http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนกันยายน 2563]

ชาวสามชุกเฮ! ศาล ปค.สั่งนายกเทศมนตรี ควบคุม รง.ผลิตน้ำตาล ไม่ให้ก่อความเดือดร้อน

ชาวบ้านสามชุก สุพรรณ เฮ! ศาล ปค.สั่งนายกเทศมนตรีสามชุก ควบคุมโรงงานผลิตน้ำตาล ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ ปชช.ที่อาศัยโดยรอบ ซ้ำสั่งอุตสาหกรรมจังหวัดแก้ปัญหาฝุ่นละออง

วันนี้ (30 ก.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้นายกเทศมนตรีตำบลสามชุก จ.สุพรรณบุรี ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และให้อุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาล ของบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี จำกัด ไม่ให้ก่ออันตรายและเหตุรำคาญแก่บุคคลที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับโรงงาน โดยศาลให้เหตุผลว่า จากการตรวจสอบของกรมควบคุมมลพิษ และคำให้การของบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาล ที่ยอมรับว่า โรงงานทำน้ำตาลทรายก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง เสียงดัง มีกลิ่นเหม็นจริง ซึ่งการระบุเหตุเดือดร้อนรำคาญเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี ต.สามชุก ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 จะอ้างปัญหาการขาดแคลนบุคลากรหรือขาดแคลนเครื่องมือในการตรวจวัดมลพิษ ซึ่งเป็นปัญหาการบริหารจัดการภายในองค์กรมาเป็นเหตุเพื่อยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ จึงถือว่า นายกเทศมนตรี ต.สามชุก ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และเมื่อพิจารณากระบวนการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยที่จะต้องมีการเผาชานอ้อย ปัญหารถบรรทุกอ้อยที่วิ่งเขาออกเพื่อขนส่งอ้อย ที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง แต่กลับมีการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองจากปล่องระบายอากาศแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ทำการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ที่บริเวณรอบโรงงานหรือตามที่พักอาศัยของประชาชน จึงฟังได้ว่าอุตสาหกรรม จ.สุพรรณบุรี ยังคงละเลยต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.โรงงาน 2535 ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติในการกำกับดูแลการประกอบกิจการของโรงงานผลิตน้ำตาลดังกล่าว

ส่วนการที่คณะกรรมการกิจการพลังงาน อนุญาตให้บริษัท ทิพย์สุพรรณบุรี ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด ประกอบกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (กากอ้อยและใบอ้อย) ขนาดกำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์นั้น ศาลเห็นว่า เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากที่ตั้งโรงงานของบริษัท ทิพย์สุพรรณบุรี ไม่ขัดต่อข้อ 2 ข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกจากความใน พ.ร.บ.โรงงาน 2535 ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและก่อนที่คณะกรรมการกิจการพลังงานจะออกใบอนุญาตได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 30 กันยายน 2563

13 เขื่อนวิกฤติ น้ำน้อย30% งดทำนาปรัง

กอนช.สั่งเฝ้าระวัง 13 เขื่อนขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำต่ำกว่า 30% วอนประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด “สมเกียรติ” ชี้น้ำไม่เพียงพอสำหรับการปลูกข้าวในฤดูแล้งหรือ “ทำนาปรัง” บีบใช้น้ำขั้นต่ำวันละ 18 ล้าน ลบ.ม.

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงในเรื่องสถานการณ์น้ำโดยรวมของประเทศ เนื่องจากขณะนี้ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางถึง 105 แห่ง จะต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 30 โดยเฉพาะน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลักในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ประมาณ 4,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือร้อยละ 24 เท่านั้น จึงได้สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนจัดสรรน้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนตุลาคม 2563 เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นำไปใช้บริหารจัดการน้ำ กำหนดมาตรการก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ต่อไป รวมถึงได้เน้นย้ำให้มีการประชาสัมพันธ์และแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำที่แท้จริงให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงความจำเป็นในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ และจะต้องใช้น้ำอย่างประหยัดรู้ คุณค่า ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 สำหรับสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำที่มีอยู่ทั่วประเทศ 141,489 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวม 42,961 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 ของปริมาณการกักเก็บ โดยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งมีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30% รวม 105 แห่ง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 13 แห่ง แยกเป็น ภาคเหนือ 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ,เขื่อนแม่มอก จังหวัดลำปาง ,เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี และบึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนลำนางรองจังหวัดบุรีรัมย์, เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ,เขื่อนลำแซะ จังหวัดนครราชสีมา และเขื่อนมูลบน จังหวัดนครราชสีมา,ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนบางพระ จังหวัดชลบุรี และเขื่อคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วน ภาคกลาง มี 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี  และภาคตะวันตก 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 92 แห่ง แยกเป็น ภาคเหนือ 31 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 38 แห่ง ภาคตะวันออก 9 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันตก 10 แห่ง และภาคใต้ 3 แห่ง ทั้งนี้ กอนช. ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ในช่วงต้นฤดูแล้ง ปี 2563/2564 (วันที่ 1 พ.ย. 63) จะมีปริมาณน้ำรวม 42,019 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่าง โดยภาคตะวันตกมีปริมาณน้ำคาดการณ์ 17,954 ล้าน ลบ.ม. ภาคเหนือ 13,062 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,013 ล้าน ลบ.ม. ภาคใต้ 4,205 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 1,031 ล้าน ลบ.ม. และภาคกลาง 754

ทั้งนี้ แม้ว่าอิทธิพลของพายุที่พัดผ่านประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วย พายุซินลากูน ร่องมรสุม และ พายุโนอึล จะช่วยเติมน้ำให้กับ 4 เขื่อนหลักรวม 2,600 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น เขื่อนภูมิพล 654 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 1,669 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 159 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 118 ล้าน ลบ.ม. แต่เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำในระดับกักเก็บของแต่ละเขื่อนแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 จะยังคงมีร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกและมีน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้คาดการณ์ว่า เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เขื่อนหลักของลุ่มเจ้าพระยาทั้ง 4 แห่งดังกล่าว จะปริมาณน้ำต้นทุนรวมประมาณ 6,270 ล้าน ลบ.ม. ใกล้เคียงกับปริมาณในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะไม่เพียงพอสำหรับการปลูกข้าวในฤดูแล้งหรือทำนาปรัง ดังนั้น จำเป็นจะต้องวางแผนในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2563/64 อย่างรอบครอบ โดยจะสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ และการเกษตรกรต่อเนื่องเท่านั้น ซึ่งจะมีความต้องการใช้น้ำขั้นต่ำวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ยังจะต้องสำรองน้ำส่วนหนึ่งไว้เพื่อการเตรียมแปลงปลูกพืชช่วงต้นฤดูฝน และใช้ในกรณีฝนทิ้งช่วงในปี 2564 อีกด้วย  

“จากมติที่ประชุม กอนช.มอบหมายให้คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ กอนช. จัดทำแผนและมาตรการในการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563/64 และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งให้ทันต่อสถานการณ์ พร้อมทั้งให้หน่วยงานแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาชน เกษตรกร และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบสถานการณ์น้ำล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา สทนช.ได้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานดำเนินการจัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้งปี 2563/64  และให้ส่งกลับมายัง สทนช.ภายในวันที่ 12 ตุลาคม 2563 เพื่อสรุปนำเสนอต่อคณะทำงานอำนวยการภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ก่อนเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุบริหารจัดการทรัพยากรน้ำประมาณกลางเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม” ดร.สมเกียรติ กล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 30 กันยายน 2563

“สุริยะ”ชี้ภาคอุตสาหกรรมผ่านพ้นจุดต่ำสุด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 63 ว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 4.81% โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 รวมถึงอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนสิงหาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 60.69 จากเดิมที่ระดับ 57.58  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 63 จะยังคงหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.34% แต่เป็นการหดตัวที่ลดลงจากเดือนก่อนที่หดตัว 12.93% เข้าสู่เลขหลักเดียว

ทั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมได้ผ่านจุดต่ำสุดและกำลังทยอยฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับปกติในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าประเทศไทยจะไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกันกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอุปโภคและบริโภค เช่น อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) หลายตัวยังคงขยายตัวดี เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมยารักษาโรคที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน

“สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในต่างประเทศยังคงน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศชะลอตัวลง ประเทศไทยที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจพึ่งพาต่างประเทศมากจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและหันมาให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น โดยที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีขึ้น อีกทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงก่อนเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19”

 อย่างไรก็ดี ภาครัฐได้เตรียมดำเนินนโยบายกระตุ้นการบริโภคภายประเทศผ่านโครงการ คนละครึ่ง เพื่อสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในประเทศ อีกทั้งยังได้จัดงาน Job Expo Thailand 2020 เพื่อเป็นช่องทางหางานให้กับผู้ว่างงานและนักศึกษาจบใหม่

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ผลักดันแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลให้เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ลดการนำเข้าจากต่างประเทศและหันมาใช้เครื่องจักรกลที่ผลิตภายในประเทศแทน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาต่างประเทศ

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังจากที่ภาครัฐมีการคลายล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดให้สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนสิงหาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 60.69 ใกล้เคียงกับสภาวะก่อนหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกันกับกำลังซื้อภายในประเทศที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น

สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2563 หดตัวลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.50 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และหดตัวในอัตราที่น้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ต่างประเทศยังคงประสบปัญหาในการควบคุมการแพร่ระบาดอยู่ อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศให้ชะลอตัวลง ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้มีการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับให้ความสำคัญกับการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร (หักน้ำตาล) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.40% อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.50% และจากผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรเตรียมพร้อมที่จะเพาะปลูกอีกครั้ง ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมหลักๆ ได้เริ่มฟื้นกลับมาโดยเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้ง เช่น

อุตสาหกรรมรถยนต์ได้เพิ่มกำลังการผลิตในเดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ระดับ 59.81 จากระดับ 45.85 ในเดือนก่อน โดยความต้องการจากตลาดในประเทศขยายตัว 16.10% หลังผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเปิดสายการผลิตครบทุกค่ายรถแล้ว รวมทั้งมีการทำกิจกรรมกระตุ้นตลาดในประเทศ ประกอบรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนสิงหาคม ได้แก่

ปุ๋ยเคมี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 66.76% เนื่องจากฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวได้ตามปกติจึงมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น

เครื่องใช้ในครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.60% จากผลิตภัณฑ์ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า โดยตู้เย็น ผู้บริโภคภายในประเทศยังมีความต้องการสำรองอาหารสดเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับลดราคาเพื่อขยายฐานลูกค้า ในขณะที่เครื่องซักผ้าได้มีการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ทำให้มีคำสั่งซื้อจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกเพิ่มขึ้น ไปยังประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่น

เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.75% จากผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนทำด้วยไม้และโลหะ เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตให้ทันส่งมอบทั้งตลาดในประเทศและส่งออก โดยเป็นคำสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและราคาไม่สูงมากส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.82% จากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากความต้องการมีการเติบโตขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.42% เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจำนวนมากหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลกโดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญยังมีการระบาดอยู่ ประกอบกับช่องทางการค้าปลีกมีการขยายตัวได้ดีขึ้น

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 30 กันยายน 2563

ดัชนีผลผลิตอุตฯส.ค.ขยายตัว4.81%ส่งสัญญาณ ศก.ฟื้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2563 ขยายตัว4.81% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สะท้อนภาคอุตสาหกรรม ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ทยอยฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับปกติ แต่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่างประเทศ ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก2ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นเศรษฐกิจไทย จำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ หันมาให้ความสำคัญการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2563 ขยายตัว 4.81 % จากเดือนก่อน เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4  ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนสิงหาคม ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน อยู่ที่ระดับ 60.69 จากเดิมที่ระดับ 57.58

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อย ๆ ฟื้นตัว หลังจากที่ภาครัฐ คลายล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด ให้กลับมาเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนสิงหาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 60.69 ใกล้เคียงกับสภาวะก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

เช่นเดียวกับกำลังซื้อภายในประเทศที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2563 หดตัวลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.50% ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และหดตัวในอัตราที่น้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน แต่สถานการณ์ต่างประเทศ ยังประสบปัญหาในการควบคุมการแพร่ระบาดอยู่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศให้ชะลอตัวลง

ดังนั้นภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้มีการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับให้ความสำคัญกับการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

นายทองชัย  กล่าวว่า อุตสาหกรรมหลัก ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร (หักน้ำตาล) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.40%  อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  10.50%  และจากผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรเตรียมพร้อมที่จะเพาะปลูกอีกครั้ง

ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมหลักๆ เริ่มฟื้นกลับมาโดยเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้ง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ได้เพิ่มกำลังการผลิตในเดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ระดับ 59.81 จากระดับ 45.85 ในเดือนก่อน โดยความต้องการจากตลาดในประเทศขยายตัว 16.10%  หลังผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเปิดสายการผลิตครบทุกค่ายรถแล้ว รวมทั้งมีการทำกิจกรรมกระตุ้นตลาดในประเทศ ประกอบรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนสิงหาคม ได้แก่

- ปุ๋ยเคมี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 66.76%  เนื่องจากฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวได้ตามปกติจึงมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น

- เครื่องใช้ในครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.60%  จากผลิตภัณฑ์ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า โดยตู้เย็น ผู้บริโภคภายในประเทศยังมีความต้องการสำรองอาหารสดเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับลดราคาเพื่อขยายฐานลูกค้า ในขณะที่เครื่องซักผ้าได้มีการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ทำให้มีคำสั่งซื้อจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกเพิ่มขึ้น ไปยังประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่น

- เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.75%  จากผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนทำด้วยไม้และโลหะ เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตให้ทันส่งมอบทั้งตลาดในประเทศและส่งออก โดยเป็นคำสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและราคาไม่สูงมากส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

- อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.82%  จากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากความต้องการมีการเติบโตขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

- อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.42%  เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจำนวนมากหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลกโดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญยังมีการระบาดอยู่ ประกอบกับช่องทางการค้าปลีกมีการขยายตัวได้ดีขึ้น

จาก https://mgronline.com  วันที่ 30 กันยายน 2563

แบงก์ชาติลุ้นเศรษฐกิจไทย ผงกหัวฟื้นเป็นบวกไตรมาส2ปีหน้า

ธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังติดลบ 8.5% ลุ้นผงกหัวเป็นบวกในไตรมาส 2 ปีหน้า รับอานิสงส์เปิดประเทศ-มาตรการกระตุ้นใช้จ่าย จับตารมว.คลังคนใหม่เป็นใคร มาเมื่อไรหวังเข้ามาสานต่อนโยบายให้ต่อเนื่อง

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมาได้เปิดรายงานภาวะเศรษฐกิจ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะติดลบเฉลี่ย 8.5% ซึ่งเป็นอัตราลดลงจากในไตรมาส 2 ที่ติดลบ 12.2% และยังคงติดลบต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกปี 64 ก่อนจะฟื้นตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 2 ปี 64 จากปัจจัยสนับสนุนทั้งการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยและจากมาตรการภาครัฐที่กระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งนี้ธปท.คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะติดลบ 7.8%

นอกจากนี้ยังต้องติดตามทั้งเรื่องการใช้เงินงบเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจว่า ถ้าเร่งเบิกจ่ายได้เร็วจะยิ่งช่วยเศรษฐกิจได้อีกมาก และต้องจับตา รมว.คลังคนใหม่ว่าจะเป็นใคร และมาเมื่อไรเพราะจะเข้ามาสานต่อนโยบายต่าง ๆ จากในขณะนี้บางนโยบายได้ชะลอไป และให้นโยบายได้มีความต่อเนื่อง ซึ่งมองว่าในตอนนี้เครื่องยนต์เศรษฐกิจที่สำคัญคือสนับสนุนในประเทศ และการใช้จ่ายภาครัฐ เพราะต้องยอมรับว่าการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอ และภาคต่างประเทศทั้งส่งออกและท่องเที่ยวอาจยังน้อยอยู่

“ต้องดูการเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาในรอบนี้ว่าเป็นอย่างไร เพราะต้องทำอย่างระมัดระวัง หากทำได้ จะขยายเพิ่มเติมออกไป และจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นใช้จ่ายกลับมาได้ และมาตรการเพิ่มเงินในกระเป๋าคนไทยจะเป็นปัจจัยบวกตัวหนึ่งให้กับเศรษฐกิจไทย”

สำหรับเศรษฐกิจไทยในเดือนส.ค.63 ปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามมูลค่าการส่งออกสินค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรม และเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวน้อยลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวสูงขึ้น หลังจากปัจจัยพิเศษวันหยุดยาวในเดือนก่อนหมดลง ส่วนภาคการท่องเที่ยวหดตัวสูงต่อเนื่อง จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังคงมีอยู่

“จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวสูงต่อเนื่องติดลบ 100% จากระยะเดียวกันปีก่อน จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5”

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลง จากราคาอาหารสดและราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ด้านตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นแต่ยังคงเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากการส่งออกทองคำเป็นสำคัญ ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิเล็กน้อยจากด้านหนี้สิน

จาก https://www.dailynews.co.th วันที่ 30 กันยายน 2563

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท เปิดตลาด "แข็งค่า"

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิด "แข็งค่า" แรงกดดันลดลงจากการเก็งกำไร  -ตลาดควรให้ความสำคัญกับการเมืองสหรัฐและแนวโน้มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้(30ก.ย2563)ที่ระดับ 31.61 บาทต่อดอลลาร์แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.73 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทระหว่างวัน 31.50-31.70 บาทต่อดอลลาร์

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์(SCBS)ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยนค่า เงินบาท วันก่อนหน้าเคลื่อนไหวต่างจากสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ เนื่องจากมีแรงเก็งกำไรของนักค้าเงิน ผสมกับแรงขายหุ้นและบอนด์ไทยของนักลงทุนต่างประเทศ แต่ในวันนี้เชื่อว่าแรงกดดันดังกล่าวน่าจะลดลง เนื่องจากตลาดควรกลับมาให้ความสำคัญกับการเมืองสหรัฐและแนวโน้มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองท่าน

สำหรับช่วงคืนที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ และ STOXX 600 ของยุโรปต่างปรับตัวลง 0.5% โดยนักลงทุนส่วนใหญ่กังวลกับว่ารัฐสภาสหรัฐจะไม่สามารถผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ได้ในเร็ววันนี้ เนื่องจากมีการโต้วาทีระหว่างผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งรออยู่

ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงอย่างรวดเร็วถึง 3.5% เนื่องจากตลาดกลับมากังวลกับปริมาณการบริโภคที่คาดว่าจะลดลงเมื่อไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ มีเพียงราคาทองคำที่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้เล็กน้อยที่ระดับ 1898 ดอลลาร์ต่อออนซ์ 0.9% จากการอ่อนค่าของดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ฝั่งเศรษฐกิจกลับมีตัวเลขที่น่าสนใจคือความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (U.S. Conference Board’s consumer confidence index) ที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 101.8จุดสูงกว่าที่นักวิเคราะห์มองไว้ที่ระดับ 90.0จุดมากและถือเป็นการปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเดียวที่แรงที่สุดในรอบ 17 ปี ปัจจัยดังกล่าว กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่ำสุดในช่วงสัปดาห์ นำโดยการแข็งค่าของสกุลเงินความเสี่ยงสูงอย่างดอลลาร์ออสเตรเลีย(AUD) และดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) ที่ปรับตัวขึ้น 0.7-0.9%

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 31.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังเปิดตลาดช่วงเช้านี้ (30 ก.ย.) ที่ระดับ 31.61 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยแม้เงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด แต่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ขณะที่ตลาดรอติดตามผลการดีเบตรอบแรกระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์พรรครีพับลิกัน และนายโจ ไบเดนพรรคเดโมแครต 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 31.45-31.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนส.ค. ของไทย ตลอดจนตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ย. จีดีพีไตรมาส 2 และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนส.ค. ของสหรัฐฯ

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

โรงงานน้ำตาลทุ่มสุดตัว ‘รับซื้อใบ-หนุนรถตัด’ ช่วยชาวไร่ลดการเผาอ้อย

โรงงานน้ำตาลทราย วางกรอบการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลรอบปีการผลิต 2563/64 สอดคล้องกับกำลังการผลิตของแต่ละโรง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้น้ำตาลต่อตันอ้อยดีที่สุด หวังให้ชาวไร่มีรายได้จากการเพาะปลูกสูงสุด หลังปัญหาภัยแล้งกระทบปริมาณอ้อยหนัก เชื่อเมื่อทุกฝ่ายร่วมมือจะช่วยลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ปีนี้ได้

วันที่ 29 กันยายน 2563 นายรังสิต เฮียมราช ผู้อำนวยการ บริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหารโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 58 โรงที่ผ่านมา ได้ร่วมกำหนดแนวทางบริหารจัดการจัดเก็บผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ที่เตรียมเปิดรับผลผลิตในช่วงปลายปีนี้ โดยมุ่งเป้าหมายประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ให้ได้ดีที่สุด เพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยสูงสุด

หลังจากสถานการณ์ปริมาณอ้อยในปีนี้ ที่คาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบไม่ถึง 70 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาภัยแล้งรุนแรง กระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อย แม้ว่ามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ แต่การกระจายไม่ทั่วถึง และฝนมาล่าช้า นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกอ้อยลดลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

โรงงานน้ำตาลจะร่วมมือกับชาวไร่วางแผนจัดเก็บผลผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถการหีบของแต่ละโรงงาน พร้อมสนับสนุนรถตัดอ้อยให้แก่ชาวไร่คู่สัญญา เพื่อให้ได้อ้อยสดที่มีคุณภาพเข้าหีบให้ได้ยิลด์น้ำตาลต่อตันที่ดี รวมถึงรับซื้อใบอ้อยจากชาวไร่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยได้

“จากการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าอ้อยปีนี้ไม่ดีนักทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอ้อย ซึ่งเกิดจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้ตออ้อยได้รับความเสียหาย ส่งผลต่อปริมาณอ้อยเข้าหีบในปีนี้ที่คาดว่าจะลดลง ดังนั้น โรงงานน้ำตาลทุกโรงจะเร่งช่วยเหลือขาวไร่และสร้างความเชื่อมั่นว่ากำลังการผลิตของโรงงานมีเพียงพอในหีบอ้อยตามกรอบเวลา โดยไม่มีอ้อยตกค้างไร่ ดังนั้น ชาวไร่จึงไม่จำเป็นต้องเร่งจัดเก็บผลผลิตด้วยการเผาอ้อย เพราะจะทำให้ยิลด์น้ำตาลไม่ดีและกระทบต่อรายได้ในที่สุด”

ทั้งนี้ โรงงานเชื่อว่าหากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการหีบอ้อยและสามารถลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยโรงงานน้ำตาลจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อตอบสนองตามนโยบายภาครัฐที่ต้องการให้มีอ้อยสดเข้าหีบ 80% โดยอีก 20% เป็นอ้อยไฟไหม้ของปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบ

จาก https://www.naewna.com วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

“โรงงานน้ำตาล” วางกรอบจัดเก็บผลผลิตอ้อยสดคุณภาพปีการผลิต 63/64

โรงงานน้ำตาลทราย วางกรอบการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลรอบปีการผลิต 2563/64 เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นายรังสิต เฮียมราช ผู้อำนวยการ บริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหารโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 58 โรง ได้ร่วมกำหนดแนวทางบริหารจัดการจัดเก็บผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ที่เตรียมเปิดรับผลผลิตในช่วงปลายปีนี้ โดยมุ่งเป้าหมายประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ให้ได้ดีที่สุด เพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยสูงสุด

หลังจากสถานการณ์ปริมาณอ้อยในปีนี้ที่คาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบไม่ถึง 70 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาภัยแล้งรุนแรง กระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อย แม้ว่ามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ แต่การกระจายไม่ทั่วถึง และฝนมาล่าช้า นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกอ้อยลดลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

 โรงงานน้ำตาลจะร่วมมือกับชาวไร่วางแผนจัดเก็บผลผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถการหีบของแต่ละโรงงาน พร้อมสนับสนุนรถตัดอ้อยให้แก่ชาวไร่คู่สัญญา เพื่อให้ได้อ้อยสดที่มีคุณภาพเข้าหีบให้ได้ยิลด์น้ำตาลต่อตันที่ดี รวมถึงรับซื้อใบอ้อยจากชาวไร่เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้จากการเพาะปลูกอ้อย

 “จากการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าอ้อยปีนี้ไม่ดีนักทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอ้อย ซึ่งเกิดจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้ตออ้อยได้รับความเสียหาย ส่งผลต่อปริมาณอ้อยเข้าหีบในปีนี้ที่คาดว่าจะลดลง ดังนั้น โรงงานน้ำตาลทุกโรงจะเร่งช่วยเหลือขาวไร่และสร้างความเชื่อมั่นว่ากำลังการผลิตของโรงงานมีเพียงพอในหีบอ้อยตามกรอบเวลา โดยไม่มีอ้อยตกค้างไร่ ดังนั้น ชาวไร่จึงไม่จำเป็นต้องเร่งจัดเก็บผลผลิตด้วยการเผาอ้อย เพราะจะทำให้ยิลด์น้ำตาลไม่ดีและกระทบต่อรายได้ในที่สุด”

ทั้งนี้ โรงงานเชื่อว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการหีบอ้อยและสามารถลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยโรงงานน้ำตาลจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อตอบสนองตามนโยบายภาครัฐที่ต้องการให้มีอ้อยสดเข้าหีบ 80% โดยอีก 20% เป็นอ้อยไฟไหม้ของปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบ

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

ยืนมติแบนสารพิษ พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส คณะกก.วัตถุอันตรายยัน

คณะกรรมการวัตถุอันตรายยันแบนพาราควอต-คลอร์ไพริฟอส ตามมติเดิม ไม่มีการผ่อนผันตามข้อเรียกร้องจากบางฝ่าย “สุริยะ” บอกศึกษาดีแล้ว เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ภาคเกษตร ครวญยังหาสารทดแทนไม่ได้ ปรับตัวใหม่เน้นเกษตรอินทรีย์มากขึ้น

เมื่อวันที่ 28 กันยายน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ครั้งที่ 3-2/2563 ว่า หลังจากมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา คณะกรรมการฯ ได้รับข้อมูลจากภาคส่วนต่างๆ พอสมควร ทั้งที่เป็นการรายงานผลการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้อเสนอจากบุคคลและกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ให้ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย ให้คงมติคณะกรรมการฯ (ไม่ขยายเวลา) และขอให้ทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต รวมทั้งมีผู้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบและแนวทางลดผลกระทบมาให้คณะกรรมการพิจารณา

ทั้งนี้า ที่ประชุมจึงได้มีการลงมติยังไม่สมควรทบทวนการออกประกาศที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากประกาศเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 โดยมีคณะกรรมการอยู่ในห้องประชุมจำนวน 24 คน จากคณะกรรมการทั้งหมด 27 คน มีผู้เห็นด้วยกับการทบทวนมติ จำนวน 4 คน และไม่เห็นด้วย จำนวน 20 คน

“เสียงส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่สมควรทบทวนการออกประกาศที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากประกาศเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 รวมทั้งมีเหตุผลรองรับชัดเจนอยู่แล้วว่าว่าเป็นสารอันตรายมีผลเสียต่อสุขภาพ เห็นได้จากต่างประเทศที่ประกาศยกเลิกใช้สารนี้ในหลายประเทศแล้วเช่นกัน ”นายสุริยะกล่าว

ด้านนายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตร กล่าวว่าเบื้องต้นยอมรับทางกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังไม่สามารถจัดหาสารทดแทนได้ แต่มีสารทางเลือกซึ่งต้นทุนสูงกว่า และกระบวนการทางเกษตรอินทรีย์ในการควบคุม/กำจัดวัชพืช แมลง/ศัตรูพืชให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารเคมีด้วย โดยกระทรวงเกษตรฯ จะร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์หามาตรการทางการตลาดด้านราคาพืชผลทางการเกษตรจะขายได้ราคาสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้กระบวนการเกษตรอินทรีย์มากขึ้น และเลิกใช้สารเคมีในที่สุด

“ปัจจุบันจะเห็นว่าเกษตรกรกลุ่มเครื่องจักรกลทางการเกษตรได้รวมกลุ่มกันรับจ้างไถพรวน ไถกลบต่างๆ แทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นทางเลือกให้เกษตรกรมากขึ้น รวมถึงการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยเพื่อทำเกษตรแปลงใหญ่ช่วยลดต้นทุน”นายอภัยกล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

ไทยพร้อมตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้า มุ่งสู่ศูนย์กลางการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าอาเซียน

ตลท.และ กฟผ.เผยผลการศึกษาไทยพร้อมพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับขายส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านไฟฟ้า และขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้า เดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของอาเซียนในอนาคต

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.63 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการศึกษาการพัฒนาความพร้อมเพื่อรองรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับขายส่ง ฉบับที่ 2 โดยมีนายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯ และนายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ.เป็นผู้แทนการลงนาม ที่ห้องประชุม 201 กฟผ.สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เปิดเผยถึงผลการศึกษาการพัฒนาความพร้อมเพื่อรองรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับขายส่ง (Wholesale Electricity Market) ที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 ว่า กฟผ. เล็งเห็นถึงโอกาสในการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าซึ่งมีรูปแบบคล้ายตลาดซื้อขายไฟฟ้าในยุโรป โดยในระยะแรก กฟผ.มีแผนจัดตั้งตลาดซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย ตลาดซื้อขายไฟฟ้าล่วงหน้าหนึ่งวัน (Day-Ahead Market) และตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างวัน (Intraday Market) โดย กฟผ.จะเป็นผู้จัดทำกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบซื้อขาย เมื่อตลาดซื้อขายพลังงานไฟฟ้าทั้งสองมีเสถียรภาพและสภาพคล่องแล้ว อาจพิจารณาให้มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายกำลังการผลิตไฟฟ้า (Capacity Market) สำหรับจัดหากำลังการผลิตล่วงหน้า และพัฒนาต่อเป็นสินค้าในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) ในอนาคตด้วย

ทั้งนี้การพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้ายังต้องปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ โครงสร้างกิจการไฟฟ้า รวมถึงการกำหนดนโยบายร่วมกันในการพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯกล่าวว่า ประเทศไทยมีสาธารณูปโภคที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง แม้ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พลังงานยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการนำผลการศึกษาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฟผ. ศึกษาร่วมกันในระยะเวลา 1 ปี มาพัฒนาต่อยอด โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ การส่งมอบ การชำระราคาหลักทรัพย์ และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Intermediaries) ตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวเป็นโอกาสที่จะนำผลการศึกษาไปต่อยอดสู่การพัฒนาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนในอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์สำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่พร้อมเติบโตด้วยการสร้างโอกาสใหม่ (Grow with New Opportunities) และด้วยศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต

สำหรับการขยายโครงการความร่วมมือนั้น คณะทำงานได้จัดทำบันทึกความเข้าใจฯฉบับที่ 2 มีกรอบระยะเวลา 6 เดือน เพื่อศึกษาพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของตลาดซื้อขายไฟฟ้าในเชิงลึกในแต่ละด้าน อาทิ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไฟฟ้าในอนาคต ระเบียบการซื้อขายในตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย บทบาทและความสำคัญของตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน (Exchange Market) และตลาดการเงิน (Financial Market) ในกิจการไฟฟ้าในอนาคต การแข่งขันในตลาดทุนเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการแข่งขันในตลาดซื้อขายไฟฟ้า เพื่อนำข้อมูลจากการศึกษามาใช้ประกอบการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในอนาคต รวมถึงการเสนอให้มีการศึกษาการเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าในระดับขายปลีกเพิ่มเติม เพื่อหาข้อดีข้อเสียของอุตสาหกรรมไฟฟ้าทั้งในรูปแบบเดิม และรูปแบบการแข่งขันเสรีเต็มรูปแบบทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง

จาก https://siamrath.co.th  วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

เปิดเวทีถกเอฟทีเอไทย-เอฟต้า หาช่องทางขยายโอกาสการค้า-การลงทุน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่ากรม กำหนดจัดสัมมนา เรื่อง “EFTA New Market in New Normal : การขยายตลาดใหม่รับชีวิตวิถีใหม่กับกลุ่มสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป” วันที่ 30 กันยายน 2563 โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ และภาคประชาสังคม มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) หรือ เอฟต้า

ทั้งนี้ กรมได้มอบหมายให้ทางสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลประโยชน์ และผลกระทบของการจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับเอฟต้ากำหนดเสร็จประมาณปลายปีนี้

ซึ่งการจัดเวทีสัมมนาระดมความเห็นครั้งนี้จะเป็นโอกาสในการรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน กลุ่มเกษตรกร ภาคประชาสังคม ในเรื่องการทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับเอฟต้า เพื่อประกอบการจัดทำความเห็นเพื่อทำการเสนอระดับนโยบายต่อไป

สำหรับ เอฟต้าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ มีระบบเศรษฐกิจ การค้าและมาตรฐานสินค้าใกล้เคียงกับสหภาพยุโรป ปัจจุบันเอฟต้ามีเอฟทีเอกว่า 30 ฉบับ กับ 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ นอกจากนี้ เอฟต้ายังได้สรุปผลการเจรจาเอฟทีเอกับอินโดนีเซียเหลือเพียงรอการให้สัตยาบัน และยังอยู่ระหว่างการเจรจากับมาเลเซียและเวียดนาม ในส่วนของไทยเองก็เคยร่วมเจรจาเอฟทีเอ กับเอฟต้าเมื่อปี 2548 แต่หยุดชะงักเมื่อปี 2549 ซึ่งต่อมาทางเอฟต้าได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาฟื้นการเจรจากับไทยอีกครั้ง

ทั้งนี้ เอฟต้า นับเป็นคู่ค้าลำดับที่ 16 ของไทย โดยปี 2562 มีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวมทั้งสิ้น 9,770 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกสินค้าไปเอฟต้ามูลค่า 5,670 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากเอฟต้ารวมมูลค่า

ทั้งสิ้น 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ นาฬิกาและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น

สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นเพิ่มช่องทางการร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น โดยผู้ที่สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Fanpage กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook และ YouTube : DTNChannel

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็ได้มีการสัมมนาระดมสมองเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประโยชน์และ

ผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป(อียู)ด้วยเช่นกัน

จาก https://www.naewna.com วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

'พลังงาน'ดันแผนรับปรับโลกเปลี่ยน

“สุพัฒนพงษ์”เปิดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 ย้ำรัฐเตรียมแผนพลังงานรับมือโลกหลังโควิดด้านอินฟอร์มาฯดึงระบบไฮบริดเอ็กซ์ซิบิชั่นนำนวัตกรรมดันกิจกรรมธุรกิจท่ามกลางวิกฤติ

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020  หรือ ASE2020 พร้อมกล่าวเปิดงาน ได้แสดงทรรศนะด้านพลังงานไว้อย่างน่าสนใจว่า “รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้ทุกภาคส่วนได้พร้อมใจผนึกกำลังร่วมจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 งานแสดงนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมที่ครบครันที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในครั้งนี้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด19 ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระดับโลกและประเทศไทย ซึ่งรวมถึงภาคพลังงานด้วย ซึ่งนับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายในการปรับตัวเดินหน้าเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่

ที่ผ่านมาภาครัฐรวมถึงกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการบรรเทาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ทุกภาคส่วน ทั้งมาตรการช่วยด้านรายได้ และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งจะยังคงมีการดำเนินมาตรการลักษณะนี้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างงานสร้างรายได้ เพราะวิกฤตครั้งนี้จะยังไม่หายไปได้ในเร็ววัน แต่อาจจะมีวันสิ้นสุดใน 12-15 เดือนข้างหน้า ซึ่งกระทรวงพลังงานจึงได้ตระหนักถึงมาตรการในระยะยาวในการส่งเสริมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในการปรับแนวคิด และโมเดลการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG Economy ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (green economy) นำไปสู่การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดเดาได้ในทุกสถานการณ์

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังคงดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานร่วมกับแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศหรือ AEDP ซึ่งมีเป้าหมายใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2580 ซึ่งตามแผนจะ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งยังเดินหน้าส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อ ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง และพัฒนาทุกภาคส่วนสู่ความยั่งยืน มากไปกว่านั้นภาครัฐยังมีนโยบายสนับสนุนพลังงานโซล่าร์ฯภาคประชาชน และขับเคลื่อนพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ อาทิ แบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และจะมีนโยบายการพัฒนานวัตกรรมพลังงานใหม่ๆ ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นำระบบอัจฉริยะมาใช้ในระบบการจ่ายไฟฟ้า และสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรองรับอนาคตของประเทศไทย และส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านพลังงานทดแทนแห่งภูมิภาค ซึ่งงาน ASE 2020 เป็นงานที่ตอบโจทย์การเดินหน้าสู่การปรับตัวด้านพลังงานของประเทศไทยและภูมิภาคสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง” นายสุพัฒนพงษ์กล่าว

ด้าน นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ในฐานะผู้จัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 (ASE 2020) เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วน แต่การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาสู่ความยั่งยืนต้องไม่หยุดชะงัก ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การดำเนินงานของอินฟอร์มา ที่มุ่งผลักดันอุตสาหกรรมให้มีโอกาสพัฒนา เรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเดินหน้าสู่ความยั่งยืน นำมาสู่การจัดงานภายใต้รูปแบบ นิว นอร์มัล ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ พัฒนาการจัดงานแสดงในรูปแบบ ไฮบริด เอ็กซ์ซิบิชั่น (Hybrid Exhibition) หรือการจัดแสดงแบบครบองค์รวม ที่รองรับทั้งการจัดแสดงงานในรูปแบบปกติ (Physical exhibition) และการจัดแสดงแบบเสมือนจริง (Virtual Exhibition) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าชมงานชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางมาด้วยตนเองสามารถพบปะพูดคุยกับผู้จัดแสดงงานผ่านออนไลน์ แพลตฟอร์ม ตลอดระยะเวลาการจัดงาน นอกจากนี้ยังมีการยกระดับความปลอดภัยขณะเยี่ยมชมงาน ตามมาตรการการจัดงานและการดำเนินการด้านสุขอนามัยเน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานของ อินฟอร์มา ออลซีเคียว (Informa AllSecure) ตามมาตรการเฝ้าระวังและติดตามการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ความมั่นใจทุกท่านในการเรียนรู้และเข้าร่วมงานจัดแสดงเทคโนโลยีและการประชุมด้านพลังงานหมุนเวียน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ครบครันที่สุดแห่งปี

