http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนพฤศจิกายน 2566)

 

“เงินค่าอ้อยขั้นสุดท้าย" โรงงานไหน จ่ายวันไหน เช็คด่วน !

ชาวไร่อ้อย เฮ “เงินค่าอ้อยขั้นสุดท้าย” ปี 2565/66 รอบ 2 อัพเดท ล่าสุด (23 พ.ย.) มีโรงงานน้ำตาล แจ้งประกาศจ่ายเงินแล้ว โรงไหนบ้าง จ่ายวันไหน เช็คที่นี่ มีรายเอียดครบ

ข่าวดีของ “ชาวไร่อ้อย” ได้เฮ ทั้งประเทศ วันนี้ (23 พ.ย.66) โรงงานน้ำตาล แจ้งข่าวดี พร้อมจ่ายเงินอ้อยขั้นสุดท้าย ปีการผลิต 2565 รอบ 2 มีที่ไหนบ้าง  เช็คได้เลย

เริ่มจากโรงงานน้ำตาลสหเรือง  ได้กำหนดการจ่ายเงินให้กับชาวไร่ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 โดยทางบริษัทจะโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส. แต่ถ้าในกรณีชาวไร่มีหนี้ค้างเก่า ทางบริษัทฯ จะทำการหักหนี้ก่อนนำจ่ายส่วนที่เหลือ

สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดชัยภูมิ จ่ายวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับชาวไร่อ้อยยืนยันสัญญาต้นปี 2566/67 และแจ้งปลูกอ้อย ปี 2567/68 จ่ายเป็นเงินสดไม่มีดอกเบี้ย

โรงงานน้ำตาลมิตรผล อำนาจเจริญ สำรองจ่ายล่วงหน้า 40 บาท/ตัน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

โรงงานน้ำตาลมิตรผล ด่านช้าง กำหนดจ่ายวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จ่ายเพิ่มตันละ 40 บาท

โรงงานน้ำตาลมิตร ภูเวียง นัดจ่ายวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ขอให้พี่น้องชาวไร่อ้อยตรวจสอบข้อมูลการส่งอ้อย ขั้นตอนการรับเงิน ที่สำนักงานเขตส่งเสริม ที่ท่านสังกัด โดยจะจ่ายเป็นเช็คเงินสด 40 บาท/ตัน

โรงงานน้ำตาลมิตรเกษตร อุทัยธานี กำหนดจ่ายวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566

โรงงานน้ำตาลสิงห์บุรี กำหนดจ่ายวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

โรงงานน้ำตาลปราณบุรี จ่าย 50 บาท/ตัน นัดจ่ายวันที่ 24 พฤศจิกายน นี้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

 

'ดร.พิสิฐ' เสนอมาตรการ 'คุมราคาน้ำตาล' หลัง 'เอลนีโญ่' กระทบทำราคาพุ่ง

'ดร.พิสิฐ เสนอ มาตรการ ‘คุมราคาน้ำตาล’ หลัง ภัย ‘เอลนีโญ่’ กระทบการผลิตลดลงกว่าร้อยละ 20 ทำราคาน้ำตาลในตลาดโลกพุ่ง รวมทั้งไทยราคาขายปลีกขยับเพิ่ม กก.ละ 30 บาท ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตอ้อย

วันนี้( 23 พ.ย. 2566) เวลา 10.00 น. ที่ห้องแถลงข่าวรัฐสภา ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีต สส. และประธานนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อฝากประเด็นไปยังรัฐบาลที่กำลังแก้ไขปัญหาราคาน้ำตาลแพง ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนกันทั่วหน้า โดยขอให้รัฐบาลดูแลให้น้ำตาลปลอดจากการกักตุนและควบคุมราคาน้ำตาลขายปลีกไม่ให้ขายเกินที่กำหนด

รวมทั้งต้องผลักดันให้การแบ่งผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานเป็นไปตามกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ควบคุมไม่ให้เผาอ้อยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและจัดระบบให้มีการขนส่งทางราง เพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นแหล่งการจ้างงานและรายได้ของประเทศ ซึ่งทำรายได้ส่งออกปีละกว่า 2 แสนล้านบาท เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

ปัจจุบันอ้อยเป็นแหล่งจ้างงานเกษตรกร 474,000 ราย มีพื้นที่การปลูกประมาณ 12 ล้านไร่ ปีนี้มีผลผลิตเป็นอ้อยดิบประมาณ 93 ล้านตัน ส่งโรงงานน้ำตาล 57 โรงซึ่งสามารถผลิตน้ำตาลทรายประมาณ 10.5 ล้านตัน โดยใช้บริโภคภายในประเทศร้อยละ 25 และสำรองไว้เพื่อความมั่นคงในประเทศ 800,000 ตัน

ที่เหลืออีกร้อยละ 65 ส่งออกไปต่างประเทศ ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากบราซิลและอินเดีย มีการจัดระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล 70:30 มาประมาณ 40 ปี ภายใต้พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มีการกำหนดให้กลไกของน้ำตาลในประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและโรงงาน

ที่ผ่านมาราคาในประเทศจะสูงกว่าตลาดต่างประเทศ โดยมีประกาศราคาขายหน้าโรงงานไว้ที่ 19-20 บาท ต่อกิโลกรัม(กก.) ส่งผลให้คนไทยซื้อน้ำตาลในราคา 23 -24 บาทต่อกก. ในกรณีที่ราคาอ้อยขั้นต้นต่ำกว่าราคาตลาด รัฐก็มีการให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อยมาเป็นระยะเวลายาวนาน

จากภัยแล้งทั่วโลกที่มาจากเอลนีโญ่ ทำให้โลกมีการผลิตน้ำตาลทรายลดลงมากกว่า 20% โดยเฉพาะอินเดีย ถึงกับมีมาตรการควบคุมการส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 12 ปี คำนวณมาเป็นเงินบาทอยู่ที่ 27 -28 บาท ต่อกิโลกรัม(กก.)

ประกอบกับต้นทุนการผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากที่ 1,100 บาทต่อต้น เป็น 1,500 บาทในฤดูการผลิตปี 65/66 ผู้ผลิตจึงเสนอให้เพิ่มราคาขายหน้าโรงงานอีก 4 บาท แต่รัฐบาลได้ต่อรองให้เพิ่ม 2 บาท แต่ตลาดภายในประเทศยังมีการกักตุ้นน้ำตาล ทำให้ราคาขายปลีกตามร้านทั่วไป ขยับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกิน 30 บาทต่อกก. และบางพื้นที่ไม่มีน้ำตาลขาย รัฐบาลโดยกรมการค้าภายในจึงออกประกาศเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ให้น้ำตาลกลับมาเป็นสินค้าควบคุมอีกครั้ง และกำหนดราคาขายปลีกไม่เกิน 24 -25 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2566 เป็นต้นมา

แม้ว่ารัฐบาลได้ประกาศปรับราคาน้ำตาลเพิ่ม 2 บาท ต่อ กก. แต่พรรคประชาธิปัตย์ยังเห็นว่าประชาชนยังมีความเดือดร้อนจากการขาดแคลน และในบางตลาดมีราคาแพงกว่า 30 บาทต่อ กก. ซึ่งเกินราคาควบคุม รวมทั้งยังไม่เห็นความชัดเจนของการแก้ไขเชิงโครงสร้าง และสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงมีข้อเสนอขอให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้

เสนอ 2 มาตรการคุมราคาน้ำตาล

1. มาตรการเฉพาะหน้า รัฐบาลต้องใช้กลไกของไร่เพื่อตรวจสอบควบคุมอย่างจริงจัง สร้างความมั่นใจว่ามีน้ำตาลป้อนให้ตลาดอย่างเพียงพอ ไม่เกิดการขาดแคลน ซื่งจะส่งผลให้การขายน้ำตาลของร้านค้าปลีกอยู่ในราคาที่กำหนดคือ น้ำตาลทรายขาวต้องไม่เกิน 25 บาท

2. มาตรการเชิงโครงสร้าง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต

2.1 เร่งรัดบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วย “ผลพลอยได้” ตามคำนิยามของพรบ. อ้อยน้ำตาลทราย ปี 2565 ที่การแบ่งปันผลประโยชน์ระบบ 70:30 ให้รวมประโยชน์ที่ได้จากชานอ้อยหรือกากอ้อยมาคำนวณด้าย ปัจจุบันยังมีการปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อความเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อย

2.2 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีผลผลิตสูงขึ้น การเพาะปลูกยังขึ้นกับอากาศและน้ำฝนเป็นหลัก ในปีที่มีน้ำสมบูรณ์เช่น2560/61 มีผลผลิตถึง 130 ล้านตัน ปัจจุบันประสิทธิภาพการผลิตของไทยอยู่ที่ 10 ตันต่อไร่ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 14 ตันต่อไร่ สมควรที่ต้องมีมาตราการพิ่มผลผลิตต่อไร่

แม้ว่าปัจจุบันรัฐจะให้เกษตรกรกู้เงินประเภท Soft loan อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.0 วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อมาปรับโครงสร้างการผลิต แต่มีเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้ยากและเม็ดเงินยังน้อยเกินไป ในทางปฏิบัติกลับเป็นชาวไร่อ้อยรายใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ จึงควรปรับวงเงินเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขควรผ่อนปรนให้มากกว่านี้ เพื่อให้ชาวไร่รายย่อยได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้น

2.3 ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการตัดอ้อยสดแทนการเผา เนื่องจากการเผามีผลเสียกับทุกฝ่าย ทั้งตัวชาวไร่อ้อยจะได้ราคาอ้อยที่ลดลง ไม่ได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐแล้ว ยังเป็นบ่อเกิด PM 10 และ PM 2.5 เป็นปัญหาสาธารณสุขจากมลภาวะเป็นพิษที่สำคัญในบ้านเรา แม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐจะรณรงค์และทำให้อัตราอ้อยเผากับอ้อยสด ลดลงจาก 65 :35 เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาเหลือ 35 : 65 ในปัจจุบันก็ตาม แต่ยังเป็นอัตราที่สูงอยู่

รัฐจึงควรส่งเสริมอย่างจริงจังทั้งมาตราการจูงใจที่ โดยเป็นส่งเสริมให้เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ได้มีรถตัดอ้อยให้เพียงพอในช่วงหีบอ้อย จะเหมาะสมและเกิดความยั่งยืนกว่าการจูงใจให้เงินชดเชย 150 บาทต่อตันกับการตัดอ้อยสด รวมทั้งถึงเวลาที่ต้องมีการบังคับอย่างจริงจัง ที่ไม่ให้โรงงานรับซื้ออ้อยเผาอีกต่อไป แต่ควรมีระยะเวลาให้เกษตรกรปรับตัวสัก 2 -3 ปี ก่อนมีผลบังคับใช้

2.4 สนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการตัดอ้อย ทดแทนการสนับสนุนการนำเข้าเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ เพื่อให้มีการพัฒนาการผลิตเครื่องจักรกลเกษตร

2.5 ส่งเสริมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งอ้อยด้วยรถบรรทุกเป็นการขนส่งด้วยระบบรางแทน ค่าขนส่งเฉลี่ย 200 บาทต่อตันเป็นต้นทุนที่สำคัญ

ขณะที่การปลูกอ้อยในบางพื้นที่ เช่นภาคตะวันตก(นครปฐม ราชบุรีและกาญจนบุรี) และในบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งผลิตกว่าร้อยละ 50 ล้วนมีระบบรางรถไฟ ที่สามารถใช้ทำการขนส่งอ้อยดิบแทนรถบรรทุกได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ลดลงไม่ต่ำกว่า 50% แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดช่วงฤดูหีบอ้อย รวมทั้งลดการซ่อมบำรุงทางหลวงจากการบรรทุกน้ำหนักเกินได้ด้วย

จาก https://www.komchadluek.net วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

 

รอไปก่อน “พิมพ์ภัทรา” รับเงินชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน ชงครม.ไม่ทัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รับการประชุมครม.วันนี้ เสนอขอเงินชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน กรอบวงเงิน 8,000 ล้านบาท ไม่ทัน ลุ้นชงครั้งหน้า ขอรอคำตอบจากหลายหน่วยงานก่อน

วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2566) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในการประชุมครม.วันนี้ ยังไม่ได้พิจารณาโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งเป็นการจ่ายเงินชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน ภายใต้กรอบวงเงิน 8,000 ล้านบาท หลังจากกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอเข้ามาไม่ทัน

“เงินชดเชยตัดอ้อย ยังไม่เสนอเข้าครม.ในวันนี้ เพราะตอนนี้ยังต้องให้หน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาก่อน ทั้งกระทรวงการคลัง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ก่อน และหากได้รับคำตอบแล้วจะเร่งเสนอครม.ให้เร็วที่สุด เชื่อว่าจะเสนอในการประชุมครม.ครั้งหน้า” นางสาวพิมพ์ภัทรา ระบุ

ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือกับตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่ง ซึ่งเดินทางมาเข้าพบเพื่อขอรับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ยอมรับว่า กำลังเสนอบรรจุวาระการพิจารณาของที่ประชุมครม. เพื่อขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเป็นค่าตัดอ้อยให้ตันละ 120 บาท

โดยที่ผ่านมานายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปีการผลิต 2565/2566 ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินค่าตัดอ้อย และจะส่งผลถึงปีการผลิต 2566/67 ในเดือนธันวาคม /566 นี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่อง เพราะหากมีการเปิดหีบอ้อยแล้วยังไม่ชัดเจน เกรงว่าปัญหาอ้อยไฟไหม้ก็อาจจะไม่ได้ลดลง เพราะต้องยอมรับว่าการตัดอ้อยสดเพื่อส่งเข้าโรงงานยังมีต้นทุนสูง

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวอีกว่า การปรับราคาราคาน้ำตาลทราย อีกกิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อแก้ไขปัญหา PM 2.5 นั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปต่อไป

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566

 

‘ชาวไร่อ้อย’ รอไปก่อนค่าตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน ยังไม่เข้าครม.สัปดาห์

ชาวไร่อ้อยยังไร้ข้อสรุป งบหนุนตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน “พิมพ์ภัทรา” แจงรอฟังความเห็นหน่วยงานเกี่ยวข้อง ก่อนชงครม.ภายในสัปดาห์หน้า

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในการประชุมครม. วันนี้ (21 พ.ย.) ยังไม่ได้พิจารณาโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี เพื่อลดฝุ่นPM 2.5 สำหรับปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งเป็นการจ่ายเงินชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน คิดเป็นวงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เนื่องจากขณะนี้กระทรวงอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเร่งนำเรื่องเสนอครม. พิจารณาภายในสัปดาห์หน้า

“เงินชดเชยตัดอ้อย ยังไม่เสนอเข้าครม.ในวันนี้ เพราะตอนนี้ยังต้องให้หน่วยงานต่างๆ พิจารณาก่อน ทั้งกระทรวงการคลังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ก่อน และหากได้รับคำตอบแล้วจะเร่งเสนอครม.ให้เร็วที่สุด เชื่อว่าจะเสนอในการประชุมครม.ครั้งหน้า” นางสาวพิมพ์ภัทรา ระบุ

ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือกับตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่ง ซึ่งเดินทางมาเข้าพบเพื่อขอรับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ยอมรับว่า กำลังเสนอบรรจุวาระการพิจารณาของที่ประชุมครม. เพื่อขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเป็นค่าตัดอ้อยให้ตันละ 120 บาท

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีการผลิต 2565/2566 ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินค่าตัดอ้อย ซึ่งจะส่งผลถึงปีการผลิต 2566/67 ที่กำลังจะเริ่มเปิดหีบในเดือนธ.ค. 2566

“หากมีการเปิดหีบอ้อยแล้วยังไม่ชัดเจน เกรงว่าปัญหาอ้อยไฟไหม้ก็อาจจะไม่ได้ลดลง เพราะต้องยอมรับว่าการตัดอ้อยสดเพื่อส่งเข้าโรงงานยังมีต้นทุนสูง”

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566

 

"พาณิชย์"จ่อถอด"น้ำตาล"ออกจากสินค้าควบคุม

"พาณิชย์"จ่อถอด"น้ำตาล"ออกจากสินค้าควบคุม ภูมิธรรมยอมรับเห็นด้วยกับชาวไร่อ้อย ระบุที่ผ่านมาจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หลังจะมีการปรับขึ้นราคาเพิ่มถึง 4 บาทต่อกิโลกรัม

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงประเด็นเรื่องการประกาศให้นำตาลเป็นสินค้าควบคุม ที่ชาวไร่อ้อยต้องการให้กลับไปใช้ระบบเดิม ภายใต้ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ที่มีการเปิดเสรีว่า

กระทรวงพาณิชย์เข้าใจและเห็นด้วย แต่ที่ผ่านมาจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากจะมีการปรับขึ้นราคาถึง 4 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) จึงต้องขึ้นบัญชีควบคุม เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย

อย่างไรก็ดี จากนี้ต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายก่อนก็จะพิจารณา เพราะในหลักการเห็นว่าไม่ควรเป็นสินค้าควบคุม เมื่อไม่มีปัญหา ก็จะพิจารณาปลดออกให้

ส่วนเงินสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/66 วงเงิน 8,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลค้างจ่ายให้กับกับชาวไร่อ้อยนั้น

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว โดยน่าจะเป็นวันที่ 21 พ.ย.66 นี้ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะหาเงินมาจ่ายให้ เพราะติดค้างมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง มีน้ำตาลทรายบริโภคเพียงพอ และยังมีการกำหนดให้โรงงานน้ำตาลทราย จำหน่ายน้ำตาลทรายอย่างต่อเนื่อง

มีการกำหนดโควตาไว้ชัดเจนอยู่แล้ว หากไม่ปฏิบัติตาม ก็สามารถใช้ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ระงับไม่ให้มีการส่งออกได้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566

 

ชง"ครม."วันนี้ขอ 8 พันล้านชดเชยลดการเผาอ้อยแก้ปัญหา PM 2.5

ชง"ครม."วันนี้ขอ 8 พันล้านชดเชยลดการเผาอ้อยแก้ปัญหา PM 2.5 ภูมิธรรมชี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะหาเงินมาจ่ายให้ เพราะติดค้างมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว ด้านการขอขึ้นราคาน้ำตาลอีก 2 บาทอยู่ระหว่างหารือ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่งเข้าพบหารือ ว่า เงินสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/66 วงเงิน 8,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลค้างจ่ายให้กับกับชาวไร่อ้อยนั้น

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว โดยน่าจะเป็นวันที่ 21 พ.ย.66 นี้ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะหาเงินมาจ่ายให้ เพราะติดค้างมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว

 ส่วนการขอขึ้นราคาอีกกิโลกรัม (กก.) ละ 2 บาท เพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในระยะต่อไป ครม.ได้ให้นโยบายไปแล้ว โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาว่าจะใช้เงินส่วนไหน รัฐจะเป็นผู้สนับสนุนเหมือนเดิม หรือผู้ก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องร่วมรับผิดชอบ ก็ต้องไปหารือกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปอีกครั้ง

แต่ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ เห็นว่า ปัจจุบันกติกาโลกมีการเพิ่มเงื่อนไขเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และสีเขียว การเผาหรือทำลายบรรยากาศ เป็นเรื่องที่ต้องลดลง ก็ต้องปรับตัวให้พร้อม และต้องเริ่มดำเนินการ

สำหรับการประกาศให้นำตาลเป็นสินค้าควบคุม ที่ชาวไร่อ้อยต้องการให้กลับไปใช้ระบบเดิม ภายใต้ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ที่มีการเปิดเสรีนั้น กระทรวงพาณิชย์เข้าใจและเห็นด้วย แต่ที่ผ่านมา จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะจะมีการปรับขึ้นราคาถึง 4 บาทต่อกก. จึงต้องขึ้นบัญชีควบคุม เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย

และจากนี้ ต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายก่อน ก็จะพิจารณา เพราะในหลักการ เห็นว่าไม่ควรเป็นสินค้าควบคุม เมื่อไม่มีปัญหา ก็จะพิจารณาปลดออกให้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อย รอเฮ "พิมพ์ภัทรา” ชงครม.เคาะราคาชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน

ชาวไร่อ้อยเฮ!"พิมพ์ภัทรา”เคาะราคาชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตันเข้า ครม. ส่วนการส่งเสริมการตัดอ้อยสดฤดูการผลิต 66/67 ต้องร่วมมือกันระหว่างรัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และเกษตรกรเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังจากที่ตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่ง มาเข้าพบเพื่อขอรับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/2566 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอบรรจุวาระการพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566

ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ร้องขอให้เร่งการประกาศราคาเพื่อให้โรงงานเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว

โดยคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566และอยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ในลำดับต่อไป

"คณะกรรมการบริหารได้กำหนดการประชุมครั้งต่อไป โดยมีวาระพิจารณาเพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/2567 ในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้"

สำหรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปี 2566/2567 ในส่วนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อการหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน ให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวอ้อยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่กระทบกับต้นทุนราคาอ้อย อีกทั้งยังจะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น

กรณีดังกล่าวเกิดจากการที่นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และตัวแทนจากสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศประมาณ 200 คน เดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหารือถึงความชัดเจนเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ตามมติ ครม. ที่จะจัดสรรงบประมาณเพิ่ม ค่าตัดอ้อยให้ตันละ 120 บาทต่อเนื่อง แต่ฤดูหีบปี 2565/66 ที่ผ่านมา ยังคงไม่ได้รับการพิจารณา

 นายนราธิป ระบุว่า ฤดูหีบปี 2566/67 ในเดือน ธ.ค.นี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เพราะหากมีการเปิดหีบอ้อยแล้วยังไม่ชัดเจน เกรงว่าปัญหาอ้อยไฟไหม้ก็อาจจะไม่ได้ลดลง เพราะต้องยอมรับว่าการตัดอ้อยสดเพื่อส่งเข้าโรงงานยังมีต้นทุนสูง

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

“พิมพ์ภัทรา” ยืนยันชาวไร่หนุนเงินตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน รอบรรจุวาระ ครม.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันชาวไร่อ้อยพร้อมสนับสนุนการส่งเสริมตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2565/66 ที่ 120 บาท/ตันโดยรอบรรจุการพิจารณาจาก ครม. ส่วนฤดูหีบใหม่ทุกฝ่ายต้องเร่งหาหลักเกณฑ์ร่วมกันก่อน จับตา กบ. 28 พ.ย.เคาะราคาอ้อยขั้นต้นปี 66/67

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่งเข้าพบเพื่อขอรับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/2566 ที่ 120 บาท/ตัน ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันที่ได้มีการเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วโดยรอการบรรจุวาระการพิจารณาต่อไป ส่วนการส่งเสริมการตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปี 2566/2567 ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรม กับพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อการหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน

“ต้องการให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวอ้อยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่กระทบต้นทุนราคาอ้อย ทั้งยังจะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น” น.ส.พิมพ์ภัทรากล่าว

สำหรับการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566 ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ร้องขอให้เร่งการประกาศราคาเพื่อให้โรงงานเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็วนั้น ทางคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566 และอยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ในลำดับต่อไป โดย กบ.ได้กำหนดการประชุมครั้งต่อไป โดยมีวาระพิจารณาเพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/2567 ในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้

จาก https://mgronline.com วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อยเฮ! “รมว.พิมพ์ภัทรา” เคาะให้ราคาชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน เข้า ครม. พร้อมดึงชาวไร่อ้อยร่วมแก้ปัญหาอ้อยสดฤดูกาลถัดไป

ชาวไร่อ้อยเฮ! “รมว.พิมพ์ภัทรา” เคาะให้ราคาชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน เข้า ครม. พร้อมดึงชาวไร่อ้อยร่วมแก้ปัญหาอ้อยสดฤดูกาลถัดไป

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากที่ตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่ง เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขอรับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอบรรจุวาระการพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

ในส่วนของการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566 ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ร้องขอให้เร่งการประกาศราคาเพื่อให้โรงงานเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566และอยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ในลำดับต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหาร (กบ.) ได้กำหนดการประชุมครั้งต่อไป โดยมีวาระพิจารณาเพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/2567 ในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปี 2566/2567 ในส่วนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อการหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน ให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวอ้อยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่กระทบกับต้นทุนราคาอ้อย ทั้งยังจะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงท้ายของการหารือผู้แทนชาวไร่อ้อยได้กล่าวขอบคุณกระทรวงอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนและรับฟังปัญหาของชาวไร่อ้อย พร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างสองฝ่ายเพื่อให้สามารถบรรลุความต้องการ

จาก https://www.industry.go.th วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อย เฮ! ก.อุตสาหกรรม เคาะราคาชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน เข้า ครม.

ชาวไร่อ้อย เฮ! ก.อุตสาหกรรม เคาะราคาชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน เข้า ครม. เผยประชุมครั้งถัดไป มีวาระพิจารณาราคาอ้อย ฤดูกาลผลิตปี 2566/2567

วันที่ 20 พ.ย.2566 น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่ง เข้าพบ ว่าชาวไร่อ้อยขอรับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี 120 บาท/ตัน เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปีการผลิต 2565/2566 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอบรรจุวาระการพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป

ในส่วนของการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูกาลผลิตปี 2565/2566 ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยร้องขอให้เร่งการประกาศราคาเพื่อให้โรงงานเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็วนั้น

ขณะนี้คณะกรรมการบริหาร (กบ.) อยู่ระหว่างเสนอราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูกาลผลิตปี 2565/2566 ต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ต่อไป

นอกจากนี้ กำหนดการประชุม กบ. ครั้งถัดไปวันที่ 28 พ.ย.นี้ ได้มีวาระพิจารณา

การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูกาลผลิตปี 2566/2567 ด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปี 2566/2567 ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน ให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวอ้อยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่กระทบกับต้นทุนราคาอ้อย ทั้งยังช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

"พิมพ์ภัทรา” ชงครม.เคาะชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน

"อุตสาหกรรม" เคาะชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท/ตัน ฤดูการผลิต 2565/2566 หนุนต้นทุนชาวไร่อ้อยลดเผา เตรียมเสนอครม. พิจารณา

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 37 แห่ง เข้าพบในวันนี้ (20 พ.ย.) ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เตรียมเสนอบรรจุวาระการพิจารณาโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี 120 บาท/ตัน เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 สำหรับปีการผลิต 2565/2566 ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ขณะเดียวกัน เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ร้องขอให้เร่งการประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566 เพื่อให้โรงงานเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2565/2566 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ในลำดับต่อไป

นอกจากนี้ ในการประชุม กบ. ครั้งต่อไปวันที่ 28 พ.ย.นี้ มีวาระพิจารณา เพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/2567

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปี 2566/2567 ในส่วนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อการหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน ให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวอ้อยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่กระทบกับต้นทุนราคาอ้อย ทั้งยังจะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

พาณิชย์ แย้มพร้อมปลด “น้ำตาล” ออกจากสินค้าควบคุม

ชาวไร่อ้อย ตบเท้าขอบคุณ “ภูมิธรรม”ปรับขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาทต่อกก.ส่วนขอปรับเพิ่มอีก 2 บาทเพื่อเข้ากองทุนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะใช้งบส่วนไหนจะหารือเพื่อให้ข้อสรุปอีกครั้ง เผยเงินชดเชยตัดอ้อยสด 8,000 ล้านบาทเตรียมเข้าครม.แล้ว

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังผู้แทนชาวไร่อ้อยเข้าพบว่า ชาวไร้อ้อยมาขอบคุณที่กระทรวงพาณิชย์ช่วยแก้ปัญหาราคาน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ยืดเยื้อ ได้อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายกิโลกรัม (กก.) ละ 2 บาท เพื่อชดเชยต้นทุน ซึ่งได้ยืนยันไปว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ที่จะต้องดูแล ตามนโยบาย “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส” เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรให้ยืนอยู่ได้ หาจุดสมดุลให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ให้ชาวไร่อ้อยมีต้นทุนไปดำเนินการได้

ส่วนการขอขึ้นราคาอีก กก.ละ 2 บาท เพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในระยะต่อไป ครม.ได้ให้นโยบายไปแล้ว โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาว่าจะใช้เงินส่วนไหน รัฐจะเป็นผู้สนับสนุนเหมือนเดิม หรือผู้ก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องร่วมรับผิดชอบ ก็ต้องไปหารือกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปอีกครั้ง แต่ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ เห็นว่า ปัจจุบันกติกาโลกมีการเพิ่มเงื่อนไขเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และสีเขียว การเผาหรือทำลายบรรยากาศ เป็นเรื่องที่ต้องลดลง ก็ต้องปรับตัวให้พร้อม และต้องเริ่มดำเนินการ

สำหรับเงินสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2565/66 วงเงิน 8,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลค้างจ่ายให้กับกับชาวไร่อ้อยนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอให้ ครม. พิจารณาแล้ว น่าจะเป็นวันที่ 21 พ.ย.2566 นี้ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะหาเงินมาจ่ายให้ เพราะติดค้างมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว         

 "กระทรวงพร้อมปลดล็อคให้น้ำตาลออกจากสินค้าควบคุม หลังสถานการณ์คลี่คลาย เพื่อให้กับไปเปิดเสรีน้ำตาลเหมือนเดิมตามที่ชาวนไร่อ้อยต้องการ ซึ่งการให้น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า"นายภูมิธรรม กล่าว

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 กาญจนบุรี กล่าวว่า ขอขอบคุณรองนายกฯที่ให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 2 บาทต่อกก. เพื่อไปใช้ในการคำนวณราคาอ้อยที่ 2 บาทต่อกก. เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นมาก ซึ่งการปรับราคาครั้งนี้จะทำให้เราคุ้มทุนในฤดูกาลนี้และทำให้ชาวไร่อ้อยพอใจระดับหนึ่ง ส่วนเรื่องน้ำตาลพี่น้องประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง เรามีน้ำตาลเหลือมากในประเทศเพียงพอต่อการบริโภค ได้มีการจัดสรรให้โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศกำหนดโควต้าจำหน่ายแต่ละสัปดาห์ให้โรงงานทุกโรงปฏิบัติ มีกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทราย ที่บริหารและแก้ไขปัญหาน้ำตาลได้

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

รมช.เกษตรฯถก สมาคมไร่อ้อยฯ รับฟัง-แก้ปัญหา มอบทุนนักเรียน

นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจสมาคมชาวไร่อ้อย จ.ชัยภูมิ และเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมใหญ่สามัญ สมาคมชาวไร่อ้อย จ.ชัยภูมิ ประจำปี 2566 ที่หอประชุมสมาคมไร่อ้อย จ.ชัยภูมิ ว่ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งในการเป็นประธานเปิดประชุมสามัญใหญ่ของสมาคมชาวไร่อ้อย จ.ชัยภูมิ ประจำปี 2566 เนื่องจากได้รับทราบกิจกรรมรวมถึงปัญหาต่างๆ ของเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยเฉพาะปัญหาการขอรับเงินชดเชย 120 บาท/ตัน จากการตัดอ้อยสด เพื่อลด PM2.5 ในช่วงปี 2565-2566 ยืนยันว่าพร้อมสานต่อและเร่งดำเนินการให้พี่น้องเกษตรกรได้รับเงินชดเชยแน่นอน

“เห็นควรเร่งผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลอีกครั้งภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล ให้มีความทันสมัยมีสิทธิประโยชน์ที่ก่อให้เกิดกำไรต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยมากขึ้น เช่น ผลผลิตที่เกิดขึ้นเป็นรายสินค้าต้องนำมาคำนวณผลกำไรแบ่งให้เกษตรกร รวมถึงพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ปลูกเพียงแค่อ้อยแต่ปลูกพืชอื่นผสมด้วย จึงควรนำ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล มาอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯ อาจจะตรงตามภารกิจมากกว่า” นายไชยา กล่าว พร้อมกันนั้นได้ร่วมมอบปัจจัยการผลิตการเกษตร (พันธุ์อ้อย) ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย รวมทั้งมอบทุนการศึกษาให้นักเรียน 15 ทุน

จากนั้น นายไชยา ได้ลงพื้นที่ติดตามการทำงานของสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด พร้อมให้กำลังใจ และรับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมโดยมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

จาก https://www.naewna.com วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อยบุกอุตสาหกรรม-พาณิชย์ทวงค่าตัดลดเผาตัวการ"PM 2.5"วันนี้

ชาวไร่อ้อยบุกอุตสาหกรรม-พาณิชย์ทวงค่าตัดลดเผาตัวการ"PM 2.5"วันนี้ เดินหน้าถามความชัดเจนโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตามมติ ครม. ที่จะจัดสรรงบประมาณเพิ่มค่าตัดอ้อยให้ตันละ 120 บาทต่อเนื่อง

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (20 พ.ย. 66) ตัวแทนจากสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ 200 คน จะเดินทางเข้าพบนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงเช้า หลังจากนั้นช่วงบ่ายจะขอเข้าพบนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ เพื่อหารือถึงความชัดเจนเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่จะจัดสรรงบประมาณเพิ่ม ค่าตัดอ้อยให้ตันละ 120 บาทต่อเนื่อง แต่ฤดูหีบปี 2565/66 ที่ผ่านมา ยังคงไม่ได้รับการพิจารณา

ขณะที่ฤดูหีบปี 2566/67 ในเดือน ธ.ค.นี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เพราะหากมีการเปิดหีบอ้อยแล้วยังไม่ชัดเจน ก็เกรงว่าปัญหาอ้อยไฟไหม้ก็อาจจะไม่ได้ลดลง เพราะต้องยอมรับว่าการตัดอ้อยสดเพื่อส่งเข้าโรงงานยังมีต้นทุนสูง

สำหรับการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายจากเดิมที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ออกประกาศปรับขึ้นราคาหน้าโรงงาน 4 บาท/กิโลกรัม (กก.)

