไปอีก 7 เดือนข้างหน้า ลองหลับตาดูสิครับว่าเกษตรกรจะเดือดร้อนมากแค่ไหนเมื่อปลูกพืชไม่ได้

          ยิ่งนาปรังด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึง รัฐบาลห้ามชาวนาทำนาปรังใน 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง 28 จังหวัดเมื่อเดือน พ.ย. 2557-พ.ค. 2558 และเนื่องจากฝนมาล่ากว่าทุกปีในปี 2558 ทำให้ชาวนาใน 22 จังหวัดทำนาปรังไม่ได้อีก ก็ยิ่งทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนต่อเนื่องกันมา

          นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในลุ่มเจ้าพระยาและทั่วประเทศว่า...

          เป็นผลจากปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ที่มีน้อยสุดในรอบ 30 กว่าปี หากรัฐบาลยังไม่มีแนวทางชัดเจนในการควบคุมการใช้น้ำในช่วง 1-2 เดือนนี้จะเกิดวิกฤติน้ำของจริง ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้อย่างแน่นอน

          เนื่องจากขณะนี้ชาวนาเริ่มลงมือปลูกข้าวนาปรังกันมากในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัดนับล้านไร่ สาเหตุเพราะรัฐบาลพูดไม่ชัดเจนเด็ดขาดว่าไม่ให้ทำนาและหากเกิดความเสียหายจากภัยแล้งก็จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้

          ประกอบกับภาคส่วนอื่นๆ มีการใช้น้ำเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่านายสมิทธ เห็นว่ากรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯจะต้องทำข้อมูลเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้รับรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงของสถานการณ์น้ำ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนและเกษตรกรให้ทราบถึงวิกฤติน้ำครั้งนี้

          อย่างไรก็ดี นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยถึงสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางว่า มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวม 42,853 ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 57 เป็นปริมาตรน้ำใช้การได้ 19,050 ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 37

          ขณะเดียวกัน กรมชลประทานได้ให้โครงการชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทุกโครงการบริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการผันน้ำท่าที่เหลือไปเก็บกักไว้ในพื้นที่ที่ยังสามารถเก็บน้ำได้ เพื่อเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ให้ได้นานที่สุด

          นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด ลงพื้นที่ชี้แจงสถานการณ์ผล กระทบและมาตรการช่วยเหลือภาครัฐให้เกษตรกรใน 22 จังหวัดล่ามน้ำเจ้าพระยาได้รับรู้

          ก็หวังว่าภาครัฐจะเยียวยาผลกระทบจากภัยแล้งให้เกษตรกร แม้จะไม่ได้ทั้งหมดก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำเลย...จริงมั้ย?

จาก บางกอกทูเดย์  วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558

เช็คความพร้อมรายประเทศ ก่อนเข้า"เออีซี" (1)

เตรียมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ "เออีซี" กันถ้วนหน้า กับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ที่ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน จะเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 2.7 ล้านล้านดอลลาร์

"ประชาชาติธุรกิจ" ขอนำเสนอทัศนคติและการเตรียมตัวของแต่ละประเทศที่ปรากฏในหน้าสื่อในช่วงที่ผ่านมา โดยจะเริ่มจากประเทศสมาชิกอาเซียนภาคพื้นมหาสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

อินโดนีเซีย

เป็นประเทศที่ค่อนข้างตื่นตัวกับเออีซีโดยกระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งศูนย์ให้บริการด้านข้อมูลและที่ปรึกษาด้านเออีซีเป็นการเฉพาะ เพื่อเตรียมความพร้อมนักธุรกิจในเรื่องการส่งออกสินค้าไปยังอาเซียนซึ่งช่วง 6 เดือนแรกปี 2558 (ไม่รวมภาคพลังงาน) มีมูลค่ากว่า 39.8 พันล้านดอลลาร์

 นอกจากนี้ยังมองว่า เออีซีจะเปิดโอกาสให้อินโดนีเซียเป็น "ฮับขนส่งนานาชาติระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก" ซึ่งนโยบายของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ก็สอดรับอย่างดี ด้วยการสร้างท่าเรือขึ้นถึง 24 แห่งทั่วประเทศ และระบบขนส่งแบบราง ผลักดันการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียมีปัญหาคล้ายกับชาติอาเซียนอื่นๆ คือ การเปิดเสรีภาคบริการ

มาเลเซีย

สำหรับมาเลเซียที่เพิ่งบรรลุการเจรจาในกรอบการค้าเสรีหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้ามาเลเซีย ดาโต๊ะ สรี มุสตาปา โมฮัมเหม็ด ระบุว่า "มาเลเซียพร้อมที่จะปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากเออีซีและ TPP ไปพร้อมกัน"

อย่างไรก็ตาม ตัน ศรี ราฟิดาห์ อาซิสอดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศมองว่า มาเลเซียยังคงมีปัญหาเรื่องการเปิดเสรีภาคบริการสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และเร่งให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมการแข่งขันมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จาก "ตลาดร่วม"

สิงคโปร์

รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรม ลิม ฮง เคียง ของสิงคโปร์ แสดงความเชื่อมั่นว่า สิงคโปร์มีความพร้อมและจะได้ประโยชน์จากเออีซีอย่างเต็มที่ โดยภาคธุรกิจสิงคโปร์ สามารถฉกฉวยประโยชน์จากการส่งออกโดยไม่เสียภาษี ส่วนการเปิดเสรีการลงทุน จะเปิดทางให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะการแพทย์และบริษัทที่ปรึกษาสามารถเข้าไปลงทุนในชาติอาเซียนได้มากขึ้น

นอกจากนี้ แรงงานสิงคโปร์ยังได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีแรงงาน และการแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยที่ผ่านมา สิงคโปร์อิงมาตรฐานสากลเป็นหลัก ทำให้การปรับตัวของอาเซียนไปในทิศทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ สิงคโปร์ยังให้บริการด้านเงินเพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ภายใต้แนวคิด "เออีซีไม่ใช่การบูรณาการแค่ในอาเซียน แต่ยังเป็นการบูรณาการอาเซียนให้เข้าสู่ระบบโลกด้วย"

ฟิลิปปินส์

บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์อินไควเรอร์ของฟิลิปปินส์ เชื่อว่า การปรับกฎระเบียบในประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางเออีซี ด้วยการใช้การเมืองนำเศรษฐกิจ จะช่วยให้ฟิลิปปินส์บรรลุการเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะในเรื่องการเปิดเสรีด้านการลงทุนให้กับต่างชาติ ที่กฎหมายสั่งห้าม ทำให้ตกขบวน TPP ไป

อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์มีประเด็นอ่อนไหว เช่น ความต้องการปกป้องสินค้าเกษตรในประเทศ โดยเตรียมเก็บภาษี 5% สำหรับสินค้าสัตว์ปีก มันสำปะหลัง มันหวาน ข้าวโพดต่อไป ส่วนภาคการเงิน นายเนสเตอร์ แทน ประธาน BDO Uni-bank กังวลว่า การสร้างระบบการชำระเงินร่วมกันในอาเซียน อาจจะทำให้เกิดเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้น และภาคการเงินของฟิลิปปินส์ยังไม่พร้อมในการแข่งขัน

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558

กลุ่มสมาคมโรงงานน้ำตาลพร้อมเปิดหีบอ้อย

กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทราย พร้อมเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2558/59 ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ คาดปริมาณอ้อยเข้าหีบใกล้เคียงปีก่อน

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย (Mr.Sirivuth Siamphakdee, President of the Thai Sugar Millers Corporation Limited’ s public relations working group) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารภายใต้ พรบ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มีมติเห็นชอบวันเปิดหีบอ้อย ประจำฤดูการผลิตปี 2558/59 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งเบื้องต้นได้ประเมินปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 106 ล้านตันอ้อย ใกล้เคียงปีที่แล้ว และผลิตเป็นน้ำตาลทรายได้ประมาณ 11.1 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่มีปริมาณผลผลิตน้ำตาลได้ 11.3 ล้านตัน

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จะได้เสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นผู้พิจารณา เพื่อประกาศกำหนดวันเปิดหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตปีนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง พร้อมกันนี้ โรงงานน้ำตาลทุกโรงงานได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2558/59 โดยส่งเจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 52 โรงเข้าร่วมสัมมนาเวิร์คช้อปในวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน

สำหรับงานสัมมนาในปีนี้ มุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ตั้งแต่กระบวนการ การจัดเก็บผลผลิตอ้อย การจัดการคุณภาพอ้อยและลดอ้อยไฟไหม้ การขนส่งอ้อยเข้าหีบ ประสิทธิภาพการหีบอ้อยสกัดของโรงงานและการขนส่งน้ำตาลทรายทางน้ำ หลังคาดการณ์ว่า ในปี 2559 จะเกิดปัญหาภาวะภัยแล้งส่งผลให้แม่น้ำที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งตื้นเขิน จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินเรือและเตรียมความพร้อมทุกด้าน รวมถึงยังมีการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากอุบัติเหตุการขนส่งน้ำตาลทรายทางน้ำด้วย

“ขณะนี้โรงงานน้ำตาลทรายทุกแห่งเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตใหม่ โดยได้จัดสัมมนาเชิญผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทุกแห่งส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไร่อ้อยและโรงงานเข้าร่วม หวังยกระดับโรงงานน้ำตาลทั้งหมดให้มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบให้ดียิ่งขึ้น” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เตือน2เขื่อนภาคเหนือตอนบนวิกฤติ กรมชลชี้น้ำแห้งหนัก-วอนประชาชนช่วยประหยัด

นายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนว่า ขณะนี้ฝนได้หยุดตกและเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งพบว่าปริมาณฝนตกในพื้นที่ลุ่มน้ำทางภาคเหนือตอนบนในปี 2558 มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประมาณร้อยละ 33 ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติที่ไหลลงแม่น้ำต่างๆ มีน้อย โดยเฉพาะในแม่น้ำปิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักมีปริมาณน้ำท่าลดลงจากค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 80 และเป็นผลต่อเนื่องทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนที่สำคัญๆ น้อยลงไปด้วย

ทั้งนี้จากข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีปริมาณน้ำใช้การได้เท่ากับ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือร้อยละ 18 ของปริมาณการกักเก็บเขื่อนแม่กวงอุดมธารามีปริมาณน้ำใช้การได้เท่ากับ 17 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ 6 ของปริมาณการกักเก็บ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในเขต จ.เชียงใหม่ และจ.ลำพูน มีปริมาณน้ำรวมกันเพียง 21.69 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 17.81 ของปริมาณการกักเก็บเท่านั้น ถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะในแม่น้ำปิงสายหลัก จึงได้ขอความร่วมมือจากเกษตรกรบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบนงดผันน้ำหรือสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก

“ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2559 กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 1 ได้วางแผนการส่งน้ำของเขื่อนแม่งัดฯ ไว้คือ ส่งไปให้พื้นที่โครงการชลประทานแม่แฝก-แม่งัด รวมปริมาณน้ำ 22 ล้านลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำปิงเพื่อส่งไปถึงพื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำในเขต จ.เชียงใหม่และ จ.ลำพูน เพื่อการอุปโภค-บริโภค รวมถึงให้กับการเพาะปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้น คิดเป็นปริมาณน้ำ 36 ล้านลบ.ม. ส่วนเขื่อนแม่กวงฯ จะส่งน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์และสนับสนุนน้ำดิบผลิตประปาตลอดช่วงฤดูแล้งจำนวน 6.3 ล้านลบ.ม. และที่โครงการชลประทานแม่แตง วางแผนสนับสนุนน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาตามปกติวันละ 27,648 ลบ.ม.” นายอภิวัฒน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำนักชลประทานที่ 1 ได้มีการสำรองแหล่งน้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำแม่จอกหลวงไว้เพื่อผลิตน้ำประปาอีก 300,000 ลบ.ม.ด้วย และในส่วนของการรักษาระบบนิเวศน์ ได้สั่งการให้เฝ้าดูคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิดเป็นรายวันเพื่อจะปล่อยน้ำลงมาให้คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด

ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษาฯ กล่าวต่อว่า สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำและเครื่องจักรไว้เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน จำนวน 84 เครื่อง และภายในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หน่วยงานราชการในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สำนักงานจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานภายใต้

 สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ติดตามและประมวลสถานการณ์ภัยแล้งปี 2558/2559 ขึ้นเพื่อช่วยกันป้องกันบรรเทาภัยที่จะเกิดอีกทางหนึ่งด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตรไทยปี

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมสัมมนาพร้อมมอบนโยบาย ปี 2559 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันก่อน เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจนโยบายสำคัญที่ กระทรวงเกษตรฯ ต้องเร่งดำเนินการในปี 2559 แก่หน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศให้เกิดผลสัมฤทธิ์

โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค ได้แก่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตร จังหวัด สหกรณ์จังหวัด ประมงจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ และผู้เกี่ยวข้องประมาณ 1,000 คน เข้าร่วมประชุม

ในที่ประชุมนอกจากมีการชี้แจงถึงแนวทางการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับภูมิภาคแล้ว ก็ยังมีการเสวนาเรื่องแนวทางการ บูรณาการในการดำเนินงานเร่งด่วนกรณีการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 อีกด้วย

รวมถึงเรื่องIUUพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศ ไทย และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการเสวนาเรื่องการบูรณาการ การทำงานของหน่วยงานในระดับพื้นที่ของกระทรวงเกษตรฯ กรณีการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร

ด้วยระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และการจัดการฐานข้อมูลและศูนย์เรียนรู้ ด้านการเกษตรสำหรับงานเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องเร่งดำเนินการนั้น ได้กำหนดไว้ 5 เรื่องได้แก่ 1) การแก้ปัญหาIUU2) การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสการแข่งขันสินค้าเกษตรด้วยระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3) การจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรให้ครอบคลุม 4) การแก้ปัญหาภัยแล้ง และ 5) การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ และการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเน้นการสร้างแรงจูงในการทำงานให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยจัดให้มีการประกวดการดำเนินงานในกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรที่สำคัญ ๆ ของกระทรวงเกษตรฯโดยเฉพาะการประกวดการดำเนินงานในพื้นที่ลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตรด้วยระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งมีจำนวน 76 จังหวัด ๆ ละ 1 แปลง รวม 76 แปลง

อย่างไรก็ตามการบูรณาการและสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับจังหวัดและพื้นที่นั้นนับเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขปัญหาการเกษตรและการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในด้านการตลาด รวมทั้งสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมนอกจากนี้ จะให้เจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ได้รู้และรับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมอย่างทันต่อสถานการณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีใจบริการเกษตรกร สามารถสื่อสารและทำให้เกษตรกรเข้าใจเพื่อก่อเกิดความร่วมมือได้อย่างง่ายและชัดเจนอีกด้วย.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สมคิดเยือนญี่ปุ่นขอเสียงหนุนร่วมทีพีพี

น.ส.ศิรินารถใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายชิโระ ซะโดะชิมะเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ได้เข้าพบนางอภิรดี ตันตราภรณ์รมว.พาณิชย์ เพื่อหารือถึงการเตรียมความพร้อมที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรี จะนำคณะรัฐบาลไทยเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 25-28 พ.ย. 58

โดยในการเดินทางไปเยือนครั้งนี้ทางนายสมคิดจะขอเข้าพบกับรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ทีพีพี) ด้วย“การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้จะมีรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจร่วมคณะทั้งรมว.พาณิชย์, รมว.อุตสาหกรรม,รมว.คมนาคม เป็นต้น

ซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกที่ทางญี่ปุ่นและไทยจะเจรจาในเวทีระดับรองนายกรัฐมนตรีร่วมกันและไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นจัดการประชุมระดับรองนายกฯอย่างต่อเนื่องโดยเสนอให้ผลัดกันเป็นเจ้าภาพในการติดตามการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ

นอกจากนี้ในการหารือระหว่างรมว.พาณิชย์และเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นทางญี่ปุ่นได้เสนอขอให้ไทยเพิ่มโควตานำเข้าเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จากปัจจุบันที่ไทยได้ให้โควตานำเข้าเหล็กกับญี่ปุ่นภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(เจเทปา) ปีละ 5.3 แสนตัน แต่มีความต้องการใช้เป็นล้านตันโดยประเด็นดังกล่าวทางกระทรวงพาณิชย์รับปากที่จะหารือกับคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าเหล็กและเหล็กล้าที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมให้

อย่างไรก็ตามในการหารือร่วมร่วมกันครั้งนี้ญี่ปุ่นได้สอบถามถึงความคืบหน้าการเจรจาเปิดเสรีในกรอบความตกลงตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(อาร์เซ็ป) ซึ่งไทยได้แจ้งว่าขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากโดยได้ข้อสรุปในการลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกแล้ว

ซึ่งสมาชิกได้ตกลงที่จะลดภาษีเหลือ 0%ทันที จำนวน 65% ของสินค้าที่มีการค้าขายในกลุ่มอาร์เซ็ปที่มีอยู่ประมาณ8,000-9,000 รายการ และอีก 20% จะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายใน 10ปี ส่วนสินค้าที่เหลืออีกประมาณ 15% ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอ่อนไหว แต่ก็จะมีการเจรจาให้มีการปรับลดภาษีลงในระยะต่อไป“