“ ทั้งนี้ งาน ASE 2020 โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน อาทิ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (JGSEE) และภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปท์ ”ENERGY SOLUTIONS FOR SMART CITIES”

โดยมีการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดด้านพลังงานอย่างครบครัน และปีนี้จัดงานร่วมกับ Renewable Energy Asia, Entech Pollutec Asia, Energy Efficiency Expo, Electric Vehicle Asia งานแสดงเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ระบบจัดการแบตเตอรี่ อุปกรณ์ตรวจตราและควบคุมสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า โดยจะแสดงแหล่งพลังงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดพร้อมกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากกว่า 1,000 แบรนด์ชั้นนำของโลก รวมถึงผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และ FIMER

รวมทั้งยังคงมี กิจกรรมสัมมนากว่า 50 หัวข้อทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการประชุมนานาชาติด้านพลังงานทดแทนในหัวข้อ International Conference Sustainable Energy Solutions for Smart Cities และหัวข้ออื่น ๆ ที่น่าสนใจ พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศร่วมให้ความรู้ รวมถึงไฮไลท์ กิจกรรม EV Drive & Ride ภายในงาน EV Asia 2020 งานแรกและงานเดียวในประเทศไทยที่เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ทดสอบขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicles) จากค่ายรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทยมากที่สุดอาทิ บีเอ็มดับเบิ้ลยู ปอร์เช่ จากัวร์ อาวดี้ อีแกทอีวี เอ็มจี ฯลฯ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 15,000 ราย เข้าร่วมกิจกรรมและชมงานครั้งนี้ผ่านการจัดงานแบบไฮบริด เอ็กซิบิชั่น

ในส่วนของงาน Boilex Asia & Pumps and Valves Asia 2020 งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติเฉพาะทางด้านหม้อไอน้ำ ภาชนะรับแรงดัน ปั๊ม วาล์ว ท่อและข้อต่อ ที่ใหญ่และครบครันที่สุดในอาเซียน มีไฮไลท์คือ การจัดสัมมนาวิชาการด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในหัวข้อเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมไทย...ก้าวไกลสู่ BCG” จัดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม” นายมนู กล่าวปิดท้าย

ร่วมชมงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 งานแสดงนิทรรศการนานาชาติด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ที่ครบวงจรที่สุดในอาเซียน จัดพร้อมกับงาน ร่วมกับ Boilex Asia & Pumps and Valves Asia 2020 ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

วว.ใช้งานวิจัยยกระดับอุตสาหกรรมเอทานอล

วว. วิจัยใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต และลดต้นทุน ยกระดับอุตสาหกรรมเอทานอลในประเทศ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศึกษา โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอลโดยผลวิจัยชี้ว่าใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอล ลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ประมาณ 25% หรือลดต้นทุนได้ 1.18 บาทต่อการผลิตเอทานอล 1 ลิตร ย้ำผ่านการทดสอบการประเมินผลด้านปลอดภัยทางชีวภาพแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ สามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล ที่จะควบคุมและกำกับการใช้งานเชื้อจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ตามมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอล โดยศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว. วิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อยีสต์ที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมด้วยเชื้อยีสต์จากธรรมชาติของประเทศไทย ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล และด้านคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตเอทานอลอื่น ๆ เช่น สารพลอยได้ และ ของเหลือจากกระบวนการผลิตเอทานอลโดยยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงความปลอดภัยทางชีวภาพ โดย วว. สามารถคัดเลือกยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม คือ สายพันธุ์ MD1 สำหรับวัตถุดิบมันสำปะหลัง มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์กลูโคอะไมเลสได้ ช่วยในการผลิตเอทานอลที่ความเข้มข้นสูง สามารถลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ ส่วนเชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม GY1 สำหรับวัตถุดิบประเภทกากน้ำตาล มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลได้ดีกว่าเชื้อยีสต์อุตสาหกรรม  เมื่อทำการผลิตเอทานอลที่ใช้ความเข้มข้นตั้งต้นของกากน้ำตาลสูง ส่วนการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของการใช้เชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม ผ่านการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ 

ซึ่งงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ของ วว. สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนับสนุนให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (BCG) ของประเทศ  ซึ่ง วว. ศักยภาพและความสามารถในการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์  ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

ปั้นเกษตรอินทรีย์ไทยยืนหนึ่งอาเซียน

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)เปิดเผยว่า สศก.ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ร่วมกับทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ และทบทวนสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ปรับเปลี่ยนไปสู่แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดจัดทำแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาตินั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ได้ให้ความเห็นชอบปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 2560 - 2564 เป็นแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560 – 2565เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าว มีเป้าหมายอัตราขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์เฉลี่ยร้อยละ 3ต่อปี ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านไร่ และจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 80,000 รายภายในปี 2565 มีประเด็นพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ ประเด็นพัฒนาที่ 1 ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาฐานข้อมูล และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ประเด็นพัฒนาที่ 2 พัฒนาการผลิตและบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ ประเด็นการพัฒนาที่ 3 พัฒนาการตลาด บริการและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

สำหรับปีงบประมาณ 2564 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะยังคงบูรณาการขับเคลื่อนด้านเกษตรอินทรีย์กับกระทรวงต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนดำเนินงานมากกว่า 200 โครงการ งบประมาณ 1.9 พันล้านบาท ซึ่งจากการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า การส่งเสริมการบริโภคเกษตรอินทรีย์ นับว่าประสบความสำเร็จมาก อาทิ โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ที่กระทรวงเกษตรฯร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อขยายการบริโภคเกษตรอินทรีย์ให้โรงพยาบาล และสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งในปี 2560-2562 ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรวม 896 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง 780 แห่ง นอกจากนี้ ยังขยายการบริโภคเกษตรอินทรีย์ไปยังกลุ่มโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการอาหารกลางวันปลอดภัย ปลอดสารพิษ ป้องกันโรคให้นักเรียน และเดินหน้าขยายผลไปกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหาร ตลอดจนส่งเสริมเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ และเปิดตลาดสีเขียวขายผักปลอดภัยในสถานที่ต่างๆ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2560-2564 (1 ล้านไร่) เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรฯ และขยายพื้นที่ผลิตข้าวให้ได้การรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ Organic Thailand โดยช่วงที่ผ่านมา 2560-2562 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 5,818 กลุ่ม เกษตรกร 130,082 ราย รวมพื้นที่ 1.21 ล้านไร่ มีเกษตรกรผ่านเกณฑ์ประเมินแล้ว 4,873 กลุ่ม เกษตรกร 103,492 ราย พื้นที่ 0.922 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน 4,034 กลุ่ม 85,762 ราย 0.74 ล้านไร่ และมีเกษตรกรได้รับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ 839 กลุ่ม 17,730 ราย ในพื้นที่ 0.182 ล้านไร่

ดังนั้น จึงขอเชิญทุกคนร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ ด้วยการอุดหนุนบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น นอกจากจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยให้หันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพและสมดุลของทรัพยากรในระบบนิเวศโดยรอบ อีกทั้ง ตลาดเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกให้ความสนใจนิยมบริโภค มูลค่าตลาดโลกสูงถึงปีละ 3.55 ล้านล้านบาท และขยายตัวต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันไทยมีมูลค่าตลาดเกษตรอินทรีย์ 3,000 ล้านบาท เป็นการบริโภคในประเทศ 900 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 2,100 ล้านบาท ซึ่งไทยได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้มาตรฐาน มีความพร้อมทางภูมิศาสตร์และโลจิสติกส์ ยกระดับสู่ผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ของภูมิภาคอาเซียนได้

จาก https://www.naewna.com วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

‘เงินบาท’ เปิดตลาดวันนี้ ‘อ่อนค่า’ที่ 31.54 บาทต่อดอลลาร์

ตลาดการเงินยังกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ท่ามกลางปัญหาระบาดระลอก2 ตลาดจึงลดการถือครองสินทรัพย์ และหันมาถือสกุลเงินปลอดภัยอย่างดอลลาร์ไปก่อน

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 31.54 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 31.48 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาท 31.45-31.60บาทต่อดอลลาร์

ปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางในระยะนี้ ยังคงเป็นความกังวลของตลาดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลกท่ามกลางปัญหาการระบาดระลอกที่ 2 ในยุโรปและสหรัฐฯ

นอกจากนี้ความกังวลดังกล่าวยังเพิ่มมากขึ้น หลังบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างแสดงความกังวลถึงแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากสภาคองเกรสไม่อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน แนวโน้มการฟื้นตัวภาคการบริการทั้งในสหรัฐฯและยุโรปก็เริ่มชะลอลง ชี้จากดัชนี PMI ภาคการบริการที่ลดลงกว่าคาด

ดังนั้นเพื่อหลบความเสี่ยง ตลาดจึงเลือกที่จะลดการถือครองสินทรัพย์ และหันมาถือสกุลเงินปลอดภัยอย่างดอลลาร์ไปก่อน

สำหรับวันนี้ มองแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ โดยในฝั่งยุโรป ตลาดมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (IFO Business Climate) อาจปรับตัวขึ้นแตะระดับ 93.8 จุด หนุนโดยภาคการผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ขายตัวต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงของการระบาดระลอกที่ 2 อยู่

ส่วนในฝั่งสหรัฐฯ ตลาดจะรอจับตา ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก ที่จะลดลงเหลือ 8.5 แสนราย หนุนภาพการฟื้นตัวตลาดแรงงานสหรัฐ

ทั้งนี้ หากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจกดดันให้ตลาดปิดรับความเสี่ยงต่อ หนุนให้เงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มแข็งค่าได้อยู่

ทั้งนี้ เรามองว่า แม้ดอลลาร์จะแข็งขึ้นต่อเนื่อง แต่เงินบาทอาจไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะผู้ส่งออก ล้วนรอจังหวะขายดอลลาร์ เมื่อบาทอ่อนค่าทะลุ 31.50 บาทต่อดอลลาร์

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

ส่งออกไทยยังเสี่ยงเศรษฐกิจโลกผันผวน

ส่งออกไทย ส.ค. 63 หดตัวน้อยกว่าที่คาดที่ -7.9% แต่ต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเสี่ยงสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ส่งออกไทยในเดือนส.ค. 2563 หดตัว 7.9% ส่งผลให้ 8 เดือนแรกการส่งออกไทยหดตัว 7.8% อย่างไรก็ดี หากหักสินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ การส่งออกไทยเดือนส.ค. 2563 จะหดตัวที่ 14.1% ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ 13.0% โดยการส่งออกทองคำขยายตัวอย่างมากในเดือนส.ค. ที่ 71.5%

ขณะที่ในภาพรวม สินค้าประเภทอื่นทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ เครื่องจักรกล เหล็ก แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ข้าว และน้ำตาลทราย

ในขณะที่สินค้าที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดียังคงเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (work from home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด รวมถึงอาหารบางประเภท อาทิ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น

หากพิจารณารายตลาดส่งออกของไทย พบว่า สหรัฐฯ เป็นเพียงตลาดหลักตลาดเดียวที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยขยายตัวเป็นบวกในเดือนส.ค. 2563 ที่ 15.2% แต่ก็เติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกของไทยไปยังตลาดหลักอื่นๆ ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกไทยไปยังจีนหดตัวในอัตราที่เร่งขึ้นที่ 4.0% ในเดือนส.ค. 2563 อันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในจีนยังคงอ่อนแรง แม้ว่าเศรษฐกิจจีนโดยรวมจะมีการฟื้นตัว ประกอบได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย

แม้ว่าใน 8 เดือนแรก การส่งออกไทยหดตัวน้อยกว่าที่ประเมิน แต่ทิศทางการส่งออกไทยปี 2563 ยังเผชิญสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเสี่ยงสูง ประกอบกับทิศทางค่าเงินบาทที่มีความผันผวนอย่างมาก ดังนั้น การส่งออกไทยน่าจะยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์โลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงอยู่ ขณะที่การส่งออกทองคำจะยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกไทยมีความผันผวน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะยังคงติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยในระหว่างนี้ยังคงประมาณการการส่งออกไทยปี 2563 หดตัวที่ 12.0% ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่มูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้จะหดตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ดังกล่าว

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

ส่งออก ส.ค.ฟื้นติดลบแค่ 7.94% มูลค่าทะลุ 2 หมื่นเหรียญรอบ 5 เดือน

“พาณิชย์” เผยการส่งออกเดือน ส.ค. 63 ฟื้นตัวต่อเนื่อง มูลค่าเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในรอบ 5 เดือนอัตราการขยายตัวติดลบเหลือ 7.94% ส่วนยอดรวม 8 เดือนลบเหลือ 7.75% คาดแนวโน้มยังเป็นขาขึ้นลักษณะเหมือนเครื่องหมายถูก มั่นใจทั้งปีลบไม่เกิน 2 หลัก น่าจะลบ 5% ถึงลบ 8% เท่านั้น

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.94% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ ทั้งในแง่มูลค่าที่กลับมาส่งออกเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในรอบ 5 เดือนนับจากเดือน เม.ย. 2563 และการขยายตัวติดลบน้อยลง จากที่เคยลบสูงสุดถึง 23.17% ในเดือน มิ.ย. 2563 ถือว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังจะเป็นขาขึ้นลักษณะเครื่องหมายถูก ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,863.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.68% ทำให้เกินดุลการค้ามูลค่า 4,349.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดรวม 8 เดือนปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 153,374.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.75% นำเข้ามูลค่า 134,981.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.31% เกินดุลการค้ามูลค่า 18,393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับปัจจัยที่ทำให้การส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังขยายตัวติดลบอยู่ มาจากการฟื้นตัวของภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น การค้าโลกเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ หลายประเทศมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่ก็เริ่มน่าเป็นห่วงเพราะมีบางประเทศเริ่มที่จะล็อกดาวน์อีก และสินค้าส่งออกสำคัญในกลุ่มเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป๋อง เนื้อสุกร สิ่งปรุงรสอาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน ของใช้ในบ้าน และซ่อมแซมบ้าน เช่น คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ และสินค้าป้องกันการติดเชื้อ เช่น ถุงมือยาง ส่งออกได้ดีขึ้นตั้งแต่โควิด-19 ระบาด และยังดีจนถึงปัจจุบัน

ส่วนสินค้าที่ส่งออกได้ลดลง เช่น น้ำตาลทราย ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ขณะที่ตลาดส่งออก สหรัฐฯ กลับมาฟื้นตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เพิ่ม 15.2% ส่วนประเทศอื่นๆ ยังลดลง แต่ก็เริ่มลดในอัตราที่น้อยลง เช่น ญี่ปุ่น ลด 16.6% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ ลด 16.9% อาเซียน 5 ประเทศ ลด 16.5% CLMV ลด 9.3% อินเดีย ลด 18.8% จีน ลด 4% ทวีปออสเตรเลีย ลด 22.5% ตะวันออกกลาง ลด 30.3% ละตินอเมริกา ลด 34.7% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ลด 43.4% ทวีปแอฟริกา ลด 9.6%

น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า การส่งออกจากนี้ไปคาดว่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง แม้จะยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ก็มีข่าวความสำเร็จของการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้บรรยากาศการค้ากลับมาคึกคัก โดยยังต้องระวังเรื่องการระบาดซ้ำ และบางประเทศเริ่มกลับมาล็อกดาวน์ รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังไม่ฟื้นตัว ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ กับจีน ที่จะเป็นตัวกดดันการค้าโลก

ทั้งนี้ มองว่าการส่งออกของไทยทั้งปีจะไม่ติดลบในระดับ 2 หลักอย่างที่หลายๆ ฝ่ายได้ประเมินเอาไว้ น่าจะติดลบ 5% ถึงลบ 8% โดยการส่งออกลบ 5% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,145 ล้านเหรียญสหรัฐ และลบ 8% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 18,298 ล้านเหรียญสหรัฐ

จาก https://mgronline.com  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

ก.เกษตรฯจัดสัมมนา‘มิติทางบัญชีฯ’ ติดอาวุธให้กลุ่มแปลงใหญ่เข้ายุคNew Normal

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประจำปี 2563 เรื่อง “มิติทางบัญชี ตามวิถีแปลงใหญ่ ในยุคNew Normal” เพื่อขับเคลื่อนงานส่งเสริมการจัดทำบัญชีในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ โดยนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง แนวทางเสริมสร้างความสำเร็จของระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯสนองนโยบายรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตร มีโครงการสำคัญคือ ปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วย สินค้าพืช ปศุสัตว์และสินค้าประมง ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าที่สำคัญดังกล่าว ต้องผลิตในพื้นที่เหมาะสมหลักการคือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อาทิ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงความต้องการตลาดผลิตร่วมเป็นกลุ่มเชื่อมโยงตลาดเพื่อบริหารจัดการให้สมดุลระหว่างอุปทานอุปสงค์สินค้า แก้ปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งการดำเนินการเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตให้บรรลุผลดังกล่าว กระทรวงฯนำระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มาใช้ เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิตบริหารจัดการร่วมกัน รวมกันจำหน่าย มีตลาดรองรับแน่นอน โดยกำหนดพื้นที่ สินค้าที่จะดำเนินการและให้มีผู้จัดการพื้นที่ บริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยกำหนดเป้าหมายดำเนินการแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน จัดทำแผนการผลิต แผนถ่ายทอดเทคโนโลยีและแผนการตลาด เกษตรกรในพื้นที่ดำเนินการผลิตตามแผน ติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงวิธีดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีตลาดรองรับผลผลิตของเกษตรกร

ทั้งนี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์มีบทบาทขับเคลื่อนงานเสริมสร้างศักยภาพด้านการเงินการบัญชีแก่ประชาชน ผ่านการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และทำบัญชี และมีส่วนช่วยงานส่งเสริมระบบการเกษตรแปลงใหญ่สำเร็จผล ด้านเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพด้านการเงินการบัญชีแก่เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ ให้มีความรู้เข้าใจนำระบบบัญชีไปใช้บริหารจัดการภาคการเกษตรได้ รู้รายรับ รายจ่าย รู้เวลาเหมาะสมและผลิตได้อย่างสมดุลตามกำลังของตนเองสอดคล้องความต้องการของตลาด ช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน รู้จักความพอมีพอกินพอใช้ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งแก่ตนเองและครอบครัว ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีอาสาสมัครด้านบัญชี (ครูบัญชี) เป็นเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านบัญชีให้เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ ให้พร้อมเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันความจนด้วยบัญชี ใช้ข้อมูลจากบัญชีวิเคราะห์ลดต้นทุนการผลิต วางแผนการผลิต ปรับเปลี่ยนวิธีผลิตและปรับเปลี่ยนอาชีพได้เหมาะสมตลอดจนรู้ทุนต้นกำไรที่แท้จริงของตนได้

นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กล่าวว่า กรมฯจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประจำปี2563 เรื่อง “มิติทางบัญชี ตามวิถีแปลงใหญ่ ในยุค New Normal” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำบัญชีสู่เกษตรกร เป้าหมายในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เตรียมพร้อม สร้างการรับรู้กลไกบูรณาการทำงานของทั้งบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนใช้ข้อมูลทางบัญชีแก้ปัญหาพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2563

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

เผยผลศึกษาFTA ไทย-อียู ดันจีดีพีไทยโตเพิ่ม 1.28%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยผลศึกษาการฟื้นเจรจาทำ FTA ไทย-อียู ช่วยจีดีพีไทยขยายตัว 1.28% คิดเป็นมูลค่า 2.05 แสนล้านบาท เผยสินค้ากลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า สิ่งทอ อาหาร เคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติก มีโอกาสส่งออกเพิ่ม แถมแข่งขันกับสิงคโปร์และเวียดนามได้ดีขึ้น แต่ต้องปรับตัว พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานให้ทัดเทียมอียู ด้านภาคประชาสังคม ห่วงประเด็นยา พันธุ์พืชใหม่

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยในการเข้าร่วมการจัดสัมมนาระดมความเห็น เรื่อง “ไทยพร้อมหรือยังที่จะฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU?” ว่า สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับไทย จากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป (อียู) 27 ประเทศ ไม่นับรวมสหราชอาณาจักร โดยพบว่า การลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการทั้งของไทยและอียูในระยะยาวจะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้ถึง 1.28% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.05 แสนล้านบาท โดยคาดว่าการส่งออกจากไทยไปอียูจะเพิ่มขึ้น 2.83% หรือ 2.16 แสนล้านบาท และการนำเข้าจากอียูเพิ่มขึ้น 2.81% หรือ 2.09 แสนล้านบาท โดยสินค้าส่งออกของไทยมีโอกาสขยายตัว เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เป็นต้น        

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนา เห็นว่า การฟื้นการเจรจา FTA กับอียู จะช่วยขยายตลาดการค้าและการลงทุนของไทย สร้างแต้มต่อทางภาษี และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าส่งออกจากประเทศที่มี FTA กับอียู เช่น สิงคโปร์และเวียดนาม แต่ไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมปรับตัว เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น และพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการผลิตสินค้าไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานของสินค้าในตลาดอียู

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

เตรียมตัวเผชิญภัยแล้ง ลุ่มเจ้าพระยา-ลุ่มแม่กลอง

พายุโนอึลที่พาดผ่านเข้าประเทศไทย ช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2563  นำเอาฝนตกหลายพื้นที่ น้ำท่วมร่วม 2.5 แสนไร่ และเพิ่มประมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดก็ตาม

แต่โดยรวม ถือว่ายังไม่มากพอที่จะปรับเปลี่ยนโฉมหน้าสถานการณ์น้ำของประเทศไทยได้ เพราะปริมาณน้ำโดยรวมอยู่ที่ 35,153 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุรวม 70,926 ล้าน ลบ.ม. (รนก.) ทำให้ทุกหน่วยงานต้องพยายามเก็บน้ำไว้ในเขื่อนให้มากที่สุด

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลดอัตราการระบายลง เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น จากเดิม 6 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน เหลือ 3 และ 4 ล้าน ลบ.ม./วัน ตามลำดับ

แนวโน้มปี 2564 ประเทศไทยจะเผชิญภาวะแห้งแล้งหนักหนากว่าปี 2561-2563

ยิ่งถ้าพุ่งเป้าไปที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่างลงมาจนถึงภาคกลาง ปริมาณน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การรวม 3,607 ล้าน ลบ.ม. (ข้อมูล 20 ก.ย.63)

ถ้าไม่มีปาฏิหาริย์ในการเพิ่มเติมน้ำในช่วงเวลาที่เหลือก่อนสิ้นฤดูฝน 31 ตุลาคม 2563 นี้ ลำพังแค่การอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน่าจะมีปัญหาเสียแล้ว เพราะลุ่มเจ้าพระยาต้องมีปริมาณน้ำใช้การ รวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5,400 ล้าน ลบ.ม. การประกาศงดทำนาปรังเป็นปีที่ 3 สำหรับพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาจะยังคงมีต่อไป ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นไม่ว่าภาคเหนือหรืออีสาน ทำนาปรังน้อยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะเผชิญปัญหาใหญ่ต่อเนื่องเรื่องข้าว เพราะผลผลิตน้อยลงทั้งนาปีและนาปรัง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยปริยาย

ประเด็นหลักของกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือ น้ำอุปโภคบริโภค เราเคยชินกับการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค ด้วยการยืมใช้น้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง แต่ฤดูฝนปี 2563 ดูไม่เป็นใจเอาเสียเลย ปริมาณน้ำของเขื่อนศรีนครินทรและเขื่อนวชิราลงกรณก็ดีต่ำมาก ปริมาณน้ำโดยรวมของ 2 เขื่อน 15,919 ล้าน ลบ.ม. (ข้อมูล 20 ก.ย.63) จากความจุรวม 26,605 ล้าน ลบ.ม. (รนก.) และอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ (Lower Rule Curve) ทั้งคู่ โดยมีปริมาณน้ำใช้การรวม 2,642 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าช่วงเดียวของปี 2562 ร่วม 7,000 ล้าน ลบ.ม.

ถ้าสถานการณ์น้ำของ 2 เขื่อนหลักยังไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก่อนสิ้นเดือนตุลาคม 2563 ย่อมส่งผลกระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคของกรุงเทพฯ แน่นอน เพราะปีที่แล้วอาศัยน้ำ 1,000 ล้าน ลบ.ม. จากลุ่มน้ำแม่กลองแห่งนี้มาช่วยสนับสนุนน้ำดิบผลิตประปาและขับไล่น้ำเค็มเป็นสัญญาณที่ไม่สู้ดีเอาเสียเลย

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

กรมโรงงานฯ เผยมาตรการเยียวยาโรงงานอุตสาหกรรม แนะงานแสดงสินค้าเวทีเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยมาตรการเยียวยาโรงงาน ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีโรงงานอุตสาหกรรม 56,598 แห่งทั่วประเทศ พร้อมจัดทำข้อเสนอโครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตามบัญชีท้าย พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 งบประมาณแผนฟื้นฟู จากผลกระทบไวรัสโควิด ทั้งสิ้น 231 ล้านบาท แนะงานแสดงสินค้าเวทีเชื่อมต่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พร้อมสนับสนุนกิจกรรมองค์ความรู้ การจัดงาน “แฟ็กเทค 2021” งานแสดงเทคโนโลยีและผู้ให้บริการยกระดับโรงงานสู่มาตรฐานสากล ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายน 2564 ณ ไบเทค บางนา

นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เผยมาตรการเยียวยาโรงงานอุตสาหกรรมจากวิกฤติโควิด 19 “ตามมติคณะรัฐมนตรี ให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี ให้กับโรงงานจำนวน 56,598 แห่งทั่วประเทศ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี พร้อมการจัดทำของบประมาณตามแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และโครงการจำนวนทั้งหมด 5 โครงการ โดยครอบคลุมถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักร การยกระดับด้านความปลอดภัย มาตรฐาน ผลิตภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปด้วยเทคนิควิศวกรรมอาหาร และการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และ SMEs ในซัพพลายเชน เป็นเงินประมาณ 231 ล้านบาท”

จากวิกฤติดังกล่าว ผู้ประกอบการโรงงานหลายราย อาจจะกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบที่เผชิญในหลายเดือนที่ผ่าน ทางรอดจากช่วงเวลาเช่นนี้ นอกจากมาตรการเยียวยาและนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว แนะผู้ประกอบการต้องอาศัยปรับตัวในธุรกิจให้ทันการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบโรงงานและการผลิต เพื่อให้เติบโตได้ในโลกธุรกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่นี้

สำหรับการปรับตัวของโรงงาน รองอธิบดีฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถช่วยให้การดำเนินอุตสาหกรรมเดินหน้าไปได้ โดยภาคธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จะเคลื่อนตัวสู่ด้านดิจิทัล และภาคการผลิตจะเป็นในลักษณะ On-demand Manufacturing มากขึ้น โควิด-19 จึงเป็น Game Changer ที่ทำให้เราก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มตัว

“ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยมีระบบที่เป็นอัตโนมัติใดๆ มาก่อน อาจเริ่มต้นด้วยการจัดหาระบบอัตโนมัติง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มศักยภาพด้วยการจัดหาเพิ่มระบบอัตโนมัติและหรือระบบหุ่นยนต์ ระบบซอฟต์แวร์ ระบบ IoT/IIoT ระบบ Cloud Computing รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะใช้ทำงานร่วมกับซัพพลายเชนต่างๆ รวมไปจนถึง การทำ E-tax Invoice เพื่อเพิ่มความเป็นระบบอัตโนมัติที่ครบวงจร”

การปรับปรุงคุณภาพโรงงาน นอกจากเรื่องสายการผลิตแล้ว ระบบโรงงานที่ได้มาตรฐานยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และต้องพัฒนาให้ได้อย่างครอบคลุม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงพร้อมให้การสนับสนุนการจัด “งานแฟ็กเทค 2021” ในวันที่ 23-26 มิถุนายน 2564 ณ ไบเทค บางนา งานเดียวในอาเซียนที่จะรวบรวมโซลูชั่นและบริการเพื่อพัฒนาการระบบโรงงานรอบด้าน ระบบไฟและไฟฟ้า ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน ระบบรักษาความปลอดภัยและไอที รวมไปถึงโซลูชั่นเพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษา อีกทั้งการเสริมองค์ความรู้ในงานสัมมนา ที่จะเจาะลึกด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย พลังงานและความรับผิดชอบต่อสังคม จะเข้ามาช่วยสร้างปรับเปลี่ยนโรงงานสู่มาตรฐานและอุตสาหกรรม 4.0 ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“งานแสดงสินค้านับว่าเป็นหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดชิ้นสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เชื่อมต่อกับลูกค้า ฟื้นฟูและสร้างแบรนด์ในตลาดได้อย่างรวดเร็วที่สุด เป็นการรวมกันซึ่งไอเดีย เทคโนโลยี ความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตัวเร่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเยียวยาธุรกิจและสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมได้อย่างรวดเร็ว” นายศุภกิจ กล่าวปิดท้าย

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

“นฤมล” เล็งหนุนฝึกแรงงานควบคุมหุ่นยนต์-แขนกล ตอบโจทย์ภาคอุตฯยุคใหม่

“นฤมล” รมช.แรงงาน เชื่อพัฒนาฝีมือแรงงานคุณภาพให้ได้ตามเป้าเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม เล็งหนุนฝึกแรงงานควบคุมหุ่นยนต์-แขนกลตามยุคสมัย

เมื่อวันที่ 20 ก.ย.63 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน เปิดเผยว่า ได้เน้นย้ำให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เห็นความสำคัญในการพัฒนาฝีมือแรงงานมาตรฐาน และให้แรงงานได้ฝึกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามที่ภาคอุตสากรรมยังขาดแคลนแรงงานคุณภาพและแรงงานที่จะไปควบคุมเครื่องจักรที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดยอาจจะเพิ่มหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงานควบคุมหุ่นยนต์ และแขนกล ให้แพร่หลายมากขึ้น

ได้มอบให้ นายประทีป ตระกูลสา รองผู้ว่าราชการ จ.นครสวรรค์ เป็นประธานเปิดงานโครงการเตรียมพร้อมช่างมืออาชีพ เพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถ จ.นครสวรรค์ โดยมีสาขาวิชาชีพเข้าร่วม เช่น การพัฒนาฝีมือช่างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์, การแปรรูปพืชผลทางการเกษตร, การนวดแพทย์แผนไทย และการสอนประกอบอาหารไทย เป็นต้น

ด้าน นางชัญญาพัชญ์ สุนทรพลเชฏฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 จ.นครสวรรค์ ได้เชิญชวนกลุ่มนักธุรกิจ ผู้ประกอบการในจังหวัด ร่วมหารือเสวนาภายใต้หัวข้อ “แรงงานอย่างไรที่นายจ้างต้องการในยุคปกติวิถีใหม่” และมีผู้เข้าร่วมรับฟังจากนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ และมหาลัยราชภัฎนครสวรรค์ และภาคีเครือข่ายของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน จ.นครสวรรค์ เข้าร่วมรับฟัง.

จาก https://mgronline.com   วันที่ 21 กันยายน 2563

คาดกนง.คงดอกเบี้ย0.50%

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 30.85-31.20 มองปัจจัยเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศกดดันค่าเงิน

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.85-31.20 ต่อดอลลาร์เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 31.06 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3.6 พันล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 6.6 พันล้านบาท ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่านักลงทุนจะติดตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังเฟดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายตามความคาดหมายของตลาด และระบุว่าจะตรึงดอกเบี้ยไว้จนกว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเหนือเป้าหมายระยะหนึ่งเพื่อให้ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ขณะที่สัญญาณชี้นำทิศทางนโยบายล่าสุดสะท้อนการปรับกรอบนโยบายการเงินโดยเปิดโอกาสให้อัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นมาอยู่สูงกว่าเป้าหมายเพื่อเป็นการชดเชยภาวะอัตราเงินเฟ้อต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยเฟดจะให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการจ้างงานเป็นเวลานานเท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้ ประธานเฟดกล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวแต่มีแนวโน้มว่าอัตราการฟื้นตัวจะชะลอลงซึ่งบ่งชี้ว่ามาตรการสนับสนุนจากนโยบายการเงินและการคลังมีความจำเป็น ส่วนเงินปอนด์มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อตกลง Brexit และสัญญาณที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ได้หารือเรื่องการใช้ดอกเบี้ยติดลบ รวมถึงอังกฤษอาจดำเนินมาตรการปิดเมืองรอบใหม่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 23 ก.ย. และเน้นย้ำความสำคัญของการกระจายสภาพคล่องไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติรวมถึงการสอดประสานมาตรการด้านการคลังการเงินและสินเชื่อให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากประเด็นความเสี่ยงรอบด้านทั้งในและต่างประเทศ

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 21 กันยายน 2563

กรมชลฯเร่งเก็บน้ำสำรองใช้แล้งหน้า หลัง ‘โนอึล’ เพิ่มน้ำในเขื่อน

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไปยังผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งสำนักงานชลประทานเครือข่าย SWOC ทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ อาคารหม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 22 -26 กันยายน 2563 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง

 สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(21ก.ย.63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 38,373 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 14,425 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,381 ล้าน ลบ.ม หรือร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 3,685 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน (21 ก.ย. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 10,721 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 3,405 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 105 ของแผนฯ จากสถานการณ์พายุ โนอึล ในช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศรวมกัน 1,135 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งส่งผลดีต่อสถานการณ์น้ำ

กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนบริหารจัดการน้ำ โดยเน้นส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ให้ได้มากที่สุด พร้อมบริหารจัดการน้ำท่าในแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม แม้ในขณะนี้จะมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น แต่ขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งเก็บกักน้ำฝนไว้ในพื้นที่ของตน เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 21 กันยายน 2563

ติดตามการประชุมนโยบายการเงินของไทย                       

สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่าเงินบาทผันผวนสูงต่อเนื่อง โดยอยู่ในกรอบ 30.80-31.30 ประเมินว่าตลาดจะใส่ใจผลการประชุมนโยบายการเงินของไทยและตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่สำคัญของไทย โดยคาดว่าคณะกรรมการจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% โดยให้น้ำหนักการเร่งเบิกจ่ายนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกของไทยตามระบบศุลกากรจะประกาศในวันเดียวกัน โดยคาดว่าจะถูกกดดันจากผลกระทบของโควิด-19 ในด้านตลาดโลก ประธานเฟดโพเวลจะแถลงต่อคณะอนุกรรมการสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับมาตรการการเงินในภาวะวิกฤตโควิด-19 และการรายงานดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีของจีน

ภาพรวมตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าในกรอบ 31.00-31.30 ในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทเปิดตลาดทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน ก่อนหน้าการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในช่วงกลางสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นตามเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์มากที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 จากตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาแข็งแกร่ง โดยยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในปีนี้ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินหยวนยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อพันธบัตรรัฐบาลจีนจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลจีนเข้าไปในการคำนวณดัชนี WGBI โดย FTSE Russell อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าขึ้นภายหลังการประชุมนโยบายการเงินของเฟด โดยนายเจอโรม โพเวล ประธานเฟด กล่าวหลังการประชุมนโยบายการเงินว่าระดับการเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟดในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว ทั้งนี้ เฟดปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2020 มาที่ -3.7% จากประมาณการเดิม ณ เดือนมิถุนายนที่ -6.5% และประเมินว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 7.6% จากประมาณการเดิมที่ 9.3% อย่างไรก็ดี เฟดมองว่าความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังสูงหากไม่มีมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยนักลงทุนรอติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทยช่วงสุดสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทปิดตลาดที่ 31.10 (วันศุกร์ เวลา 17.00 น.)

ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนทุกท่านเฝ้าติดตามคือการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.00-0.25% พร้อมกับมีการออกประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันไปจนถึงปี 2023 พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะรักษาระดับดอกเบี้ยนโยบายใกล้ศูนย์ (0-0.25%) เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเข้าสู่ระดับการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพและเงินเฟ้อเฉลี่ยระยะยาวอยู่ที่ 2% ซึ่งหมายถึงเฟดอาจปล่อยให้เงินเฟ้อสูงกว่า 2% ไปในระยะหนึ่ง ทั้งนี้เฟดประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ สะท้อนผ่านการปรับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็น -3.7% จากประมาณการเดิมที่ -6.5% และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 4% ในปีหน้า ส่วนด้านอัตราการว่างงานปรับประมาณการดีขึ้นมาอยู่ที่ 7.6% ลดลงจาก 9.3% ในครั้งก่อนหน้า และคงมุมมองอัตราการว่างงานในระยะยาวคงเดิมที่ 4% โดยในสาระสำคัญถือว่าไม่ได้มีอะไรผิดไปจากที่นักลงทุนได้คาดไว้อยู่แล้ว จึงเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ เคลื่อนไหวทรงตัวกับระดับปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางอื่นๆ เริ่มจากธนาคารกลางอังกฤษส่งสัญญาณว่ากำลังพิจารณาใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเพื่อสนับสนุนตลาดแรงงาน โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.1% สอดคล้องกับตลาดฟิวเจอร์ที่เห็นดอกเบี้ยติดลบตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงนโยบายการเงินไว้ที่ระดับเดิม พร้อมกับมองเศรษฐกิจดีขึ้น โดยประธานบีโอเจย้ำว่า เงินเฟ้อคือเป้าหมายหลักของนโยบายการเงิน โดยคงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% และส่งสัญญาณสนับสนุนสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับธนาคารกลางอินโดนีเซียคงดอกเบี้ยที่ 4% และสุดท้ายธนาคารกลางไต้หวันคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.125% ตามที่ตลาดคาด

สำหรับประเทศไทยจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 23 กันยายน 63 ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คาดหวังว่า ธปท.จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% ต่อไป ขณะที่ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวทรงตัวจากระดับปิดในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลตัว benchmark 10ปีและ 50ปี ออกมาค่อนข้างดี เป็นแรงสะท้อนมุมมองที่นักลงทุนยังคงให้ความสนใจเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 18 กันยายน 2563 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 1, 2, 3, 5, 7 และ 10ปี อยู่ที่ 0.51% 0.56% 0.65% 0.87% 1.09% และ 1.39% ตามลำดับ

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 21 กันยายน 2563

“สุริยะ” ดันแผนพัฒนาอุตฯ เครื่องจักรกลลดนำเข้า

“สุริยะ” ดันแผนพัฒนาอุตฯ เครื่องจักรกล  มุ่งสนับสนุนเกษตรแปรรูป ชี้เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ  ลดการพึ่งพาต่างประเทศ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  เปิดเผยว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดโควิด-19  จึงได้ผลักดันแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลให้เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และหันมาใช้เครื่องจักรกลที่ผลิตภายในประเทศแทน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภายในและเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มการบริโภคและการลงทุนในประเทศ 

ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2562 ไทยนำเข้าอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลกว่า 415,776.9 ล้านบาท และขาดดุลการค้ากว่า 223,381 ล้านบาท จึงได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เร่งจัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลที่ชัดเจน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและเกษตรแปรรูปที่จะช่วยสนับสนุนภาคการเกษตรให้ขยายตัว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า การจัดทำมาตรการการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลระยะแรกเป็นมาตรการระยะ 5 ปี จะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยมีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลตามแผน คือ 1.การกระตุ้นอุปสงค์ ผลักดันให้เกิดการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนการจับคู่ธุรกิจระหว่างเอกชนกับเอกชนและเอกชนกับรัฐบาล ยกระดับผู้ประกอบการในการใช้เครื่องจักรกลและบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  2. สนับสนุนอุปทาน  สร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงอุตสาหกรรมสนับสนุนประเภทชิ้นส่วน ยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการให้เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเครื่องจักรกลสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล 

3.เสริมสร้างปัจจัยแวดล้อม เช่น เพิ่มมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เครื่องจักรกลและชิ้นส่วนที่เป็นเป้าหมายตามมาตรฐานสากล จัดตั้งศูนย์ทดสอบเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติหรือสร้างเครือข่ายศูนย์ทดสอบเครื่องจักรกลการเกษตรที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อการตรวจสอบและการออกหนังสือรับรองมาตรฐานสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตรที่ผลิตในประเทศให้ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกและการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐาน สร้างฐานข้อมูล (แพลตฟอร์ม) กลางที่รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล รวมถึงการสนับสนุนการระดมทุนรูปแบบคราวด์ฟันดิง สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจดทะเบียน การให้สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรและเกษตรแปรรูป

จาก https://tna.mcot.net   วันที่ 20 กันยายน 2563

กรมเจรจาฯ เปิดรับฟังความเห็นฟื้น FTA ไทย-อียู เผยผลศึกษาชี้สร้างโอกาสขยายการค้าได้เพิ่มขึ้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู 22 ก.ย.นี้ หลัง “ไอเอฟดี” ศึกษาเสร็จแล้ว “อรมน” เผยไทยมีสัดส่วนการค้ากับประเทศที่มี FTA รวม 62.8% หากได้อียูที่มีสัดส่วนการค้า 7.9% จะทำให้การค้าของไทยกับประเทศที่ทำ FTA เพิ่มเป็น 70.7% ยิ่งสร้างโอกาสค้าขาย ระบุผลศึกษา สินค้าไทยมีโอกาสส่งออกได้เพียบ แต่ต้องเปิดตลาดเพิ่ม และต้องรับมือกับประเด็นใหม่ๆ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดจัดการสัมมนา “ไทยพร้อมหรือยังที่จะฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU?” ในวันที่ 22 ก.ย. 2563 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากที่กรมฯ ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อผลการศึกษาดังกล่าว รวมทั้งระดมความเห็นเรื่องการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นเสนอระดับนโยบายประกอบการพิจารณาตัดสินใจการดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไป

โดยผลการศึกษาพบว่า การทำ FTA กับอียูจะช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปอียู เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก แต่ในทางกลับกัน ไทยจะต้องเปิดตลาดให้อียู ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการไทยนำเข้าสินค้าบางชนิดจากอียูเพิ่มขึ้น เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เมล็ดพืชน้ำมัน และสินค้าเทคโนโลยี เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังพบว่า FTA ที่อียูทำกับสิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการหยิบยกประเด็นใหม่ๆ รวมไว้ในการจัดทำ FTA ด้วย เช่น การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานแรงงาน และการปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยต้องพิจารณาระดมความเห็นว่าไทยพร้อมที่จะเจรจากับอียูในเรื่องเหล่านี้หรือไม่อย่างไร เพราะจะมีผลต่อการนำไปสู่การปรับกฎเกณฑ์ทางการค้าของไทย

ปัจจุบันไทยมีการลงนาม FTA แล้ว 13 ฉบับ กับคู่ค้า 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรู โดยในปี 2562 สัดส่วนการค้าของไทยกับ 18 ประเทศ ที่มี FTA คิดเป็น 62.8% ของการค้าไทยกับทั้งโลก ซึ่งแสดงว่าการค้าของไทยกับโลกอีกเกือบ 40% เป็นการค้ากับประเทศที่ไทยไม่มี FTA หรือแต้มต่อทางการค้า ซึ่งในนี้ มีอียู 27 ประเทศ รวมอยู่ด้วย และมีสัดส่วนการค้ากับไทยในปี 2562 สูงถึง 7.9% และเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าของไทยกับทั่วโลก ซึ่งถือว่าสูงรองจากอาเซียนที่มีสัดส่วน 22.4% จีน 16.5% ญี่ปุ่น 12% และสหรัฐฯ 10.1% หากมีการทำ FTA กับอียู จะทำให้สัดส่วนการค้าที่ไทยค้าขายกับประเทศที่มี FTA เพิ่มขึ้นเป็น 70.7%

ล่าสุด สหภาพยุโรป (อียู) มีสมาชิก 27 ประเทศ ไม่นับสหราชอาณาจักร (ยูเค) ซึ่งต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการในสิ้นปี 2563 โดยอียูเป็นกลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประชากรรวมกันกว่า 447 ล้านคน และมีจีดีพีกว่า 15.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 18% ของจีดีพีโลก เป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย รองจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ และเป็นนักลงทุนลำดับ 5 ของไทย รองจากญี่ปุ่น จีน อาเซียน และจีนไทเป ปัจจุบันอียูมีการทำ FTA กับสิงคโปร์และเวียดนามแล้ว มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2562 และ 1 ส.ค. 2563 ตามลำดับ และอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำ FTA กับอินโดนีเซีย โดยเจรจากันมาแล้ว 9 รอบ ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2559 รวมทั้งอยู่ระหว่างพักการเจรจา FTA กับมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยในส่วนของไทยได้เคยเข้าสู่การเจรจา FTA กับอียู เมื่อปี 2556 เจรจากันไปแล้ว 4 รอบ แต่ได้หยุดชะงักลงเมื่อปี 2557 และล่าสุดเมื่อเดือน ต.ค. 2562 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้มีข้อมติที่จะเดินหน้าเตรียมความพร้อมสู่การฟื้นเจรจา FTA กับไทย

จาก https://mgronline.com  วันที่ 20 กันยายน 2563

เดิมพันสถานการณ์น้ำปี 64 รอพิสูจน์ 30 วันสุดท้าย

สถานการณ์น้ำในฤดูฝนปี 2563 อยู่ในภาวะน่ากังวล

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง 447 แห่งทั่วประเทศอยู่ในระดับ 48% ของความจุ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 65%

เหลือเวลาไม่เกิน 30 วันสุดท้าย (กลางกันยายน-กลางตุลาคม) ที่จะพิสูจน์ว่าจะฉุดตัวเลขน้ำขึ้นมาได้อย่างไร

พายุโซนร้อนโนอึลจากเวียดนามจะขึ้นฝั่งไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วค่อยวกไปภาคเหนือและลงมาภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะช่วยเติมน้ำได้มากน้อยเพียงใด ยังเป็นที่จับตาอย่างระทึก

เพราะปลายฤดูฝนปี 2562 ได้อิทธิพลจากพายุโซนร้อนโพดุลมาช่วยชีวิตในนาทีสุดท้ายเช่นกัน ทำเอา จ.อุบลราชธานีประสบอุทกภัยเสียหายไม่น้อย แต่ด้านดีก็จะช่วยเติมน้ำในอ่างได้มากพอสมควร

กรมอุตุนิยมวิทยายังคาดการณ์ว่า จากช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนตุลาคมยังมีโอกาสที่พายุอาจพาดผ่านเข้ามา ซึ่งยังเป็นอะไรที่ไกลเกินกว่าจะสัมผัสถึงความเป็นจริงได้เท่ากับพายุโซนร้อนโนอึลที่กำลังก่อตัวอยู่ในขณะนี้

ถ้าดูปริมาณน้ำในขณะนี้แล้ว ชวนให้ห่วงกังวลมีน้ำใช้การรวมๆ เพียง 13,000 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับความจุเขื่อนภูมิพลเพียงเขื่อนเดียว สำหรับใช้กันทั่วประเทศ มันจะพอยาไส้ที่ไหน

ภาคกลางมีน้ำน้อยที่สุด 18% ของความจุ ภาคอีสาน 38% ภาคเหนือ 43% ภาคตะวันออก 45% ภาคใต้ 51% และภาคตะวันตก 60%

การเข้ามาของโนอึลจึงเป็นความหวังของคนไทยยิ่งกว่าอื่นใด

การที่ปริมาณน้ำโดยรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 49% ของความจุในช่วงปลายฤดูฝนคือความเสี่ยง ทั้งเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 2563/2564 ที่จะมาถึง (1 พฤศจิกายน 2563-30 เมษายน 2564) ส่งผลกระทบต่อการทำนาปรัง น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและน้ำรักษาระบบนิเวศที่น้ำทะเลจะรุกคืบขึ้นมาไกล เพราะน้ำในเขื่อนมีอยู่จำกัด

นอกจากนั้น ยังทำให้การเติมน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำในฤดูฝน 2564 (1 พฤษภาคม-31 ตุลาคม 2564) เป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องมีปริมาณฝนมากอย่างมีนัยสำคัญจึงเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างได้มากอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ

อ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆ เก็บน้ำในฤดูฝนเอาไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป โดยในฤดูฝนกรมชลประทานจะให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก และใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำเป็นน้ำสนับสนุน แต่เมื่อน้ำในอ่างเก็บน้ำมีน้อยจึงต้องสงวนไว้ในอ่างให้ได้มากที่สุดเพราะเป็นน้ำในอนาคต

ฤดูฝนปีไหนเก็บน้ำในอ่างได้น้อย หมายความว่าฤดูแล้งถัดไปเราต้องเผชิญปัญหาน้ำอย่างน้อย 6 เดือน จนกว่าจะเข้าฤดูฝนอีกครั้ง ช่วงเวลาไม่เกิน 30 วันอันตรายต่อจากนี้ จึงเป็นช่วงเวลาระทึกใจจริงๆ

จาก https://mgronline.com   วันที่ 19 กันยายน 2563

สนทช.ชูปัญหาปากท้อง บริหารจัดการ 22 ลุ่มน้ำ

สทนช.ยกปัญหาปากท้อง-คุณภาพชีวิตประชาชนโยงแนวทางจัดการน้ำทุกมิติ ก่อนขยายผลครอบคลุมทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการนำร่องศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อมโยงการบริหารจัดการน้ำกับระบบการประเมินด้านเศรษฐกิจและสังคม และพัฒนาระบบบัญชาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะวิกฤติ โดยดำเนินการในรูปแบบของการพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยา (Hydroeconomic Model) ที่มีการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของแนวทาง/มาตรการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เป็นกลไกในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสังคม

รวมถึงมีการวิเคราะห์รูปแบบการทำงานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน โดยมี สทนช.เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานทั้งในภาวะปกติและการบัญชาการข้ามหน่วยงานในภาวะวิกฤติ โดยให้มีการเก็บข้อมูลทั้งประเด็นปัญหาและเชิงพื้นที่ การวิเคราะห์ความเสี่ยง รวมไปถึงข้อมูลเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศโดยเร็ว สำหรับแนวทางดำเนินการของโครงการจะมีการศึกษาทบทวนแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลักษณะทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำ ก่อนมาจัดทำหลักเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกพื้นที่ศึกษานำร่อง 1 แห่ง

ขณะเดียวกัน จะมีการพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยาในพื้นที่นำร่อง เพื่อศึกษาสมดุลน้ำและวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำ ครอบคลุม ปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใน

ปัจจุบันทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ ความต้องการใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม การรักษาระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์อนาคตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อการวิเคราะห์ทางเลือก เพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยาที่มีความเชื่อมโยงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรูปแบบต่างๆ ให้เห็นผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ครอบคลุมในทุกมิติ สทนช.จะจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแนวคิด วิธีการศึกษา และผลการรวบรวมข้อมูลพื้นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับส่วนกลางและระดับลุ่มน้ำทั่วประเทศ ก่อนมาสรุปวิเคราะห์นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย การบริหาร และการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ

สำหรับขั้นตอนในการศึกษาของโครงการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจะดำเนินการใน 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1.การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม ดำเนินการศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบคลุมสภาพเศรษฐกิจครัวเรือน ลักษณะและขนาดครัวเรือน การประกอบอาชีพ ค่านิยมและทัศนคติ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประชากรและการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม

2. จัดทำและเชื่อมโยงแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยา เพื่อวางแผนจัดการและประเมินผลกระทบจากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยคำนึงถึงด้านกายภาพของน้ำ เศรษฐกิจและสังคมในเวลาเดียวกันได้ 3. ศึกษา วิเคราะห์ความคุ้มค่าและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยวิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากแผนการบริหารจัดการน้ำ และ 4. จัดทำคู่มือนำเสนอวิธีการใช้งานแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยา ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน ปี 2564 

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 18 กันยายน 2563

รัฐบาลทุ่มหมื่นล้านยกระดับเกษตรแปลงใหญ่

รัฐบาลทุ่มหมื่นล้านยกระดับเกษตรแปลงใหญ่ 5 ล้านไร่ เพิ่มอำนาจต่อรองเกษตรกร อัพเกรดมาตรฐานคุณภาพ ลดต้นทุน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ครม.ได้เห็นชอบการใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของโควิด19 กรอบวงเงิน 13,900 ล้านบาท สำหรับโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นการต่อยอดการดำเนินการเกษตรแปลงใหญ่ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิตและการขายสินค้า อีกทั้งภาครัฐสามารถให้การสนับสนุนองค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีได้ตรงกลุ่มอย่างเต็มที่

สำหรับโครงการยกระดับแปลงใหญ่นี้ มีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ 260,000 ราย จำนวน 5,250 แปลง คิดเป็นเป็นพื้นที่รวม 5 ล้านไร่ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมบริหารจัดการการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ เป้าหมายปลายทางคือการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และยาที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

ส่วนการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยี นางสาวรัชดา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ มีศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดทั้ง 77 จังหวัด เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตร และจัดอบรมเกษตรกร แหล่งเรียนรู้ และสนับสนุน Smart Farmer และ Young Smart Farmer มากไปกว่านั้น การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่จะดำเนินการควบคู่ไปกับหลายหน่วยงาน เช่น ภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและกาตลาดในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแลเรื่องการจำหน่ายสินค้าเกษตรตามนโยบาย “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด” กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ช่วยสนับสนุนแหล่งน้ำให้กับเกษตรกรแปลงใหญ่ โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลให้การสนับสนุนในส่วนของน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรน้ำสนับสนุนด้านการวางระบบน้ำ

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีการทำเกษตรแปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 2,800 แปลง เกษตรกรแปลงใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 133,000 ราย และแน่นอนว่าโครงการยกระดับแปลงใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณครั้งนี้จะนำไปสู่จำนวนเกษตรกรและจำนวนแปลงที่ได้รับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้นอีกมาก ที่สำคัญประเมินว่าสามารถเพิ่มรายได้และลดต้นทุน คิดเป็นมูลค่าเพิ่ม 11,000 ล้านบาท จากการนำเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และยาที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 18 กันยายน 2563

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ “แข็งค่า”

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแกว่งตัวกว้างระยะสั้น –การปรับตัวลงของหุ้นเอเชียกดดันให้นักลงทุนทยอยลดการถือสินทรัพย์เสี่ยงและเงินบาทลง

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 31.13 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.15 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทระหว่างวัน 31.05-31.25 บาทต่อดอลลาร์

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS CIO)ระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทระยะสั้นก็แกว่งตัวกว้าง มองว่าความเสี่ยงหลักคือการปรับตัวลงของหุ้นเอเชีย กดดันให้นักลงทุนต้องทยอยลดสถานะการถือสินทรัพย์เสี่ยงและเงินบาทลง อย่างไรก็ดี ถ้าเทียบกับการแกว่งตัวช่วงวิกฤติ ปัจจุบันยังถือว่าไม่น่ากังวลมากนัก ในอนาคตสิ่งที่ต้องจับตาต่อคือ ความคาดหวังของตลาดต่อวัคซีนต้านโควิด ถ้าประสบความสำเร็จเร็วและสามารถจำหน่ายได้ภายในไตรมาสสี่ ก็จะเห็นการฟื้นตัวของเงินบาทตามมาทันที

ในช่วงคืนที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลงจากแรงขายทำกำไร หลังตัวเลขเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายงานตามคาด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 0.8% ขณะที่ฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX 600 ก็ปรับตัวลง 0.5% แม้ทางการเยอรมันจะส่งสัญญาณไม่กังวลกับปัญหาเรื่องข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับอังกฤษ (Brexit)

 ส่วนในฝั่งนโยบายการเงิน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ “คง” ดอกเบี้ย ธนาคารกลางญี่ปุ่น และอังกฤษก็ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และ 0.1% ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่รอดูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจึงไม่รีบร้อนกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนในฝั่งสหรัฐก็มีการรายงานตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานใหม่ (Initial Jobless Claims) ที่ระดับ 8.6 แสนตำแหน่ง โดยตลาดมองว่าเป็นการฟื้นตัวที่ช้าลงกว่าช่วงฟื้นก่อนหน้านี้

ฝั่งตลาดเงินก็เคลื่อนไหวในกรอบกว้างและกลับมาเป็นดอลลาร์ที่อ่อนค่า 0.2% โดยนักค้าเงินบางส่วนมีความกังวลกับนโยบายการคลังในสหรัฐว่าน่าจะต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ ส่งผลให้บอนด์ยีลด์มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณหนี้ จึงทำให้เยนญี่ปุ่น (JPY) ลงไปซื้อขายต่ำกว่าระดับ 105 เยนต่อดอลลาร์และค่าเงินยูโร (EUR) ฟื้นตัวกลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 1.185 ดอลลาร์อีกครั้ง

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 18 กันยายน 2563

ไทยเร่งตั้งรับเวียดนาม จ่อเก็บภาษีฯ ตอบโต้ทุ่มตลาดน้ำตาลไทย 37.9%

ไทยเตรียมพร้อมประเด็นโต้แย้งรับมือกรณีผู้ผลิตน้ำตาลทรายของเวียดนามร้องให้กรมคุ้มครองการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามงัดมาตรการเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดน้ำตาลของไทย 37.90% อ้างไทยมีพฤติกรรมทุ่มตลาดและได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลไทยผ่าน 15 โครงการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศของไทยเพื่อเตรียมข้อมูลรับมือกรณีที่ผู้ผลิตน้ำตาลเวียดนาม 6 รายได้ยื่นคำขอต่อกรมคุ้มครองการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม ให้พิจารณาเปิดการไต่สวนและบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนต่อสินค้าน้ำตาลที่นำเข้าจากไทย โดยกล่าวว่าไทยมีพฤติกรรมการทุ่มตลาดและได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านโครงการต่างๆ 15 โครงการจนก่อให้เกิดความเสียหาย จึงเรียกร้องให้บังคับใช้มาตรการชั่วคราวเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อน้ำตาลจากไทยในอัตรา 37.90%

“กรมการค้าต่างประเทศได้แจ้งประเด็นดังกล่าวและหารือในภาพรวมเพื่อเตรียมประเด็นที่จะโต้แย้ง โดยเฉพาะการที่เวียดนามจะเรียกเก็บอากรการทุ่มตลาดสินค้าน้ำตาลจากไทย 37.90% ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อนส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดของน้ำตาลไทยในตลาดเวียดนาม ซึ่งมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาถึงการแทรกแซงของไทยที่พบว่าไทยบางเรื่องได้ยกเลิกและบางเรื่องสามารถชี้แจงได้” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ เวียดนามระบุถึงการแทรกแซงกลไกตลาดน้ำตาลในประเทศของไทยผ่านโครงการต่างๆ 15 โครงการ เช่น การยกเว้นและลดอากรการนำเข้าเครื่องจักร การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการส่งออก การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครอบคลุมปี 2562-2564 การชำระเงินกู้ธนาคารกรุงไทยเพื่อสนับสนุนชาวไร่อ้อยด้านปัจจัยการผลิต เงินช่วยเหลือเกษตรกร 10,000 ล้านบาทภายในปี 2563 การแบ่งปันกำไร 70:30 เป็นต้น

สำหรับการนำเข้าน้ำตาลของไทยจากเวียดนาม ปัจจุบันเดือน ก.ค. 62-มิ.ย. 63 อยู่ที่ 543,039 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 907% ส่งผลให้น้ำตาลนำเข้าของไทยมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 28% จากเดิมที่อยู่ 3% ขณะที่ปริมาณความต้องการน้ำตาลทรายของตลาดเวียดนามปีปัจจุบันอยู่ที่ 1.94 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.92 ล้านตันในปี 62/61 โดยข้อเท็จจริงแล้วส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการยกเลิกการจำกัดปริมาณการนำเข้าจากข้อผูกพันการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน

จาก https://mgronline.com  วันที่ 17 กันยายน 2563

กรมการค้าต่างประเทศพร้อมก้าวสู่Digital DFT

กรมการค้าต่างประเทศ พร้อมก้าวสู่การเป็น Digital DFT เร่งเดินหน้าติดอาวุธผู้ประกอบการรุกตลาดเพื่อนบ้าน

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทและภารกิจ ในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า เพื่อสร้างแต้มต่อในการส่งออกสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ จึงได้จัดสัมมนา “ฝ่าวิกฤตโควิด พิชิตตลาดเพื่อนบ้านผ่าน Digital DFT” ซึ่งบทบาทของกรมการค้าต่างประเทศในยุค New Normal จะต้องพร้อมเป็นผู้นำทาง ที่จะช่วยขับเคลื่อนและนำทางให้ผู้ประกอบการไทยสามารถรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลง และยืนยันที่จะไม่หยุดพัฒนาเพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าทุกการส่งออก-นำเข้า จะสามารถดำเนินการได้อย่างไร้อุปสรรค ผ่านระบบดิจิทัลของกรมฯ และสามารถต่อยอดในการทำตลาดกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้กรมฯ ยังได้เตรียมนิทรรศการ “DFT in the New Normal: Navigating Traders towards Sustainable Trade” ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยกระดับการให้บริการและการอำนวยความสะดวกทางการค้าของกรมฯ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และการเตรียมความพร้อมสู่การให้บริการแบบดิจิทัลครบวงจรในอนาคตที่ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังกรมฯ อีกต่อไป มาแสดงให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 17 กันยายน 2563

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำประชารัฐ ‘อ่างเก็บนํ้าพระปรง’ เพื่อการเกษตร อีกต้นแบบความสำเร็จของกรมชลฯ

จากที่กรมชลประทานได้เดินหน้าวางยุทธศาสตร์ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนปัญหาน้ำเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำเดิม และพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ภายใต้ชื่อ “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแบบประชารัฐ” ชลประทานจังหวัดสระแก้วถือเป็น 1 ใน 8 พื้นที่นำร่องที่ได้เริ่มดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกับประชาชนในพื้นที่มาตั้งปี 2560 ในนามของคณะทำงานประชารัฐเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาแหล่งน้ำของแต่ละชุมชนด้วยตนเอง

นายณัฐวุฒิ  สร้อยประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสระแก้ว เล่าว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่กรมชลประทานเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนและเกษตรกรได้เข้ามามีบทบาทในการคิดแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยสิ่งที่เกษตรกรได้คือ ได้ความรัก ความผูกพัน และความสามัคคี จากเขาเหล่านี้เป็นคนคิดโครงการขึ้นมาเอง ก็จะเกิดความหวงแหน และช่วยกันจะรักษา เปลี่ยนจากรูปแบบเดิมๆ ที่ ส่วนราชการ เช่นกรมชลประทานจะไปพิจารณาความเหมาะสม ในเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นฝาย แก้มลิง คลองส่งน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ โดยกรมชลประทานจะไปพิจารณาสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้าง ซึ่งอาจจะไม่ค่อยตรงใจ ตรงปัญหาของพี่น้องประชาชนในพื้นที่มากนัก

“แต่ครั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการวิจัยงานด้วยตัวเองในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเน่าเสีย เป็นครั้งแรกที่ทำให้พี่น้องเกษตรกรสามารถค้นหาปัญหา  สาเหตุ และนำไปสู่การแก้ไขโครงการได้ ซึ่งทั้งเราและชาวบ้านได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ประโยชน์เกิดขึ้นในชุมชนจริงๆ”

ขณะเดียวกันโครงการอ่างเก็บน้ำพระปรง อันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9  นับเป็นอีกหนึ่งโครงการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร สำหรับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสระแก้ว อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยูคาลิปตัส และปาล์มน้ำมัน โดยเกษตรกรในพื้นที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งในฤดูฝน ฤดูแล้ง โดยทางโครงการฯได้มีปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำ และคลอง    ส่งน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตร ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรและมีรายได้เพิ่มขึ้นในทุกปี ทั้งนี้ยังได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในพื้นที่เพื่อวางแผนการเพาะปลูก และการใช้น้ำช่วงฤดูฝน และฤดูแล้งอย่างเหมาะสมอีกด้วย

สำหรับอ่างเก็บน้ำพระปรง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีการส่งน้ำท้ายเขื่อนในพื้นที่ชลประทานผ่านระบบคลองส่งน้ำสายใหญ่ 2 สาย ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากอ่างเก็บน้ำพระปรงได้ช่วยเหลือพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน 3 ตำบล มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มบริหารการใช้น้ำพระปรง ประมาณ 635 คน ซึ่งหลังจากที่ก่อสร้างอ่างฯ แล้วเสร็จในปี 2544 ได้ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่

 “พื้นที่แถบนี้ค่อนข้างมีความแห้งแล้ง ในฤดูแล้งเกษตรกร หรือประชาชนไม่สามารถทำการเกษตรได้เลย แต่หลังจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริอ่างเก็บน้ำพระปรง และก่อสร้างแล้วเสร็จทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร จิตใจ รวมถึงเรื่องความมั่นคงด้านอาหารดีขึ้นมาก ทุกวันนี้เรามีการบริหารจัดการน้ำ โดยประสานกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีการประชุมหารือ และวางแผนร่วมกันเป็นประจำในทุกปีในช่วงฤดูแล้งก่อนที่จะส่งน้ำ ขณะที่เกษตรกรก็ได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนา ขุดลอกคูคลองเพื่อให้น้ำสามารถไหลไปถึงแปลงเพาะปลูกได้โดยสะดวก ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ถือเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับชุมชนที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน” นายณัฐวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 17 กันยายน 2563

แนะเกษตรกรปรับตัวรับ‘อาร์เซ็ป’

พาณิชย์ เดินหน้าแนะทุกภาคส่วนเตรียมใช้ประโยชน์และปรับตัวรับความตกลงการค้าฉบับใหม่ทั่วภูมิภาคต่อเนื่อง เปิดเวทีสัมมนาประชาพิจารณ์ ‘ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป’ ปลื้มผู้ประกอบการและเกษตรกรตื่นตัว พร้อมปรับตัวรับผลกระทบกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์  ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ในเดือนพฤศจิกายน 2563 จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะเมื่อความตกลงอาร์เซ็ปมีผลใช้บังคับ จะกลายเป็นความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

เนื่องจากมีประชากรเกือบ 3,600 ล้านคน หรือเกือบครึ่งของประชากรโลก มีมูลค่า GDP กว่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 3 ของ GDP โลก รวมถึงจะเป็นเอฟทีเอฉบับที่ 14 ของไทย ซึ่งผู้ประกอบการและเกษตรกรของไทยควรเตรียมความพร้อมในการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่สร้างโอกาสการส่งออกสินค้าเข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่แห่งนี้

โดยสินค้าไทยที่คาดว่าจะมีโอกาสขยายตลาดเพิ่มขึ้น เช่น ส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก และเคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เส้นใย เครื่องแต่งกาย กระดาษ ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันพืช ของปรุงแต่งจากธัญพืชและแป้ง แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู สินค้าประมง อาหารแปรรูป และน้ำผลไม้ เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน จะช่วยให้ผู้ผลิตเพื่อส่งออกไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบการผลิตที่หลากหลายและมีราคาที่ต่ำลงอีกด้วย อีกทั้งยังจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในไทยมากขึ้น และจะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ก่อสร้าง ค้าปลีก ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และบันเทิง ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ นั้น กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุน FTA เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงโครงการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยกรมฯ อยู่ระหว่างศึกษาและรวบรวมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดตั้งกองทุน FTA และตั้งเป้าที่จะเสนอความเห็นเรื่องการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้ต่อระดับนโยบายในช่วงต้นปี 2564

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 17 กันยายน 2563

กรมพัฒนาที่ดินKick Off ‘วันดินโลก’5ธันวาคม

สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ(International Union of Soil Sciences –IUSS) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ประกาศนียบัตรและประกาศสดุดีพระเกียรติคุณ “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” (The Humanitarian Soil Scientist) แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์ ให้เป็นวันดินโลก (World Soil Day) เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรดิน ความสำคัญของดิน การสร้างความหลากหลายชีวภาพในดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีผลดีต่อการพัฒนาด้านการเกษตร โดยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันดินโลก ครั้งแรก เมื่อปี 2557 ซึ่งทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านทรัพยากรดินในทุกระดับ อีกทั้งให้ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติกว่า 200 ประเทศทั่วโลก จัดงานนิทรรศการวันดินโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีผลดีต่อการพัฒนาด้านการเกษตร โภชนาการ และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้ประชากรทั่วโลกได้รับรู้และตระหนักถึงทรัพยากรดินที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ส่วนร่วมช่วยอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดไป

ในปี 2563 กลุ่มสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดจัดงานวันดินโลก 5 ธันวาคม 2563 ในหัวข้อ “Keep Soil Alive Protect Soil Biodiversity : รักษ์ปฐพีคืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” เน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมขององค์กรและบุคคล ในรูปแบบของการร่วมมือและสร้างเครือข่ายมากขึ้น ผ่านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือในการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐเอกชน ประชาสังคม ชุมชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน

สำหรับประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานวันดินโลก ประจำปี 2563 โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรดินอย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมายของสหประชาชาติ กรมพัฒนาที่ดินจึงจัดประชุมวิชาการ หัวข้อ “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายด้านจัดการทรัพยากรดินจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SustainableDevelopment Goals (SDGs) ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งร่วมผลักดันเรื่องวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยจัดงานวันดินโลก วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี

สำหรับในปี 2563 มีการจัดงานวันดินโลก ภายใต้หัวข้อ “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดินของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ดังนั้น การประชุมวิชาการ “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ที่กรมพัฒนาที่ดินจัดขึ้นครั้งนี้ เพื่อเป็นการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการให้นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพในดิน รวมถึงสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการดูแลรักษาทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความตระหนัก การรับรู้ และความเข้าใจถึงความสำคัญของวันดินโลกด้วย

ด้านนางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินกล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานวันดินโลกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรดินที่ประสบผลสำเร็จ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นที่ยอมรับในประเทศและนานาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรดิน ความสำคัญของดิน การสร้างความหลากหลายชีวภาพในดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีผลดีต่อการพัฒนาด้านการเกษตร ทั้งนี้ ในงานวันดินโลกปี 2563 จะมีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ การจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรดินในด้านต่างๆ ที่เสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์ให้กลับมาเอื้อประโยชน์และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนให้รับรู้อย่างกว้างขวางทั่วไป เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักรู้มากขึ้นและเกิดจิตสำนึกในการเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน และมีส่วนร่วมในกลยุทธ์ที่จะฟื้นฟูรักษาทรัพยากรดิน รวมทั้งการจัดเสวนานักวิชาการเกษตรและหมอดินอาสา เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการประกวดแข่งขันต่างๆ การจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยของเกษตรกร จึงขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจร่วมกิจกรรมวันดินโลก ระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 17 กันยายน 2563

“เฉลิมชัย” ยอมรับ ปีนี้แล้งหนักกว่าปีที่แล้ว 8 พันล้าน ลบ.ม.