โดยแบ่งรายได้ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกนำไปคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตปี 2566/67

อีก 2 บาท/กก.นำไปไว้ในกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เพื่อนำไปบริหารเสถียรภาพราคาอ้อย รวมถึงการส่งเสริม การวิจัยพัฒนา และดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาการตัดอ้อยสด ฯลฯ

แต่เมื่อกระทรวงพาณิชย์กลับนำน้ำตาลกลับไปเป็นสินค้าควบคุม จากที่ปล่อยลอยตัวราคา มาตั้งแต่ปี 2561 ทำให้การขึ้นราคาถูกระงับ และต่อมากระทรวงพาณิชย์จึงอนุมัติให้ปรับขึ้นเพียง 2 บาท/กก. เพราะเห็นว่าอีก 2 บาท/กก. ไม่ควรเป็นภาระของผู้บริโภคนั้น คงต้องหาความชัดเจนในเรื่องนี้ต่อไป เพราะไม่ทราบว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาให้โรงงานน้ำตาลมารับภาระในส่วนของ 2 บาท/กก. หรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะทำได้ง่าย

"การไปดังกล่าวยังเป็นการขอบคุณที่ได้ร่วมกันช่วยเหลือชาวไร่อ้อย โดยเฉพาะการพิจารณาให้มีการปรับเพิ่มขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2บาท/กก."

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

 

‘พาณิชย์’ ก้าวพลาด โดดเข้ามาคุมราคาน้ำตาล

กระทรวงพาณิชย์ กลับนโยบายควบคุมราคาน้ำตาลภายใน 2 สัปดาห์ หลังใช้อำนาจ พ.ร.บ.ราคาสินค้า เข้ามาคุมตลอดซัพพลายเชน ตั้งแต่ราคาหน้าโรงงาน-ขายปลีก-ส่งออก หลังทำความเข้าใจอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลใหม่ ประกาศยกเลิกคุมราคาขายปลีกและส่งออก

รัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ประกาศนโยบายดูแลค่าครองชีพประชาชน เริ่มต้นด้วยการลดราคาดีเซล เบนซินและไฟฟ้า

ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 28 ต.ค.2566 กิโลกรัมละ 4 บาท

การประกาศของ สอน.ดำเนินการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ที่ต้องกำหนดราคาหน้าโรงงานเพื่อเป็นราคาอ้างอิงในการคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานในระบบ 70:30

ทันทีที่ สอน.ประกาศออกมา ทำให้นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทบทวนทันที เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำตาล

กระทรวงพาณิชย์นัดประชุมคณะกรรมการราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ในวันที่ 30 ต.ค.2566 โดยใช้อำนาจ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เข้ามาควบคุมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบ ดังนี้

1.กำหนดราคาหน้าโรงงาน โดยให้น้ำตาลทรายขาวอยู่ที่กิโลกรัมละ 19 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 20 บาท

2.กำหนดราคาขายปลีกราคาน้ำตาลในประเทศ โดยน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ 24 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 25 บาท

3.กำหนดมาตรการการควบคุมการส่งออกน้ำตาล ซึ่งการส่งออกน้ำตาลเกิน 1 ตัน ต้องขออนุญาต‘พาณิชย์’ ก้าวพลาด โดดเข้ามาคุมราคาน้ำตาล

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้โรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยประหลาดใจกับมาตรการดังกล่าว เพราะที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ไม่เคยเข้ามาควบคุมราคาหน้าโรงงาน

รวมทั้งสร้างความสับสนว่าจะใช้ราคาหน้าโรงงานที่ประกาศตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย หรือใช้ราคาหน้าโรงงานที่ประกาศตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

“มาตรการของกระทรวงพาณิชย์ทำให้เห็นการไม่ทำการบ้านของรัฐบาล รวมทั้งการไม่เข้าใจอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย”

เป็นความเห็นของ นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) หลังจากกระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการดังกล่าว

นายวิโรจน์ ยังเห็นว่า การที่กระทรวงพาณิชย์มาควบคุมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบดังกล่าว เป็นแนวทางที่ถอยหลังเข้าคลองย้อนไปก่อนที่จะปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีกในประเทศเมื่อปี 2561

หลังจากนั้นกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย ก่อนที่จะตั้ง นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี มาทำหน้าที่ประธานคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

สำหรับนายยรรยง เคยทำหน้าที่อธิบดีกรมการค้าภายใน (2550-2552) , ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (2552-2555) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (2556-2557) ในยุคที่น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 23.50 บาท (ไม่รวมค่าขนส่ง)‘พาณิชย์’ ก้าวพลาด โดดเข้ามาคุมราคาน้ำตาล

คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล มีมติเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2566 หรือ 2 สัปดาห์หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์เข้ามาควบคุมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบ

โดยมีข้อสรุปให้ยกเลิกราคาหน้าโรงงานที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไปเมื่อวันที่ 30 ต.ค.2566 และให้ปรับราคาหน้าโรงงานขึ้น 2 บาท ดังนี้

1.ราคาทรายขาว กิโลกรัมละ 21 บาท

2.ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 22 บาท

ทั้งนี้ มีข้อเสนอถึงรัฐบาลหากต่อไปจะเปลี่ยนแปลงราคาน้ำตาลทั้งขึ้นหรือลง ขอให้ประสานงานใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะรับผิดชอบภารกิจต่างกัน

"เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้นขณะนี้ ต้องมีการประสานงานกันระหว่าง 2 กระทรวง เพิ่มมากขึ้น" นายยรรยง กล่าว

นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงานเพียง 2 บาท เพราะผู้บริโภคไม่ควรมารับภาระทั้งหมด 4 บาท

"น้ำตาลขึ้น 2 บาทตอนนี้ก็โอเคแล้วส่วนที่เหลืออีก2บาทที่จะมาจัดการฝุ่น PM2.5 จะไม่ให้ขึ้นแต่ให้ไปดูว่าจะทำอย่างไร” นายภูมิธรรมกล่าว‘พาณิชย์’ ก้าวพลาด โดดเข้ามาคุมราคาน้ำตาล

สำหรับการบริหารอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย จะมีคณะกรรมการดูแลอุตสาหกรรมทั้งระบบรวม 5 คณะ

โดยแต่ละคณะจะมีผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนโรงงานและผู้แทนชาวไร่ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อนำมาสู่ระบบการแบ่งปันผล 70:30 ดังนี้

1.คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.)

2.คณะกรรมการบริหาร (กบ.)

3.คณะกรรมการอ้อย (กอ.)

4.คณะกรรมการน้ำตาล (กน.)

5.คณะกรรมการกองทุน (กท.)

ทั้งนี้ ในคณะกรรมการทุกชุดจะมีผู้แทนภาครัฐจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ผ่านมาการกำหนดนโยบายบริหารอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะเป็นที่รับทราบข้อมูลกันผ่านกลไกดังกล่าว

แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์เข้ามาควบคุมราคาหน้าโรงงาน ราคาขายปลีกและขออนุญาตการส่งออก มีการคาดการณ์ว่ากระทรวงพาณิชย์จะยอมถอยมาตรการดังกล่าว

"กระทรวงพาณิชย์คงประเมินแล้วว่าเข้าไปควบคุมทั้งหมดไม่ได้ เพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเปลี่ยนไปแล้ว"

สำหรับการแก้ไขมาตรการล่าสุด กระทรวงพาณิชย์เลือกที่จะควบคุมเฉพาะราคาหน้าโรงงาน โดยเห็นว่าเป็นราคาต้นทางของการขายปลีกน้ำตาล

ทั้งนี้ หากกระทรวงพาณิชย์ยังต้องการเป็นผู้กำหนดราคาหน้าโรงงานต่อไป คงต้องทำการบ้านให้หนักขึ้นในการพิจารณาข้อมูลต้นทุนการเพาะปลูกของชาวไร่และต้นทุนการผลิตของโรงงานน้ำตาล ซึ่งที่ผ่านมาเป็นหน้าที่ของ สอน.

นายบุญถิ่น โคตรศิริ กรรมการบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) กล่าวว่า หากกระทรวงพาณิชย์ต้องการควบคุมราคา ควรเข้ามาควบคุมเฉพาะราคาขายปลีก

ในขณะที่ราคาหน้าโรงงานเป็นราคาที่คำนวณมาจากต้นทุนการเพาะปลูกอ้อยของชาวไร่และต้นทุนการผลิตน้ำตาล ซึ่งที่ผ่านมา สอน.เป็นเจ้าภาพในการจัดทำต้นทุนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบมาตลอด

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566

 

พาณิชย์ ยันน้ำตาลไม่ขาด หลัง ครม.ไฟเขียวขึ้นราคา 2 บาท

กรมการค้าภายใน รับช่วงแรกคนตื่นซื้อน้ำตาลมากหลัง ครม.ไฟเขียวขึ้นราคา 2 บาท แต่ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ยันน้ำตาลไม่ขาดแคลน ส่วนสินค้าที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบ ยังไม่มีการขอปรับขึ้นราคา

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์น้ำตาลทรายหลังราคาหน้าโรงงานปรับขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรัมว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำตาลพบว่าน้ำตาลทรายตึงตัวบ้างในช่วงวันแรก เพราะคนซื้อมาก และซื้อพร้อมๆ กัน รวมทั้งซื้อน้ำตาลทรายต่อครั้งในปริมาณที่สูงกว่าปกติ แต่ขณะนี้ได้คลี่คลายลง เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขอประชาชนไม่ต้องกังวล  โดยกรมขอให้ห้างค้าปลีก เพิ่มความถี่ในการเติมสินค้าตามชั้นวางสินค้า  ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ยืนยันโรงงานผลิตน้ำตาลทรายกระจายสินค้าและส่งมอบสินค้าได้ตามคำสั่งซื้อ ซึ่งขอให้ประชาชนมั่นใจสินค้ามีเพียงพอ

“ไทยผลิตน้ำตาลทรายได้ 8 ล้านตัน ในส่วนนี้เป็นการบริโภคในประเทศเพียง 2.5 ล้านตัน ดังนั้นไม่จำเป็นที่ต้องซื้อไว้เกินปริมาณที่ใช้จริง หรือ ร้านค้าจะต้องกักตุน เพราะอย่างไร น้ำตาลทรายก็จะเข้าระบบการค้าปกติ เพียงแต่ในช่วงที่จะมีการปรับราคาอาจทำให้เกิดการซื้อสูงกว่าปกติ แต่ระยะหนึ่งก็จะเข้าภาวะปกติ  โรงงานก็ยังยืนยันปรับขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายก็จะปรับขึ้นไม่เกิน 2 บาทด้วย “นายวัฒนศักดิ์ กล่าว

ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า   ถึงตอนนี้ยังไม่มีผู้ผลิตสินค้าที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น นม น้ำหวาน เป็นต้น  ยื่นขอปรับขึ้นราคา และอ้างเรื่องต้นทุนน้ำตาลทราย   แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ผลิตหรือยี่ห้อใดยื่นขอปรับราคา ก็ต้องพิจารณาโครงสร้างต้นทุนทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ปัจจัยบวกต่อต้นทุน อาทิ ค่าไฟ ดีเซล น้ำมันปาล์ม ลดลง  รวมถึงการแข่งขันด้านราคาในตลาดยังสูง ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พ.ย.66 ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ใน 4 ห้าง ทั้งแม็คโคร เทสโก้โลตัส ท็อปส์ บิ๊กซี พบว่า 2 ห้างมีน้ำตาลทรายขายในราคาเดิมและราคาใหม่ และทั้ง 4 ห้างมีการเพิ่มความถี่ในการเติมน้ำตาลทรายต่อเนื่อง

โดยส่วนใหญ่ราคาน้ำตาลทรายในห้างจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 26-27 บาท ส่วนร้านค้าทั่วไป ราคาจะตามต้นทุนอาจเท่าหรือสูงกว่าในห้าง อย่างไรก็ตาม หากประชาชน พบว่า น้ำตาลทรายขาดก็สามารถแจ้งไปที่สายด่วน 1569  ซึ่งในช่วงก่อนหน้านี้ประชาชนร้องเรื่องน้ำตาลทรายไม่มีขาย ก็ประสานให้ สอน. เร่งส่งสินค้าเข้าพื้นที่ ก็ได้รับความร่วมมือที่ดี

 " ทิศทางราคาสินค้าอุปโภคบริโภค จากนี้เชื่อว่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลง ห้างส่วนใหญ่ยังจัดโปรลดราคาสินค้า ซึ่งมีหลายปัจจัยทั้งกำลังซื้อ และต้นทุนพื้นฐานที่รัฐออกมาตรการช่วยเหลือ " ร.ต.จักรา กล่าว

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566

 

พบข้าว ข้าวโพด และอ้อย ต้นเหตุPM 2.5 จับมือแก้ไขปัญหา

กระทรวงเกษตรฯ มุ่งหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่ต้นเหตุทั้งข้าว ข้าวโพด และอ้อย หวังแก้ไขปัญหา PM 2.5

ร.อ.ธรรมนัส  พรหมเผ่า  รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ว่า  เพื่อพิจารณาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่ต้นเหตุทั้งข้าว ข้าวโพด และอ้อย โดยได้ถอดบทเรียน ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมา และนำมาพิจารณาประกอบการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของปีนี้ พร้อมชี้แจงสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในปัจจุบัน รวมถึงการสรุปสถานการณ์การเผาในพื้นที่การเกษตรทั้งหมด และการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2565/66 ทั้งปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล

กระทรวงเกษตรฯ วางแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2566/67 ดำเนินการเชิงรุกผ่านหลักดำเนินการ 3R ประกอบด้วย 1) Re-Habit : ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเป็นการปลูกแบบไม่เผา ภายใต้มาตรฐาน GAP PM2.5 Free 2) Replace with perennial crops : ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นที่สูง จากพืชที่ยังใช้ระบบการเผา เช่น ข้าวโพด เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น และ 3) Replace with Alternate crops : ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นราบ โดยเน้นการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์ต่อดิน

ทั้งนี้ได้มีการมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. ป้องปรามการเผา เน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีเป้าหมายเป็นเกษตรกร 28,855 ราย บนพื้นที่ 60,750 ไร่  โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้หยุดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ส่งเสริมให้เกษตรกรจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผา เช่น การไถกลบตอซังหรือเศษซากพืช การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวมวล การนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ การเปลี่ยนเป็นพืชอาหารสัตว์และสำรองเสบียงสัตว์ รวมถึงการให้บริการยืมเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อใช้เก็บรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้ในแปลง 2. นำร่องโครงการต้นแบบ การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้มาตรฐาน GAP PM2.5 Free โดยเป้าหมายเป็นพื้นที่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และพะเยา รวม 2,664 แปลง พื้นที่ 25,162 ไร่ และ 3. งานวิจัยและพัฒนา ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเผาวัสดุเหลือใช้ในนาข้าว

สำหรับการลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างยั่งยืน จะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP PM 2.5 Free โดยกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายจะเสนอให้เกษตรกรได้รับสิทธิพิเศษ เป็นค่าตอบแทน หรือเข้าถึงแหล่งทุนด้วยดอกเบี้ยอัตราพิเศษ ซึ่งรวมถึงสถาบันเกษตรกรที่รวบรวมผลผลิตที่ไม่เผาด้วย และขอความร่วมมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิตที่ไม่เผาในราคาที่สูงกว่า นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกทั้งในพื้นที่สูงและที่ราบ โดยสนับสนุนเงินทุนช่วงรอเก็บเกี่ยว จัดหาเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วพร้อมทั้งจัดหาตลาดรองรับผลผลิต ทั้งนี้ ได้กำหนดจัดงาน KICK OFF การรณรงค์ปลอดการเผาในพื้นที่เกษตร ในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ที่จังหวัดเชียงใหม่

จาก www.dailynews.co.th วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566

 

ธรรมนัส เล็งตรวจเผาตอซังข้าว-อ้อย สกัดฝุ่น PM2.5 ลั่นถ้าพบที่ ส.ป.ก.จะไม่ได้โฉนด

ธรรมนัส เล็งประสานตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยตรวจเผาตอซังข้าว-อ้อย หวังแก้ไขปัญหา PM2.5 ลั่นถ้าพบในที่ ส.ป.ก. จะไม่ได้โฉนด

วันที่ 17 พ.ย. 2566 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯร่วมหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมรับมือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในภาคการเกษตร ที่เกิดจากการเผาในพื้นที่การเกษตร ในที่นา หลังเก็บเกี่ยวข้าว เผาตอซังข้าวโพด และเผาใบอ้อย จนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ช่วงประมาณเดือน ธ.ค.-เม.ย.

ทั้งนี้ เตรียมประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือฝ่ายความมั่นคง กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ให้ตรวจสอบและดูแล ไม่ให้เกิดการเผาในขั้นตอนการทำการเกษตร หากพบมีโทษหนัก โดยกำชับให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ไปร่างหลักเกณฑ์การทำงานและควบคุมไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ ส.ป.ก. หากพบมีการเผาเกิดขึ้น เกษตรกรเจ้าของที่ดิน ส.ป.ก. อาจจะไม่ได้รับโฉนด ส.ป.ก. ที่จะแจกให้กับเกษตรกรในวันที่ 15 ม.ค.2567

สำหรับสถานการณ์การเผาในภาคการเกษตร ปี 2565/66 ( 1 ม.ค. – 31 พ.ค.2566) พบจุดความร้อนที่พื้นที่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตร และที่ดิน ส.ป.ก. รวมจำนวน 5,683 จุด คิดเป็น 25% แบ่งเป็นพื้นที่นาข้าว 2,718 จุด คิดเป็น 12%, พื้นที่ข้าวโพดและไร่หมุนเวียน 2,030 จุด คิดเป็น 9% และพื้นที่อ้อย 935 จุด คิดเป็น 4%

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้วางแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2566/67 ดำเนินการเชิงรุกผ่านหลักดำเนินการ 3R ประกอบด้วย 1.Re-Habit : ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเป็นการปลูกแบบไม่เผา ภายใต้มาตรฐาน GAP PM2.5 Free

2.Replace with perennial crops : ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นที่สูง จากพืชที่ยังใช้ระบบการเผา เช่น ข้าวโพด เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น

3.Replace with Alternate crops : ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นราบ โดยเน้นการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์ต่อดิน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังมีการหารือในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับภาคีวิจัยฟิวเจอร์เอิร์ธแห่งประเทศไทย (Future Earth Thailand Consortium) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาในภูมิภาค 7 แห่ง

ได้แก่ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร, ภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล, ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศจากภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนผ่านเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมทั้งระดับชาติและนานาชาติ

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566

 

“รัฐบาล” ไร้ทางออกช่วยชาวไร่อ้อย บีบโรงงานน้ำตาลจ่าย 2 บาท/กก.

“รัฐบาล” หาทางเซฟงบกลาง 8 พันล้านบาท ตั้ง “ยรรยง” ประธานคณะทำงานหารือโรงงาน จ่อดึงส่วนต่างกำไรใส่กองทุนอ้อย ลดการเผาอ้อย 2 บาท/กก. แทนการใช้งบกลาง หลัง ครม.ไม่ให้เก็บจากผู้บริโภค “โรงงาน” ค้านเก็บ 2 บาท เฉือนไป 5 พันล้าน แทบไม่เหลือมาร์จิ้น

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่อยู่ในระบบตลาดเสรีมานับตั้งแต่มีการลอยตัวราคาน้ำตาลในประเทศเมื่อปี 2561 ต้องถูกภาครัฐควบคุมอย่างเข้มงวดหลังจากกระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการควบคุมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบเมื่อวันที่ 30 ต.ค.2566

กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศควบคุมราคาน้ำตาลหน้าโรงงานเป็นครั้งแรก โดยใช้อำนาจ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เพื่อกำหนดให้น้ำตาลทรายขาวอยู่ที่กิโลกรัมละ 19 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 20 บาท ซึ่งปกติที่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ประกาศราคาหน้าโรงงานตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย

รวมทั้งได้ออกประกาศควบคุมการขายปลีกราคาน้ำตาลในประเทศ โดยน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ 24 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 25 บาท และกำหนดมาตรการการควบคุมการส่งออกน้ำตาล ซึ่งการส่งออกน้ำตาลเกิน 1 ตัน ต้องขออนุญาต

นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางการพิจารณาวงเงินชดเชยการตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากการเผาอ้อย 8,000 ล้านบาท แต่หลังจากนั้นโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยได้เข้าชี้แจงกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอข้อมูลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล และทำให้รัฐบาลยอมตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อหาแนวทางดูแลชาวไร่อ้อยให้ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงขึ้น

ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ยอมให้มีการปรับราคาน้ำตาลหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ส่วนการตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 เห็นว่าไม่ควรเป็นภาระของผู้บริโภคน้ำตาลที่ต้องมาจ่ายส่วนนี้จึงยอมให้ปรับราคาหน้าโรงงานขึ้นเพียง 2 บาท

หารือโรงงานจ่ายเงินเข้ากองทุน 2 บาท

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า รัฐบาลต้องตัดสินใจแนวทางการหาเงินมาใส่ในกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนไม่ให้เกษตรกรเผาอ้อยซึ่งจะเกิดปัญหา PM 2.5 ซึ่งเดิมนั้นมีข้อเสนอจากสำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ให้ขึ้นราคาน้ำตาลเพิ่มอีก 2 บาท แต่ ครม.ไม่เห็นด้วยในแนวทางนี้ และมีข้อเสนอให้รัฐจัดงบประมาณ 8,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการส่วนนี้

ทั้งนี้ ครม.มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะที่กำกับ สอน.หาแนวทางที่เหมาะสมในการว่าจะนำเงินจากส่วนใดให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อไม่ให้กระทบผู้บริโภคมากขึ้น โดยรัฐบาลมองว่าการปรับราคาน้ำตาลขึ้น 2 บาท เป็นภาระต่อผู้บริโภคมากอยู่แล้ว และหากจะหาเงินมาใส่กองทุนอ้อยเพื่อลดการเผาอ้อยจึงไม่ควรผลักภาระนี้ให้ผู้บริโภค

ดังนั้นจึงตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม โดยมีนายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อหารือให้โรงงานผลิตน้ำตาลเป็นผู้รับภาระในส่วนที่จะเอาเงินใส่กองทุนสิ่งแวดล้อม เพราะโรงงานเป็นผู้รับผลผลิตจากชาวไร่มาแปรรูปเป็นน้ำตาล ขณะที่ราคาขายปลีกและส่งออกปรับเพิ่มขึ้นมาก จึงนำไรมาใส่กองทุนอ้อยได้ โดยไม่กระทบผู้บริโภค ซึ่งกำลังหาข้อสรุป

นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า รัฐบาลกำหนดให้ขึ้นราคาน้ำตาลเพียง 2 บาท ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยเหลือต้นทุนของชาวไร่อ้อยเท่านั้น ส่วนแนวทางการขึ้นราคาอีก 2 บาท เพื่อสมทบเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องรัฐบาลไม่เห็นด้วย และได้สั่งการให้ สอน.หาแนวทางที่เหมาะสมมาเสนอ ครม.

ส่วนประเด็นที่จะให้โรงงานน้ำตาลเป็นผู้รับภาระจะเหมาะสมหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ในขณะนี้ ต้องดูข้อเสนอของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย เช่นเดียวกับการใช้งบประมาณเข้ามาเติมในกองทุนอ้อยและน้ำตาล ซึ่งต้องดูข้อเสนอที่เข้ามาก่อน

"น้ำตาลขึ้น 2 บาท ตอนนี้ก็โอเคแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 2 บาทที่จะมาจัดการฝุ่น PM 2.5 จะไม่ให้ขึ้น แต่ให้ไปดูว่าจะทำอย่างไร เพราะเรื่องนี้ผู้บริโภคจะไม่ต้องรับผิดชอบ” นายภูมิธรรม กล่าว

โรงงานน้ำตาลค้านเก็บ 2 บาท

แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น เพราะเป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่างโรงงานเป็นสัดส่วน 30% และชาวไร่อ้อย70% ดังนั้นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องให้โรงงานควักจ่ายจะเป็นการกินส่วนแบ่ง 30% นั้น ซึ่งหากต้องให้โรงงานเป็นผู้จ่าย 2 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 5,000 ล้านบาทต่อปี

ขณะที่ยอดขายน้ำตาลรวมปีละ 2 แสนล้านบาท โรงงานได้ส่วนแบ่ง 6 หมื่นล้านบาท เมื่อต้องจ่ายเงินอุดหนุนอีกคิดเป็น 10% ของส่วนแบ่งยอดขายที่โรงงานจะได้รับ เมื่อเทียบกับราคาขายในประเทศซึ่งก็ไม่ได้มีส่วนแบ่งกำไรมากมาย

“วันนี้หากส่งน้ำตาลข้ามชายแดนไปผู้ขายก็ได้กำไรเกือบ 25% แล้ว เมื่อเทียบกับราคาที่ให้ขายในประเทศ ผู้ขายจะขาดทุนกำไร ถ้ายังให้ชดเชยไปอีกโรงงานก็เหมือนโดน 2 เด้ง”

ขณะนี้ต้นทุนการประกอบการของทุกธุรกิจเพิ่มขึ้น ทั้งค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ทำให้ราคาสินค้าหลายประเภทปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่การปรับขึ้นราคาน้ำตาลกลับไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของผู้ผลิตฝ่ายเดียว

“ถึงแม้ว่าจะขึ้นราคาน้ำตาลในประเทศเป็นกิโลกรัมละ 24 บาท ยังถูกกว่าราคาตลาดโลกที่ 27 บาท ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศยังชนะต้นทุนน้ำตาลประเทศเพื่อนบ้านด้วยซ้ำ แล้วมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องช่วยอุ้มราคาน้ำตาลในประเทศขนาดนี้"

รวมทั้งต่อไปยิ่งราคาน้ำตาลในประเทศราคาถูกยิ่งส่งเสริมให้เกิดการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นจากปปัจจุบัน 2.5 ล้านตันอาจเพิ่มเป็น 3 ล้านตัน อยากให้มองหาทางแก้ปัญหาที่แก้ทีเดียวจบมากกว่านี้

“พาณิชย์” โยน สอน.บริหารน้ำตาลให้ดี

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ปัญหาขาดแคลนน้ำตาลหลังขึ้นราคา คาดว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นช่วงแรก แต่อีกไม่นานน้ำตาลจะไม่ขาดตลาด ซึ่งได้หารือกับ สอน.ให้ดูผลผลิตน้ำตาลที่ออกสู่ท้องตลาดไม่ให้กระจุกตัวเกินไป และถ้าบริหารจัดการได้ดีจะทำให้น้ำตาลทรายไม่จะขาดตลาด เพราะไทยผลิตได้ปีละ 10 ล้านตัน โดยส่งออก 8 ล้านตันบริโภคในประเทศเพียง 2 ล้านตัน

สำหรับการขออนุญาตส่งออก ขณะนี้ไม่ได้รควบคุมการส่งออกน้ำตาลโดยคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) แล้ว แต่ให้กลับไปใช้กลไกเดิมก่อนที่จะประกาศให้น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม คือผู้ที่ส่งออกน้ำตาลตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไปให้อนุญาตจาก สอน. เหมือนเดิม โดยขณะนี้กระทรวงพาณิชย์และ สอน.เชื่อมโยงข้อมูลกัน ซึ่งทำให้โรงงานกลับไปใช้ช่องทางเดิมในการขออนุญาตส่งออกน้ำตาลตามปริมาณที่กำหนด

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566

 

บิ๊กซียัน 'น้ำตาล' ไม่ขาดสต็อก จำกัด 3 ถุง/ครอบครัว

บิ๊กซียังกำหนดราคาสินค้า น้ำตาล ไว้ในระดับเท่าเดิมอยู่ โดยไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด แต่มีการจำกัดการซื้อครอบครัวละ 3 ถุง เพื่อให้สินค้ากระจายไปในครอบครัวต่างๆ ให้แก่ลูกค้าได้อย่างเพียงพอ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ระบุ บิ๊กซียังกำหนดราคาสินค้า น้ำตาล ไว้ในระดับเท่าเดิมอยู่ โดยไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด แต่มีการจำกัดการซื้อครอบครัวละ 3 ถุง เพื่อให้สินค้ากระจายไปในครอบครัวต่างๆ ให้แก่ลูกค้าได้อย่างเพียงพอ

ขณะเดียวกัน บิ๊กซีได้มีการวางแผนเรื่องสต็อกสินค้าไว้ในระบบอย่างเพียงพอ ทั้งในสาขาเล็ก และสาขาใหญ่ รวมถึงการติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด อีกทั้งบิ๊กซียังมีเครือข่ายพาร์ตเนอร์ที่เป็นผู้ผลิตน้ำตาล กับ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำตาล หรือเกิดปัญหาขาดแคลน

สำหรับราคาขายปลีกน้ำตาลจะกำหนดราคาขายปลีกที่ 24-25 บาทต่อกิโลกรัมต่อถุง พร้อมกำหนดให้ซื้อครอบครัวซื้อราคาน้ำตาลไว้ที่ 3 ถุงต่อวัน

ส่วนภาพรวมกำลังซื้อประเมินว่าไตรมาสสุดท้าย ในช่วงเดือนพ.ย. และ ธ.ค.นี้ จะคึกคักจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้น และภาพรวมธุรกิจของบิ๊กซีกลับมาเติบโตเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิดแล้ว

สำหรับภาพรวม 9 เดือนที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าไทยที่บิ๊กซี มีจำนวนถึง 5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 210% จากปี 2565 มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,700 บาท/คน/ครั้ง และมีแนวโน้มว่าเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ จีน ไต้หวัน เวียดนาม ฮ่องกง ที่เข้ามาช้อปที่บิ๊กซี และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเห็นได้ชัด

โดยบิ๊กซีเดินหน้าขยายสาขาที่จัดให้มี ทัวร์ริสต์ สโตร์ใหม่จำนวน 5 สาขา จากที่ผ่านมา เน้นทั้งในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลัก และเมืองรอง ทำให้มีจำนวนประมาณ 25 สาขา เพื่อให้รองรับความต้องการสินค้าไทยในกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่มีมากขึ้น

สำหรับสาขาที่จัดทำเป็น ทัวร์ริสต์ สโตร์ ได้จัดมุมรวบรวมสินค้า และบริการของไทยจากหลากหลายจังหวัดประมาณ 1,000 รายการ รวมถึงการมีพนักงานมาแต่งชุดไทย และมีพนักงานที่สามารถพูดภาษาที่สามได้ เพื่อให้รองรับ และตอบโจทย์ความต้องการลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างสาขาราชดำริ มีพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้ พร้อมด้วยบริการแพ็กสินค้าให้แก่ลูกค้า เพื่อเพิ่มความสะดวก

นอกจากนี้ เพื่อร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสู่ประเทศไทยอย่างเต็มที่ในฐานะห้างค้าปลีกของคนไทยที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มาชอปปิงเลือกซื้อของฝากจากประเทศไทย โดยเฉพาะบิ๊กซี สาขาราชดำริ ซึ่งเป็นสาขายอดนิยมของนักท่องเที่ยว ได้จัดงานบิ๊กอีเวนต์ “Experience Thailand at Big C” รวบรวมสินค้ายอดนิยมของชาวต่างชาติ ที่ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ จากทั่วทุกภาค มากกว่า 1,000 รายการ ตั้งแต่ 15 พ.ย.2566 – 3 ม.ค.2567 ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศในภาพรวมถึงช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงไฮซีซันให้คึกคักมากยิ่งขึ้น โดยประเมินว่า จะสร้างยอดขายจากกิจกรรมนี้ราว 1,000 ล้านบาท

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

 

เช็กแล้ว! น้ำตาลทรายไม่ขาดแคลน คนซื้อตุนจนของหมดเกลี้ยงเชลฟ์

สอน.เช็กสต๊อกน้ำตาล 57 โรงงานละเอียด ไม่พบกักตุน มีเหลือเฟือ 1 ล้านตัน ประชาชนกังวลราคาซื้อตุนเกลี้ยงเชลฟ์

รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) แจ้งว่า กรณีมีกระแสข่าวโรงงานน้ำตาลไม่ส่งน้ำตาลให้โมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) แบ่งเป็น น้ำตาลทรายขาว 21 บาทต่อกก. และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 22 บาทต่อกก. จนทำให้น้ำตาลไม่พอจำหน่ายจนเกลี้ยงเชลฟ์นั้น

จากการตรวจสอบทั้ง 57 โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ ที่มีเจ้าหน้าที่ สอน.ประจำเพื่อตรวจสต๊อกน้ำตาลทุกวัน พบว่าโรงงานส่งน้ำตาลให้โมเดิร์นเทรดและร้านสะดวกซื้อตามสัญญาปกติ ยอดรวมอยู่ที่ 2,000 ตันต่อวัน สถานการณ์น้ำตาลเกลี้ยงเชลฟ์น่าจะเกิดจากพฤติกรรมของผู้ซื้อที่ซื้อเพิ่มขึ้น เพราะกังวลเรื่องราคาที่ปรับขึ้น อาทิ จากเดิมซื้อครั้งละ 3 กก. อาจซื้อเพิ่มเป็น 5 กก.