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

"บิ๊กตู่" ย้ำแล้งหนัก ห้ามทำนาปรัง ชี้เหตุน้ำเขื่อนน้อยเพราะโครงการจำนำข้าวปล่อยน้ำเยอะเกิน

วันที่ 5 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ปัญหาภัยแล้ง ว่า เรื่องน้ำแต่ละเขื่อน ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานตัวเลขกับตนตลอด ส่วนบางพื้นที่ที่ชาวนายังปลูกข้าวนาปรัง ทั้ง ๆ ที่ภาครัฐขอความร่วมมือไม่ให้ปลูกนั้นจะให้ตนทำอย่างไร จะให้ไปจับชาวนาติดคุกเอาไหม ตรงนี้จะให้ทำอย่างไร ซึ่งตนบอกไปแล้วว่าพยายามอย่าทำนาปรัง ก็แค่นั้นใช้น้ำให้ประหยัด หันไปปลูกพืชชนิดอื่น ก็มีการแนะนำตลอด สื่อก็ต้องบอกชาวนาแบบนี้ ไม่ใช่มาบอกว่าน้ำไม่มีแล้วรัฐบาลต้องรับผิดชอบต้องหาวิธีการหาเงินชดเชย

"เรื่องทำข้าวนาปรัง ผมห้ามก็ไม่เชื่อ ผมก็บอกว่าถ้าทำแล้วเสียหาย ไม่มีน้ำผมก็ไม่ดูแล ดูแลไม่ได้ เพราะเตือนแล้ว ก็เห็นอยู่แล้วว่าน้ำไม่มี 4 เขื่อนมีน้ำ 4 พันกว่าลูกบาศก์เมตร ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบรายงานตัวเลขผมอยู่ทุกวัน ซึ่งมีการรายงานทั้งน้ำในเขื่อนนอกเขื่อน ปีที่แล้วคาดการณ์ก่อนฝนเข้ามีปริมาณน้ำ 3,600 แต่หลังจากพายุเข้า ปริมาณน้ำ เป็น 4,100 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำนาปรังได้ ซึ่งน้ำที่มีถ้าหารแล้วจะอยู่ได้ไม่กี่เดือน น้ำก็จะหมดจากเขื่อน ก็จะไม่มีน้ำประปากิน ดังนั้นอยากให้ชาวนาเชื่อภาครัฐที่แนะนำให้ปลูกพืชอย่างอื่นทดแทน และอยากให้สื่อช่วยตรงนี้ด้วยทั้งชาวนาและชาวสวนยาง พูดจนปากจะฉีกอยู่แล้ว" นายกฯกล่าว

นายกฯกล่าวว่า เมื่อสื่อลงไปทำข่าวก็ควรจะไปแนะนำชาวนา ให้ไปหาผู้ว่าฯ แต่ไปถามข้อมูลจากชาวนาเขาก็ไม่รู้เรื่อง เสร็จแล้วก็เป็นเหยื่อเขา ที่เรียกร้องเรื่องการเลือกตั้ง ถ้าเลือกตั้งมาแล้วจะดีกว่านี้ จะขายข้าวได้ราคามากกว่านี้

"น้ำวันนี้มันพร่องเพราะอะไร ลองตอบมาสิ น้ำในเขื่อนน้อยเพราะอะไร ซึ่งต้องไปดูว่าน้ำรองเขื่อนมีเท่าไหร่ น้ำรองเขื่อนต่ำมาตั้งแต่ปี 2555 เพราะปล่อยน้ำมาทำนาจนเหลือเฟือ เพราะมันจำนำข้าวไงเล่า ก็ปลูกให้มากเข้าไปสิ เอาน้ำไปใช้ให้หมด น้ำที่ควรจะอยู่รองก้นเขื่อน พอฝนตกมาก็จะเติมน้ำในเขื่อน แต่วันนี้น้ำในเขื่อนต่ำลงกว่าเกณฑ์ตั้งแต่ปี 2555 ทั้งกลัวเรื่องน้ำท่วมและปล่อยน้ำมาปลูกข้าว เมื่อฝนตกมาน้อย น้ำรองเขื่อนก็เตี้ยอยู่อย่างนี้ แล้วน้ำรองเขื่อนมันจะไปไหนได้คิดให้เป็นบ้าง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นายกฯ เปิดเผยด้วยว่า วันนี้มีบางกลุ่มไปบอกชาวนา ให้ใจเย็น ๆ เดี๋ยวเขาก็ไปแล้ว ปลูกข้าวไปก่อนเดี๋ยวกลับมาจะทำแบบเดิมให้ ผู้สื่อข่าวถามว่ามีพื้นที่ไหนบ้าง นายกฯ ตอบว่า ไปหามาสิ เขียนให้ดีนะ อารมณ์ไม่ได้เสียนะ

 จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

“สุขสำราญ”งดปลูกอ้อย-ข้าวโพด

รัฐผุด3 โครงการจ้างงานหน้าแล้ง กรมชลฯเดินหน้าก่อสร้าง ”อ่างน้ำปี๊”

นายดนุ  ธนกิจวรบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ กล่าวว่า หลังปลูกอ้อยและข้าวโพดในช่วงปลายปีถึงต้นปีที่จะมาถึง ชาวไร่จะรอหักข้าวโพดส่งขายและตัดอ้อยเข้าโรงงาน จากนั้นจะยังไม่มีการเพาะปลูก โดยรอจนกว่าฤดูฝนจะมาถึง เพราะในช่วงดังกล่าวจะไม่มีน้ำทำการเกษตรชาวไร่ส่วนหนึ่งจะเดินทางไปขายแรงงานที่จังหวัดอื่นและกรุงเทพฯ เพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว คนที่อยู่ในพื้นที่จะพัฒนาดินเพื่อรอการเพาะปลูก ซึ่งเป็นวงจรชีวิตของเกษตรชาวไร่

“ปีนี้การดำเนินชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่จะเปลี่ยนไป เพราะในพื้นที่จะมีการจ้างแรงงานทำงานใน 3 โครงการใหญ่คือ 1. การสร้างฝายกักเก็บน้ำในพื้นที่  3 ตัว ตัวละ 650,000 บาท รวมเป็นเงิน 1.95 ล้านบาท  ซึ่งเป็นงบประมาณจังหวัดจัดสรรให้ มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะเริ่มก่อสร้างทันที 2. การก่อสร้างประปา 3 จุด โดยขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลมาทำประปา แห่งละ 1.2 ล้านบาท เป็นงบจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) 3. งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลตำบลละ 5 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจัดจ้างแรงงานจำนวนมาก 3 โครงการดังกล่าวจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่และประชาชนมีงานทำ มีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง ได้อยู่กับครอบครัวโดยไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำในต่างจังหวัด ฤดูแล้งปีนี้ ถือเป็นปีที่เกษตรกรในพื้นที่จะมีความสุขพอสมควรกว่าที่ผ่านมา”

นายเทวา ปัญญาบุญ นายอำเภอเชียงม่วน จ.พะเยา กล่าวว่า กรมชลประทานมีแผนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำปี๊ ในพื้นที่หมู่ 3 ต.เชียงม่วน อ.เชียงม่วน โดยดำเนินการในปีงบประมาณ 2559-2564 ขณะนี้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง กักน้ำประมาณ 90.5 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) งบประมาณก่อสร้าง 3,900 ล้านบาท มีพื้นที่เกษตรได้รับผลประโยชน์ประมาณ 28.000 ไร่

“โครงการนี้เป็นความต้องการของชาวเชียงม่วนที่ทำเรื่องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลผ่าน ส.ส.จังหวัดพะเยา เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เป็นความหวังหนึ่งของประชาชนที่ต้องการแหล่งน้ำอุปโภคและเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ที่สำคัญสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งเพียงพอให้ทำการเกษตร” นายเทวากล่าว

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

เปิดตัว...อ้อย “อู่ทอง 14” กับ “อู่ทอง 15”

  อ้อย...เป็นพืชอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงปีใหม่ก็จะเข้าช่วงตัดอ้อยส่งโรงงานแล้ว หากถึงฤดูการผลิตปีหน้า ใครคิดจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูก กรมวิชาการเกษตร ได้เสนอพันธุ์ใหม่ซึ่งให้ผลผลิตสูง 18 ถึง 28 ตันต่อไร่...

คุณสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร บอกถึงเรื่องนี้ว่า...นักวิชาการของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและทนต่อสภาพดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชได้ประกาศเป็นพันธุ์แนะนำแล้วคือ “อ้อยพันธุ์อู่ทอง 14” กับ “พันธุ์อู่ทอง 15”

อ้อยอู่ทอง 14.....เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ 84-2-646 กับพันธุ์พ่ออู่ทอง 3 มีลักษณะเด่น คือ ปลูกในพื้นที่ดินด่าง pH 7.8 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ยต่อไร่ 21.19 ตัน สูงกว่าพันธุ์ K84-200 ที่ให้ผลผลิต 14.96 ตันต่อไร่ คิดเป็น 42% และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 3.34 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 ถึง 58%

หากปลูกในดินด่างชุดตาคลีที่มี pH 8.1 อ้อยพันธุ์อู่ทอง 14 จะให้ผลผลิต 17.1 ตันต่อไร่ในอ้อยปลูก และ 11 ตัน ต่อไร่ในอ้อยตอ 1 ถ้าเป็นดินด่างชุดลำนารายณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 27.32 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 และ เมื่อปรับปรุงดินด้วยการใส่กำมะถันผงในอ้อยปลูกจะให้ผลผลิตสูงถึง 28.64 ตันต่อไร่

สำหรับ...อ้อยอู่ทอง 15 เป็นลูกผสมตัวเองของพันธุ์อู่ทอง 2 มีลักษณะเด่น คือ ถ้าปลูกในดินร่วนปนทรายจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.97 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 ที่ให้ผลผลิต 15.08 ตันต่อไร่ คิดเป็น 13% และ ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.37 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ประมาณ 12%

...พื้นที่เหมาะสมแนะนำให้ปลูกอ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 คือ ในดินร่วนปนทรายจังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี สำหรับพื้นที่ปลูกปลายฝนเขตน้ำฝน ได้แก่จังหวัดบุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมาและชลบุรี และพื้นที่ปลูกต้นฝนเขตน้ำฝน ได้แก่ จังหวัดลพบุรีและกาญจนบุรี.....

...ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่มีน้ำขังและมีโรคเหี่ยวเน่าแดงระบาด...!!

“...กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีเร่งผลิตท่อนพันธุ์อ้อยอู่ทอง 14 และพันธุ์อู่ทอง 15 รองรับความต้องการของเกษตรกร ซึ่งต่อไปในอนาคตจะได้รับความนิยมที่สูงขึ้น...” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร คาดหวังอย่างนั้น...

หากชาวไร่สนใจข้อมูล “อ้อยอู่ทอง 14 กับอู่ทอง 15” ขอเพิ่มเติมที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0-3555-1543, 0-3555-1433, 0-3556-4863 เวลาราชการ

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

โชว์เทคโนฯ นวัตกรรมน้ำตาล

     น.ส.ปุณฑริกา แสนฤทธิ์ ผู้จัดการ บริษัท ไฟร์เวิร์คส มีเดีย (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า World Sugar Expo & Conference 2015 เป็นงานมหกรรมแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมน้ำตาล รวมทั้งเอทานอลที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย มีผู้ประกอบการจากทั่วโลกมาร่วมออกบูธ อาทิ เทคโนโลยี IDS อันล้ำสมัยจาก SIEMENS และ KBS2X Double Sweet ผลิตภัณฑ์ใหม่จากน้ำตาลครบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประชุมนานาชาติเรื่อง “การประชุมน้ำตาลโลก 2015” ภายใต้หัวข้อ “Driving Asia’s Sugar Industry Ahead!” ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมจากนานาประเทศ, ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

 น.ส.ปุณฑริกา ยังกล่าวอีกว่า หน่วยงานที่มาร่วมงานในครั้งนี้ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำมากมาย อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ, Dow Chemical Pacific (S), CLAAS, Siemens, น้ำตาลครบุรี, สามารถเกษตรยนต์ และบริษัทชั้นนำมากมายจากทั่วโลกกว่า 100 บริษัท อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีในงานที่น่าสนใจ อาทิ รถม้วนใบอ้อย และเครื่องอัดพาเลท ที่ได้รับรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม นวัตกรรมการผลิตน้ำตาลเพื่อสุขภาพ “พาลาทีน” และผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมพรีไบโอติก โอลิ โกไลท์ เป็นต้น

สำหรับกระทรวงวิทย์ฯ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.) ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม อ้อย น้ำตาล และพลังงานชีวภาพหลากหลายภายในงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ภายในงานระดับนานาชาติและเพื่อเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะชนในวงกว้าง

จาก http://www.banmuang.co.th   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

กองทุนฟื้นฟูฯจับมือม.เกษตร l ถ่ายทอดไอทีเพิ่มศักยภาพเกษตรกร

นายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯเปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาเกษตรกร ระหว่างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า ตามที่พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯกำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร เพิ่มโอกาสการแข่งขัน โดยเน้น 4 หลักการ ช่วยลดต้นทุนได้แก่ ลดปัจจัยการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพิ่มการบริหารจัดการ และวางแผนเพิ่มช่องทางการตลาด สิ่งสำคัญคือ ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงเกษตรฯจะสนับสนุนการวิจัยและจัดโซนนิ่งให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก และดูแลเกษตรกรให้มีรายได้เหมาะสม รวมทั้งปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งสอดคล้องกับการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ที่มีวัตถุประสงค์จัดทำความร่วมมือทางวิชาการศึกษาวิจัย การพัฒนา การส่งเสริม การฝึกอบรมทางด้านเกษตร เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรองค์กรเกษตรกร และพนักงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมสร้างโอกาสการเรียนรู้ทางด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป และการตลาดของสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถการประกอบอาชีพเกษตรกรรมครบวงจร ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

“ความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน นับเป็นภารกิจสำคัญในการประสานความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพด้านการเกษตรของประเทศ ซึ่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีเกษตรกรสมาชิกในความดูแลประมาณ 5.7 ล้านคน ที่รอการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมความรู้จากภาครัฐ โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยเน้นให้เกษตรกรทำเกษตรครบวงจรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นายอำนวย กล่าว

นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯจะกำหนดให้หน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแลมีส่วนร่วม สนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ของเกษตรกร รวมทั้งการสนับสนุนข้อมูล เอกสาร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ และร่วมสร้างฐานองค์ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและพนักงานของสำนักงานให้การสนับสนุนข้อมูล เอกสาร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรการสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้การให้คำแนะนำของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการศึกษา วิจัย การถ่ายทอดความรู้ การพัฒนาทางด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิตการแปรรูป การตลาดและการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสนับสนุนงบประมาณตามกิจกรรม

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

กนง.ตรึงดอกเบี้ย1.5%อีกรอบ เศรษฐกิจจีนชะลอตัวกดดันส่งออกไทย

กนง. มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อปี ขอรอดูผลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ก่อนประเมินภาพรวมอีกครั้งในการประชุมเดือนธันวาคม ยอมรับปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศเพิ่มจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนคู่ค้าสำคัญ สร้างแรงกดดันต่อการส่งออก บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุน ตลาดเงินโลกผันผวนสูง ต้องเกาะติดใกล้ชิด

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อปี ด้านอัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบ 0.4% สาเหตุที่มีมติคงดอกเบี้ยไว้ เนื่องจากประเมินว่า นโยบายการเงินยังควรอยู่ในระดับผ่อนปรนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง และติดตามผลของมาตรการทางการคลังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และภาวะการเงินในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด

สำหรับปัจจัยที่ กนง.ยังคงต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทยอยออกมา ทั้งการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย การสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และในส่วนของช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจอื่นๆ เริ่มต้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะมีการประเมินผลมาตรการดังกล่าวต่อภาพรวมเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยอีกครั้งในการประชุมกนง.ในเดือนธันวาคมนี้ นอกจากนี้ยังคงต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย

ด้านเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3/2558 คาดว่าจะเติบโตมากกว่าไตรมาส 2 ที่ขยายตัวได้ 3% โดยการใช้จ่ายในประเทศเริ่มปรับดีขึ้นเล็กน้อย ตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าที่ไม่คงทนและการลงทุนของบางสาขาธุรกิจ ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐเพิ่มขึ้น และคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้ส่วนหนึ่ง

“ปัจจัยลบจากต่างประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชีย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกของไทยและความเชื่อมั่นของนักลงทุน” นายจาตุรงค์ กล่าว

ส่วนทางด้านเงินเฟ้อ มองว่า แรงกดดันเงินเฟ้อทรงตัว ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังติดลบต่อเนื่อง 10 เดือน ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงมาก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปประเมินว่ามีแนวโน้มที่จะปรับสูงขึ้นและคาดว่าจะสามารถกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาส 1/2559 ขณะที่ความเสี่ยงของภาวะเงินฝืดมีจำกัด เนื่องจากอุปสงค์ยังขยายตัว และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก สอดคล้องกับการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลางของสาธารณชน

“คณะกรรมการประเมินว่า ภาวะการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนยังเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง และภาวะตลาดการเงินโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง คณะกรรมการจึงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้”นายจาตุรงค์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม มองว่าการประชุมคณะกนง.ในเดือนธันวาคมนี้นั้น เชื่อว่าภาพรวมต่างๆ ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าจะเป็นมุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจในปีหน้ามากกว่าปีนี้ ส่วนการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ PPP FAST Track นั้น คณะกรรมการขอดูในรายละเอียดทั้งแผนการดำเนินโครงการ และในส่วนของเม็ดเงินที่จะลงทุนอีกครั้ง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “ไทยแลนด์ 2016 อนาคตเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน” ว่า การมารับตำแหน่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจครั้งนี้ เพื่อหยุดยั้งการชะลอตัวและช่วยให้เศรษฐกิจเดินไปได้ โดยก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งนี้สินค้าเกษตรตกต่ำ อำนาจซื้อไม่มี อาจจะทำให้เศรษฐกิจวนเวียนไปสู่วิกฤติปี 2540 เมื่อเข้ามาทำงานจึงกระจายเม็ดเงินสู่รากหญ้า เช่น โครงการเงินอุดหนุนตำบลละ 5 ล้านบาท ไปยังกว่า 1,700 ตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านและการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

นายสมคิดย้ำว่า การจัดทำงบประมาณในอนาคตจะต้องพิจารณาจากข้อเสนอของหมู่บ้านสู่ตำบล ตำบลสู่อำเภอ อำเภอสู่จังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้นำเสนอแผนงานของบจากทางรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาตรงจุดที่สุด เพราะหากหมู่บ้านใดมีโครงการดีทางรัฐบาลก็พร้อมจะสนับสนุนการผลิตที่สามารถขายได้ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะต้องขับเคลื่อนจากฐานราก คือ ประชาชนตามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดต่างๆ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพราะประชาชนในพื้นที่จะรู้ดีว่าตนเองมีศักยภาพอย่างไร

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

เปิดเผยว่า ที่ประชุม กบง. มีมติคงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี )ไว้ที่ 22.29 บาท/กิโลกรัม เพื่อลดค่าครองชีพให้กับประชาชน แม้ว่าราคาในตลาดโลก (ซีพี) จะปรับสูงขึ้น 49 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ 411 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน และส่งผลราคาอ้างอิงกลางขยับขึ้นก็ตาม โดย กบง.ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับแอลพีจี อุดหนุนตรึงราคา ทำให้กองทุนเข้ามาอุดหนุน 0.6130 บาท/กก. จากเดิมเก็บเข้า 0.0827 บาท/กก. ทำให้กองทุนไหลออก 305 ล้านบาทต่อเดือน จากปัจจุบันเงินกองทุนสำหรับแอลพีจี กว่า 8,000 ล้านบาท

“จากการดูแนวโน้มพบราคาแอลพีจี ตลาดโลกน่าจะทรงตัว แต่หากเดือนหน้าราคาขยับสูงมาก ก็มีความเป็นไปได้ที่ราคาขายปลีกจะขยับขึ้น เพื่อไม่สร้างภาระต่อกองทุนมากเกินไป” รมว.พลังงาน กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบการปรับปรุงวิธีการคำนวณและกำหนดราคาเอทานอลให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุดและส่งผลทำให้ราคาประกาศที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไปส่งผลให้ราคาเอทานอลมีแนวโน้มลดลง จากราคาอ้างอิงเดิมราคา 1 บาท/ลิตร โดยการปรับสูตรดังกล่าวเป็นการใช้ราคาเอทานอลอ้างอิงตามราคาผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายงานตัวเลขซื้อขายจริงไม่ใช้ราคาที่จะซื้อจะขาย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะส่งผลทำให้ต้นทุนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ปรับลดลงด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบไม่ต่ออายุบัตรเครดิตพลังงานเอ็นจีวี ที่จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยมีหนี้สะสม 20 ล้านบาท ในส่วนนี้ บมจ.ปตท. จะเป็นผู้ติดตามและรับผิดชอบ และ กบง.ยังมีมติขยายเวลา มาตรการให้ส่วนลดราคาเอ็นจีวี ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2559 จนกว่าจะมีกลไกอุดหนุนเอ็นจีวีอย่างถาวรมารองรับ

โดยยังคงการอุดหนุนในหลักเกณฑ์เดิม คือ รถขนาดเล็ก เช่น รถแท็กซี่ จะได้รับส่วนลด 9,000 บาท/เดือน รถใหญ่ คือ รถเมล์ และรถร่วมบริการ จะได้รับส่วนลด 35,000 บาท/เดือน ราคาอุดหนุนปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาท/กิโลกรัม จากราคาขายปลีกทั่วไปอยู่ที่ 13.50 บาท/กิโลกรัม

ปัจจุบัน ปตท.เป็นผู้รับภาระส่วนลดราคานี้ โดยปตท.เสนอขอปรับลดภาระการอุดหนุนด้วยการขยับราคาอุดหนุนจาก 10 บาท เป็น 12 บาท/กิโลกรัม ซึ่ง กบง.สั่งให้ ปตท. ไปทำรายละเอียดเพื่อพิจารณาครั้งต่อไป ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และจะมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์กองทุนน้ำมันให้สามารถอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงเฉพาะกลุ่มได้ จากเดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิงเท่านั้น ดังนั้น ในอนาคต หากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วอาจจะเปลี่ยนแปลงให้กองทุนเป็นผู้รับภาระเรื่องอุดหนุนราคาเอ็นจีวี แทน ปตท.

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

เผยปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิติ์เหลือใช้งานได้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์

     ผอ.เขื่อนสิริกิติ์เผยปริมาณน้ำเหลือใช้งานได้เพียง 30% หลังฝนตกเข้าเขื่อนน้อย พร้อมเร่งชี้แจงแนวทาง 8 มาตรการหลักช่วยเหลือเกษตรกร วอน ปชช.ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ด้านประมงจังหวัดอุตรดิตถ์กำหนด 3 มาตรการรับสถานการณ์ภัยแล้ง แนะเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง หันไปเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นที่ใช้น้ำน้อย เพื่อป้องกันความเสียหาย

    อุตรดิตถ์/ เมื่อเร็วๆ นี้ นายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ (อขส.) ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ ว่า ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำทำนาในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อทราบถึงปริมาณน้ำต้นทุน และกำหนดแนวทาง 8 มาตรการหลักสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรช่วงฤดูแล้งปี 2558/59 โดยปีนี้ถือว่าวิกฤติภัยแล้งรุนแรงมากที่สุด เพราะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมีน้อยมาก ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ 4,900.65 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 51.53 เหลือน้ำพร้อมใช้งาน 2,050.65 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 30.79

     ทั้งนี้ เขื่อนสิริกิติ์ได้ระบายน้ำตามแผนของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน คณะกรรมการฯ จึงได้มีแผนการระบายน้ำตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2558 จะระบายน้ำวันละ 5.0 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ระบายน้ำวันละ 8.0 ล้าน ลบ.ม. แม้ว่าปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันของเขื่อนทั้ง 4 แห่งจะมีปริมาณน้ำมากกว่าเป้าที่ได้ตั้งไว้ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก สามารถจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูแล้งปี 2558/59 ได้เฉพาะการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรังในฤดูแล้งนี้ได้ เนื่องจากปีนี้ฝนไม่ตกบริเวณเหนือเขื่อนส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างไม่มากนัก

     อย่างไรก็ตาม จึงขอให้เกษตรกรพิจารณางดการทำนาปรัง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสูง ตลอดจนขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงได้ในอนาคต

    ด้านนายสังวาล ดูระยับ รักษาการแทนประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงปลาในกระชัง 511 ราย รวมกว่า 6,900 กระชัง มากที่สุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ ต.วังกะพี้ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ซึ่งได้กำหนดมาตรการรับสถานการณ์ภัยแล้งไว้ 3 แนวทาง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดอุตรดิตถ์ หลังปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง คือ 1.การแจ้งเตือนภัยเกษตรกร โดยกำหนดรูปแบบการเลี้ยงที่สอดคล้องกับระดับน้ำ 2.การให้คำแนะนำด้านวิชาการ และ 3.การวางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ โดยต้องลดหรืองดการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่สันดอน โดยเกษตรกรอาจหันไปเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อย เช่น กบ ปลาดุก ปลาหมอ เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดแนวทางป้องกันความเสียหายจากสภาวะภัยแล้งไว้ 6 แนวทาง ได้แก่ จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นจำหน่ายหรือบริโภค ปรับสภาพดินและคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงปลา งดเว้นการรบกวนสัตว์น้ำและขนย้ายสัตว์น้ำในบ่อ ทำร่มเงาให้สัตว์น้ำเข้าพักและป้องกันการระเหยของน้ำบางส่วน ลดปริมาณการให้อาหารสัตว์น้ำ และแจ้งความเสียหายเพื่อรับความช่วยเหลือต่อไป

จาก http://www.banmuang.co.th   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

ข่าวดี FTA ไทย-ชิลีบังคับใช้วันนี้

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ชิลี จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.58 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและขยายมูลค่าการค้าระหว่างไทยและชิลีได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นช่องทางให้กับผู้ประกอบการไทยในการเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคอเมริกาใต้มากขึ้นด้วย เพราะทันทีที่ความตกลง FTA มีผลบังคับใช้ สินค้าชิลีและไทยจำนวน 90% ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าจะลดภาษีลงเหลือ 0% ทันที ส่วนที่เหลืออีก 10% ทั้ง 2 ประเทศจะทยอยลดภาษีเป็น 0% ภายในระยะเวลา 8 ปี

สำหรับสินค้าที่ชิลีจะลดภาษีให้ไทยมีจำนวน 7,855 รายการ โดยจะลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 7,129 รายการ เช่น รถยนต์และยานยนต์ชนิดต่างๆ ปลาทูน่ากระป๋อง ลิฟต์ เม็ดพลาสติกจำพวกโพลิเอทิลีน เครื่องซักผ้า วัสดุก่อสร้าง และสับปะรดกระป๋อง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังชิลีได้เพิ่มขึ้น และจากนั้นในปี 2561 จะลดภาษีเหลือ 0% อีก 296 รายการ ปี 2563 ลดภาษีเหลือ 0% อีก 283 รายการ และสุดท้ายจะลดภาษีสินค้าอ่อนไหวอีก 147 รายการ เหลือ 0% ในปี 2566

ทั้งนี้ ชิลีได้เปิดตลาดข้าวให้กับไทยมากกว่าที่ชิลีทำ FTA กับเวียดนามและจีน โดยชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ไทยเหลือ 0% ภายใน 5 ปี ซึ่งจะทำให้ไทยเปิดตลาดข้าวในชิลีได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการยกเลิกภาษีสินค้าที่ไทยมีความต้องการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น ทองแดง สินแร่เหล็ก เป็นต้น รวมทั้งลดภาษีไวน์ จำนวน 9 รายการ ในระดับเดียวกับที่ไทยได้เปิดตลาดให้ออสเตรเลีย

นางอภิรดีกล่าวว่า ในด้านการเปิดตลาดภาคบริการ ไทยจะได้ประโยชน์จากการที่ชิลีเปิดตลาด โดยอนุญาตให้คนไทยเข้าไปลงทุนเกือบทุกสาขาบริการได้ถึง 100% โดยเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทยมากเกินกว่าในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ วิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการค้าส่ง ค้าปลีก บริการเกี่ยวเนื่องภาคการผลิต

“ที่สำคัญ ชิลีได้อนุญาตให้บริการนวดแผนไทย และบริการกีฬา นันทนาการ รวมถึงมวยไทย ไปประกอบธุรกิจในชิลีได้ ซึ่งจะทำให้บริการเหล่านี้ของไทยเจาะเข้าสู่ตลาดชิลีได้เพิ่มมากขึ้น เพราะบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลกอยู่แล้ว”

จาก http://www.banmuang.co.th   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

ธ.ก.ส.เร่งชวยเหลือเกษตรกร

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส.เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ดำเนินงานตามโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 จำนวน 4 โครงการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งให้มีรายได้จากกิจกรรมอื่นทดแทน โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบวิกฤตภัยแล้งในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตาก นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พิจิตร พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุตรดิตถ์ และพื้นที่ภัยแล้งทั่วไป 55 จังหวัด    

สำหรับ 4 โครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย โครงการขยายระยะเวลาชำระหนี้สินเดิมลูกค้า ธ.ก.ส. โดยธนาคารจะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้เดิมให้แก่เกษตรกร ออกไปเป็นระยะเวลาไม่เกิน 24 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง และสำหรับลูกค้า ธ.ก.ส.ที่อยู่ในพื้นที่วิกฤตภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ที่มีหนี้เงินกู้เดิมรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท จะได้รับการลดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกร 1.5% ต่อปี และ ธ.ก.ส.รับภาระดอกเบี้ยแทนเกษตรกร 1.5% ต่อปี

     โครงการสินเชื่อเพื่อปรับปรุงระบบการผลิตด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาระบบน้ำ หรือเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตหรือประกอบอาชีพเสริมด้านการเกษตรวงเงินให้สินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 10 ปี กรณีพิเศษไม่เกิน 12 ปี โดยปลอดชำระต้นเงินไม่เกิน 3 ปีแรก คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR-2 ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7% ต่อปี) หรือเท่ากับ 5% ต่อปี

     โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อสร้างงานในชุมชนวงเงินให้สินเชื่อรวม 2,500 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR- 2 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7% ต่อปี) หรือเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 5 ปี โดยใช้ทางเลือกอาชีพเสริมของกระทรวงแรงงาน และโครงการสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนวงเงินให้สินเชื่อรวม 2,500 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายวิสาหกิจชุมชน 3,000 แห่ง สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยในอัตรา 4% ต่อปี เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้วิสาหกิจชุมชนระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 12 เดือน และหากเป็นการลงทุนมีระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 5 ปี

จาก http://www.banmuang.co.th   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558

WHOปลุกชาวโลกลดบริโภคน้ำตาลไม่เกิน6ช้อนชา/วัน

   สธ.เตือนติดรสหวานเสี่ยงโรคอื้อ ชี้คนไทยกินหวานทะลุอัตราที่อนามัยโลกกำหนดถึง 4 เท่าตัว โดยเฉพาะในเครื่องดื่มแค่ขวดเดียวน้ำตาลกระฉูด

    ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาวิชาการ เรื่อง ข้อเสนอองค์การอนามัยโลกเพื่อลดพลังงานจากน้ำตาลในอาหารประจำวันว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 104 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 26 ช้อนชา สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำเกือบ 4 เท่าตัว จากการสำรวจพบว่าแหล่งน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาทิ น้ำอัดลมมีน้ำตาลประมาณ 8 - 10 ช้อนชา ชาเขียวมีน้ำตาลประมาณ 12 – 14 ช้อนชา กาแฟสดหรือชาชงมีน้ำตาลประมาณ 10 ช้อนชา จะเห็นได้ว่าเพียงขวดเดียวร่างกายของเราก็ได้รับน้ำตาลเกินแล้ว

    ทั้งนี้ เครื่องดื่มบางชนิดใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์แทนน้ำตาลทราย เพราะหวานมากกว่าช่วยลดต้นทุนได้ แต่น้ำตาลประเภทนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปและร่างกายเผาผลาญไม่หมดจะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ ทำให้อ้วนลงพุง เสี่ยงเกิดภาวะไขมันพอกตับ

     ทันตแพทย์หญิงสุปราณี ดาโลดม ผอ.สำนักทันตสาธารณสุขกล่าวว่า การลดปริมาณบริโภคน้ำตาลในชีวิตประจำวันให้น้อยลง ถือเป็นเป้าหมายระดับโลก ล่าสุดในปี 2015คณะกรรมการวิชาการด้านโภชนาการและองค์การอนามัยโลก ได้จัดทำร่างข้อแนะนำ เรื่อง พลังงานอาหารใน 1วัน โดยลดสัดส่วนพลังงานจากน้ำตาลอิสระ (Free sugar) ลงครึ่งหนึ่ง จากข้อแนะนำเดิมไม่เกินร้อยละ 10 เหลือไม่เกินร้อยละ 5 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน หรือ 6 ช้อนชา รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ หามาตรการลดการบริโภคน้ำตาลลงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งวันที่ 14 พ.ย.ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก สมาคมเบาหวานโลกได้สนับสนุนข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก โดยได้ออกเอกสาร IDF’s Framework for Action on Sugar เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ลดบริโภคน้ำตาล

จาก http://www.siamrath.co.th   วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

'บิ๊กฉัตร'รับน้ำไม่มีเติมเขื่อนหลัก เผยปล่อยวันละ15.85ล้านลบ.ม.