“เฉลิมชัย” ลั่นน้ำน้อยงดปลูกข้าวรอบหน้าหลังน้ำต้นทุนน้อยกว่าปีก่อน 8 พันล้าน ลบ.ม. ยืนยันน้ำกินน้ำใช้ยังมี-กรมชลเตรียมพืชน้ำน้อย-จ้างงาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (16 ก.ย.) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยระหว่างเป็นประธานการประชุมติดตามแนวโน้มสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ ปี 2563/64 ถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้

รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า จากปริมาณน้ำที่น้อยกว่าปี 2562 และเกิดฝนทิ้งช่วงในปี 2563 ส่งผลให้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม​-15 กันยายน 2563 มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร​ (ลบ.ม.)​

หลังจากนี้ จะมีการประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที แม้ยืนยันว่าตลอดปีนี้มีเพียงพอต่อความต้องการแน่นอน

กรมชลประทานต้องจัดลำดับความสำคัญ หากฝนตกแล้วน้ำไม่ลงเขื่อน น้ำต้นทุนน้อย เป็นไปได้ลำบากที่ฤดูกาลผลิต 2563/64 จะมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับปลูกข้าว ให้ร่วมหารือกับกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานอื่นๆเพื่อวางแผนการเพาะปลูกพืชน้ำน้อยแทนการปลูกข้าว แต่น้ำกินน้ำใช้ต้องเพียงพอ

“วันนี้ต้องเปลี่ยนแนวคิด แทนที่จะไปสร้างหรือขยายแหล่งเก็บกักน้ำที่มีอยู่ ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่าพื้นที่นั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ แต่จากสถิติสามารถกำหนดได้ว่าพื้นที่ไหนที่มีปริมาณฝนตกมาก ซึ่งแนวคิดใหม่ต้องไปหาว่าพื้นที่ที่เหมาะสมเหล่านั้นอยู่ตรงไหน เพื่อนำมาสร้างเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ”

หน่วยงานในแต่ละพื้นที่ต้องช่วยกัน จะสร้างเป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็ได้ และต้องนำระบบท่อเข้ามาใช้เพื่อกระจายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรและพื้นที่อื่นๆ ซึ่งมองว่าระบบท่อเป็นวิธีที่ทำให้สูญเสียน้ำน้อย และเป็นการใช้น้ำอย่างมีคุณค่าที่สุด

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางทั่วประเทศ มีปริมาณรวมกันประมาณ 36,764 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% ของความจุอ่าง เป็นน้ำใช้การได้ 12,946 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,152 ล้าน ลบ.ม หรือคิดเป็น 41% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 3,456 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้ว 10,363 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87% ของแผนฯ ภาพรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หากให้ประเมินสถานการณ์ฝน เหลือระยะเวลาจากนี้ถึงเดือนตุลาคมนี้เท่านั้นที่จะมีฝนตก

แต่หากฝนตกกระจายก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มปีการผลิต 2563/64 อาจไม่สามารถปลูกข้าว ทำนาได้ เท่ากับแผนปี 2562/63 สำหรับแผนการเพาะปลูกข้าวปี 2562/63 วางแผนการเพาะปลูกข้าว 16.79 ล้านไร่ แต่ด้วยฝนทิ้งช่วง ไม่มีน้ำ ทำให้ชาวนาทำนาได้เพียง 12.61 ล้านไร่

หรือปลูกข้าวได้เพียง 81% ของแผน ดังนั้น ปีการผลิต 2563/64 กระทรวงเกษตรฯ ต้องเร่งวางแผน สำหรับการเพาะปลูกพืชน้ำน้อยต่อไป

ส่วนเกษตรกร ที่ไม่ได้เพาะปลูก หรือทำการเกษตร จะเร่งดำเนินการ ทำแผนจ้างงานเพิ่ม เพื่อรองรับเกษตรกรอาจตกงาน เพราะฝนตกน้อย แล้งติดต่อกันมา 2 ปี หากประเมินผลการใช้น้ำ ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่กรมชลประทานต้องบริหารจัดการให้ถึงพฤษภาคม​ 2564 การจัดสรรน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคจึงเป็นความสำคัญอันดับแรก

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

กลุ่ม KTIS เผยรายได้ 9 เดือน 11,260 ล้านบาท

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายคุนิฮิโกะ ทาฮะระ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร ร่วมให้ข้อมูลในงาน Opportunity Day โดยผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนของปี 2563 (ตุลาคม 2562 – มิถุนายน2563) มีรายได้จากสายธุรกิจน้ำตาลเติบโตจากปีก่อน 17.5% เพราะปริมาณการขายและราคาขายสูงกว่าปีก่อน ส่วนรายได้รวมงวด 9 เดือนปีนี้เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก 10,768.0 ล้านบาท เป็น 11,259.8 ล้านบาท

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

อุตฯเร่งเอกชนปรับตัว ดึงเทคโนโลยีเสริมพัฒนาสินค้า

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังการกลับมาของธุรกิจจากการปิด ล็อกดาวน์ ประเทศไทยถือว่าสามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ได้ดีจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นและสนใจที่จะย้ายฐานการผลิตมาในไทยมากขึ้นในหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจการผลิตที่มีศักยภาพ เช่น สินค้าอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ อย่างอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค อาทิ หน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ที่ความต้องการสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวทั้งในและต่างประเทศ

"อุตสาหกรรมไทยนับจากนี้จะต้องปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามแบบชีวิตวิถีใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด โดยหันมาใช้แพลตฟอร์ม หรือหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น จากเดิมคาดกันว่าระบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทอีก2-3 ปีข้างหน้า แต่เมื่อมีโควิด-19 เป็นตัวเร่งทำให้ระบบอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทเร็วขึ้น หากผู้ประกอบการใดมีการปรับตัวก่อนก็จะได้รับประโยชน์ก่อนคู่แข่งในตลาด” นายภานุวัฒน์กล่าว

โดยงาน Intermach 2020 งานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและนวัตกรรมขั้นสูง งานแสดงเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่รวมโซลูชันอัจฉริยะ ตอบสนองความต้องการในยุคแห่งการผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทรงประสิทธิภาพ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 กันยายนนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ถือเป็นงานแรกของปีนี้ที่ผู้ประกอบการในทุกภาคอุตสาหกรรมควรได้ไปเรียนรู้ อัพเดทนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เปิดโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงจับคู่ธุรกิจเพื่อต่อยอดในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในอนาคตที่พร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

จาก https://www.naewna.com วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

ก.พลังงาน แจงไม่ล้มแผนส่งเสริม‘พลังงานชุมชน’ และ 'โรงไฟฟ้าชุมชน'

 “พลังงาน” แจงชัด ไม่มีนโยบายยกเลิก โครงการ "พลังงานชุมชน" พร้อมเดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชน ภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนสูงสุด

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับประเด็นที่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่จะมายกเลิกพลังงานชุมชน (และอาจหมายรวมถึงโรงไฟฟ้าชุมชน) ทั้งที่เป็นการกระจายโอกาสสู่ท้องถิ่น เกษตรกรสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตไบโอแก๊ส นั้น ขอเรียนชี้แจงว่ากระทรวงพลังงานไม่ได้มีนโยบายยกเลิกโครงการพลังงานชุมชนและโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแต่อย่างใด จะเห็นได้จากตามแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี (พ.ศ. 2563 – พ.ศ.2565) ของกระทรวงพลังงานมีเรื่องการสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในประเทศเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการส่งเสริมการนำแหล่งพลังงานในประเทศมาใช้ และส่งเสริมพลังงานสะอาด เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับรายได้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวทางการพัฒนาที่สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสม ผ่านการส่งเสริมการใช้ การลงทุนด้านพลังงานทดแทนซึ่งก็รวมถึงโครงการผลิตก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) และชีวมวลรวมอยู่ด้วย และการอนุรักษ์พลังงานในชุมชน พร้อมเสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้กับส่วนท้องถิ่น ชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชน

"ส่วนของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนก็จะมีการเดินหน้าโครงการนำร่อง โดยมีการทบทวนหลักเกณ์ของโครงการเพื่อให้ประโยชน์เกิดขึ้นกับเกษตรกรและชุมชนอย่างแท้จริงและมีความยั่งยืน"

ทั้งนี้ โดยมีแผนงานโครงการสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านการส่งเสริมชุมชนที่ชัดเจน เช่น แผนงานโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง สถานีพลังงานชุมชน โครงการเสริมสมรรถนะโครงการเตาชีวมวล โครงการโซลาร์สูบน้ำ โครงการโซลาร์อบแห้ง และกรอบทิศทางของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจะเน้นโครงการพลังงานชุมชน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และสร้างอาชีพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในชุมชน เป็นต้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 15 กันยายน 2563

ชี้ช่องผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก ‘อาร์เซ็ป’

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เตรียมนำทัพกูรูทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเกษตรและนักวิชาการ ลงใต้ร่วมสัมมนาประชาพิจารณ์ ‘ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป’ ที่จังหวัดสงขลา ชี้ช่องใช้ประโยชน์จากความตกลงอาร์เซ็ป พร้อมแนะแนวทางเตรียมตัวรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมจัดงานสัมมนาประชาพิจารณ์ “ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป” ในวันที่ 17 กันยายน 2563 ที่โรงแรมที อาร์ ร็อคฮิล อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ อาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

รวมถึงการเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากความตกลงและการปรับตัวจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อรองรับการลงนามความตกลงอาร์เซ็ปที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้

การสัมมนาครั้งนี้ จะมีการบรรยายหัวข้อ “รู้รอบข้อตกลง RCEP” โดยหัวหน้าผู้แทนไทยในการเจรจาอาร์เซ็ป นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งการเสวนาหัวข้อ “RCEP เชื่อมไทยสู่โลก สู้โควิด” โดยผู้แทนจากภาครัฐ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา และการเสวนาหัวข้อ “โอกาสการค้าการลงทุนใน RCEP : ทำอย่างไรให้ปัง!” เพื่อชี้ช่องทางการบุกตลาดอาร์เซ็ป โดยกูรูจากภาครัฐ เอกชน และกลุ่มสหกรณ์ พร้อม รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ และจะมีการถ่ายทอดสดผ่านFacebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตลอดงาน

สำหรับความตกลงอาร์เซ็ปประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ (สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และคู่เจรจาอีก 6 ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งเป็นการรวมฐานการผลิตที่สำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร อาหารแปรรูป อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งขั้นตอนการวิจัยพัฒนาออกแบบ การผลิตอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนการกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค ทั้งนี้ ความตกลงอาร์เซ็ปจะช่วยให้การผลิตสินค้าและการบริการของผู้ประกอบการไทย ทั้งเกษตรกร SMEs ไปจนถึงผู้ประกอบการขนาดใหญ่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าของโลก

ทั้งนี้ ความตกลงอาร์เซ็ปเป็นความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรรวมกันเกือบ3,600 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 48.1% ของประชากรโลก โดยในปี 2562 ประเทศสมาชิกอาร์เซ็ป 16 ประเทศ มีมูลค่าGDP กว่า 28.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 32.7% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 29.5% ของมูลค่าการค้าโลก

ทั้งนี้ การค้าและการลงทุนของไทยกว่าครึ่งพึ่งพาตลาดของสมาชิกอาร์เซ็ป โดยไทยกับประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปมีมูลค่าการค้ารวม 2.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 59.5% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย และไทยมีมูลค่าการส่งออกกว่า 1.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 57% ของการส่งออกของไทยไปโลก

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 15 กันยายน 2563

ชลประทานที่10แจงแผนบริหารจัดการน้ำเขื่อนป่าสัก

นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 พร้อมด้วยนายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน และผู้เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบเครือข่าย Video Conference ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 10 (SWOC 10) ต.เขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี เพื่อประสานงาน แลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำสำหรับใช้เป็นข้อมูล ในการแจ้งเตือนและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ พร้อมรับทราบแนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน และซักซ้อมแนวทางการจัดการน้ำ/การบริหารน้ำท่าในช่วงปลายฝนต้นหนาวของปีนี้ ซึ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ภายหลังจากที่กรมชลประทาน ได้วางมาตรการในการเก็บกักน้ำให้ได้ ตามเป้าที่วางไว้ เพื่อสำรองปริมาณน้ำไว้ในอ่างฯให้มากที่สุด ก่อนที่จะสิ้นสุดฤดูฝนในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯ 686 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 683 ล้าน ลบ.ม. และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันละประมาณ 3.16 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 274 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนจะสามารถสำรองน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ตามแผนที่วางไว้

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 15 กันยายน 2563

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท เปิดตลาด "แข็งค่า"

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาด "แข็งค่า"กรอบระหว่างวัน ที่ 31.20-31.40 บาทต่อดอลลาร์

 อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 31.30 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.33 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทระหว่างวัน 31.20-31.40 บาทต่อดอลลาร์

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS CIO) ระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทกลับอ่อนค่าระหว่างวันเมื่อนักลงทุนต่างชาติพยายามลดสินทรัพย์เสี่ยงในรูปเงินบาทลง อย่างไรก็ดี SCBS CIO มองความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้ชี้ทิศทางที่ชัดเจนในตลาดเงินและจะมีการประเมินเป้าหมายของเงินบาทอีกครั้งหลังการประชุม FOMC สัปดาห์นี้

ทั้งนี้ตลาดการเงินอยู่ในโหมดเปิดรับความเสี่ยง (Risk On) ในคืนที่ผ่านมา โดยมีดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 1.27% พร้อมกับ STOXX 600 ที่ปิดตัวบวก 0.1% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการฟื้นตัวของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวลงแรงในช่วงสัปดาห์ก่อน โดยมีราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลงเล็กน้อย 0.2% หลังกลุ่มโอเปคมองปริมาณการใช้น้ำมัน แต่ยังไม่ฟื้นตัวมากนักในปี 2021

ขณะที่ในฝั่งตราสารหนี้มีความเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกมีความเคลื่อนไหวไม่มากเช่นกัน โดยคืนที่ผ่านมาดัชนีดอลลาร์อ่อนค่า 0.3% จากภาพตลาดทุนที่เปิดรับความเสี่ยง เยนญี่ปุ่น (JPY) ทยอยแข็งค่ามาที่ระดับ 105.7 เยนต่อดอลลาร์เมื่อทราบผู้ที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

อย่างไรก็ดี นักลงทุนส่วนมากยังคงรดูตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงเช้าวันนี้ โดยที่เงินหยวนปรับตัวลงสู่ระดับ 6.81 หยวนต่อดอลลาร์แข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 15 กันยายน 2563

ชาวไร่อ้อยจี้เลิกแบนพาราควอตหลังเดือดร้อนหนัก นักวิชาการแฉสารทดแทนก็ถูกแบนที่ยุโรปเหมือนกัน

นายมนตรี คำพล ประธานสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยกว่า 4 แสนครัวเรือนทั่วประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักหลังคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติห้ามใช้สารเคมีพาราควอด เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ขณะที่สารทดแทนอย่างกลูโฟซิเนต นอกจากจะฆ่าหญ้าไม่ตายแล้ว ยังทำให้ต้นอ้อยไม่เติบโตด้วย

เช่นเดียวกับ น.ส.ทิพวรรณ ยงประโยชน์ เลขาธิการสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า การแบนสารพาราควอตทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง ส่งผลกระทบถึงโรงงานน้ำตาล รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช้ในการแบนมีข้อน่ากังขาหลายประการ และเป็นการแบนสารชนิดหนึ่งแต่ให้ไปใช้สารอีกชนิดหนึ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้ 4 องค์กรชาวไร่อ้อยพร้อมด้วย 37 สถาบันชาวไร่อ้อย ได้เข้าร้องเรียนกับ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายเฉลิมชัย รับปากว่าจะส่งเรื่องให้ คกก.วัตถุอันตรายพิจารณาต่อไป

"ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมอย่างเร่งด่วน หากล่าช้า เกษตรกร อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล อาจไม่รอด ถ้าเป็นเช่นนี้ท่านจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้อย่างไร หากอุตสาหกรรมในประเทศล่มสลาย" เลขาธิการสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าว

ขณะที่ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และนายกสมาคมเกษตรปลอดภัย กล่าวว่า การที่เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้ ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้รับผลกระทบจากการหันไปใช้สารกลูโฟซิเนตหลังทางการเร่งรีบแบนสารพาราควอดและไกลโฟเซต อีกทั้งยังปล่อยให้มีการนำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีการตกค้างสารเคมีจากต่างประเทศ นี่คือความไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกรไทยและยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย

ทั้งนี้ ตนเห็นว่าการตัดสินใจของ นายเฉลิมชัย ที่ส่งเรื่องต่อให้ คกก.วัตถุอันตรายพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะ รมว.เกษตรฯ แล้ว เพราะเป็นการรับผิดชอบต่อชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของเกษตรกร หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมหรือไม่

ด้าน นางจรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตว่า ขั้นตอนการพิจารณายกเลิกการใช้พาราควอตไม่ใช่ขั้นตอนปกติของกรมวิชาการเกษตร เพราะนอกจากการแบนสารอย่างเร่งรีบแล้ว ยังไม่มีความพร้อมของสารทดแทน ที่มีคุณสมบัติ ประสิทธิภาพและราคาที่ใกล้เคียงกับพาราควอต สารชีวภัณฑ์ปลอมเกลื่อน และยังไม่มีชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง อีกทั้งการสืบค้นหาความจริงในงานวิจัยที่ถูกกล่าวอ้างว่าพบสารเคมีตกค้างในน้ำดื่มเมืองน่าน พบว่า นักวิจัยอ้างค่ามาตรฐานผิดจากความจริง

และเมื่อลงพื้นที่หาสาเหตุโรคเนื้อเน่า ปลายปีที่ผ่านมา ไม่พบการตกค้างของพาราควอต แต่พบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคเนื้อเน่า เช่นเดียวกับงานวิจัยพาราควอตในขี้เทาทารก พบว่ามีข้อน่าสงสัยหลายประการในวิธีการทดลองของนักวิจัยที่ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้  ขณะเดียวกัน นักวิจัยเองยังแสดงความเห็นของตนเองในรายงานว่ามีการทำการศึกษาในตัวอย่างที่น้อยเกินไป และไม่สามารถสรุปความสัมพันธ์ของบางเหตุการณ์ได้

นางจรรยา กล่าวต่อไปว่า ส่วนสารกำจัดวัชพืชกลูโฟซิเนตนั้นถูกแบนในสหภาพยุโรป (EU) ตั้งแต่ปี 2561 เพราะพบว่า เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ระบบสืบพันธุ์และการเจริญของทารกผิดปกติ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่กลับได้รับคำแนะนำจากกรมวิชาการเกษตรรวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ให้ใช้สารนี้ โดยไม่มีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและเกษตรกรเลย

"บทเรียนที่น่าสนใจของการแบนกลูโฟซิเนตของสหภาพยุโรปคือ ใช้ระยะเวลาในกระบวนการยกเลิกถึง 13 ปี เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัวที่จะหาวิธีการหรือสารทดแทน และนำสินค้าออกจากตลาด แต่การแบนพาราควอตในประเทศไทย ใช้เวลาไม่กี่เดือน โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2563 เป็นการห้ามเกษตรกรและอุตสาหกรรมในประเทศใช้ ต้องส่งกลับคืนไปสู่ต้นทางเพื่อเผาทำลายเท่านั้น " นางจรรยา ระบุ

น.ส.เพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์ และกรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การแบนพาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องถึง 2 ล้านล้านบาท สภาอุตสาหกรรมฯ เห็นว่าความเดือดร้อนนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย และที่สำคัญมีผลกระทบกับเกษตรกรที่เป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ซึ่งได้จัดงานเสวนาและถอดบทเรียนจากการแบนสารทั้ง 2 ชนิด เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และยังเคยส่งหนังสือถึง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ  รมว.อุตสาหกรรม ขอให้พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และหามาตรการบรรเทาผลกระทบให้ได้ก่อนตัดสินใจแบนสารทั้ง 2 ชนิด และสภาอุตสาหกรรมฯ ยังคงมีข้อเรียกร้องเดิมนี้ไปยังภาครัฐ และคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ต้องทบทวนมาตรการต่างๆ อย่างรอบครอบ เพราะความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 14 กันยายน 2563

รับข้อเสนอ “ผีเสื้อกระพือปีก” ปรับโครงสร้างราคาพลังงานเป็นธรรม

“สุพัฒนพงษ์” รับข้อเสนอกลุ่มผีเสื้อกระพือปีกไปสานต่อการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่เป็นธรรมมาหารือ ชี้ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่แท้จริง

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จะนำข้อเสนอของกลุ่มผีเสื้อกระพือปีกที่ให้สานต่อการพิจารณาปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่เป็นธรรมมาหารือต่อ โดยอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่แท้จริง ซึ่งก็มีข้อเสนอในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ก๊าซฯ ราคาพืชพลังงาน เป็นต้น

นายณกานต์ จันธิราชนารา แกนนำกลุ่มผีเสื้อกระพือปีก กล่าวว่า เรื่องโครงสร้างราคาพลังงานที่เป็นธรรมนั้น  ต้องการให้กระทรวงร่วมกับภาคประชาชนทำงานต่อหลังจากนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ริเริ่มไว้ โดยที่ผ่านมาทำงานเสร็จไปด้านเดียว ได้แก่ การปรับลดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯ 50 สตางค์/ลิตร ช่วยประชาชนได้ 1.8 หมื่นล้านบาท

ส่วนโครงสร้างราคาน้ำมัน ก๊าซฯ เอทานอล ไบโอดีเซล ภาษีต่าง ๆ ขณะนี้ยังไม่ชัดเจน โดยประชาชนต้องแบกภาระเรื่องต้นทุนพืชพลังงาน ซึ่งกรอบการหารือก็ต้องการให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ที่เป็นธรรม ระหว่างประชาชน ภาครัฐ และเอกชน

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 14 กันยายน 2563

เกษตรกร โวย “กลูโฟซิเนต” ล้มพืชไร่ตายเรียบ

สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร 7 พืชเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากการใช้  กลูโฟซิเนต จากคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ฉีดพ่นหญ้าแต่พืชปลูกตายเรียบ เหตุพิษดูดซึม ด้านสภาอุตสาหกรรม เห็นผลกระทบการแบนสามสารเคมีรอบด้าน เคยยื่นหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรมร้อง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยกเลิกการแบนสารพาราควอต ล่าสุดเกิดผลกระทบเกษตรกร และจะกระทบอุตสาหกรรมต่อเนื่องถึง 2 ล้านล้านบาท

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และนายกสมาคมเกษตรปลอดภัย เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้ ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันได้รับผลกระทบพืชปลูกเสียหาย ตายเรียบ จากคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และแรงเชียร์จากเอ็นจีโอ ผลักดันให้ใช้ “กลูโฟซิเนต” ฆ่าหญ้าของนายทุนใหญ่ หลังแบนพาราควอตและจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ด้วยความเร่งรีบแบนอย่างมีเงื่อนงำและเป็นขบวนการ โดยภาครัฐยังไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจน ไร้มาตรการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร การแบนสารหนึ่งแล้วแนะนำให้ใช้อีกสารเคมีหนึ่ง ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง เพราะสุดท้ายผู้ได้ประโยชน์ก็คือ นายทุน ที่สำคัญ คณะกรรมการการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร กลับอนุมัติให้มีการนำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีการตกค้างสารเคมีจากต่างประเทศมาให้ผู้บริโภคไทยรับประทานอีก เป็นการปฏิบัติสองมาตรฐาน เกิดความไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกร และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

“ในขณะนี้ กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ดำเนินการยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการวัตถุอันตรายแล้ว ซึ่งเป็นการทำงานในหน้าที่อย่างถูกต้องในความรับผิดชอบต่อชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของเกษตรกร คงเหลือแต่ กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการฯ ที่จะออกมาปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม ด้วยความภาคภูมิใจในความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังประสบปัญหาจากวิกฤตโรคระบาด ” นายสุกรรณ์ กล่าว

นายมนตรี คำพล ประธานสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เกษตรกรไร่อ้อยทั่วประเทศกว่า 4 แสนครัวเรือน เดือดร้อนหนักมากหลังประกาศยกเลิกใช้พาราควอต เพราะต้นทุนเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าจ้างแรงงาน สารเคมี แถมต้องใช้สารเคมีมากขึ้นแต่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะ กลูโฟซิเนต ที่ได้รับคำแนะนำให้มาทดแทน นอกจากจะฆ่าหญ้าไม่ตายแล้ว กลับทำให้ต้นอ้อยไม่เติบโต กระทบเกษตรกร 4 แสนครัวเรือน หรือ 10 ล้านคน

สอดคล้องกับนางสาวทิพวรรณ ยงประโยชน์ เลขาธิการสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 4 องค์กรชาวไร่อ้อยพร้อมด้วย 37 สถาบันชาวไร่อ้อย ได้เข้าหารือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากการแบนสารพาราควอต ทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง ส่งผลกระทบถึงโรงงานน้ำตาล รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช้ในการแบนมีข้อน่ากังขาหลายประการ และเป็นการแบนสารชนิดหนึ่งให้ใช้สารอีกชนิดหนึ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดย รมว. เฉลิมชัย รับว่าจะส่งเรื่องทบทวนไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมอย่างเร่งด่วน หากล่าช้า เกษตรกร อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล อาจไม่รอด

ด้านดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศ กล่าวเสริมว่า ขั้นตอนการพิจารณายกเลิกการใช้พาราควอต เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่ใช่ขั้นตอนปกติของกรมวิชาการเกษตร นอกจากการแบนสารอย่างเร่งรีบแล้ว ยังไม่มีความพร้อมของสารทดแทน ที่มีคุณสมบัติ ประสิทธิภาพและราคาที่ใกล้เคียงกับพาราควอต สารชีวภัณฑ์ปลอมเกลื่อน และยังไม่มีชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง

ขณะที่บทเรียนที่น่าสนใจของการแบนกลูโฟซิเนตของสหภาพยุโรปคือ ใช้ระยะเวลาในกระบวนการยกเลิกถึง 13 ปี เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัวที่จะหาวิธีการหรือสารทดแทน และนำสินค้าออกจากตลาด แต่การแบนพาราควอตในประเทศไทย ใช้เวลาไม่กี่เดือน โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นการห้ามเกษตรกรและอุตสาหกรรมในประเทศใช้ ต้องส่งกลับคืนไปสู่ต้นทางเพื่อเผาทำลายเท่านั้น

นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์ และกรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แสดงทัศนะว่า การแบนพาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องถึง 2 ล้านล้านบาท สภาอุตสาหกรรมฯ เห็นว่าความเดือดร้อนนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย และที่สำคัญมีผลกระทบกับเกษตรกรที่เป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานเสวนาและถอดบทเรียนจากการแบนสารทั้ง 2 ชนิด เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ เคยส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อขอให้พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และหามาตรการบรรเทาผลกระทบให้ได้ก่อนตัดสินใจแบนสารทั้ง 2 ชนิด ซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ ก็ยังคงมีข้อเรียกร้องเดิมนี้ไปยังภาครัฐ และคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ต้องทบทวนมาตรการต่างๆ อย่างรอบครอบ เพราะความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว.

จาก https://mgronline.com   วันที่ 14 กันยายน 2563

พลังงาน” ผนึก “อว.”หนุนใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด

“พลังงาน” ผนึก “อว.”หนุนใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดการพึ่งพาต่างประเทศสร้างความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน

รายงานข่าวระบุว่า กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ “อว.” ได้ดำเนินการร่วมมือกำหนดกรอบทิศทางและการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน เพื่อร่วมกำหนดกรอบนโยบายและทิศทางงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานที่ชัดเจนสอดคล้องกับกรอบนโยบายพลังงานของชาติ  โดยยึดจากแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว 20 ปี รวม 5 แผน ได้แก่

1.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ,2.แผนอนุรักษ์พลังงาน ,3.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ,4.แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง และ5.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ  เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกำหนดกรอบนโยบายและทิศทางงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานที่ชัดเจน สอดคล้องนโยบายพลังงานของชาติตามแผนบูรณาการพลังงานระยาว 20 ปี โดยกลไกการดำเนินงานร่วมกันนี้จะช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สอดรับกับแนวทางของกระทรวงพลังงานในการเตรียมพร้อมรับมือในยุคดิจิทัล 4D+1E คือ 1.DIGITALIZATION เช่น การพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการพลังงานแบบอัจฉริยะ

,2.DECARBONIZATION การลดคาร์บอน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนที่มีปล่อยคาร์บอนน้อยลง ,3.DECENTRALIZATION การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ รองรับการกระจายศูนย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ,4.DE-REGULATION  การผ่อนปรนกฎระเบียบ การเปิด Sandbox ให้เกิดการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านพลังงาน ส่งเสริมให้เกิด Start Up ด้านพลังงาน และ 5.ELECTRIFICATION เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 14 กันยายน 2563

เปิดแอพใหม่ “รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย”

​​​​​​​“รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย” เช็กที่เดียวจบ  แนะนำสูตรปุ๋ยและอัตราการใช้ที่เหมาะสมกับพืชและดินครบถ้วน  รู้ผลแบบเรียลไทม์ ปลัดเกษตรฯ เผยให้บริการแล้วกว่า 60 ชนิดพืช ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นายอนันต์  สุวรรณรัตน์  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เผยว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่า 149 ล้านไร่  แต่พื้นที่ปลูกพืชส่วนใหญ่ธาตุอาหารในดินถูกพืชดึงไปใช้ประโยชน์และขาดการปรับปรุงบำรุงดิน  ทำให้ผลผลิตพืชลดน้อยลง เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยมี  ความเชื่อว่าหากใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากจะทำให้พืชให้ผลผลิตมากหรือบางรายใส่ตามความเคยชินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยที่สูงขึ้น ซึ่งหลักการใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชได้รับประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักวิชาการเกษตรกรต้องรู้จักศักยภาพของดินในพื้นที่ต้องการปลูกพืชก่อนว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดเนื่องจากการใส่ปุ๋ยจำเป็นต้องพิจารณาความต้องการธาตุอาหารของพืชร่วมกับคุณลักษณะของดิน   ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารตรงตามความต้องการแล้วยังช่วยประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยให้เกษตรกรได้อย่างมากอีกด้วย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร   ดังนั้นจึงมีแนวคิดให้กรมวิชาการเกษตรซึ่งมีองค์ความรู้ทางวิชาการความต้องการธาตุอาหารเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดและแต่ละช่วงเวลาการเจริญเติบโต  ในขณะที่กรมพัฒนาที่ดินมีฐานข้อมูลชุดดินอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 300 ชนิด  โดยให้ทั้ง 2 หน่วยงานนำองค์ความรู้ทั้งด้านพืชและดินมาผนวกกันจัดทำเป็นฐานข้อมูลให้คำแนะนำการใส่ปุ๋ยที่ถูกชนิดและในอัตราที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชและตรงกับศักยภาพของดิน  โดยมีหลักคิดที่สำคัญว่าต้องเป็นเทคโนโลยีที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ทั้งด้านพืช ดิน และปุ๋ย ได้อย่างครบถ้วน สะดวก  รวดเร็ว  มีความแม่นยำ  ใช้งานง่าย ที่สำคัญต้องประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 14 กันยายน 2563

สัมภาษณ์พิเศษ : สมเกียรติ ประจำวงษ์ แม่ทัพ “ทรัพยากรน้ำ” กางโปรเจ็กต์สู้แล้ง

ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ยังคงเป็นโจทย์หลักของทุกรัฐบาลที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหา แต่ดูเหมือนว่ายังไม่มีรัฐบาลชุดไหนที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในระยะยาวได้เลย จึงทำให้ไทยต้องประสบกับปัญหาเดิมซ้ำซากทุกปี

“มติชน” สัมภาษณ์พิเศษ สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เกี่ยวกับสถานการณ์การบริหารจัดการน้ำในปี 2563 ว่าขณะนี้มีความพร้อมและเตรียมมาตรการในการรับมือกับทั้งภัยแล้ง และพายุฝนที่จะเข้ามาแค่ไหน

“สมเกียรติ” เล่าว่า เริ่มต้นฤดูฝนปีนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งจากการคาดการณ์ของนักวิชาการจากหลายองค์กรคาดว่าฝนจะน้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะช่วง 2 เดือนแรก คือเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และต่อเนื่องถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งเรื่องที่ห่วงคือภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรกของฤดูฝน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็เป็นไปตามคาดการณ์ คือฝนก็ตกมาน้อย มีเพียงพื้นที่ภาคใต้ที่มีฝนตกชุก ประกอบกับพายุซินลากูเข้ามาทำให้บางพื้นที่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้น โดยภาคอีสานได้รับอานิสงส์จากพายุลูกนี้เป็นหลัก สามารถเติมน้ำเข้าเขื่อนได้ประมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่น้ำจำนวนนี้ก็ยังไม่เพียงพอ สทนช.คาดการณ์ในอนาคตว่าภาคเหนือโดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีปริมาณน้ำเข้ามาประมาณ 6-7 พันล้าน ลบ.ม. ซึ่งในจำนวนนี้ยังมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรได้ซึ่งเรื่องนี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

โดยประมาณกลางเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากฝนคือ กรุงเทพฯและภาคใต้ ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯเชื่อว่าจะไม่รุนแรงเท่าสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 เพราะยังไม่มีสิ่งบอกเหตุที่สถานการณ์จะรุนแรงถึงขั้นนั้น โดยเฉพาะฝนที่ตกลงมาไม่ได้มีมากพอที่น้ำจะระบายมาได้ ซึ่งในเดือนกันยายนนี้ สทนช.วางแผนบริหารจัดการน้ำฝนทั้งเรื่องการระบาย และแผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย โดยมองว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาน้ำท่วม แต่เป็นปัญหาภัยแล้งในปี 2564 ส่วนการบริหารน้ำบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบนตั้งแต่นครราชสีมาถึงชัยภูมิตอนบนยังเป็นห่วงเรื่องภัยแล้ง เพราะปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำไม่มากเท่าที่ควร หลังจากนี้จึงได้แต่หวังว่าจะมีพายุฝนเข้ามาในประเทศไทยอีกประมาณ 1-2 ลูกแต่พายุดังกล่าวคาดว่าภาคใต้จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงจะมีการประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบอีกครั้ง ซึ่งจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขนเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ส่วนการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เป็นอุปสรรคสำคัญของภาคใต้นั้นทาง สทนช.จะเริ่มปรับปรุงโดยใช้งบประมาณประจำปี 2563/64 โดยกรมชลประทานได้นำเสนอขอโครงการเกี่ยวกับการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่นเดียวกับกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ที่ได้เสนอโครงการเพื่อขอปรับปรุงทางรถไฟเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมอีกด้วย ซึ่งทาง สทนช.ได้เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานทำการศึกษาและออกแบบการกำจัดสิ่งขีดขวางทางน้ำ ภายในเดือนกันยายนนี้จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้อนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนรอบแรกในฐานะเจ้าของพื้นที่ ซึ่งจะทำให้การเตรียมการป้องกันมีประสิทธิภาพ และสามารถวางแผนเตรียมความพร้อมในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งนี้ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

พายุที่เข้ามาในไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับอานิสงส์หรือผลกระทบ

จากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ต้นเดือนสิงหาคม ไทยได้รับผลกระทบปริมาณฝนที่ตกหนักมากจากพายุโซนร้อน “ซินลากู” พายุโซนร้อน “ฮีโกส” และอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีพื้นที่น้ำท่วม รวม 20 จังหวัด นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงจังหวัดอุบลราชธานีมีระดับน้ำผันผวนโดยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ปริมาณฝนที่ตกนี้ทำให้เกิดผลดีมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ รวม 4,500 ล้าน ลบ.ม. โดย 3 อันดับสูงสุด ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ 1,594 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 494 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก 400 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยปัจจุบันยังไม่มีอ่างขนาดใหญ่ที่มีน้ำมากกว่า 80% แต่ผลที่ได้คืออ่างที่มีน้ำน้อยกว่า 30% มีจำนวนลดลง จาก 26 แห่ง เหลือ 14 แห่ง เนื่องจากฝนตกในที่เดิมซ้ำๆ ทำให้เกิดน้ำหลากจุดเดิม ซึ่งยังคงมีอ่างอีกหลายแห่งที่ต้องการน้ำที่อาจเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งถัดไปได้

ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนหลักปัจจุบันพบว่า เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำในอ่าง 4,541 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 34% ของความจุอ่าง แบ่งเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 741 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 8% เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 5,132 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 54% ของความจุอ่าง แบ่งเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 2,282 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 34% เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 9,673 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 42% ของความจุอ่าง แบ่งเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 3,023 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 19% เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำในอ่าง 269 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 29% ของความจุอ่าง แบ่งเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 226 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 25% และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 61 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 6% ของความจุอ่าง แบ่งเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 58 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 6%

สทนช.มีแผนรับมือปัญหาน้ำท่วม-แล้งอย่างไร

“สมเกียรติ” เล่าว่า สำหรับการคาดการณ์ฤดูแล้งเมื่อประเมินแล้วฤดูแล้งในปี 2563 ดีกว่าปี 2562 เนื่องจากฝนดีขึ้นประมาณ 50% แต่ไม่ได้ดีมากเท่าปี 2560 ส่วนการบริหารน้ำในปัจจุบันตั้งแต่ต้นฤดูแล้งที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค ขุดบ่อบาดาลในพื้นที่ที่แหล่งน้ำหายาก ซึ่งแผนงานดังกล่าวรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า ทำให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ต้องสั่งการเพื่อแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน อาทิ การเจาะบ่อบาดาล 1,000 บ่อ และซ่อมแผนระบบประปาที่มีความคืบหน้าแล้วกว่า 70% เป็นต้น

 ทั้งนี้ ได้เตรียมโครงการขุดลอกทั่วกรุงเทพฯภายใต้การดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) งบประมาณ 90-95 ล้านบาท ขุดคลองกว่า 60 แห่ง ซึ่งจะเริ่มนำร่องจากพื้นที่หนองจอก เพื่อเชื่อมโยงกับกรมชลประทานที่มีการขุดลอกเช่นกัน โดยโครงการดังกล่าวของ กทม.รวมอยู่ในงบประมาณ รวม 500 ล้านบาทด้วย ซึ่งงบประมาณดังกล่าวเป็นของ สทนช. กรมชลประทาน และ กทม. โดย สทนช.นำงบประมาณ จำนวน 9 ล้านบาท ไปช่วยเหลือในการจัดการประชุมของอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมแหล่งเก็บน้ำเอาไว้ในช่วงฤดูฝนต่อฤดูแล้ง

นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้รับงบประมาณสำหรับจัดทำโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศจำนวน 18,927 รายการ งบประมาณ 9,950 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะต้องบริหารเร่งด่วนภายในเดือนกันยายนนี้ โดยโครงการนี้จะสนับสนุนให้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กคาดว่าจะสามารถเพิ่มการเก็บกักน้ำได้กว่า 200-300 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งก็เป็นผลดีในการดำเนินงานในครั้งนี้ แต่โครงการนี้เป็นโครงการไม่ใหญ่จะแก้ไขปัญหาทั้งหมดคงไม่ได้ เพราะแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศมีศักยภาพในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน โครงการนี้จึงถือเป็นโครงการส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายในพื้นที่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

แผนบริหารน้ำในปี 2564

สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์ในปี 2564 จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าจะดีกว่าปี 2563 เล็กน้อย แต่อาจมีการพลิกผันในกรณีที่มีพายุเข้ามาเพิ่มขึ้น หากเป็นเช่นนั้นก็ต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในบางพื้นที่ด้วย แต่เชื่อมั่นว่าจะไม่รุนแรงเท่าปี 2554 แน่นอน ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นเพียง 2-3% เท่านั้น โดยสิ่งที่เป็นห่วงมากกว่าน้ำท่วมคือ ภัยแล้ง ที่อยู่ระหว่างประเมินว่าจะมีปริมาณน้ำเหลือใช้ปริมาณเท่าไหร่ ซึ่งทุกหน่วยงานต้องทำการประเมินสถานการณ์น้ำช่วงสิ้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนตุลาคม เพื่อนำข้อมูลมาจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมต่อไป

คืบหน้าแผนพัฒนาลุ่มน้ำยม

ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยม สทนช.เตรียมแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งลุ่มน้ำยมทั้งระบบ โดยเฉพาะการเพิ่มจุดเก็บกักน้ำ และชะลอน้ำทุกรูปแบบในพื้นที่ต้นน้ำเพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมและเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้ง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พัฒนาแหล่งน้ำตามแผนหลักลุ่มน้ำยม (ปี 2564-2580) มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้มีแผนหลักดำเนินการเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ยมตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง

โดยลุ่มน้ำยมตอนบนระยะเร่งด่วนเริ่มดำเนินปี 2564 ได้แก่ อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำและติดตั้งระบบเตือนภัย ระยะสั้น เริ่มปี 2565-2566 ได้แก่ พัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงแหล่งน้ำตามแนวคิด “สะเอียบโมเดล” ยมตอนกลาง ระยะเร่งด่วน เริ่มปี 2564 ได้แก่ การจัดการจราจรน้ำและปรับปรุงลำน้ำที่ตื้นเขิน ระยะสั้นเริ่มปี 2565-2570 ได้แก่ พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในลำน้ำสาขา และเพิ่มความจุแหล่งน้ำเดิม

ส่วนระยะยาว หรือหลังปี 2570 ได้แก่ พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในลำน้ำยมซึ่งต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนในพื้นที่มาพิจารณาด้วย ในลุ่มน้ำยมตอนล่าง ระยะเร่งด่วน เริ่มปี 2564 ได้แก่ การพัฒนาอาคารบังคับน้ำในลำน้ำยม อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 แห่ง โดยมีแผนดำเนินการในอนาคตอีก 7 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 11 แห่ง และระบบผันน้ำเพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำ ได้แก่ โครงการคลองผันน้ำยมน่าน ระยะกลาง เริ่มดำเนินการปี 2566 ได้แก่ พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์

ลุ่มน้ำยม มีน้ำฝนเฉลี่ย 1,369 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำท่า 6,715 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ประสบปัญหาท่วมแล้ง โดยมีพื้นที่ท่วมซ้ำซากคิดเป็นปริมาณน้ำกว่า 2,021 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ช่วงฤดูแล้งขาดแคลนน้ำประมาณ 1,875 ล้าน ลบ.ม. โดยเป้าหมายแผนหลักลุ่มน้ำยม 20 ปี สามารถพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำตอนบน-ตอนกลาง 800 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชะลอน้ำตอนล่าง 833 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 253,630 ไร่ และลดปัญหาน้ำท่วมได้ 54,159 ไร่

โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาดำเนินการแล้ว 697 โครงการ เก็บกักน้ำได้ 68 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 1.4 แสนไร่ โดยมีโครงการสำคัญ อาทิ อ่างเก็บน้ำน้ำปี้ จ.พะเยา อ่างเก็บน้ำแม่อ้อน 2 จ.ลำปาง อ่างเก็บน้ำแม่แคม จ.แพร่ ประตูระบายน้ำ (ปตร.) ท่านางงาม จ.พิษณุโลก ปตร.ท่าแห จ.พิจิตร ปตร.บ้านวังจิก จ.พิจิตร ส่วนการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นทุ่งบางระกำ ปี 2563 จำนวน 500 แห่ง ได้น้ำรวม 24 ล้าน ลบ.ม.