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบการซื้อขายน้ำตาลระหว่างโรงงานและโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ จะเป็นลักษณะสัญญารายปี (มกราคม-ธันวาคม) หากโรงงานไม่ส่งน้ำตาล หรือส่งน้ำตาลไม่ตรงตามสัญญาที่กำหนด โมเดิร์นและร้านสะดวกซื้อย่อมได้รับผลกระทบ เกิดการฟ้องร้อง ดังนั้นโรงงานจึงไม่กล้าผิดสัญญา

“ปัจจุบันสต๊อกน้ำตาลทั้งประเทศรวมน้ำตาลสำรองและน้ำตาลชนิดพิเศษจะอยู่ที่ 1 ล้านตัน แต่หากแยกเฉพาะน้ำตาลบริโภคทั่วจะอยู่ที่ 8 แสนตัน ขณะที่การบริโภคน้ำตาลรายเดือนของคนไทยอยู่ที่ 2 แสนตัน และเดือนธันวาคมจะมีน้ำตาลจากฤดูกาลผลิตใหม่ 2566/67 เข้าระบบ ดังนั้นน้ำตาลที่มีอยู่จึงเพียงพอแน่นอน”... สามารถติดตามต่อได้ที่ :

จาก https://www.dailynews.co.th วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

 

"สอน."ยัน"น้ำตาล"ในประเทศมีเพียงพอกว่า 1 ล้านตัน ไม่พบการกักตุน

"สอน."ยัน"น้ำตาล"ในประเทศมีเพียงพอกว่า 1 ล้านตัน ไม่พบการกักตุน หลังมีกระแสข่าวโรงงานน้ำตาลไม่ส่งน้ำตาลให้โมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ หลัง ครม. อนุมัติปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2 บาทต่อกิโลกรัม

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ระบุถึงกรณีที่มีกระแสข่าวโรงงานน้ำตาลไม่ส่งน้ำตาลให้โมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) แบ่งเป็น น้ำตาลทรายขาว 21 บาทต่อกก. และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 22 บาทต่อกก. จนทำให้น้ำตาลไม่พอจำหน่ายจนเกลี้ยงเชลฟ์ว่า

จากการตรวจสอบทั้ง 57 โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศล่าสุด ที่มีเจ้าหน้าที่ สอน.ประจำเพื่อตรวจสต๊อกน้ำตาลทุกวัน พบว่าโรงงานส่งน้ำตาลให้โมเดิร์นเทรดและร้านสะดวกซื้อตามสัญญาปกติ ยอดรวมอยู่ที่ 2,000 ตันต่อวัน

สถานการณ์น้ำตาลเกลี้ยงเชลฟ์น่าจะเกิดจากพฤติกรรมของผู้ซื้อที่ซื้อเพิ่มขึ้น เพราะกังวลเรื่องราคาที่ปรับขึ้น อาทิ จากเดิมซื้อครั้งละ 3 กก. อาจซื้อเพิ่มเป็น 5 กก.

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบการซื้อขายน้ำตาลระหว่างโรงงานและโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ จะเป็นลักษณะสัญญารายปี (มกราคม-ธันวาคม)

หากโรงงานไม่ส่งน้ำตาล หรือส่งน้ำตาลไม่ตรงตามสัญญาที่กำหนด โมเดิร์นและร้านสะดวกซื้อย่อมได้รับผลกระทบ เกิดการฟ้องร้อง ดังนั้นโรงงานจึงไม่กล้าผิดสัญญา

ปัจจุบันสต๊อกน้ำตาลทั้งประเทศรวมน้ำตาลสำรองและน้ำตาลชนิดพิเศษจะอยู่ที่ 1 ล้านตัน แต่หากแยกเฉพาะน้ำตาลบริโภคทั่วจะอยู่ที่ 8 แสนตัน

ขณะที่การบริโภคน้ำตาลรายเดือนของคนไทยอยู่ที่ 2 แสนตัน และเดือนธันวาคมจะมีน้ำตาลจากฤดูการผลิตใหม่ 2566/67 เข้าระบบ ดังนั้นน้ำตาลที่มีอยู่จึงเพียงพอแน่นอน

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

 

'ย้อนรอย' ไฟเขียวขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท ใครสมประโยชน์???

ไทม์ไลน์ พาณิชย์ ใส่เกียร์ถอยหลัง ยอมไฟเขียวขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาทกก. อ้างเพื่อความสมดุล 2 ฝ่าย “เกษตรกร-ผู้บริโภค” จับตา ใครได้ประโยชน์ขึ้นราคาน้ำตาล

ในที่สุดคณะกรรมกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.)ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานประธานกกร.เป็นประธานก็ยอม“ถอย”ตามมติครม.เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา ให้ขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาทต่อกก.โดยกกร.มีมติให้ยกเลิกประกาศกกร.ฉบับเดิมที่กำหนดราคาหน้าโรงงาน น้ำตาลทรายขาวธรรมดา และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ที่กก.ละ 19-20 บาท และราคาขายปลีก ที่กก.ละ 24-25 บาท และคุมการส่งออก ที่กำหนดให้การส่งออกตั้งแต่ 1,000 กก.ขึ้นไปจะต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน

โดยกกร.จะออกประกาศฉบับใหม่ กำหนดเพียงราคาหน้าโรงงานเท่านั้น ที่กก.ละ 21-22 บาท ตามมติครม.ที่ให้ปรับขึ้นกก.ละ 2 บาท ส่วนราคาขายปลีก ไม่ได้กำหนด  ขณะที่การส่งออก ไม่ต้องขออนุญาตกรมการค้าภายในแล้ว เพียงแค่ให้แจ้งปริมาณส่งออก และปริมาณน้ำตาลคงเหลือในสต็อก เพื่อให้กรมการค้าภายในสามารถติดตามดูแลปริมาณน้ำตาลในประเทศ ไม่ให้เกิดการขาดแคลน ล่าสุดกรมการค้าภายในออกมาชี้แจงถึงการไฟเขียวปรับราคาน้ำตาล 2 บาทเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้ง 2 ฝ่ายทั้งเกษตรชาวไร่อ้อย ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น และผู้บริโภคได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ย้อนกลับไปไม่กี่สัปดาห์ ปมร้อนการปรับขึ้นราคาน้ำตาล เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค.66 โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) แอบไฟเขียวปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายขาว 4 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีผลทันที ก็ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดค้าปลีก โชห่วย น้ำตาลทรายหายไปหรือมีน้อย  ร้านขายขนมจ่อปรับขึ้นราคาขนม และอีกมากมาย

ขณะที่ฝ่ายการเมืองที่ดูแลราคาน้ำตาลอย่างกระทรวงพาณิชย์ก็ยังมึนงงทั้งที่ออกมาให้ความเห็นว่าไม่สมเหตุสมผลในการปรับขึ้นราคาน้ำตาล จนกระทั่งใช้อำนาจของกกร.ประกาศประกาศให้”น้ำตาล”เป็นสินค้าควบคุม เบรกประกาศของ สอน. กระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้ขึ้นราคาน้ำตาลเป็น 4 บาท มีผลตั้งแต่ 28 ต.ค.66  แต่ชาวไร่อ้อยขู่ปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 5 พ.ย. หากไม่ปรับราคาจนเป็น“ภูมิธรรม เวชยชัย” ตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจับเข่าคุยกับชาวไร่อ้อย สุดท้ายก็ต้องยอมให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 2 บาท

ความพยายามปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายในประเทศครั้งนี้ ยกเหตุผลอ้างจาก 1.จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก จากราคาอ้อยที่สูงขึ้น เพราะผลกระทบจากภัยแล้ง ที่ทำให้ผลผลิตลดลง คาดว่า การหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 66/67 ผลผลิตอ้อยอาจเหลือเพียง 75-80 ล้านตัน หรือลดลงประมาณ  10% จากปี 65/66   นอกจากนี้ การเก็บเงินเข้ากองทุนกก.ละ 2 บาท เพื่อนำไปจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานน้ำตาลโดยไม่ใช้วิธีการเผา เพื่อลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5

2.ราคาน้ำตาลโลกสูงกว่าราคาน้ำตาลในไทยในตลาดโลกโดยราคาน้ำตาลไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 20-23 บาทต่อกก.ขณะที่ราคาตลาดโลกอยู่ประมาณ ขณะที่ไทยจำหน่ายน้ำตาล 20-23 บาท แต่ราคาของตลาดโลกจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 27 บาทต่อกก.

ข้ออ้างการขึ้นราคาน้ำตาลก็เป็นเหตุผลที่น่ารับฟังในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งปัจจัยการผลิต เช่น ค่าปุ๋ย ค่าพลังงาน และค่าแรงงาน แต่ในส่วนของราคาน้ำตาลของไทยจะให้ปรับขึ้นเท่ากับราคาตลาดโลก ที่กก.ละ 27 บาท น่าจะไม่สมเหตุสมผลและไม่ยุติธรรมสำหรับคนไทย เพราะไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่รายหนึ่งของโลก การบริโภคน้ำตาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก จึงสมควรแล้ว เหมือนผู้บริโภคประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่ซื้อน้ำมันราคาต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้ผลิตมาก อีกทั้งไม่จำเป็นที่คนไทยต้องแบกรับภาระราคาที่สูงขึ้นเช่นเดียวกับผู้บริโภคประเทศอื่นที่นำเข้าน้ำตาล

หากมองในเหตุผลทางการเมือง การไฟเขียวขึ้นราคาน้ำตาลก็อาจจะเป็นไปได้ที่รัฐบาลไม่ต้องการให้มี“ม็อบ” ออกมาปั่นป่วนเสถียรภาพของรัฐบาลในเวลานี้ เนื่องจากขณะที่รัฐบาลเจอมรสุมทางเมืองหลายลูก หากมีม็อบชาวไร่อ้อยขึ้นมาก็เท่ากับเป็นการสร้างหนักใจให้กับรัฐบาลเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้นการปล่อยให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลก็จะสยบม๊อบ และเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ในระยะเวลานี้  และเป็นเรื่องที่สมประโยชน์

อุตสาหกรรมน้ำตาล  มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาล 51 แห่ง มีกำลังการผลิต 1 ล้านตันอ้อยต่อวัน แต่ละปีมีผลผลิตประมาณ 10 ล้านตัน บริโภคในประเทศ ใช้ในอุตสาหกรรมและครัวเรือน 2.5 ล้านตัน เหลือส่งออก 7.5 ล้านตัน

แน่นอนว่าการขยับปรับขึ้นราคาน้ำตาลย่อมส่งผลให้มูลค่าน้ำตาลขยับเพิ่มขึ้นไปอีก  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่า มี“ใคร”ได้ประโยชน์จากการปรับราคาน้ำตาล 2 บาท เพราะแว่วว่าเพียงแค่  2 วันที่สอน.แอบขึ้นราคาน้ำตาลมีคนได้ผลประโยชน์มหาศาลไปแล้วจากการปรับขึ้นราคา 4 บาท

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

 

ภูมิธรรม แจงวุ่น ขึ้นราคาน้ำตาล หารือทุกฝ่ายแล้ว ดูจากต้นทุน ไม่ใช่ควบคุมไม่ได้

ภูมิธรรม ลั่นขึ้นราคาน้ำตาล หารือทุกฝ่ายแล้ว พิจารณาจากต้นทุนอย่างเหมาะสม ยันเป็นการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ควบคุมไม่ได้

เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลไม่สามารถควบคุมราคาน้ำตาลได้ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 พ.ย. มีมติปรับขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาทว่า ไม่ใช่ การที่เราควบคุมราคาน้ำตาลตอนนั้น เพราะเกิดเหตุว่าประชาชนมีความเดือดร้อน เราใช้อำนาจของกระทรวงพาณิชย์ เป็นสินค้าควบคุม

ต่อมาได้เชิญสมาคมชาวไร่อ้อยต่างๆ ทั่วประเทศ และหารือว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพูดคุยดูความเป็นจริงว่าแค่ไหนเหมาะสม เราไม่ได้ดื้อดึงว่าเสนออะไรขึ้นมาแล้ว เราไม่ฟังคนอื่น

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ตนบอกในที่ประชุมว่าพร้อมจะแก้ไขทุกอย่างแม้กระทั่งยกเลิก สิ่งที่ตนทำก็ได้ ที่มีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ซึ่งในการประชุมมีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีตัวแทนสมาคมชาวไร่อ้อยทั้ง 4 ภาค มีข้อสรุปว่าการเพิ่มราคาน้ำตาล 2 บาท สมเหตุสมผลกับต้นทุนของชาวไร่อ้อย

ส่วนการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำตาลอีก 2 บาท เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการทำไร่อ้อย ไม่ควรยกให้เป็นภาระของผู้บริโภค จึงได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปช่วยดูว่าจะแบกรับภาระกันอย่างไร อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการขึ้นราคาน้ำตาลทรายเป็นการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ว่าควบคุมไม่ได้

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่  15 พฤศจิกายน 2566

 

กกร.จ่อออกประกาศใหม่คุม"ราคาน้ำตาล"เฉพาะหน้าโรงงาน หลังขึ้น 2 บาท

กกร.จ่อออกประกาศใหม่คุม"ราคาน้ำตาล"เฉพาะหน้าโรงงาน หลังขึ้น 2 บาท แนะห้างค้าปลีก ค้าส่งในกรุงเทพฯและปริมณฑลควรขายไม่เกิน กก.ละ 26-27 บาท โชห่วย ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าในตลาดสดขึ้นอยู่กับการขนส่ง

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) จะออกประกาศฉบับใหม่ โดยกำหนดเพียงราคาหน้าโรงงานเท่านั้นที่กิโลกรัม (กก.) ละ 21-22 บาท ส่วนราคาขายปลีกไม่ได้กำหนด แต่ผู้ค้าจะต้องขายในราคาที่สอดคล้องกับต้นทุน

อย่างกรณีของห้างค้าปลีก ค้าส่งในกรุงเทพฯและปริมณฑลควรขายไม่เกิน กก.ละ 26-27 บาท ร้านโชห่วย ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าในตลาดสด ราคาขายปลีกขึ้นอยู่กับช่วงของการรับซื้อ ถ้ารับมาหลายต่อ ราคาก็จะสูงขึ้น หรือหากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ราคาขายปลีกก็อาจสูงขึ้นตามการขนส่ง

ส่วนการส่งออก ไม่ต้องขออนุญาตกรมการค้าภายในแล้ว เพียงแค่แจ้งปริมาณส่งออก และปริมาณน้ำตาลคงเหลือในสต๊อก เพื่อให้ติดตามดูแลปริมาณน้ำตาลในประเทศได้ โดยจะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอในการใช้ โดยคาดว่าประกาศฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้วันนี้ (15 พ.ย. 66)

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเกิดหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย กก.ละ 2 บาท นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ในฐานะประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) จึงได้เชิญประชุม กกร.เป็นการด่วน

โดย กกร.มีมติให้ยกเลิกประกาศ กกร.ฉบับเดิมที่กำหนดราคาหน้าโรงงานน้ำตาลทรายขาวธรรมดา และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ที่ กก.ละ 19-20 บาท และราคาขายปลีกที่ กก.ละ 24-25 บาท และคุมการส่งออกที่กำหนดให้การส่งออกตั้งแต่ 1,000 กก.ขึ้นไป จะต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน

อย่างไรก็ดี น้ำตาลทรายยังคงเป็นสินค้าควบคุม ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ.2542 และ กกร.

นายวัฒนศักย์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม กกร. และสอน.ยืนยันว่า น้ำตาลทรายในประเทศจะไม่ขาดแคลนแน่นอน และจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากนี้ โดยจะส่งเจ้าหน้าที่ทั้งจากกรมการค้าภายใน และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ออกตรวจสอบสถานการณ์การค้าอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค กักตุน หรือปฏิเสธการขาย ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะที่กรณีชาวไร่อ้อย ระบุว่า หลังจาก ครม.ให้ปรับขึ้น กก.ละ 2 บาทในครั้งนี้แล้ว อาจขอให้ปรับขึ้นอีก กก.ละ 2 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนจริงที่เพิ่มขึ้นนั้น สอน.ต้องหารือกับกระทรวงพาณิชย์ก่อน

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

 

ด่วน กกร. สั่งยกเลิกคุมราคาขายปลีกน้ำตาลทราย หลังไฟเขียวขึ้นราคาหน้าโรงงาน

กกร. ไฟเขียว ขึ้นราคาน้ำตาลทราย หน้าโรงงาน 2 บาท/ก.ก. -สั่งยกเลิกคุมราคาขายปลีก และควบคุมการส่งออก มีผลตั้งแต่ 15 พ.ย.เป็นต้นไป

วันที่ 14 พ.ย.2566 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ซึ่งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบหมายให้ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในการประชุมแทนวันนี้ (14 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมยังคงให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีควบคุมตามเดิม และมีมติให้ปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2 บาท/กิโลกรัม (ก.ก.) ตามมติ ครม.วันนี้ (14 พ.ย.)

โดยราคาน้ำตาลทรายขาว ปรับจาก 19 บาท/ก.ก. เป็น 21 บาท/ ก.ก. น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปรับจาก 20 บาท/ก.ก. เป็น 22 บาท/ก.ก. ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามโครงสร้างต้นทุนการผลิตอ้อยของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)

ส่วนราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทราย กกร.มีมติยกเลิกมาตรการควบคุมราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาล จากเดิมประกาศคุมราคาจำหน่ายปลีกในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง โดยน้ำตาลทรายขาวธรรมดาไม่เกิน 24 บาท/ก.ก. น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ไม่เกิน 25 บาท/ก.ก. โดยกำหนดให้แต่ละพื้นที่กำหนดราคาใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากพบว่าผู้ประกอบการร้านค้าในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ มีต้นทุนน้ำตาลทรายแตกต่างกัน โดยเฉพาะภาระด้านค่าขนส่ง แต่เพื่อไม่ให้มีการกำหนดราคาสูงเกินจริงเอาเปรียบผู้บริโภค กรมการค้าภายในและพาณิชย์จังหวัดจะส่งทีมออกตรวจสอบราคาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้มีการฉวยโอกาส

นายวัฒนศักย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกน้ำตาลทรายตั้งแต่ 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องขออนุญาตจากคณะอนุกรรมการที่ กกร.จัดตั้งขึ้น รวมทั้งให้ยกเลิกคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวด้วย เนื่องจากปัจจุบัน สอน.มีมาตรการเพื่อควบคุมและกำกับการส่งออกน้ำตาลทรายอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกำหนดมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลปริมาณน้ำตาลทรายให้เพียงพอกับความต้องการ และป้องกันการกักตุน โดยกำหนดให้ผู้ส่งออกจะต้องแจ้งปริมาณการส่งออก และปริมาณน้ำตาลทรายคงเหลือ มาให้กรมการค้าภายในรับทราบทุกวันวันที่ 10 ของเดือน ทั้งนี้ กกร.จะนำมติกกร. เสนอให้นายภูมิธรรม ลงนามออกประกาศ กกร. ในวันนี้โดยมติจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.เป็นต้นไป

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ขึ้นราคาน้ำตาลทราย 2 บาทต่อกิโลกรัม

ครม. มีมติปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย 2 บาทต่อกิโลกรัม ชี้พิจารณาตามต้นทุนที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาราคาน้ำตาลทราย ภายหลังได้รับฟังรายงานจากทุกภาคส่วนแล้ว โดยเฉพาะเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้ข้อสรุปว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 2 บาท ตามต้นทุนที่มีอยู่ เพื่อเกษตรกรชาวไร่อ้อย

ส่วนที่ขอปรับขึ้นเพื่อนำเข้ากองทุนดูแลสิ่งแวดล้อม ยังไม่อนุมัติให้ปรับขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง หารือกัน เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป เพราะไม่ควรผลักภาระทั้งหมดให้กับผู้บริโภค

นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน หรือไม่เกิน 20,000 บาท ตามโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2566/2567 โดยให้เริ่มดำเนินการทันทีตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งภายในกรอบระยะเวลา 1 เดือน คาดว่าเกษตรกรจะได้รับเงินส่วนนี้ต่อเนื่องไป

จาก https://www.mcot.net วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

พาณิชย์ยกเลิกประกาศราคาน้ำตาลหน้าโรงงานเดิม แต่ยังเป็นสินค้าควบคุม

พาณิชย์เผยน้ำตาลยังเป็นสินค้าควบคุม พร้อมยกเลิกประกาศราคาหน้าโรงงานเดิม 19-20 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 21-22 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้สอดคล้องกับมติ ครม. ให้ขึ้นราคาหน้าโรงงานน้ำตาล 2 บาทต่อกิโลกรัม

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีประชุมหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 2 บาทต่อกิโลกรัม

โดยจากนี้จะประกาศยกเลิกกำหนดราคาหน้าโรงงานเดิม จากน้ำตาลทรายขาว 19 บาทต่อกิโลกรัม ให้เป็น 21 บาทต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จากเดิม 20 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 22 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งคาดว่าจะเห็นประกาศใหม่เร็ว ๆ นี้

พร้อมกันนี้จะไม่มีการกำหนดราคาขายปลีก หรือราคาแนะนำ โดยราคาน้ำตาลจะขึ้นอยู่กับราคาต้นทุนและค่าขนส่ง สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด แต่ทั้งนี้ราคาน้ำตาลขายปลีกโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่ง ควรจำหน่ายไม่เกินราคา 26-27 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ดี น้ำตาลก็ยังถือว่าเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศของ กกร.อยู่

นอกจากนี้ การส่งออกกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ก็ยังต้องติดตามโดยใกล้ชิด โดยผู้ส่งออกก็ยังต้องขออนุญาตสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) อยู่ แต่ไม่ต้องขออนุญาตคณะอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ ก็ยังต้องแจ้งปริมาณการส่งออก เพื่อติดตามปริมาณน้ำตาลให้เพียงพอ และเกิดสมดุลภายในประเทศ

อีกทั้ง สอน.เองได้ยืนยันว่าจะดูแลติดตามปริมาณน้ำตาลให้เพียงพอต่อการบริโภคด้วย อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ยังได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน พาณิชย์จังหวัด ในการเข้าตรวจสอบปริมาณน้ำตาล ราคา การกักตุนสินค้า เพื่อดูแลผู้บริโภคต่อไป

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกรมการค้าภายในยังไม่ได้มีการอนุญาตให้มีการขึ้นราคาสินค้า พร้อมทั้งยังขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการตรึงราคาสินค้า เพื่อช่วยเหลือประชาชน พร้อมจะติดตามดูแลราคาน้ำตาลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กระทบผู้บริโภค ผู้ประกอบการ รวมไปถึงทุกฝ่าย

พร้อมใช้มาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 หากกรณีกักตุนสินค้า จะมีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยประชาชนหากพบเห็นหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ร้องเรียนสายด่วน 1569 จะเข้าไปตรวจสอบต่อไป

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

“พิมพ์ภัทรา” จ่อออกมาตรการบริหารจัดการ"น้ำตาลทราย"เป็นการเฉพาะ

“พิมพ์ภัทรา” จ่อออกมาตรการบริหารจัดการ"น้ำตาลทราย"เป็นการเฉพาะ ระบุสำรองสำหรับฤดูการผลิตปี 2566/67 เดินหน้าสั่งการให้ สอน. เร่งหาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากที่มีกระแสข่าวถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศที่ตึงตัว จึงได้สั่งการให้ สอน. เร่งหาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค

ขณะเดียวกันได้กำชับให้ สอน. หาแนวทางเพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า ล่าสุดได้เชิญโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ประชุมหารือถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ

โดย สอน. ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศในปัจจุบัน และขอความร่วมมือจากโรงงานน้ำตาลในการดูแลปริมาณน้ำตาลทรายเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับผลกระทบ

สำหรับแนวทางการรักษาสมดุลให้มีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ สอน. ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรงทั่วประเทศ รายงานปริมาณสต๊อกคงเหลือส่งให้ สอน. เป็นประจำทุกวัน

อย่างไรก็ดี อาจจะมีมาตรการในการบริหารจัดการปริมาณน้ำตาลทรายสำรองสำหรับฤดูการผลิตปี 2566/67 เป็นการเฉพาะเพิ่มเติม

 “โดยในฤดูปีการผลิตที่ผ่านมา ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริโภคในประเทศมีจำนวน 26 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) และในฤดูการผลิตปี 2566/67 สอน. คาดการณ์ตัวเลขปริมาณน้ำตาลทรายที่บริโภคในประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - เดือนกันยายน 2567 จะมีประมาณ 25 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.)"

ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตน้ำตาลทรายที่ผลิตได้อยู่ที่ประมาณ 93.32 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) จากประมาณการณ์อ้อยเข้าหีบจำนวน 82 ล้านตัน ซึ่ง สอน. จะบริหารจัดการการจำหน่ายน้ำตาลภายในประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

กกร. ยอมถอย ขึ้นราคาน้ำตาลทราย หน้าโรงงาน 2 บาท เลิกคุมราคาขายปลีก และส่งออก

กกร.ถกด่วน หลังครม.มีมติไฟเขียวขึ้นราคาน้ำตาล กก.ละ 2 บาท ไฟเขียว ขึ้นราคาน้ำตาลทราย หน้าโรงงาน 2 บาทต่อ กก.สั่งยกเลิกคุมราคาขายปลีก และควบคุมการส่งออก ด้าน สอน.ยัน สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ขาดแคลนแน่นอน

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้เรียกประชุม กกร. เป็นการเร่งด่วน และมอบหมายให้นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายกิโลกรัม (กก.) ละ 2 บาท  ซึ่งที่ประชุมยังคงให้น้ำตาลทราย เป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีควบคุมตามเดิม และมีมติให้ปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ตามมติ ครม. โดยราคาน้ำตาลทรายขาว ปรับจาก 19 บาทต่อกก. เป็น 21 บาทต่อกก.ส่วนน้ำทรายขาวบริสุทธิ์ ปรับจาก 20 บาทต่อกก. เป็น 22 บาทต่อกก.