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯเปิดเผยถึงปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จ.ว่ามีปริมาณล่าสุดเริ่มฤดูแล้ง ณ วันที่1 พ.ย. ที่ระดับ 4,247 ล้านลบ.ม. ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักโดยจะระบายน้ำวันละ 15.85 ล้านลบ.ม.เพื่อให้ครอบคลุมทุกกิจกรรม ซึ่งตัวเลขนี้เป็นฐานในการบริหารจัดการน้ำ ในปี58/59เพราะหมดฤดูฝนและจากนี้ไปจะไม่มีน้ำมาเติมเขื่อนมากแล้ว จึงต้องจัดสรรน้ำให้ครอบคลุมถึงเดือนกรกฎาคมปีหน้า

"โดยแยกเป็นการใช้น้ำช่วงฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน 58-เมษายน 59 จำนวน 2,900 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นอุปโภคบริโภค จำนวน 1,100 ล้านลบ.ม.รักษาระบบนิเวศน์ จำนวน1,400 ล้านลบ.ม. คงเหลือภาคเกษตร 400 ล้านลบ.ม.สำหรับไม้ผลและอ้อยที่ปลูกไว้เดิมแล้ว ส่วนปริมาณน้ำอีก 1,347 ล้านลบ.ม.จะต้องสำรองไว้ใช้ช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 59"

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า จากการที่เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ขี้แจงถึงสถานการณ์น้ำมีจำกัด ให้ชาวนาไปปลูกพืชอื่นทดแทน พบว่าส่วนใหญ่เกษตรกรมีความเข้าใจแต่ที่ยังปลูกข้าวนาปรังขยายพื้นที่ปลูกต่อเนื่อง 1.77 ล้านไร่ ทราบว่าสมัครใจรับความเสียหายเอง โดยตนได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ไปชี้แจงอีกรอบว่าปริมาณน้ำที่ปล่อยไปไม่ถึงพื้นที่ปลูกและไม่เพียงพอเลี้ยงต้นข้าวจนถึงเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามคาดว่าไม่เสียหายทั้งหมดเพราะเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่มีแหล่งน้ำในไร่นาตนเองด้วย

นอกจากนี้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจความต้องการของเกษตรกร ตั้งแต่เดือนกันยายน ใน 8 มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล มีวงเงินงบประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท เช่นมาตรการที่ 1.สนับสนุนปัจจัยการผลิต ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใน 22 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา ได้ครบจำนวน 385,958 รายแล้วเสร็จ มาตรการที่2  ลดค่าครองชีพ จำหน่วยสินค้าธงฟ้า 400 ครั้ง การจัดตลาดชุมชน มาตรการที่ 3 ลดภาระหนี้สิน งดเว้นค่าเช่าที่ดินสปก. งดเว้นดอกเบี้ย ธนาคาร ธกส. ธนาคารออมสิน ภายใน 6 เดือนนี้ เริ่มตั้งแต่เดือนนี้ไป การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ โดยกรมชลประทาน เริ่มจ้างตั้งแต่ วันที่1 ต.ค.ได้จ้างไปแล้ว 4 แสนราย และในส่วนมาตรการที่ 4. กระทรวงมหาดไทยเป็นแม่งานรับผิดชอบ ซึ่งได้มีการประชุมทาง วีดีโอคอนเฟอร์ กับผู้ว่าฯทุกจังหวัด ให้ไปเริ่มสำรวจทั่วประเทศ1  พ.ย. นี้รวบรวมข้อมูลความต้องการชุมชน จะสามารถดำเนินการ ได้เดือนก.พ. ปีหน้าเป็นต้นไป ทั้งนี้ยังมีมาตรการเพิ่มน้ำต้นทุนในเขื่อนต่างๆโดยการการปฎิบัติการ 600 เที่ยว การเจาะน้ำบาดาล โดยกระทรวงทรัพย์ ดำเนินการ 6,500 บ่อ กระทรวงกลาโหม 1,600 บ่อให้เสร็จภายในเดือนเมษายนปีหน้า

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรฯกล่าวว่าภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เริ่มมีความรุนแรงแล้ว โดยเร่งช่วยเหลือตามมาตรการที่ 1 คือส่งเสริมอาชีพอื่นให้มีรายได้แทนทำนา ซึ่งมีเมนูให้เกษตรกรเลือก เช่นเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่ เป็ด แจกครัวเรือนละ15-20 ตัว จะสร้างโรงเลี้ยงขนาดเล็กๆและอาหารสัตว์ให้ด้วย ซี่งอยู่ในงบ 1.1 พันล้านบาท ขณะนี้ประสานงานกับสำนักงบประมาณในเรื่อง รายละเอียดการเบิกจ่าย คาดว่างบลงพื้นที่ได้ กลางเดือนธันวาคม โดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรได้เมล็ดพันธุ์ไปแจก พร้อมกันนี้ รมว.เกษตร ฯได้มีนโยบายให้ทำฟาร์มชุมชนต้นแบบ ตามพระราชเสาวนีย์ พระบรมราชินีนารถ ที่ให้ทุกคนมารวมกันผลิตเพื่อแหล่งอาหารให้กับชุมชน ได้ใช้ประโยชน์รวมกัน  และรมว.เกษตรฯยังได้สั่งการให้เตรียมการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำทุกตัว เพื่อวางแผนให้เกิดความยั่งยืนทั้งระบบ โดยใช้นโยบายการจัดการโซนนิ่งพืชเกษตรให้สำเร็จภายในปี59

ด้านนายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่าถึงมาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ได้ลงไปสอบถามความเห็นเกษตรกรครบ100%แล้ว พบว่าเกษตรกรทั้งหมด 385,958 ครัวเรือนในลุ่มเจ้าพระยา ได้มีการแสดงความจำนงค์ที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ด้านพืช 155,183 ครัวเรือน ช่วยเหลือเป็นปัจจัยการผลิต 2,424 บาทต่อครัวเรือน  ด้านปศุสัตว์ 155,694 ครัวเรือน ช่วยเหลือ 2,844 บาทต่อครัวเรือน ด้านประมง 70,926 ครัวเรือน ช่วยเหลือ2,440 บาทต่อครัวเรือน ส่วนงานปรับปรุงดินพัฒนาดิน 4,155 ครัวเรือน ช่วยเหลือ 2,199 บาทต่อครัวเรือน

"มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่กระทบภัยแล้ง สร้างโอกาสให้เกษตรกรได้ทำเพื่อมีรายได้ช่วงแล้งลดรายจ่าย ปรับโครงสร้างการผลิต โดยตั้งกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่ว ไว้ด้วยกันและหาตลาดให้ พร้อมจัดปัจจัยการผลิตในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่จังหวัดร่วมกับชุมชน ผู้แทนเกษตรกร ร่วมกันหาเพื่อความโปร่งใส ส่วนในมาตรการที่4 ทำแผนชุมชนใช้หลักชุมชนคิดชุมขนทำเสนอแผน ไม่มีกำหนดวงเงิน กรอบโครงการกว้างมี 7 ลักษณะโครงการ เสนอผ่านกรรมการ ระดับอำเภอ จังหวัด ซึ่งเป็นโครงการชุมชนเสนอมาไม่ใช้โครงการเบี้ยหัวแตก กระทรวงมหาดไทยเป็นแม่งาน ถ้าชุมชนไหนมาน้ำเต็มสมบูรณ์ก็ไม่ได้งบตัวนี้"นายโอฬาร กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

‘ธีรภัทร ประยูรสิทธิ’ อุ้มเกษตรกรฝ่าภัยแล้ง-ดันเกษตรแปลงใหญ่

ธีรภัทร ประยูรสิทธิ

ใกล้จะสิ้นปี 2558 แล้ว แต่สินค้าเกษตรของไทยยังโดนคลื่นพายุโหมกระหน่ำตลอดเวลา ทั้งเศรษฐกิจโลกมีปัญหา ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งออกได้ลดลง และนับจากนี้ไปจะเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง (พ.ย.58-เม.ย.59) ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือน้อยมากไม่เพียงพอป้อนเกษตรกรทำการเกษตร กรมชลประทานขอความร่วมมือให้งดการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก ขณะที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แม่งานหลักอยู่ระหว่างเร่งทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย และต้องขับเคลื่อนแผนงานตามนโยบายรัฐบาลและตามแผนงานของกระทรวงไปพร้อมๆ กัน ถือเป็นงานที่ท้าทายและพิสูจน์ฝีมือ “ธีรภัทร ประยูรสิทธิ” ปลัดกระทรวงเกษตรฯคนล่าสุด ซึ่ง “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์พิเศษถึงแนวทางการบริหารงานและการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเจ้าตัวระบุยึดหลัก “เร็ว รุก สุขกับงาน วิชาการนำหน้า”

เน้นทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาเร็ว

“ธีรภัทร” กล่าวว่า การมาทำงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีเกษตรฯที่ได้เลือกตนให้มาปฏิบัติหน้าที่นี้ ซึ่งจะทำให้เต็มที่ในการขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐมนตรีและนโยบายรัฐบาลจะต้องมีความรวดเร็ว เพราะล่าช้าไปจะทำให้เกิดปัญหาหลายเรื่องตามมามากมาย ส่วนตัวจึงมีจึงมีสโลแกนในการทำงาน “เร็ว รุก สุขกับงาน วิชาการนำหน้า”

“การทำงานของผม จะมีการวางแผนหลายขั้นตอน และจะมีแผน 2 3 และ 4 แผนเตรียมพร้อมไว้เลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลากลับไปทำใหม่ และที่สำคัญจะต้องมีความสุขกับงานที่ทำในแต่ละวันเพื่อสร้างความสุขให้เกษตรกรรวมทั้งคนรอบข้างที่ทำงานด้วย อย่างข้าราชการก็ต้องมีความสุข เพราะฝืนทำงานไปก็ไม่เดิน และไม่ยั่งยืน สุดท้ายก็คือวิชาการนำหน้า เป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่ใช้ความรู้สึก มาตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญๆ เพราะฉะนั้นจะต้องพิจารณาและตัดสินใจ ภายใต้ข้อมูลทางวิชาการ เชื่อว่าจะทำให้การแก้ไขปัญหาลุล่วงไปได้ด้วยดี”

คิกออฟนโยบาย 4 ด้าน

 สำหรับนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรี ในฐานะผู้ขับเคลื่อนไปสู่ภาคการปฏิบัติ มีเรื่อง 4 เรื่องใหญ่ ได้แก่ ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสการแข่งขัน เพิ่มการบริหารจัดการ และลดปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง เป็นต้น ต้องให้เห็นเป็นรูปธรรม และให้เน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่เน้นเรื่องการกำไรหรือขาดทุนมาก แต่อยากให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข และสิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่มีการบริหารจัดการร่วมกัน ผลักดันให้มีการรวมกลุ่มในการผลิตร่วมกันจัดหาปัจจัยผลิตที่มีคุณภาพดี ราคาถูก และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้าเกษตร

“รูปแบบของเกษตรแปลงใหญ่ในปีงบประมาณ 2559 จะเพิ่มขีดความสามารถ และเชื่อมโยงตลาด รัฐมนตรีได้มอบนโยบายขับเคลื่อนให้เห็นผลจังหวัดละ 1 แปลง รวม 76 แปลงใหญ่ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้มีผลสำเร็จ เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นศูนย์การเรียนรู้สาธิตให้กับพื้นที่อื่นๆ ในเรื่องของการรณรงค์การลดต้นทุนการผลิต และให้มีการทำงานแบบบูรณาการและสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับจังหวัดและพื้นที่ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เรื่องการตลาด และสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ที่มีหน่วยงานตัวแทนในระดับจังหวัด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ภาคเกษตรไทยกินดีอยู่ดีและมีความมั่นคงในอาชีพต่อไป”

ตั้งศูนย์แก้ปัญหาภัยแล้ง

 ในเรื่องปัญหาภัยแล้งที่ทุกฝ่ายกังวลใจมากในขณะนี้นั้น เป็นที่ทราบว่านายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องนี้มาก และได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นหน่วยงานประสานงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/2559 ระดับชาติ (ศก.กช.) โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ร่วมกับ 13 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กรมทรัพยากรน้ำ และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น มีการประชุมกันหลายรอบแล้ว เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำในแต่ละวัน การติดตามสถานการณ์พร้อมหาวิธีการบริหารจัดการ ส่งต่อข้อมูลและวิธีการถึงประชาชน รวมทั้งติดตาม 8 มาตรการ จำนวน 45 โครงการ ผ่านมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 ให้ความเห็นชอบแล้ว กรอบวงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงบปกติ 6.7 พันล้านบาท และงบกลาง 4.39 พันล้านบาท

โดยทั้ง 8 มาตรการ ประกอบด้วย 1. มาตรการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน มีเกษตรกรเป้าหมาย 4.1 แสนราย งบประมาณ 1 พันล้านบาท 2. มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน โดยธนาคารออมสินร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.) เป้าหมายเกษตรกร 2.4 แสนราย 3. ลดค่าครองชีพโดยจำหน่ายสินค้าราคาเหมาะสม โดยกระทรวงพาณิชย์ (ร้านธงฟ้า) เป้าหมาย 400 ครั้ง (เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 พ.ย.58) 4. มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร 5. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ 6.โครงการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อบรรเทาผลภัยแล้ง 7. มาตรการ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 7. มาตรการ เสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 8. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ

ปลัดธีรภัทร กล่าวอีกว่า มาตรการที่ออกมาเพื่อลดผลกระทบให้แก่พื้นที่ที่จะประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว เน้นย้ำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกข้าว หรือพืชที่ใช้น้ำมาก มาเป็นการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยอื่นๆ ที่สร้างมูลค่าสูง หรือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ และการประมงตามแหล่งน้ำที่ได้เตรียมไว้ จะช่วยลดความเสี่ยง ความเสียหายของพืชผล แต่ถ้าเสี่ยงปลูกก็ไม่ได้ห้าม เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล เพียงแต่น้ำอาจจะไม่เพียงพอ สิ่งที่จะฝากถึงประชาชนและเกษตรกรทั่วประเทศคือจะขับเคลื่อนงานของกระทรวงตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีโดยใช้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการทำงาน จะทำอย่างไรให้พี่น้องเกษตรกรมีชีวิตอยู่ได้ในสังคมปัจจุบัน

“สถานการณ์ตอนนี้โดยเฉพาะในเรื่องของภัยแล้ง เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นเราคงโทษใครไม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาลตามมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ออกไปและขอร้องให้ทุกคนในประเทศไทยทุกพื้นใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพเพราะว่าเราจะเจอสถานการณ์ภัยแล้งสุดๆ ในช่วงฤดูแล้งนี้และไม่รู้จะยาวนานแค่ไหน เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์และปรับเปลี่ยนเพื่อที่จะทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ต่อไป”

“ธีรภัทร” กล่าวช่วงท้ายว่า การทำงานของกระทรวงเกษตรฯ เป็นการทำงานที่จะเชื่อมโยงเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ที่ผ่านมามีการบุกรุกป่าไม้ จับเท่าไรก็ไม่หมด สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือในเรื่องของคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรที่อยู่รอบป่าตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา เพราะฉะนั้นเมื่อมาอยู่จุดนี้จะพยายามเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องของการปลูกพืชที่ใช้พื้นที่มากๆ ปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพ การให้ผลผลิตสูง เพื่อที่จะลดในเรื่องของการบุกรุกและในการทำลายทรัพยากรป่าไม้ลงได้ในอนาคต

จาก http://www.thansettakij.com  วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ครบุรีจับมิตซุยลงขันหมื่นล. ตั้ง3โรงงานน้ำตาลใหม่อ.สีคิ้ว

"น้ำตาลครบุรี" จับมือ "มิตซุย" จากญี่ปุ่น เล็งทุ่มกว่า 10,000 ล้าน ขึ้น 3 โรงงานน้ำตาลใหม่ พื้นที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ตีกันโรงงานน้ำตาลคู่แข่งในพื้นที่แย่งอ้อย พร้อมขึ้นโรงงานเอทานอลขนาบข้าง หวังเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นแท่นผู้ผลิตอันดับ 5 ของประเทศไทย

นายอิสสระ ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นแผนเสนอขอตั้งโรงงานน้ำตาลกับทางสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ทั้งหมด 3 แห่งในพื้นที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา แบ่งเป็นโรงงานที่บริษัทถือหุ้นและลงทุนเอง 100% จำนวน 1 แห่ง ส่วนอีก 2 โรงงานใหม่เป็นการยื่นข้อเสนอโดยมีกลุ่มมิตซุยเข้ามาร่วมถือหุ้น 15% กำลังการผลิตแต่ละโรงงานประมาณ 12,000-20,000 ตัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท ทั้งนี้หากได้รับอนุมัติคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี โดยบริษัทตั้งเป้าว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้บริษัทสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 5 ของประเทศไทยได้

ปีนี้บริษัทสามารถผลิตไฟฟ้า กำลังการผลิต 22 เมกะวัตต์ ที่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่วนหนึ่ง ในราคาประมาณ 3 บาท/ยูนิต ที่เหลือใช้ในโรงงาน

"ยอมรับว่าระยะห่าง 50 กม. ในการตั้งโรงงานจะมีปัญหาการแย่งอ้อย แต่เราต้องตั้งเพราะพื้นที่ตรงนั้นเป็นอ้อยของเราอยู่แล้ว เราไม่ต้องการให้รายอื่นมาแย่ง บริษัทมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตเอทานอลบริเวณ อ.สีคิ้วเพิ่มด้วย เพราะค่าขนส่งที่จะรับกากอ้อยในพื้นที่ราคาดีกว่าที่จะผลิตจากโรงงานของบริษัทที่ตั้งอยู่ใน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา สำหรับพื้นที่ใน อ.สีคิ้ว เรามีการส่งเสริมให้ชาวไร่ปลูกอ้อยมาเกือบ 6 ปีแล้ว ก่อนที่จะมีประกาศยุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลจากกระทรวงอุตสาหกรรมอีก และบริษัทพร้อมส่งเสริมนโยบายรัฐให้ปลูกอ้อยแทนนาข้าว หากโรงงานแรกได้รับอนุมัติ คาดว่าจะมีอ้อยป้อนเข้าสู่โรงงานจากพื้นที่โดยรอบ ประมาณ 200,000 ไร่ ปริมาณอ้อยกว่า 2 ล้านตัน"