ขณะที่แผนงานโครงการสำคัญที่จะเริ่มดำเนินได้ภายในปี 2566 มีทั้งสิ้น 36 โครงการ ที่สามารถเพิ่มความจุได้ 116 ล้าน ลบ.ม. แก้มลิงชะลอน้ำ 833 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 1.67 แสนไร่ 26,949 ครัวเรือน โดยทำควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบน-กลาง ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 234 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงเร่งผลักดันแผนการพัฒนาพื้นที่รับน้ำ ชะลอน้ำในลำน้ำยมตอนบนให้ได้โดยเร็วตามแผนหลัก ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบปริมาณน้ำส่วนเกินก่อนไหลลงสู่พื้นที่จังหวัดสุโขทัยซึ่งเป็นพื้นที่ท่วมซ้ำซากให้ไม่ประสบปัญหาอย่างในปัจจุบัน

แผนจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี

ส่วนการบริหารน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กรมชลประทานได้เตรียม 8 มาตรการรองรับการใช้น้ำในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งปี 2563/2564 ประกอบด้วย 1.สูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ มาลงอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล สูบถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ปริมาณน้ำรวม 60 ล้าน ลบ.ม. 2.สูบคลองสะพานเติมอ่างประแสร์ ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ปริมาณน้ำรวม 15 ล้าน ลบ.ม. 3.สูบกลับวัดละหารไร่ (แม่น้ำระยอง) เติมอ่างหนองปลาไหล ถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำรวม 4.84 ล้าน ลบ.ม.

4.การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สูบใช้น้ำคลองน้ำหู ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ปริมาณน้ำรวม 5 ล้าน ลบ.ม. 5.สูบผันน้ำคลองพระองค์ฯ/พานทอง-อ่างบางพระ ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ปริมาณน้ำรวม 50 ล้าน ลบ.ม. 6.สูบผันน้ำแม่น้ำบางปะกง-อ่างบางพระ ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ปริมาณน้ำรวม 20 ล้าน ลบ.ม. 7.ประหยัดการใช้น้ำทุกภาคส่วนในจังหวัดระยอง และชลบุรี และ 8.สูบปันน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี มาลงอ่างประแสร์ มีแผนการสูบน้ำตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2563 ปริมาณรวม 12 ล้าน ลบ.ม.

ภาพรวมการบริหารจัดการเรื่องน้ำของรัฐบาล

“สมเกียรติ” เล่าว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐนั้น ปัจจุบันเริ่มมีการรับรู้มากขึ้นว่าทรัพยากรน้ำมีหลายหน่วยงานเข้าไปเกี่ยวข้องเยอะมาก จึงทำให้เกิดช่องว่างของการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งภาครัฐต้องการให้เจ้าภาพมีแค่หน่วยงานเดียว หรือมีการทำงานร่วมกันแบบเป็นหนึ่งเดียว ภาครัฐได้เล็งเห็นว่าทางออกคือต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมา จึงได้ตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อเป็นเสาหลักในการประสานงานกับองค์กรต่างๆ แบบบูรณาการร่วมกันซึ่งที่ผ่านมา สทนช.ได้มีการพัฒนารูปแบบการทำงานให้ครอบคลุมมากขึ้น อาทิ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการรายงานสถานการณ์น้ำ และการตรวจสอบปริมาณน้ำโดยมีการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านแอพพลิเคชั่น Thai Water Plan ที่ประชาชน ภาครัฐ หน่วยงานประจำจังหวัดและนักการเมืองสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ ซึ่งเจตนาของการจัดทำแอพพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบว่าตอนนี้ในจังหวัดของตนมีแผนพัฒนาแหล่งน้ำใดแล้วบ้าง เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงานในอนาคต

หลังจากนี้จะเริ่มเห็นการทำงานแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงและกรมต่างๆ ในเรื่องของการทำแพคเกจเสนอของบประมาณเพื่อนำไปใช้อย่างเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งถือว่าเรื่องนี้เป็นอีกการเปลี่ยนแปลงที่รัฐบาลได้เข้าใจและให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารน้ำในประเทศเพิ่มขึ้น ดูได้จากมาตรการเรื่องการผันน้ำที่ปกติหน่วยงานสามารถผลักดันได้เลย แต่ในปัจจุบันต้องมีการเสนอเรื่องไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ ก่อนที่จะยิงคำสั่งตรงไปที่หน่วยงานซึ่งช่วยให้เกิดการทำงานแบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

จากมุมมองของหน่วยงานที่บริหารจัดการด้านน้ำโดยตรง ฉายภาพให้เห็นถึงแผนการบริหารน้ำแบบครบวงจร แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะสามารถช่วยให้ไทยผ่านพ้นวิกฤตเรื่องน้ำไปได้อย่างที่ภาครัฐหวังไว้หรือไม่

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 14 กันยายน 2563

นักวิเคราะห์ชี้ทิศทางค่าบาทแข็ง ตัวแปร ”ส่งออก-ราคาน้ำมัน“ อาจเห็น 31 บาท

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS)กล่าวว่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ 14 กันยายนอยู่ที่ระดับ 31.31 บาทต่อดอลลาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน

กรอบเงินบาทระหว่างวัน 31.23-31.43 บาทต่อดอลลาร์

ในสัปดาห์นี้ประเด็นที่ต้องจับตาคือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในวันพุธ 16 กันยายน ขณะที่จะมีการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ตามมาในวันพฤหัส17 กันยายน

เพราะครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เฟดใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยในการกำหนดนโยบายการเงิน ขณะเดียวกันก็จะมีการให้ข้อมูลมุมมองอนาคต (Forward Guidance) เพิ่มเข้ามา เชื่อว่าประเด็นที่ตลาดควรให้ความสำคัญที่สุด คือทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในระยะสั้น (Real GDP) มองว่าเฟดจะปรับลดความลึกของการหดตัวลงเหลือเพียง -4.5% 0kd -6.5% ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาดูเป้าหมายของดอกเบี้ยระยะยาว (Longer Run) ของเหล่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน คาดว่าจะมีปรับลดลงจากระดับ 2.5% มาที่ระดับ 2.0% โดยมุมมองเหล่านี้จะกดดันให้บอนด์ยีลด์สหรัฐระยะสั้นทรงตัวในระดับต่ำ และดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าได้ในระยะยาว

ส่วนในสัปดาห์นี้ เชื่อว่าเงินดอลลาร์จะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ด้วยแรงดึงจากภาพตลาดที่ไม่เปิดรับความเสี่ยงเต็มตัว แต่ก็มีแรงฉุดจากนโยบายการเงินของเฟดที่ผ่อนคลายลง นอกจากนี้ก็ต้องจับตา เยนญี่ปุ่น (JPY) และปอนด์อังกฤษ (GBP) ไปด้วย เนื่องจากมีความเสี่ยงจากการเมืองที่สามารถกดดันให้ทั้งสองสกุลเงินอ่อนค่าลงหนุนดอลลาร์ได้

กรอบดัชนีดอลลาร์ (Dollar Index) สัปดาห์นี้ 92.5-93.8จุด ระดับปัจจุบัน 93.3จุด

ส่วนเงินบาทในระยะสั้นไม่ได้มีประเด็นที่น่ากังวลมากนัก และมีโอกาสแข็งค่าตามสกุลเงินเอเชียมากขึ้น โดยระหว่างสัปดาห์เชื่อว่าตลาดจะแกว่งตัวในกรอบแคบไปก่อนแม้จะมีแรงกดดันจากการเมืองภายในประเทศหรือความกังวลเรื่องการกลับมาระบาดของไวรัสรอบใหม่ แต่นักค้าเงินในตลาดก็ไม่เลือกประเด็นดังกล่าวมาเป็นเหตุผลในการซื้อขายแล้ว

“ระยะถัดไปมองการฟื้นตัวของภาคส่งออกรวมถึงการปรับตัวลงของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยบวกที่จะหนุนให้เงินบาทแข็งค่า”

กรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 14 กันยายน 2563

กรมเจรจาฯติวเข้มใช้ประโยชน์ RCEP

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดกรมฯได้จัดสัมมนาประชาพิจารณ์ “ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป” ที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีภาคธุรกิจ เกษตรกร ผู้ประกอบการ SMEs นักวิชาการ และภาคประชาสังคม กว่า 100 คน เข้าร่วมรับฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความตกลงRCEP สำหรับเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความเห็นและมุมมองต่อการเตรียมตัวใช้ประโยชน์และการปรับตัวรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

โดยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP มั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรของไทย เนื่องจากจะช่วยขยายการส่งออก และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยรายการสินค้าเกษตรที่ไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น อาทิ ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันพืช ของปรุงแต่งจากธัญพืชและแป้ง แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู สินค้าประมง อาหารแปรรูป และน้ำผลไม้ ในตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นอกจากนี้ จะช่วยผู้ประกอบการไทยลดต้นทุนจากเกณฑ์กฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และยังเพิ่มทางเลือกในการสรรหาวัตถุดิบจาก 16 ประเทศสมาชิกมาผลิตสินค้า รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศสมาชิกที่นำเข้าสินค้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ ก่อสร้าง ธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านสุขภาพ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และบันเทิง ประเภทเทคนิคตัดต่อภาพและเสียง การผลิตแอนิเมชั่น และค้าปลีก

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งประโยชน์ที่ได้รับและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และควรศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าไปลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

และการสัมมนาครั้งต่อไป กรมฯ จะลงใต้จัดที่จังหวัดสงขลา ในวันที่ 17 กันยายนนี้ เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ทั่วประเทศได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง และเตรียมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากRCEPอย่างเต็มที่

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 14 กันยายน 2563

อุตสั่ง ‘รง.น้ำตาล’ เพิ่มสต๊อก กลัวไม่พอขาย-ห้างบีบซื้อได้ไม่เกิน6ถุง

จับตาแล้งฉุดผลผลิตอ้อยหด ห้างโมเดิร์นเทรดประกาศจำกัดการซื้อ ด้านสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย เตรียมพร้อมสั่งโรงงานน้ำตาลสต๊อกสำรองเพิ่มป้องกันขาดแคลนอีก1 เดือน 200,000 ตัน จากเดิมแค่3 เดือน 600,000 ตัน หลังคาดการณ์ผลผลิตปี 2563/2564 ได้แค่ 70ล้านตัน แถมเลื่อนเปิดหีบไป 1 เดือน จาก ธ.ค. 2563 เป็นต้น ม.ค. 2564 ด้าน 58 โรงงานเตรียมระดมแนวทางบริหารจัดการอ้อยและน้ำตาล 11 ก.ย.นี้

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการสำรวจการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบรรจุถุงในห้างค้าปลีกโมเดิร์นเทรด พบว่า มีการจำกัดจำนวนการซื้อทุกยี่ห้อครอบครัวละไม่เกิน 6 ถุง เริ่มตั้งแต่23 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2563จากปกติที่ไม่มีการจำกัดจำนวน

นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สาเหตุที่ห้างค้าปลีกจำกัดขายปริมาณน้ำตาล เนื่องจากในช่วง 3 เดือนนี้จะเป็นช่วงรอยต่อของฤดูหีบเก่ากับเริ่มฤดูหีบใหม่ ซึ่งโดยปกติจะเริ่มหีบในเดือน ธ.ค. 2563 หรือ ม.ค. 2564 จะมีน้ำตาลเข้ามาใหม่ช่วงนั้น ห้างเลยกลัวว่าปลายฤดูแล้วน้ำตาลจะไม่พอ แต่ทาง สอน.ได้เตรียมเรื่องนี้ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วหลายเดือน โดยให้โรงงานน้ำตาลสำรองสต๊อกน้ำตาลไว้ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ ช่วง 3 เดือนระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2563ซึ่งเป็นไปตามระเบียบโรงงานแล้วยังได้กำหนดให้จะต้องสำรองน้ำตาลป้องกันปัญหาการขาดแคลนอีก 1 เดือน หรือ 3+1

ทั้งนี้ ในแต่ละปีปริมาณการใช้น้ำตาลปกติในประเทศทั้งรับประทานและซื้อไปผลิตสินค้า รวมแล้วประมาณเดือนละ 2,000,000 ล้านกระสอบ หรือ 200,000 ตัน ดังนั้น ปริมาณน้ำตาลที่ต้องสำรองไว้ช่วง 3 เดือนดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณ 6,000,000 กระสอบ หรือ 600,000 ตัน

สำหรับฤดูกาลใหม่ที่จะเปิดหีบปี 2563/2564 ได้กำหนดเป็นช่วงกลางเดือนธ.ค. 2563 หรือต้นเดือน ม.ค. 2564 ซึ่งอยู่ที่ความพร้อมของโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 โรง โดยช่วงแรกที่เปิดอาจยังมีปริมาณอ้อยเข้าหีบไม่มาก แต่คาดว่าจะหีบได้เต็มที่ในเดือน ก.พ. 2564จากปกติการเปิดหีบอ้อยจะมีขึ้นในช่วงต้นเดือน ธ.ค.ของทุกปี โดยคาดการณ์ว่าปี 2563/2564 จะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 70 ล้านตัน ซึ่งเป็นการคาดการณ์เบื้องต้นครั้งแรก และช่วงใกล้เปิดหีบจะมีการประเมินครั้งที่ 2 อีกครั้ง หากฝนตกในช่วง 3 เดือนนี้ดี (ก.ย.-พ.ย.) ก็อาจมีผลต่อการเติบโตของอ้อยมากขึ้น

“ปีนี้แล้งอ้อยอาจไม่ค่อยสมบูรณ์ก็อาจรอเวลาเปิดช้าไปสักหน่อย อาจเป็นกลาง ธ.ค. หรือต้น ม.ค. ซึ่งจริง ๆ อาจไม่ใช่การเลื่อนเพราะที่ผ่านมาไม่มีการกำหนดที่แน่นอน แต่จะดูความพร้อมของชาวไร่ และโรงงานน้ำตาลเป็นหลัก ส่วนการเปิดหีบช้ากว่าปกติ ส่งผลอะไรหรือไม่ต่ออุตสาหกรรมน้ำตาล หรือจะมีน้ำตาลที่เหลือจะไหลออกนอกประเทศหรือไม่นั้น ด้วยตอนนี้ราคาน้ำตาลโลกไม่ดีนัก หรือประมาณ 12.67 เซนต์/ปอนด์ดังนั้น น้ำตาลทรายขาวราคาในประเทศจึงดีกว่า จึงไม่น่ามีการลักลอบส่งออกไปมาก ดังนั้น การเปิดหีบช้าจึงไม่ค่อยมีผลจะมีผลบ้างคือเมื่อเปิดหีบช้าน้ำตาลก็จะมีเข้ามาในระบบช้า แต่ สอน.ก็เตรียมการไว้เนิ่น ๆ แล้ว แต่ถ้าอ้อยมากแล้วเปิดหีบช้าก็จะหีบไม่หมด ไม่ทันฤดูฝนทำให้เข้าไปตัดอ้อยและขนออกมายาก”

อย่างไรก็ตาม จากสถิติผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาจยังไม่เคยมีการเปิดหีบช้ากว่าปกติ เนื่องจากอย่างปี 2551/2552 แม้ว่าปริมาณอ้อยจะมีปริมาณน้อยอยู่ที่ 66.46 ล้านตัน มีปริมาณน้ำตาล 7.19 ล้านตัน แต่ไม่ใช่เพราะภัยแล้ง แต่เป็นผลมาจากปริมาณพื้นที่เพาะปลูกอ้อยยังน้อยกว่าปัจจุบันมาก และไม่มีการเลื่อนเปิดหีบ ต่างกับครั้งนี้ที่เปิดหีบช้าเพราะปริมาณอ้อยน้อยจากภัยแล้ง

ด้านนายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC)เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายมีความกังวลต่อประเด็นสถานการณ์การเพาะปลูกฤดูการผลิตปีหน้า (ปี 2563/2564) ที่หลายพื้นที่เพาะปลูกต้องประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยจากประเมินปริมาณผลผลิตอ้อยในรอบแรกคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบฤดูการผลิตปี 2563/2564 ไม่ถึง 70 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่มี 130 ล้านตัน ส่งผลต่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

โดยโรงงานจะให้ความสำคัญอ้อยสะอาด และการพัฒนาประสิทธิภาพการหีบสกัดให้ได้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยีลด์) ให้ได้สูงสุดเพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกที่ดีดังนั้น ในวันที่ 11 ก.ย. 2563ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง58 โรง จะมีการสัมมนาประจำปี 2563 เพื่อร่วมกันหารือถึงแนวทางต่าง ๆในการพัฒนาและบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไปสู่ความยั่งยืน โดยในที่ประชุมจะมีการหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศฤดูการผลิตปี 2563/2564 การกำหนดปริมาณมาตรฐานในการผลิตน้ำตาลทราย การสร้างแรงจูงใจให้แก่ชาวไร่ปลูกอ้อยและการจัดเก็บผลิตอ้อยสดที่มีคุณภาพส่งมอบให้แก่โรงงานน้ำตาล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอ้อยไฟไหม้

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 13 กันยายน 2563

“สุริยะ”เร่ง “อุตสาหกรรม 4.0” รับการบริโภคยุค New Normal

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้เร็วขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการยุคใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยภาคอุตสาหกรรมจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยหลังแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีหลังฟื้นตัว อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและการแพทย์จะยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก เกิดการลงทุนและการจ้างงานเพิ่มขึ้น

ขณะที่อุตสาหกรรมหลักอื่นจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการและการใช้จ่ายภายในประเทศที่ดีขึ้น เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ อุตสาหกรรม Hard disk drive อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในต่างประเทศยังคงน่าเป็นห่วง พฤติกรรมการบริโภคทั่วโลกมีความเปลี่ยนแปลงจากเดิม มีการบริโภคสินค้าคงทนที่ลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ในขณะที่การบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคกลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ให้ทัน และใช้โอกาสจากวิกฤตในครั้งนี้ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสร้างฐานการผลิตในไทย

“สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้ประกอบการทำงานและชีวิตประจำวัน ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ New Normal ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คาด ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องยกระดับให้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ให้ทัน และต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตต่อไป”

ด้วยเหตุนี้ ภาคอุตสาหกรรมไทยจึงจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม มุ่งใช้เทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในสถานการณ์ต่างประเทศที่นักลงทุนต้องการย้ายฐานการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง จึงจำเป็นต้องเร่งจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานเพื่อรองรับการทำงานในยุคอุตสาหกรรม 4.0”

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)  กล่าวว่า การยกระดับอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทำงานผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายอัจฉริยะ พร้อมนำข้อมูลการทำงานไปวิเคราะห์และประมวลผลสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ประกอบกับสถานการณ์ต่างประเทศที่มีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในฐานการผลิตสำคัญ

รวมทั้งสถานการณ์สงครามการค้าส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง อุตสาหกรรมบางประเภทขาดชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาทางด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มทบทวนแผนการผลิตใหม่และมีความต้องการย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง นับเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะดึงดูดผู้ให้ประกอบการเข้ามาลงทุน โดยที่ประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านของแรงงานที่มีฝีมือและมีการควบคุมโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ดี

สอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ "อีอีซี" (EEC) การเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ สศอ. เร่งจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ ต่อไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 13 กันยายน 2563

หนุนพืชเกษตรปรับโหมด Bioeconomy สร้างมูลค่า-เพิ่มผลผลิต

เอกชนชี้ภาคเกษตรไทยยังได้ไปต่อ ดึงนวัตกรรมสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าสินค้า แนะอาหารสุขภาพมาแรง ขณะที่โควิด เปิดช่องแพจเกจจิ้งไบโอเติบโตดี ลดปริมาณขยะพลาสติก

นายมานูเอล  มาดานิ  หัวหน้าสายงานพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด  และรองประธานหอการค้าไทยเนเธอร์แลนด์ กล่าววในงานสัมมนาออนไลน์ ผู้ประกอบการแสดงสินค้า ...อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ  ในหัวข้อเสวนาเรื่อง “เกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ  อุตสาหกรรมใหม่ฟื้นเศรษฐกิจไทย” ว่า อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ ในไทยมีการเติบโตผ่านการจัดแสดงสินค้าระดับสากล  ซี่งที่ผ่านมามีผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ (2010-2020) ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆเข้ามามีบทบาทในการทำการเกษตร  และสะท้อนผ่านการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองหลักที่แสดงศักยภาพเทคโนโลยี นวัตกรรม ทางการเกษตรในประเทศไทย ที่ยังผลักดันไปสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปพร้อมกัน

ขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ยอมรับว่าส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคธุรกิจการจัดแสดงงงานฯ แต่ก็มองว่าเป็นโอกาสของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี เข้ามาใช้ร่วมกับการจัดแสดงสินค้าฯ เพื่อรองรับอนาคตการจัดงานแสดงยุคนิวนอร์มอล 

ด้านนายประวิทย์ ประกฤตศรี    ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด  กล่าวว่า  ภาคเกษตรยังถือเป็นตัวหลักของทางออกของประเทศไทย โดยเฉพาะหมวดอาหารยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง แต่ปัญหาใหญ่ภาคเกษตรคือภัยแล้ง   ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลก ดังนั้นจะต้องมีการจัดการด้านชลประทานให้ยั่งยืน

รวมทั้งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การใช้พื้นที่เหมาะสม กับพืชต่างๆ ซึ่งได้ขับเคลื่อนในเรื่องเหล่านี้ไปแล้ว รวมทั้งการคาดการณ์สภาพอากาศ และ ผลผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้พยายามทำ smart  agriculture  มีทั้งพืชเกษตรตัวหลัก ในหมวดอาหาร พลังงาน และยังมีเกษตรเฉพาะ ในเรื่องสมุนไพร อย่างกรณีเกิดโควิด-19 ฟ้าทะลายโจรเป็นที่ต้องการมาก หรือ ยางพาราที่มีความต้องการใช้ผลิตถุงมือยาง

“ช่วงโควิด ถ้ามองในเรื่องภาคบริการท่องเที่ยวที่เสียไป แต่ภาคเกษตรมีส่วนของจีดีพีอยู่ 9%  ซึ่งหดตัวน้อยมาก  วิธีการคือตอนนี้ต้องหาทางสร้างมูลค่าเพิ่ม  สร้างผลผลิต ของสินค้าเกษตร พร้อมทั้งหานวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้ให้มากขึ้น”

"ไบโอเทคโนโลยี" ทางรอดเศรษฐกิจไทยหลุดกับดักรายได้ ปานกลาง

"ทีเอ็มบี"ผนึก"มิตรผล" เสริมแกร่งการเงินซัพพลายเชนโซลูชั่น

นายประวิทย์  กล่าวว่า สิ่งที่ต้องต่อยอดจากภาคเกษตรคือ ไบโอเคมีคอล  โดยไทยส่งออกอาหารอันดับ4ของโลก  จากโควิดที่เกิดขึ้นทำให้คนสนใจอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น และมีแนวโน้มที่ดีในตลาด  ซึ่งไทยเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางในการผลิตวัตถุดิบคาร์โบไฮเดรตตั้งต้นที่สำคัญ ทั้ง แป้ง น้ำตาล  หรือเส้นใยเซลลูโลส วันนี้มีหลายบริษัทพยายามจะเข้ามาทำไบโอเทคโนโลยี โดยการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตไปเป็นโปรตีน แทนเนื้อสัตว์ เรียกว่า Plant -based  Protein   นอกจากนี้ยังในเรื่อง Healty Carbohydrate  การผลิตน้ำตาลหวานน้อยแคลลอรี่ต่ำ นำหญ้าหวานมาผลิตแทน  หรือการผลิตเครื่องสำอางค์สมุนไพร  สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการทำเรื่องอินโนเวชั่น ก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการเหล่านี้ได้  โดยยึดหลัก 3 ด้าน ของการทำงานเป็นทีม คือ  เทคโนโลยี    การบริหารจัดการ และ  การตลาด  เพราะเก่งคนเดียวไปไม่รอด

ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ โกศลพิศิษฐ์กุล   ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานกลยุทธ์และบริหารความยั่งยืนองค์กร  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี กล่าวว่า  วันนี้ต้องเร่งผลักดัน  BCG  Model  ทั้ง Bioeconomy  Circular economy  Green economy  ไบโอเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนให้ความสนใจมากบขึ้น เพราะช่วยลดปัญหาใหญ่ของประเทศ คือ  ขยะพลาสติก 2 ล้านตัน  ปัจจุบันจัดการได้แค่ 1 ใน 4  ยังเหลือขยะที่จัดการไม่ได้ 1.5 ล้านตัน   ดังนั้นถ้าเรามีโอกาสเพิ่มทางเลือกในการใช้ไบโอเพื่อลดการใช้พลาสติกจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมลงได้

อย่างไรก็ตามทางจีซีให้ความสำคัญกับเรื่อง  Circular economy ซึ่งมีไบโอแบ่ง3 กลุ่ม คือ  สมาร์ท  โอเปอเรติ้ง มีการพัฒนากระบวนการผลิต   ผลิตภัณฑ์ไบโอต้องมีมาตรฐานรับรอง และการเชื่อมโยงกับภายนอก

“จีซีมีนโยบายพัฒนาและคิดค้นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกรีนและไบโอเพื่อต่อยอดความยั่งยืน  โดยมีผลิตภัณฑ์ค่อนข้างมากเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนลด  การพึ่งพาจากต่างประเทศ   ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ และยังเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ ทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค”

ดร. สวนิตย์  กล่าวว่า หลังจากเกิดปัญหาโควิด หลายคน Work  from Homeธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่ ได้รับความนิยมมาก ในวิกฤตก็มีโอกาสตอนนี้เรื่องแพจเกจจิ้งให้ความสำคัญกันมากขึ้น ถือเป็นโอกาสของคนที่อยากทำธุรกิจใหม่ หรือนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ หากต้องการสร้างธุรกิจของตัวเองก็เป็นทางเลือกได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมารองรับกับความต้องการของตลาด

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้จีซีได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) และคู่ค้าของ จีซี สร้างโมเดลต้นแบบโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ซึ่งเป็นโครงการที่จะเรียกคืนขยะพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เป็นการลดขยะและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นโครงการเล็กๆที่ร่วมมือกันกับเอกชน  จนกลายเป็นโครงการโครงการแชมเปี้ยน Circular economy

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 12 กันยายน 2563

"ไบโอเทคโนโลยี" ทางรอดเศรษฐกิจไทยหลุดกับดักรายได้ ปานกลาง

"อลงกรณ์" ฉายภาพเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ อนาคตเศรษฐกิจไทยและโลก เจาะตลาดความต้องการพุ่งในยุคนิวนอร์มอล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ (webinar) “ผู้ประกอบ การแสดงสินค้า...อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ รองรับความปกติใหม่ (New Norm)” จัดโดย โพสต์ทูเดย์ กลุ่มบางกอก โพสต์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) หรือ ทีเส็บ (TCEB) และหอการค้าไทย

พร้อมกล่าวปฐกถาในหัวข้อ “อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยี ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนใหม่ในยุคนิวนอร์มอล” ว่ากลุ่มภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยยังเป็นไปในทิศทางบวก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในช่วงและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 รวมถึงการเข้าสู่ยุควิถีปกติใหม่ (นิว นอร์มอล) ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนด้วยเป็นทั้งทางรอด และ เป็นโอกาสของ อนาคตเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย ในอนาคต

4 กลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรต้อง "รีมิกซ์"

นายอลงกรณ์ กล่าว่าปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งศูนย์ เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมน วัตกรรม เทคโนโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆของไทย กระจายอยู่ใน 77 จังหวัด มีศูนย์กลาง 6 แห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ที่ยังสอดรับในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรของไทย ที่วางไว้เป็นหนึ่งในแผนแม่บทของประเทศไทย ที่เข้าสู่การแปลงในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 เรื่องหลัก คือ ไบโอ อีโคโนมี ครีเอทีฟ อีโคโนมี และ ดิจิทัล อีโคโนมี และ โซเชียล อีโคโนมี

สำหรับแผนเศรษฐกิจใหม่ดังกล่าว เพื่อกำหนดทิศทางให้ประเทศไทย เตรียมก้าวสู่ประเทศที่พัฒนามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการเดินหน้ายุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันเป้าหมายส่งออกให้เป็น 110 % ของจีดีพี จากปัจจุบันอยู่ที่ 70% ของจีพีดีประเทศ

โดยมีฐาน เศรษฐกิจใหญ่ของประเทศไทย คือ อาหาร การท่องเที่ยว สุขภาพ หุ่นยนต์ ทีจะเข้ามาเพิ่มผลผลิตโดยออกแบบฐานอุตสาหกรรม ใหม่หมด รวมไปถึงการก้าวสู่อุตสาหกรรมการเกษตรเทคโนโลยี ชีวภาพ ที่จะต้องไปในรูปแบบ "รีมิกซ์" ในกลุ่ม เกษตรอาหาร เกษตรพลังงาน เกษตรท่องเที่ยว และ เกษตรสุขภาพ ที่จะต้องมี การออกแบบให้ชัดเจน

โดยเฉพาะในส่วนของฐานที่ใหญ่สุด คือ ภาคการเกษตรรายย่อย ที่จะต้องใข้เครื่องมือสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน ที่ไปสู่ เกษตรพาณิชย์ เกษตรอุตสาหกรรม และ เกษตรส่งออก ที่ต้องขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรเหล่านี้ ผ่านการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยมีภาครัฐเอกชนไปด้วยกัน ทั้งด้านพัฒนาบุคคลากร ส่วนภาค เกษตรกรเองจะต้องมองทั้งระบบตั้งแต่ ต้นน้ำ ปลายน้ำ

หนุนพืชเกษตรปรับโหมด Bioeconomy สร้างมูลค่า-เพิ่มผลผลิต

"ไบโอ เทคโนโลยี" อนาคตไทยอนาคตโลก

นายอลงกรณ์ กล่าวว่าสำหรับ "ไบโอ เทคโนโลยี" ของไทย ถือว่ามีมานานจากการตั้งองค์กรเข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะกว่า 40 ปี ภึงในปัจจุบัน (พ.ศ.2526) โดย ไบโอ เทคโนโลยี ถือว่าเป็นเป็น อนาคตของโลกและเป็นอนาคตของไทย สอดคล้องกับการทำงาน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำลังเปลี่ยนถ่ายไปสู่การเป็นกระทรวงเทคโนโลยี เพราะหากไทยมีเทคโนโลยีแล้วจะมีความร่ำรวย และก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้เร็วขึ้น พร้อมสร้าง ธุรกิจใหม่ๆให้เกิดขึ้น ตามมาเช่นกัน

โดยมูลค่าของไบโอเทคโนโลยีในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดสูงถึง 727 บิลเลียนดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตกว่า 7% จากปัจจุบันมีการขยายตัวการใช้งาน ไบโอเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลก อาทิ โควิด เทสต์ คิต (Covid Test Kit)ชุดตรวจสอบโควิด-19 หรือการนำมาใช้ในเทคโนโลยีสื่อสาร ในรูปแบบวัสดุไบโอพลาสติก ที่กำลังจะเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล รวมไปถึงในอุตสาหกรรมการบิน (เอวิเอชัน) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรใหม่ (นิว เอส-เคิร์ฟ) ที่มีการใช้คอมโพสิทจากไม้ไผ่ รวมถึงในอุตสาหกรรมยานยนต์ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีการ นำไบโอเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมถึงบรรจุภัณฑ์ สินค้าต่างๆ เช่น ขวดบรรจุเครื่องดื่มวอดก้า เป็นต้น

ขณะที่ผลตอบแทบไบโอเทคโนโลยี ในรอบ 10ปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่าและอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่องมากกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงผลตอบแทนการลงทุน และมีความยั่งยืน รวมถึงในยุคโควิด ยิ่งมีการเติบโตสูงขึ้นจาการนำมารองรับด้านอาหาร ยา ไปจนถึง อุตสาหกรรมในเกือบทุกเรื่อง

โดยในอนาคตไทย และ อนาคตโลก จะอยู่ที่ภาคการเกษตร จากปัจจัน ขีดความสามารถทางการเกษตรของไทย จากในปี2561 ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ12ของโลก อันดับ2 ของเอเชีย รองจากจีน และในปี 2562 ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหาร อันดับ 11 ของโลก อันดับ 2 ของเอเชีย และจากศักยภาพเกษตรและอาหารของประเทศไทย วางเป้าหมายสู่อันดับที่ 11 จากอันดับที่ 14 ภายใน2ปีนับ (ที่มา: สถาบันอาหาร, 2562)

นายอลงกรณ์ กล่าวว่าจากสถานการณ์โควิด-19 โจทย์ใหญ่ของโลกในเวลานี้ ไม่ใช่ความปลอดภัยอาหาร( Food Safety) แต่เป็นเรื่อง การเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร (Fiood Shorted) ซึ่งประชากรโลกกำลังเสี่ยงต่อการอดอยาก ซึ่งจากทิศทางดังกล่าว มองว่า ไทย จะต้องช่วยชาวโลกในเรื่องนี้ โดยเตรียมความพร้อมก้าวสู่ท็อปเท็น ผู้ส่งออกอาหารโลก พร้อมตั้งเป้าสู่การเป็น ท็อปไฟว์ จาการนำเครื่อมือ เทคโนโลยีเกษตร 4.0 การนำนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด "กรีนโนเวชัน" มาดำเนินการใช้ไปพร้อมกับการความต้องการ (ดีมานด์) การบริหารจัดการ เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่เกษตรเพื่อสุขภาพ ตอบรับยุคนิวนอร์มอล นับจากนี้ไป

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 12 กันยายน 2563

กรมพัฒนาที่ดิน Kick Off วันดินโลก มุ่งสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรดิน

สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences–IUSS) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ประกาศนียบัตรและประกาศสดุดีพระเกียรติคุณ “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” (The Humanitarian Soil Scientist) แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ ของพระองค์ ให้เป็นวันดินโลก (World Soil Day) เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรดิน ความสำคัญของดิน การสร้างความหลากหลายชีวภาพในดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีผลดีต่อการพัฒนาด้านการเกษตร

โดยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันดินโลกครั้งแรกเมื่อปี 2557 ซึ่งทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านทรัพยากรดินในทุกระดับ อีกทั้งให้ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติกว่า 200 ประเทศทั่วโลก จัดงานนิทรรศการวันดินโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีผลดีต่อการพัฒนาด้านการเกษตร โภชนาการ และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้ประชากรทั่วโลกได้รับรู้และตระหนักถึงทรัพยากรดินที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ส่วนร่วมช่วยอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดไป

ในปี 2563 กลุ่มสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดจัดงานวันดินโลก 5 ธันวาคม 2563 ในหัวข้อ “Keep Soil Alive Protect Soil Biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” เน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมขององค์กรและบุคคล ในรูปแบบของการร่วมมือและสร้างเครือข่ายมากขึ้น ผ่านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือในการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ชุมชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน

สำหรับประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานวันดินโลก ประจำปี 2563 โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรดินอย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมายของสหประชาชาติ กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้จัดประชุมวิชาการ หัวข้อ “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรดิน มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งร่วมผลักดันเรื่องวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้มีการจัดงานวันดินโลกในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี สำหรับในปี 2563 มีการจัดงานวันดินโลกภายใต้หัวข้อ “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดินของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่

ดังนั้นการประชุมทางวิชาการ “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ที่กรมพัฒนาที่ดินจัดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อเป็นการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการ ให้นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพในดิน รวมถึงสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการดูแลรักษาทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความตระหนัก การรับรู้ และความเข้าใจถึงความสำคัญของวันดินโลกด้วย

ด้านนางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานวันดินโลกในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรดินที่ประสบผลสำเร็จ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นที่ยอมรับในประเทศและนานาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรดิน ความสำคัญของดิน การสร้างความหลากหลายชีวภาพในดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีผลดีต่อการพัฒนาด้านการเกษตร

ทั้งนี้ ภายในงานวันดินโลกปี 2563 จะมีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ การจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรดินในด้านต่างๆ ที่เสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์ให้กลับมาเอื้อประโยชน์และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนให้รับรู้กันอย่างกว้างขวางทั่วไป เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตระหนักรู้มากขึ้นและเกิดจิตสำนึกในการเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน และมีส่วนร่วมในกลยุทธ์ที่จะฟื้นฟูรักษาทรัพยากรดิน รวมทั้งการจัดเสวนานักวิชาการเกษตรและหมอดินอาสา เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการประกวดแข่งขันต่างๆ การจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยของเกษตรกร จึงขอเชิญชวนเกษตรกรและผู้สนใจร่วมกิจกรรมวันดินโลก ระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