ส่วนราคาขายปลีก ไม่ได้กำหนด แต่ผู้ค้าจะต้องขายในราคาที่สอดคล้องกับต้นทุน อย่างกรณีของห้างค้าปลีก ค้าส่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล ควรขายไม่เกินกก.ละ 26-27 บาท ส่วนร้านโชห่วย ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าในตลาดสด ราคาขายปลีกขึ้นอยู่กับช่วงของการรับซื้อ ถ้ารับมาหลายต่อ ราคาก็จะสูงขึ้น หรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้-ไกลสำหรับการขนส่ง หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ราคาขายปลีกก็อาจสูงขึ้น

ขณะที่การส่งออก  เดิมกำหนดให้การส่งออกตั้งแต่ 1,000 กก. ขึ้นไป จะต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน ปรับเป็นไม่ต้องขออนุญาตกรมการค้าภายในแล้ว เพียงแค่ให้แจ้งปริมาณส่งออก และปริมาณน้ำตาลคงเหลือในสต็อก เพื่อให้กรมการค้าภายในสามารถติดตามดูแลปริมาณน้ำตาลในประเทศ ไม่ให้เกิดการขาดแคลน โดยจะประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอในการใช้ในประเทศทั้งนี้ คาดว่า ประกาศฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 15 พ.ย.นี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ในที่ประชุม สอน. ได้ยืนยันว่าน้ำตาลทรายในประเทศ ไม่ขาดแคลนแน่นอน และสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากนี้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์จะส่งเจ้าหน้าที่ ทั้งจากกรมการค้าภายใน และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ออกตรวจสอบสถานการณ์การค้าอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และการกักตุน หรือปฏิเสธการขาย โดยหากพบผู้ค้ารายใดกักตุน หรือปฏิเสธการขาย หรือขายราคาสูงเกินสมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับกรณีที่ชาวไร่อ้อย ระบุก่อนหน้านี้ว่า หลังจาก ครม. ให้ปรับขึ้นราคา กก. ละ 2 บาท หลังจากนั้น อาจให้ปรับขึ้นอีก กก. ละ 2 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนจริงที่เพิ่มขึ้นนั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง สอน. ต้องหารือกับกระทรวงพาณิชย์ก่อน ตามมติ ครม. ที่กำหนดให้ก่อนปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรมต้องหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลราคาสินค้าและค่าครองชีพประชาชนทั่วประเทศ

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ครม.ไฟเขียว ขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน กิโลละ 2 บาท

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้

1.ให้ปรับราคาจำหน่าย ณ หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 2 บาท ประกอบด้วย ราคาน้ำตาลทรายขาว จากเดิมกิโลกรัมละ 19 บาท เป็นกิโลกรัมละ 21 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จากเดิมกิโลกรัมละ 20 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22 บาท สำหรับราคาจำหน่ายปลีกเห็นควรมีราคากำกับดูแลที่เหมาะสม

2.มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ปรับปรุงแก้ไขประกาศ สอน.ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะทำงานฯ

3.มอบหมายกรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) นำเสนอ กกร. พิจารณาทบทวนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าน้ำตาลทราย รวมทั้งการกำหนดราคาจำหน่าย ณ หน้าโรงงาน และราคาจำหน่ายปลีก ตามข้อเสนอของคณะทำงานฯ

4.มอบหมายให้ สอน.และกรมการค้าภายในพิจารณามาตรการกำกับดูแลให้มีน้ำตาลทรายในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ และ

5.นำเสนอ ครม. เพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอของคณะทำงานต่อไป

นางรัดเกล้ากล่าวว่า ส่วนจะมีผลเมื่อใด กระบวนการและขั้นตอนหลังจากนี้จะมีการประชุม กกร.ในบ่ายวันนี้ และส่งเรื่องไปที่ สอน.ในการปรับราคาต้นทุน หากกระบวนการเสร็จสิ้น คาดว่าจะมีผลเร็วที่สุดในวันพรุ่งนี้ (15 พ.ย. 66)

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ครม.เคาะขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท จะมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อย ภูมิธรรม เวชยชัย ยันยังไม่ขาดตลาด

เมื่อวันที่ 14 พ.ย.66 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า

ส่วนเรื่องน้ำตาล ได้รับฟังจากที่ประชุม ซึ่งตนไปประชุมกับคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล และพูดคุยกับเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และอธิบดีกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ ก็ได้ประชุมหารือร่วมกันไปถึง 2 ครั้ง และได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการพิจารณาอย่างเหมาะสม ตามความเป็นจริง ประเด็นแรกคือ ดูต้นทุนของเกษตรกรชาวไร่อ้อย แล้วเห็นว่าก็สมควรให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยขึ้นราคา 2 บาท ตามที่ต้นทุนมีอยู่

ส่วนกรณีของเรื่องอีก 2 บาทที่ขอขึ้น เพื่อจะใช้ในกองทุน อันนี้เรายังไม่ให้ขึ้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมและกรรมการที่เกี่ยวข้องไปหารือกันว่า เรื่องนี้ไม่ควรให้ผู้บริโภครับผิดชอบคนเดียว ให้ไปดูว่าเรื่องนี้เกี่ยวพันกับใครอย่างไร มีช่องทางในการดำเนินการจัดการอย่างไร ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นที่ยังไม่อนุมัติและขอให้ดำเนินการตามนี้

เมื่อถามถึงปัญหาเรื่องน้ำตาลขาดตลาด นายภูมิธรรม กล่าวว่า ได้คุยกับที่ประชุมที่เกี่ยวข้องทุกส่วนแล้ว ยืนยันน้ำตาลจะไม่ขาด

เมื่อถามว่าการประชุมมีเรื่องอื่นด้วยหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า คิดว่าเอาเรื่องเฉพาะหน้า ที่เกษตรกรกำลังเดือดร้อน และก็จะได้คุมราคาน้ำตาลขึ้น 2 บาท แล้วก็สามารถดำเนินการได้ ให้ส่วนที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ก่อน ส่วนเรื่องอื่นๆ สำหรับอนาคตที่จะต้องมีการปรับอะไรต่างๆ ก็ค่อยว่ากัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องฉุกเฉิน ที่มีปัญหาอยู่ และเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาที่ประชาชนกำลังรับผิดชอบ

เมื่อถามว่าจะมีผลตั้งแต่วันนี้หรือไม่ นายภูมิธรรมกล่าวว่า ครม.ได้กำหนดเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็ไปดำเนินการต่อ จะมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ด่วน ครม.เคาะจ่ายเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท

รองนายกฯ ภูมิธรรม เผยมติครม.ล่าสุดวันนี้ 14 พ.ย. 66 ขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท บรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกร และเห็นชอบมาตรการช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท  ไม่เกิน 20 ไร่

วันที่ 14 พ.ย. 66 เวลา 11.15 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ล่าสุดว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท

ซึ่งจะต้องหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ก่อนในดำเนินการนับตั้งแต่ครม.มีมติเป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วเป็นวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. หรือวันจันทร์ที่ 20 พ.ย.นี้ และคาดว่าจะเริ่มจ่ายเงินภายในกรอบระยะเวลา 1 เดือนหลังจากนี้

นายภูมิธรรม กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องน้ำตาล คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยวันนี้ครม.มีมติเคาะขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท ส่วนอีก 2 บาทที่ขอขึ้นเพื่อใช้ในกองทุนเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม ครม.ยังไม่อนุมัติ โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกันก่อน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภคเพียงฝ่ายเดียว

นายภูมิธรรม ย้ำว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อลดความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ส่วนเรื่องอื่นจะปรับอย่างไรนั้นค่อยว่ากัน ตอนนี้ขอแก้ในส่วนที่ฉุกเฉินก่อน

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ทั้งนี้ ช่วงที่นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติภารกิจที่สหรัฐอเมริกา ได้ฝากให้เร่งดำเนินการเรื่องที่ค้างอยู่อย่างเร่งด่วน

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ครม.ไฟเขียวขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท/กิโลกรัม

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงเพื่อพิจารณาขึ้นราคาน้ำตาลทราย ทั้งราคาส่ง และขายปลีก ตามมติของคณะกรรมการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล จำนวน 2 บาทต่อกิโลกรัมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ปรับขึ้นราคา 2 บาทตามต้นทุนที่มีการปรับตัว หลังจากที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ได้หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือจนได้ข้อสรุปตามต้นทุนของเกษตรกรชาวไร่อ้อยแล้ว

ส่วนอีกส่วน 2 บาทที่มีการขอขึ้น เพื่อนำเงินเข้ากองทุนดูแลสิ่งแวดล้อมนั้น นายภูมิธรรม ระบุว่า คณะรัฐมนตรี ยังไม่มีมติให้ปรับขึ้น โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไปหารือกันใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคต้องแบกรับต้นทุนเพียงฝ่ายเดียว

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ด่วน ครม. เคาะแล้ว 'เงินเยียวยาไร่ละ 1,000' ปรับขึ้นราคา 'น้ำตาลทราย' 2 บาท

ที่ประชุม ครม. เคาะแล้ว 'เงินเยียวยาไร่ละ 1,000' ไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท- ปรับขึ้นราคา 'น้ำตาลทราย' 2 บาท

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลัง ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติ เคาะ “เงินเยียวยาไร่ละ 1,000” ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งจะต้องหารือกับ ธ.ก.ส.ก่อน ในการดำเนินการ นับตั้งแต่มติ ครม. ออก เป็นเป็นต้นไป ซึ่งคาดว่า อย่างเร็วเป็นวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. หรือวันจันทร์ 20 พ.ย. 2566 และเริ่มจ่ายเงินภายในกรอบระยะเวลา 1 เดือนหลังจากนี้

ส่วนเรื่องน้ำตาลทราย คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย ครม.มีมติเคาะขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท ส่วนอีก 2 บาท ที่ขอขึ้น เพื่อใช้ในกองทุนเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม ครม.ยังไม่อนุมัติ โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกันก่อน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภคเพียงฝ่ายเดียว

นายภูมิธรรม ย้ำว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อลดความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ส่วนเรื่องอื่นจะปรับอย่างไรนั้นค่อยว่ากัน ตอนนี้ขอแก้ในส่วนที่ฉุกเฉินก่อน

จาก https://www.komchadluek.net วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อยเฮ ครม.เคาะขึ้นราคาน้ำตาล 2 บาท/กก. ภูมิธรรม ยันผลผลิตไม่ขาดตลาด

ชาวไร่อ้อยเฮ ! ครม.ไฟเขียวปรับขึ้นราคา 2 บาท เหตุต้นทุนการผลิตสูง เบรกปรับขึ้นกองทุนดูแลสิ่งแวดล้อม อีก 2 บาทต่อกิโลฯ ชี้ไม่ควรให้ปชช.แบกรับภาระเพิ่ม มั่นใจผลผลิตไม่ขาดตลาด

นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงมาตรการดูแลน้ำตาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน ว่า ที่ประชุม ครม. ได้รับฟังผลจากการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลที่ตนประชุมด้วย ที่มีการคุยกับเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหรกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งได้มีการประชุมหารือกันถึง 2 ครั้ง ได้ข้อสรุปว่าเราจะดำเนินการพิจารณาอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริง

โดยประเด็นแรก ต้นทุนเกษตรกรชาวไร่อ้อย เห็นสมควรให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปรับราคาจำหน่ายน้ำตาลขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรรมตามที่ต้นทุนมีอยู่ ซึ่งมติครม.ได้กำหนดเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เกี่ยวข้องก็ไปดำเนินการต่อ คิดว่ามีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ส่งผลให้ราคาหน้าโรงงานที่กำหนดไว้ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 19 บาท จะเพิ่มเป็น 21 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาว และ กก.ละ 20 บาท เป็น 22 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และราคาขายปลีก กก.ละ 24 บาท เป็น 26 บาท  สำหรับน้ำตาลทรายขาว และ กก.ละ 25 บาท เป็น 27 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

ส่วนกรณีอีก 2 บาท ที่ขอขึ้นใช้ในกองทุนดูแลสิ่งแวดล้อม ตรงนี้เรายังไม่ให้ปรับขึ้น โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องไปหารือกันว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะให้ผู้บริโภครับผิดชอบคนเดียว ต้องดูว่ามีความเกี่ยวพันกับใคร อย่างไร และมีช่องทางในการดำเนินการจัดการอย่างไร ตรงนี้จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่อนุมัติ

และขอให้ดำเนินการตามนี้ ทั้งนี้ หลังพูดคุยส่วนที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าน้ำตาลจะไม่ขาด ตอนนี้เราต้องแก้ไขเรื่องเฉพาะหน้าเพื่อให้เกษตรกรไม่เดือดร้อน ขณะเดียวกันต้องควบคุมราคาน้ำตาลด้วย ส่วนอนาคตหากจะมีการปรับอะไรต่างๆค่อยว่ากัน ตอนนี้แก้ปัญหาความฉุกเฉินที่มีเพื่อบรรเทาปัญหาประชาชนที่กำลังรับอยู่

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

“พิมพ์ภัทรา” เผย สอน.ถก 57 โรงงานมั่นใจน้ำตาลมีเพียงพอต่อการบริโภค

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมาย สอน.หารือกับ 57 โรงงานในประเทศเพื่อหามาตรการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดปริมาณน้ำตาลตึงตัวแล้ว สอน.ย้ำได้จัดเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานทั่วประเทศรายงานสต๊อกคงเหลือทุกวัน และปี 2566/67 อาจมีมาตรการเพิ่มเติม คาดการบริโภคน้ำตาลต.ค. 66-ก.ย. 67 จะอยู่ราว 25 ล้านกระสอบ

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากที่มีกระแสข่าวถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศที่ตึงตัว จึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ สอน. เร่งหาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลในประเทศ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค ขณะเดียวกันได้กำชับให้ สอน.หาแนวทางเพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคควบคู่ไปด้วย ซึ่งเบื้องต้นพบว่าปริมาณน้ำตาลจะมีเพียงพอต่อการบริโภค

นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ได้เชิญโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรงประชุมหารือถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ โดย สอน.ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศในปัจจุบัน และขอความร่วมมือจากโรงงานน้ำตาลในการดูแลปริมาณน้ำตาลทรายเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับผลกระทบ

สำหรับแนวทางการรักษาสมดุลให้มีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ สอน.ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรงทั่วประเทศ รายงานปริมาณสต๊อกคงเหลือส่งให้ สอน.เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้ อาจจะมีมาตรการในการบริหารจัดการปริมาณน้ำตาลทรายสำรองสำหรับฤดูการผลิตปี 2566/67 เป็นการเฉพาะเพิ่มเติม

“ฤดูปีการผลิตปีที่ผ่านมา (ปี 65/66) ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริโภคในประเทศมีจำนวน 26 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) และในฤดูการผลิตปี 2566/67 สอน.คาดการณ์ตัวเลขปริมาณน้ำตาลทรายที่บริโภคในประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566-เดือนกันยายน 2567 จะมีประมาณ 25 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) โดยคาดว่าจะมีผลผลิตน้ำตาลทรายที่ผลิตได้อยู่ที่ประมาณ 93.32 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) จากประมาณการอ้อยเข้าหีบจำนวน 82 ล้านตัน ซึ่ง สอน.จะบริหารจัดการการจำหน่ายน้ำตาลภายในประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ” นายวิฤทธิ์กล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อยเกาะติดที่ประชุม "ครม." วันนี้ลุ้นขึ้นราคาน้ำตาล

ชาวไร่อ้อยเกาะติด "ครม." วันนี้หวังขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานตามที่คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล กระทรวงพาณิชย์เห็นชอบ 2 บาท/กก. ย้ำหากเลือกได้ยังอยากเห็นน้ำตาลไม่เป็นสินค้าควบคุมและปรับขึ้น 4 บาท/กก.ตามต้นทุนที่ตอบโจทย์ยั่งยืนกว่า

แหล่งข่าวจากชาวไร่อ้อย เปิดเผยว่า 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยคงต้องติดตามการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (14 พ.ย. 66) ถึงการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานใกล้ชิดหลังจากที่คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกระทรวงพาณิชย์ได้มีข้อสรุปที่จะให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2 บาท/กิโลกรัม (กก.)

“ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ระบุว่าจะเร่งนำเสนอ ครม.ให้ทันวันที่ 14 พ.ย.นี้ก็คงต้องดูว่ารายละเอียดจะเป็นอย่างไร ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะเป็นการปรับขึ้นหน้าโรงงาน 2 บาท/กก. จากเดิมที่น้ำตาลทรายขาว และขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 19 และ 20 บาท/กก. ก็จะปรับเป็น 21 และ 22 บาท/กก. ส่วนขายปลีกเป็น 26-27 บาทต่อ กก. ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะในแง่กฎหมายแล้วพาณิชย์มีอำนาจในการดูแลราคาขายปลีกเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ หากถามชาวไร่อ้อยพอใจหรือไม่นั้นก็คงพอใจระดับหนึ่ง เพราะหากเลือกได้ต้องการให้ปรับขึ้น 4 บาท/กก.ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เดิมที่เกิดจากการหารือทุกฝ่ายที่คำนึงถึงปัจจัยการผลิตที่เพิ่มสูงมาก โดยจะกันเงินรายได้ดังกล่าวคิดเป็น 2 บาท/กก.เข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) ที่จะนำไว้รักษาเสถียรราคาในการดูแลการตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ที่มองว่าระยะต่อไปจะได้ไม่ต้องพึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐซึ่งจะยั่งยืนกว่า

อย่างไรก็ตาม เมื่อน้ำตาลกลายเป็นสินค้าควบคุมเช่นนี้เท่ากับว่าจะเป็นการผลักภาระให้ชาวไร่อ้อยต้องไปเรียกร้องในการของบประมาณจากรัฐมาสนับสนุนอีก ซึ่งกลับไปสู่ระบบเดิมๆ ก่อนการลอยตัวราคา โดยชาวไร่ยืนยันหลักการว่าใครบริโภคน้ำตาลก็ควรจะจ่าย และการตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 เกิดจากนโยบายรัฐที่กำหนดขึ้น และที่ผ่านมาได้สนับสนุนวงเงิน 120 บาท/ตันเพื่อลดภาระของชาวไร่อ้อย ซึ่งในฤดูหีบปี 2565/66 ก็ยังคงค้างจ่าย และฤดูหีบใหม่ (2566/67) ก็ยังไม่ชัดเจนทำให้ชาวไร่ต้องออกมาเรียกร้องถือเป็นความยากลำบากของอาชีพเกษตรกร

“การปรับขึ้นราคาดังกล่าวจะมีส่วนในการนำไปคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตฤดูหีบปี 2566/67 ที่คาดว่าจะเป็นช่วงกลาง ธ.ค.นี้ที่จะอยู่ราว 1,400 บาท/ตัน ซึ่งอาจมองว่านี่ราคาสูงแต่เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตของชาวไร่ที่ขึ้นมามากทั้งปุ๋ย ค่าแรง น้ำมัน ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ชาวไร่ไม่ได้อะไรมากเลย เมื่อพาณิชย์กลับมาเอาน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมทั้งที่ระเบียบต่างๆ ก็ทำมาเพื่อลอยตัวราคาอยู่แล้ว และตาม พ.ร.บ.อ้อยฯ ก็ให้อำนาจกระทรวงอุตสาหกรรมดูแลราคาหน้าโรงงานให้สะท้อนต้นทุนของชาวไร่อ้อยซึ่งกฎหมายระบุไว้ชัดเจน” แหล่งข่าวกล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

"ชาวไร่อ้อย"ลุ้นน้ำตาลทรายขึ้น 2 บาท หลังเตรียมชงครม.ไฟเขียววันนี้

"ชาวไร่อ้อย"ลุ้นน้ำตาลทรายขึ้น 2 บาท หลังเตรียมชงครม.ไฟเขียววันนี้ ด้าน รมว.อุตสาหกรรมคาดน่าจะมีความชัดเจนเร็ววันนี้ ชี้คณะกรรมการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายประชุมพิจารณาข้อมูลต่อเนื่อง

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ว่า น่าจะมีความชัดเจนในเร็ววันนี้ ในเรื่องการกำหนดราคาหน้าโรงงานและราคาขายปลีก

หลังคณะกรรมการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย มีการประชุมพิจารณาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จะเดินหน้าดูแลชาวไร่ ผู้บริโภค และโรงงานน้ำตาล อย่างเต็มที่และเป็นธรรมกับทุกกลุ่ม โดยน้ำตาลต้องเพียงพอไม่ขาดแคลน

รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (14 พ.ย. 66) คาดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประธานการประชุม ครม.นัดนี้

จะมีการพิจารณาราคาน้ำตาลทรายตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่คาดว่าจะอนุมัติให้ราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานปรับขึ้นประมาณ 2 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เป็นระดับ 21-22 บาทต่อกก.

จากปัจจุบันอยู่ที่ 19-20 บาทต่อกก. เนื่องจากต้นทุนการผลิตอ้อยฤดูการผลิต 2565/66 สูงขึ้นมาก จากราคาปุ๋ยและน้ำมันที่พุ่งสูงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

รวมถึงต้นทุนอื่นที่ปรับสูงขึ้นมากเช่นกัน นอกจากนี้ยังเผชิญกับภัยแล้งจนผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย(ยิลด์)ลดลงมาก เหลือ 9-10 ตันต่อไร่ จากเฉลี่ย 10-11 ต้นต่อไร่ และเคยสูงสุดถึง 12 ตันต่อไร่

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อยอีสานไม่พอใจ รบ.ถ่วงจ่ายค่าชดเชยตัดอ้อยสด 120 บาท โยนกันไปมาไม่จบ

สมาคมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน ไม่พอใจรัฐบาลที่พยายามเตะถ่วงจ่ายเงินชดเชยค่าตัดอ้อยสดไร่ละ 120 บาท จนจะถึงฤดูตัดอ้อยของปีนี้ ชี้หากปีนี้กลับมาเผาอ้อยกัน ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะเกิดอะไรขึ้น ชี้ขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาท เพราะต้นทุนการผลิตสูง ระบุราคาน้ำตาลของไทยถูกที่สุด

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 66 นายกสมาคมชาวไร่อ้อยหลายจังหวัดในภาคอีสาน ได้เดินทางมาร่วมงานวันประชุมสามัญใหญ่ประจำปี 2566 ของบริษัทโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ พร้อมกับหารือกรณีเงินชดเชยค่าตัดอ้อยสดไร่ละ 120 บาทของรัฐบาล ที่จะสมทบให้เป็นค่าตัดอ้อยสด เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 โดยบรรยากาศการประชุมสามัญใหญ่ มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยมาร่วมประชุมมากกว่า 2,000 คน ส่วนใหญ่ต้องการมาติดตามความคืบหน้า หลังจากไม่ได้รับเงินค่าชดเชยตัดอ้อยสดไร่ละ 120 บาทของปีที่ผ่านมา

นายดร สีโสภา นายกสมาคมชาวไร่อ้อยบุรีรัมย์ กล่าวว่า สมาคมชาวไร่อ้อยแต่ละจังหวัด ได้มีความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อติดตามทวงถามเงินค่าตัดอ้อยสดของเกษตรกรไร่ละ 120 บาท หลังจากตัดอ้อยเสร็จเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และตอนนี้จะเริ่มตัดอ้อยในเดือนธันวาคมนี้ ที่ผ่านมาเคยไปพบรัฐมนตรีทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยมาแล้วหลายครั้ง จนกระทั่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้สัญญาว่า จะเข้า ครม.แล้ว แต่ไม่เคยชัดเจน เหมือนผัดวันประกันพรุ่ง

"อยากจะวิงวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ เกษตรฯ และรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งเบิกจ่ายเงินส่วนต่างที่เกษตรกรจะได้รับตามสัญญาที่มีต่อกัน เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั้งประเทศ เพราะการตัดอ้อยสดมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการเผาอ้อย ซึ่งส่งผลต่อมลพิษ" นายกสมาคมชาวไร่อ้อยบุรีรัมย์ กล่าว

นายดร กล่าวอีกว่า สมัยก่อนเกษตรกรจะเผาอ้อยก่อนตัดประมาณ 80% หลังจากนั้นได้มีการรณรงค์ตัดอ้อยสดเพื่อลดมลพิษ จนกระทั่งรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จ่ายค่าชดเชยให้ตัดอ้อยสดไร่ละ 120 ปัจจุบันมีเกษตรกรเผาอ้อยเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากรัฐบาลไม่ยอมจ่าย เกษตรกรอาจจะหันมาเผาอ้อยที่ตัดได้เร็วกว่า ถึงเวลานั้นจะมาขอให้ตัดอ้อยสดอีก จะเป็นการนับหนึ่งของการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 อีกหรือไม่

ด้าน นายไชยวัฒน์ คำแก่นคูน นายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การทำไร่อ้อยถือว่าเป็นอาชีพที่ลำบาก กำไรน้อย แต่มันอาชีพที่ได้ลงทุนลงแรงไปแล้ว แต่ปัจจัยการผลิตสูงขึ้น การปรับราคาน้ำตาลกิโลกรัมละ 4 บาทถือว่าไม่มาก จากที่มีการคำนวณไว้แล้ว ใน 4 บาท จะแบ่งเป็น 2 บาทแรก ให้กับเกษตรกรผู้ปลูก อีก 2 บาท เอาไว้รักษาเสถียรภาพ เอามาเก็บไว้กองทุน และรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล

นายไชยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ชาวไร่อ้อยพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล รวมถึงต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลกตลอดไป ส่วนประเด็นราคาน้ำตาล จริงๆ แล้วราคาน้ำตาลในประเทศไทยถูกที่สุด คือ กก.ละ 22 บาท ขณะที่ราคาน้ำตาลในประเทศเพื่อนบ้าน กก.ละ 40 บาท.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

 

กรมค้าภายใน ลุยเช็กสต๊อกน้ำตาลทราย ยันมีเพียงพอ ขอปชช.อย่าซื้อกักตุน

กรมค้าภายใน ลุยเช็กสต๊อกน้ำตาลทราย ยันมีเพียงพอจำหน่ายในประเทศ ถึงฤดูกาลผลิตหน้า ขอประชาชนอย่าซื้อกักตุน ให้คนอื่นได้ซื้อทั่วถึง

วันที่ 12 พ.ย. 2566 นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและปฏิบัติการ นำเจ้าหน้าที่สายตรวจพิเศษ ลงพื้นที่ จ.สิงห์บุรี และ จ.สระบุรี โดยร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ ตรวจสอบโรงงานผลิตน้ำตาลทราย

จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า โรงงานผลิตน้ำตาลทรายยังมีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอต่อการจำหน่ายภายในประเทศ จนถึงฤดูการผลิตหน้า สินค้าน้ำตาลทรายยังหมุนเวียนเข้าสู่ตลาดตามปกติ ประชาชนจึงไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำตาลทรายไปกักตุน เพื่อให้คนอื่นๆ ได้ซื้อสินค้าอย่างทั่วถึงและขอให้เชื่อมั่นได้ว่าปริมาณสินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศนายอุดม กล่าวต่อว่า ขอให้ผู้ประกอบการที่จำหน่ายน้ำตาลทราย ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง หากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ กรมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและหากพบการกระทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัดกรณีไม่ปิดป้ายแสดงราคามีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท กรณีจำหน่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกรณีจำหน่ายสินค้าราคาสูงเกินสมควร กักตุนสินค้า ประวิงการจำหน่ายและปฏิเสธการจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566

 

เตรียมเสนอ"ภูมิธรรม"ขึ้นราคา"น้ำตาลทราย" คาด 2 บาท/กก.

เตรียมเสนอ"ภูมิธรรม"ขึ้นราคา"น้ำตาลทราย" คาด 2 บาท/กก. หลังคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลถกหาข้อสรุป มุ่งหาทางออกแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในขณะนี้แล้ว โดยน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

โดยเฉพาะชาวไร่อ้อยที่มีผลกระทบด้านต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนจะปรับขึ้นเท่าใดยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อตลาด โดยจะนำเสนอให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณา และหากให้ความเห็นชอบก็จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 14 พ.ย.2566 ต่อไป

ทั้งนี้ หาก ครม.อนุมัติ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลราคาน้ำตาลทราย ทั้งกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะต้องไปดำเนินการให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ตัวเองดูแล เช่น กระทรวงพาณิชย์ ก็ต้องไปพิจารณาปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กำหนดราคาขายปลีกใหม่

ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องไปประกาศราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานใหม่

อย่างไรก็ดี ในระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำตาลทรายขณะนี้ มาตรการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ประกาศ กกร.และประกาศ สอน.จะยังคงเดิม ทั้งราคาหน้าโรงงานที่กำหนดไว้ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 19 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาว และ กก.ละ 20 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และราคาขายปลีก กก.ละ 24 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาว และ กก.ละ 25 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาใหม่

“มาตรการต่างๆ จะยังคงมีอยู่ ขอให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากมีการกักตุน โดยเห็นว่าแนวโน้มราคาจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อหาส่วนต่างนั้นไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน และภาครัฐจะดำเนินการตามกฎหมายเด็ดขาด โดยได้ฝากให้กรมการค้าภายในและ สอน.ไปกำกับดูแลไม่ให้มีการกักตุนน้ำตาลทราย และขายราคาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว”

นายยรรยง กล่าวอีกว่า คณะทำงานยังได้มีข้อเสนอถึงรัฐบาล หากในโอกาสต่อไปจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำตาลทราย ทั้งขึ้นหรือลง ขอให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบตามภารกิจที่แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยปัญหาการป้องกันฝุ่น PM2.5 จากการเผาไร่อ้อย มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีมาตรการเข้าไปดูแลให้กับชาวไร่อ้อย แทนที่จะผลักภาระไว้ในราคาน้ำตาลทราย

 สำหรับผลกระทบต่อราคาสินค้าและเงินเฟ้อ หากจะมีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย กระทรวงพาณิชย์ประเมินแล้ว หากเป็นไปตามราคาที่เสนอให้ปรับขึ้น ถือว่ามีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าไม่มาก แม้ว่าน้ำตาลทรายจะเป็นต้นทุนสำคัญในกรผลิตอาหาร ยา เครื่องดื่ม และขนม โดยจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมหารือขยับขึ้นไม่เกิน 2 บาทต่อ กก. โดยยังให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อจะใช้มาตรการเช็กสต๊อกและอื่นๆ สกัดปัญหาโก่งราคา กักตุน และส่งค้าชายแดน

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 กล่าวว่า ราคาที่ชาวไร่อ้อยพอใจคือกิโลกรัมละ 4-5 บาท แต่ถ้าได้ราคาขึ้นอีก 2 บาท ชาวไร่อ้อยยังไม่มีคำตอบเ

“อย่านำราคาน้ำตาลโลกมาเป็นตัวชี้วัดของชาวไร่อ้อยในการขอขึ้นราคาเพราะไม่ใช่ประเด็น แต่ที่ชาวไร่อ้อยอยู่ไม่ได้คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ต้องบอกว่าทุกวันนี้คนไทยบริโภคน้ำตาลถูกที่สุดในโลก หากชาวไร่อ้อยเลิกทำเชื่อว่าคนไทยจะกินน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 100 บาทแน่นอน โดยการประชุมวันนี้ยังไม่ได้คำตอบ 100% ว่าจะปรับราคาได้มากน้อยแค่ไหน”

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566

 

ผู้บริโภคเตรียม“ ทำใจ”รับ “น้ำตาล”ขึ้นราคา หลังคณะทำงาน ชง ปรับราคาน้ำตาล

คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เคาะสรุป เสนอ “ภูมิธรรม” พิจารณาปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย หากเห็นชอบจะเสนอ ครม. พิจารณาในวันที่ 14 พ.ย. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป แหล่งข่าว เผย ราคาปรับขึ้น 2 บาทต่อ ก.ก.

นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในขณะนี้ได้แล้ว โดยน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะชาวไร่อ้อย ที่มีผลกระทบด้านต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนจะปรับขึ้นเท่าใด ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อตลาด โดยจะนำเสนอให้นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณา และหากให้ความเห็นชอบ ก็จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 14 พ.ย.2566 ต่อไป

ทั้งนี้ หาก ครม. อนุมัติ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลราคาน้ำตาลทราย ทั้งกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะต้องไปดำเนินการให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ๆ ตัวเองดูแล อย่างกระทรวงพาณิชย์ ก็ต้องไปพิจารณาปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กำหนดราคาขายปลีกใหม่ ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ก็ต้องไปประกาศราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานใหม่

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำตาลทรายขณะนี้ มาตรการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ประกาศ กกร. และประกาศ สอน. จะยังคงเดิม ทั้งราคาหน้าโรงงานที่กำหนดไว้ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 19 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาว และกก.ละ 20 บาทสำหรับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และราคาขายปลีก กก.ละ 24 บาท สำหรับน้ำตาลทรายขาว และ กก.ละ 25 บาทสำหรับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาใหม่

 “มาตรการต่าง ๆ ยังคงมีอยู่ ขอให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ถ้ามีการกักตุน โดยเห็นว่าแนวโน้มราคาจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อหาส่วนต่าง อย่าทำ ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน และภาครัฐจะไม่นิ่งดูดาย จะดำเนินการตามกฎหมายเด็ดขาด โดยได้ฝากให้กรมการค้าภายใน และ สอน. ไปกำกับดูแลไม่ให้มีการกักตุนน้ำตาลทราย และขายราคาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว”นายยรรยงกล่าว

นอกจากนี้ คณะทำงานยังได้มีข้อเสนอถึงรัฐบาล หากในโอกาสต่อไป จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำตาลทราย ทั้งขึ้นหรือลง ขอให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบตามภารกิจที่แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนปัญหาการป้องกันฝุ่น PM 2.5 จากการเผาไร่อ้อย มีข้อเสนอให้รัฐบาล มีมาตรการเข้าไปดูแลให้กับชาวไร่อ้อย แทนที่จะผลักภาระไว้ในราคาน้ำตาลทราย

สำหรับผลกระทบต่อราคาสินค้าและเงินเฟ้อ หากจะมีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย กระทรวงพาณิชย์ประเมินแล้ว หากเป็นไปตามราคาที่เสนอให้ปรับขึ้น ถือว่ามีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าไม่มาก แม้ว่าน้ำตาลทรายจะเป็นต้นทุนสำคัญในกรผลิตอาหาร ยา เครื่องดื่ม และขนม โดยจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

 นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7  กล่าวว่า   ราคาที่ชาวไร่อ้อยพอใจคือ กิโลกรัมละ4-5 บาท แต่ก็ต้องคุยในรายละเอียดในที่ประชุมอีกครั้ง เพราะที่ประชุมวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องตัวเลข แต่ถ้าได้ราคาที่ 2 บาท ชาวไร่อ้อยยังไม่มีคำตอบเพราะถ้าถามว่าอยากได้ราคาเท่าไร่ชาวไร่อ้อยถึงจะพอใจ คือ 4-5 บาท

“อย่าเอาราคาน้ำตาลโลกมาเป็นตัวชี้วัดของชาวไร่อ้อยในการขอขึ้นราคาเพราะไม่ใช่ประเด็นแต่ที่ชาวไร่อ้อยอยู่ไม่ได้คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ต้องบอกว่าทุกวันนี้คนไทยบริโภคน้ำตาลถูกที่สุดในโลก ถ้าพวกเราชาวไร่อ้อยเลิกทำ เชื่อว่าคนไทยจะกินน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 100บาท แน่นอน การประชุมวันนี้ยังไม่ได้คำตอบ100% ว่าจะปรับราคาได้มากน้อยแค่ไหน”

แหล่งข่าวคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเปิดเผยว่าที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน กิโลกรัมละ(ก.ก.)2 บาท  โดยน้ำตาลทรายขาว ปรับขึ้นเป็นเป็น ก.ก.ละ 21 บาท และน้ำทรายขาวบริสุทธิ์ ปรับขึ้นเป็น ก.ก.ละ22บาท  โดยคาดว่าราคาใหม่จะมีผลบังคับทันทีภายหลังผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

 

ชาวไร่อ้อย"ลุ้นราคาน้ำตาลขึ้น 2 บาทวันนี้

"ชาวไร่อ้อย"ลุ้นราคาน้ำตาลขึ้น 2 บาทวันนี้ หลังจะมีการประชุมคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลสรุปข้อเท็จจริงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยเฉพาะประเด็นต้นทุนการผลิตอ้อย

วันที่ 10 พ.ย. คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจะหารือและได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยเฉพาะประเด็นต้นทุนการผลิตอ้อยที่สะท้อนราคาน้ำตาล

ทั้งนี้ พบว่าต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้สูงมาก (ฤดูการผลิต 2565/66) เฉลี่ย 12,000-13,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาปุ๋ยสูงขึ้นเฉลี่ย 44% เพราะเป็นช่วงที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็สูงขึ้นเฉลี่ย 39% ได้รับผลกระทบจากสงครามเช่นกัน และยังมีต้นทุนยาปราบศัตรูพืช ค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น

 จากต้นทุนที่ชาวไร่กำลังประสบอยู่เวลานี้ ทำให้คณะทำงานฯ ได้รับข้อมูลรอบด้านจนเกิดความเข้าใจ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติให้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาทต่อกก. เป็นระดับ 21-22 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ขณะที่ราคาขายปลีกน่าจะยังควบคุม ส่วนจะอยู่ระดับใด คณะทำงานฯจะพิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง"

ต่อเรื่องดังกล่าวนายนราธิป อนันตสุข ผู้จัดการสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 กล่าวว่า คงต้องติดตามผลการประชุมคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลวันที่ 10 พ.ย.นี้ ที่มีตัวแทนชาวไร่อ้อยร่วมประชุมด้วย 4 คน ว่าจะมีแนวทางการปรับราคาอ้อยหน้าโรงงานขึ้น 2 บาท/กก.อย่างไร

โดยที่ยังควบคุมราคาขายปลีกได้อยู่ เพราะโดยกลไกของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลแล้ว หากมีการปรับขึ้นก็คงต้องกันขึ้นทั้งระบบ รวมถึงราคาจำหน่ายที่ออกจากโรงงานสู่ตลาด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าคณะทำงานฯ จะดำเนินการอย่างไร

รายงานข่าวระบุว่า จากเดิมมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) ให้ปรับราคาขึ้นแบ่งเป็น 2 ส่วนคือสะท้อนไปยังราคาหน้าโรงงานจริงกก.ละ 2 บาท และการเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กก.ละ 2 บาท เพื่อนำไปจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ปลูกอ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานน้ำตาลตามนโยบายลดฝุ่น PM 2.5

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

 

"ชาวไร่อ้อย"มีเฮ คณะทำงานบริหารสมดุลน้ำตาลยอมขึ้นราคา 2 บาท

"ชาวไร่อ้อย"มีเฮ คณะทำงานบริหารสมดุลน้ำตาลยอมขึ้นราคา 2 บาท หลังพบต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้สูงมาก เผยราคาปุ๋ยสูงขึ้นเฉลี่ย 44% จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นเฉลี่ย 39%

รายงานข่าวระบุว่า วันที่ 10 พ.ย. คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจะหารือและได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยเฉพาะประเด็นต้นทุนการผลิตอ้อยที่สะท้อนราคาน้ำตาล

ทั้งนี้ พบว่าต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้สูงมาก(ฤดูการผลิต 2565/66) เฉลี่ย 12,000-13,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาปุ๋ยสูงขึ้นเฉลี่ย 44% เพราะเป็นช่วงที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็สูงขึ้นเฉลี่ย 39% ได้รับผลกระทบจากสงครามเช่นกัน และยังมีต้นทุนยาปราบศัตรูพืช ค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น

 นอกจากนี้ผลจากปัญหาภัยแล้ง ฝนตกน้อยลง ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องสูบน้ำมากขึ้น ทำให้ใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย และภัยแล้งยังทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย(ยิลด์)ลดลงมาก จากอ้อย 10-11 ต้นต่อไร่ และเคยสูงสุด 12 ตันต่อไร่ เป็น 9-10 ตันต่อไร่

"จากต้นทุนที่ชาวไร่กำลังประสบอยู่เวลานี้ ทำให้คณะทำงานฯ ได้รับข้อมูลรอบด้านจนเกิดความเข้าใจ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติให้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาทต่อกก. เป็นระดับ 21-22 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ขณะที่ราคาขายปลีกน่าจะยังควบคุม ส่วนจะอยู่ระดับใด คณะทำงานฯจะพิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง"

อย่างไรก็ดี ด้วยสาเหตุจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ย และน้ำมัน ประกอบกับผลจากราคาน้ำตาลตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นไประดับ 27-28 บาทต่อกก. ยังจูงใจผู้ส่งออกเลือกส่งออกมากกว่าขายในประเทศ อาจทำให้ตลาดในประเทศตึงตัว ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จึงออกประกาศขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 4 บาทต่อกก. จาก 19-20 บาทต่อกก. เป็น 23-24 บาทต่อกก.

หลังจากนั้นคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศเป็นสินค้าควบคุมและกำหนดราคาน้ำตาลหน้าโรงงานกลับไป 19-20 บาทต่อกก. ทำให้ชาวไร่ออกมาเคลื่อนไหวเตรียมปิดโรงงานน้ำตาล จึงมีการตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลขึ้นมาเพื่อหาข้อยุติดังกล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

คนทำเบเกอรี่ร้องจ๊าก “น้ำตาลขาดตลาด” ห้างยักษ์หลายจังหวัดหมดเกลี้ยง

คนทำเบเกอรี่ “เชียงใหม่-นครราชสีมา-พิษณุโลก-อยุธยา-ตรัง-ภูเก็ต-สงขลา” ร้อง น้ำตาลขาด โมเดิร์นเทรดยักษ์ใหญ่จนถึงห้างภูธรขนาดเล็ก หลายสาขาของหมด ราคาพุ่ง 30 บาท ถูกจำกัดการซื้อ

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 หลังจากคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กระทรวงพาณิชย์กำหนดสินค้าน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม และกำหนดราคาขายปลีก 24 บาท/กิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 25 บาท/กิโลกรัม

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจพบ”เพจเบเกอรี่ โซไซตี้”ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวบรวมคนสนใจทำเบเกอรี่ ได้มีสมาชิกคนหนึ่งตั้งกระทู้ว่า จังหวัดไหนมีปัญหา”น้ำตาลทราย”ขาดไม่พอทำขนม ถูกจำกัดการซื้อน้ำตาลบ้าง ปรากฎว่า มีสมาชิกจากหลายจังหวัดเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยหลายจังหวัดน้ำตาลทรายขาดตลาด เช่น นครราชสีมา ,เชียงใหม่ ,ตรัง ,ภูเก็ต ,สงขลา ,พิษณุโลก เป็น

ดังตัวอยาง แมคโครโคราชก็ไม่มีจ้า ,เชียงใหม่ก็ขาดเจ้า ,ตรังหายไปไหนไม่รู้ ,แมคโครภูเกตหมด บางห้างจำกัดได้บิลละ 1 กก. หาซื้อยากมากจ้า ,สงขลาห้างสีเขียวเล็กไม่มีบนชั้นวางสักถุง ,ทุกที่ตอนนี้ขาดตลาด ถ้าร้านขายของชำ กิโลละ 30 บาท ถ้าเซเว่นกับบิ๊กซี่ 24.25-25.25 บาท/กก. มันต่างกันกก.ละ 4-5 บาทเลย ,อยุธยาโดยมาอาทิตย์หนึ่งแล้ว ,แมคโคร พิษณุโลกไม่มีจ้า

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

น้ำตาลขาดตลาด ราคาทะลุ 30 บาท ห้างต่างจังหวัด-เพจดัง ขายเกินราคา

น้ำตาลขึ้นราคา

หลายจังหวัด “น้ำตาลทราย” ขาดตลาดหนัก ราคาทะลุ 30 บาท/กก.แล้ว ห้างต่างจังหวัด เพจดัง ขายเกินราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โรงงานน้ำตาลเลี่ยงถูกควบคุมราคา ดันน้ำตาลเกรดพรีเมี่ยมออกวางขาย

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ได้ลงสำรวจราคาน้ำตาลทรายในร้านค้า ห้างค้าปลีกในหลายจังหวัด และร้านค้าในโลกออนไลน์พบว่า ขณะนี้หลายร้านค้า ห้างสรรพสินค้าต่างจังหวัด ตลาดสด และร้านค้าในโลกออนไลน์ ต่างปรับราคาขายน้ำตาลทรายทุกยี่ห้อขึ้นเกินกว่าราคาที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กระทรวงพาณิชย์กำหนด

โดยน้ำตาลทรายขาว ควบคุมราคาขายปลีก 24 บาท/กิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 25 บาท/กิโลกรัม แต่ปรากฏว่า หลายแห่งได้รับราคาขายเฉลี่ย 26-30 บาท/กิโลกรัม และน้ำตาลทราย บรรจุถุงพลาสติก ขนาด 1 กิโลกรัม ก็เริ่มขาดตลาดแล้ว โดยเฉพาะยี่ห้อดังเจ้าตลาด

ยกตัวอย่าง ห้างสรรพสินค้าในเขต อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีการจำกัดการซื้อน้ำตาลทรายมากว่า 1 สัปดาห์แล้ว โดยกำหนดให้ 1 คนซื้อน้ำตาลทรายได้ 1 ถุงต่อ 1 บิล โดยกำหนดราคาขาย 29.75-30 บาท/กิโลกรัม และน้ำตาลทราย บรรจุถุงพลาสติก ขนาด 1 กิโลกรัม ยี่ห้อดังขายหมดทั้งชั้นวางของ เหลือเพียงน้ำตาลทรายยี่ห้ออื่น ซึ่งกำหนดราคาขาย 29.75 บาท/กิโลกรัม

ปัจจุบันน้ำตาลทรายยี่ห้อดัง ๆ ที่วางขายในห้างส่วนใหญ่ เหลือแต่น้ำตาลเกรดพรีเมี่ยมที่ขายราคาสูงกว่าน้ำตาลทรายทั่วไป เช่น น้ำตาลทรายขาว บรรจุขวดพลาสติก ขนาดน้ำหนัก 454 กรัม ราคาขาย 30.50 บาท/กิโลกรัม น้ำตาลเบเกอรี่ กำหนดราคาขาย 37 บาท/กิโลกรัม เป็นต้น

ขณะที่ในตลาดออนไลน์ มีการโพสต์ขายปลีกราคาน้ำตาลของแต่ละห้างร้านแตกต่างกันไป แต่เกินกว่าราคาที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กระทรวงพาณิชย์กำหนดเช่นกัน

โดยในเพจ Shopee ขายน้ำตาลทรายขาวบรรจุถุงพลาสติก ขนาด 1 กิโลกรัม เกือบทุกยี่ห้อขายระหว่างราคา 27 บาท/กิโลกรัม, ไปจนถึง 29 บาท/กิโลกรัม

มีข้อน่าสังเกตว่า แต่ละเพจ จะมีน้ำตาลทรายเกรดพรีเมี่ยมออกมาขายเช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้า แสดงว่า แต่ละโรงงานน้ำตาลหันมาทำน้ำตาลเกรดพรีเมี่ยมออกมาขาย เพื่อหลบเลี่ยงการถูกควบคุมราคา

จาก https://www.prachachat.net วันที่  9 พฤศจิกายน 2566

 

พรุ่งนี้ ขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 2 บาท อุ้มชาวไร่พ้นขาดทุน

พรุ่งนี้น้ำตาลหน้าโรงงานขึ้นราคา 2 บาท หลังชาวไร่แบกต้นทุนกระอัก ชี้ราคาตลาดโลกจูงใจส่งออกทำตลาดในประเทศตึงตัว

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 รายงานข่าวจากคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลแจ้งว่า วันที่ 10 พ.ย.นี้ คาดว่าคณะทำงานจะหารือและได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้ ฤดูการผลิต 2565/66 ที่สูงมากเฉลี่ย 12,000-13,000 บาทต่อไร่ ประกอบกับราคาน้ำตาลตลาดโลกยังสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 27-28 บาทต่อ กก. จูงใจผู้ผลิตส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศมากกว่าขายในประเทศ อาจทำให้ตลาดในประเทศตึงตัว

“ขณะนี้คณะทำงานที่รับข้อมูลรอบด้านมีความเข้าใจชาวไร่อ้อยดี เบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีการอนุมัติให้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เป็นระดับ 21-22 บาทต่อ กก. ขณะที่ราคาขายปลีกน่าจะยังควบคุมไว้ แต่จะอยู่ระดับใด คณะทำงานจะพิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง”

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญต้องยอมรับว่าต้นทุนราคาปุ๋ยสูงขึ้นเฉลี่ย 44% เพราะเป็นช่วงที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำมันสูงขึ้นเฉลี่ย 39% จากผลกระทบสงครามเช่นกัน รวมถึงต้นทุนยาปราบศัตรูพืช ค่าขนส่ง และผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง เพราะฝนตกน้อยลง ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องสูบน้ำมากขึ้น กลายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นจากกการใช้น้ำมันในเครื่องสูบน้ำ อีกทั้งภัยแล้งยังทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ลดลงมากจากอ้อย 10-11 ตันต่อไร่ และเคยสูงสุด 12 ตันต่อไร่ เหลือ 9-10 ตันต่อไร่

ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 4 บาทต่อ กก. จาก 19-20 บาทต่อ กก. เป็น 23-24 บาทต่อ กก. จากนั้นคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศเป็นสินค้าควบคุม และกำหนดราคาน้ำตาลหน้าโรงงานกลับไป 19-20 บาทต่อ กก. ทำให้ชาวไร่ออกมาเคลื่อนไหวเตรียมปิดโรงงานน้ำตาล จึงมีการตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลขึ้นมาเพื่อหาข้อยุติดังกล่าว

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 ประกาศต้องรู้ราคาอ้อยภายใน พ.ย. 66 ก่อนโรงงานเปิดหีบ

นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 เผย ผลผลิตปี 66 ลดลงคาดอ้อยทั่วประเทศจะเหลือ 73 ล้านตัน ชี้การที่ในประเทศตรึงราคา 25 บาท จะทำให้น้ำตาลทะลักออกนอก ส่วนการขึ้นราคาน้ำตาลรอผลสรุปจากประชุมภายในเดือน พ.ย.66 เพราะต้องประกาศราคาอ้อยก่อนโรงงานเปิดหีบ

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 จ.กำแพงเพชร เลขาธิการสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และยังมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ปีนี้ชาวไร่อ้อยเจอสถานการณ์ภัยแล้ง คาดการณ์ว่าผลผลิตอ้อยคงลดลงประมาณ 30% ปีที่แล้วทั่วประเทศมีอ้อยจำนวน 73 ล้านตัน แต่ปีนี้น่าจะเหลือไม่เกิน 75 ล้านตัน ด้วยสาเหตุเพราะราคาอ้อยทำให้ขาดทุน เกษตรกรบางส่วนเลิกปลูกอ้อย หันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เกษตรกรบางรายหมดปัญหาเรื่องภัยแล้งของปีนี้ด้วย ทำให้ต้นอ้อยแคระแกร็น ลำต้นเล็กและไม่ยาว อย่างเช่นในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ปีที่แล้วได้ผลผลิตประมาณ 7 ล้านตัน แต่ปีนี้คาดว่าจะเหลือประมาณ 5 ล้านตันเศษเท่านั้น

นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กล่าวต่อว่า ในด้านราคาตลาดโลก ขณะนี้น้ำตาลทรายขาวขึ้นไปถึงกิโลละ 40-50 บาท บางประเทศขึ้นไปถึงเกือบ 100 บาทต่อกิโลกรัม สาเหตุเพราะอินเดียเกิดภัยแล้ง ประกาศไม่ส่งน้ำตาลออก นอกจากนั้นยังมีสงครามในหลายประเทศ ทำให้หลายประเทศไม่ส่งออกน้ำตาล ดังนั้นทั่วโลกจึงต้องพึ่งน้ำตาลจากประเทศไทย จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะปล่อยให้ราคาน้ำตาลลอยตัวตามตลาดโลก ซึ่งจะทำให้ชาวไร่อ้อยอยู่ได้ ปริมาณการปลูกอ้อยก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

นายมนตรี กล่าวอีกว่า ขณะที่ไทยได้ขึ้นราคาน้ำตาลไป 4 บาท เพียง 2 วัน แล้วถูกประกาศให้เป็นสินค้าควบคุม จนต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาประชุมในเรื่องนี้ ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับตัวแทนชาวไร่อ้อย ตั้งเป็นคณะกรรมการสมดุลอ้อยและน้ำตาล ได้มีการประชุมไปแล้วเบื้องต้นเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ครั้งแรก และมีการประชุมต่อมาในวันที่ 6 พ.ย. 66 ที่ผ่านมาเป็นครั้งที่ 2 โดยเป็นข้อเสนอแนวทางกว้างๆ และในวันที่ 10 พ.ย. จะมีการประชุมกันอีก โดยต่างฝ่ายจะนำข้อเสนอ นำเอกสาร กฎระเบียบข้อบังคับและข้อมูลของทุกฝ่ายมาพิจารณา และการประชุมต้องแล้วเสร็จ ได้ข้อสรุปก่อนสิ้นเดือน พ.ย.นี้ เนื่องจากต้องประกาศราคาอ้อยเบื้องต้น ก่อนที่โรงงานจะเปิดทำการหีบอ้อย

"สำหรับเหตุผลการขึ้นราคาน้ำตาลอีก 2 บาทนั้น เพื่อนำมาให้ชาวไร่อ้อย เนื่องจากต้นทุนการทำอ้อยตกตันละ 1,450 บาท เพราะมีต้นทุนต่างๆ มากมาย ทั้งค่าแรงตัด ค่าบรรทุก ค่าปุ๋ยยา และค่าดูแล ค่าน้ำมัน ทุกอย่างเป็นต้นทุนการเพาะปลูกทั้งสิ้น ถ้าได้ขึ้นค่าน้ำตาลอีกโลละ 2 บาท ก็จะนำมาช่วยลดต้นทุนของชาวไร่อ้อยได้อีกตันละ 30 บาท ซึ่งจะทำให้ชาวไร่อ้อยไม่ต้องขาดทุนมาก แต่ถ้าไม่ได้ขึ้นราคาน้ำตาลอีก 2 บาท ก็ขอให้รัฐบาลหาเงินมาช่วยเหลือชดเชยชาวไร่อ้อยก็ได้" นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กล่าว

สำหรับค่าฝุ่น PM 2.5 รวมทั้งเขม่าควันพิษต่างๆ จากการเผาอ้อยนั้น แต่เดิมกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่มีการเผาอ้อยมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ คือ เผาอ้อยทั่วทั้งจังหวัดมากถึงกว่า 90% แต่ในระยะต่อๆ มา ชาวไร่อ้อยเห็นถึงปัญหาของสังคม จึงได้ร่วมมือกันลดการเผาอ้อยแล้วหันมาตัดอ้อยสด จนปีที่ผ่านมา ปริมาณการเผาอ้อยลดลงมาเหลือแค่ 5% เท่านั้น และในปีนี้คาดว่าการเผาอ้อยจะลดลงอีก ทั้งนี้ เรื่องฝุ่น PM 2.5 และควันพิษกับเขม่า ทางรัฐบาลต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้วย เนื่องจากเครื่องจักรในการตัดอ้อยสดค่อนข้างแพง ชาวไร่อ้อยขนาดกลางไม่สามารถหาซื้อได้.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

จับตา 10 พ.ย. ขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 2 บาท

ชาวไร่อ้อยลุ้น ปรับราคาน้ำตาลหน้าโรงงานขยับขึ้น 2 บาท หลังปีนี้ชาวไร่แบกต้นทุนสูงผลจากสงคราม และภัยแล้ง ชี้ราคาน้ำตาลตลาดโลกจูงใจส่งออก เสี่ยงตลาดในประเทศตึงตัว

รายงานข่าวจากคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ (10 พ.ย.66) คาดว่าคณะทำงาน จะมีการประชุมหารือ และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลก่อนเริ่มฤดูกาลหีบอ้อยปี 2566/67 โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาโดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้ (ฤดูกาลผลิต 2565/66) ที่ปรับเพิ่มขึ้นมากเฉลี่ย 12,000-13,000 บาทต่อไร่ ประกอบกับราคาน้ำตาลตลาดโลกยังสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 27-28 บาทต่อกิโลกรัม จูงใจผู้ผลิตส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศมากกว่าขายในประเทศ อาจทำให้ตลาดในประเทศตึงตัว

“ขณะนี้คณะทำงาน รับข้อมูลรอบด้านโดยมีความเข้าใจชาวไร่อ้อย เบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีการอนุมัติให้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) จากเดิม 19-20 บาทต่อกก. เป็นระดับ 21-22 บาทต่อกก. ขณะที่ราคาขายปลีกน่าจะยังควบคุมไว้ แต่จะอยู่ระดับใด คณะทำงานจะพิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง”

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าต้นทุนหลักในการปลูกอ้อยในปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นมาก อาทิ ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 44% เพราะเป็นช่วงที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นเฉลี่ย 39% จากผลกระทบสงครามเช่นกัน รวมถึงต้นทุนยาปราบศัตรูพืช ค่าขนส่ง และผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง เพราะฝนตกน้อยลง ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องสูบน้ำมากขึ้น กลายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการใช้น้ำมันในเครื่องสูบน้ำ

อีกทั้งภัยแล้งยังทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยีลด์) ลดลงมากจากอ้อย 10-11 ตันต่อไร่ และเคยสูงสุด 12 ตันต่อไร่ เหลือ 9-10 ตันต่อไร่

ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 4 บาทต่อกก. จาก 19-20 บาทต่อกก. เป็น 23-24 บาทต่อกก. จากนั้นคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศเป็นสินค้าควบคุม และกำหนดราคาน้ำตาลหน้าโรงงานกลับไป 19-20 บาทต่อกก. ทำให้ชาวไร่ออกมาเคลื่อนไหวเตรียมปิดโรงงานน้ำตาล จึงมีการตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ขึ้นมาเพื่อหาข้อยุติดังกล่าว

โดยคณะทำงานชุดนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แต่งตั้งขึ้นหลังการหารือร่วมกับตัวแทนชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย กรมการค้าต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตัวแทนกระทรวงเกษตรฯ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อย

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

"ชาวไร่อ้อย"มีเฮ คณะทำงานบริหารสมดุลน้ำตาลยอมขึ้นราคา 2 บาท

"ชาวไร่อ้อย"มีเฮ คณะทำงานบริหารสมดุลน้ำตาลยอมขึ้นราคา 2 บาท หลังพบต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้สูงมาก เผยราคาปุ๋ยสูงขึ้นเฉลี่ย 44% จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นเฉลี่ย 39%

รายงานข่าวระบุว่า วันที่ 10 พ.ย. คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจะหารือและได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยเฉพาะประเด็นต้นทุนการผลิตอ้อยที่สะท้อนราคาน้ำตาล

ทั้งนี้ พบว่าต้นทุนการผลิตอ้อยปีนี้สูงมาก(ฤดูการผลิต 2565/66) เฉลี่ย 12,000-13,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาปุ๋ยสูงขึ้นเฉลี่ย 44% เพราะเป็นช่วงที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็สูงขึ้นเฉลี่ย 39% ได้รับผลกระทบจากสงครามเช่นกัน และยังมีต้นทุนยาปราบศัตรูพืช ค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น

 นอกจากนี้ผลจากปัญหาภัยแล้ง ฝนตกน้อยลง ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องสูบน้ำมากขึ้น ทำให้ใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย และภัยแล้งยังทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย(ยิลด์)ลดลงมาก จากอ้อย 10-11 ต้นต่อไร่ และเคยสูงสุด 12 ตันต่อไร่ เป็น 9-10 ตันต่อไร่

"จากต้นทุนที่ชาวไร่กำลังประสบอยู่เวลานี้ ทำให้คณะทำงานฯ ได้รับข้อมูลรอบด้านจนเกิดความเข้าใจ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติให้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาทต่อกก. เป็นระดับ 21-22 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ขณะที่ราคาขายปลีกน่าจะยังควบคุม ส่วนจะอยู่ระดับใด คณะทำงานฯจะพิจารณาราคาที่เหมาะสมอีกครั้ง"

อย่างไรก็ดี ด้วยสาเหตุจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ย และน้ำมัน ประกอบกับผลจากราคาน้ำตาลตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นไประดับ 27-28 บาทต่อกก. ยังจูงใจผู้ส่งออกเลือกส่งออกมากกว่าขายในประเทศ อาจทำให้ตลาดในประเทศตึงตัว ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จึงออกประกาศขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 4 บาทต่อกก. จาก 19-20 บาทต่อกก. เป็น 23-24 บาทต่อกก.

หลังจากนั้นคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศเป็นสินค้าควบคุมและกำหนดราคาน้ำตาลหน้าโรงงานกลับไป 19-20 บาทต่อกก. ทำให้ชาวไร่ออกมาเคลื่อนไหวเตรียมปิดโรงงานน้ำตาล จึงมีการตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลขึ้นมาเพื่อหาข้อยุติดังกล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

เปิดเส้นทางอุตฯ อ้อยน้ำตาล 2 แสนล้าน พลิกผัน 5 ปีลอยตัวสู่การควบคุมราคา        

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสร้างรายได้ให้ประเทศปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท เกี่ยวข้องกับเกษตรกรผู้เพาะปลูกอีกราว 2 ล้านคน กลายเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทั้งการป้อนน้ำตาลทางตรงผ่านการบริโภคในครัวเรือนและทางอ้อมผ่านการเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องดื่มบำรุงกำลัง น้ำอัดลม ขนม ลูกอม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการส่งออกน้ำตาลที่ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลกในปัจจุบันรองจากบราซิล

อุตฯ นี้เติบโตและมีศักยภาพมาได้เพราะเป็นเพียงสินค้าเกษตรตัวเดียวที่มีกฎหมายดูภายใต้ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลฯ ซึ่ง พ.ร.บ.ฯ นี้ก็มีการปรับปรุงกันมาบ้างแต่ที่ทำให้ระบบต้องปั่นป่วนหนักคงหนีไม่พ้นการที่บราซิลยื่นขอหารือกับไทย (Consultation) ต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อปี 2559 ในประเด็นไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลเบอร์ 2 ของโลกรองจากบราซิล ใช้นโยบายอุดหนุนส่งออกน้ำตาล ในลักษณะที่อาจขัดกับข้อตกลง WTO และแสดงความกังวลต่อการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยฯ ปี 2527 การกำหนดระบบโควตาน้ำตาลของไทย ที่มีทั้งกำหนดปริมาณและราคา ตลอดจนโครงการช่วยเหลือชาวไร่ ด้วยการกำหนดราคารับซื้ออ้อย และการใช้เงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลจูงใจให้ชาวไร่หันมาปลูกอ้อยมากขึ้น

ไทยเราส่งทีมไปเจรจาหลายหน มีการตั้งงบประมาณมาเพื่อการนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ ... แน่นอนว่าตัวแทนหลักๆ หนีไม่พ้นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานและชาวไร่อ้อยแต่ดูเหมือนว่าเสียงจากส่วนใหญ่โดยเฉพาะจากรัฐเน้นไปที่การแก้ไขทุกอย่างให้ตอบโจทย์บราซิล …เพียงเพราะกังวลว่าหากแพ้บราซิลในการฟ้องร้อง WTO จะต้องจ่ายเงินชดเชยมหาศาล และเหตุผลนี้เองนำมาสู่การออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 เรื่องการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ

ลอยตัว-ถอดน้ำตาลออกจากสินค้าควบคุม

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศ “ลอยตัวราคาน้ำตาล” ของไทยอย่างเป็นทางการ ทำให้ไทยยกเลิกระบบโควตา และการกำหนดราคาขายน้ำตาลภายในประเทศ ส่วนวิธีการคำนวณราคาอ้อยให้ชาวไร่นั้น ได้อาศัยกลไกอิงราคาน้ำตาลโลก หรือลอนดอน No.5 บวกพรีเมียม และต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ให้ถอดสินค้าน้ำตาลทรายออกจากบัญชีสินค้าควบคุม จากเดิมกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม และกำหนดให้จำหน่ายปลีกได้ในราคาไม่เกิน 23.50 บาท/กิโลกรัม(กก.)