อย่างไรก็ตาม หวังว่าช่วงที่ก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะกลับมาดีขึ้น จะทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันแนวโน้มราคาน้ำตาลตลาดโลกยังคงตกลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ประมาณ 13-15 เซนต์ต่อปอนด์ บวกกับภาวะแล้งในประเทศไทย ส่งผลให้รายได้ของบริษัทลดลง ซึ่งจะกระทบรายได้ที่เดิมตั้งเป้าไว้ประมาณ 300 ล้านบาท คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 250 ล้านบาท

 ส่วนนโยบายปี 2559 บริษัทให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานผลิต การขยายพื้นที่ปลูกอ้อย เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตจากปี 2557 อยู่ที่ 24,000 ตัน ปีนี้เพิ่มกว่า 50% รวมมีกำลังการผลิตเป็น 36,000 ตัน โดยปัจจุบันบริษัทมีสินค้าที่วางจำหน่าย เช่น น้ำตาลทรายขาว 100% แบรนด์ KBS และจะเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยการทำให้น้ำตาลสะอาด แห้งไม่จับตัวเป็นก้อน เป็นความต้องการของตลาดมากในขณะนี้ เนื่องจากเป็นปัญหาใหญ่ขณะที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ

 สำหรับแผนการลงทุนในต่างประเทศมีนโยบายชะลอการลงทุนไปก่อน จากที่เคยคิดจะไปลงทุนในกัมพูชา เพราะจากการประเมินตลาดแล้ว และความต้องการในประเทศไทยยังมีปริมาณมาก ดังนั้นการผลิตเพื่อขายตลาดในประเทศยังเป็นเรื่องสำคัญ

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรมวิชาการเกษตรฝ่าภัยแล้ง ถ่ายทอดงานวิจัยให้เกษตรกร

รายงานจากกรมวิชาการเกษตรแจ้งว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2558 พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเดินทางไปเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี “50 ปี เส้นทางวิจัย ผลงานก้าวไกล เกษตรไทยยั่งยืน” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ทั้งนี้ ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ ให้เกษตรกรที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดทั้งวัน โดยเน้นเรื่องที่เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้ง การลดต้นทุนการผลิตอ้อย การสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อย การผลิตพืชในระบบ GAP และ เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งเปิดศูนย์เรียนรู้ ตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ และ แปลงสาธิตการปลูกพืชเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้าชมด้วย คาดว่าจะมีเกษตรกรในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมชมงานจำนวนมาก

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ส่องเกษตร : แผนปฏิบัติฝ่าภัยแล้ง

ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งระดับชาติ ปี’58/59 หรือ “วอร์รูมวิกฤติภัยแล้ง” ทำงานอย่างแข็งขัน เป็นข่าวแทบทุกวันช่วงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะต้องยอมรับว่า แล้งนี้ที่จะยาวไปถึงกลางปีหน้านั้น ชัดเจนว่า จะวิกฤติสาหัสสากรรจ์เป็นประวัติการณ์ยิ่งกว่าปีไหนๆ

ต้องย้ำข้อมูลเดิมอีกครั้งว่า น้ำเขื่อนใหญ่เขื่อนหลักตอนนี้เหลือรวมแค่ 4 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตร เป็นระดับที่ไม่เคยน้อยเท่านี้มาก่อนเลยในรอบ 20 ปี ขนาดปีที่ผ่านมาซึ่งเผชิญภัยแล้งรุนแรงมาก ระดับน้ำในเขื่อนใหญ่รวมกันยังมีถึง 6.7 พันล้านลูกบาศก์เมตร แต่ถ้าระดับปกติที่ไม่ต้องห่วงเรื่องแล้งเลยนั้น น่าจะต้องมีรวมกันมากกว่า 9 พันล้านลูกบาศก์เมตร

จึงต้องย้ำอีกเช่นเคยว่า ปีนี้ไม่ควรเด็ดขาดที่จะทำนาปรังที่ต้องใช้น้ำมาก ซึ่งแม้มีการรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง ก็ยังน่าหนักใจ เพราะตอนนี้พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัดทำนาปรังไปแล้ว 1.5 ล้านไร่ และคงปลูกเพิ่มขึ้นอีก แม้น่าจะไม่มากเท่าปีก่อนที่แห่ปลูกไม่ฟังเสียงเตือนถึง 5 ล้านไร่ก็ตาม

รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์-เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ในฐานะผู้อำนวยการ “วอร์รูมภัยแล้ง” ซึ่งสั่งกรมชลประทานลงตรวจสอบการปลูกข้าวนาปรังอย่างต่อเนื่อง ระบุว่า การลงพื้นที่ชี้แจงกับชาวนาได้ผลระดับหนึ่ง คาดการขยายพื้นที่นาปรังปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว

“ตอนนี้ทุกหน่วยงานบูรณาการร่วมกันเป็นทีมประเทศไทย เป้าหมายให้เกษตรกรเข้าใจว่าเป็นปีน้ำน้อย ปลูกไปก็เสี่ยงเสียหาย และเพื่อให้ลดทำนาปรังสัมฤทธิผล ทีมประเทศไทยจะไปดูแผนงานชุมชน ถ้าไม่ทำนาปรัง จะช่วยให้มีรายได้ช่วงหน้าแล้งอย่างไร ต้องถามความเห็นเกษตรกรอยากทำอะไร ให้ขอโครงการมาพร้อมงบฯโดยกระทรวงมหาดไทยจะเป็นแกนนำ”นายเลิศวิโรจน์ กล่าว

ผมก็ได้ข้อมูลเป็นหนังสือที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย-กฤษดา บุญราช ส่งผู้บริหารทุกจังหวัด ตั้งแต่ผวจ.ลงมาถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน แจ้งแนวคิดการจัดทำโครงการช่วยเหลือ ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้มหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งเป็น 1 ใน 8 มาตรการที่กระทรวงเกษตรฯเสนอ และครม.เห็นชอบไปแล้ว นับว่าน่าสนใจที่จะนำมาสรุปถ่ายทอดต่อตรงนี้

หนังสือดังกล่าวชี้ว่า โจทย์สำคัญโครงการนี้คือ การทำความเข้าใจกับประชาชนให้เปลี่ยนมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือประกอบอาชีพอื่นๆแทนการทำนาปรัง ซึ่งเมื่อเขาทำตามที่ราชการแนะนำแล้ว พวกเขาจะมีรายได้เท่าเดิมหรือดีกว่าจริงหรือไม่

ทั้งนี้ แนวคิดหลักการโครงการ ให้น้อมนำหลักการทรงงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องระเบิดจากข้างใน ที่ทรงให้ประชาชนคิดเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาหรือดำเนินงานตามความสมัครใจ, ทั้งเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนมาร่วมกับภาครัฐ ในรูปแบบประชารัฐ ส่วนวิธีการช่วยเหลือ ดำเนินการได้ทั้งการให้องค์ความรู้ที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพใหม่หรือทำเกษตรกรรมน้ำน้อย และสนับสนุนงบฯผ่านองค์กรภาคประชาชนโดยหน่วยราชการกำกับให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนเพื่อความโปร่งใส ทั้งต้องมีข้อมูลสำคัญคือ1.ข้อมูลพื้นที่และประชาชนที่ประสบภัยแล้ง 2.ข้อมูลการเพาะปลูกพืชหรือลักษณะอาชีพคนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง 3.ข้อมูลราคาและจำนวนสินค้าหรือตลาดงานบริการ(Demand side)ที่ต้องต้องการในพื้นที่จังหวัด/กลุ่มจังหวัดและต่างประเทศ

ส่วนขั้นตอนดำเนินการในส่วนกลางให้ประสานทุกฝ่ายจัดทำข้อมูลสำคัญทั้ง3ประการ เพื่อสนับสนุนการทำงานจังหวัด/อำเภอ,ส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด/อำเภอ ตรวจสอบเปรียบเทียบข้อมูลจากส่วนกลางและข้อมูลความต้องการพื้นที่ นำมารวบรวมจัดทำแผนงาน ฯลฯ

ปัจจัยความสำเร็จคือ การทำความเข้าใจระหว่างชุดปฏิบัติการตำบลหรือทีมประเทศไทยประจำตำบล ที่นำข้อมูลที่ถูกต้อง

 ของสินค้าหรืองานบริการที่ตลาดต้องการไปเสนอประชาชนได้คิดและตัดสินใจเลือกปลูกพืชน้ำน้อยหรือประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ยังคงมีรายได้เท่าเดิมหรือดีกว่าเดิมจากที่เคยทำนาปรัง ก็จะทำให้เกษตรกรยอมรับคำแนะนำ ร่วมมือทำให้ปัญหาขัดแย้งแย่งน้ำหมดไป

ผลลัพธ์ที่จะได้คือโอกาสที่ไทยจะสามารถกำหนดพื้นที่(Zoning)พืช/อาหารให้สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานตลาดได้สำเร็จ จะทำให้ไม่มีปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำอีก

สรุปภารกิจหน่วยงานราชการ+ภาคประชาชน+ภาคธุรกิจเอกชนในรูปแบบประชารัฐ=ความสำเร็จที่ยั่งยืนของโครงการนี้ แต่ละฝ่ายจะมีบทบาทดังนี้ 1.ฝ่ายสนับสนุนการผลิต=กระทรวงเกษตรฯ+หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง+ภาคประชาชนที่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตรและการประกอบอาชีพ 2.ฝ่ายควบคุมการผลิต=มหาดไทย+จังหวัด/อำเภอ+กำนัน/ผญบ.กรรมการหมู่บ้าน และ 3.ฝ่ายสนับสนุนการตลาด=กระทรวงพาณิชย์+หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง+หอการค้า/องค์กรธุรกิจเอกชน

แนวทางตามแผนถ้าทำกันจริงจังได้ผลสำเร็จ เกษตรกรเราคงจะฝ่าวิกฤติแล้งปีนี้ไปได้แน่นอน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผอ.เขื่อนเจ้าพระยา เตือนส่อวิกฤติภัยแล้ง เหลือน้ำใช้ได้180วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาล่าสุด โดยนายเอกศิษฐ์ ศักดีธนาภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการเขื่อนเจ้าพระยา เปิดเผยว่า ตามแผนของโครงการเขื่อนเจ้าพระยา เหลือน้ำใช้ได้อีกเพียง 180 วัน แต่หากเกษตรกรมีการลักลอบสูบน้ำทำการเพาะปลูกนอกฤดูก็จะยิ่งวิกฤติเร็วขึ้น เพราะปัจจุบันระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยตรวจสอบสถานการณ์ภัยแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ที่จุดวัดน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับน้ำเหนือเขื่อนอยู่ที่ 14.47 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลดลงอีก 20 ซม. ซึ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐานกักเก็บของเขื่อนถึง 2.28 เมตร ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อนทรงตัวอยู่ที่ 5.90 เมตรโดยเขื่อนเจ้าพระยาคงอัตราการระบายน้ำไว้ที่ 70 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที

นายเอกศิษฐ์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ฤดูฝนสิ้นสุดลงแล้ว ขณะที่ระดับน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ปัจจุบันหากเป็นไปตามแผน จะมีน้ำใช้ไปได้อีก 180 วัน หรือถึงสิ้นเดือน เม.ย. 2559 แต่ยังมีการตรวจพบว่า มีการลดระดับลงของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง จากการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาของเกษตรกรที่อยู่เหนือเขื่อน ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้น้ำนอกแผน จึงต้องขอความร่วมมือให้พี่น้องเกษตรกรงดการสูบน้ำ เพราะยิ่งมีการใช้น้ำนอกแผน น้ำใช้จาก 180 วันก็จะยิ่ง สั้นลง และจะกระทบน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทช.บูรณาการด่านชั่งน้ำหนัก

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า เนื่องจากการดำเนินงานจัดตั้งหน่วยชั่งน้ำหนักยานพาหนะเคลื่อนที่ภายใต้จำนวนบุคลากรที่มีอย่างจำกัด รวมทั้งมีการข่มขู่คุกคาม จากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จึงเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าพนักงานทางหลวงในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการควบคุมและป้องปรามการกระทำผิดของการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดของรถบรรทุกลดลง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ทช.จึงได้จัดตั้งหน่วยชั่งน้ำหนักยานพาหนะเคลื่อนที่แบบบูรณการขึ้น โดยได้ร่วมบูรณการ การปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางบก กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ในการร่วมสนับสนุนอุปกรณ์และบุคลากรในการจัดตั้งหน่วยชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ฯ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น

ในการกำกับพิกัดน้ำหนักบรรทุกของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อนำไปสู่ การขยายผลในการดำเนินการทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งคาดว่าผลลัพธ์ที่ได้รับจากการบูรณการ

ขณะที่กรมทางหลวง แจ้งความคืบหน้าโครงการก่อสร้างการขยายทางหลวงหมายเลข 4 สายกระบี่-อ.ห้วยยอด เป็น 4 ช่องจราจรแล้วเสร็จ รวมระยะทาง 18 กิโลเมตร รูปแบบการก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร ผิวจราจรเป็นแบบแอสฟัลต์คอนกรีต 2 ชั้น  แบ่งทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟสัญญาณจราจรและไฟกระพริบบนทางหลวง เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการเดินทาง

จาก http://www.banmuang.co.th  วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

'ฉัตรชัย'มอบแนวบริหารน้ำ4

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วย นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปตรวจดูสถานการณ์น้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อมอบนโยบายการบริหารจัดการน้ำแก่เจ้าหน้าที่ชลประทานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำใน 4 เขื่อนใหญ่ ลุ่มเจ้าพระยา ที่มีปริมาณน้ำใช้การรวมแล้วเหลือประมาณ 4,275 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่น้อย ต้องมีการบริหารจัดการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้เพียงพอใช้ สำหรับอุปโภคบริโภคและการปลูกพืชใช้น้ำน้อยไปจนถึงฤดูฝนในปี 2559

          ซึ่งการบริหารจัดการน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในปริมาณ 130 ลบ.ม./วินาที คาดว่า จะสามารถควบคุมน้ำให้มีใช้ไปได้ตลอดก่อน 9 เดือน ก่อนถึงฤดูฝนปีหน้า

          จากนั้นได้เดินทางไปที่แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย ม.6 ต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท เพื่อตรวจดูพื้นที่ปลูกข้าวแปลงใหญ่ และพบปะพูดคุยกับเกษตรกรโดยเกษตรกรและผู้นำท้องถิ่น ได้ร้องขอให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างโรงสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า บริเวณปากคลองระหานใหญ่ ม.9 ต.ท่าชัย เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าชัย ต.นางลือ และ ต.แพรกศรีราชาจำนวนกว่า 40,000 ไร่ ให้มีน้ำใช้เพาะปลูกได้ไม่ขาดแคลน

          ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย ยังได้แนะนำให้ผู้ว่าฯ ชัยนาท ช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยทำการขุดบ่อน้ำแบบขนมครก ไว้ใช้กักเก็บน้ำ กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึง

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

งดปล่อยน้ำ24อ่างใหญ่ 

          สถานการณ์น้ำในประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง เมื่อกรมชลประทานได้รายงานให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่าในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปีการผลิต 2558/2559 กรมชลประทานไม่สามารถระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 24 แห่ง

          ประกอบด้วย ภาคเหนือ 4 แห่ง ได้แก่ แม่กวงอุดมธารา แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม และกิ่วคอหมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 แห่ง ได้แก่ แม่อูน ห้วยหลวง น้ำพุง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ ลำปาว ลำตะคอง มูลบน ลำแชะ และลำนางรอง ภาคกลาง 2 แห่ง ได้แก่ กระเสียวและทับเสลา ภาคใต้ 2 แห่ง ได้แก่ แก่งกระจานและปราณบุรี

          ส่วนในลุ่มน้ำเจ้าพระยามี 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อน สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ ขณะที่ลุ่มน้ำแม่กลองมี 2 แห่ง คือ เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์

          นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในวันที่ 3 พ.ย. กระทรวงเกษตรฯ จะเสนอของบกลางจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) 1,000 ล้านบาท จากกรอบวงเงินที่ ครม.อนุมัติไว้ 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง 3.8 แสนครัวเรือน

          นอกจากนี้ ผลสำรวจความต้องการของประชาชนในโครงการพัฒนาอาชีพความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน เบื้องต้นมีการเสนอโครงการเข้ามา 3.8 หมื่นโครงการ 3 หมื่นล้านบาท

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมงานด้านการเกษตร 

          พลเอก ประสาท สุขเกษตร เลขา นุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดงานวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบปีที่ 48 ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2558 ภายใต้คำขวัญ "กรมส่งเสริมการเกษตรมีคนอยู่ทั่วทุกทิศ เป็นมิตรแท้ของเกษตรกร"

          มุ่งมั่นทำงานภายใต้พันธกิจสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิต จัดการสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด ให้บริการแก้ปัญหาการเกษตรตามความต้องการของเกษตรกร รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยและพัฒนางานด้านการส่งเสริมการเกษตรโดยบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน

          สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2559 นั้นจะยังคงเดินหน้าสานงานเดิม พร้อมกับเร่งรัดงานสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล โดยจะเน้นการขับเคลื่อนนโยบายการลดต้นทุนการผลิตตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ที่ประกาศให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตผ่านการส่งเสริมเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่

          ประกอบกับเดินหน้าสนับสนุนโครง การพระราชดำริและขยายผลสู่เกษตรให้มากขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมการเกษตร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในระดับครัวเรือนและชุมชน ขณะเดียว กันได้มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร รุ่นใหม่ ซึ่งจะมีแนวคิดใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ สู่การขับเคลื่อนดำเนินงานโดยใช้ระบบ งานกลไกได้อย่างรวดเร็ว อันจะเป็นการส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาเกษตรกรสู่ ความเป็นเลิศ เป็นองค์กรเกษตรกรที่เข้มแข็งและยั่งยืน และเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป.