จาก  https://siamrath.co.th   วันที่ 12 กันยายน 2563

แล้งรุนแรงส่งผลอ้อยเข้าหีบวูบไม่ถึง 70 ล้านตันอ้อย

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่าผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทราย มีความกังวลต่อประเด็นสถานการณ์การเพาะปลูกฤดูการผลิตปีการผลิต 2563/64 ที่หลายพื้นที่เพาะปลูกต้องประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยจากประเมินปริมาณผลผลิตอ้อยในรอบแรกคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ไม่ถึง 70 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ส่งผลต่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 58 โรง จึงได้เตรียมสัมมนาประจำปี 2563 เพื่อร่วมกันหารือถึงแนวทางต่างๆ ในการพัฒนาและบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไปสู่ความยั่งยืน โดยในที่ประชุมจะมีการหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศฤดูการผลิตปี 2563/64 การกำหนดปริมาณมาตรฐานในการผลิตน้ำตาลทราย การสร้างแรงจูงให้แก่ชาวไร่ปลูกอ้อยและการจัดเก็บผลิตอ้อยสดที่มีคุณภาพส่งมอบให้แก่โรงงานน้ำตาล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอ้อยไฟไหม้ เป็นต้น 

“โดยโรงงานจะให้ความสำคัญอ้อยสะอาดและการพัฒนาประสิทธิภาพการหีบสกัดให้ได้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ให้ได้สูงสุดเพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกที่ดี สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทราย ยังได้เชิญตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมด้วยโดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 11 ก.ย. นี้”นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก https://www.thaipost.net  วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

‘กลุ่มKTIS’อวด รายได้งวด9เดือน ทะลุ11,259.8ล้าน ชี้ปริมาณ-ราคาพุ่ง

นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม KTIS เปิดเผยว่าแม้ผลผลิตอ้อยที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายในฤดูการผลิตปี 2562/2563 จะต่ำกว่าปีก่อนกว่า 40% จากปัญหาภัยแล้งแต่รายได้สายธุรกิจน้ำตาลกลุ่ม KTIS งวด 9 เดือน รอบบัญชีปี 2563 (ตุลาคม 2562-มิถุนายน 2563) ยังมีการเติบโตจากปีก่อน 17.5% เพราะปริมาณการขายและราคาขายสูงกว่าปีก่อน และเป็นสายธุรกิจหลักที่ทำให้รายได้รวมของกลุ่ม KTIS ในงวด 9 เดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.6% จาก 10,768.0 ล้านบาท เป็น 11,259.8 ล้านบาท

ทั้งนี้ผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิตปี 2562/2563 ของกลุ่ม KTIS ซึ่งมีประมาณ5.7 ล้านตัน ต่ำกว่าปีก่อน 42.4% นับเป็นการลดลงที่รุนแรง แต่ก็ยังดีกว่าภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมที่ผลผลิตอ้อยทั้งระบบลดลง 42.8% ในขณะที่ผลผลิตน้ำตาลของกลุ่ม KTIS ทำได้ประมาณ 6.0 ล้านกระสอบ ลดลงจากปีก่อน 41.7% ดีกว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่มีปริมาณน้ำตาลทรายลดลงถึง 43.1% สำหรับฤดูการผลิตปี 2563/2564 ที่จะเปิดรับอ้อยเข้าหีบในปลายปี 2563 นี้ แม้สภาพอากาศจะไม่เอื้อต่อการเติบโตของอ้อยมากนัก แต่ก็คาดว่าผลผลิตอ้อยจะสูงกว่าปีการผลิต 2562/2563 ซึ่งการได้อ้อยปริมาณมากขึ้น ก็จะส่งผลให้สายธุรกิจต่างๆ มีวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้นด้วย

ส่วนทิศทางของสายธุรกิจเอทานอลนั้น ปริมาณการใช้เอทานอลเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วในช่วงหลังคลายการล็อกดาวน์ โดยเห็นได้จากปริมาณการใช้เอทานอลเดือนมิถุนายน 2563 กลับมาสูงกว่า 4 ล้านลิตรต่อวัน มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2563 ประมาณ 5 แสนลิตรต่อวัน และเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าและความต้องการเยื่อกระดาษชานอ้อย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

กษ.เดินหน้าตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนโดยมุ่งเน้นสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และวนเกษตร โดยที่ผ่านมาได้ปรับปรุงกลไกการทำงานเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งมีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯเป็นประธาน ติดตามการทำงานและผลักดันให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนตั้งคณะทำงาน 3 คณะได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน คณะทำงานขับเคลื่อนวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ และคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์

สำหรับคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์รายงานความก้าวหน้าล่าสุด (8 ก.ย.2563)ต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 8/2563 มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1.จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) “สกอช.”เสร็จ พร้อมเสนอให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนพิจารณาเดือนนี้2.กำหนดหลักเกณฑ์กลางระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว มาประกอบการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้แทนหน่วยงาน กลุ่มเกษตรกรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา 3.ผนึกความร่วมมือกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) OR มีนโยบาย Living Community ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และพร้อมสนับสนุนจัดสรรพื้นที่ให้กลุ่มเกษตรกรเข้ามาจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสถานีบริการ และ4.จัดทำบิ๊กดาต้าฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ โดยมอบกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการ ทั้งในส่วนเกษตรกรในระยะปรับเปลี่ยน และเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วให้เป็นฐานเดียวกันของข้อมูลพืช สัตว์และประมงอินทรีย์รวมทั้งการเชื่อมโยงเข้าสู่ฐานข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืนที่กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการ

นายอลงกรณ์กล่าวอีกว่า มอบให้คณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซของกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนสร้างผู้ประกอบการเกษตรออร์กานิคออนไลน์ เพื่อขยายตลาดเกษตรอินทรีย์สู่ผู้บริโภคในยุค New Normal ร่วมกับผู้ให้บริการจัดส่งประเภท food delivery ภายใต้โครงการ “ช่วยเกษตร.คอม” (www.ช่วยเกษตร.com) และโครงการยูนิคอนเอ็กซ์ (UniconX) สำหรับโครงการ “ยูนิคอนเอกซ์UniconX” นั้น ต้องการสร้างผู้ประกอบเกษตรและเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ภาคการผลิตถึงภาคการตลาด สร้างงานใหม่ สร้างรายได้ ให้ประชาชน นักศึกษาและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร สร้างผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรสู่ระดับสากล โดยเชื่อมโยงงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาสู่ Startup นวัตกรรม และเป็นบริษัท Unicornในอนาคตเพื่อสร้างพัฒนานวัตกรในสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจเกษตร และพัฒนา Plateform สู่การเชื่อมโยงนักลงทุนกับผู้ประกอบการเพื่อช่วยผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ แต่ขาดเงินทุนเข้าถึงแหล่งทุนนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตรยั่งยืน

จาก https://www.naewna.com วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาด “ทรงตัว”รับแรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติซื้อบอนด์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ที่ 31.31บาท/ดอลลาร์ “ทรงตัว”จากช่วงปิดสิ้นวันก่อน-ระยะสั้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบเช่นสกุลเงินเอเชียอื่นๆรับแรงหนุนจากนักลงทุนไทยลดการออกไปลงทุนนอกและต่างชาติซื้อบอนด์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ที่ 31.31บาท/ดอลลาร์ “ทรงตัว”จากช่วงปิดสิ้นวันก่อน-ระยะสั้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบเช่นสกุลเงินเอเชียอื่นๆรับแรงหนุนจากนักลงทุนไทยลดการออกไปลงทุนนอกและต่างชาติซื้อบอนด์ กรอบเงินบาทระหว่างวัน 31.20-31.40 บาทต่อดอลลาร์

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS)ระบุว่า  อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ระยะสั้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบเช่นเดียวกันกับสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ และมีแรงหนุนจากการซื้อบอนด์ของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่นักลงทุนไทยลดการออกไปลงทุนนอกประเทศอย่างเห็นได้ชัด กดให้บอนด์ยีลด์ของไทยอายุ 10 ปีปรับตัวลงมาที่ระดับ 1.37% ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้เงินบาทสามารถทรงตัวในระดับปัจจุบันได้แม้ตลาดหุ้นจะปิดรับความเสี่ยง

ในคืนที่ผ่านมา ตลาดการเงินทั่วโลกยังคงอยู่ในโหมดปรับฐาน ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 1.8% นอกจากกลุ่มเทคโนโลยีที่กดดันตลาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลง 2.6% มากดดันกลุ่มพลังงานเพิ่มขึ้น

ส่วนฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX 600 เคลื่อนไหวในกรอบแคบและปิดลบ 0.6% ตามตลาดสหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติ “คง” นโยบายการเงินทั้งหมด ขณะที่นาง Christine Lagarde ประธาน ECB ให้ความเห็นว่าการแข็งค่าของเงินยูโรในช่วงที่ผ่านมาไม่ถึงขั้นเป็นปัญหาโดยย้ำเป้าการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรปปีนี้ที่ 8.0% และคาดว่าจะฟื้นตัวแรง 5.0% และ 3.2% ในปี 2021 ถึง 2022 ตามลำดับ

ฟากตลาดเงิน แม้หุ้นจะปรับตัวลงแต่บอนด์ยีลด์ทั่วโลกขยับตัวลงเพียงเล็กน้อย เห็นได้จากยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปีที่ลดลง 1.5bps มาแตะระดับ 0.68% ขณะที่บอนด์ยีลด์เยอรมันทรงตัวที่ -0.44% มีเพียงเงินดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับปอนด์อังกฤษ (GBP) ที่ระดับ 1.28 ดอลลาร์ หลังจากสหภาพยุโรป ขู่ว่าจะการดำเนินการทางกฎหมายกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นาย Boris Johnson ถ้าฉีกข้อตกลง Brexit โดยให้เวลาแก้ไขถึงสิ้นเดือนนี้

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

โรงงานน้ำตาลทรายจัดสัมมนา วางแนวทางบริหารจัดการอุตฯอ้อยและน้ำตาลทรายสู้ภัยแล้ง

โรงงานน้ำตาลทราย จัดสัมมนาใหญ่กำหนดแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไปสู่ความยั่งยืน และเตรียมความพร้อมด้านการเปิดรับผลผลิตอ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 หลังการประเมินผลผลิตรอบแรกในปีนี้ คาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบไม่ถึง 70 ล้านตันอ้อย เหตุหลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 58 โรง ได้เตรียมสัมมนาประจำปี 2563 เพื่อร่วมกันหารือถึงแนวทางต่างๆ ในการพัฒนาและบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไปสู่ความยั่งยืน โดยในที่ประชุมจะมีการหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศฤดูการผลิตปี 2563/64 การกำหนดปริมาณมาตรฐานในการผลิตน้ำตาลทราย การสร้างแรงจูงให้แก่ชาวไร่ปลูกอ้อยและการจัดเก็บผลิตอ้อยสดที่มีคุณภาพส่งมอบให้แก่โรงงานน้ำตาล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอ้อยไฟไหม้ เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทราย มีความกังวลต่อประเด็นสถานการณ์การเพาะปลูกฤดูการผลิตปีหน้า(ปี 2563/64)ที่หลายพื้นที่เพาะปลูกต้องประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยจากประเมินปริมาณผลผลิตอ้อยในรอบแรกคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ไม่ถึง 70 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ส่งผลต่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยโรงงานจะให้ความสำคัญอ้อยสะอาดและการพัฒนาประสิทธิภาพการหีบสกัดให้ได้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ให้ได้สูงสุดเพื่อให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกที่ดี

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายยังได้เชิญตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วย โดยกำหนดจัดให้มีขึ้นในวันที่ 11 ก.ย.63 ที่ห้องบอลรูม 2-3 โรงแรมแชงกรีลา (แชงกรีลา-วิงค์)

จาก https://siamrath.co.th   วันที่ 10 กันยายน 2563

สมาคมชาวไร่อ้อย 37 สถาบัน ยื่นหนังสือ 'รมว.เกษตรฯ' ทบทวนแบนสาร 'พาราควอต'

ตัวแทนสมาคมชาวไร่อ้อย 37 สถาบัน ยื่นหนังสือให้ "รมว.เกษตรฯ" ทบทวนผลกระทบจากการแบนสาร "พาราควอต" หลังเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเดือดร้อนหนักจากการยกเลิกสารดังกล่าว

เมื่อวันที่ 10 ก.ย.63   ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทน 4 องค์กร ได้แก่ สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ในนามตัวแทนสมาคมชาวไร่อ้อย 37 สถาบัน ในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีสมาชิกประกอบอาชีพปลูกอ้อยทั่วประเทศ 400,000 ครัวเรือน ได้ขอเข้าพบ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยื่นหนังสือและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการยกเลิกการใช้สารเคมี "พาราควอต" รวมทั้งนำเสนอข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติม โดยตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย กล่าวว่าภายหลังการยกเลิกการใช้สารเคมี "พาราควอต" ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย

เนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สร้างแรงงาน รายได้เข้าสู่ประเทศปีละหลายแสนล้านบาท การใช้สารออร์แกนิกแทนสารเคมี คงไม่สามารถนำมาใช้กับการทำเกษตรอุตสาหกรรมได้ ดังนั้น การยกเลิกสารดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยอย่างมาก และการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช "พาราควอต" จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้ในทางปฏิบัติ เห็นควรให้อนุญาตใช้สารต่อไปภายใต้การจำกัดการใช้จนกว่าจะหาสารทดแทนอันเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรได้เพิ่มเติม โดยตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้ขอให้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนมาตรการยกเลิกการใช้สารเคมีพาราควอต พร้อมทั้งเห็นควรให้มีการส่งเสริมมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และฝึกอบรมเกษตรกรทั่วประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้สามารถใช้สารเคมีเกษตรได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยต่อไป

ด้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในฐานะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่ดูแลเกษตรกรโดยตรงมีหน้าที่รับฟังปัญหาและเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยจะดำเนินการนำส่งข้อหารือ ข้อเท็จจริง ตลอดจนข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ส่งต่อไปยังคณะกรรมการวัตถุอันตรายต่อไป

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 10 กันยายน 2563

น้ำตาลไทย “สาหัส” 3 ปัจจัยฉุด ใช้กำลังผลิตแค่ 34%

อุตสาหกรรมน้ำตาลไทยสาหัส การใช้กำลังผลิต 7 เดือนแรกหล่นวูบ เหลือแค่ 34% พบ 3 ปัจจัยรุมกระหน่ำ ส่งผลมูลค่าส่งออกยังติดลบอ่วม

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า จากสินค้าน้ำตาลที่ไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกอันดับต้น ๆ ของโลก ในภาพรวมช่วง 7 เดือนแรกปี 2563 มีการใช้กำลังผลิตเพียง 34% ของกำลังผลิตโดยรวม ทั้งนี้เป็นผลพวงจาก 3 ปัจจัยหลัก

1.การบริโภคน้ำตาลทั่วโลกชะลอตัวลง สืบเนื่องจากกสถานการณ์โควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เป็นผลให้ความต้องการบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกชะลอตัวลง จากเดิมที่มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 2% ต่อปี โดยในประเทศไทย พบว่า ในช่วง 9 เดือนแรก ตั้งแต่เริ่มฤดูการผลิตปี 2562/63 (ตุลาคม 2562 - มิถุนายน 2563) มีการบริโภคน้ำตาลรวมประมาณ 1.69 ล้านตัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 187,500 ตัน และหากรวมการบริโภคในช่วง 3 เดือนที่เหลือของฤดูการผลิตปีนี้ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2563 คาดว่าอัตราการบริโภคภายในประเทศโดยรวมจะอยู่ประมาณ 2.25 ล้านตันเท่านั้น ต่ำกว่าร้อยละ 10 จากที่สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ประมาณการไว้ที่ 2.5 ล้านตัน

2.ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกยังหันมาผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น หลังจากราคาน้ำมันตกต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากน้ำตาล

3.ปัญหาภัยแล้ง ทำให้วัตถุดิบลดลง โดยไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก ต้องเผชิญภาวะภัยแล้งรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปีนี้  (ปี2562/63) ลดลงเหลือ 75 ล้านตัน  และจากการประมาณการเบื้องต้นของปริมาณผลผลิตอ้อยประจำฤดูการผลิตปีหน้า (ปี2563/64) จะมีความใกล้เคียงกับฤดูการผลิตปีนี้ อย่างไรก็ตาม ชาวไร่มีความจำเป็นต้องเก็บอ้อยบางส่วนไว้ทำพันธุ์ จึงคาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการปีหน้าลดลงกว่าเดิม เว้นแต่ว่าในช่วงต่อจากนี้ จะมีปริมาณฝนตกกระจายทั่วถึงและต่อเนื่องในพื้นที่เพาะปลูก ก่อนการเก็บเกี่ยวอ้อยส่งเข้าหีบในช่วงเดือนธันวาคม 2563

สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์  โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร ระบุ ช่วง 7 เดือนแรกปี 2563 ไทยมีการส่งออกน้ำตาลทรายมูลค่า 40,935 ล้านบาท ลดลงหรือติดลบ 20.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการส่งออกน้ำตาลทรายดิบ 23,198 ล้านบาท(-28%) น้ำตาลทรายขาว 17,737 ล้านบาท(-7.5%) ตลาดส่งออก 5 อันดับแรกประกอบด้วย อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา เกาหลีใต้ และไต้หวัน สัดส่วนการส่งออก 40.9%, 20.1% , 6.5%, 5.4% และ 4.8% ตามลำดับ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 กันยายน 2563

“ก.พลังงาน” เร่ง Big Data เชื่อมข้อมูลขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

“กระทรวงพลังงาน” พร้อมเดินหน้าจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ หลังได้ข้อสรุปจากผลการศึกษา วางภารกิจหลักเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง บูรณาการและเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานให้กับทุกภาคส่วน

​นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนา “สรุปผลการศึกษาโครงการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย”ว่า แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์และการออกแบบในการจัดตั้ง “ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ” (National Energy Information Center : NEIC) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการศึกษาและขณะนี้มาถึงบทสรุปผลการศึกษาของโครงการฯ แล้ว โดยได้จัดสัมมนาขึ้นเพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ร่วมให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก่อนที่จะนำผลสรุปที่ได้ดำเนินการต่อไป

​สำหรับผลการศึกษาได้วางวิสัยทัศน์ของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติให้เป็นผู้ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศด้านพลังงานของประเทศที่ตรงตามความต้องการและเป็นที่เชื่อถือของผู้ใช้ทุกกลุ่ม ทุกประเด็น โดยวางพันธกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้มาตรฐานสากล ตามหลักธรรมาภิบาลและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลทุกกลุ่ม โดยประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายในการรับและเผยแพร่ข้อมูลพลังงาน สามารถให้บริการข้อมูล บทวิเคราะห์ การคาดการณ์ด้านพลังงานให้แก่ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ เสริมสร้างความเข้าใจ สร้างการเข้าถึงแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

​ทั้งนี้ได้วางแนวทางที่เป็น Road Map ในการพัฒนาศูนย์ฯ เป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ปี 2564-2566 เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายในกระทรวงพลังงาน เพื่อจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐด้านพลังงานให้เป็นรากฐานที่สำคัญ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อเชื่อมต่อระบบคลาวด์กลางภาครัฐ

ระยะที่ 2 ปี 2567-2569 เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายนอกกระทรวงพลังงาน เตรียมความพร้อมตามแนวทางของรัฐบาลในการมุ่งสู่แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

และระยะที่ 3 ปี 2570-2579 เป็นการเชื่อมโยงคลังข้อมูลแห่งชาติ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการให้บริการข้อมูลสารสนเทศเชิงพาณิชย์แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผลักดันให้ศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานที่มีความอิสระและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

​“ในสถานการณ์ที่ประเทศต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การบริหารจัดการกับ Big Data จึงมีความจำเป็นต้องเร่งประยุกต์นำ Big Data มาใช้กับเทคโนโลยี เพื่อช่วยบริหารจัดการ วางนโยบายและมาตรการด้านพลังงานให้สอดคล้องกับวิถีแบบใหม่หรือ New Normal เพื่อสามารถตอบสนองได้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ และพฤติกรรมของผู้คนที่จะปรับเปลี่ยนไปหลังผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ซึ่ง สนพ. เชื่อมั่นว่าการนำผลการศึกษาที่ได้เป็นข้อเสนอการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงข้อมูลแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศต่อไป”

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 กันยายน 2563

เกษตรฯ เล็งจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ

“อลงกรณ์” เผย เกษตรฯ เดินหน้าตั้งไข่จัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ เร่งจัดทำบิ๊กดาต้า พร้อมผนึกปตท.และUniconXหนุนเกษตรกรจำหน่ายสินค้าออร์กานิคทั้งออฟไลน์และออนไลน์

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวันนี้ (9 ก.ย.63) ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และวนเกษตรโดยที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงกลไกในการทำงานเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งมีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน รวมถึงติดตามการทำงานและผลักดันให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ตลอดจนแต่งตั้งคณะทำงาน 3 คณะ ได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน คณะทำงานขับเคลื่อนวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ และคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ได้รายงานความก้าวหน้าล่าสุด(8ก.ย.)ต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 8/2563 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1. จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) “สกอช.”เสร็จเรียบร้อยพร้อมเสนอให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนพิจารณาภายในเดือนนี้ 2. กำหนดหลักเกณฑ์กลางระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้จัดสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว มาประกอบการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้แทนหน่วยงาน กลุ่มเกษตรกรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนแล้วเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

3.ผนึกความร่วมมือกับบริษัท ปตท.น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) มีนโยบาย Living Community ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และพร้อมให้การสนับสนุนและจัดสรรพื้นที่ให้กับกลุ่มเกษตรกรเข้ามาจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสถานีบริการ และ 4. จัดทำบิ๊กเดต้าฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ โดยมอบกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการ ทั้งในส่วนของเกษตรกรที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน และเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วให้เป็นฐานเดียวกันของข้อมูลพืช สัตว์ และประมงอินทรีย์ รวมทั้งการเชื่อมโยงเข้าสู่ฐานข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืนที่กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการ

นายอลงกรณ์กล่าวว่า ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซของกระทรวงเกษตรฯสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการเกษตรออร์กานิคออนไลน์เพื่อขยายตลาดเกษตรอินทรีย์สู่ผู้บริโภคในยุคnew normalร่วมกับผู้ให้บริการจัดส่งประเภทfood deliveryภายใต้ โครงการช่วยเกษตร.คอม (www.ช่วยเกษตรกร.com)และ โครงการยูนิคอนเอ็กซ์ (UniconX) โดยมีวัตถุประสงค์ 1.สร้างผู้ประกอบเกษตรและเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ต้นน้ำภาคการผลิตถึงภาคการตลาด 2. สร้างงานใหม่ๆ สร้างรายได้ ให้กับประชาชน นักศึกษาและเกษตรกรที่ได้รับลกระทบจากโควิด-19 ในการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร 3.สร้างผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร สู่ระดับสากล โดยเชื่อมโยงงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาสู่ Startup นวัตกรรม และเป็นบริษัท Unicorn ในอนาคตเพื่อเสริมสร้างการพัฒนานวัตกรในสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจเกษตร และ 4.พัฒนา Plateform สู่การเชื่อมโยงนักลงทุนกับผู้ประกอบการเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพแต่ขาดเงินทุนเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 กันยายน 2563

โรงไฟฟ้าชุมชน : เดินหน้าต่อไป?

มนูญ ศิริวรรณ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ตอบคำถามเมื่อเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีพลังงาน นโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนฯจะยังเดินหน้าต่อไปหรือไม่

หนึ่งในข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายพลังงานที่สื่อ มวลชนและผู้เกี่ยวข้องในวงการพลังงานสนใจคือ นโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่รัฐมนตรีพลังงานคนก่อน คือ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ได้เริ่มต้นเอาไว้จะได้รับการสานต่อโดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้โครงการนี้ถูกชะลอเอาไว้ด้วยเหตุผลว่าไม่อยู่ในแผนการผลิตไฟฟ้าระยะยาว หรือ PDP 2018

ต่อมาถึงแม้จะมีการแก้ไขแผน PDP 2018 เป็นฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ที่มีการบรรจุเรื่องโรงไฟฟ้าชุมชนเข้าไปด้วย แต่แผน PDP ฉบับแก้ไขก็ยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี ทำให้ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไม่สามารถออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนได้

ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี จึงเป็นที่จับตามองว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนจะได้รับการพิจารณาให้เดินหน้าต่อหรือไม่

เรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีพลังงานท่านใหม่ได้แถลงไว้อย่างชัดเจนเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนต่อไป เพียงแต่จะขอเวลา 30 วันในการปรับรูปแบบโครงการ โดยได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทบทวนหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการเพื่อให้เกษตรกรได้ประโยชน์จากโครงการอย่างแท้จริงไม่ใช่เอกชนผู้ลงทุนเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุด และตั้งเป้าหมายว่าจะประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้ยื่นเสนอโครงการได้ภายในปลายปีนี้

เบื้องต้นจะทำเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้เห็นว่าเกษตรกรเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เกิดการจ้างงาน และมีรายได้จากการปลูกและขายพืชพลังงานเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า

ส่วนเรื่องแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ที่รอเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีนั้น ก็จะดึงกลับมาก่อนเพื่อปรับปรุงอีกครั้งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะโควิด-19 โดยจะไม่กระทบกับการดำเนินการของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน เพราะสามารถจัดทำเป็นบทแทรกอยู่ในแผน PDP 2018 ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เพื่อรองรับการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนเข้าระบบได้

ถ้าดูจากการแถลงข่าวดังกล่าวก็พอจะสรุปได้ว่าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนคงเดินหน้าต่อไป แต่ด้วยแรงผลักดันที่ลดน้อยลงจากเดิม เพราะไม่ใช่โครงการสำคัญตามนโยบายของฝ่ายการเมืองอีกต่อไป ดังนั้นเป้าหมายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมถึง 1,933 MW (700 MW ภายในปี 2565) ตามแผน PDP 2018 ฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ก็คงต้องถูกยกเลิกไป แล้วมากำหนดกันใหม่

ส่วนหลักเกณฑ์ที่จะแก้ไขให้ผลประโยชน์ตกแก่ชุมชนและประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าจริงๆ นั้น ผมขอเสนอให้ปรับเกณฑ์การเปิดให้ผู้สนใจที่จะลงทุน ยื่นประมูลในสองเงื่อนไขคือ ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะให้กับชุมชน และราคาค่าไฟฟ้าที่จะขายเข้าระบบ โดยพิจารณาว่าใครให้ผลตอบแทนกับชุมชนสูง แต่คิดค่าไฟฟ้าตํ่าก็ชนะไป โดยรัฐไม่ควรไปกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าเอาไว้เองล่วงหน้าอย่างหลักเกณฑ์ในปัจจุบัน เพราะมักจะกำหนดเอาไว้สูงเพื่อจูงใจผู้ผลิต ซึ่งเป็นสาเหตุของค่าไฟฟ้าแพงและการวิ่งเต้นเพื่อขอโครงการและนำโครงการไปแสวงหากำไรครับ !!!

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 กันยายน 2563

“เฉลิมชัย” เร่งเกษตรกรปรับตัวสู่ยุค New Normal

ก.เกษตรฯ เดินหน้ามาตรการเกษตรวิถีใหม่  ชี้การพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก ไม่ใช่แนวทางยั่งยืนอีกต่อไป ย้ำต้องพัฒนาให้เกษตรกรยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า เรียนรู้เทคโนโลยี และปรับตัวให้เท่าทันวิกฤติต่าง ๆ ก้าวสู่ความเป็น Smart Farmer และทำเกษตรกรรมยุค 4.0 ได้เป็นอย่างดี

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการให้ทุกหน่วยงานส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถรับมือและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ หรือ New Normal เนื่องจากทุกภาคส่วนของประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงปัจจุบัน จึงต้องมีกระบวนการฟื้นฟู โดยรัฐได้ดำเนินมาตรการเยียวยา รวมทั้งทำโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ จากนี้ไปเกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เพื่อพัฒนาภาคเกษตรให้ดีขึ้นด้วยแนวทางใหม่ ๆ

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคการเกษตรไทยพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก แต่จากนี้อาจไม่ใช่เส้นทางเดียวที่นำไปสู่ความยั่งยืน จึงมอบหมายให้ทุกหน่วยงานเร่งพัฒนาความสามารถของเกษตรกรในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพและมีมาตรฐานยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง ปรับตัวในสถานการณ์วิกฤติต่างๆ ได้ พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถให้ก้าวสู่ความเป็น Smart Farmer ในภาคเกษตรกรรมยุค 4.0     

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ขยายตลาดสู่ช่องทางตลาดออนไลน์ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยในสถานการณ์โควิด-19 ประชาชนหันมาจับจ่ายใช้สอยผ่านออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งปัจจุบันมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งถึงผู้บริโภคได้โดยตรง นอกจากนี้ จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้เป็นตัวเลือกหนึ่งในการท่องเที่ยวของคนในประเทศ สอดคล้องกับแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติ เช่น มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านการเกษตร วิถีดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะช่วยเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวต้องยกระดับการให้บริการ โดยยึดหลักความสะอาด ปลอดภัย และมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวด มีอาหารและผลผลิตทางการเกษตรวางจำหน่าย    

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า เกษตรวิถีใหม่ให้ความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร นำผลผลิตมาแปรรูปหรือทำให้สินค้ามีราคามากขึ้น เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ทั้งสินค้าอาหาร ผ้าและสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรมและสิ่งประดิษฐ์จากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้น การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะมีความสำคัญมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนเช่น ระบบฟาร์มอัจฉริยะที่มีการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์เกี่ยวกับการทำเกษตรผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต รวมทั้งผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จัดทำศูนย์การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการทำเกษตรแบบสมัยใหม่และช่วยให้ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ ได้ สิ่งสำคัญคือ เกษตรกรต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้จึงจะทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้เพิ่มพูนขึ้น

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 9 กันยายน 2563

กรมชลฯบริหารจัดการน้ำตามแผน เน้นเก็บกักในเกณฑ์ควบคุม-ไม่กระทบท้ายอ่าง

ชป.เผย.บริหารจัดการน้ำตามแผน เน้นเก็บกักน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม ไม่ให้ส่งผลกระทบพื้นที่ท้ายอ่าง

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากฝนที่ตกกระจายในหลายพื้นขณะนี้ ส่งผลให้มีปริมาณไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเพิ่มมากขึ้น กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้ เน้นเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด โดยควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ของโค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Reservoir Operation Rule Curve) ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่าง

ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยในพี่น้องประชาชนที่อาจจะประสบกับปัญหาทั้งภัยแล้ง และน้ำท่วม ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยเน้นเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ของโค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Reservoir Operation Rule Curve) เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างฯ รวมถึงเก็บกักน้ำในพื้นที่แก้มลิง และแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน (8 ก.ย.63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 36,203 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่าง รวมกัน มีน้ำใช้การได้ประมาณ 12,401 ล้าน ลบ.ม.สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 39,864 ล้าน ลบ.ม.เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 9,858 ล้าน ลบ.ม.หรือร้อยละ 40 ของความจุอ่างรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 3,162 ล้าน ลบ.ม.สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 15,013 ล้าน ลบ.ม.

ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ พบว่ามีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุอ่าง 42 แห่ง โดยเป็นอ่างฯขนาดกลางทั้งหมด กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในอ่างเหล่านี้ ให้อยู่ในเกณฑ์ของโค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Reservoir Operation Rule Curve) และสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โดยไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างฯ นอกจากนี้ ยังกำชับให้โครงการชลประทานทุกแห่งทั่วประเทศ จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังเจ้าหน้าที่ ให้พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมทั้งเน้นย้ำให้เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ การกำจัดวัชพืชในลำน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้ดียิ่งขึ้น

จาก https://www.naewna.com วันที่ 8 กันยายน 2563

“สุพัฒนพงษ์” ยันโรงไฟฟ้ชุมชนเดินหน้าต่อ แค่ปรับหลักเกณฑ์ซื้อไฟใหม่

“สุพัฒนพงษ์” เดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชน แต่ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ ฟิกผลประโยชน์ตอบแทนชุมชน แต่ไปเน้นการแข่งขันที่ราคาค่าไฟฟ้า พร้อมปรับเงินส่งเข้ากองทุน สำหรับโรงไฟฟ้าจากน้ำเสียและพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ เพิ่มขึ้นจากที่กำหนด 25 ส.ต.ต่อหน่วย

แหล่งข่าวจากระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งจัดทำรายละเอียดของโรงไฟฟ้าชุมชนขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ต้องกลับไปใช้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ พีดีพี 2018 เดิมที่ใช้อยู้ในปัจจุบัน ซึ่งไม่มีการบรรจุโรงไฟฟ้าชุมชนเข้าอยู่ในแผนจำนวน 1,933 เมกะวัตต์

ดังนั้น การเดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชน ตามแผนที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน วางเป้าหมายไว้ จะต้องถูกปรับเปลี่ยน  และให้ยึดตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือแผนAEDP2018 แทน โดยโรงไฟฟ้าชุมชน จะกระจายเข้าไปอยู่ในแต่ละประเภทเชื้อเพลิง ตามแผน AEDP2018 ที่กำหนดไว้ โดยเน้นไปที่เชื้อเพลิงประเภทน้ำเสีย ที่นำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลิงจากชีวมวล เชื้อเพลิงจากพืชพลังงาน เพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น  ส่วนสัดส่วนของแต่ละประเภทเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชุมชน จะเป็นเท่าใดนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงาน

นอกจากนี้ ในการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนนั้น จะมีอยู่ 2 แนวทาง โดยแนวทางแรก จะเป็นการกำหนดเงื่อนไขผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับชุมชนที่มีความแน่นอน และประมูลแข่งขันด้านราคา จะได้รับอัตราค่าไฟฟ้าในรูปของ Feed in Tariff -FiT ที่สูงกว่าปกติ ส่วนอีกแนวทาง เป็นการพิจารณาจากโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้จัดสรรผลประโยชน์ให้กับชุมชน  แต่จะต้องแข่งขันราคา เพื่อขายไฟฟ้าเข้าระบบตามต้นทุนที่ต่ำที่สุด

อีกทั้ง จะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขโรงไฟฟ้าชุมชน ที่เสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้ชุมชน จากเดิมที่กำหนดให้ต้องส่งเงินเข้ากองทุนในอัตรา 25 สตางค์ต่อหน่วย จะเพิ่มเป็น 35 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้น้ำเสีย เป็นเชื้อเพลิงผลิตก๊าซชีวภาพ รวมถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วย เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายเชื้อเพลิงกับเกษตรกรหรือชุมชน ซึ่งเงื่อนไข รายละเอียดต่างๆ คาด่าจะได้ข้อสรุปประมาณกลางเดือนกันยายนนี้

อย่างไรก็ตาม โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนที่ยังดำเนินการอยู่ จะเหลือเพียง โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่อำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซึ่งใช้ซังข้าวโพด เป็นเชื้อเพลิง และ ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ใช้หญ้าเนเปียร์ เป็นเชื้อเพลิง เท่านั้น

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 8 กันยายน 2563

ชงรัฐแก้วิกฤตต้นทุนโลจิสติกส์ คาดส่งออกปีนี้ติดลบ10%

สรท.จี้รัฐต้องเอาจริงแก้ปัญหาต้นทุนโลจิสติกส์พุ่ง หวังบรรเทาผลกระทบผู้ส่งออก-นำเข้า ขณะที่ภาพรวมส่งออก 7 เดือนแรกยังติดลบ 7.7% จากพิษโควิด-เศรษฐกิจโลก-บาทแข็ง

น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ  โดยจะนำเรื่องดังกล่าวหารือในการประชุมคณะกรรมการร่วมเอกชน3 สถาบันได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย  ในวันที่ 9 ก.ย.นี้

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการให้แก้ไข เช่น ปรับความสูงของรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสิ่งของขนาด High Cube (HC)  และรถบรรทุกรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 18 เป็น 4.6 เมตร   การเลื่อนบังคับใช้ประกาศการท่าเรือฯ เรื่องกำหนดอัตราค่าภาระของเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ  A) ท่าเรือแหลมฉบังและ ประกาศการท่าเรือฯ เรื่องให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการ บรรทุกตู้สินค้าลงเรือ (Loading Container) ณ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) และกำหนดนโยบายลดต้นทุนการขนส่งชายฝั่งให้สามารถแข่งขันกับการขนส่งรูปแบบอื่น

นอกจากนี้ขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่า Cargo Dues สำหรับเรือ Barge ที่ขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า ระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง ผ่านร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยาเข้าไปขนถ่าย หรือส่งมอบ ณ ท่าเรือเอกชน หรือท่าเรืออนุญาตที่ตั้งอยู่ในบริเวณอาณาเขตท่าเรือกรุงเทพ  ขณะเดียวกันขอให้เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภายใต้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับยกระดับประสิทธิภาพโลจิสติกส์

สำหรับสถานการณ์การส่งออก เดือนก.ค. 2563 มีมูลค่า 18,819 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 11.37% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 15,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง 26.38 % ส่งผลให้เกินดุลการค้า 3,343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (การส่งออกเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกติดลบ12.97%)  โดยภาพรวมช่วง 7 เดือนแรก ของปีนี้ ไทยส่งออกรวมมูลค่า 133,162 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 7.72% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 119,118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 14.69 %  เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 14,044 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตามคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563  ติดลบ 10% โดยยังมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สถานการณ์การระบาดโควิด-19  ทิศทางการนำเข้าหดตัวลง แต่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการส่งออก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการผลิตและส่งออกโดยใช้วัตถุดิบและสินค้าที่มีอยู่เดิม ประกอบกับความเชื่อมั่นในตลาดโลกที่ยังไม่ดีนัก

นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในทิศทางที่แข็งค่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐที่ยังคงมีแนวโน้มตึงเครียดในหลายประเด็นต่อเนื่อ ด้านระดับราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ระดับต่ำกว่าปี 2562 มากกว่าร้อยละ 30