หลังรัฐลอยตัวราคาน้ำตาลเป็นช่วงจังหวะที่ราคาน้ำตาลตลาดโลกตกต่ำส่งผลให้ราคาขายปลีกปรับลดลงมาราว 2-3 บาท/กก. และทำให้ราคาหน้าโรงงานยืนระยะราคาเดิมอยู่ที่ 17.25 บาท/กก. และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 18.25 บาท/กก.อยู่พักใหญ่ก่อนที่ราคาน้ำตาลตลาดโลกจะทยอยปรับขึ้นและโรงงานได้ปรับขึ้นน้ำตาลอีกครั้งประมาณ 1.75 บาท/กก.ก่อนที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะออกประกาศเพื่อนำมาคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตปี 2565/66 เมื่อ 20 ม.ค. 66 ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานน้ำตาลทรายขาว เป็น 19 บาท/กก. และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เป็น 20 บาท/กก. นับเป็นการกลับไปยืนราคาเดิมก่อนลอยตัว

 

ดึงน้ำตาลกลับมาเป็นสินค้าควบคุม

ราคาน้ำตาลเริ่มขยับอีกครั้งหลังราคาตลาดโลกพุ่งสูงคิดกลับเป็นเงินไทยราว 26-27 บาท/กก. ทำให้ สอน.ต้องออกประกาศ เรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/67 โดยขึ้นราคาหน้าโรงงาน 4 บาท/กก. เพื่อให้ประโยชน์นั้นตกถึงชาวไร่อ้อย ส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายขาวและขาวบริสุทธิ์หน้าโรงงานขยับเป็น 23 และ 24 บาท/กก. มีผลวันที่ 28 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้พาณิชย์เต้นและวิจารณ์ว่าเป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคและจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาสินค้าที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบ

คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน จึงประชุมด่วนวันที่ 30 ตุลาคม 66 มีมติกำหนดให้สินค้าน้ำตาลทรายกลับมาเป็น “สินค้าควบคุม” ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และกำหนดให้คงราคาน้ำตาลหน้าโรงงานดังเดิมและ ครม.เมื่อ 31 ต.ค. 66 ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ จากนั้น สอน.จึงต้องออกประกาศกลับไปใช้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานดังเดิม ซึ่งทำให้นักวิชาการออกมาติงว่านี่เป็นการดำเนินนโยบายแบบถอยหลังเข้าคลอง

เปิดที่มาปรับขึ้น 4 บาท/กก.

เหตุผลที่ทาง สอน.ต้องประกาศราคาเพราะเห็นว่าราคาประเทศเพื่อนบ้านและตลาดโลกนั้นสูงมากและโรงงานเองก็มีการปรับขึ้นราคาไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยส่วนต่างนี้กลับไปตกอยู่กับผู้ขายหากไม่ประกาศให้สะท้อนความจริงไม่เพียงแต่ชาวไร่จะเสียประโยชน์ในการนำไปคำนวณราคา แต่ส่วนต่างที่ห่างกันเกินไปจะจูงใจให้เกิดการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อาจมาในรูปแบบกองทัพที่ไม่ใช่เล็กๆ แค่มดแต่อาจเป็นช้างได้ ประกอบกับน้ำตาลในประเทศที่จะเปิดหีบใหม่ (ปี 666/67) มีปริมาณต่ำเพราะเจอภัยแล้งอาจเกิดการตึงตัว ซึ่งประเด็นน้ำตาลโลกแพงนั้นกระทรวงพาณิชย์ทราบดีและเคยออกมาเตือนผ่านสื่ออย่างครึกโครม โดยหากไปดูข้อมูลจาก Globalproductprices.com เดือนกันยายน 2566 จะชี้ชัดว่าราคาน้ำตาลของไทย 21 บาท/กก. อยู่ที่ลำดับ 80 เป็นรองอันดับสุดท้ายจากการสำรวจ 81 ประเทศ

ทั้งนี้ การคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นนั้นจะอิงต้นทุนการผลิตของทั้งฝ่ายโรงงานที่ระบุตัวเลขไว้ที่ 947 บาท/ตัน และชาวไร่อ้อยที่ 1,343 บาท/ตัน รวมไปถึงการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงตามสูตรราคาแบบ Cost Plus ประกอบกับจากนโยบายของรัฐที่ต้องการลดฝุ่น PM 2.5 จึงกำหนดให้ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ทำให้ สอน.วางกรอบการใช้เงินจากการปรับราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้น 4 บาท/ กก.เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 2 บาท/กก. ประมาณ 5,000 ล้านบาท จะใช้คำนวณราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตใหม่ 2566/67 ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70 (ชาวไร่) : 30 (โรงงาน) ส่วนสอง อีก 2 บาทต่อ กก.จะนำมาให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) บริหารในการจูงใจชาวไร่ตัดสด เพื่อไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมาแก้ปัญหาเหมือนที่ผ่านมาที่รัฐต้องสนับสนุนโดยการช่วยเพิ่มค่าตัดอ้อยสดอีกตันละ 120 บาท หรือคิดเป็นงบประมาณราว 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปในอดีตในยุคของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาท/กก.นำมาใส่กองทุนอ้อยฯ ทั้งหมดและให้ชาวไร่ในการบริหารฝ่ายเดียว ซึ่งจากน้ำตาลที่ตกต่ำทำให้กองทุนฯ ใช้เงินเกือบหมดและเมื่อลอยตัวน้ำตาลทำให้รายได้ส่วนนี้สูญไป แถมปัจจุบันต้องตั้งงบประมาณปีละราว 300 กว่าล้านบาทมาชำระหนี้เก่าที่ค้างจ่าย

 เจรจาต่อรองขึ้น 2 บาท/กก.

ท่าทีของกระทรวงพาณิชย์หลังมีการหารือกับชาวไร่อ้อยผ่านคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเริ่มมีการเช็กต้นทุนและรับทราบปัญหาต่างๆ ของชาวไร่ ดูเหมือนว่าทางฝ่ายการเมืองเริ่มรับรู้ปัญหามากขึ้นและเริ่มมีการต่อรองถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ขึ้นราคา 2 บาท/กก.เท่านั้นเพื่อให้สะท้อนข้อเท็จจริงและให้รายได้กลับมาสู่ระบบแบ่งปันที่ชาวไร่อ้อยควรจะได้รับ ส่วนเงินที่จะหักเข้ากองทุนอ้อยฯ เป็นอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันเพราะมองว่าการตัดอ้อยสดน่าจะแยกออกมาก

ความชัดเจนคงจะต้องรอสรุปอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย.นี้ ว่าที่สุดรัฐจะเลือกขึ้นราคาหรือการหาเงินมาสนับสนุนแทนและการสนับสนุนจะต้องไม่ขัดหลักการ WTO ระยะยาวซึ่งพาณิชย์ยืนยันว่าราคาตลาดโลกที่สูงขณะนี้คงไม่มีปัญหาแต่อย่างใดซึ่งแน่นอนว่ายังไม่ได้พูดถึงกรณีที่ราคาในประเทศต่ำกว่าส่งออก ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยยังยืนยันถึงเงินค่าตัดอ้อยสดฤดูปี 66/67 ที่จะต้องแยกออกมาอีกด้วย ข้อสรุปต้องเร่งเพื่อนำไปคำนวณราคาอ้อยข้นต้นปี 2566/67 ก่อนการเปิดหีบที่คาดว่าจะไม่เกิน ธ.ค. 66 นี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาน้ำตาลกลายเป็นสินค้าควบคุมแต่ข้อเท็จจริงลองไปสำรวจราคาต่างจังหวัดที่ไม่ใช่โมเดิร์นเทรดจะราคาเกินควบคุมอยู่ดี เพราะนี่คือกลไกตลาดที่มันยากจะคุมไปแล้วเมื่อราคาเพื่อนบ้านสูงกว่าพ่อค้าคนกลางก็ย่อมฉวยโอกาส อันนี้คือข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ และหากการควบคุมนี้ท่ามกลางกองทุนอ้อยยังคงไม่มีเงินสะสมไว้ดูแลสิ่งที่จะหวนกลับมาอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากเมื่อราคาอ้อยตกต่ำเราก็คงจะได้เห็นม็อบชาวไร่อ้อยมาเรียกร้องจากรัฐบาลในการช่วยเหลือให้คุ้มกับต้นทุนการผลิต

หากราคาสูงแล้วไม่ได้ประกาศราคาหน้าโรงงานขึ้นให้สะท้อนกลไกตลาดนั่นก็หมายถึงม็อบอีกเช่นกัน และกรณีที่ปริมาณอ้อยต่ำจะพบว่าโรงงานก็จะแย่งซื้ออ้อยกันในราคาสูงลิ่วเกินกว่าราคาประกาศเพราะรายได้ของโรงงานมาจากหลายส่วนที่ต่อยอดเพิ่มมูลค่าเช่นเดียวกับฤดูหีบปี 66/67 ที่โรงงานส่งสัญญาณประกันราคาอ้อยที่ 1,400 บาท/ตันแล้ว....นี่จึงเป็นเหตุให้ชาวไร่อ้อยพยายามผลักดันการดึงกากอ้อยเข้ามาคำนวณราคาที่ยังคงทะเลาะกันจนถึงขณะนี้ไม่เลิกรา

แม้อ้อยจะมีกฎหมายที่ดีในการกำกับดูแลแต่ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ก็ยังคงยากจนไม่ต่างจากพืชเกษตรตัวอื่นๆ ที่ ยังคงต้องเรียกร้องหาเงินงบประมาณในการสนับสนุนอยู่เรื่อยไป ท้ายสุดกลายเป็นการนำภาษีประชาชนมาจ่ายที่อาจไม่เป็นธรรมสำหรับคนที่ไม่ได้บริโภคน้ำตาล และขณะนี้ความจริงแล้วการบริโภคน้ำตาลประชาชนส่วนใหญ่ลดลงเพราะมุ่งเน้นดูแลสุขภาพมากขึ้น แถมรัฐยังห่วงผู้บริโภคถึงขั้นเก็บภาษีความหวานกันจนทำให้สารทดแทนความหวานเติบโตไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม จากนี้ชาวไร่อ้อยควรจะพิจารณาทำไร่แบบผสมผสานลดพื้นที่ปลูกอ้อยลงจะดีกว่าหากอนาคตยังต้องออกมาเต้นแร้งเต้นกา เรียกเงินช่วยเหลือที่บางครั้งชาวไร่อ้อยตัวจริงที่เป็นขนาดกลางและย่อยอาจได้เงินไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะโดนพ่อค้าคนกลางเอาไปรับประทานหมด .... ฝ่ายโรงงานน้ำตาลเองก็ไม่ควรจะคิดเล็กคิดน้อยเอาทุกเม็ดยามส่งออกราคาดีก็ดูแลชาวไร่กันหน่อย อย่าได้ชะล่าใจลอยตัวเหนือปัญหาในทุกๆเรื่องด้วยการถีบให้ชาวไร่ออกโรงแทนเพราะในข้อเท็จจริงชาวไร่กับโรงงานก็ขาดกันและกันไม่ได้อยู่ดีหรือไม่มีอ้อยก็ไม่มีโรงงานนั่นเอง

ประเทศจะพัฒนาได้ประชาชนต้องมีรายได้ที่ยั่งยืน เช่นเดียวกับเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยฝ่ายราชการและรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแลต้องบริหารให้สมดุล ไม่ใช่ไปอิงกับทุนใหญ่ ...แน่นอนว่าการควบคุมราคาครั้งนี้ก็หวังว่าประโยชน์นั้นจะตกอยู่กับทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสมทั้งชาวไร่อ้อย โรงงาน ผู้บริโภคทุกระดับ ไม่ใช่ไปกดอีกฝ่ายแล้วประโยชน์นั้นตกไปอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง แบบนี้คงไม่เรียกว่า "สมดุล"

จาก https://mgronline.com วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

 

น้ำตาลทรายขาดตลาด ทำห้างค้าส่ง-ค้าปลีกภูธรร้อนระอุ โรงงานไม่มีขายเพิ่มให้

ห้างค้าส่งค้าปลีกภูธรหลายจังหวัดร้อนระอุ “น้ำตาลทราย” เริ่มขาดตลาด หลังมีข่าวจะปรับราคา 4 บาท/กก. ทำให้เกิดการกักตุนกันทั่วประเทศ ด้านชาวไร่อ้อยเผยปริมาณน้ำตาลในประเทศยังเหลือใช้ถึงมกราคม 2567 แต่อาจมีการลักลอบไปขายประเทศเพื่อนบ้าน ได้ราคาสูง 28 บาท/กก.

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า แม้ว่าเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เบรกการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย 4 บาท/กก. โดยมีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเรียกประชุมด่วน และมีมติกำหนดให้น้ำตาลทรายกลับมาเป็น “สินค้าควบคุม” ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยกำหนดราคาจำหน่ายหน้าโรงงาน น้ำตาลทรายขาว 19 บาท/กก. และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 20 บาท/กก. และควบคุมราคาขายปลีกน้ำตาลทรายขาว 24 บาท/กก. และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 25 บาท/กก. พร้อมควบคุมการส่งออกน้ำตาลทรายตั้งแต่ 1 ตัน หรือ 1,000 กก.ขึ้นไป แต่น้ำตาลทรายก็เริ่มขาดตลาดแล้ว

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สำรวจห้างค้าปลีกในหลายจังหวัดทั่วทุกภาคพบว่า ห้างค้าปลีกหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำตาลทราย บางห้างยังมีขาย แต่จำกัดการซื้อ โดยเฉพาะภาคอีสาน และภาคใต้ เนื่องจากตั้งแต่มีข่าวว่าจะมีการปรับราคาน้ำตาลทรายขึ้นถึง 4 บาท ทำให้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้านค้า ประชาชนทั่วไปต่างแห่ไปซื้อน้ำตาลทรายไปตุนไว้จำนวนมาก ทำให้หลายห้าง ร้านค้าส่ง และค้าปลีกน้ำตาลหมดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อห้างค้าส่งค้าปลีกโทรไปสอบถามโรงงานน้ำตาลและยี่ปั๊วที่ซื้อกันประจำ เพื่อจะขอซื้อน้ำตาลเพิ่มจากข้อตกลงที่ขายกันปกติ ได้รับการแจ้งว่า ไม่มีน้ำตาลขายเพิ่มให้แล้ว ส่งผลให้ประชาชนในหลายจังหวัดที่ต้องทำอาหาร ทำขนมขายเริ่มได้รับความเดือดร้อน

นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมชาวไร่อ้อยภาคอีสานกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า น้ำตาลไม่ได้ขาดแคลน โรงงานมีการขายปกติเพราะมีการแบ่งกันไว้แล้วว่าจะต้องนำมาขายตลาดภายในประเทศประมาณ 25 ล้านกระสอบต่อปี ก่อนลอยตัวได้กันน้ำตาลไว้ให้ผู้บริโภคภายในประเทศจนถึงเดือนมกราคม 2567 และโรงงานน้ำตาลจะเปิดหีบฤดูการผลิตปี 2566/2567เดือนธันวาคม 2566 แล้ว แต่มีความเป็นไปได้ว่า ในเมื่อน้ำตาลตลาดภายในประเทศถูก แต่ประเทศเพื่อนบ้านกินน้ำตาลราคาแพงกว่าที่ 28-30 บาท/กก. ดังนั้น อาจจะมีขบวนการที่ซื้อน้ำตาลทรายภายในประเทศแล้วลักลอบนำไปชายแดน เพื่อขายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่รัฐบริเวณด่านชายแดนต้องควบคุมดูแลให้ได้

“การที่ ครม.มีมติตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ให้น้ำตาลทรายกลับมาเป็น ‘สินค้าควบคุม’ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ไม่ปรับราคาตามมติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ถือเป็นการทำลาย พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ถอยหลังเข้าคลอง เวลาราคาน้ำตาลตลาดโลกราคาลง รัฐบาลบอกให้ปล่อยลอยตัวเสรี แต่เวลาน้ำตาลตลาดโลกขึ้นราคารัฐบาลมาควบคุม ตอนนี้ชาวไร่มีต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าพลังงาน ทุกอย่างปรับตัวสูงขึ้น แต่กลับไม่ให้ปรับราคาขึ้น แต่เวลาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบน้ำตาลขอขึ้นราคาบอกต้นทุนสูง กระทรวงพาณิชย์ยอมให้ปรับราคาขึ้น” นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมชาวไร่อ้อยภาคอีสานกล่าว

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566   

 กูรูน้ำตาลเตือนตั้งคณะกรรมการบริหารสมดุลผิดพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล

กูรูน้ำตาลเตือนตั้งคณะกรรมการบริหารสมดุลผิดพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล หลังไม่มีโรงงานน้ำตาลร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา ระบุเมื่อได้ข้อสรุปที่ไม่เป็นธรรมก็จะเกิดการฟ้องร้อง สร้างความวุ่นวายในระบบมากขึ้น

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี อดีตประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หรือ TSMC เปิดเผยถึงประเด็นเรื่องของสถานการณ์ราคาน้ำตาลกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมีองค์ประกอบไม่ครบ

ทั้งนี้ เท่าที่เห็นมีเพียงแค่ส่วนราชการกับชาวไร่อ้อยเท่านั้น ไม่มีโรงงานน้ำตาลเข้าไปร่วมอยู่ในคณะกรรมการฯโดยเรื่องดังกล่าวถือว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลซึ่งจะต้องมีทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณา

อย่างไรก็ดี หากมองอีกมุมหนึ่งการที่ไม่มีโรงงานน้ำตาลเข้าไปมีส่วนร่วมก็ถือว่าเป็นเรื่องดี หากไม่ถูกต้องโรงงานน้ำตาลก็คงจะทำการฟ้องร้อง

แต่อีกมุมหนึ่งหากมีโรงงานน้ำตาลเข้าไปมีส่วนร่วม เมื่อฝ่ายราชการและชาวไร่อ้อยเห็นตรงกัน โรงงานน้ำตาลก็จะต้องยอมรับเงื่อนไขไปโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นแบบนั้น โดยฝ่ายราชการกับชาวไร่อ้อยต้องการให้เป็นไปในลักษณะใด โรงงานน้ำตาลก็ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง

"การดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวหากได้ข้อสรุปที่ไม่เป็นธรรมก็จะเกิดการฟ้องร้อง เพราะโรงงานน้ำตาลไม่ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณา โดยต้องเรียกว่าถีงเวลาแล้ว เมื่อไม่ทำให้เกิดความเป็นธรรมก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายในระบบมากขึ้น"

อย่างไรก็ตาม ต้องเรียนว่านี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวต่อสถานการณ์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เกิดขึ้นในเวลานี้ เพราะขณะนี้ตนก็ถือว่าอยู่ในวงนอกแล้ว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566

จับตาปลัดอุตฯ เปิดทาง "เอกภัทร" นั่งประธานบอร์ด กอน.แก้ไขอ้อยแทน

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอชื่อ "นายเอกภัทร วังสุวรรณ" รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นกรรมการใน "กอน." แล้ว จับตาเปิดทางให้ที่ประชุมดันขึ้นเป็นประธานบอร์ดแทนตามระเบียบ ขณะที่ชาวไร่อ้อยหวัง "กอน." เร่งตั้ง กบ.ประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 65/66 โดยเร็ว ขณะที่การหารือพาณิชย์เรื่องราคาน้ำตาลคาดเร็วสุด 10 พ.ย.นี้จะได้ข้อสรุป

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ได้เสนอชื่อให้นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เข้ามาเป็นกรรมการในส่วนของผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อเปิดทางให้นายเอกภัทรเข้ามาเป็นประธาน กอน.แทน ซึ่งขณะนี้ได้ทำหนังสือเพื่อแจ้งต่อนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรับทราบต่อไป

“กรรมการยังขาดอีก 1 คนในส่วนของผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมหากมีการแต่งตั้งมาจากปลัดมาอีกคนขั้นต่อไปทางกรรมการจะเป็นฝ่ายมาโหวตให้นายเอกภัทร วังสุวรรณ ขึ้นเป็นประธาน กอน.แทน ตามระเบียบ โดยทางปลัดเบื้องต้นได้ระบุเหตุผลถึงภารกิจที่มีมากทำให้ต้องเปิดทางให้นายเอกภัทรขึ้นมาดูแลแทน” แหล่งข่าวกล่าว

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดถึงเรื่องดังกล่าวแต่หากจะปรับเปลี่ยนก็คงไม่ได้ส่งผลกระทบเพราะนายเอกภัทรก็เป็นบุคคลที่รู้เรื่องอ้อยเป็นอย่างดี และ กอน.เองมีเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการคือการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ที่ไม่ครบองค์ประชุมเพราะมีการเกษียณอายุราชการทำให้ กบ.ยังไม่สามารถพิจารณาประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2565/66 ได้

“กบ.จะต้องเร่งพิจารณาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2565/66 เพื่อให้ กอน.เห็นชอบ ขณะเดียวกันก็ยังคงต้องเร่งพิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2566/67 ที่ขณะนี้ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามใกล้ชิดจากการหารือของชาวไร่อ้อยกับกระทรวงพาณิชย์ รวมไปถึงการกำหนดวันเปิดหีบอ้อยฤดูผลิตปี 2566/67 ที่ชาวไร่มองว่าควรจะเป็นกลางเดือน ธ.ค.นี้” นายนราธิปกล่าว

นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้แทนชาวไร่อ้อยใน กอน.กล่าวว่า จากการหารือกับคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไปแล้วเมื่อ 6 พ.ย. ทุกฝ่ายจะร่วมกันหาตัวเลขต้นทุนที่ชัดเจนเพื่อที่จะกลับมาหารือกันอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย. ซึ่งหากเป็นไปได้จะพยายามให้ได้ข้อสรุปในวันดังกล่าว โดยความชัดเจนทั้งหมดจะต้องทันก่อนการเปิดหีบอ้อยช่วง ธ.ค.นี้อย่างแน่นอน

“ชาวไร่อ้อยยังคงยืนยันถึงต้นทุนการผลิตอ้อยตามเดิมคือ 1,343 บาท/ตัน ส่วนการที่รัฐจะหาแนวทางช่วยเหลือในรูปแบบใดนั้นคงจะต้องรอฟังเพราะต้องมองในแง่ของต้นทุนฝ่ายโรงงาน รวมไปถึงความชัดเจนถึงนโยบายส่งเสริมการตัดอ้อยสดที่ต้องแยกระหว่างการค้างจ่ายชาวไร่อ้อยในการผลิตปี 2565/66 ที่จบไปแล้ว 120 บาท/ตัน และของใหม่คืองวดที่จะเปิดหีบก็ต้องชัดเจนว่าจะทำอย่างไรด้วย” นายวีระศักดิ์กล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566

รมว.เกษตรฯรุดพบ ชาวไร่กำแพงเพชร รับฟังปัญหาในพื้นที่ หาทางแก้ไขโดยเร็ว

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่พบปะชาวบ้านและพี่น้องเกษตรกรสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อย เพื่อรับฟังข้อเสนอ ปัญหา อุปสรรค หารือแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ที่สมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชร ว่า จ.กำแพงเพชร มีทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพเหมาะสมกับการเกษตร โดยมีแม่น้ำต้นทุนสายหลัก คือแม่น้ำปิง ไหลผ่านจังหวัด 104 กิโลเมตร มีพื้นที่ชลประทาน 1.45 ล้านไร่ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม รวมทั้งมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และมีกล้วยไข่ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด

นอกจากนี้ เรื่องปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาแหล่งน้ำ ที่ดินทำกิน เรื่องราคาสินค้าเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น และปัญหาฝุ่น PM2.5 จากการเผาอ้อย กระทรวงเกษตรฯ ได้รับทราบและพร้อมทำงาน จัดทำแผนการดำเนินงานอย่างเร่งด่วน เพื่อยกระดับภาคการเกษตรในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญที่ในการ “พัฒนาศักยภาพเกษตรปลอดภัย สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี”

ในโอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ได้มอบหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์เขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เอกสารการทำประโยชน์และการปรับปรุงบำรุงดิน ข้าวสาร ถุงยังชีพ พันธุ์ปลา และพันธุ์พืชผักให้พี่น้องเกษตรกรด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566

ปมน้ำตาลแพงได้ข้อสรุปใน 2 สัปดาห์ คกก.บริหารสมดุลฯสั่งเช็กต้นทุน

ปมน้ำตาลแพงได้ข้อสรุปใน 2 สัปดาห์ คกก.บริหารสมดุลฯสั่งเช็กต้นทุน ระบุให้เสนอกลับมายังที่ประชุมวันที่ 10 พ.ย. ก่อนสรุปทำข้อเสนอให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย มีการประชุมครั้งแรกวันนี้ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าภายใน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  ตัวแทนกระทรวงเกษตรฯ  ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อย

โดยคณะทำงานชุดนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แต่งตั้งขึ้นหลังการหารือร่วมกับตัวแทนชาวไร่อ้อย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อเป็นกลไกหาทางออกแก้ปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาลทราย หลังคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม

นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานนะประธานการประชุม เปิดเผยว่า ที่ประชุมให้หน่วยงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาต้นทุนให้เกิดความชัดเจน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ไปดูตัวเลขต้นทุนฝั่งของชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำ

และให้กรมการค้าภายในไปดูต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค  โดยให้เสนอกลับมายังที่ประชุมอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 10 พ.ย.นี้  จากนั้นคาดว่า คณะทำงานจะสามารถทำข้อเสนอเพื่อสรุปส่งให้ นายภูมิธรรม  เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เร็วขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ จากเดิมคณะทำงานชุดนี้ตั้งกรอบการทำงานไว้ 1 เดือน แต่เนื่องจากเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน ใกล้ถึงช่วงเปิดหีบอ้อย ในช่วงปลายเดือนนี้  ฝั่งของชาวไร่อ้อยก็อยากจะเห็นความชัดเจน เพราะมีผลต่อราคาอ้อยที่จะขายเข้าโรงหีบ 

สำหรับโจทย์หลักของคณะทำงานชุดนี้จะต้องทำให้เกิดความสมดุลของปริมาณน้ำตาลที่บริโภคในประเทศและส่งออก รวมทั้งสร้างสมดุลด้านราคา

"ที่ประชุมได้มีการหารือกันถึงการกำหนดราคาต้นทุน  ทั้งต้นทุนของชาวไร่อ้อย ที่มีทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าพลังงานและค่าขนส่ง  ต้นทุนการผลิตของโรงงานน้ำตาล และต้นทุนระบบทั้งหมดของอุตสาหกรรมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย  เพื่อนำต้นทุนที่ได้มาทบทวนและเทียบเคียงกัน หาจุดสมดุล ให้กับทั้งชาวไร่อ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย"

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7  จังหวัดกาญจนบุรี  ระบุว่า จุดสำคัญของการหารือในวันนี้ อยู่ที่ต้นทุนการของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งทุกฝ่ายจะทำการบ้านร่วมกัน หาตัวเลขต้นทุนที่ชัดเจนให้ได้ภายในวันพุธนี้  เพื่อให้ทันเสนอเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย.

อย่างไรก็ดี คาดว่าจะได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ปัญหาอ้อยและน้ำตาลทราย ก่อนการเปิดหีบอ้อยที่จะเริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

คณะทำงานน้ำตาลทรายสั่งรื้อต้นทุน‘ปลูกอ้อย-ผลิตน้ำตาล’ทั้งระบบ

นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยภายหลังการประชุมนัดแรก เพื่อหาแนวทางการดูแลเกษตรกรชาวไร่อ้อย ภายใน 1 เดือน เพื่อให้ทันฤดูกาลเปิดหีบอ้อย 2566/67 ตามคำสั่งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ว่า วันนี้เชิญผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดมาหารือร่วมกันประกอบด้วย กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึงตัวแทนชาวไร่อ้อย

โดยที่ประชุมมีมติเห็นความจำเป็นเร่งด่วน ต้องหาออกทางเพื่อดูแลเกษตรกรชาวไร่อ้อย และแก้ไขปัญหาราคาน้ำตาลทราย ภายใน 2 สัปดาห์ เนื่องจากฤดูกาลเปิดหีบอ้อย 2566/67 จะเริ่มประมาณกลางเดือน หรือ อย่างช้าไม่เกินช่วงปลายพ.ย. นี้

ทั้งนี้ จะต้องมีการทบทวนต้นทุนใหม่ 2 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนการผลิตอ้อยของชาวไร่ และต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน เพื่อให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนอาจจะปรับเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เช่น ราคาพลังงานก็เป็นต้นทุนที่สำคัญ แต่รัฐบาลมีมาตรการเข้ามาดูแลแล้ว ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และ ค่าขนส่ง เพื่อเป็นโจทย์ตั้งต้น ในการสร้างความสมดุลให้กับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ โดยเฉพาะการคำนวณราคาหน้าโรงงาน และราคาน้ำตาลทรายที่เหมาะสม ซึ่งก็พร้อมที่จะดูแลผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายทั้งชาวไร่อ้อย โรงงาน ผู้บริโภค

“คณะทำงานฯ จะเร่งสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความสมดุลให้กับทุกฝ่าย โดยจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะทำงานฯ อีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย. ก่อนที่จะเสนอให้กับ นายภูมิธรรม พิจารณา”

ด้านนายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 กาญจนบุรี กล่าวว่า กาหารือครั้งนี้มีทิศทางที่ดี ชาวไร่อ้อยได้ให้รายละเอียดต้นทุนการปลูกอ้อยและน้ำตาล ซึ่งก็เห็นว่าจำเป็นจะต้องกลับไปทำการบ้านร่วมกัน สรุปผลเรื่องของต้นทุนให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการเปิดหีบในช่วงกลางเดือนพ.ย.