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

อุตฯ น้ำตาลไทย ร่วมประเทศสมาชิกกลุ่ม GSA ค้านการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย

          3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย บินร่วมประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการค้าน้ำตาลโลก หรือ GSA แจงสมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของบราซิลกรณีสงสัยไทยอุดหนุนผู้เพาะปลูกอ้อยหวังเพิ่มผลผลิตและส่งออกน้ำตาล พร้อมร่วมมือบราซิล และออสเตรเลีย ค้านมาตรการอุดหนุนการส่งออกของอินเดียและประเทศอื่นๆ หวั่นยิ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะเดียวกันสมาชิก GSA เห็นด้วยกับการให้ความรู้การบริโภคน้ำตาลทรายที่พอดีต่อร่างกาย

          นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หัวหน้าคณะผู้แทนภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมเดินทางไปประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการค้าน้ำตาลโลก (Global Sugar Alliance: GSA) ประจำปี 2558 ที่ประเทศบราซิล โดยมีประเทศสมาชิก ได้แก่ บราซิล ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เข้าร่วมด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายบราซิลต่อประเด็นข้อสงสัยไทยให้การอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล จากการให้ความช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยผลิตเป็นน้ำตาลทั้งเพื่อบริโภคในประเทศและส่งออก

          ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ทำความเข้าใจถึงการบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบอุตสาหกรรมนี้ โดยมีการแบ่งปันรายได้ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลให้เกิดความเป็นธรรม และกำกับดูแลให้มีน้ำตาลเพียงพอต่อการบริโภค

          สำหรับการกำหนดราคาส่งออกนั้น จะจัดสรรน้ำตาลทรายโควตา ข. ที่มีบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด หรือ อนท. เป็นผู้ทำราคาส่งออก ตามกลไกราคาตลาดโลก โดยภาครัฐก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนแต่อย่างใด ซึ่งโรงงานน้ำตาลจะใช้ราคาดังกล่าวเป็นราคากลางในการคำนวณราคาอ้อย หากโรงงานใดทำราคาส่งออกได้ต่ำกว่าจะต้องรับผิดชอบส่วนต่างหรือหากทำได้สูงกว่า โรงงานก็ได้รับประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไป ส่วนการกำหนดปริมาณและราคาน้ำตาลทรายโควตา ก. นั้น เพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอกับการบริโภคในประเทศ ในราคาที่เหมาะสม โดยราคาน้ำตาลในไทยถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ และใกล้เคียงกับราคาขายปลีกในบราซิล ถึงแม้ว่าขณะนี้ ค่าเงินReal ของบราซิลอ่อนตัวอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

          "เราไปยืนยันในที่ประชุม GSA ว่าภาครัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนอุดหนุนชาวไร่อ้อยหรือโรงงานแต่อย่างใด เนื่องจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยมีระบบกำกับดูแลร่วม 3 ฝ่าย คือ ชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลและภาครัฐ ร่วมกันบริหารจัดการอุตสาหกรรมให้เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยฝ่ายชาวไร่และโรงงานน้ำตาลร่วมมือส่งเสริมพัฒนาการเพาะปลูกอ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยโรงงานรับซื้อผลผลิตทุกตันอ้อย ในราคาที่เป็นธรรมตามที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกาศกำหนด ซึ่งสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ชาวไร่ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นสนใจเข้ามาเพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ซึ่งหลังจากที่ชี้แจงในครั้งนี้ เชื่อว่าตัวแทนผู้ผลิตน้ำตาลของบราซิลจะมีความเข้าใจฝ่ายไทยมากขึ้น" นายวิบูลย์ กล่าว

รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า กลุ่ม GSA

          ไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลโลก และขัดกับข้อผูกพันที่ทำไว้กับ WTO โดยบราซิล ออสเตรเลีย ไทย รวมทั้งสมาชิก GSA อื่นๆ จะดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อคัดค้านการอุดหนุนการส่งออกในทุกกรณี ที่บิดเบือนต่อกลไกราคาน้ำตาลในตลาดโลก

          นอกจากนี้ ที่ประชุม GSA ครั้งนี้ เห็นด้วยกับการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำตาลและสุขภาพ โดยควรบริโภคน้ำตาล หรือสารอาหารที่ให้พลังงาน ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย ซึ่ง 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย และ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย พร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐให้ความรู้เรื่องการบริโภคน้ำตาลและโภชนาการ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคกินอย่างพอดี และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรค

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

ธปท.ชี้เศรษฐกิจฟื้น สศค.คาดปีหน้าขยาย 3.8% แรงหนุนลงทุนภาครัฐชี้สัญญาณเศรษฐกิจฟื้น

ธปท.เผยภาวะเศรษฐกิจเดือนกันยายนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการใช้จ่ายภาคเอกชน เชื่อภาคส่งออกมีสัญญาณฟื้นตัวช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาส 3 / สศค.หั่นเป้าจีดีพีปีนี้ เหลือ 2.8% คาด ปี 59 ขยายตัว 3.8% รับแรงหนุนจากลงทุนภาครัฐ

นางรุ่ง มัลลิกะมาศ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือนกันยายน โดยระบุว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มเห็นสัญญาณการกระเตื้องขึ้นในส่วนของการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งหมวดที่ยังขยายตัวได้คือสินค้าไม่คงทน 2.2% จากระยะเดียวกันของปีก่อน รวมถึงในส่วนของภาคบริการที่ยังขยายตัวประมาณ 3% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไม่คงทนที่มีการขยายตัวชัดเจนคือ สินค้าที่เกี่ยวกับพลังงาน หรือน้ำมัน ซึ่งเห็นได้จากดัชนีการใช้พลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

“ในภาคบริการนั้น ดัชนีการบริการยังมีการขยายตัว เพียงแต่ในเดือนนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเป็นเดือนที่ 2 ต่อจากเหตุการณ์ที่แยกราชประสงค์ โดยนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป ทำให้กิจกรรมในภาคบริการขยายตัวต่ำกว่าปกติไปบ้าง แต่ในภาพรวมก็ยังเป็นการขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อน”

ด้านหมวดการก่อสร้างพบว่าเครื่องชี้โน้มลดลง สะท้อนการเลื่อนกิจกรรมออกไป เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่ ส่วน ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลต่อเนื่องเล็กน้อย โดยเกินดุลอยู่ที่ประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา แต่ดุลการค้ายังเกินดุลเยอะที่ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยดุลบริการรายได้และเงินโอนเดือนนี้ติดลบ 2.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สะท้อนจากรายได้ของการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดแยกราชประสงค์ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเป็นภาวะปกติที่จะมีการส่งผลกำไรกลับประเทศของกลุ่มผู้ประกอบการที่มาจากต่างประเทศ

“บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือนนี้ยังเป็นการไหลออกสุทธิ จาก 2 สาเหตุหลักได้แก่ 1.การถอนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติ จากความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดเกิดความพะวงอยู่ อีกทั้งเศรษฐกิจจีนก็ยังสร้างความกังวล ทำให้มีการถอนเงินจากตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกกลับสู่ตลาดหลัก และ 2.การออกไปลงทุนโดยตรงของคนไทยเองมากขึ้น”

ในส่วนของค่าเงินบาทเดือนกันยายนเป็นการอ่อนค่าไปพร้อมกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยเมื่อเทียบกับคู่ค้า และคู่แข่งถือว่าเงินบาทอ่อนลงเล็กน้อย แต่ในเดือนตุลาคมตลาดจะเริ่มมีความนิ่งมากขึ้น จากสัญญาณของเฟดที่ชัดเจน ทำให้มีเงินทุนไหลกลับเข้ามาบ้าง ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่เป็นการแข็งค่าพร้อมกับประเทศในภูมิภาคเช่นเดียวกัน ขณะที่หนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับที่ทรงตัวจากช่วงก่อนหน้า ส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นต่างประเทศถือว่ามีเพียงพอที่ 2.8 เท่า

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 3/58 จะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาส สะท้อนได้จากเครื่องชี้ทางการบริโภค และการลงทุนที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อย รวมถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นบ้าง และรายได้นอกภาคเกษตรที่ไม่ทรุดลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนปัจจัยลบที่ต้องติดต่อเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งในภาพรวมอาจจะแย่ลง แต่เศรษฐกิจในประเทศถือว่าดีขึ้น จากการใช้จ่าภาครัฐที่ยังสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ด้านนางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า สศค.ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้(2558) ลงเหลือ 2.8%(โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 2.6-3.1%)ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3% ทั้งนี้ คาดการณ์จีดีพีทั้งปีที่ 2.8%นั้นมาจากปัจจัยสนับสนุนหลักการลงทุนภาครัฐโดยเฉพาะอานิสงส์จากการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

สำหรับปี 2559 คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.8% โดยได้รับแรงส่งจากการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและโครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการรัฐได้

จาก http://www.thansettakij.com  วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

ปัญหาเกษตรที่นี่มีคำตอบ : การผลิตปุ๋ยหมัก ด้วยระบบกองเติมอากาศ

คำถาม อยากทราบว่า การผลิตปุ๋ยหมักด้วยวิธีระบบกองเติมอากาศ คืออะไรค่ะ แล้วมีวิธีทำอย่างไรค่ะ

นงราม สุวรรณนาม 

อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

คำตอบ การผลิตปุ๋ยหมักด้วยระบบกองเติมอากาศ เป็นการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองสามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายในเวลา 1 เดือน ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดี มีค่าธาตุอาหารครบตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถผลิตปุ๋ยหมักได้มาก ผลิตได้ทุกฤดูกาลโดยไม่ต้องใช้โรงเรือน โดยใช้เศษพืชจากการเกษตรกรรม เช่น ฟางข้าว ต้นถั่วเหลือง ก้านกระเทียม ผักตบชวา เศษผัก ขี้เลื่อย ต้นและฝักข้าวโพดแห้งและสด เป็นการสนองนโยบายของภาครัฐ การส่งเสริมให้มีการเกษตรอินทรีย์ มุ่งเน้นการลดใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีลง และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร

อาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการวิจัยและแนะนำไว้ดังนี้

อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ 1) เครื่องย่อยเศษพืช เครื่องเบนซิน 9 แรงม้า 2) พัดลมโบรเวอร์ 3 แรงม้า 3) ท่อพีวีซี 4 นิ้ว

4) เศษพืชต่างๆ และมูลโค

ขั้นตอนการทำ

1.เตรียมวัตถุดิบ โดยนำเศษพืชไปย่อยในเครื่องย่อยเศษพืช ผสมคลุกเคล้ากับมูลโคในสัดส่วน 3:1

2.ขึ้นกองปุ๋ย นำเศษกิ่งไม้ไปวางก่ายบนท่อน้ำวัสดุที่คลุกเคล้า แล้วรดน้ำพอหมาดวางทับบนกิ่งไม้เป็นรูปปริซึมสามเหลี่ยม

3.การเติมอากาศทุกวัน วันละ

2 ครั้ง คือเช้าและเย็น ครั้งละ 15 นาที เป็นเวลา 30 วัน

4.การดูแลกองปุ๋ย โดยทดสอบความชื้นภายในกองทุกๆ 4-5 วัน โดยล้วงมือเข้าไปจับภายในกองปุ๋ยแล้วบีบ ทำการรดน้ำผิวนอกทุกเช้าให้พอชุ่ม และทุก 4 วัน ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยในแนวดิ่งทุกระยะ 40 ซม. กรอกน้ำลงไปแล้วปิดรูเหมือนเดิม จากนั้น บ่มและบรรจุถุง เมื่อการหมักสิ้นสุด ย้ายกองปุ๋ยเข้าที่ร่ม แล้วทิ้งไว้เป็นเวลา 30 วัน ปุ๋ยหมัก 1 กองจะได้ปุ๋ยหมัก 1-1.5 ตัน หรือบรรจุได้ 40-50 กระสอบ (ขนาดกระสอบละ 30 กิโลกรัม)

ปัจจัยในการผลิต ได้แก่

1)ความชื้นเหมาะสม ร้อยละ 45-55

 2)เชื้อจุลินทรีย์จากมูลสัตว์ และ พด.1

 3)ความร้อน ได้จากการเติมอากาศ

 เข้ากองปุ๋ย ด้วยพัดลมโบรเวอร์ 4)ขนาดวัตถุดิบ ควรมีขนาด 3-4 นิ้ว โดยผ่านเครื่องย่อยเศษพืช 5)คาร์บอน

 ต่อไนโตรเจน ควรมีค่า 20-25 (เศษพืชต่อมูลโค)

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ

1.ผลิตปุ๋ยหมักได้ภายใน 1 เดือน

2.ไม่ต้องใช้แรงงานในการพลิกกลับกอง

3.ไม่ต้องใช้โรงเรือน ผลิตได้ทุกฤดูกาล

4.สามารถตัดต่อท่ออากาศพีวีซีตามปริมาณวัสดุ

5.สามารถผลิตปุ๋ยหมักได้มาก

6.สามารถดัดแปลงเศษพืชให้เป็นทุกเสริมรายได้

ข้อมูลต้นทุนปุ๋ยหมัก 1 กอง

จะเป็นค่า มูลโค 600 บาท ค่าไฟฟ้า

100 บาท ค่ากระสอบปุ๋ย 300 บาท รวม 1,000 บาท

** ปุ๋ยหมัก 1 กอง ผลิตได้ 50 กระสอบ ** (ต้นทุนกระสอบละ 20 บาท) ขายกระสอบละ 80 บาท กำไรกระสอบละ 60 บาท 1 กอง กำไร = 60 บาท x 50 กระสอบ = 3,000 บาท 1 เดือนทำ 10 กอง ได้กำไรเดือนละ 30,000 บาท

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

แล้งสุด 50 ปี รีดค่าน้ำฉุกเฉิน ตั้งวอร์รูม-ห้ามทำนา22จังหวัด

แล้งสาหัสในรอบ 50 ปี ประเทศไทยเสี่ยงขาดแคลนน้ำขั้นรุนแรง เผยต้นปี 2559 ปริมาณน้ำต้นทุนมีแค่ 4,230 ล้าน ลบ.ม. แต่ต้องใช้ถึงฤดูฝน รัฐจัดงบฯช่วยเกษตรกรแค่ 3,600 ล้านบาท อาจไม่เพียงพอ เหตุต้องงดนาปรัง-นาปี "โคราช-เชียงใหม่" วิกฤตตั้งแต่ยังไม่ทันข้ามปี "ทีดีอาร์ไอ" เสนอรัฐบาลตั้งวอร์รูม-เก็บค่าน้ำภาวะฉุกเฉินเพิ่ม

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานสถานการณ์เริ่มต้นปีน้ำ 2559 ซึ่งจะเริ่มต้นนับในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ว่า ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อยบำรุงแดน-ป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำกินน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพมหานคร 4,230 ล้าน ลบ.ม. หรือน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 ที่เริ่มต้นด้วยปริมาณน้ำ 6,640 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งถือว่า "อยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมาก" และเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงได้ในอนาคต

ในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง แม้จะมีปริมาณน้ำเริ่มต้นที่ 6,640 ล้าน ลบ.ม. ก็แทบจะไม่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะช่วงหลังเดือนพฤษภาคม 2558 เป็นต้นมา ส่งผลให้กรมชลประทานต้องปรับลดปริมาณการระบายน้ำใน 4 เขื่อนหลักอย่างต่อเนื่อง กระทบไปถึงการทำนาปีและนาปรัง แต่มาปี 2559 สถานการณ์น้ำยิ่งแย่ลงไปอีก จากปัจจุบันที่กรมชลประทานลดการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักลงแต่เนิ่น ๆ เหลือเพียงวันละ 8.97 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

8 มาตรการให้ชาวนา 3,600 ล.