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 8 กันยายน 2563

ชาวไร่คาดอ้อยเข้าหีบปี 63/64 แค่ 66 ล้านตัน แตะ 100 ล้านตันอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปี

ชาวไร่อ้อยเผยปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2563/64 เบื้องต้นที่รวบรวมคาดว่าจะอยู่ระดับ 65-66 ล้านตันอ้อยเท่านั้น ยอมรับภัยแล้งกระทบต่อเนื่อง คาดผลผลิตอ้อยไทยจะกลับไปสู่ระดับ 100 ล้านตันขึ้นไปอาจต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี ขณะที่ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลประเมินอยู่ที่ 69.43 ล้านตัน พื้นที่เพาะปลูก 8.7 ล้านไร่ รับผลผลิตไม่สมดุลกับโรงงานที่มีมากถึง 57 แห่ง

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 เปิดเผยว่า ขณะนี้ 37 สถาบันชาวไร่อ้อยอยู่ระหว่างการรวบรวมปริมาณอ้อยทั่วประเทศเพื่อประมาณการอ้อยเข้าหีบปีการผลิต 2563/64 (ครั้งที่ 2) ก่อนที่จะแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เพื่อประกอบสำหรับทำบัญชีจัดสรรปริมาณอ้อยขั้นสุดท้ายให้โรงงานน้ำตาล ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าปริมาณอ้อยเข้าหีบจะอยู่ประมาณ 65-66 ล้านตัน ต่ำกว่าฤดูหีบปี 2562/63 ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน ดังนั้นมีแนวโน้มว่าโอกาสจะเห็นผลผลิตอ้อยไทยกลับไปสู่ระดับ 100 ล้านตันขึ้นไปอีกครั้งน่าจะใช้เวลาอีก 2-3 ปี

“อ้อยเข้าหีบฤดูผลิตปี 2563/64 ยอมรับว่ายังคงต่ำต่อเนื่องอีกครั้ง เพราะปัจจัยหลักๆ คือภัยแล้งที่แม้ว่าล่าสุดฝนจะมีมาแต่ก็ค่อนข้างมาล่าช้าทำให้อ้อยตอเดิมที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งอยู่แล้วไม่ดีขึ้น ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยบางส่วนได้เลิกการปลูกอ้อยเนื่องจากราคาอ้อยตกต่ำต่อเนื่อง เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลผลิตอ้อยฤดูหีบปีนี้จะยังคงลดต่ำลง” นายนราธิปกล่าว

สำหรับราคาอ้อยขั้นต้นที่จะเอื้อให้เกิดการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นควรจะอยู่ระดับ 1,000 บาทต่อตันขึ้นไปเนื่องจากยังพอมีกำไรที่จะลงทุนตออ้อยใหม่หรือใส่ปุ๋ยบำรุงตอ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการคำนวณราคาอ้อยนั้นปัจจัยสำคัญมาจากราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกซึ่งยังคงมีแนวโน้มตกต่ำเฉลี่ย 12-13 เซ็นต์ต่อปอนด์ ขณะที่ราคาระดับ 1,000 บาทต่อตันขึ้นไปราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกจะต้องอยู่ที่ประมาณ 17 เซ็นต์ต่อปอนด์

แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้แก่ สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย และสมาคมการค้าและอุตสาหกรรม กล่าวว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้มีการรวบรวมข้อมูลและนำส่งให้ สอน.เพื่อเป็นข้อมูลประกอบสำหรับทำบัญชีจัดสรรปริมาณอ้อยขั้นสุดท้ายให้โรงงานน้ำตาลแล้ว โดยข้อมูลได้สำรวจจากโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศทั้ง 57 แห่ง สรุปเป็นประมาณการไว้ที่ 69.43 ล้านตัน จากจำนวนไร่อ้อย 8.7 ล้านไร่ คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่ 8.6 ตันต่อไร่

“ยอมรับว่าปริมาณอ้อยปี 2560/61 อยู่ที่ 134.93 ล้านตัน ต่อมาฤดูหีบปี 61/62 อยู่ที่ 130.97 ล้านตัน แต่พอปี 2562/63 ผลผลิตอยู่ที่เพียง 74.89 ล้านตันซึ่งนับเป็นผลผลิตที่ต่ำสุดรอบ 10 ปีเพราะเจอภัยแล้งและยังกระทบต่อเนื่องมาสู่การผลิตในฤดูหีบใหม่ (ปี 63/64) ที่จะเปิดในปลายปีนี้ให้ลดลงอีก ย่อมส่งผลกระทบต่อโรงงานเนื่องจากปริมาณอ้อยลดต่ำไม่สมดุลกับกำลังการผลิตที่โรงงานมีมากถึง 57 แห่งที่ควรมีปริมาณอ้อยเข้าหีบถึง 110 ล้านตันจึงจะเหมาะสม” แหล่งข่าวกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 8 กันยายน 2563

ชี้แบนสารเคมีสูญ 2 ล้านล้าน ส.อ.ท.วอนรัฐทบทวนอย่าใช้ 2 มาตรฐาน

ส.อ.ท.ระดมสมองเอกชน-เกษตรกร วอนรัฐทบทวนมติแบน 3 สารเคมี หลัง 3 เดือนจากคำสั่งวุ่นกระทบอุตสาหกรรมเคมี-อุตสาหกรรมต่อเนื่อง 2 ล้านล้านบาท แถมผู้ค้าต่างจังหวัดแอบแบ่งพาราควอตขายหนีโทษ โวยรัฐปฏิบัติ 2 มาตรฐานแบนในไทยกลับให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ด้านนักวิชาการแนะ6 ข้อปฏิบัติใช้ยาปราบศัตรูพืช

นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์ และกรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานเสวนา “เคมี พระเอกหรือผู้ร้าย” ว่า นับตั้งแต่มีการสั่งแบน 2 สารเคมี(พาราควอต คลอร์ไพริฟอส) และจำกัดการใช้สารไกลโฟเซต เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา ผลที่เกิดขึ้นคือกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องถึง 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวเป็นต้นน้ำของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทั้งยา เกษตร ปิโตรเคมี อาหาร เป็นต้น ซึ่งในปี 2562 จากข้อมูลระบุว่า ไทยยังคงมีการส่งออกสารเคมีมูลค่า 102,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งประเทศ และมีการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอุปโภค/บริโภค มูลค่า 480,000 ล้านบาทเป็นอันดับ 4 ของสินค้านำเข้าไทย

ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดเวลา 90 วัน ให้เกษตรกรนำสารพาราควอตส่งคืนภายในวันที่ 29 ส.ค.2563 ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าเกษตรกร และร้านค้าจำหน่ายที่ครอบคลุม 2 สาร อยู่ในขณะนี้ต้องนำส่งเพื่อทำลาย มีความกังวลถึงการมีค่าใช้จ่ายการกำจัด 100,000 บาท ที่ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และขณะนี้มีเพียง บริษัท อัคคีปราการ จำกัด แห่งเดียวเท่านั้น ที่รับกำจัดได้ถูกระบบ ผลที่ตามมาคือพบว่ามีการลักลอบใช้และขายกัน

“มีการพูดถึงสารกลูโฟซิเนตที่จะเป็นสารทดแทนพาราควอต แต่ทางกรมวิชาการเกษตรยังไม่มีการประกาศอย่างชัดเจน และกลูโฟซิเนตเองก็ยังพบว่ามีส่วนผสมของพาราควอตอยู่ดีดังนั้น หากรัฐจะให้เลิกใช้สารเคมีก็ไม่ควรใช้สารเคมีมาเป็นตัวทดแทนอีก รัฐเองควรวางศักดิ์ศรีอื่นไว้ แล้วทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ”

ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ล่าสุดมีการรายงานพบว่าในพื้นที่ จ.นครปฐม มีการแบ่งพาราควอตใส่ขวดอื่น โดยระบุว่าเป็นฮอร์โมนเพื่อระบายพาราควอตให้หมด เนื่องจากกังวลว่าจะได้รับโทษเพราะยังมีเหลือครอบครองอยู่ โดยกฎหมายจะเอาผิดด้วยการปรับสูงถึง 1 ล้านบาท จำคุก 10 ปี สมาคมจึงเสนอขอทบทวนมติการแบนพาราควอต เป็นที่น่าสังเกตว่าขั้นตอนการพิจารณายกเลิกการใช้พาราควอต ไม่ใช่ขั้นตอนปกติของกรมวิชาการเกษตร นอกจากการแบนสารอย่างเร่งรีบแล้ว ยังไม่มีความพร้อมของสารทดแทน ที่มีคุณสมบัติประสิทธิภาพและราคาที่ใกล้เคียงกับพาราควอต ไม่มีชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง มีแต่ชีวภัณฑ์ปลอมปนด้วยสารพาราควอตและไกลโฟเซต ยกตัวอย่าง

ขั้นตอนการแบนสารในสหภาพยุโรป เช่น สารกำจัดวัชพืชกลูโฟซิเนต ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ระบบสืบพันธุ์และการเจริญของทารกผิดปกติ และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่การประกาศยกเลิกการใช้ในปี 2561 ซึ่งกระบวนการใช้เวลานานถึง 13 ปี ทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัวที่จะหาวิธีการหรือสารทดแทน และ phase out สินค้าออกจากตลาดแต่ในขณะที่ไทยกลับผ่อนผันให้ภาคอุตสาหกรรมนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศที่ยังใช้พาราควอต และมีค่าตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐาน CODEXไปจนถึง 1 มิ.ย. 2564 ซึ่งเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐาน ทำให้เกิดคำถาม

สำหรับผู้บริโภคว่า พาราควอตตกค้างนิดเดียวก็อันตรายตามที่รัฐสั่งแบนแต่ทำไมยังอนุญาตให้นำเข้าอาหารที่ปนเปื้อนพาราควอตมาให้คนไทยบริโภครัฐควรมีการผ่อนผัน และควรตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิจาก 2 ฝ่าย เพื่อร่วมกันทบทวนหลักฐานที่ใช้ประกอบการแบนพาราควอตว่าถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อลดความขัดแย้งและความไม่เสมอภาคที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การใช้สารเคมีซึ่งจะเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายนั้น ต้องดูที่ 2 ส่วน คือ 1.ปริมาณการใช้ 2.ความเข้มข้นของสาร และสิ่งสำคัญคือ ต้องมีมาตรฐานการใช้เพื่อบอกว่าในพื้นที่มีการฉีดพ่นสารเคมีอะไรบ้าง ส่วนวิธีการใช้ยาปราบศัตรูพืชให้เหมาะสม คือ 1.รัฐควรต้องมีกฎหมายควบคุมที่เข้มงวดตั้งแต่เรื่องของการจัดจำหน่าย การซื้อ การติดฉลาก

2.เกษตรกรที่จะใช้ยาปราบศัตรูพืช ควรต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษเพื่อให้ใช้อย่างปลอดภัย

3.ยาปราบศัตรูพืชบางชนิดที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ควรที่จะให้เกษตรกรที่มีใบอนุญาตเท่านั้นถึงจะใช้ได้

4.คนที่ฉีดพ่นยาปราบศัตรูพืชนั้น จะต้องใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันให้ถูกต้องเหมาะสม

5.ควรที่จะมีการติดป้ายเตือนว่าเรือกสวนไร่นาแปลงใด ได้ถูกฉีดพ่นยาลงไปด้วย

6.ภาชนะบรรจุยาปราบศัตรูพืชที่ใช้หมดแล้ว ก็ต้องถูกนำไปทำลายทิ้งอย่างปลอดภัย

“สารเคมีอยู่กับเรามาตลอด มันอยู่ที่ปริมาณการใช้ อย่างน้ำเปล่าทั้งที่เรารู้ว่าน้ำคือมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าเราดื่ม 6 ลิตรภายในเวลา 1 ชั่วโมง ก็มีสิทธิตายเหมือนกัน เพราะเรารับน้ำมากเกินไปก็เช่นเดียวกับสารเคมีอื่น ๆ ถ้าใช้ในปริมาณที่พอดีมันก็เกิดประโยชน์”

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 6 กันยายน 2563

ไทยชู‘พลังงานสร้างชาติ’ เสนอที่ประชุมระดับอาเซียนปีนี้

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยผลการประชุมออนไลน์เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 38 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 38th Senior Officials Meeting on Energy andAssociated Meetings : The 38th SOME) ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 27 สิงหาคม 2563 ว่า ในการประชุมครั้งนี้มีประเด็นการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

1.การกำหนดแนวทางการดำเนินงานในแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนระยะที่ 2 (APAEC PHASE II)ซึ่งจะใช้ในปี 2021-2025 พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนระยะที่ 1(APAEC PHASE I) และโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องไปในอนาคตที่อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ 7 สาขาคือ ความร่วมมือด้านไฟฟ้า ความร่วมมือด้านปิโตรเลียม ความร่วมมือด้านถ่านหิน ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน ความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน ความร่วมมือด้านนโยบายและแผนพลังงาน และความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมทางพลังงานในการขับเคลื่อนสาขาพลังงานในยุคเปลี่ยนผ่าน (Energy transition)

2.การอภิปรายแนวโน้มและสถานการณ์พลังงานโลก ปัญหาที่เผชิญและแนวทางการฟื้นฟูทางด้านพลังงานภายหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นประเด็นที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา รวมถึงองค์กรด้านพลังงานระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ส่งผลในวงกว้างต่อเศรษฐกิจการจ้างงานและรูปแบบการใช้และจัดหาพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังได้มีการหารือแนวทางการรับมือในกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อด้านพลังงานในอนาคตอีกด้วย

3.ประเทศไทยได้เสนอนโยบาย “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ซึ่งเป็นนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางในการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค

“ประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งให้การสนับสนุนโยบายดังกล่าว เพราะจะเป็นแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สำคัญ และก่อให้เกิดการจ้างงานภายในภูมิภาค โดยจะเตรียมเสนอต่อที่ประชุมในระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 38 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 พฤศจิกายน 2563 นี้ต่อไป”นายกุลิศกล่าว

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563

CPF รุกพลังงานทดแทน ลดต้นทุน สร้างสมดุลธุรกิจ

ซีพีเอฟ รุกพลังงานทดแทน โซล่าร์รูฟท็อป ไบโอก๊าซ พลังงานชีวมวล หวังลดต้นทุนธุรกิจสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟได้ใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้ใช้ทรัพยากรคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น นำชิ้นเนื้อขนาดเล็กจากกระบวนการผลิตไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า

รวมทั้งการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำในการทำฟาร์มกุ้งโดยไม่ปล่อยน้ำออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และการใช้พลังงานหมุนเวียน 3 ประเภท คือ พลังงานจากชีวมวล พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้พลังงานจากไฟฟ้าและน้ำมัน

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลง 15% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558 ซึ่งปัจจุบันโครงการพลังงานของบริษัทฯยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโซล่าร์ รูฟท็อป บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนัก 24 แห่ง จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563 และโครงการนำร่องโซล่าร์เซลล์แบบติดตั้งบนพื้นดินในฟาร์มสุกร 16 แห่ง และพร้อมขยายสู่ทุกฟาร์มสุกรทั่วประเทศ ตลอดจนตั้งเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปี 2565

ทั้งนี้ ปี 2562 ธุรกิจซีพีเอฟในไทยใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วน 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด แยกเป็นพลังงานจากชีวมวล (เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด) 1.857 ล้านกิกะจูล พลังงานจากไบโอก๊าซ 1.017 ล้านกิกะจูล และพลังงานแสงอาทิตย์ 439 กิกะจูล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 425,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เทียบเท่าต่อปี ประหยัด 250 ล้านบาท

“เราตระหนักดีถึงความรับผิดชอบต่อการจัดการพลังงาน ซึ่งปรับเทคโนโลยีสนับสนุนการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม โดยเฉพาะโซล่าร์เซลล์ ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคาและติดตั้งบนพื้นดิน ตามเป้าหมายของบริษัทฯ ในการลดการใช้พลังงาน” นายวุฒิชัย กล่าว

นายวุฒิชัย กล่าวว่า ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25% ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปีฐานปี 2558 ตลอดจนจะยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปีภายในปี 2565 รวมทั้งวางแผนบริหารจัดการพลังงานที่ดี มีการตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์และเครื่องจักรสม่ำเสมอ การเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิต

รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อย่างสมดุล ซึ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่สนับสนุนซีพีเอฟในการเดินหน้าสู่การเป็นผู้ผลิตอาหารมั่นคงและใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563

เปิดความท้าทายชาวไร่-โรงงานน้ำตาล กับเป้าหมายไร่อ้อยไฟไหม้ปี 65

ฤดูหีบอ้อยปี 2563/64 ที่คาดว่าจะเริ่มเปิดหีบช่วงธันวาคมเช่นทุกปีที่ผ่านมา กำลังเป็นความท้าทายอีกครั้งสำหรับชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล เมื่อวิถีการตัดอ้อยแบบเดิมๆ เปลี่ยนไป เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ช่วงกุมภาพันธ์ 2562 ที่ปกคลุมหลายพื้นที่ของไทยโดยเฉพาะภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล หลายคนอาจลืมไปแล้ว แต่ช่วงนั้นทำให้รัฐบาลต้องหยิบยกการแก้ไขปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ และนำมาสู่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อน “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” เมื่อตุลาคม 2562 และมาตรการหนึ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่มีการเผาอ้อยภายในปี 2565

โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) 11 มิถุนายน 2562 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ได้แก่ ฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 30% ต่อวัน สำหรับในฤดูการผลิต ปี 2563 /2564 โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 20% ต่อวัน และในฤดูการผลิตปี 2564/2565 จะลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเพียง 0-5% ต่อวัน ซึ่งจะทำให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายในภายใน 3 ปี

การเผาอ้อยที่ผ่านมาของชาวไร่ เรียกว่าเป็นวิถีที่ทำไปด้วยเหตุผลหลัก คือ การตัดอ้อยสดนั้นมีค่าจ่ายค่าที่แพงกว่า ท่ามกลางแรงงานของไทยขาดแคลนที่ต้องพึ่งพิงแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการตัดอ้อยสดนั้นทำได้ยากกว่าการเผาอ้อยแล้วตัด ประกอบกับราคาอ้อยที่ไม่ได้สูงมาก เหล่านี้จึงนำมาสู่การเผาเพื่อลดต้นทุนทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ด้วยปริมาณอ้อยในอดีตที่ไม่มากและฤดูหีบก็ใช้เวลาเพียง 4-5 เดือนก็จบสิ้น จึงทำให้การเผาอ้อยที่ผ่านมาไม่ได้ถูกเพ่งเล็งจากสังคมเท่าใด

อย่างไรก็ตาม ปริมาณอ้อยของไทยได้ไต่ระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนฤดูหีบปี 2555/56 ได้แตะสู่ระดับ 100 ล้านตัน ต่อมาก็ก้าวสู่ 105.96 ล้านตันในปี 2557/58 และลดระดับไม่ถึง 100 ล้านตันใน 2 ฤดูการผลิตต่อจากนั้น และกลับมาพีกสุดในปี 2560/61 ด้วยปริมาณ 134.93 ล้านตัน และลดลงเล็กน้อยมาสู่ระดับ 130.97 ล้านตันในฤดูผลิตปี 2561/62 ซึ่งนี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้การเผาอ้อยมีมากขึ้นเพื่อเร่งให้ปิดหีบทันก่อนที่ฤดูฝนจะมาในช่วง พ.ค.ของทุกปี

การลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ตามมติ ครม.ที่กำหนดได้เริ่มปฏิบัตินำร่องฤดูหีบปีที่แล้ว (ปี 2562/63) ที่ผ่านมา ท่ามกลางการเผชิญภาวะภัยแล้งและราคาอ้อยตกต่ำ แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะการเปิดหีบ 116 วัน จนถึงปิดหีบพบว่ามีการตัดอ้อยสด 37.70 ล้านตัน คิดเป็น 50.34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดที่ 74.89 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณอ้อยไฟไหม้ 37.18 ล้านตันหรือคิดเป็น 49.65% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดซึ่งก็ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย

แม้ว่าฤดูหีบปี 62/63 รัฐจะสนับสนุนเงินเป็นปัจจัยการผลิต 10,000 ล้านบาท เพื่อลดผลกระทบจากราคาอ้อยตกต่ำและเป็นแรงจูงใจให้ตัดอ้อยสด แบ่งเป็น 1.วงเงิน 6,500 ล้านบาท ช่วยชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเข้าโรงงานทุกราย ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และได้ทำสัญญาส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลก่อนเปิดหีบอ้อย ในอัตราตันละไม่เกิน 85 บาท รายละไม่เกิน 5,000 ตัน 2. วงเงิน 3,500 ล้านบาท ช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานทุกตันอ้อย ในอัตราตันละไม่เกิน 92 บาท

แต่ฤดูหีบปี 63/64 ที่นับถอยหลังเหลือเวลาเพียง 3 เดือน สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งเป้าหมาย ที่จะลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เหลือ 20% ปริมาณอ้อยสด 80% ซึ่งดูจะสวนทางกับโรงงานและชาวไร่อ้อยที่ต้องการเสนอให้กำหนดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบไม่เกิน 40% อ้อยสด 60% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบแต่ละโรงงานด้วยเหตุผลหลักคือการขาดแคลนแรงงานและเครื่องจักร ซึ่งหลักๆ คือ รถตัดอ้อยที่ยังมีไม่เพียงพอจึงขอให้ทุกฝ่ายได้มีเวลาปรับตัว

หากเช็กสภาพความพร้อมเริ่มด้วยรถตัดอ้อยทั้งโรงงานและชาวไร่อ้อย ต่างยอมรับในทิศทางเดียวกัน ว่า มีไม่พอ โดยปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 8 ล้านไร่ผลผลิตอ้อยฤดูหีบปี 63/64 ที่คาดว่าจะเริ่มได้ ธ.ค.นี้ คาดการณ์น่าจะอยู่ระดับกว่า 69 ล้านตันเนื่องจากเผชิญกับภัยแล้งต่อเนื่อง ขณะที่รถตัดอ้อยขณะนี้มีรวมๆ สูงสุดเพียง 3,000 คันแบ่งเป็นของชาวไร่ประมาณ 2,000 คัน ที่เหลือ 1,000 คันเป็นของโรงงานน้ำตาล โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการประเมินกันว่าหากผลผลิตอ้อยไทยเฉลี่ย 100-130 ล้านตันขึ้นไปจะต้องใช้รถประมาณ 7,000-10,000 คัน

แม้ว่าผลผลิตอ้อยที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ระดับไม่เกิน 70 ล้านตัน ซึ่งถือว่าต่ำแล้วแต่ก็ใช่ว่ารถตัดอ้อยจะเพียงพอประเมินวารถจำนวนที่มีจะตัดอ้อยได้ราว 30 กว่าล้านตัน ที่เหลือจะต้องพึ่งพิงแรงงานหากตัดอ้อยสดทั้งหมดคาดว่าจะใช้ราว 2.5-3 แสนคน แต่ด้วยภาวะวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัวจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แรงงานส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวที่ขณะนี้ยังไม่อาจรู้ได้ว่าเมื่อถึงเวลาเปิดหีบแรงงานส่วนนี้จะเข้ามายังไทยได้มากน้อยเพียงใด

การเพิ่มปริมาณรถตัดอ้อยในระยะเวลาอันสั้นนี้ ก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีสำหรับชาวไร่อ้อย ว่า การมีรถตัดเวลานี้กลายเป็นภาระที่สาหัสด้วย เพราะหลายคนกลายเป็นหนี้สิน เนื่องจากรถตัดอ้อยราคาเฉลี่ยคันละ 10-12 ล้านบาท ทำงานไม่คุ้มค่า เพราะส่วนหนึ่งต้องไปรับจ้างตัดแต่ด้วยอ้อยที่ลดต่ำทำให้งานลดลง ประกอบกับพื้นที่ปลูกอ้อยของไทยยังเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย โดยเฉพาะแถบอีสาน จึงทำให้รถตัดอ้อยเข้าไปทำงานได้ยากลำบากประสิทธิภาพการตัดอ้อยต่อวันจึงต่ำ ขณะที่ฤดูหีบอ้อยใช้เวลาเพียง 4-5 เดือนก็จบเวลาที่เหลือเท่ากับรถตัดอ้อยต้องทิ้งไว้ด้วยการลงทุนดูแลซ่อมบำรุง

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวล่าสุดแม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีนโยบายจูงใจการตัดอ้อยสดมากขึ้นในฤดูหีบใหม่ (ปี 63/64) โดยระบุว่า หากมีเม็ดเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตเช่นที่ผ่านมา จะช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ตัดอ้อยสดเท่านั้น แต่ก็ดูเหมือนว่าอาจไม่ได้มีผลมากนักเพราะที่สุดปัจจัยสำคัญยังคงอยู่ที่จำนวนรถที่ยังมีแบบจำกัดการเร่งรัดให้ซื้อเพิ่มต้องใช้เวลาและเงื่อนไขต่างๆที่เอื้อเพราะรถตัดอ้อยราคาสูง

นอกจากนี้ ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แม้ในประเทศมีผลิตแล้วแต่ก็ล้วนต้องสั่งจองล่วงหน้า เช่นเดียวกับแรงงานที่ยังสุ่มเสี่ยงต่อการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวท่ามกลางความไม่แน่นอนของโควิด-19 แม้ว่ารัฐจะมีโครงการสนับสนุนการซื้อรถตัดอ้อยด้วยดอกเบี้ยต่ำแต่ปริมาณอ้อยที่ลดลงการกู้เงินไปรับจ้างผลิตก็ไม่คุ้มค่า ขณะเดียวกัน โรงงานที่ค้ำประกันการกู้เงินก็ไม่กล้าค้ำให้กับรายใหม่เพิ่มขึ้นเพราะเหลือแต่รายเล็กกลายเป็นความเสี่ยงอีก

เมื่อหันมาพิจารณาราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกยังคงเคลื่อนไหวระดับ 12-13 เซนต์ต่อปอนด์ แม้ว่าราคาจะกระเตื้องขึ้นจากฤดูผลิตที่ผ่านมาแต่ปัจจัยพื้นฐานราคาที่แท้จริงก็ไม่ได้ดีมากนักเพราะโควิด-19 ที่กระทบต่อการบริโภคทั่วโลกให้ชะลอตัว และหากคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นโอกาสที่จะกลับไปสู่ระดับกว่า 1,000 บาทต่อตันที่ทำให้ชาวไร่พอจะเหลือทุนขยายพื้นที่ปลูกใหม่เช่นอดีตที่ผ่านมาโอกาสก็คงจะน้อย

ประกอบกับการที่ชาวไร่อ้อยต้องมาคอยลุ้นว่ารัฐจะมีงบประมาณช่วยเหลือปัจจัยการผลิตอ้อยเพื่อเพิ่มราคาอ้อยให้สูงขึ้นแต่ละปีว่าจะมีหรือไม่ มีเท่าใดและจ่ายให้อย่างไร ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้การวางแผน เพราะปลูกไม่ง่ายเช่นอดีต แต่สำหรับชาวไร่อ้อยแล้วต่างก็ยืนยันว่าต้องการยกระดับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วยการพยายามลดอ้อยไฟไหม้ เพียงขอเวลาเพราะยังมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง ทั้งรถตัดที่ยังมีจำกัด แรงงานที่นับวันก็หายากขึ้น ฤดูหีบแต่ละครั้งก็ต้องดูอากาศจะเป็นใจหรือไม่

เหล่านี้ล้วนบีบรัดเกษตรกรให้เหลือทางเลือก 2 ทาง คือ รายใหญ่ก็อาจจะสู้ต่อไป แต่รายย่อยก็มีโอกาสเลือกที่จะไปปลูกพืชอื่นแทน เพราะขั้นตอนต่างๆ มันยุ่งยากมากขึ้น ดังนั้น อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอับดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล ถือเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชาวไร่ผู้เพาะปลูกอ้อยมากกว่า 2 แสนราย และโรงงานอีก 57 แห่ง อนาคตจะก้าวต่อไปอย่างไรก็คงหนีไม่พ้น 3 ฝ่าย คือ รัฐ ชาวไร่ และโรงงาน จะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและวางบทบาทใหม่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปรอบด้าน

จาก https://mgronline.com  วันที่ 3 กันยายน 2563

คณะกรรมการปฏิรูปฯเสนอ 5 Big Rock ด้านพลังงาน

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานเตรียมเสนอ 5 Big Rock ปฏิรูปด้านพลังงาน หวังเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมปี 65

นายพรชัย รุจิประภา ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยหลังการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ว่า การปฏิรูปประเทศด้านพลังงานจำเป็นต้องทบทวนและปรับปรุงให้สอดรับกับการใช้พลังงานภาพรวมของประเทศที่ลดลง หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมกับตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้ นโยบายพลังงาน ลดเหลื่อมล้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ทั้งนี้ จึงเสนอ 5 ประเด็นเร่งด่วนที่จำเป็นต้องปฏิรูปที่สำคัญ หรือ Big Rock เพื่อเปลี่ยนแปลงพลังงานไทยให้เป็นรูปธรรมภายในปี 2565 และเมื่อรับฟังความเห็นจะนำไปปรับปรุงร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานฉบับที่ 2 Big Rock ให้สมบูรณ์ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบร่างแผนปฏิรูปประเทศประมาณเดือนพฤศจิกายน 2563 และรายงานต่อรัฐสภาเพื่อทราบและประกาศบังคับใช้ต่อไป

“โควิด-19 ทำให้จีดีพีของไทยลดลง 12% ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานภาพรวมลดลงทั้ง ไฟฟ้าชะลอตัว 14% ซึ่งมีผลให้ไฟสำรองสูงขึ้น น้ำมันชะลอตัว 12.6% น้ำมันเครื่องบินหด 50 แอลพีจีหดตัว 11.6% คณะกรรมการปฏิรูปจึงต้องทบทวนหลายปัจจัยให้สอดรับและต้องคำนึงว่า หากหลายประเทศค้นคว้าวัคซีนได้สำเร็จจะสร้างความเชื่อมั่นทุกอย่างก็อาจจะกลับมา ดังนั้น จึงต้องวางแผนให้ดี”

นายมนูญ ศิริวรรณ รองประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน กล่าวว่า 5 Big Rock ปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ประกอบด้วย กิจกรรมการปฏิรูปที่ 1 การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้านการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนการอนุญาตที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ปลดล็อกข้อจำกัด เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า ต้องยื่นขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพียงหน่วยงานเดียว เป็นต้น

กิจกรรมการปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ (NEIC) ควรเป็นหน่วยงานอิสระ จากกระทรวงพลังงาน และเป็นศูนย์กลางแหล่งข้อมูลด้านพลังงาน โปร่งใส แม่นยำ เชื่อถือได้ จึงต้องเร่งสร้าง Branding NEIC ให้เป็นที่น่าเชื่อถือผ่านการจัดตั้งกลไกกลั่นกรองข้อมูลที่เป็นระบบ

นายคุรุจิต นาครทรรพ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน กล่าวว่า กิจกรรมการปฏิรูปที่ 3 มาตรการธุรกิจบริษัทจัดการพลังงาน ESCO เพื่อเปลี่ยน ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคเป็นการจ้างเอกชนมาลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์พลังงานให้อาคารของรัฐ ผ่านกลไกการรับประกันผลงานและตรวจวัดพิสูจน์ผลโดยบุคคลที่ 3 หรือหน่วยงานให้การรับรอง (Third Party Audit) โดยมีกลุ่มเป้าหมายระยะแรกจำนวน 876 อาคารรัฐ

“คาดว่าจะช่วยประหยัดพลังงานภาครัฐคิดเป็นมูลค่า 2.6 พันล้านบาท/ปี ลดงบประมาณด้านซ่อมบำรุงและความเสี่ยงในการจัดซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าและการติดตั้งเทคโนโลยีโซลาร์รูฟที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้ทำการประเมินว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยสร้างงานใหม่ (Green Job) ให้กับประเทศไทยไม่น้อยกว่า 37,500 ตำแหน่ง ในระยะ 10 ปีข้างหน้า

กิจกรรมการปฏิรูปที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 4 เพื่อสร้างฐานทางเศรษฐกิจใหม่ (New S-Curve) เพราะโรงกลั่นอายุส่วนใหญ่เกิน 60 ปี ปิโตรเลียมยังจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน จึงต้องยกระดับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พร้อมรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0

และกิจกรรมการปฏิรูปที่ 5 ปฏิรูปโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยปฏิรูปแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย PDP 2022 ทั้งด้านการบริหารและโครงสร้างราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อเพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เปลี่ยนระบบการผลิตจากรวมศูนย์สู่กระจายศูนย์ แยกระบบส่งและศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกจากกิจการผลิตไฟฟ้า

เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกมากขึ้น รวมทั้งการผลิตใช้เองและขายเข้าระบบ พร้อมปฏิรูปการบริหารจัดการของ 3 การไฟฟ้าให้ประสานเชื่อมโยงแผนลงทุน และแผนปฏิบัติการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนการปฏิรูปด้านก๊าซธรรมชาติจะต้องจัดหาก๊าซฯ ให้มีความต่อเนื่องไม่เกิดการหยุดชะงักทั้งแหล่งอ่าวไทย และแหล่งอื่นๆ รวมถึงเร่งแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศ

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

เงินเฟ้อ ส.ค.หดตัวน้อยลงเป็นเดือนที่ 3

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อ ส.ค.หดตัวน้อยลงเป็นเดือนที่ 3 สัญญาณเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ทั้งปียังคงติดลบ 

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรืออัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.50 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และหดตัวน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักสดราคาสูงที่สุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากฝนตกชุก และความต้องการเนื้อสุกรยังสูงต่อเนื่องทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ขณะที่ราคากลุ่มพลังงานเริ่มทรงตัวแต่ยังต่ำกว่าปีก่อน ส่วนสินค้าอุปโภค-บริโภคอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณสินค้า ความต้องการ และการส่งเสริมการขาย โดยสินค้าโดยรวมไม่ได้มีการปรับขึ้นไปมากมีเพียงผักสดขึ้นเล็กน้อยตามฤดูกาลไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด

สำหรับเหตุผลหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเริ่มติดลบน้อยลงมากจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการคลายล็อกภาคธุรกิจต่าง ๆ จากปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่พบการติดเชื้อโควิดภายในประเทศ ทำให้ความกังวลลดน้อยลงส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมเริ่มปรับดีขึ้น เห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อเริ่มติดลบน้อยลงประกอบกับราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัว อาหารสดกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 4 เดือน ตามความต้องการอาหาร ทั้งการเปิดภาคเรียนใหม่ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ การจัดโปรโมชั่นด้านราคาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการ เริ่มลดน้อยลงและอีกหลายปัจจัย ทำให้เงินเฟ้อทั่วไป 8 เดือนปี 2563 (ม.ค.- ส.ค.) ลดลงร้อยละ 1.03 เท่านั้น

 ทั้งนี้ สนค.มองว่าจากปัจจัยลบด้านโควิดที่ยังเป็นตัวฉุดความกังวลต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่บ้าง แต่จากมาตรการภาครัฐที่กำลังออกมาทั้งการให้เงินสู่ประชาชนบางกลุ่มจะทำให้กระตุ้นภาคเศรษฐกิจในการจับจ่ายใช้สอยในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้น คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อเดือน หลังจากนี้จะคงอยู่ในแดนลบ แต่จะหดตัวลงไปไม่มากนัก ดังนั้น จึงคาดว่าเงินเฟ้อปีนี้จะติดลบร้อยละ 1.5-0.7  โดยมีค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งมีปัจจัย คือ จีดีพีของประเทศติดลบร้อยละ 7.6-8.6 อัตราแลกเปลี่ยน 30.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 35-45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นต้น

จาก https://tna.mcot.net   วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

“สุริยะ” ดึงทุนแคนาดาลง “อีอีซี” เพิ่ม

รมว.อุตสาหกรรม หารือทูตแคนาดาจีบลงทุน "EEC" เพิ่ม พร้อมร่วมมือทางด้านเกษตร

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการให้นางซาราห์ เทเลอร์ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งแคนาดาประจำประเทศไทย เข้าพบหารือในวาระเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ ได้แก่ การเชิญชวนให้นักลงทุนแคนาดา เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” (EEC) เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนที่น่าสนใจ

รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับได้หารือเกี่ยวกับโอกาสในการสร้างความร่วมมือกันในอนาคต เนื่องจากแคนาดาเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยสินค้าที่ผลิตมีความแตกต่างกัน แต่เชื่อว่าจะสามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ โดยแคนาดาจะสามารถแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และความรู้ให้ไทยได้

“ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรก็เพื่อให้ไทยได้รับองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น การทำสมาร์ทฟาร์มมิ่งและออแกนิกฟาร์มมิ่ง รวมถึงช่วยให้ไทยสามารถประยุกต์ไปสู่การแปรรูปอาหารและกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมการเกษตรถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่แคนาดามีความเชี่ยวชาญ และไทยต้องการเชิญชวนมาลงทุน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง”

นอกจากนี้ยังมีการหารือกันถึงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน  หรือ “พีพีพี” (PPP) โดยแคนาดามีการจัดประชุมด้านการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่เป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิการยน  ซึ่งปีนี้ก็จะจัดในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดคาดว่าในปีนี้จะจัดการประชุมเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งการประชุมพีพีพีเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการสิ่งก่อสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่รัฐบาลทั่วโลกรวมทั้งไทยจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

‘เงินบาท’ เปิดตลาดวันนี้ ‘อ่อนค่า’ ที่ 31.34บาทต่อดอลลาร์

หุ้นโลกยังแรงไม่หยุด รับนโยบายการเงินสหรัฐและยุโรปผ่อนคลาย ฝั่งเงินบาทอ่อนค่าตามแรงกดดันดอลลาร์ ขณะที่ความกังวลการเมืองลดลงแต่ยังต้องระวังปัจจัยตลาดปรับฐานหลังปรับขึ้นมานาน

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 31.34 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.22 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทระหว่างวัน 31.28-31.48 บาทต่อดอลลาร์

ในช่วงคืนที่ผ่านมา หุ้นทั่วโลกยังคงแรงไม่หยุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นอีก 1.5% พร้อมกันกับ STOXX 600 ของยุโรปที่ฟื้นตัว 1.7% ด้วยมุมมองของธนาคารกลางทั้งในฝั่งสหรัฐและยุโรปที่พร้อมใช้นโยบายผ่อนคลาย และกดดันภาครัฐให้หาทางใช้นโยบายการคลังมากขึ้นเข้ามาช่วย

อย่างไรก็ดีใน ฝั่งเศรษฐกิจกลับเห็นภาพการฟื้นตัวที่ช้าลง ล่าสุดการจ้างงานภาคเอกชนในสหรัฐ (U.S. ADP employment change) เดือนล่าสุด เพิ่มขึ้นเพียง 4.28 แสนตำแหน่ง จากที่คาดไว้จะเพิ่มขึ้นกว่าล้านตำแหน่ง เพราะอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทยอยลดพนักงานลง

ส่วนในฝั่งตลาดเงิน บอนด์ยีลด์สหรัฐและเยอรมันก็ปรับตัวลงพร้อมกัน โดยล่าสุดยีลด์ 10ปี อยู่ที่ระดับ 0.63% (-3bps) และ -0.47% (-4bps) ตามลำดับ ความเคลื่อนไหวดังกล่าว หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆราว 0.3% นอกจากนั้นก็กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งทองคำและน้ำมันดิบ WTI ให้ปรับตัวลง 1.3-2.7%

ด้านเงินบาท แม้ความกังวลเรื่องการเมืองจะลดลงแล้ว แต่ช่วงนี้ก็อ่อนค่าต่อเนื่องตามแรงกดดันของดอลลาร์ไปพร้อมกับสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ ในระยะสั้น เรายังคงมุมมอง “ระมัดระวัง” เพราะตลาดทุนที่ปรับตัวขึ้นติดต่อกันมานาน เพิ่มโอกาสการปรับฐานขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันทั้งยูโร (EUR) และเยนญี่ปุ่น (JPY) ก็เริ่มเจอแรงขายทำกำไร ถ้าตลาดกลับไปปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) อาจเห็นการแข็งค่าของดอลลาร์กลับอย่างรวดเร็วได้

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 3 กันยายน 2563

พพ. จับมือ 3 สมาคมวิชาชีพ ยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานทดแทน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานทดแทน ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยนายโกมล บัวเกตุ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร โดยนายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และ สมาคมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไทย โดยนายธวัช มีชัย นายกสมาคมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไทย และ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย โดยนายอุทิศ จันทร์เจนจบ นายกสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม อาคาร 2 พพ.