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

"น้ำตาลทราย"สินค้าควบคุมฝ่าฝืนมีโทษจำคุก-ปรับสูงสุดเท่าไหร่ เช็คที่นี่

"น้ำตาลทราย"สินค้าควบคุมฝ่าฝืนมีโทษจำคุก-ปรับสูงสุดเท่าไหร่ เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลไว้ให้หมดแล้ว หลัง ครม. อนุมัติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

"น้ำตาลทราย"สินค้าควบคุมฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำคุก-ปรับสูงสุดเท่าไหร่ กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

"น้ำตาลทราย" ถูกประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 ต.ค. ที่มีมติอนุมัติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ประกอบด้วย

กำหนดราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน อยู่ที่

น้ำตาลทรายขาว กิโลกรัม (กก.) ละ 19 บาท

น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กก.ละ 20 บาท

กำหนดราคาจำหน่ายปลีกในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่

น้ำตาลทรายขาว กก.ละ 24 บาท

น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กก.ละ 25 บาท

หลังจากนั้นวันที่ 1 พ.ย. 66 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 เรื่องการกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม ว่า ตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ. ศ. 2566 เรื่อง การกําหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2566

สำหรับใจความสำคัญก็คือ ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่จะมีการออกประกาศใหม่ และให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม ซึ่งจะมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 66

ทั้งนี้ เมื่อ"น้ำตาลทราย"เป็นสินค้าควบคุม ดังนั้น เมื่อมีการจำหน่ายน้ำตาลทรายเกินราคาจะต้องถูกลงโทษ

จากการตรวจสอบของ"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงโทษของการจำหน่ายน้ำตาลทรายเกินราคา พบว่า

ขายเกินราคาควบคุม : โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กักตุนสินค้า : โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

ปมร้อนขึ้นราคา “น้ำตาล” ป่วนรัฐบาลเพื่อไทย

พาณิชย์ พลิกเกม ประกาศ “น้ำตาล “เป็นสินค้าควบคุม สวน สอน.แอบไฟเขียวขึ้นราคา 4 บาทต่อกก.กล่อมชาวไร่อ้อยสงบศึกชั่วคราวปิดโรงงานน้ำตาลหลัง”ภูมิธรรม”สั่งตั้งคณะทำงานร่วม 4 ฝ่าย หาทางออก

ในที่สุด ครม.ก็มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือกกร.ที่เสนอให้“น้ำตาล”กลับมาเป็นสินค้าควบคุมตามพ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 เท่ากับว่า การประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ที่ไฟเขียว ขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน จากเดิมน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่กิโลกรัม ละ 19 บาท เป็นราคา 23 บาท 2. น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกก.ละ 20 เป็นกก.ละ 24 บาท คือ เพิ่มขึ้น 4 บาทต่อกก. ที่มีผลตั้งแต่วันนี้  28 ต.ค. 2566 เป็นโฆมะไปโดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ ตอบโต้ “สอน.”ภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีเจ้ากระทรวงมาจากพรรคพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)  โดยเกิดขึ้นเพียง 2 วัน หลังสอน.ประกาศขึ้นราคาน้ำตาลมีผลทันที 28 ต.ค. 66

“ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภูและหนองคายเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมาเพิ่งรับทราบการปรับขึ้นราคาน้ำตาลในระหว่างการลงพื้นที่ ทำให้มีการพูดคุยหารือเป็นการภายในเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน 

จนเป็นที่มาของการประชุมด่วนคณะกรรมการกกร.ในวันที่ 30 ต.ค. โดยใช้อำนาจของกกร.ดึง”น้ำตาล”กลับมาเป็นสินค้าควบคุม ส่งผลให้ราคาน้ำตาลยังคงราคาเดิม แถมยังงัดมาตรการจำกัดการส่งออกเพื่อป้องกันการแอบส่งออกไปขายในตลาดโลกที่ขณะนี้ราคาในต่างประเทศสูงกว่าราคาในประเทศ และเพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ  

ก่อนหน้าหลายปี ”น้ำตาล”เป็นสินค้าควบคุม แต่เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2562 ที่ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กกร.ให้ถอดสินค้าน้ำตาลทรายออกจากบัญชีสินค้าควบคุม จากเดิมกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้สินค้านี้เป็นสินค้าควบคุม ซึ่งเป็นผลมาจากกรณีเมื่อปี 2559 ที่ “บราซิล” ยื่นขอหารือกับไทย (Consultation) ต่อองค์การการค้าโลก (WTO)  ใช้นโยบายอุดหนุนส่งออกน้ำตาล ในลักษณะที่อาจขัดกับข้อตกลง WTO ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลในตลาดโลก

มาวันนี้ กกร. ดึง"น้ำตาล"กลับมาเป็นสินค้าควบคุมอีก มีระยะเวลา 1 ปี เพื่อไม่ให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลตามที่สอน.ประกาศ อาจเรียกได้ว่าเป็นการ”หักหน้า” สอน.ที่ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำตาลไปก่อนหน้านี้เพียง  2 วัน พร้อมตรวจสต๊อกเข้มห้ามกักตุนหรือฉวยโอกาสปรับราคา

แต่ปัญหาก็ยังไม่จบเมื่อชาวไร่อ้อยออกมาเคลื่อนไหวแสดงจุดยืนไม่ยอมรับให้”น้ำตาล”เป็นสินค้าควบคุม นัดปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 6 พ.ย.เพื่อเรียกร้องค่าชดเชย พร้อมส่งแกนนำทวงถามเหตุผลต่อนายภูมิธรรมในวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่าน

สุดท้ายกล่อมสำเร็จ คณะทำงานร่วม 4 ฝ่าย พาณิชย์-เกษตร-อุตสาหกรรม-ชาวไร่อ้อย หาทางออกแก้ปัญหาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ ขีดเส้นจบใน 1 เดือนก่อนเปิดหีบ ซึ่ง“ ภูมิธรรม” ลั่นถ้าคุยครบทุกฝ่าย และยอมรับได้ แม้เสนอให้ถอดออกจากสินค้าควบคุมก็พร้อม เตรียมถกนัดแรก 6 พ.ย.นี้ ซึ่งปัญหาน้ำตาลยังคงเป็นหนังยาวต่อไป

ต้องยอมรับว่าการปรับขึ้นนราคา” น้ำตาล”ถึง 4 บาท กระทบทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพราะน้ำตาลเป็นสารความหวานที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน ปลากระป๋องผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย การปรับขึ้นราคาน้ำตาลย่อมส่งกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าซึ่งจะนำไปสู่การปรับขึ้นราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาล ทั้งยังทำให้ราคาสินค้าอื่นๆ ที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นส่วนประกอบ ต้องปรับขึ้นราคาตาม ซึ่งจะยิ่งทำให้ภาระค่าครองชีพของคนปรับตัวสูงขึ้นอีก

ขณะที่รัฐบาลพยายามลดค่าครองชีพ ลดรายจ่ายประชาชนในทุกด้านแต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีการปรับขึ้นราคาน้ำตาล ย่อมทำให้ต้องหาทาง"หยุดหรือยับยั้ง"เพราะอาจกระทบต่อภาพพจน์รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศเพียงไม่กี่เดือน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงจบไม่ง่ายนักเพราะกระทบหลายฝ่าย ซึ่งคงต้องติดตามต่อไปว่าเรื่องของ  “น้ำตาล”จะจบลงแบบใด

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566

เกษตรกรชาวไร่อ้อยมองรัฐบาลรีบคุมราคาน้ำตาล กระทบผู้ปลูกโดยตรง อาจได้ไม่คุ้มเสีย

เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เห็นว่ารัฐบาลใจร้อน เบรกขึ้นราคาน้ำตาล ชี้ กระทบต่อเกษตรกรโดยตรง เพราะลงทุนลงแรงปลูกมา 1 ปี แต่พอเก็บเกี่ยวผลผลิตกลับไม่เหลือกำไรมาเลี้ยงปากท้อง ทำให้เลิกอาชีพนี้กันไปเรื่อยๆ เชื่อระยะยาวได้ไม่คุ้มเสีย

ตามที่ ครม. มีมติให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม ไม่ให้ขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 4 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการลดค่าครองชีพของประชาชน หลังสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกาศปรับราคา

ต่อมาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พบกับ นายธงไชยพัฒน์ ตาลเจริญยิ่ง เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ที่ทำอาชีพนี้มาแล้วกว่า 30 ปี โดยรับช่วงต่อมาจากพ่อ มีพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งใน จ.ราชบุรี และ จ.สุพรรณบุรี กว่า 1,000 ไร่ แสดงความคิดเห็นถึงประเด็นดังกล่าวว่า รัฐบาลเพื่อไทยตัดสินใจผิดมหันต์ ตัดสินใจเร็วไปหน่อย คิดไม่รอบคอบ เพราะหากพิจารณาเปรียบเทียบการบริโภคน้ำตาล จะเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเป็นสินค้าที่ประชาชนสามารถเลือกได้ว่าจะบริโภคหรือไม่ มีสัดส่วนการใช้น้ำตาลที่มากกว่าภาคครัวเรือน ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อปี

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง กล่าวต่อว่า การกำหนดให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมของรัฐบาล จึงสร้างผลกระทบโดยตรงให้กับตนและเพื่อนเกษตรกร ที่ปัจจุบันต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืช ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนต่อไร่ประมาณ 12,000 บาท ขณะที่ผลผลิตอ้อยลดลง จากควรอยู่ที่ประมาณ 13 ตัน เหลือเพียง 8-9 ตันต่อไร่ หรือหากคิดภาพรวมทั้งเขต 7 จากเดิมปีที่แล้วมีผลผลิตอยู่ที่ 6-7 ล้านตัน แต่ในปีนี้คาดจะเหลือเพียง 4 ล้านตัน อันเนื่องจากสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงพื้นที่การปลูกลดลง ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปดูราคาขายน้ำตาลทรายของไทย ก็จะพบว่าไม่ได้มีการปรับขึ้นราคามาแล้วกว่า 20 ปี

นายธงไชยพัฒน์ กล่าวอีกว่า การควบคุมราคาน้ำตาลของรัฐบาลในครั้งนี้ กระทบถึงความหวังของเกษตรกรที่ราคารับซื้อผลผลิต รอบปี 65/66 จะอยู่ที่ 1,400 บาทต่อตัน ต้องลดลงเหลือ 1,200-1,300 บาทต่อตัน เกษตรกรต่อสู้ลงทุนลงแรงปลูกมา 1 ปี แต่พอเก็บเกี่ยวผลผลิตกลับไม่เหลือกำไรเลี้ยงปากท้อง ส่งผลให้เกษตรกรตัดสินใจล้มเลิกอาชีพไปเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ปลูกอ้อยและปริมาณน้ำตาลภายในประเทศลดลง อาจทำให้ไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับที่ 2 ของโลก ต้องสูญเสียรายได้

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง กล่าวด้วยว่า ในทางกลับกัน รัฐบาลควรเข้ามาส่งเสริมมากกว่าแทรกแซง ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยี เครื่องทุ่นแรงในการผลิต และเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมถึงการกู้เงินลงทุนล่วงหน้ากับ ธ.ก.ส. ได้โดยตรง และแก้ปัญหาผูกขาดการซื้อขายอ้อยของเกษตรกรจากโรงงานน้ำตาลในภาคอีสาน.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566

”พิมพ์ภัทรา” ห่วงใยสถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทราย สั่ง สอน. ดูแลชาวไร่อ้อย ผู้บริโภค และผู้ส่งออกไม่ให้ได้รับผลกระทบโดยเร่งด่วน

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง สถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวไร่อ้อย ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างมาก จากต้นทุนการเพาะปลูกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบให้เกิดความแห้งแล้งและทำให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดน้อยลง กระทรวงอุตสาหกรรม จึงสั่งการและกำชับให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งหาแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับชาวไร่อ้อยให้ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมรับทราบการขึ้นทะเบียนน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม 1 ปี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ที่รัฐบาลเร่งควบคุมราคาเพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค

“กระทรวงอุตสาหกรรม ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพาณิชย์ ที่มีความห่วงใยและเข้ามาร่วมช่วยทั้ง 3 ส่วน คือ ชาวไร่อ้อย ผู้ส่งออก และประชาชนผู้บริโภค โดยกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมยกระดับความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูแลทุกข์สุขของพี่น้องชาวไร่อ้อย ยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ” รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลได้เน้นย้ำว่า พร้อมสนับสนุนเงินชดเชยให้กับเกษตรกร และระบบอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะเร่งหามาตรการที่เหมาะสมสำหรับการส่งออก

อย่างไรก็ตาม วันนี้ (2 พ.ย.66) ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งน้ำตาลทราย ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง จะร่วมกันหารือแนวทางเพื่อหาทางออกต่อสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป

จาก https://www.industry.go.th วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566

ผู้นำชาวไร่อ้อยนัดถกพาณิชย์วันนี้ ปมแทรกแซงราคาน้ำตาล

ผู้นำชาวไร่อ้อยนัดถกพาณิชย์วันนี้ ปมแทรกแซงราคาน้ำตาล ยันไม่ควรที่จะเข้ามาก้าวก่ายเรื่องการบริหารตามกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทราย ระบุการดึงน้ำตาลทรายกลับมาเป็นสินค้าควบคุมเป็นการบริหารงานที่ย้อนยุค

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (2 ก.ย.66) จะดำเนินการเข้าหารือกับกระทรวงพาณิชย์ในช่วงเวลาประมาณ 13.30-14.00 น. หลังจากที่ทางกระทรวงฯ ทำการนัดมาเพื่อขอพบผู้นำชาวไร่อ้อย

"ในความเป็นจริงพี่น้องชาวไร้อ้อยกับพรรคเพื่อไทยมีความใกล้ชิดกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะ ส.ส. หลายรายที่อยู่พรรคเพื่อไทย จึงน่าจะเป็นผู้ที่ประสานเรื่องดังกล่าวเข้ามา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น"

ทั้งนี้ ขอยืนยันว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ควรที่จะเข้ามาก้าวก่ายเรื่องการบริหารตามกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทราย โดยชาวไร่อ้อยทำตามกรอบของกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทรายนั่นก็คือ การประกาศเพื่อกำหนดราคาขั้นต้นของทุกปี เพื่อกำหนดราคาอ้อย ซึ่งทุกปีก็ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใดเกิดขึ้น

สำหรับการดึงน้ำตาลทรายกลับมาเป็นสินค้าควบคุมนั้น มองว่าเป็นการบริหารงานที่ย้อนยุค การย้อนกลับไปเป็นแบบเดิมจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง ซึ่งสวนทางกับต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงคราม ภาวะเศรษฐกิจ ทั้งที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

โดยหากรัฐกลับไปควบคุมราคาน้ำตาล สุดท้ายจะทำให้อุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะชาวไร่อ้อย ไปต่อไม่ไหว และหากรัฐจะสนับสนุนหรือชดเชย ต้องใช้เม็ดเงินที่สูงมาก เพราะต้องช่วยทุกปี เนื่องจากการทำเกษตร 10 ปี จะมีกำไรก็อย่างมากก็ไม่ 2-3 ปี นอกนั้นก็ราคาตกต่ำ

"การบริหารเศรษฐกิจยุคใหม่ควรปล่อยให้สินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด หากดึงกลับมาเป็นสินค้าควบคุมก็จะกลับเข้าไปสู่วัฏจักรเดิม ที่เคยเป็นมาในอดีต ซึ่งอาจจะต้องเหนื่อยกันทั้งสองฝ่ายทั้งผู้บริหารประเทศและเกษตรกร"

นายนราธิป กล่าวอีกว่า กลุ่มชาวไร่อ้อยต้องการให้ยึดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวเพื่อให้มีการบริหารในเชิงอุตสาหกรรม ที่มองว่ารัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวเรื่องการบริหารด้านราคา หรือด้านการผลิต แต่อาจจะเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้คณะกรรมการเท่านั้น เพราะมีกฎหมายเฉพาะเรื่องอ้อยและน้ำตาล

"การประกาศปิดโรงงานน้ำตาลวันที่ 5 พ.ย. 66 เป็นมติจากทั่วประเทศ ซึ่งมีการหารือและกำหนดวันเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่กระทรวงพาณิชย์จะขอพบผู้นำชาวไร่อ้อยวันนี้"

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 

"ภูมิธรรม"สั่งตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาน้ำตาลทรายใน 1 เดือน

"ภูมิธรรม"สั่งตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาน้ำตาลทรายใน 1 เดือน หลังหารือร่วมกับตัวแทนชาวไร่อ้อย 4 องค์กร ก่อนที่จะมีการเปิดหีบ ระบุหากได้ข้อสรุปเร็วสามารถดำเนินการได้เลยทันที

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนชาวไร่อ้อย 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ได้แก่ 1.สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 2.ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน 3.สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และ 4.สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ว่า ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบในการจัดตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยมีนายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นเลขา

และมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงตัวแทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และชาวไร่อ้อย 4 คน รวมเป็นคณะทำงานด้วย โดยให้ประชุมหาข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหา

รวมถึงข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้กรอบเวลาการทำงานภายใน 1 เดือน ก่อนที่จะมีการเปิดหีบ หากสามารถได้ข้อสรุปเร็วก็สามารถดำเนินการได้ทันที

"เบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์ได้รับฟังความเดือดร้อน และข้อกังวลของชาวไร่ กรณีที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม"

สำหรับประกาศราคาควบคุมน้ำตาล ควบคุมการส่งออกนั้น ยังคงเดินหน้าต่อไป ส่วนการหาทางออกของปัญหา เชื่อว่าคณะทำงานชุดนี้ จะสามารถหาทางออกร่วมกัน เพื่ออุตสาหกรรมทั้งระบบ และเกิดความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้

โดยหากได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วก็ให้เสนอเข้ามาอีกครั้ง ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังเพื่อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรม และการสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมถึงการอนุญาตให้นำออกจากบัญชีสินค้าควบคุมก็พร้อมทำให้ได้ แต่ต้องเป็นทางออกของทุกฝ่าย และหารือร่วมกันให้ครบทุกฝ่าย แล้วเท่านั้น โดยกำหนดการประชุมร่วมกันนัดแรกในวันที่ 6 พ.ย.นี้

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 นายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 กล่าวว่าจากการหารือในวันนี้ สมาคมชาวไร่อ้อยเห็นด้วยกับการตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นมาแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งในระหว่างนี้จะไม่มีการปิดโรงงานหรือระงับการขนน้ำตาลออกจากโรงงานจนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

"ยืนยันว่า ประเทศไทยมีน้ำตาลเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอจากจำนวนผู้ประกอบการกว่า 50 โรงงาน เพราะมีการควบคุมการเบิกจ่ายน้ำตาลอย่างเข้มงวด และขณะนี้ยังไม่พบการลักลอบลำเลียงส่งออกน้ำตาลแต่อย่างใด"

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

สอน.ประกาศราคาน้ำตาลหน้าโรงงานใหม่คงเดิมตามมติ กกร.

สอน.กลับมาประกาศราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานใหม่คงเดิมที่ 19-20 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ตามมติ กกร.ที่กำหนดน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมและให้คงราคาเดิม

รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)

โดย นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ลงนามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิต และจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 66/67 มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.เป็นต้นไป ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวระบุว่า การประกาศราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิต และจำหน่าย น้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 66/67 กำหนดราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร น้ำตาลทรายขาว ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ราคากิโลกรัมละ 24 บาท เนื่องจากคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้มีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย ณ หน้าโรงงาน ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยกำหนดให้จำหน่ายไม่สูงกว่าราคาที่กำหนด คือ น้ำตาลทรายขาวกิโลกรัมละ 19 บาท น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์กิโลกรัมละ 20 บาท

ดังนั้น เพื่อให้การคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทน การผลิต และจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 66/67 เป็นไปตามราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย ภายในราชอาณาจักร ที่โรงงานจำหน่ายได้จริง จึงประกาศราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร ประจำฤดูการผลิต ปี 66/67 ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ฤดูการผลิตปี 66/67 ดังต่อไปนี้ น้ำตาลทรายขาว ราคากิโลกรัมละ 19 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ราคากิโลกรัมละ 20 บาท

จาก https://mgronline.com วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566

พาณิชย์ สั่งพาณิชย์จังหวัดคุมเข้มการจำหน่ายน้ำตาลทราย

พาณิชย์สั่งพาณิชย์จังหวัดตรวจสต็อกโรงงานน้ำตาลทรายทั่วประเทศ สกัดกันตุน ด้านกรมการค้าภายในทำหนังสือถึงโรงงาน ห้าง ร้านค้า ตลาด ปฏิบัติตามกฎหมาย  

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน  เปิดเผยว่า นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้เรียกประชุมพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ โดยสั่งการให้ลงพื้นที่ตรวจสอบสต๊อกโรงงานน้ำตาลทรายทั่วประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาการกักตุน รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดฝ่ายความมั่นคง ให้ร่วมกันกำกับดูแลเพื่อให้การค้าน้ำตาลทรายเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ ( กกร.) โดยหากพบว่าขายสูงกว่าราคาควบคุม หรือลักลอบส่งออก จะมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีกักตุนสินค้าหรือปฏิเสธการจำหน่าย มีโทษจำคุกปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“ปริมาณสต็อกยังมีเพียงพอกับความต้องการของประชาชน ซึ่งการควบคุมราคาจะไม่รวมกับน้ำตาลทรายชนิดก้อน ชนิดที่บรรจุในซองที่มีปริมาณสุทธิไม่เกินซองละ 10 กรัม และบรรจุในกล่อง หรือภาชนะอื่นใด รวมถึงชนิดขวด กล่อง หรือภาชนะลักษณะพิเศษที่บรรจุไม่เกิน 10 กรัมด้วย”นายวัฒนศักดิ์ กล่าว

สำหรับกรณีปัญหาห้างค้าส่งค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และร้านค้า ไม่มีน้ำตาลทรายจำหน่าย เพราะโรงงานไม่จัดส่งน้ำตาลทรายให้ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องราคานั้น กรมได้มีการหารือกับห้าง และผู้จำหน่ายแล้ว พบว่า น้ำตาลทรายยังมีจำหน่ายเป็นปกติ และอาจจะตึงตัวในระยะสั้น ๆ ในบางพื้นที่ แต่หลังจากนี้ ปัญหาจะหมดไป เพราะทุกอย่างมีความชัดเจนแล้ว และยังได้แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ขอดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับประกาศ กกร. แล้ว

ส่วนประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ สอน. เดิมที่ยังคงอยู่นั้น ได้ประสานแจ้งให้รับทราบถึงประกาศการคุมราคาไปแล้ว เพื่อให้ สอน. ดำเนินการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามนโยบายหลักของรัฐบาล ในการดูแลค่าครองชีพ เพราะน้ำตาลทรายถือเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และเป็นต้นทุนสำคัญในหลายตัวสินค้า ทั้งอาหารปรุงสำเร็จ เครื่องดื่ม รวมไปถึงเป็นวัตถุดิบสำคัญในสินค้าอีกหลายตัว จึงต้องลดภาระค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน ส่วนมาตรการดูแลชาวไร่อ้อยนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้พิจารณาออกมาตรการมารองรับ

ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า  กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งหนังสือไปยัง โรงงานน้ำตาล 50 แห่ง ห้างค้าปลีกค้าส่ง ร้านสะดวกซื้อ สมาคมตลาดกลาง รวมถึงตลาดสด เพื่อให้ปฏิบัติตามมติกกร.อย่างเคร่งครัด จำหน่ายน้ำตาลทรายในราคาที่กำหนด รวมทั้งส่งหนังสือไปยังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ช่วยกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนมติกกร.ที่ออกมา

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า  ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลทรายที่จัดเก็บไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า และตรวจสอบบัญชีการรับเข้าจ่ายออก พบว่า มีการรับเข้าจ่ายออกเป็นปกติ ไม่พบพฤติกรรมการกักตุน หรือปฏิเสธการจำหน่าย สินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สำหรับด้านราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทราย ห้างฯ จำหน่ายปลีกไม่เกินที่กฎหมายกำหนด น้ำตาลทรายขาวธรรมดา ราคา 24 บาทต่อกิโลกรัม น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับในพื้นที่อื่นได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัด กำกับดูแลตรวจสอบอย่างใกล้ชิดด้วยแล้ว

ทั้งนี้ขอเน้นย้ำให้โรงงานผู้ผลิตน้ำตาลทราย จำหน่ายน้ำตาลทรายขาวหน้าโรงงาน ราคาไม่เกิน 19 บาทต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ราคาไม่เกิน 20 บาทต่อกิโลกรัม และผู้ประกอบการที่จำหน่ายน้ำตาลทราย ปฏิบัติตามกฎหมาย  อย่างถูกต้อง หากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ สามารถร้องเรียนได้ที่  สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ กรมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและหากพบการกระทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด 

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

 

“ภูมิธรรม”ตั้งกก.ทำงานแก้ปัญหาน้ำตาล ถกนัดแรก 6 พ.ย.นี้

“ภูมิธรรม” สั่งตั้งคณะทำงานร่วม 4 ฝ่าย หาทางออกแก้ปัญหาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ ขีดเส้นจบภายใน 1 เดือนก่อนเปิด ขณะที่ชาวไร่อ้อย พอใจผลหารือ สั่งชาวไร่ทั่วประเทศ ระงับ “ปิดโรงงานน้ำตาล” 6 พ.ย.

นายภูมิธรรม เวชยชัย  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนชาวไร่อ้อย 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ว่า จากการหารือกระทรวงพาณิชย์ได้รับฟังความเดือดร้อน และข้อกังวลของชาวไร่ กรณีที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม 

ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบในการตั้งจึงได้ตั้งคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยมีนายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นเลขา และมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงตัวแทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และชาวไร่อ้อย 4 คนรวมเป็นคณะทำงานด้วย โดยให้ประชุมหาข้อสรุปแนวทางปัญหา รวมไปถึงข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย  โดยให้เวลากรอบทำงานภายใน 1 เดือน ก่อนที่จะมีการเปิดหีบ หากสามารถได้ข้อสรุปเร็วก็สามารถดำเนินการได้ทันที 

สำหรับประกาศราคาควบคุมน้ำตาล ควบคุมการส่งออก ยังคงเดินหน้าต่อไป  ส่วนการหาทางออกของปัญหา เชื่อว่า  คณะทำงานชุดนี้ จะสามารถหาทางออกร่วมกัน เพื่ออุตสาหกรรมทั้งระบบ และเกิดความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

อย่างไรก็ดี เมื่อได้ข้อสรุปก็ให้เสนอมา รัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังเพื่อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรม การสร้างรายได้เข้าประเทศ แม้กระทั่งให้นำออกจากบัญชีสินค้าควบคุมก็พร้อมทำ แต่ต้องเป็นทางออกของทุกฝ่าย และคุยให้ครบทุกฝ่าย  เร็วๆ นี้ โดยจะประชุมนัดแรกวันที่ 6 พ.ย.นี้

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 กาญจนบุรี   กล่าวว่า จากการหารือในวันนี้ สมาคมชาวไร่อ้อยเห็นด้วยกับการตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นมาแก้ปัญหาระยะยาว และระหว่างนี้จะไม่มีการปิดโรงงานหรือระงับการขนน้ำตาลออกจากโรงงานในวันที่ 6 พ.ย.66  ยืนยันว่า ไทยมีน้ำตาลเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอ จากผู้ประกอบการกว่า 50 โรงงาน เนื่องจากมีการควบคุมการเบิกจ่ายน้ำตาลอย่างเข้มงวด และขณะนี้ยังไม่พบการลักลอบส่งออกน้ำตาล  

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

 "พิมพ์ภัทรา”สั่ง สอน. ดูแลชาวไร่อ้อย ผู้บริโภค

 "พิมพ์ภัทรา” ห่วงใยสถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทราย สั่ง สอน. ดูแลชาวไร่อ้อย ผู้บริโภค และผู้ส่งออกไม่ให้ได้รับผลกระทบโดยเร่งด่วน

 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง สถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวไร่อ้อย ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างมาก จากต้นทุนการเพาะปลูกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบให้เกิดความแห้งแล้งและทำให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดน้อยลง กระทรวงอุตสาหกรรม จึงสั่งการและกำชับให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งหาแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับชาวไร่อ้อยให้ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม

 ขณะเดียวกันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมรับทราบการขึ้นทะเบียนน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม 1 ปี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ที่รัฐบาลเร่งควบคุมราคาเพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค

 “กระทรวงอุตสาหกรรม ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพาณิชย์ ที่มีความห่วงใยและเข้ามาร่วมช่วยทั้ง 3 ส่วน คือ ชาวไร่อ้อย ผู้ส่งออก และประชาชนผู้บริโภค โดยกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมยกระดับความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูแลทุกข์สุขของพี่น้องชาวไร่อ้อย ยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ” รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าว

 ทั้งนี้ รัฐบาลได้เน้นย้ำว่า พร้อมสนับสนุนเงินชดเชยให้กับเกษตรกร และระบบอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะเร่งหามาตรการที่เหมาะสมสำหรับการส่งออก

 อย่างไรก็ตาม วันนี้ (2 พ.ย.66) ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งน้ำตาลทราย ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง จะร่วมกันหารือแนวทางเพื่อหาทางออกต่อสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป

จาก https://www.banmuang.co.th วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

ปมร้อนราคาน้ำตาล รัฐบาลทำการบ้านน้อยเกินไป

ส.อ.ท. ระบุ ควบคุมราคาน้ำตาลทราย มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ เข้าใจทุกภาคส่วน เห็นใจชาวไร่อ้อย ที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น แนะรัฐหาข้อมูลสะท้อนข้อเท็จจริง ชี้ “อุตฯ-พาณิชย์” ควรคุยกันก่อนออกมาตรการ หวั่นบราซิล ฟ้องไทยอีกรอบ

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายตรึงค่าครองชีพ ซึ่งทำให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการให้น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม หลังจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 4 บาท

การปรับราคาหน้าโรงงานของ สอน.ใชข้อำนาจตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อกำหนดให้น้ำตาลทรายขาวเพิ่มจาก 19 บาท เป็น 23 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เพิ่มจาก 20 บาท เป็น 24 บาท มีผลวันที่ 28 ต.ค.2566 แต่อยู่ระหว่างยกเลิกประกาศดังกล่าว

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) โดยใช้อำนาจ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ และนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทันทีในวันที่ 31 ต.ค.2566 ซึ่งมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย

1.กำหนดราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน โดยน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ 19 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 20 บาท

2.กำหนดราคาน้ำตาลขายปลีก โดยน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ 24 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 25 บาท

3.กำหนดมาตรการการควบคุมการส่งออกน้ำตาล ซึ่งการส่งออกน้ำตาลเกิน 1 ตัน ต้องขออนุญาต

นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า มาตรการของกระทรวงพาณิชย์เข้ามาควบคุมตั้งแต่ราคาหน้าโรงงาน ราคาขายปลีกและการกำหนดเงื่อนไขการส่งออกเกิน 1 ตัน ซึ่งเห็นว่าเป็นแนวทางที่ถอยหลังเข้าคลองย้อนไปก่อนที่จะปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งยกเลิกราคาขายปลีกในประเทศ

“มาตรการของกระทรวงพาณิชย์ทำให้เห็นการไม่ทำการบ้านของรัฐบาล รวมทั้งการไม่เข้าใจอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย”

ส่วนราคาขายปลีกที่กระทรวงพาณิชย์ควบคุมในเขตกรุงเทพฯ อยู่ที่ 23.50 บาท ในขณะที่การเข้ามาควบคุมครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาหน้าโรงงานที่ 19-20 บาท แต่กำหนดราคาขายปลีกที่ 24-25 บาท ซึ่งในต่างจังหวัดราคาบวกเพิ่มค่าขนส่งอีก

ส่วนประเด็นการกำหนดเงื่อนไขการส่งออกเกิน 1 ตัน ต้องขออนุญาต เพราะกระทรวงพาณิชย์รับทราบอยู่แล้วว่าราคาในประเทศและราคาส่งออกมีส่วนต่างมาก จึงได้กำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันการส่งออกของผู้ประกอบการรายเล็ก โดยไทยส่งออกน้ำตาลปีละ 7-8 ล้านตัน

ดังนั้น มาตรการที่กำหนดมาอาจทำให้มีความวุ่นวายมากขึ้นเพราะเป็นมาตรการที่ควบคุมเข้มงวดเกินไป

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ทุกฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง ดังนั้น ส่วนตัวเห็นใจในทุกภาคส่วน ซึ่งในเรื่องนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลในการดำเนินงาน เพื่อให้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเพื่อไม่ให้ประโยชน์นั้นได้ตกอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลควบคุมเพื่อไม่ให้ราคาน้ำตาลทรายปรับขึ้นราคาที่ 4 บาทต่อกิโลกรัม นั้น เข้าใจว่าต้องการที่จะทำหน้าที่ในเรื่องของราคาสินค้าที่อาจจะต้องปรับขึ้นในอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น เครื่องดื่ม น้ำอัดลม ขนม ฯลฯ แต่ภาพรวมแล้วต้นทุนที่แท้จริงนั้นอาจปรับขึ้นไม่มากด้วยกระแสของสังคมที่ผู้บริโภคพยายามลดความหวานเพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้น