อย่างไรก็ตาม ปริมาณเริ่มต้นของปี 2559 ที่ 4,230 ล้าน ลบ.ม. จะส่งผลกระทบต่อคน 3 กลุ่ม คือ เกษตรกร-ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และประชาชนผู้ใช้น้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เฉพาะกลุ่มแรกที่กรมชลประทาน ขอให้งดการทำนาปรังไปแล้วนั้น ครม.ได้มีมติในวันที่ 22 กันยายน 2558 กับวันที่ 6 ตุลาคม 2558 กำหนด 8 มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภัยแล้งปี 2558/2559 วงเงิน 11,151.81 ล้านบาท (งบฯปกติ 6,752.75 ล้านบาท-งบฯกลาง 4,399.06 ล้านบาท) ประกอบไปด้วย

1) มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน อาทิ การปลูกพืชทดแทน (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ถั่วเหลือง-ถั่วเขียว), การเลี้ยงปศุสัตว์, การเลี้ยงกบ-ปลาดุก, การปรับปรุงดิน วงเงิน 1,000 ล้านบาท

เป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกร 395,958 ราย 2) มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ของ ธ.ก.ส.-ออมสิน วงเงิน 515.625 ล้านบาท 3) มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร วงเงิน 2,086.97 ล้านบาท(ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 537.61 ล้านบาท-ลุ่มน้ำอื่น ๆ 1,549.36 ล้านบาท) เพื่อซ่อมแซมอาคารชลประทาน-บ้านพักที่ทำการ-กำจัดวัชพืช-ขุดลอกคูคลอง/ฝาย

4) มาตรการเสนอโครงการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง โดยคำนึงถึงแผนบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ของกระทรวงมหาดไทย 5) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประกอบไปด้วย การสร้างการรับรู้ให้ภาคเกษตร กับข่าวสารภัยแล้ง 6) มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ประกอบไปด้วย การปฏิบัติการฝนหลวง เริ่มไปแล้ว 6,810 เที่ยวบิน, การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 3,463.21 ล้านบาท, การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งของกระทรวงกลาโหม งบประมาณ 1,763.88 ล้านบาท และโครงการแก้มลิงกักเก็บน้ำของกระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน 30 แห่ง งบประมาณ 604.50 ล้านบาท-ดำเนินการโดยหน่วยทหาร 24 แห่ง งบประมาณ 399.50 ล้านบาท

7) มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ ความช่วยเหลือทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข กับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 8) มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง, แผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนโดย ธ.ก.ส., การบริหารข้อมูลและบริการภาครัฐผ่านศูนย์กลางแอปพลิเคชั่น กับระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ และการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตรเพื่อกระจายรายได้ไปสู่ภาคการเกษตรของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

"มีข้อน่าสังเกตว่า เม็ดเงินที่จะลงไปถึงมือเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศที่จะต้องประสบปัญหาภัยแล้งเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรไม่ได้แน่นอนนั้น มีเพียง 3,600 ล้านบาทเท่านั้น"

คุมเข้มห้ามชวนลอบสูบน้ำ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการจัดการน้ำและอุทกวิทยา กล่าวถึงแผนบริหารการจัดการน้ำฤดูแล้งช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558-30 เมษายน 2559 ว่า จะใช้มาตรการขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 6 มาตรการที่ได้มีการเดินทางไปชี้แจงต่อเกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้แก่ 1) กรมจะแจ้งกระทรวงมหาดไทย เรื่องการงดสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อการเกษตรของลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ทั้งหมด 361 สถานี ซึ่งเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าถึง 348 สถานี 2) ห้ามเกษตรกรกักน้ำหรือปรับระดับน้ำให้สูงเพื่อนำไปใช้ทางการเกษตร 3) ให้ปิดประตูรับน้ำเข้าคลองซอยต่าง ๆ ในลุ่มเจ้าพระยาทั้งหมด 20 ประตู ซึ่งประตูรับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามี 13 แห่ง

4) สถานีสูบน้ำของประปาท้องถิ่น ให้สูบน้ำได้ตามแผนที่การประปาส่วนภูมิภาคได้ตกลงและยื่นแผนต่อกรมชลประทานไว้ว่าในแต่ละวันจะสูบน้ำดิบเท่าใด และสูบในแต่ละเดือนเท่าใด 5) การเลี้ยงปลาในกระชังของเกษตรกรให้เลี้ยงตามความเหมาะสมของพื้นที่ นั่นคือให้เลี้ยงได้ไม่เกินระดับน้ำต่ำสุดที่จะเกิดขึ้นตามแผนที่กำหนดไว้ และ 6) น้ำเสีย ขออย่าปล่อยน้ำเสียออกมา เพราะหากมีน้ำเสีย กรมชลฯจะต้องหาน้ำมาระบายน้ำเน่าเสียอีก ดังนั้นจึงขอให้ทางจังหวัดดูแลอย่างเคร่งครัด

TDRI ชี้ปีหน้าแล้งในรอบ 50 ปี

รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ขณะนี้ไทยเกิดวิกฤตน้ำรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี โดยปริมาณน้ำใช้การได้จริงใน 4 เขื่อนหลักเหลือเพียง 4,230 ล้าน ลบ.ม. จากปีก่อนที่มีปริมาณ 6,640 ล้าน ลบ.ม. และจากเฉลี่ยในรอบ 50 ปีที่จะมีปริมาณน้ำ 10,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน่าเป็นห่วงปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ โดยมาตรการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาก่อนหน้านี้ 8 มาตรการ วงเงิน 11,151.81 ล้านบาทนั้น "อาจจะไม่เพียงพอ" ดังนั้นแนวทางแก้ไขรัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ 1) ตั้งคณะกรรมการดูแลแก้ปัญหาวิกฤตน้ำ โดยมีองค์ประกอบจากทุกหน่วยงานไม่ใช่กรมใดกรมหนึ่งให้จัดตั้ง"วอร์รูม" จากนั้นลงสำรวจพื้นที่น้ำทุกหมู่บ้าน 2) เรียกประชุมตัวแทนผู้ใช้น้ำ

ในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อน เพื่อจัดเวรน้ำ ดูแลตารางการส่งน้ำ ตามลำดับความสำคัญของแต่ละกิจกรรม เช่น การใช้เพื่ออุปโภคบริโภค และเพื่อรักษาระบบนิเวศก่อน ทั้งนี้ระบบนี้จะเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ใช้น้ำตรวจสอบติดตามการใช้น้ำกันเอง ป้องกันปัญหาการลักลอบใช้หรือขโมยน้ำ ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการช่วยเหลือปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่ใช้น้ำปริมาณมาก

และ 3) รัฐบาลต้องเรียกเก็บค่าใช้น้ำ ซึ่งไม่ใช่ค่าประปา โดยกำหนดอัตราค่าใช้น้ำในภาวะฉุกเฉิน สำหรับประชาชนที่ใช้น้ำจากสำแล ลูกบาศก์เมตรละ 1 บาท เพื่อนำเงินไปใช้เป็นทุนสำหรับแก้ไขปัญหาและจัดสรรให้ผู้ใช้น้ำที่เดือดร้อน ซึ่งในปัจจุบันมีกฎหมายรองรับและมีการเรียกเก็บค่าใช้น้ำในพื้นที่แม่กลองอยู่แล้ว คิดอัตราลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์ในภาวะปกติ

โคราช-เชียงใหม่แล้งตั้งแต่สิ้นปี

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทุกพื้นที่ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา เพื่อสำรองไว้ให้กับชุมชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ สถานพยาบาล และสถานประกอบการ ให้จัดทำแหล่งน้ำสำรองในการกักเก็บน้ำเพื่อการผลิตประปาอย่างน้อย 10 วัน และสั่งการให้ทุกอำเภอสร้างฝายกักเก็บน้ำ ตามโครงการชาวโคราชสร้างฝายสู้ภัยแล้ง เบื้องต้นมีการก่อสร้างฝายแล้วใน 15 อำเภอ จำนวน 87 ฝาย ปริมาณน้ำกักเก็บ 4,988,530 ลบ.ม.

"ขณะนี้โคราชมีพื้นที่ประสบภัยแล้งที่น่าเป็นห่วง 7 อำเภอ 28 ตำบล 228 หมู่บ้าน คือ อำเภอพระทองคำ-เทพารักษ์-ด่านขุนทด-ขามสะแกแสง-โนนไทย-คง-บัวใหญ่" ส่วนนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำแล้งของเชียงใหม่ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากปริมาณน้ำใน 2 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวง ได้ลดลงจากค่าเฉลี่ยอย่างมาก สิ่งที่กังวลมากก็คือช่วงฤดูแล้งในอีก 4 เดือนของปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2559 จะมีน้ำใช้เพียงพอหรือไม่ และได้ตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดเชียงใหม่ ติดตามข้อมูลเป็นรายสัปดาห์เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำแล้ว

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

รายงานพิเศษ: กรมฝนหลวงฯกับปฏิบัติการบรรเทาปัญหาหมอกควันภาคใต้ตอนล่าง 

          เป็นที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหมอกควันที่มีผลมาจากประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรออกปฏิบัติการขึ้นบินทำฝนหลวง เพื่อให้น้ำฝนเป็นตัวจับและควบรวมกับควันฝุ่นละออง ช่วยทำให้อนุภาคฝุ่นละอองมีน้ำหนักมากไม่สามารถลอยตัวฟุ้งอยู่ในอากาศ และตกลงสู่พื้นดินต่อไป

          นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรม ฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า กรมฝนหลวงและ การบินเกษตร ได้ดำเนินการโดยเปิดหน่วยปฏิบัติการ 2 หน่วย ตั้งแต่ วันที่ 10 ตุลาคม 2558 ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงสงขลา โดยความร่วมมือกับกองทัพอากาศ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงกระบี่ โดยย้ายหน่วยมาจากจังหวัดระยอง ซึ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนเริ่มดีขึ้นตามลำดับแล้ว และล่าสุด ได้เปิดฐานบินสำหรับเติมสารฝนหลวงและเติมน้ำมันเพิ่มที่จังหวัดตรัง เพื่อให้เครื่องบินจากทั้งหน่วยปฏิบัติการ ฝนหลวงกระบี่ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงสงขลา สามารถ ลงเติมสารและเติมน้ำมันระหว่างทางการบินปฏิบัติการ จึงทำให้สามารถย่นระยะเวลาการบินแต่สามารถเพิ่มเที่ยวบิน ชั่วโมงบินและครอบคลุมพื้นที่ได้หลายจังหวัดมากขึ้น

          ผลการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ตั้งแต่ ตั้งหน่วย-ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ต.ค. 2558) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงกระบี่ ขึ้นบิน 7 วัน รวมจำนวน 30 เที่ยวบิน 47.15 ชม. ในพื้นที่เป้าหมาย จังหวัดกระบี่ จังหวัด ตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดพังงา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต ผลการปฏิบัติการมีฝนตกระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง กระจาย รวม 42 อำเภอ ใน 7 จังหวัดเป้าหมาย ส่วนหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงสงขลา ขึ้นบิน 4 วัน รวมจำนวน 6 เที่ยวบิน 5.55 ชม. ในพื้นที่เป้าหมาย จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ผลการปฏิบัติการทำให้มีฝนตกเล็กน้อย ถึงปานกลาง เป็นบางแห่งรวม 13 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญของการปฏิบัติการ นอกจากขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความชื้น และความเร็วลมที่จะต้องเอื้ออำนวยการพัฒนาเมฆแล้ว หมอกควันเองก็เป็นอุปสรรคสำคัญเนื่องจากหากทัศนวิสัยไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงของเครื่องบิน หอบังคับการบินก็จะไม่อนุญาตให้ทำการบิน

          "อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังคงให้เปิดหน่วยปฏิบัติการทั้งจังหวัดกระบี่และจังหวัดสงขลา เพื่อพร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือพี่น้องชาวภาคใต้จนกว่าสถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นและไม่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพแต่การปฏิบัติการเป็นเพียงการช่วยบรรเทาระยะสั้นเท่านั้น ขอให้พี่น้องชาวภาคใต้ดูแลสุขภาพตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัย และขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจากทางภาครัฐ" อธิบดีกรม ฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวทิ้งท้าย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

ตั้งรับวิกฤติลุ่มน้ำเจ้าพระยาให้ปลูก'อ้อย-ไม้ผล'เท่านั้น! 

          ดลมนัส กาเจ

          เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้สรุปแผนการจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฤดูแล้ง ปี 2558/59 หลังพบว่าปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักที่ลงสู่ลุ่มเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ปริมาณน้ำ ณ 1 พฤศจิกายน 2558 มีเพียง 3,230 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.), ในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำ 380 ล้านลบ.ม., เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มี 640 ล้านลบ.ม. รวมแล้วปริมาณน้ำใช้การได้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมด 4,250 ล้านลบ.ม.

          ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลัก 4,250 ล้านลบ.ม. ต้องสำรองน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ 1,350 ล้านลบ.ม. ในช่วงต้นฤดูฝนปี 2559 (พฤษภาคม-กรกฎาคม) จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 1,100 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้จัดสรรน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศ และอื่นๆ 1,400 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือปริมาณน้ำใช้การได้เพื่อการเกษตรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 400 ล้านลบ.ม.เท่านั้น จึงขอความร่วมมืองดการปลูกข้าวนาปรัง น้ำที่เหลือจะใช้สนับสนุนการปลูกอ้อยในพื้นที่ 372,485 ไร่ และไม้ผลอีก 354,385 ไร่

          ในส่วนของการจัดแผนการจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำแม่กลอง ฤดูแล้งปี 2559 มีปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนศรีนครินทร์และวชิราลงกรณ 4,700 ล้าน ลบ.ม. (คาดการณ์ ณ 1 ม.ค59) มีแผนจัดสรรคือสำรองนำสำหรับการใช้น้ำช่วงต้นฤดูฝนปี 2559 จำนวน 1,750 ล้าน ลบ.ม., จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 300 ล้านลบ.ม., จัดสรรน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศ และอื่นๆ 1,700 ล้าน ลบ.ม. (ผันช่วยลุ่มน้ำเจ้าพระยา 400 ล้านลบ.ม.) คงเหลือปริมาณน้ำใช้การได้เพื่อการเกษตร 950 ล้านลบ.ม. ในจำนวนนี้สำรองไว้สำหรับการปลูกอ้อย 472,659 ไร่ และไม้ผล 442,032 ไร่ และพืชไร่ 52,484 ไร่

          นอกจากนี้มีปริมาณน้ำในแหล่งน้ำอื่นๆ อาทิ แหล่งน้ำในและนอกเขตชลประทาน อาทิ สระน้ำในไร่นา น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ตามแผนงานปี 2558 มีความจุเท่ากับ 1,053.81 ล้านลบ.ม. ปัจจุบันเก็บกักแล้ว 644.93 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61

          ด้วยเหตุนี้กรมชลประทานต้องมีมาตรการควบคุมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2558/59 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2558/59 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ตามแผนที่วางไว้ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการควบคุมการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วย ประตูระบายน้ำที่รับน้ำจากแม่น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเปิดรับน้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภคเป็นครั้งคราว

          สำหรับลำน้ำหรือคลองส่งน้ำที่มีความจำเป็นต้องรับน้ำเข้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลิ่งลำน้ำให้รับน้ำเข้าในเกณฑ์ต่ำสุด ตามแผนการรับน้ำที่กรมชลประทานกำหนดไว้ จึงขอความร่วมมือไม่ให้สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อการเกษตรสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก และขอความร่วมมือไม่ให้เกษตรกรปิดกั้นลำน้ำหรือสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกเช่นกัน

          ส่วนสถานีสูบน้ำของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนท้องถิ่นสามารถสูบน้ำได้ตามปกติ ตามแผนการสูบน้ำที่ได้เสนอกรมชลประทานไว้แล้ว พร้อมกันนี้ให้ลดการเพาะเลี้ยงในบ่อปลา บ่อกุ้ง เขตโครงการชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลดการเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ในแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีนและในระบบชลประทาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558-30 เมษายน 2559 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำคูคลอง และแหล่งน้ำต่างๆ

          อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบรายละเอียดแผนงาน งบประมาณในโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 2558/59 จำนวน 8 มาตรการ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นแม่งาน ประกอบด้วย การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การชะลอ หรือการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้สินกับสถาบันการเงิน การจ้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

          การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการสนับสนุนอื่นๆ

          ในจำนวน 8 มาตรการรวมแล้ว 45 โครงการ โดยอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 4,071.3150 ล้านบาทจากกรอบวงเงินที่ 13 หน่วยงานจะดำเนินการรวมทั้งสิ้น 11,151.8173 ล้านบาท งบประมาณจำนวนนี้ แบ่งเป็นงบประมาณปกติปี 2559 วงเงิน 6,752.7494 ล้านบาท และงบกลางที่ได้รับอนุมัติแล้วเพื่อจ้างงานชลประทาน 327 .7529 ล้านบาท โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558-30 เมษายน 2559 และ 1 ใน 8 มาตรการ ครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความต้องการและจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

          เมื่อไม่นานมานี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งหน่วยงานในสังกัดร่วมบูรณาการกับกระทรวงมหาดไทยด้วยการสำรวจความต้องการประชาชนเสนอแผนความต้องการในพื้นที่เพื่อเสนอครม.เพิ่มเติม

          ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตร นายโอฬาร พิทักษ์กรมส่งเสริมการเกษตรมีแนวคิดสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปรังซึ่งใช้น้ำมากมาปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียวทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพราะพืชเหล่านี้มีอายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียง หรือสั้นว่าข้าว แต่ใช้น้ำน้อยกว่า ให้ผลตอบแทนในการผลิตมากกว่า โดยมีตลาดรองรับ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้วิเคราะห์ความเหมาะสมดินในการเพาะปลูกพืชไร่ดังกล่าวทดแทนข้าวนาปรังในเขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัดพบว่ามีพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชไร่ดังกล่าวประมาณ 4 ล้านไร่

          หากเปรียบเทียบสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 33 อ่าง ในปี 2557 ซึ่งถือว่าเหลือมากที่สุดในรอบหลายสิบปี คือมีน้ำทั้งหมด 44,984 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 64 น้ำที่ใช้ได้ 21,481 หรือร้อยละ 46 ขณะที่ปี 2558 มีปริมาตรน้ำทั้งหมด 41,129 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 58 ใช้ได้จริง 17,626 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 38 เท่านั้น นับเป็นวิกฤติการณ์ครั้งร้ายแรงอีกครั้งหนึ่งของภาคเกษตรไทย

จาก http://www.komchadluek.net วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

มิตรผล เปิดแคมเปญใหญ่ส่งท้ายปี “ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข” ชู 2 กลยุทธ์หลัก เข้าถึง–เข้าใจ ตั้งเป้าดันกลุ่มน้ำตาลพิเศษโต 20% 

           มิตรผล ผู้เชี่ยวชาญทุกเรื่องความหวาน เปิดตัวแคมเปญสื่อสารการตลาด "ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข" สร้างการตระหนักถึงด้านดี ๆ ของน้ำตาล ชู 2 กลยุทธ์หลักเพื่อตอบโจทย์ตรงใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมออกภาพยนตร์โฆษณาใหม่ "Sweet Happiness ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข" เดินหน้าสื่อสารผ่านทุกช่องทาง พร้อมจัดกิจกรรมทั่วประเทศตลอด 6 เดือน

          นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานกลยุทธ์การตลาด กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า "น้ำตาลมิตรผล" แบรนด์น้ำตาลอันดับหนึ่งในใจผู้บริโภค พร้อมตอกย้ำความเป็น Sweetness Expert ผู้เชี่ยวชาญทุกเรื่องความหวาน โดยการเปิดตัวแคมเปญสื่อสารการตลาด "ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข" เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำตาลแก่ผู้บริโภค อาทิ ประโยชน์และความแตกต่างของน้ำตาลแต่ละประเภท วิธีการเลือกประเภทน้ำตาลให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงประโยชน์และการบริโภคในชีวิตประจำวันโดยไม่ลืมเรื่องการดูแลสุขภาพ ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ Out-of-home สิ่งพิมพ์ และโซเชียลมีเดีย พร้อมส่งคาราวาน "Tasty Healthy" ออกเดินสายให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคด้วยกิจกรรมมากมายทั่วประเทศตลอด 6 เดือน ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2558 ถึงไตรมาส 1 ปี 2559

          "มิตรผลจะเดินหน้าจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่านทุกช่องทางการสื่อสารโดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย โดยชู 2 กลยุทธ์หลัก คือ เข้าถึง และเข้าใจ เพื่อเพิ่มความผูกพันระหว่างแบรนด์ มิตรผลกับผู้บริโภค กลยุทธ์ที่ 1 การเข้าถึงผู้บริโภคเป็นการเข้าถึงความรู้สึกและความคิดในเชิงลึก จึงเป็นที่มาของการพลิกภาพลักษณ์การโฆษณาและสื่อสารภายใต้ แนวคิด "Sweet Happiness ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข"เพื่อแสดงให้เห็นว่าความหวานช่วยให้คุณมีความสุขขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา เมนูของหวาน ขนมไทย หรือน้ำหวาน เป็นเมนูที่สร้างความสุขให้กับผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย โดยโฆษณาชิ้นนี้จะออกอากาศในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ ในสื่อโซเชียลมีเดียของมิตรผล ทั้งเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ยังมีการปรับรูปลักษณ์ เนื้อหา และข่าวสารให้น่าสนใจและตรงใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น"

          นางสาวสิรินิจกล่าวต่อไปว่า สำหรับ กลยุทธ์ที่ 2 ความเข้าใจผู้บริโภค คือ เข้าใจในไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม มีความใส่ใจในทุก ๆ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความพิถีพิถันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของแคมเปญ"Tasty Healthy หวานที่ใช่ในแบบคุณ" เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคได้รับรู้ถึงจุดเด่นที่แตกต่างกันของน้ำตาลแต่ละประเภท โดยผู้บริโภคสามารถเลือกใช้น้ำตาลให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เพราะน้ำตาลทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ น้ำตาลมิตรผลโกลด์ น้ำตาลอ้อยธรรมชาติ น้ำตาลทรายแดง และมิตรผลแคลอรี ซึ่งมีวิธีการผลิตที่ต่างกันจึงให้รสชาติความหวานที่แตกต่างกัน

          ทั้งนี้ มิตรผลได้จัดเตรียมกิจกรรมสนับสนุนโครงการแบบ 360 องศา ตั้งแต่การจัดทำคลิปวีดีโอ "ขั้นตอนความหวานกับนายเป็นมิตร" ที่จะเล่าถึงกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันของน้ำตาลแต่ละประเภท และ "หวานที่ใช่ในแบบคุณ" แนะนำการเลือกน้ำตาลที่เหมาะกับการใช้งาน รวมทั้งมี การแนะนำเมนูเด็ด ๆ จาก Online Influencer โดยผู้บริโภคสามารถเข้าไปติดตามได้ทาง Facebook.com/MitrPholSugar และ Instagram Mitrpholsugar รวมถึงการเปิดตัวคาราวานลงพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อแนะเคล็ดลับการใช้น้ำตาลทั้ง 4 ประเภทและการบริโภคให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

          "แคมเปญ ความหวาน รสชาติที่ทำให้มีความสุข ภายใต้กลยุทธ์เข้าถึงและเข้าใจ จะทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงมุมดี ๆ ของน้ำตาลที่เราอาจมองข้ามไป และช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องน้ำตาลอย่างถูกต้องแก่ผู้บริโภค เพราะมิตรผลเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงในทุกกลุ่ม จึงได้มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองทุกการใช้งานของลูกค้า ควบคู่ขยายฐานลูกค้าไปพร้อมกัน ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันการเติบโตให้กับกลุ่มน้ำตาลพิเศษของมิตรผลได้กว่า 20%" นางสาวสิรินิจกล่าวสรุป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ซื้อเครื่องจักรการเกษตร2หมื่นล้าน ช่วยเกษตรกรเพิ่มคุณภาพการผลิต

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธ.ก.ส.เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ดำเนินงานโครงการสินเชื่อจัดหาเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ใช้ในการผลิต การแปรรูป และการขนส่งเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ระยะที่ 2 วงเงิน 20,000 ล้านบาท หลังพบว่ามีเกษตรกรให้ความสนใจขอใช้บริการโครงการระยะเวลาที่ 1 ไปแล้วกว่า 7.7 หมื่นราย วงเงินกว่า 32,000 ล้านบาท สินเชื่อดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรมีเงินทุนในการจัดหาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาเสริมประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง รวมถึงช่วยประหยัดต้นทุนด้านดอกเบี้ย เนื่องจากธ.ก.ส.คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

สำหรับโครงการดังกล่าว เกษตรกรสามารถขอกู้เพื่อนำไปซื้อเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่ใช้ในการผลิตการแปรรูปหรือการรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร การซื้อรถยนต์ รถบรรทุก ที่ใช้ในการขนส่งผลผลิตการเกษตรและผลผลิตการเกษตรแปรรูป และยังสามารถกู้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อ (Refinance) จากบริษัทผู้ประกอบกิจการให้เช่าซื้อเครื่องจักร เครื่องยนต์การเกษตรที่คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกรแบบ Flat Rate ได้ด้วย

อย่างไรก็ตามต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์คือวงเงินไม่เกิน 80% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ซื้อ และไม่เกินจำนวนเงินค่าเช่าซื้อคงเหลือพร้อมค่าอุปกรณ์ที่ผ่อนชำระกับบริษัท รวมกับค่าบำรุงซ่อมแซมหรือการจัดหาอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทรัพย์สินนั้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 7% ต่อปี กำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 7 ปี และไม่เกินสภาพอายุการใช้งานของทรัพย์สินที่ซื้อ ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 ปี (ปีบัญชี 2558-2560) หรือสิ้นสุดการจ่ายเงินกู้ไม่เกิน 31 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ โดยใช้หลักทรัพย์จำนองค้ำประกันและหรือการใช้บุคคล ซึ่งกรณีใช้บุคคลค้ำประกันสามารถขอใช้สินเชื่อวงเงินสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

นายลักษณ์กล่าวว่า เกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมาสามารถนำเครื่องจักร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเพิ่มมูลค่าผลผลิตภายในฟาร์ม ในสวนหรือไร่นาของตนเองรวมถึงการนำไปให้บริการแก่คนทั่วไป เช่น ซื้อรถไถ รถเกี่ยวนวดข้าว รถตัดอ้อย ไปช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร เพิ่มรายได้และสร้างงานในชุมชน การซื้อรถยนต์กระบะรถบรรทุก เพื่อขนผลผลิตไปจำหน่าย การซื้อเครื่องจักรที่ใช้แปรรูปสินค้า ทำบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) เป็นต้น

สำหรับกรณีที่กู้เงินจาก ธ.ก.ส.ไปชำระค่าเช่าซื้อ พบว่าทำให้เกษตรกรสามารถลดภาระดอกเบี้ยลงได้ประมาณรายละ 30,000 บาท ทั้งนี้เกษตรกรรายบุคคลหรือเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ประสงค์จะใช้บริการเครื่องจักรเครื่องยนต์ร่วมกันในลักษณะ Machinery Pool สามารถ สอบถามรายละเอียดและติดต่อขอใช้สินเชื่อตามโครงการได้ที่สาขาของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

กองทุนฟื้นฟูฯจับมือม.เกษตร เน้น4หลักในการช่วยลดต้นทุน

นายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาเกษตรกร ระหว่างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าจากที้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ได้กำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน โดยได้เน้น 4 หลักการในการช่วยลดต้นทุน ได้แก่ ลดปัจจัยการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพิ่มการบริหารจัดการ และวางแผนเพิ่มช่องทางการตลาด สิ่งที่สำคัญ คือต้องส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงเกษตรฯ จะสนับสนุนการวิจัยและจัดโซนนิ่งให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก และดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสม รวมทั้งการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ทั้งนี้จึงได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงขึ้นเพื่อการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการศึกษาวิจัย การพัฒนา การส่งเสริม การฝึกอบรมทางด้านเกษตร เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรองค์กรเกษตรกร และพนักงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมสร้างโอกาสการเรียนรู้ทางด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป และการตลาดของสินค้าทางการเกษตร และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจร ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน นับเป็นภารกิจที่สำคัญในการประสานความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพด้านการเกษตรของประเทศ ซึ่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีเกษตรกรสมาชิกที่อยู่ในความดูแลประมาณ 5.7 ล้านคนที่กำลังรอคอยการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมความรู้จากภาครัฐ โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยเน้นให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบครบวงจรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จะกำหนดให้หน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแล เข้ามามีส่วนร่วม สนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ของเกษตรกร รวมทั้งการให้การสนับสนุนข้อมูล เอกสาร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ และร่วมสร้างฐานองค์ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและพนักงานของสำนักงาน ให้การสนับสนุนข้อมูล เอกสาร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรการสนับสนุนการดำเนินงาน ภายใต้การให้คำแนะนำของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการศึกษา วิจัย การถ่ายทอดความรู้ การพัฒนาทางด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิตการแปรรูป การตลาด และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณตามกิจกรรม

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

สศก.ร่วมเวทีCFSถกวาระเรื่องน้ำ เสริมสร้างความมั่นคงอาหารโลก

นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยหลังร่วมประชุมคณะกรรมการความมั่นคงอาหารของโลก หรือ CFS (Committee on Food Security) ครั้งที่ 42 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับรายงานการศึกษาของคณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูง (High-Level Panel of Experts : HLPE) เรื่องทรัพยากรน้ำเพื่อความมั่นคงอาหารและโภชนาการ โดยเฉพาะในบริบทความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ ที่ดิน คุณภาพดิน พลังงาน และอาหาร

รายงานดังกล่าว ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและระบบนิเวศ ความสำคัญของน้ำในการสร้างความมั่นคงอาหารและโภชนาการสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต โดยร่วมกันพิจารณา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว พร้อมกันนี้ ยังได้รับรองกรอบการดำเนินงานด้านวิกฤตการณ์ความมั่นคงอาหารและโภชนาการที่ยืดเยื้อ กรอบยุทธศาสตร์ความมั่นคงอาหารและโภชนาการระดับโลก และผลลัพธ์จากการประชุมหารือระดับสูงเรื่องการสร้างความเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยในการเข้าถึงตลาด ตลอดจนร่วมกันพิจารณาแผนดำเนินงานของ CFS สำหรับปี 2559-2560 อีกด้วย

โอกาสเดียวกันนี้ เลขาธิการ สศก. กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงนโยบายของประเทศไทยที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการความมั่นคงอาหารฯในหลายประเด็น ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำร่วมกันของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยยกตัวอย่างการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีทำเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศและเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในระดับครัวเรือน   

ประเด็นการรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยยกตัวอย่างโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ว่า เป็นระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบหนึ่งที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area-based) ในการดำเนิน

 งานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่อุปาทาน ส่งผลให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านจัดหาปัจจัยการผลิตและจำหน่ายผลผลิต ตลอดจนสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ในต้นทุนที่ต่ำลง และเชื่อมโยง

 ตลาดกับภาคเอกชนในการรับซื้อผลผลิตที่มีราคาดีแก่เกษตรกร

ประเด็นนโยบายเกษตรปราดเปรื่องหรือ Smart Farmer เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้เกษตรกรรายย่อย ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ จัดฝึกอบรมและเผยแพร่ข้อมูลการตลาดที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปรับตัวภายใต้สถานการณ์ท้าทายในปัจจุบัน และประเด็นเกี่ยวกับโครงการตลาดเกษตรกรท้องถิ่น ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรให้ลูกค้าโดยตรง เป็นการสร้างโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงตลาด ขณะที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าสดใหม่และมีคุณภาพ

ทั้งนี้ การประชุม CFS เป็นเวทีการประชุมของ FAO ที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารของโลก เพื่อขจัดความยากจนหิวโหยของประชากรโลก ซึ่งหลักการดำเนินงานและข้อเสนอแนะจากการประชุม ถือเป็นประเด็นชี้นำหรือทิศทางที่เวทีระดับโลกให้ความสำคัญ ที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้วางแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารและที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับชาติและภูมิภาคได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

'อภิรดี'เตรียมถกทูตพณ.กำหนดเป้าส่งออกปี59

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมหารือทูตพาณิชย์กำหนดเป้าหมายการส่งออกไทยปีหน้า เชื่อสถานการณ์การปรับตัวดีขึ้น

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมนี้ จะมีการเรียกประชุมผู้อำนวยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ ทูตพาณิชย์ แต่ละประเทศมาหารือสถานการณ์การค้าและตั้งเป้าหมายตัวเลขการส่งออกของปีหน้า โดยจะไม่เรียกหารือทูตพาณิชย์จากทั่วโลก แต่จะเน้นประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนหลังจากได้เคยหารือไปแล้วเมื่อช่วงการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ผ่านมา โดยได้มีการปรับแผนการตลาดและได้กำหนดยุทธศาสตร์การค้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคเพื่อเร่งผลักดันการส่งออกช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยมองว่าในปีหน้าไทยจะเน้นผลักดันในกลุ่มสินค้าบริการซึ่งต้องได้รับการพัฒนา ซึ่งแนวโน้มการส่งออกในปีหน้าเชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปีนี้ ที่คาดว่าการส่งออกจะติดลบร้อยละ 3 โดยจะมีการกำหนดเป้าหมายเป็นตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้ง

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558

สภาอุตฯแนะรัฐหามาตรการสู้ภัยแล้งปี59

ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง ชี้คราบน้ำมันมีผลกระทบท่องเที่ยวแน่นอน ขณะปี 59 ห่วงภัยแล้ง แนะรัฐเร่งหามาตรการดูแล

นายไพรัตน์ เอื้อชูยศ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรณีการตรวจพบคราบน้ำมันปนเปื้อนบริเวณหน้าชายหาดหัวหิน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมนั้น ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมคงไม่มีผลกระทบ แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องการท่องเที่ยวมีผลแน่นอน ซึ่งภาครัฐต้องเร่งแก้ไขปัญหาและหาสาเหตุ เนื่องจากกรณีแบบนี้ต้องใช้เวลาในการบริหารจัดการ อีกทั้งได้เริ่มเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นแล้วด้วย ขณะที่ด้านความเชื่อมั่นคงไม่มี

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมภาคกลางในขณะนี้ พบว่าหลายกลุ่มมีอัตราการขยายตัวการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ในปี 2559 ที่ประเทศไทยอาจประสบภาวะภัยแล้ง ส่วนตัวมีความกังวลมาก ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องเร่งหาแหล่งน้ำ สถานที่เก็บน้ำ โดยเชื่อว่าหากสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นด้วย รวมทั้งกำลังซื้อของประชาชน

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558