นายโกมล บัวเกตุ รองอธิบดี พพ. เปิดเผยว่า การลงนามดังกล่าว เป็นความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน และพลังงานทดแทน และผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ โดยใช้มาตรการกำกับดูแลตามกฎหมาย ควบคู่ไปกับมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทนทุกรูปแบบ ทั้งด้านการศึกษาวิจัย พัฒนาต้นแบบ สาธิตนำร่อง การสนับสนุนองค์ความรู้กฎหมายพลังงานให้แก่บุคลากรของสถานประกอบการ การพัฒนาระบบตรวจสอบ และรวมถึงการแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูลทางวิชาการของแต่ละหน่วยงานเพื่อเชื่อมโยงสู่การเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้ต่อไปในอนาคต โดยมีโครงการ ที่ดำเนินการจนสำเร็จเห็นเป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาระบบโซลาร์โดมอบแห้ง ระบบผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชน การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป ของสถานประกอบการ

“การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะจุดประกายในความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับสมาคมวิชาชีพ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างมาตรฐานวิชาชีพด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ที่มีความเข้มแข็ง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” นายโกมลกล่าว

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 2 กันยายน 2563

ก.เกษตรฯระดมสมองสร้างแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า ในปี 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายปฏิรูปภาคเกษตรกรรมไทยมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีเกษตร 4.0 มาช่วยสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรมีการพัฒนาแปลงเรียนรู้และเกษตรแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรแม่นยำ เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Agriculture และ IoT Platform ตลอดจนสนับสนุนจัดการการขนส่งภาคการเกษตรหรือโลจิสติกส์ อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบ E-commerce เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรของตนได้โดยตรงไปยังผู้บริโภคผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้แนวทาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” โดยมุ่งเน้นให้ผลิตผลทางการเกษตรจำหน่ายออกสู่ตลาดได้ทั้งภายในและต่างประเทศ นอกจากนั้นยังขับเคลื่อนงานธุรกิจเกษตร หรือ Agribusiness ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech 2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ 3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนE-Commerce และ 4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร

สำหรับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ มีหน้าที่ขับเคลื่อนการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการจัดทำแผนแม่บทเกษตรอัจฉริยะ โดยยกร่างแล้วเสร็จในเบื้องต้นตั้งแต่ปลายปี 2562 สาระสำคัญประกอบด้วย 6 แนวทางการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ คือ 1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 2) การสร้างแปลงเรียนรู้ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ แปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ3) การสร้างการรับรู้ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 4) การพัฒนาการแปรรูปและการตลาดเกษตรอัจฉริยะ5) การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ และ 6) การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายด้านเกษตรอัจฉริยะ รวม 15 แผนงาน 58 โครงการ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อแผนเป็น “แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ” เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยยังคงกรอบเดิมแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเกษตร 4.0 ของกระทรวงซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมประชุม ให้ข้อคิดเห็น และจัดทำข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านงบประมาณ และด้านการพัฒนาเกษตรกร เป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยต่อไป

ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลปี 2561-2580 ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯมีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะมาตั้งแต่ปี 2560 ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งปัจจุบันคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ได้สานต่อการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรฯ ครอบคลุมการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในเชิงการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนระบบเกษตรอัจฉริยะ การพัฒนา IoT Platform การขยายผลแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ ตลอดจนการบูรณาการขับเคลื่อนงานร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม หรือ ศูนย์ AIC จังหวัด ทั้ง 77 จังหวัดซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการประมวลInnovation Catalog และ QuickWin ที่แต่ละศูนย์ AIC จะขับเคลื่อนดำเนินการ รวมถึงการทำงานร่วมหน่วยงานภายนอก เช่น ธ.ก.ส. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ตลอดจนได้มีการจัดทำแผนแม่บทเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง

จาก https://www.naewna.com   วันที่ 2 กันยายน 2563

พาณิชย์ขานรับนโยบายจุรินทร์ ชู ''เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด''

พาณิชย์ขานรับนโยบายจุรินทร์ ชู ''เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด'' ให้พาณิชย์จังหวัด สวมบท"เซลส์แมน" นำสินค้าในท้องถิ่น เชื่อมโยงการค้าข้ามจังหวัด 

นายฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์  เป็นประธานเปิดงาน E-San Organic & Natural Shop”  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2563  ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี  โดยผู้ตรวจราชการการกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดกิจกรรมเชื่อมโยงการค้า โดยนำสินค้าในพื้นที่ มาโรดโชว์จัดแสดงและจำหน่ายสินค้าข้ามจังหวัด เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและเกิดการจับคู่เจรจาการค้าข้ามจังหวัด ภายใต้ชื่องาน  ” E-San Organic & Natural Shop” ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเกษตรอินทรีย์  สร้างโอกาสทางการค้า สร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกร 

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์  ตลาด นำการผลิต ภายใต้โครงการ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด โดยกระทรวงพาณิชย์ เราจะมีทีมผู้เชียวชาญ มาพัฒนาเสริมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการการต่อยอด เชื่อมโยงและเพิ่มมูลค่าในสินค้า เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ เกิดการหมุนเวียนในท้องถิ่น  ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคให้มั่งคง

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้กระทรวงพาณิชย์  เร่งดำเนินโครงการต่างๆ ที่จะช่วยสร้างงาน เพิ่มรายได้ ให้พี่น้องเกษตรกรอย่างยั่งยืน

ด้านนายชาญยุทธ วันดี พาณิชย์ จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมภายในงานจะมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 80 ร้านค้า และมีสินค้าที่จะมาจำแหน่าย 5 ประเภท ประกอบด้วย 1. กลุ่มอาหาร มีทั้งผลผลิตทางการเกษตร และเกษตรแปรรูป เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ แป้งมันสำปะหลังอินทรีย์,ผักออรแกนิค,ผลไม้,อาหารประมง,อาหารสุก เป็นต้น, 2. กลุ่มเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลักและผลไม้, 3. กลุ่มเครื่องแต่งกาย เช่น ผ้าฝ้ายออร์แกรนิค ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ฝ้าฝ้ายย้อมคราม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกายที่ทำจากวัสดุทุกประเภทเพื่อความสวยงาม เป็นต้น, 4.กลุ่มของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีไว้ใช้หรือตกแต่งประกันในบ้าน สถานที่ต่างๆ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้น และ กลุ่มที่ 5. สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร เป็นต้น อีกทั้ง ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่สร้างสีสันให้ความรู้และบันเทิงกับผู้เข้าร่วมงานอีกมาก เช่น จัดการแสดงศิลปะวัฒนะธรรม, การแสดงดนตรีและศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม อาทิ ปรีชา ปัดภัย, ก้อง ห้วยไร่, หนู มิเตอร์, เอิร์น เดอะสตาร์ เป็นต้น  รวมถึงการแสดงวงโปงลางที่เหมาะสมในท้องถิ่นมาร่วมแสดงตลอดการจัดงาน

จาก https://www.komchadluek.net  วันที่ 2 กันยายน 2563

“สุริยะ”ยันจุดยืนก.อุตแบนพาราควอตต่อไป ชี้2เดือนยังตัดสินไม่ได้

“สุริยะ”ยันจุดยืนก.อุตแบนพาราควอต เหตุเพิ่งบังคับใช้แค่2เดือนยังไม่มีข้อมูลมากพอให้ทบทวนมตินายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวถึงกรณีผู้แทนเกษตรกร และนักวิชาการเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทบทวนการยกเลิกใช้พาราควอต ว่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ได้หารือกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงแนวทางการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เบื้องต้น นายสุริยะ มีนโยบายว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะคงการแบนสารดังกล่าวต่อไปในนามของประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เลขานุการคณะกรรมการฯ เนื่องจากมองว่าประเด็นนี้เพิ่งมีการยกเลิกใช้เพียง 2 เดือนเท่านั้น จึงยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนจนนำไปสู่การตัดสินใจให้เปลี่ยนมติได้ อย่างไรก็ตามการจะทบทวนได้ต้องใช้เวลานานกว่านี้ และผลที่เกิดขึ้นต้องส่งผลกระทบรุนแรง และมีข้อมูลเพียงพอในการหักล้างข้อมูลที่นำไปสู่การแบนสารดังกล่าว

“กระทรวงอุตสาหกรรมมองว่าในการพิจารณาเรื่องนี้ไม่ควรกลับไปมาภายใต้ข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังการยกเลิกเพียง 2 เดือน ประกอบกับที่ผ่านมาเรื่องนี้มีการพิจารณามานาน มีการกำหนดระยะเวลาปรับตัว 6 เดือน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะต้นทางก็ยืนยันให้แบนเช่นกัน”นายประกอบกล่าวนายประกอบ กล่าวว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้ แต่จะรอนายสุริยะกำหนดวันประชุมอีกครั้ง หากกระทรวงเกษตรฯส่งเรื่องมาก็พร้อมพิจารณาร่วมกันในคณะกรรมการฯ ซึ่งมติต้องขึ้นกับที่ประชุมเป็นสำคัญว่าทบทวนหรือคงการแบนต่อไป

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 2 กันยายน 2563

ธ.ก.ส. คาดเดือนก.ย. “ข้าวเหนียว-น้ำตาล-กุ้ง” มีแนวโน้มราคาลดลง

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดราคาสินค้าเกษตรเดือนก.ย.63  ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง และสุกร มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเหนียว น้ำตาลทรายดิบ ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง

​นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนกันยายน 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 9,336-9,595 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.16-3.97 เนื่องจากขาดแคลนข้าวระดับคุณภาพ 5% ในตลาดโลก  จากการที่ประเทศจีนประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง ขณะที่ประเทศอินเดียประสบปัญหาน้ำท่วมและการระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรงที่สุดในทวีปเอเชีย ทำให้เกิดปัญหาการขนส่งข้าวเพื่อส่งออก

อีกทั้งประเทศเวียดนามก็ประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 จึงเกิดการกักตุนข้าวในประเทศ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 14,531-14,636 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.32-1.05 เนื่องจากความกังวลผลผลิตข้าวในฤดูถัดไปอาจลดลงจากภาวะฝนตกหนักในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะสูงขึ้นกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.59-7.63 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.00-1.50 เนื่องจากมี ฝนตกชุกต่อเนื่อง เกษตรกรจึงชะลอการเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับมาตรการรัฐ     ที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 อาทิ การบริหารจัดการการนำเข้าและการดูแล    ความเป็นธรรมในการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะมีส่วนสำคัญในการรักษาระดับราคาให้สูงขึ้น

ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 41.50 – 42.25 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.36 – 2.18 เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาครัฐ ประกอบกับ   เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงจึงส่งผลดีต่อความต้องการใช้ยางพารา อีกทั้งคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดลดลงจากภาวะฝนตกชุกซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางพารา  มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 1.73-1.78 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.58 – 3.49 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิต ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการลานมันเส้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูมรสุมที่มีฝนตกชุกและบางพื้นที่การผลิตประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแป้งในหัวมันสด อาจทำให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ปรับลดลง และสุกร ราคาอยู่ที่ 78.08–79.26 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.64–2.17 เนื่องจากประเทศที่บริโภคสุกรรายใหญ่ของโลกประสบปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร อาทิ ประเทศจีนและประเทศเวียดนาม จึงมีคำสั่งซื้อเพื่อนำเข้าสุกรจากไทยเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า

ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 15,376-15,377 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.38-0.40 เนื่องจากผู้ประกอบการระบายผลผลิต ข้าวเหนียวในสต็อกคงค้างของปีก่อนออกสู่ตลาดเพื่อรองรับผลผลิตฤดูกาลใหม่ น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 12.70-12.77 เซนต์/ปอนด์ (8.80-8.85 บาท/กก.) ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50-1.00 เนื่องจากคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำตาลทางภาคกลาง-ใต้ของประเทศบราซิล ในปี 2563/64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.26 และโรงงานน้ำตาลของประเทศบราซิลจะนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 46.4 จากร้อยละ 34.9 จากราคาและความต้องการเอทานอลที่ลดลงประกอบกับกลุ่มกองทุนเก็งกำไร มีโอกาสที่จะขายตั๋วซื้อน้ำตาล หากภาวะน้ำตาลในตลาดโลกยังมีน้ำตาลส่วนเกินอยู่มาก

ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 3.35-3.45 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.09 – 5.90 เนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงมาตรการระบายสต็อกน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตเป็นไฟฟ้าของ   การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ชะลอโครงการออกไป เป็นปัจจัยกดดันราคารับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกรให้ปรับตัวลดลง  และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 139.00–140.00 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.71–1.42 เนื่องจากสถานการณ์ราคากุ้งในตลาดโลกลดลง เป็นปัจจัยกดดันให้ราคากุ้งในประเทศลดลงด้วย

โดยคาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 20,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ความต้องการบริโภคในประเทศ   ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การประกาศวันหยุดชดเชยสงกรานต์ในช่วงต้นเดือนกันยายน  จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคากุ้งปรับเพิ่มขึ้นได้

จาก https://www.prachachat.net   วันที่1 กันยายน 2563

บล.ทิสโก้ ชี้กลุ่มพลังงานถ่วงหุ้นไทยขึ้นน้อยกว่าตลาดโลก จับตาการเมืองกดดันซ้ำ

บล.ทิสโก้ชี้หุ้นพลังงาน และกำไรบจ.ไทยหด ถ่วงให้หุ้นไทยปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาดโลก คาดเดือน ก.ย. ถูกกดดันต่อจากประเด็นการเมือง พร้อมเปิดสถิติช่วงที่มีชุมนุมการเมืองหุ้นไทยจะลดลงเฉลี่ย 3%

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นโลกเดือน ส.ค. ฟื้นตัวกลับมาเทียบเท่ากับช่วงก่อนระบาด COVID-19 โดยดัชนี MSCI World Index ซึ่งเป็นตัวแทนดัชนีหุ้นโลกปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนมี COVID -19 ไปแล้ว 4%

ขณะที่หุ้นไทยยังคงย่ำอยู่กับที่ และมีทิศทางที่แย่กว่าตลาดหุ้นโลก (Underperform) ซึ่งเป็นไปตามที่ บล.ทิสโก้ได้เคยประเมินไว้ โดยดัชนีหุ้นไทยปีนี้ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนระบาด COVID-19 โดยติดลบอยู่ 17% ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างของหุ้นไทยที่มีน้ำหนักหุ้นกลุ่มพลังงานมากเป็นอันดับหนึ่ง ที่ประมาณ 22%

“ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหุ้นโลกอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเนื่องจากกลุ่มพลังงานซึ่งมีความอ่อนไหวสูงต่อทิศทางราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจมีน้ำหนักต่อการคำนวณดัชนีหุ้นไทยค่อนข้างมาก แถมกว่า 70%  ของเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงกับภาคต่างประเทศ จึงทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากวิกฤต COVID-19  ขณะที่หุ้นโลก  (MSCI World Index) นั้น พบว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศมีน้ำหนักต่อดัชนีมากเป็นอันดับหนึ่ง ที่ 21% ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบน้อยมากจาก COVID-19 และกำลังเติบโตตามเทรนด์หลักของโลก” นายอภิชาติกล่าว  

นอกจากนี้ แนวโน้มการหั่นประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยที่ยังไม่จบจะกดดันระดับการประเมินมูลค่าหุ้นไทยให้ยิ่งแพงขึ้น จากการตรวจสอบประมาณการกำไรของตลาดในปีนี้และปีหน้ายังคงถูกหั่นลงอยู่ โดยในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา กำไรบริษัทจดทะเบียนไทยถูกหั่นลงอีก 3.5% และ 4.6% มาอยู่ที่ 59.0 บาท และ 76.7 บาท ตามลำดับ นับเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน

ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดผันผวน นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจจีน

ส่งผลให้ปัจจุบัน ค่าเฉลี่ยอัตราราคาต่อกำไรล่วงหน้า (Fwd. PER) ของตลาดหุ้นไทยปีนี้ และปีหน้าอยู่ในระดับสูงที่ 22.2 เท่า และ 17.1 เท่า ตามลำดับ ถือว่าแพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ประมาณ 15-16 เท่า

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ตลาดหุ้นไทยไม่แกว่งไปไหน มากว่า 3 เดือนแล้ว ซึ่งแตกต่างจากประมาณการกำไรโดยรวมของตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนา (MSCI DM) กลุ่มประเทศเกิดใหม่ (MSCI EM) และกลุ่มภูมิภาคเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (MSCI Asia ex. Japan) ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

นายอภิชาติกล่าวอีกว่า สำหรับการชุมนุมทางการเมืองเดือน ก.ย. นี้ คาดว่าจะมีน้ำหนักต่อดัชนีหุ้นไทยมากขึ้น และจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะถ่วงตลาดหุ้นไทยให้มีแนวโน้มปรับขึ้นน้อยกว่าหุ้นโลก (Underperform)

โดยจากการเก็บสถิติพบว่า ในช่วงที่มีม็อบ 3 ครั้งล่าสุด คือ ม็อบพันธมิตรฯ ม็อบนปช. และม็อบกปปส. ดัชนีหุ้นไทยมักจะปรับตัวลงเฉลี่ย ลบเกือบ 3% ซึ่งสวนทางกับตลาดหุ้นโลก ที่ในช่วงเวลาเดียวกันจะปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 2%  นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลตอบแทนของหุ้นไทยจะผันแปรไปตามระยะเวลาที่มีม็อบ โดยยิ่งมีม็อบนาน ยิ่งกดดันตลาดมาก     

ทั้งนี้ หลังจากที่หุ้นไทยแกว่งตัวไม่ไปไหนร่วม 3 เดือน และมูลค่าซื้อขายแผ่วลงต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าจะเห็นการหมุนกลุ่มหุ้นลงทุนไปเรื่อยๆ (Sector Rotation) โดยมองว่าหลังจากนี้นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรเริ่มฟื้นตัวจากไตรมาส 2/2563 ที่เป็นจุดต่ำสุด แต่ราคาหุ้นยังขยับตัวขึ้นช้าอยู่ (Laggards) ผสานกับความหวังเกี่ยวกับพัฒนาวัคซีนที่คาดจะช่วยกระตุ้นราคาหุ้นเหล่านี้เป็นระยะ

โดยในเดือน ก.ย. มีปัจจัยติดตามที่สำคัญคือ 1. การสิ้นสุดมาตรการควบคุมความผันผวนของตลาดในสิ้นเดือน ก.ย. นี้ ทั้งการปรับเกณฑ์ Ceiling & Floor จากเดิม +/- 30% เป็น +/- 15% และการปรับเกณฑ์ Short Sales เป็น “Uptick Rule” จะทำให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นหลังที่คาดว่าจะทำให้ปริมาณ Short Sales กลับมาทยอยเพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติที่ประมาณ 5% ของมูลค่าการซื้อขายของตลาดโดยรวม 2. ความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอดีตมักทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แกว่งพักฐานในกรอบจำกัด  

สำหรับหุ้นเด่นที่แนะนำในเดือน ก.ย. คือ AEONTS, BEM, BGC, CENTEL, CRC และ TU  ด้านแนวรับสำคัญของหุ้นไทยในเดือน ก.ย. มองอยู่ที่ 1,310- 1,290 จุด และมีแนวรับถัดไปที่ 1,270-1,280 และ 1,250 จุดตามลำดับ ส่วนแนวต้านสำคัญของเดือนนี้อยู่ที่ 1,340 - 1,350 จุด และมีแนวต้านถัดไปที่ 1,380 - 1,390 จุด ตามลำดับ

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่1 กันยายน 2563

อาเซียนเปิดใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิด20ก.ย.

กระทรวงพาณิชย์ เผย สมาชิกอาเซียนให้สัตยาบัน ครบทั้ง 10 ประเทศ เตรียมเปิดใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง 20 กันยายนนี้ เป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA Council ผ่านระบบ Video Conference ที่ประชุมแจ้งว่า ขณะนี้สมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่ 1 เพื่อแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้ว ซึ่งพิธีสารดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนให้รองรับการใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน และจะเปิดใช้ระบบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2563 เป็นต้นไปโดยระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียนถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จของอาเซียน และเป็นประเด็นที่ไทยผลักดันมาโดยตลอด เพราะเห็นว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับภาคเอกชน เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถดำเนินการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปขอรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากหน่วยงานภาครัฐอีกต่อไป จึงช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียน (Form D)

จึงอยากขอให้ภาคเอกชนเตรียมความพร้อม และศึกษาแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านวิธีปฏิบัติด้านหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและความรู้ด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้รอบคอบเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ในปี 2562 ไทยส่งออกไปอาเซียนมูลค่า 62,629 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 25.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ในขณะที่มีการนำเข้าจากอาเซียนมูลค่า 239,980 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.0 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของไทย

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่1 กันยายน 2563

"พาณิชย์" จัดงาน E-San Organic ดันเกษตรอินทรีย์สู่ตลาดโลก

พาณิชย์พร้อมจัดงาน "E-San Organic & Natural Shop" ดันเกษตรอินทรีย์สู่ตลาดโลก กลุ่มเกษตรขานรับนโยบาย "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" ช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 1 ก.ย.63 นายฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย.63 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุดรธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดงานแสดงสินค้าเพื่อเปิดงาน E-San Organic & Natural Shop ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี ซึ่งเป็นงานภายใต้โครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มและพัฒนาเครือข่ายธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า เป้าหมายเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ให้มีการรวมกลุ่มอย่างยั่งยืนและเชื่อมโยงเครือข่ายในการผลิตการแปรรูปและการตลาด รวมถึงการเพิ่มศักยภาพการตลาด การออกแบบและตกแต่งร้านค้า (ช้อป) ให้ทันสมัย และที่สำคัญช่วยเพิ่มรายได้ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เข้าร่วมโครงการ

สำหรับกิจกรรมภายในงานจะมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 80 ร้านค้า และมีสินค้าที่จะมาจำหน่าย 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) กลุ่มอาหาร มีทั้งผลผลิตทางการเกษตร และเกษตรแปรรูป เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ แป้งมันสำปะหลังอินทรีย์, ผักออร์แกนิก, ผลไม้, อาหารประมง, อาหารสุก เป็นต้น, (2) กลุ่มเครื่องดื่ม เช่น น้ำผักและผลไม้, (3) กลุ่มเครื่องแต่งกาย เช่น ผ้าฝ้ายออร์แกนิก ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ฝ้าฝ้ายย้อมคราม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกายที่ทำจากวัสดุทุกประเภทเพื่อความสวยงาม เป็นต้น, (4) กลุ่มของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีไว้ใช้หรือตกแต่งประกันในบ้าน สถานที่ต่างๆ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้น และกลุ่มที่ (5) สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร เป็นต้น

นอกจากนี้ได้จัดพื้นที่แสดงและจำหน่ายสินค้าแล้วยังจัดพ้นที่เจรจาธุรกิจ โดยการประสานเชิญผู้นำเข้าและส่งออกของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 5-10 ราย เพื่อเจรจาธุรกิจการค้ากับผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์และปลอดภัยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคาดว่าจะมีสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจากการจำหน่ายสินค้าในงาน และหลังจากที่มีการลงนามเอ็มโอโยกับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมากแน่นอน ขณะเดียวกันในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างสีสันให้ความรู้และบันเทิงกับผู้เข้าร่วมงานอีกมาก เช่น จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม, การแสดงดนตรีและศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม อาทิ ปรีชา ปัดภัย, ก้อง ห้วยไร่, หนู มิเตอร์, เอิร์น เดอะสตาร์ เป็นต้น รวมถึงการแสดงวงโปงลางที่เหมาะสมในท้องถิ่นมาร่วมแสดงตลอดการจัดงาน

นายฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนความั่งคั่งของประเทศไทย ตามโมเดลประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรไทยจากเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม และก้าวไปสู่เกษตรบริการหรือธุรกิจการเกษตร ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถแก้กับดักความเหลื่อมล้ำ, กับดักความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, กับดักรายได้ปานกลาง รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น

ทั้งนี้ การขยายพื้นที่ผลิตสินค้าอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและสร้ารายได้ของเกษตรกร ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ประกอบกับกระแสทั่วโลกให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยในการพัฒนาศักยภาพสินค้าและมาตรฐานอินทรีย์.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่1 กันยายน 2563

19 ภาคีเกษตร หนุนยกเลิกแบนพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส

19 ภาคีเกษตร หนุน “เฉลิมชัย”ยื่น “สุริยะ”ยกเลิกแบนพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส พร้อมโต้กลับ “มนัญญา”นำสารกลูโฟซิเนต มาใช้ทดแทนปลอดภัยจริงหรือ ร้องกระทรวงสาธารณสุขลักลั่นให้นำเข้าสินค้าที่มีการใช้พาราควอตได้

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และผู้แทน 19 ภาคีเกษตร เปิดเผยว่า เกษตรกรกลุ่มพืชเศรษฐกิจ พร้อมสนับสนุน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน ในการยกเลิกแบนพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส ซึ่งในตอนนี้การจับกุมและปรับเงินเกษตรกรมีผลบังคับใช้แล้ว จึงขอให้นายเฉลิมชัยยึดถือประโยชน์ของเกษตรกรและประเทศชาติเป็นสำคัญ ความเสียหายของเกษตรกรเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการไปใช้สารทางเลือกที่ราคาสูง ฆ่าหญ้าไม่ตายแต่พืชประธานตายทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง ผลผลิตเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

นายภมร ศรีประเสริฐ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังโคราช กล่าวสนับสนุนว่า เกษตรกร ผิดหวังกับข้าราชการกรมวิชาการเกษตรและน.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ที่ไม่มีความรู้และเมินเสียงเกษตรกร เพราะเกษตรกรเดือดร้อนจึงต้องออกมาคัดค้าน เกษตรกรมองเห็นผลกระทบที่ชัดเจน ทุกพืชจำเป็นต้องใช้สารพาราควอตตลอดทั้งปี อย่ามาบอกว่าของบจัดทำงบประมาณฉุกเฉิน เพราะเป็นความคิดล้าสมัยของการเมืองแบบโบราณ เป็นการใช้ภาษีประชาชนอย่างสิ้นเปลือง เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังไม่มีสิทธิ์ใช้สารพาราควอต แต่กลับพบว่ากระทรวงสาธารณสุขและกรมปศุสัตว์กำหนดให้นำเข้าวัตถุดิบที่ปนเปื้อนพาราควอตได้ จงใจทำร้ายเกษตรกรไทย

นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า น.ส.มนัญญา พูดว่าจะเอาสารพิษกลับมาอีกทำไม ขอถามท่านว่า สารเคมีตัวไหนไม่เป็นสารพิษ สารชีวภัณฑ์มีการบุกตรวจจับกุมโดยดีเอสไอ และกรมวิชาการเกษตร ก็พบว่ามีสารพาราควอต และไกลโฟเซตปนอยู่ สารกลูโฟซิเนตในสหภาพยุโรปก็แบนไปแล้ว สิ่งที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ล้วนแต่เป็นสารพิษ เพราะฉะนั้นท่านต้องแบนกลูโฟซิเนต ไกลโฟเซต ไปด้วยเช่นกัน

“หากนางสาวมนัญญา รวมถึงมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรต่างๆ ห่วงใยสุขภาพคนไทยจริง ก็ขอให้ช่วยฯ ไปคุยกับ คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศหยุดการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีสารพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอสทันที ต้องไม่มีการตกค้างสารดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น 0.01 0.02 อะไร ก็ต้องไม่มี ไม่ควรปรับค่าเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนธุรกิจ และไม่มีการผ่อนปรนถึงเดือนมิถุนายน 2564 ไม่เช่นนั้น จะเป็นการปฏิบัติสองมาตรฐาน ความเป็นธรรมอยู่ที่ไหน เพราะเมื่อแบนในประเทศแล้ว สินค้านำเข้าก็ไม่ควรจะมีการใช้สารทั้งสองชนิด”

นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวสอดคล้องกันว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิบัติสองมาตรฐานหากแบนการใช้สารพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอสในประเทศ สินค้านำเข้าก็ไม่ควรที่จะตกค้างสองสารเคมีดังกล่าว และควรแบนเช่นเดียวกัน

“ข้อมูลของสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาล ที่เก็บตัวอย่างวัตถุดิบและสินค้าที่มีการใช้พาราควอตในประเทศ ก็ตรวจไม่พบสารพาราควอตตกค้างเช่นกัน คำกล่าวอ้างของน.ส.มนัญญา และกระทรวงสาธารณสุขที่ห่วงใยสุขภาพคนไทยและผู้บริโภคจึงฟังไม่ขึ้น เป็นเพียงคำกล่าวอ้างเพื่อเอื้อนายทุน หรือหากกระทรวงสาธารณสุขปรับกฎระเบียบว่า สินค้านำเข้าต้องตรวจไม่พบสารพาราควอต และคลอร์ไพรีฟอส ดังนั้นการที่วัตถุดิบและสินค้าในประเทศตรวจไม่พบสารตกค้างทั้ง 2 ชนิด เกษตรกรไทยก็ต้องมีสิทธิ์ใช้สารทั้งสองชนิดได้เช่นกัน”

ทั้ง 19 องค์กรเกษตรกร ขอสนับสนุน และสรรเสริญนายเฉลิมชัย ที่กล้าหาญ ส่งเรื่องถึงคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ทบทวนการยกเลิกสารพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส กล้าปลดแอกเกษตรกรจากการจำคุกสูงสุด 10 ปี และปรับสูงสุด 1 ล้านบาท ขอเพียงให้ท่านลงมือทำ เกษตรกรกว่า 10 ล้านคนทั่วแผ่นดินพร้อมสนับสนุน และเราจะจดจำท่านไปอีกนาน

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่1 กันยายน 2563

“อนุทิน”ลั่นพร้อมสู้สุดฤทธิ์ ค้านปล่อยผีสารเคมีพิษ

ผู้จัดการรายวัน360-“อนุทิน”นำกระทรวงสาธารณสุขแถลงจุดยืน ยกเลิกใช้สารเคมีเกษตร “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส” เหมือนเดิม ถามกลับคณะกรรมการวัตถุอันตราย หากจะพิจารณาชะลอการแบน ขอให้คิดใหม่ และนึกถึงสุขภาพคนไทยด้วย เหตุสารเคมีตกค้างเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสะเทือนใจ “เฉลิมชัย” เลือกฝั่งนายทุน หวัง ปชป. ทบทวนจุดยืน หลังเคยหาเสียงผลักดันเกษตรอินทรีย์

วานนี้ (31 ส.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวง อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเลขาธิการสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกันแถลงข่าวแสดงจุดยืนยกเลิกการใช้สารเคมีภาคเกษตร คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากล่าสุดนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ จะเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย พิจารณาทบทวนมติการแบนสารเคมีอันตรายดังกล่าว

นายอนุทินกล่าวว่า ตนและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านสุขภาพของประชาชน ขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะเลื่อนการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตร เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน มีข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการใช้สารเคมีภาคเกษตร และเกิดการสะสมชัดเจน ดังนั้น บุคลากรการแพทย์ขอวิงวอนหน่วยงานใด หรือบุคคลใดก็ตามที่กดดันให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายให้เลื่อนการยกเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้ ตนก็ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว ขอให้คำนึงถึงสุขภาพประชาชน เพราะไม่ว่าจะมีเงินมากแค่ไหน ก็ไม่อาจทดแทนสุขภาพที่เสียไป ขอให้นึกถึงการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่นึกถึงสุขภาพของคนไทยต้องมาก่อน แม้ว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจบ้าง แต่สุขภาพคนไทยต้องดี ปลอดจากโรคทุกชนิด

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย 2 เสียง คือ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากจำนวนคณะกรรมการทั้งคณะ 27 เสียง ดังนั้น โหวตอย่างไรก็แพ้ จะเห็นว่าที่ผ่านมามีกระบวนการที่พยายามกดดันคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้มีการใช้สารเหล่านี้มาตลอด หากจำได้ มติการแบนสารเคมีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอด แค่ 2-3 เดือน พอถูกกดดัน ก็เปลี่ยนแปลงอีก มีการขอให้กลับไปพิจารณาต่อ แบบนี้ไม่ต้องประชุมกรรมการก็ได้ ให้จับฉลากเอา แล้วจะมีกรรมการไว้ทำไม กรรมการที่ตั้งโดยรัฐบาลต้องมีความมั่นคง แน่วแน่ ไม่ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้

“ขอยืนยันว่า กรรมการ 2 คน ของกระทรวงสาธารณสุข จะยืนยันมติการแบนสารเคมีอันตรายในภาคเกษตรเหล่านี้ โดยโหวตตามวิชาชีพแพทย์ ไม่ได้ไปกดดันใคร ซึ่งเรายืนยันแบบนี้มาตลอด ไม่ใช่เฉพาะช่วงที่ผมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี แต่เป็นเจตนารมณ์ที่มีมาตั้งแต่รัฐมนตรีคนก่อนๆ ซึ่งผมเห็นความสำคัญและมาสานต่อเจตนารมณ์ แต่ก็ขอความร่วมมือจากประชาชนในฐานะผู้บริโภคร่วมกัน พิจารณาต่อต้าน คัดค้าน ขัดขวางการพิจารณาของกรรมการครั้งนี้ หากประชาชนส่งเสียงพร้อมกัน เพื่อคุ้มครองตัวเอง จะไม่มีใครกล้าเอาสารเคมีอันตรายมาทำร้ายคนไทยต่อไป”นายอนุทินกล่าว

นพ.สุขุม กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากสารเคมีจะตกค้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จึงร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานี้ และนโยบายปี 2563 ซึ่งเป็นปีแห่งเกษตรอินทรีย์ ก็มีการตั้งเป้าว่าประชาชนปลอดโรค ปลอดภัย ทั้งที่โรงเรียน โรงพยาบาล เรือนจำ และโรงแรมต้องใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยมาประกอบอาหาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและคุ้มครองประชาชนผู้บริโภค

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกสะเทือนใจที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจเลือกข้างบริษัทสารเคมี และจะเดินหน้าทบทวนการยกเลิกพาราควอต ของคณะกรรมการการวัตถุอันตราย จึงอยากขอให้นายเฉลิมชัยทบทวนให้ดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มีนโยบายเกษตรอินทรีย์ ช่วงหาเสียงก็ชูนโยบายแบน 3 สารพิษ อยากเห็น ปชป. มีที่มียืนในสังคม ไม่ใช่ผิดคำพูด

จาก https://mgronline.com  วันที่1 กันยายน 2563

เงินบาทเปิด 31.04/09 แนวโน้มแข็งค่า รับตัวเลขส่งออกไทยหดตัวน้อยลง-จับตาตัวเลข ศก.มะกัน

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ 31.04/09 จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 31.14 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามีโอกาสหลุด 31.00 บาท/ดอลลาร์ ให้แนวรับใหญ่ไว้ที่ 31.00 บาท/ดอลลาร์ มองกรอบเคลื่อนไหวระหว่างวันที่ระดับ 31.00-31.20 บาท/ดอลลาร์ หลังจากตัวเลขส่งออกของไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงออกมาหดตัวน้อยลงตลาดจับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.,ดัชนีภาคการผลิตเดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ(ISM) เป็นต้น

จาก https://siamrath.co.th   วันที่1 กันยายน 2563