“อุตสาหกรรมอาหารโดยรวมเวลานี้ผู้บริโภคเริ่มเน้นบริโภคเพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยลดความหวานลงและบางอย่างหันไปใช้สารทดแทนความหวานมากขึ้นด้วยซ้ำ ซึ่งด้วยเทรนด์ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่นับวันจะมีมากขึ้น ขณะที่การบริโภคน้ำตาลทรายบริโภคโดยตรงของภาคครัวเรือนไม่ถึง 1 กิโลกรัมต่อเดือน แต่ก็เข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องดูแลราคาสินค้าเขาก็คงต้องทำหน้าที่”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องมองอีกฟากเพื่อความเป็นธรรม คือ กลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ต่างก็ต้องมีต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งค่าแรง ค่าน้ำมัน ค่าปุ๋ยเคมี และราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่ปรับขึ้นสูงเฉลี่ยคิดเป็นเงินราว 27 บาทต่อกิโลกรัม จึงจำเป็นที่จะต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นให้สะท้อนกับข้อเท็จจริงของต้นทุนและราคาตลาดโลก เพื่อนำราคาดังกล่าวไปคำนวณราคาอ้อยที่เป็นประโยชน์ต่อชาวไร่

แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า มีความกังวลว่าหลังจากที่รัฐบาลประกาศให้น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมเพราะอาจทำให้เกิดการลักลอบส่งออกน้ำตาลตามแนวชายแดนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำตาลในต่างประเทศสูงกว่าราคาขายในประเทศมาก เป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งทั่วโลก อินเดียลดส่งออกทำให้ตลาดเกิดการชะงักงัน เหลือประเทศหลัก ๆ ที่ส่งออกไม่กี่รายได้แก่ ไทยและบราซิล

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกอยู่ที่ 25-27 เซ็นต์ต่อปอนด์ ถือว่าสูงมาก เทียบกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ราคาอยู่ประมาณ 16-17 เซ็นต์ต่อปอนด์

อีกปัญหาที่จะตามมาคือ ไทยอาจจะถูกบราซิลฟ้ององค์การการค้าโลก (WTO) อีกรอบก็เป็นได้ เพราะใช้มาตรการควบคุมราคาสินค้า ซึ่งถือเป็นหนึ่งกลไกในการอุดหนุน หรือ subsidy อุตสาหกรรมน้ำตาล และช่วยเกษตรกร ทำให้ประเทศอื่นเสียโอกาสในการแข่งขันตามกลไกตลาดโลก ครั้งหนึ่งไทยก็เคยถูกบราซิลฟ้องมาแล้วจนนำมาสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบเมื่อช่วงปี 2562

“ทำไมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมไม่หารือกันก่อนจะมีการออกประกาศโดย สอน.เพราะเรากลัวว่าหากรัฐบาลควบคุมการส่งออกไม่ได้ จะทำให้น้ำตาลในประเทศขาดแคลนเพราะมีการลักลอบส่งออก และบราซิลจะฟ้องไทยอีกรอบซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทั้งระบบ เพราะไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับต้น ๆ ของโลก”

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

ชาวไร่อ้อยบุกพบ รมว.พาณิชย์ ขู่ปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ

ชาวไร่อ้อยเตรียมขอพบ รมว.พาณิชย์ วันนี้บ่ายโมง ถกราคาอ้อยหน้าโรงงาน 19-20 บาท ไม่สะท้อนต้นทุนชาวไร่ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งราคาปุ๋ย น้ำมัน ภัยแล้ง หวั่นลดการผลิตในปีถัดไป ลักลอบส่งออกทำน้ำตาลในประเทศขาดตลาด ชี้ขึ้นราคาน้ำตาลกระทบผู้บริโภคครัวเรือนน้อยมาก

นายปารเมศ โพธารากุล ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 พ.ย.2566 เวลา 13.00 น. ตัวแทนชาวไร่อ้อย 8-9 คน ขอนัดพบนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อรับฟังเหตุผลการควบคุมราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานให้คงเดิมที่ 19-20 บาท/กิโลกรัม และการกำหนดให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม

รวมถึงต้องการรับแนวทางในการช่วยเหลือต้นทุนชาวไร่อ้อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ราคาน้ำมัน และปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นมาก

ทั้งนี้ ราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงกว่าตลาดในประเทศมาก อาจทำให้เกิดการลักลอบส่งออกเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาดและส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำตาลในประเทศในช่วงปลายฤดูกาลผลิต อีกทั้งชาวไร่ที่แบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหวก็จะเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตในปีถัดไปน้อยลง

นอกจากนี้ ปริมาณความต้องการใช้น้ำตาลในประเทศอยู่ที่ 2.4 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นสัดส่วนการบริโภคในครัวเรือนเพียง25% หรือไม่ถึง 1 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งรัฐควรจะไปควบคุมราคาสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยและเครื่องดื่ม

รวมทั้งหากการหารือไม่มีแนวทางหรือเหตุผลที่เพียงพอชาวไร่ก็พร้อมที่จะดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดด้วยการปิดโรงงานผลิตน้ำตาลทั่วประเทศ พร้อมกันในวันที่ 5 พ.ย.2566 เพื่อไม่ให้นำน้ำตาลในส่วนของชาวไร่อ้อยตามระบบแบ่งปัน 70% ขนออกมา เพราะขายไปแล้วจะขาดทุน

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566

เคลื่อนไหวแล้ว! มติสมาคมชาวไร่อ้อยปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 5 พ.ย.นี้

กลุ่มสมาคมชาวไร่อ้อยเคลื่อนไหวแล้ว! ลงมติปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 5 พ.ย.นี้ สวนนโยบายกำหนดเป็นสินค้าควบคุม หลังถูกสกัดขึ้นราคาน้ำตาลทราย 4 บาท/กก.

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าวได้ติดตามสถานการณ์ 'น้ำตาลทราย' ที่มีผลกระทบทั่วประเทศ และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของ 'สมาคมชาวไร่อ้อย' เขต 6 จังหวัดกำแพงเพชร โดยนายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงกรณีการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอให้พิจารณาเรื่องให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม เพื่อป้องกันการกำหนดการขึ้นราคาหรือราคาจำหน่ายหรือกำหนดเงื่อนไขปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม และกำกับดูแลสินค้าน้ำตาลทรายให้มีราคาที่เป็นธรรมและมีปริมาณเพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายบริสุทธิ์หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 4 บาท ทำให้ราคาปลีกน้ำตาลต้องขยับขึ้นตามนั้น

นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กล่าวว่า จริงแล้วการปรับขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาท เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น เป็นมติความเห็นชอบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (กน.) ที่พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์น้ำตาลโลกในปัจจุบันมีราคาที่สูงกว่าประเทศไทยจำนวนมาก ขณะที่เราจำหน่ายน้ำตาล 20-23 บาท แต่ ราคาน้ำตาลตลาดโลก จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท และที่ผ่านมาเมื่อประมาณปี 2560-2561 ประเทศไทยได้ถูกประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกได้ร้องในเรื่องของราคาน้ำตาลของประเทศไทย ที่รัฐบาลได้เข้าไปอุดหนุนราคาน้ำตาลช่วยเหลือชาวไร่ จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการจำหน่ายน้ำตาลในตลาดโลก รัฐบาลจึงได้ปล่อยให้ราคาอ้อยและน้ำตาลลอยตัวมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระการขาดทุนมาโดยตลอด

การปรับราคาน้ำตาล 4 บาทนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่ 1 เงินจำนวน 2 บาทแบ่งให้กับกองทุนน้ำตาล และอีก 2 บาทเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่แบกรับปัญหาโดยเฉพาะต้นทุนการผลิตหรือการปลูกอ้อยมีราคาที่สูงมาเป็นเวลานาน ขณะที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงเรานั้นราคาน้ำตาลทรายสูงกว่าของประเทศไทย ก็จะส่งผลให้น้ำตาลทะลักออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะกองทัพมดที่พร้อมจะลักลอบส่งออกน้ำตาลเหล่านี้ไปสู่ประเทศที่บริโภคน้ำตาลแพงกว่าประเทศไทย อนาคตน้ำตาลภายในประเทศก็จะขาดตลาดทันที

นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กล่าวต่อว่า ในวันนี้เราได้มีการพูดคุยใน 4 องค์กรหลัก ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย , ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน , สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และ สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ได้สรุปกำหนดมาตรการขั้นเด็ดขาดด้วย การปิดโรงงานผลิตน้ำตาลทั่วประเทศ พร้อมกันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เพื่อไม่ยอมนำน้ำตาลในส่วนของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในส่วน 70% เพราะหากจำหน่ายไปแล้วก็จะขาดทุน ส่วนน้ำตาลดิบที่เหลืออีก 30% ที่เป็นโควตาของโรงงานก็จะปล่อยเป็นเรื่องโรงงานจะปล่อยไปจำหน่าย สำหรับการเตรียมปิดโรงงานน้ำตาลครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในฤดูหีบอ้อยในปีนี้

ดังนั้น ข้อเรียกร้องของการปิดโรงงานน้ำตาลในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้รัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบการแก้ปัญหาที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในส่วนเงิน 2 บาท ให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร

ประการที่สอง เงินจำนวน 8,000 ล้านบาทที่จะช่วยเหลือการตัดอ้อย ปี 2565-2566 ตันละ 120 บาท จะทำเช่นไร ซึ่งการปิดโรงงานในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดจนกว่าจะได้ข้อสรุปในการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ชัดเจน

และหลังจากเสร็จสิ้นแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแล้ว นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 ได้เปิดห้องประชุมกับคณะกรรมการบริหารของสมาคมชาวไร่อ้อยเพื่อกำหนดมาตรการและแบ่งหน้าที่ในการเคลื่อนไหวไปยังโรงงานเพื่อปิดโรงงานส่วน 70% ของสมาคมชาวไร่อ้อยไม่ให้ออกสู่ตลาดในครั้งนี้

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566

ชาวไร่อ้อยรุดถก”ภูมิธรรม”พรุ่งนี้เคลียร์ราคาน้ำตาลขู่ไม่ลงตัวพร้อมปิดรง.สกัดน้ำตาลออกสู่ตลาด5พ.ย.

ชาวไร่อ้อยเตรียมเข้าหารือ”ภูมิธรรม” รองนายกฯและรมว.พาณิชย์วันพรุ่งนี้หวังเคลียร์ให้ชัดเจนถึงแนวทางการควบคุมราคาน้ำตาลทรายและการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยหากไม่ให้สอน.ประกาศขึ้นราคาหน้าโรงงาน 4 บาท/กก. รับหากการหารือไม่เป็นที่ยุติหรือไม่เป็นที่ยอมรับได้พร้อมยกระดับการปิดโรงงานไม่ให้ขนย้ายน้ำตาลออกในส่วนของชาวไร่ 5 พ.ย.นี้ทั่วประเทศ

นายปารเมศ โพธารากุล ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พรุ่งนี้(2พ.ย.) ตัวแทนจากชาวไร่อ้อยประมาณ 8-10 คนจะเข้าพบหารือกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอรับฟังถึงเหตุผลถึงการควบคุมราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานให้คงเดิมและการกำหนดให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมและแนวทางในการช่วยเหลือต้นทุนชาวไร่อ้อยว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยหากการหารือไม่มีแนวทางหรือเหตุผลที่เพียงพอชาวไร่ก็พร้อมที่จะดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดด้วยการปิดโรงงานผลิตน้ำตาลทั่วประเทศ พร้อมกันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566นี้ เพื่อไม่ให้นำน้ำตาลในส่วนของชาวไร่อ้อยตามระบบแบ่งปัน 70%ขนออกมาเพราะขายไปแล้วจะขาดทุน

“ ตัวแทนจาก 4 องค์กรหลัก ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ,ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน ,สหสมาคมชาวไร่อ้อย แห่งประเทศไทย ,สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย รวมไปถึงนายกสมาคมชาวไร่อ้อยบางส่วนจะเข้าหารือในครั้งนี้ คงต้องรอดูเหตุผลและแนวทางช่วยเหลือจากพาณิชย์ก่อน”นายปารเมศกล่าว

ทั้งนี้ราคาน้ำตาลทรายที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)ประกาศขึ้นราคาหน้าโรงงาน 4 บาทต่อกิโลกรัมนั้นเป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)ที่มีตัวแทนทุกส่วนรวมถึงกระทรวงพาณิชย์และตามระเบียบใหม่เพื่อนำราคาดังกล่าวไปคำนวณราคาอ้อยฯปี 2566/67 ให้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ราคาชายปลีกได้มีการปรับขึ้นไปแล้วเพราะน้ำตาลเป็นสินค้าลอยตัว หน้าที่ภายใต้พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ต้องดูแลราคาปลายทางเมื่อลงมาคุมตั้งแต่ต้นทางจึงย้อนกลับไปสู่จุดเดิมทั้งที่ก่อนหน้านั้นพาณิชย์ก็เป็นฝ่ายผลักดันให้ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทายเพื่อไม่ให้บราซิลฟ้องร้องกับองค์การการค้าโลก(WTO)

“วันที่ลอยตัวราคาตอนนั้นราคาน้ำตาลก็ลดลง2-3บาทต่อกก.ทำให้โรงงานผลิตเครื่องดื่มถึงกับประกาศกำไรเพิ่มและระบุด้วยซ้ำว่าน้ำตาลลง และน้ำตาลก็ไม่ได้ปรับสูงขึ้นมากราคาหน้าโรงงานก็เฉลี่ย 19-20 บาทต่อกก.มาช้านานแต่พอต้นทุนชาวไร่เพิ่มสูง ราคาตลาดโลกเพิ่มกลับมาคุมอีกทั้งที่การคุมไม่ได้ง่ายตราบที่ราคาตลาดโลกยังสูงกว่าไทยมากยิ่งจะทำให้ขาดแคลนซึ่งรัฐควรจะไปควบคุมราคาสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยนะและกลุ่มเครื่องดื่มเองบางส่วนก็เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีโทษต่อสุขภาพด้วยซ้ำไปกลับไม่ทำ”นายปารเมศกล่าว

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ราคาน้ำตาลทรายขายปลีกในท้องตลาดส่วนใหญ่เมื่อปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้ด้วยระบบกลไกลอยตัวราคาก็ยากที่จะปรับลงโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดและยิ่งจะตึงตัวมากขึ้นหากรัฐควบคุมราคาหน้าโรงงานเพราะจะเอื้อให้เกิดการไหลออกไปประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาสูงกว่าไทยเฉลี่ยราว8- 10 บาทต่อกก.

จาก https://mgronline.com วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566

เบื้องหลังพาณิชย์ ยึดอำนาจอุตฯ คุมน้ำตาลทรายเบ็ดเสร็จ

เปิดเบื้องหลัง "กระทรวงพาณิชย์" ยึดอำนาจ "กระทรวงอุตสาหกรรม" งัดกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 คุมน้ำตาลทรายเบ็ดเสร็จ

ความพยายามปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายในประเทศครั้งนี้ เป็นข้อเสนอจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)  ที่เห็นว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายที่สูงขึ้นมาก จากราคาอ้อยที่สูงขึ้น เพราะผลกระทบจากภัยแล้ง ที่ทำให้ผลผลิตลดลง ซึ่งคาดว่าการหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 66/67 ผลผลิตอ้อยอาจเหลือเพียง 75-80 ล้านตัน หรือลดลงประมาณ  10% จากปี 65/66 รวมถึงมีความต้องการทำให้ราคาน้ำตาลของไทยเท่ากับราคาตลาดโลก ที่ กก.ละ 27 บาท

สอน.จึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กำหนดราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานใหม่ โดยปรับราคาน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่กิโลกรัม(กก.)ละ 19 บาท เป็นราคากก.ละ 23 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกก.ละ 20 เป็นกก.ละ 24 บาท โดยคาดว่าการปรับขึ้นราคาครั้งนี้จะได้เงินเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท

 ขณะที่ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ตัวแทนกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความเห็นคัดค้านในที่ประชุมโดยให้เหตุผลว่า การปรับเพิ่มราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานจะทำให้ราคาขายปลีกสูงขึ้น กระทบกับผู้บริโภคเป็นวงกว้าง อีกทั้งการที่ผู้บริโภคที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ก็ถือว่าไม่เป็นธรรมที่จะต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ ทั้งที่ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โรงงานน้ำตาล และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องแก้ปัญหา

แต่นายฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) และรักษาราชการแทนเลขาธิการกอน. ไม่เห็นด้วย และผลักดันให้ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องดังกล่าว ก่อนออกประกาศปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 โดยให้มีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566

 หลังจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทราบว่า จะมีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราบหน้าโรงงานก็ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์หาแนวทางแก้ปัญหาเรื่องนี้ พร้อมแจ้งให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีรับทราบ

จากนั้นก็เรียกประชุมด่วนคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ในช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 จนได้ข้อสรุปว่าจะมีการประกาศให้สินค้าน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชน

นอกจากนี้นายภูมิธรรมยังได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแจ้งว่าการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายนั้นกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง ควรที่จะมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ

นายภูมิธรรมกล่าวกับ นางสาวพิมพ์ภัทรา ว่า เรื่องนี้ควรมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ และที่สำคัญควรแจ้งให้นายกรัฐมนตรีรู้ก่อน เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง

นายภูมิธรรมแจ้งว่า จากการหารือกับนายกฯ หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ทำเรื่องเสนอของบประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการปรับขึ้นราคาตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น กก.ละ 2 บาท ให้ที่ประชุมครม.พิจารณา ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่จะนำงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนมาช่วยเหลือเกษตรกรช่าวไร่อ้อย

ส่วนการเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กก.ละ 2 บาท เข้ากองทุนเพื่อลด PM 2.5 นั้นให้กระทรวงอุตสาหกรรมหาแหล่งเงินอื่นมาใช้

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระทรวงอุตฯก็ทำผิดขั้นตอน ปกติเวลาจะขึ้นราคาน้ำตาล 3 กระทรวงก่อน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องหารือกันในคณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.) ก่อน ไม่ใช่เสนอให้กอน. ชุดใหญ่พิจารณาเลย

การที่กระทรวงอุตฯไปขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน เพราะต้องการนำเงินไปโปะให้ชาวไร่อ้อย โดยคิดว่าน้ำตาลทรายลอยตัวตามระบบใหม่ที่เลิก 70/30ไปแล้ว  ทางกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นคนคุมราคาสินค้า เห็นว่าน้ำตาลมีส่วนผสมในราคาสินค้าอาหารเกือบทุกชนิด ทั้งอาหารสุก อาหารสำเร็จรูป ฯลฯ ทำให้สินค้าเหล่านี้ก็จะต้องขึ้นราคา มีปัญหาต่อการควบคุมเงินเฟ้อ เลยเบรกการขึ้นราคาน้ำตาลทรายไว้ก่อน โดยเสนอครม.ให้อำนาจใช้กฎหมายควบคุมราคาสินค้ามายึดอำนาจกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทรายที่กระทรวงอุตฯเป็นคนดูแล

แต่ปัญหาจะตามมาคือ มีการลักลอบส่งออกน้ำตาลทรายไปต่างประเทศ มีการกักตุนและเก็งกำไร ชาวไร่อ้อยขาดเงินเพิ่ม เกิดม็อบตามมา

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566

ชาวไร่อ้อยเดือดขู่ปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 5 พ.ย. หลังถูกแทรกแซง

ชาวไร่อ้อยเดือดขู่ปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 5 พ.ย. หลังถูกแทรกแซง ชี้การปรับขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาท เป็นมติความเห็นชอบของ กอน. ที่พิจารณาตามสถานการณ์น้ำตาลโลกในปัจจุบันที่มีราคาสูงกว่าประเทศไทยจำนวนมาก

นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 เปิดเผยถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้พิจารณาเรื่องการให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม เพื่อป้องกันการกำหนดการขึ้นราคาหรือราคาจำหน่ายหรือกำหนดเงื่อนไขปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมและกำกับดูแลสินค้าน้ำตาลทรายให้มีราคาที่เป็นธรรมและมีปริมาณเพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สนอ.) ได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทราย บริสุทธิ์ หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 4 บาท ทำให้ราคาปลีกน้ำตาลต้องขยับขึ้นตาม โดยระบุว่า

ในความเป็นจริงการปรับขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาท เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น เป็นมติความเห็นชอบของคณะกรรมการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล(กอน.) ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์น้ำตาลโลกในปัจจุบันมีราคาที่สูงกว่าประเทศไทยจำนวนมาก

ขณะที่ไทยจำหน่ายน้ำตาล 20-23 บาท แต่ราคาของตลาดโลกจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท และที่ผ่านมา เมื่อประมาณปี 2560/2561 ประเทศไทยได้ถูกประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกได้ร้องในเรื่องของราคาน้ำตาลของประเทศไทย ที่รัฐบาลได้เข้าไปอุดหนุนราคาน้ำตาลช่วยเหลือขาวไร่ จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการจำหน่ายน้ำตาลในตลาดโลก

รัฐบาลจึงได้ปล่อยให้ราคาอ้อยและน้ำตาลลอยตัวมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระการขาดทุนมาโดยตลอด ซึ่งการปรับราคาน้ำตาล 4 บาทนั้น เป็นการแบ่ง 2 จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่ 1 เงินจำนวน 2 บาท แบ่งให้กับกองทุนน้ำตาล 2 บาท และอีก 2 บาท เป็นการช่วยเหลือก็ช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่แบกรับปัญหา โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต หรือการปลูกอ้อยมีราคาที่สูงมาเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ หากไม่มีการปรับตัวตามมติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ขณะที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงเรานั้นมีราคาน้ำตาลทรายสูงกว่าของประเทศไทย ก็จะส่งผลให้น้ำตาลทะลักออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะกองทัพมดที่พร้อมจะลักลอบส่งออกน้ำตาลเหล่านี้ไปสู่ประเทศที่บริโภคน้ำตาลแพงกว่าประเทศไทย อนาคตน้ำตาลภายในประเทศก็จะขาดตลาดทันที

"ล่าสุดองค์กรหลักได้มีการหารือใน 4 องค์กรหลัก ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ,ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน ,สหสมาคมชาวไร่อ้อย แห่งประเทศไทย ,สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย โดยได้สรุปกำหนดมาตรการขั้นเด็ดขาดด้วยการปิดโรงงานผลิตน้ำตาลทั่วประเทศ พร้อมกันในวันที่ 5  พฤศจิกายน 2566 เพื่อไม่ยอมนำน้ำตาลในส่วนของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในส่วน 70% เพราะหากจำหน่ายไปแล้ว ก็จะขาดทุน ส่วนน้ำตาลที่เหลืออีก 30% ที่เป็นโควต้าของโรงงานก็จะปล่อยเป็นเรื่องโรงงาน เราไม่ยุ่งเกี่ยวหากจะปล่อยไปจำหน่าย สำหรับการเตรียมปิดโรงงานน้ำตาลครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในฤดูหีบอ้อย"

นายมนตรี กล่าวอีกว่า ข้อเรียกร้องของการปิดโรงงานน้ำตาลในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้รัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบการแก้ปัญหาที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในส่วนเงิน 2 บาท ให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร ประการที่สองเงินจำนวน 8,000 ล้านบาทที่จะช่วยเหลือการตัดอ้อยปี 2565/66 ตันละ 120 บาทที่ค้างแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะทำเช่นไร

ซึ่งการปิดโกดังในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดจนกว่าจะได้ข้อสรุปในการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ชัดเจน ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแล้ว นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 ได้เปิดห้องประชุมกับคณะกรรมการบริหารของสมาคมชาวไร่อ้อยเพื่อกำหนดมาตรการและแบ่งหน้าที่ในการเคลื่อนไหวไปยังโรงงานเพื่อปิดโกดังโควตาส่วน 70% ของสมาคมชาวไร่อ้อยไม่ให้ออกสู่ตลาดในครั้งนี้

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวยืนยันกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประกาศปิดโรงงานน้ำตาลวันที่ 5 พ.ย. 66 เป็นมติจากทั่วประเทศ ซึ่งมีการหารือและกำหนดวันเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่กระทรวงพาณิชย์จะขอพบผู้นำชาวไร่อ้อยวันพรุ่งนี้ (2 พ.ย. 66) ที่กระทรวงในช่วงเวลาประมาณ 13.30-14.00 น. แต่ยังไม่ได้มีการระบุเวลาที่ชัดเจนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566

ชาวไร่อ้อยขยับ จ่อปิดโกดังน้ำตาลทั่วไทย ดูความชัดเจนรัฐบาลชดเชยเกษตรกรอย่างไร

4 องค์กรหลักกลุ่มชาวไร่อ้อยของไทย สรุปมาตรการเด็ดขาดจะปิดโกดังโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 5 พ.ย. 66 กันน้ำตาล 70% ส่วนของเกษตรกร เพื่อดูความชัดเจนของรัฐบาล ต่อการช่วยเหลือการตัดอ้อยปี 2565/66 ว่าจะจ่ายชดเชยแก่เกษตรกร 8 พันล้านอย่างไร

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 6 กล่าวถึงกรณีจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอให้พิจารณาเรื่องการให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม เพื่อป้องกันการกำหนดการขึ้นราคาหรือราคาจำหน่าย หรือกำหนดเงื่อนไขปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม และกำกับดูแลสินค้าน้ำตาลทรายให้มีราคาที่เป็นธรรมและมีปริมาณเพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สนอ.) ได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายบริสุทธิ์หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 4 บาท ทำให้ราคาปลีกน้ำตาลต้องขยับขึ้นตามนั้น

นายมนตรี กล่าวว่า จริงๆ แล้วการปรับขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาท เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น เป็นมติความเห็นชอบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (กน.) ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์น้ำตาลโลกในปัจจุบันมีราคาที่สูงกว่าประเทศไทยจำนวนมาก ขณะที่เราจำหน่ายน้ำตาลในราคา 20-23 บาท แต่ราคาของตลาดโลกจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท และที่ผ่านมา เมื่อประมาณปี 2560/2561 ประเทศไทยได้ถูกประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลก ได้ร้องในเรื่องของราคาน้ำตาลของประเทศไทย ที่รัฐบาลได้เข้าไปอุดหนุนราคาน้ำตาลช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการจำหน่ายน้ำตาลในตลาดโลก รัฐบาลจึงได้ปล่อยให้ราคาอ้อยและน้ำตาลลอยตัวมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระการขาดทุนมาโดยตลอด

นายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 6 กล่าวต่อว่า วันนี้การปรับราคาน้ำตาล 4 บาทนั้น เป็นการแบ่ง 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่ 1 เงินจำนวน 2 บาท แบ่งให้กับกองทุนน้ำตาล 2 บาท และอีก 2 บาท เป็นการช่วยเหลือ ก็จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่แบกรับปัญหา โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตหรือการปลูกอ้อยมีราคาที่สูงมาเป็นเวลานาน หากเราไม่มีการปรับตัวตามที่มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ขณะที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงเรานั้นมีราคาน้ำตาลทรายสูงกว่าของประเทศไทย ก็จะส่งผลให้น้ำตาลทะลักออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะกองทัพมดที่พร้อมจะลักลอบส่งออกน้ำตาลเหล่านี้ไปสู่ประเทศที่บริโภคน้ำตาลแพงกว่าประเทศไทย อนาคตน้ำตาลภายในประเทศก็จะขาดตลาดทันที

นายมนตรี กล่าวอีกว่า ในวันนี้ องค์กรหลักเราได้มีการพูดคุยใน 4 องค์กรหลัก ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย, ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน, สหสมาคมชาวไร่อ้อย แห่งประเทศไทย, สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ได้สรุปกำหนดมาตรการขั้นเด็ดขาดด้วยกัน คือการปิดโรงงานผลิตน้ำตาลทั่วประเทศ พร้อมกันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เพื่อไม่ยอมให้นำน้ำตาลในส่วนของเกษตรกรชาวไร่อ้อย สัดส่วน 70% เพราะหากจำหน่ายไปแล้ว เราก็จะขาดทุน ส่วนน้ำตาลที่เหลืออีก 30% ที่เป็นโควตาของโรงงาน ก็จะปล่อยเป็นเรื่องโรงงาน เราไม่ยุ่งเกี่ยว หากจะปล่อยไปจำหน่าย สำหรับการเตรียมปิดโรงงานน้ำตาลครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในฤดูหีบอ้อย

"ดังนั้นข้อเรียกร้องของการปิดโรงงานน้ำตาลในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้รัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบการแก้ปัญหาที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในส่วนเงิน 2 บาท ให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร ประการที่ 2 คือ เงินจำนวน 8,000 ล้านบาท ที่จะช่วยเหลือการตัดอ้อยปี 2565/66 ตันละ 120 บาท ที่ค้างแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะทำเช่นไร ซึ่งการปิดโกดังในครั้งนี้ ถือเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดจนกว่าจะได้ข้อสรุปในการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ชัดเจน" นายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 6 กล่าว

หลังจากเสร็จสิ้นแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแล้ว นายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 6 ได้เปิดห้องประชุมกับคณะกรรมการบริหารของสมาคมชาวไร่อ้อย เพื่อกำหนดมาตรการและแบ่งหน้าที่ในการเคลื่อนไหวไปยังโรงงาน เพื่อปิดโกดังโควตาส่วน 70% ของสมาคมชาวไร่อ้อยไม่ให้ออกสู่ตลาดในครั้งนี้. 

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโคราช มองรัฐคุมราคาน้ำตาลไม่กระทบ โรงงานยังรับซื้อราคาปกติ

ชาวไร่อ้อยโคราชไม่ได้รับผลกระทบ จากการที่รัฐบาลควบคุมราคาน้ำตาลทราย เพราะโรงงานยังคงรับซื้ออ้อยสดเข้าโรงงานเท่าเดิม ขณะที่การปลูกแต่ละรอบก็ยังมีกำไรดี และดีกว่าการปลูกข้าว แม้ปุ๋ยและยาจะแพง

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ น้ำตาลทราย เป็นสินค้าควบคุมปี 2566 และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตอ้อยในแต่ละช่วงเวลา โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการลงไปสอบถามกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบกับนายสมหมาย แจ้งกลาง อายุ 59 ปี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายหนึ่งในตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอพิมาย

นายสมหมาย กล่าวว่า ตนเองมีอาชีพปลูกอ้อยมานานกว่า 25 ปีแล้ว โดยในปีนี้ได้ลงทุนปลูกอ้อยไว้จำนวน 50 ไร่ ซึ่งปัจจุบันนี้ทางโรงงานน้ำตาลพิมาย ยังคงรับซื้ออ้อยสดเข้าโรงงานในราคาตันละ 1,500 บาท ซึ่งในแต่ละปีตนเองจะมีรายได้จากการขายอ้อยปีละ 500-600 ตัน เป็นเงิน 800,000-900,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ก็ถือว่ายังคงมีกำไรดีอยู่

เกษตกรผู้ปลูกอ้อยชาวโคราช กล่าวด้วยว่า ถึงแม้ราคาปุ๋ยจะแพงขึ้นก็ตาม เพราะการปลูกอ้อยนับว่าดีกว่าการปลูกข้าว โดยทางภาครัฐได้มีนโยบายให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรแต่อย่างไร เพราะโรงงานยังคงรับซื้ออ้อยสดในราคาเท่าเดิม.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566